ยาหมดอายุ หรือยาเสื่อมคุณภาพ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

        ยามีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมายแต่บางครั้งก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ถ้าหากเราใช้ยาไม่ถูกต้องหรือเหมาะสม ซึ่งปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อย คือ ปัญหายาเสื่อมคุณภาพ มีคนจำนวนไม่น้อยมียาเก็บไว้ที่บ้านจำนวนมาก ทั้งยาที่ได้รับจากโรงพยาบาล ร้านยาหรือคลินิก แล้วรับประทานไม่หมด เมื่อมีอาการเจ็บป่วยก็อาจนำยาที่เหลืออยู่มารับประทาน แต่ที่เสี่ยงอันตราย คือ ยาทุกชนิดมีวันหมดอายุ ซึ่งหมายถึงยานั้นๆ หมดประสิทธิภาพในการรักษาไปแล้ว ถ้าเรารับประทานยาเสื่อมคุณภาพไปโดยไม่รู้ตัวก็อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล หรือก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น อาจก่อให้เกิดโรคไตวาย ไตอักเสบ หรือทำให้เกิดการลุกลามของโรคต่างๆตลอดจนเกิดการดื้อยาขึ้น
 

การเสื่อมสภาพของยาอาจสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอก ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในตัวยา ซึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า วิธีที่จะช่วยตรวจสอบวิธีหนึ่ง คือ การสังเกตข้อมูลวันผลิตและวันหมดอายุบนฉลากยา ดังนี้

  1. ข้อมูลวันผลิต จะดูที่คำว่า “Manu. Date” หรือ “Mfg. Date” ซึ่งจะตามด้วยเลขวัน-เดือน-ปี ของวันผลิต
     
  2. ข้อมูลวันหมดอายุ จะดูที่คำว่า “Expiry Date” หรือ “Exp. Date” หรือ “Exp.” หรือ “Used before” หรือ “Expiring” หรือ “Used by” ซึ่งจะตามด้วยเลขวัน-เดือน-ปี ของวันหมดอายุ 
    และในกรณีที่ระบุวันหมดอายุไว้เพียงเลขเดือน-ปี จะให้นับวันที่สุดท้ายของเดือนนั้นๆ เป็นวันหมดอายุ ตัวอย่างเช่น Exp. 08/60 หมายความว่า ยาจะหมดอายุในวันที่ 31 เดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2560

 

        ในกรณีที่พบยาบางชนิดระบุไว้เพียงวันผลิต แต่ไม่ได้ระบุวันหมดอายุ 

  • หลักเกณฑ์ทั่วไปจะกำหนดให้ยาน้ำที่ยังไม่ได้เปิดใช้สามารถเก็บไว้ได้ 3 ปี นับจากวันผลิต  แต่หากยาน้ำถูกเปิดใช้แล้วและมีการเก็บรักษาที่ดีจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 เดือน 
     
  • ส่วนยาเม็ดสามารถเก็บไว้ได้ 5 ปี นับจากวันผลิต แต่หากยาเม็ดมีการแบ่งบรรจุใส่ในถุงซิป วันหมดอายุของยาจะนับจากวันแบ่งบรรจุออกไป 1 ปี โดยไม่เกินวันหมดอายุจริงที่ระบุบนฉลากยา 

 

นอกจากนี้การตรวจสอบยาหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพอีกวิธีหนึ่ง สามารถสังเกตได้จากลักษณะต่างๆของยา ดังนี้

  1. ยาเม็ดแคปซูล ที่มีลักษณะแคปซูลบวมโป่ง ผงยาภายในแคปซูลมีการเปลี่ยนสีหรือเกิดการจับกันเป็นก้อน เปลือกแคปซูลอาจมีเชื้อราขึ้นหรือมีสีเปลี่ยนไป เช่น เตตราไซคลีน Tetracycline ที่มีผงยาเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลแนะนำให้ทิ้งทันที เพราะหากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อไตได้
  2. ยาเม็ด ที่มีสีเปลี่ยนไป มีจุดด่างหรือเชื้อราขึ้น เม็ดยาแตกกร่อนเป็นผงง่าย เม็ดยานิ่มและแตกได้เมื่อใช้มือบีบเบาๆนอกจากนี้แล้วยาเม็ดที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ของบริษัทผู้ผลิตที่มีการเปิดใช้แล้ว ควรสังเกตลักษณะของยาควบคู่ไปด้วยหากลักษณะทางกายภาพของยา (สี กลิ่น รส) เปลี่ยนแปลงไป เป็นการบ่งบอกถึงความไม่คงตัวของยา ก็ไม่ควรใช้ยานั้นต่อไป
  3. ยาเม็ดที่เป็นแบบเคลือบน้ำตาล ซึ่งมีลักษณะมันเงา(เช่น วิตามินรวม) เม็ดยามักดูเยิ้มเหนียวมีกลิ่นหืน หรือบูด
  4. ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาคล้ายแป้งน้ำใช้ทาแก้คัน ยาลดกรด ถ้าเสื่อมก็จะตกตะกอน จับกันเป็นก้อน เกาะติดกันแน่นเขย่ายังไงก็ไม่กระจายตัว ทั้ง กลิ่น สี หรือรสก็เปลี่ยนไปจากเดิม
  5. ยาผงแห้งผสมน้ำ

 

 

<