วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก           ในปัจจุบันอุบัติการณ์ประชากรเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยพบอัตราการเสียชีวิต 14 คน ต่อวัน และพบอัตราการเกิดโรค 28 คน ต่อวัน ซึ่งตอนนี้มีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งองคชาติ มะเร็งช่องคลอด มะเร็งแคมอวัยวะเพศหญิง มะเร็งช่องปากช่องคอและศีรษะที่เกิดจากไวรัสเฮชพีวี (Human Papilloma Virus) (HPV) ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันมะเร็งจากไวรัส HPV 2 แบบ ได้แก่             1. แบบ 4 สายพันธุ์ (ป้องกันไวรัส HPV สายพันธุ์ 16,18 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคมะเร็งปากมดลูก 70% และเพิ่มการป้องกันไวรัส HPV สายพันธุ์ 6,11 เพื่อป้องกันโรคหูดหงอนไก่) โดยรวมป้องกันมะเร็งจากไวรัส HPV ได้70% รวมถึงป้องกันโรคหูดหงอนไก่ได้             2. แบบ 9 สายพันธุ์ ป้องกันได้ 90%-94% (ป้องกันไวรัส HPV สายพันธุ์ 16,18 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคมะเร็งปากมดลูก 70% และเพิ่มการป้องกันไวรัส HPV สายพันธุ์ 6,11 เพื่อป้องกันโรคหูดหงอนไก่ และเพิ่มการป้องกันเชื้อไวรัส HPV ความเสี่ยงสูงอีกห้าสายพันธุ์ ได้แก่ 31, 33, 45, 52, 58) โดยรวมป้องกันมะเร็งจากไวรัส HPV ได้90%รวมถึงป้องกันโรคหูดหงอนไก่ได้               เริ่มฉีดวัคซีนที่ต้นแขนข้างที่ไม่ถนัดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี โดยอายุ 9-15 ปี ฉีดวัคซีน 2 เข็ม คือวันแรกที่ฉีดและอีก 6-12 เดือน ถัดจากเข็มแรก แล้วอยู่ได้ตลอดชีวิต ไม่ต้องฉีดกระตุ้นเพิ่ม ถ้าอายุตั้งแต่ 15 ปี เป็นต้นไป ฉีดทั้งหมด 3 เข็มแล้วอยู่ได้ตลอดชีวิต คือฉีดเข็มแรก แล้วเข็มที่ 2 2 เดือนจากเข็มแรก ส่วนเข็มที่สาม ห่างจากเข็มที่ 2 4 เดือน แล้วอยู่ได้ตลอดชีวิต

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

มะเร็งปากช่องคลอด (Vulvar Cancer)

มะเร็งปากช่องคลอดอุบัติการณ์พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของมะเร็งทางนรีเวชวิทยาและประมาณร้อยละ 0.6 ของโรคมะเร็งที่พบในสตรี (1,2) และมักพบมากในสตรีหมดประจําเดือน สาเหตุของโรคมะเร็งปากช่องคลอดเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสเฮชพีวี (HPV) การมีรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งของปากช่องคลอด (Vulvar intraepithelial neoplasia) มีรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก (Cervical intraepithelial neoplasia) โรค Lichen sclerosus สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ อ้วน ภูมิคุ้มกันตํ่า เคยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมาก่อน (3,4) มะเร็งปากช่องคลอดมีสองชนิด (5) ชนิดที่ 1 ชนิด Basaloid หรือ Warty ชนิดที่ 2 ชนิด Keratinizing   ชนิดที่ 1  ชนิดที่ 2  อายุ  อายุช่วง 35-65 ปี  อายุช่วง 55-85 ปี  รอยโรค  หลายๆจุด  จุดเดียว  ปัจจัยเสี่ยง  ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง  เซลล์ผิดปกติขอปากช่องคลอด ที่เรียกว่า Vulvar Atypia  พยาธิวิทยา  ชนิด Basaloid หรือ Warty  ชนิด Keratinizing  การติดเชื้อไวรัสเฮชพีวี  เฮชพีวีชนิด 16,33  ไม่สัมพันธ์กัน  ประวัติโรคหูดหงอนไก่  