อายุรกรรมโรคหัวใจ

ศูนย์หัวใจ

   ศูนย์หัวใจวิภาวดี  พร้อมให้บริการด้วยเทคโนโลยี และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมทั้งทีมแพทย์โรคหัวใจที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทุกสาขา อาทิ
   - แพทย์มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ
   - ช่างไฟฟ้าหัวใจ
   - แพทย์ฟื้นฟูและส่งเสริมสมรรถภาพหัวใจ
   - ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก
   - อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ  ซึ่งมีประสบการณ์สูง และปฏิบัติงานเป็นทีม  ศูนย์หัวใจวิภาวดีจึงพร้อมบริการตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อมูลอายุรกรรมโรคหัวใจ

ศูนย์หัวใจวิภาวดี VIBHAVADI HEART CENTER
หัวใจ…มีอยู่ดวงเดียวเท่านั้น
จึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาหัวใจ

                โรคหัวใจ  มีสาเหตุการเกิดทั้งจากปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น การดำเนินชีวิต การบริโภคอาหาร เราสามารถป้องกันโรคหัวใจได้โดย  การดูแลตนเอง  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ  ที่จะทำลายสุขภาพ  เช่น การเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนัก และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ  แต่หากเกิด “โรคหัวใจ” ขึ้นมาแล้ว  คุณต้องทำการรักษา
                ปัจจุบัน  โรคหัวใจเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง  แต่ผู้ที่เป็น “โรคหัวใจ” สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ได้  “การดูแลรักษา” มีส่วนสำคัญอยู่มาก เพราะรู้ว่า “โรคหัวใจ” เกิดขึ้นได้ทุกเวลาจึงควรตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ และ เมื่อมีอาการ ควรรีบมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ศูนย์หัวใจวิภาวดี พร้อมบริการด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย

     64-Slice Multidetector Computed Tomography Angiography (MDCTA)
การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
  เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รุ่น Somatom Sensation Cardiac64 เป็นเครื่องที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า สามารถทำการตรวจผู้ป่วยที่มีแนวโน้มในการเป็นโรคทางด้านหัวใจ เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน ซึ่งช่วยในการตรวจผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจหลอดเลือดให้เห็น ทำให้สามารถป้องกันและทำการรักษาต่อไปได้ทันเวลาและยังเป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถสร้างภาพได้ครั้งเดียว 64 ภาพต่อการหมุน 1 รอบ (360 องศา)  สามารถหมุนด้วยความเร็วเพียง 0.33 วินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่ทำให้ทำการตรวจหัวใจได้ดีที่สุด เนื่องจากหัวใจมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา
 
Cardiac catheterization (การตรวจสวนหัวใจ)
     การตรวจและรักษาโดยการใช้สายสวนขนาดเล็ก(ประมาณ 2 มม.) เข้าไปตามหลอดเลือดแดงหรือดำ จากบริเวณขาหนีบ หรือแขน จนถึงหัวใจ แล้วทำการฉีดสารทึบแสงเพื่อ
  • ตรวจหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ประเมินพยาธิสภาพของห้องหัวใจซ้ายหรือขวา
  • ค้นหาพยาธิสภาพที่ผิดปกติของไฟฟ้าหัวใจ
  • รักษาภาวะลิ้นหัวใจตีบโดยใช้ Balloon เช่นการทำบอลลูนขยายลิ้นไมทรัล
  • ปิดผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว หรือรูรั่วในหลอดเลือดด้วยเครื่องมือพิเศษโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดหัวใจ
Coronary Angiography (การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่)
    คือการฉีดสารทึบแสงเพื่อตรวจเส้นเลือดหัวใจ โดยแพทย์จะใช้สายสวนขนาดเล็ก(ประมาณ 2 มม.)ใส่เข้าไปตามหลอดเลือดแดงจากบริเวณขาหนีบหรือแขน จนถึงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ(Coronary artery) แล้วฉีดสารทึบแสงเข้าทางสายสวนนั้น เพื่อตรวจดูว่ามีการตีบแคบหรือตันของหลอดเลือดโคโรนารี่บริเวณใดหรือไม่ ซึ่งภาพจะปรากฏให้เห็นในจอมอนิเตอร์อย่างชัดเจน เมื่อพบว่ามีการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจก็สามารถให้การรักษาได้ทันที
 
Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty and Stenting (การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ที่ตีบแคบ)
    คือการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารี่ที่ตีบแคบ โดยการใช้สายสวนที่มี Balloon เล็กๆอยู่ส่วนปลาย ใส่เข้าไปให้ถึงบริเวณที่มีหลอดเลือดตีบแคบ แล้วเป่าลมเข้าไปทำให้พองออกตรงตำแหน่งที่ตีบแคบพอดี แรงกดจะทำให้หลอดเลือดที่ตีบแคบขยายออก บ่อยครั้งอาจมีการใส่ขดลวดสปริงเล็กๆ(stent) เพื่อป้องกันการตีบซ้ำภายหลัง
 
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง
    ใช้ในการวินิจฉัย  และพยากรณ์โรค  รวมทั้งตรวจหาความรุนแรง  ติดตามผลการรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เนื่องจากสามารถวัดขนาดและดูความสามารถในการทำงานของหัวใจ รวมถึงโครงสร้างต่าง ๆ ได้ดี
 
Exercise Stress Test (การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย)
  คือการให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานตามโปรแกรมที่กำหนด เพื่อมุ่งเน้นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือขาดเลือดเป็นสำคัญ หรือ อาจใช้ตรวจหาการเต้น ผิดจังหวะที่เกิดร่วม กับการออกกำลังกายอีกด้วย การทดสอบชนิดนี้ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่น หน้าอกได้เป็นอย่างดี
 
24 Hours Ambulatory ECG Recording (การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมงชนิดพกพา)
  คือ การตรวจหัวใจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24  ชั่วโมง เป็นการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ไว้กับตัวท่าน โดยที่ท่านสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือทำงาน ได้ตามปกติ โดยไม่ต้องเสียเวลานอน พักค้างที่โรงพยาบาล และเมื่อครบกำหนด 24 ชั่วโมงแล้ว ท่านจึงกลับมา ถอดเครื่อง และรอรับทราบผล การตรวจวิเคราะห์จากแพทย์ได้   การตรวจวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม อยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำ
 
Tilt Table Test การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติ โดยการปรับระดับเตียง
  เป็นการตรวจพิเศษที่ใช้ทดสอบผู้ป่วย ที่มีอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ เพื่อหาทางแก้ไขหรือรักษาให้ถูกต้องต่อไป เนื่องจากอาการเป็นลมหมดสติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจะมาจากปัญหาทางด้านสมอง  หัวใจ  ความดันโลหิตต่ำ หรือความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous systems) Tilt Table Test เป็นการตรวจหาสาเหตุของการเป็นลมที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นลม ที่พบบ่อยที่สุด
 
EKG การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  ช่วยในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หัวใจโต ความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในเลือด
 
Cardiac Rehabilitation (การฟื้นฟูและส่งเสริมสมรรถภาพหัวใจ)
  เป็นการผสมผสานกระบวนการต่างๆได้แก่ การออกกำลังกาย และการให้ความรู้ สร้างแรงเสริมในการปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ให้ผู้ป่วยกลับไปมีสุขภาพทางกาย และจิตใจที่ดีต่อเนื่องในระยะยาว
  ศูนย์หัวใจวิภาวดี พร้อมให้บริการด้วยห้องผ่าตัดขนาดใหญ่    พร้อมทีมแพทย์ พยาบาลที่มีประสบการณ์ และเครื่องมือการผ่าตัดหัวใจที่ทันสมัย รวมทั้งมีหอผู้ป่วยวิกฤตทางโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ
 
ภาวะ “โรคหัวใจ“ ที่ต้องได้รับการดูแลรักษา
  •  โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ / ตัน
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด
  • โรคหัวใจรูมาติก
  • ภาวะกระแสไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ
  • ผนังหัวใจโตผิดปกติจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ ปริแตก
  •  ฯลฯ

หากท่านมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง น้ำหนักเกิน คลอเรสเตอรอลสูง เป็นลมหมดสติบ่อย ๆ มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือแม้แต่คุณทราบพฤติกรรมของตนเองว่า อยู่ในภาวะ “เสี่ยง”   อย่า   นิ่งนอนใจ ปล่อยให้อาการลุกลามกลายเป็น “โรคหัวใจ”

ศูนย์หัวใจวิภาวดี เพื่อน “หัวใจ” ที่ใกล้ตัวคุณ  โทร. 0-2561-1111

 

อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ของศูนย์หัวใจ และรายละเอียดเครื่องมือมีดังนี้ 

การตรวจส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ทำได้โดยเครื่องHigh speed 64 Slices CT Scanner