พบบ่อย  ไม่สัมพันธ์กัน ประวัติโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์  พบบ่อย  ไม่สัมพันธ์กัน   การวินิจฉัย โดยการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาชนิดของมะเร็งปากช่องคลอดร้อยละ 90 เป็นชนิด Squamous Cell Carcinoma รองมาคือ Melanoma ซึ่งพบประมาณร้อยละ 2-4 ถัดลงมาคือ Basalcell Carcinoma พบได้ร้อยละ 2-3   การแบ่งระยะของมะเร็งปากช่องคลอด (6) ระยะที่ 1 โรคจำกัดอยู่ที่ปากช่องคลอด -ระยะ 1A รอยโรคขนาด ≤ 2 เซนติเมตร และมีการลุกลามไปในชั้นสโตรมา ≤ 1 มิลลิเมตร -ระยะ 1B รอยโรคขนาด > 2 เซนติเมตร และมีการลุกลามไปในชั้นสโตรมา > 1 มิลลิเมตร   ระยะที่ 2 รอยโรคไม่จำกัดขนาดและมีการแพร่กระจายไปที่อวัยวะข้างเคียง (หนึ่งในสามส่วนล่างของท่อปัสสาวะ และ/หรือหนึ่งในสามของช่องคลอดส่วนล่าง และ/หรือทวารหนัก)   ระยะที่ 3 รอยโรคไม่จำกัดขนาดและมีการแพร่กระจายไปที่อวัยวะข้างเคียง (หนึ่งในสามส่วนล่างของท่อปัสสาวะ และ/หรือหนึ่งในสามของช่องคลอดส่วนล่าง และ/หรือทวารหนัก) ร่วมกับมีการแพร่กระจายไปยังต่อมนํ้าเหลือง -ระยะ 3A แพร่กระจายไปที่ต่อมนํ้าเหลืองขาหนีบ 1ต่อม โดยมีขนาด ≥ 5 มิลลิเมตร หรือแพร่กระจายไปยังต่อมนํ้าเหลืองขาหนีบ 1-2 ต่อมโดยมีขนาด < 5 มิลลิเมตร -ระยะ3B แพร่กระจายไปที่ต่อมนํ้าเหลืองขาหนีบ ≥ 2ต่อม โดยมีขนาด ≥ 5 มิลลิเมตร หรือแพร่กระจายไปยังต่อมนํ้าเหลืองขาหนีบ ≥ 3 ต่อม โดยมีขนาด < 5 มิลลิเมตร -ระยะ3C แพร่กระจายไปที่ต่อมนํ้าเหลืองขาหนีบและมีการกระจายไป Extra Capsule   ระยะที่ 4 -ระยะ4A รอยโรคแพร่กระจายไปที่ส่วนบนของท่อปัสสาวะและ/หรือ ส่วนบนของช่องคลอด เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะเยื่อบุลำไส้ตรง กระดูกเชิงกรานระยะ 4B แพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆ   References 1. Siegel RL, Miller KD, Jemal A. Cancer Statistics, 2017. CA Cancer J Clin 2017;67:7-30 2. U.S. Cancer Statistics Working Group. United States Cancer Statistics 3. Madsen BS, Jensen HL, et al. Risk factors for invasive squamous cell carcinoma of the vulva and vagina—population-based study in Denmark. Int J Cancer 2008;122:2827-2834 4. Brinton LA, Thistle JE, et al. Epidemiology of vulvar neoplasia in the NIH-AARP study. Gynecol Oncol 2017;145:298-304 5. Crum CP. Carcinoma of the vulva: epidermiology and pathogenesis. Obstet Gynecol 1992; 79:448-54 6. Pecorelli S. Revised FIGO staging for carcinoma of the vulva, cervix, and endometrium. Int J Gynecol Obstet 2009;105:103-4__   สามารถสอบถามเพิ่มเติมและรับบริการตรวจได้ที่แผนกสูติ-นรีเวช ชั้น 2 อาคาร 2 คลิก https://www.vibhavadi.com/Center/Clinics/id/02  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การส่องกล้องขยายปากมดลูก (Colposcopy)

การส่องกล้องขยายปากมดลูก (Colposcopy) แพทย์หญิง อุษณีย์ ฉัตรโชติกวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งนรีเวชวิทยา         ผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกปี โดยหญิงไทยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับที่สองรองจากโรคมะเร็งเต้านม หญิงไทยที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิตวันละ 14 ราย (1) ถ้าผลการตรวจพบว่าเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกอันแสดงให้เห็นถึงข้อบ่งชี้ว่าควรจะมีการตรวจโดยการส่องกล้องขยายปากมดลูกต่อไป แพทย์ผู้ตรวจรักษาก็จะนัดหมายคนไข้มาตรวจโดยการส่องกล้องขยายปากมดลูก การส่องกล้องขยายปากมดลูก คือ การส่องกล้องที่มีกำลังขยายที่มากขึ้นในระดับต่างๆเพื่อให้เห็นภาพขยายปากมดลูกเพื่อประเมินรอยโรคของปากมดลูกในกรณีที่มีเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ การส่องกล้องขยายปากมดลูกเป็นวิธีมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือการตรวจพบเชื้อไวรัสเฮชพีวีความเสี่ยงสูงสายพันธุ์ 16, 18 โดยการส่องกล้องขยายปากมดลูกหลังย้อมปากมดลูกด้วยกรดนํ้าส้มสายชู (acetic acid) ใช้หลักการที่ว่าเซลล์ถ้าโดนกรดที่มีความเข้มข้นมากกว่า สารประกอบในเซลล์ (cytoplasm) เซลล์จะถูกดูดนํ้าออก และจะเห็นตัวนิวเคลียสชัดเจนขึ้น โดยถ้าเซลล์ผิดปกติตัวนิวเคลียสจะใหญ่ทำให้พอนํ้าในเซลล์ถูกดูดออกโดยกรดจะเห็นเป็นปื้นขาวขึ้นมาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกที่มีข้อบ่งชี้ต้องมาส่องกล้องขยายปากมดลูก มีดังนี้ Low grade squamous intraepithelial  lesion (LSIL), High grade squamous intraepithelial lesion (HSIL), Atypical squamous cells, cannot exclude HSIL (ASC-H), Atypical Glandular Cells (AGC) (2) หรือพบเชื้อไวรัสเฮชพีวีที่มีความเสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้แก่ สายพันธุ์ 16 และ 18 วิธีส่องกล้องขยายปากมดลูก - ให้คนไข้ขึ้นขาหยั่งเหมือนตรวจภายใน - ใส่เครื่องมือถ่างช่องคลอด (speculum) เพื่อประเมินปากมดลูก - ย้อมนํ้าส้มสายชู (acetic acid) ถ้าแบบความเข้มข้น 1% จะทิ้งไว้หนึ่งนาที ถ้า 3% จะทิ้งไว้ครึ่งนาที (30 วินาที) - ประเมินรอยโรคที่ปากมดลูกผ่านกล้อง - ขลิบปากมดลูกตรวจ ถ้าเห็นรอบวงรอยtransformation zone ของปากมดลูกไม่ครบวงก็จะขูดในคอปากมดลูกมาตรวจเพิ่มเติมด้วยคนไข้อาจมีการหน่วงๆเล็กน้อย - หยุดเลือดโดยป้ายยา Monsel หลังทำการส่องกล้องขยายปากมดลูกและขลิบเนื้อไปตรวจ - งดเพศสัมพันธ์สองสัปดาห์ - งดแช่นํ้าหรือว่ายนํ้าหรือยกของหนักสองสัปดาห์ -อาจมีเลือดออกเล็กน้อยหลังทำหัตถการแต่ถ้าออกปริมาณมากให้รีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล -แพทย์นัดหลังทำหัตถการประมาณเจ็ดวันเพื่อฟังผลเนื้อที่ขลิบไปตรวจ References   1. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (www.nci.go.th) 2. The American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) http://www.acog.org สามารถสอบถามเพิ่มเติมและรับบริการตรวจได้ที่แผนกสูติ-นรีเวช ชั้น 2 อาคาร 2 คลิก https://www.vibhavadi.com/Center/Clinics/id/02

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

มะเร็งโพรงมดลูก