1. ตรวจเส้นเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ( Coronary CT Angiography ) 
     เพื่อวิเคราะห์หาเส้นเลือดที่ตีบจากการที่ไขมันที่ไปเกาะผนังหลอดเลือดแดง ( Coronary Artery disease ) หรือ การที่มีก้อนก้อนแคลเซี่ยมที่ไปเกาะผนังหลอดเลือดแดง ( Calcification of Coronary Artery ) ซึ่ง สาเหตุทั้งสอง ทำให้เกิดเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ อุดตันได้เฉียบพลัน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย (Heart attack )ได้
 
2. ตรวจระบบเส้นเลือดแดงที่ตีบตันได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น
    2.1 เส้นเลือดแดงเลี้ยงสมอง
    2.2 เส้นเลือดแดงเลี้ยงไต
    2.3 เส้นเลือดแดงเลี้ยงขาทั้งสองข้าง
    2.4 เส้นเลือดแดงเลี้ยงแขนทั้งสองข้าง
    2.5 เส้นเลือดแดงหลักที่ไปเลี้ยงร่างกายด้านล่าง
    2.6 เส้นเลือดแดงส่วนอื่นๆ Tilt Table Test
  เป็นการตรวจพิเศษที่ใช้ทดสอบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเป็นลมซึ่งมีสาเหตุจาก การทำงานไม่สมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ(Neural Mediated Syncope)
  หลักการ ใช้เตียงพิเศษที่ปรับระดับองศาของเตียงได้ ผลการทดสอบ แพทย์จะวิเคราะห์จากชีพจร ความดันโลหิต คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาการผู้ป่วยขณะเปลี่ยนระดับเตียงจากนอนราบเป็น 70-80 องศา นานประมาณ 15-20 นาที
 
Cardiac Catheterization and Angiogram
หมายถึงการใช้สายสวนขนาดเล็ก (ประมาณ 2 มม.)ใส่เข้าไปตามหลอดเลือดแดงจากบริเวณขาหนีบหรือแขน จนถึงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ(Coronary artery) แล้วฉีดสารทึบแสงเข้าทางสายสวนนั้น เพื่อตรวจดูว่ามีการตีบแคบหรือตันของหลอดเลือดโคโรนารี่บริเวณใดหรือไม่
 
Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty
  คือการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารี่ที่ตีบแคบ โดยการใช้สายสวนที่มี Balloon เล็กๆอยู่ส่วนปลาย ใส่เข้าไปให้ถึงบริเวณที่มีหลอดเลือดตีบแคบ แล้วเป่าลมเข้าไปทำให้พองออกตรงตำแหน่งที่ตีบแคบพอดี แรงกดจะทำให้หลอดเลือดที่ตีบแคบขยายออก บ่อยครั้งอาจมีการใส่ขดลวดสปริงเล็กๆ(stent) เพื่อป้องกันการตีบซ้ำภายหลัง
 
3. การตรวจดูกระดูกส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อหาความผิดปกติของกระดูก ( Bone) ส่วนต่างๆ
    3.1 กระดูกสันหลัง ( Spine )
    3.2 กระดูกข้อเท้า ( Ankel )
    3.3 กระดูกเชิงกราน ( Pelvic bone  )
    3.4 กระดูกมือ ( Metatarsal Bone )
    3.5 กระดูกขาทั้งสองข้าง ( Leg Bone )
    3.6 กระโหลกศีรษะ ( Skull )
    3.7 กระดูกซี่โครง ( Ribs )
    3.8 โพรงกระดูกของช่องจมูก ( Sinus )
    3.9 กระดูกส่วนอื่นๆของร่างกาย
 
4. ตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมอง ( Brain CT  )
5. ตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อในช่องท้อง  ( Abdominal CT )
Echocardiogram
  เป็นการตรวจหัวใจโดยใช้คลื่นเสียง เพื่อดูการทำงานของหัวใจ คลื่นเสียงที่ใช้จะผ่านหัวตรวจ(Transducer) แล้วสะท้อนให้เห็นภาพการทำงานของหัวใจปรากฏที่หน้าจอ ซึ่งจะเป็นภาพเคลื่อนไหวเหมือนจริง

Exercise stress test
            เป็นการตรวจเพื่อค้นหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือขาดเลือดเป็นสำคัญ หลักการ คือให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานตามโปรแกรมที่กำหนด หากเส้นเลือดหัวใจตีบ จะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็น
ศูนย์หัวใจวิภาวดี ชั้น 3 อาคาร 1 ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.  โทร 0-2058-1111 , 0-2561-1111 กด 1322

 

 

 

แพคเกจและโปรโมชั่นอายุรกรรมโรคหัวใจ

<