มะเร็งโพรงมดลูก สาเหตุที่พบเป็นปัจจัยเสี่ยงมากสุดของการเกิดโรคมะเร็งโพรงมดลูก ได้แก่ การได้รับการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวยาวนานเกินไป (1) ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งโพรงมดลูก (1) ปัจจัยเสี่ยง โอกาสเกิดโรคมากกว่าคนทั่วไป (เท่า) ไม่มีบุตร 2-3 หมดประจำเดือนช้า 2.4 ภาวะอ้วน 3-10 โรคเบาหวาน 2.8 การได้รับการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวยาวนานเกินไป 4-8 รับประทานยาTamoxifen 2-3 ผลเนื้อโพรงมดลูกผิดปกติเล็กน้อย (Atypical endometrial hyperplasia) 8-29 โรค Lynch II syndrome 20     อาการของคนไข้โรคมะเร็งโพรงมดลูก ส่วนใหญ่มาด้วย เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด (1) การวินิจฉัยโรค โดยการนำเนื้อในโพรงมดลูกมาตรวจ เช่น การที่แพทย์ใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหลอดดูดเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อนำเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา หรือการขูดมดลูกเพื่อนำเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา (1) ภาวะแทรกซ้อน ของหัตถการที่แพทย์ใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหลอดดูดเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อนำเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยาเกิดน้อยมาก เช่น มดลูกทะลุพบได้ 1-2 คน ใน 1,000 คนที่ได้รับการทำหัตถการนี้ (1)  สำหรับการตรวจป้ายเซลล์ปากมดลูก (Pap test) ไม่มีความน่าเชื่อถือในการตรวจพบโรคมะเร็งโพรงมดลูก เพราะ 30 - 50% ในคนไข้โรคมะเร็งโพรงมดลูกพบเซลล์ผิดปกติที่หลุดออกมาแล้วตรวจได้จากการตรวจป้ายเซลล์ปากมดลูก (2) ความแม่นยำของการนำเนื้อในโพรงมดลูกมาตรวจ โดยการใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหลอดดูดเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อนำเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา 90 -98% เมื่อเทียบกับการขูดมดลูกหรือการตัดมดลูกไปตรวจทางพยาธิวิทยาในผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน (3) การส่องกล้องตรวจแบบเห็นภาพสีสามมิติในโพรงมดลูกร่วมกับการใส่ของเหลวเข้าไปในโพรงมดลูก (Hysteroscopy) และการขูดมดลูกควรทำในคนไข้ที่มีปากมดลูกตีบ หรือคนไข้ที่ทนต่อความเจ็บปวดไม่ไหวในการทำหัตถการนี้หรือการได้เนื้อมาจากการดูดเนื้อในโพรงมดลูก มาตรวจแต่ได้เนื้อไม่พอสำหรับการตรวจทางพยาธิวิทยา (1) การรักษาหลักที่เป็นมาตรฐานของโรคมะเร็งโพรงมดลูก คือ การผ่าตัดเพื่อประเมินระยะของโรค ได้แก่ การตัดมดลูก ปากมดลูก รังไข่ทั้งสองข้าง เลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน เลาะต่อมน้ำเหลืองข้างเส้นเลือดใหญ่ในช่องท้องไปส่งตรวจผลเนื้อทางพยาธิวิทยา (1) ระยะของโรคมะเร็งโพรงมดลูก (4) ระยะที่หนึ่ง มะเร็งอยู่ในมดลูก แบ่งเป็น ระยะที่หนึ่งเอ มะเร็งไม่ลามไปที่กล้ามเนื้อมดลูกหรือลามไปแต่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของกล้ามเนื้อมดลูก ระยะที่หนึ่งบี มะเร็งลามไปที่เท่ากับครึ่งหนึ่งของกล้ามเนื้อมดลูกหรือลามไปเกินครึ่งหนึ่งของกล้ามเนื้อมดลูก ระยะที่สอง มะเร็งลามมาที่เนื้อของปากมดลูก ที่เรียกว่า stroma ระยะที่สาม แบ่งเป็น ระยะสามเอ มะเร็งลามไปที่เยื่อบุของตัวมดลูกด้านนอกที่เรียกว่า serosa และ/หรือปีกมดลูก ระยะสามบี มะเร็งลามไปที่ช่องคลอดและ/หรือบริเวณเนื้อเยื่อด้านข้างออกมาจากตัวปากมดลูก (parametrium) ระยะสามซี แบ่งเป็นระยะ ดังนี้ มะเร็งระยะสามซีหนึ่ง มะเร็งลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง (pelvic nodes) มะเร็งระยะสามซีสอง มะเร็งลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่ข้างเส้นเลือดใหญ่ในช่องท้อง (para-aortic lymph nodes) ระยะที่สี่ แบ่งเป็น ระยะสี่เอ มะเร็งลามไปกระเพาะปัสสาวะหรือผนังลำไส้ส่วนmucosa ระยะสี่บี มะเร็งลามไปที่อวัยวะอื่นๆ นอกจากที่กล่าวไปด้านบนในช่องท้อง หรืออวัยวะนอกช่องท้อง หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ การรักษาโรคมะเร็งโพรงมดลูกเป็นไปตามระยะของโรคและชนิดของเซลล์มะเร็ง ซึ่งแพทย์จะแนะนำต่อไปเมื่อฟังผลเนื้อทางพยาธิวิทยาและประเมินระยะของโรคแล้ว References Berek and Novak's gynecology 16th edition Zucker PK, Kasdon EJ, Feldstein ML. The Validity of Pap smear parameters as predictors of endometrial pathology in menopausal women. Cancer 1985;56:2256-2263 Van Hanegem N, Prins MM, Bongers MY, et al. The accuracy of endometrial sampling in women with postmenopausal bleeding: A systematic review and meta-analysis. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2016; 197:147-155. FIGO Committee on Gynecologic Oncology. Revised FIGO staging for carcinoma of the vulva, cervix, and endometrium. Int J Gynecol Obst 2009;105:103-104.   สามารถสอบถามเพิ่มเติมและรับบริการตรวจได้ที่แผนกสูติ-นรีเวช ชั้น 2 อาคาร 2 คลิก https://www.vibhavadi.com/Center/Clinics/id/02  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งรังไข่อุบัติการณ์ในประเทศไทยพบได้ 6.6 คนต่อประชากรหญิง 100,000 คน มะเร็งรังไข่พบได้ในสตรี 1 ใน 70 คน และเป็นมะเร็งอันดับที่ 6 ของสตรีไทย (1) การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่ คือ การตรวจภายในและอัลตราซาวน์ทางช่องคลอดหรือทางหน้าท้องร่วมกับการตรวจค่ามะเร็งรังไข่ ได้แก่ ค่า CA-125, CA19-9, HE-4 ควรตรวจทุกปี   ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่ ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น เป็นโรคมะเร็งเต้านม สูบบุหรี่ ไม่มีบุตร เป็นหมัน มีโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ปวดประจำเดือน เริ่มมีประจำเดือนในอายุน้อยกว่าปกติ หมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก ประวัติครอบครัวมีโรคมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งเต้านม บุคคลที่มียีนที่เปลี่ยนแปลงไปของ BRCA1, BRCA2 (2) เนื่องจากอาการของโรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งรังไข่โดยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการเริ่มแน่นท้องจากน้ำในท้องที่ออกมาจากโรคมะเร็งรังไข่มักตรวจพบเป็นระยะสุดท้ายของโรคนี้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่จึงเป็นสิ่งสำคัญ   โรคมะเร็งรังไข่มี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 มะเร็งอยู่เฉพาะที่รังไข่โดยยังไม่พบการกระจายออกมาที่ช่องท้องส่วนท้องน้อย ระยะที่ 2 มะเร็งได้มีการกระจายมาที่บริเวณปีกมดลูกและอวัยวะในช่องท้องน้อย ระยะที่ 3 มะเร็งได้มีการกระจายมาบริเวณในท้อง ผิวเยื่อบุช่องท้อง ผิวนอกของลำไส้เล็ก ต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน และต่อมน้ำเหลืองที่ล้อมรอบเส้นเลือดใหญ่ในช่องท้อง ระยะที่ 4 มะเร็งกระจายไปอวัยวะไกลนอกช่องท้อง เช่น ปอด สมอง เนื้อตับ ต่อมน้ำเหลืองที่คอ การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ ได้แก่ การผ่าตัด การรักษาด้วยยาแบบเฉพาะเจาะจง (targeted therapy) ให้ยาเคมีบำบัด โดยยิ่งพบโรคเร็วระยะต้นยิ่งมีโอกาสรักษาหายง่ายกว่าการพบโรคระยะหลัง   สามารถสอบถามเพิ่มเติมและรับบริการตรวจได้ที่แผนกสูติ-นรีเวช ชั้น 2 อาคาร 2 คลิก https://www.vibhavadi.com/Center/Clinics/id/02  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Q&A เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Covid-19 ในสตรีตั้งครรภ์

Q&A เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Covid-19 ในสตรีตั้งครรภ์ ระยะฝากครรภ์ 1.การตั้งครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่ ตอบ การตั้งครรภ์ ไม่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 2.อาการของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็น COVID-19 แตกต่างจากสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์หรือไม่ ตอบ ไม่แตกต่างจากสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ อาการที่พบ ได้แก่ ไข้ ไอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ น้ำมูก จมูกไม่ได้รับกลิ่น  เป็นต้น   พบว่าประมาณร้อยละ 90 หายได้ โดยไม่ต้องรับไว้รักษาใน รพ.  แต่อาจมีอาการของโรครุนแรงกว่าสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะรายที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุ >= 35 ปี อ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง 3.สตรีที่ติดเชื้อ COVID-19 ระหว่างการตั้งครรภ์ จะมีภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกในครรภ์เพิ่มขึ้นหรือไม่ ตอบ สตรีตั้งครรภ์ จะมีภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้เพิ่มขึ้น การคลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะในรายที่มีปอดอักเสบหรือป่วยรุนแรง การผ่าตัดคลอด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารก ไม่พบความพิการของทารก หรือ ทารกเสียชีวิตในครรภ์ เพิ่มขึ้น 4.ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ COVID-19 มีความเสี่ยงในการติดเชื้อด้วยหรือไม่ ตอบ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าเชื้อ COVID-19 ผ่านรก และทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อ          อย่างไรก็ตาม มีรายงานจำนวนไม่มาก ที่พบว่าทารกซึ่งคลอดจากมารดาที่ติดเชื้อในไตรมาสที่ 3 ติดเชื้อ COVID-19 (ประมาณร้อยละ 2) 5.ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของ COVID-19 มาก จะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการฝากครรภ์อย่างไรบ้าง ที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติด COVID-19 ของสตรีที่มาฝากครรภ์ ตอบ แพทย์จะปรับการดูแลให้เหมาะสม ตามความเสี่ยงของสตรีที่มาฝากครรภ์แต่ละราย โดยขั้นตอนที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ได้แก่ การให้คำปรึกษาทางไกล (telehealth) การลดจำนวนครั้งของการฝากครรภ์ การลดระยะเวลาของการตรวจในแต่ละครั้งที่มา รพ. การจำกัดจำนวนคนที่มารอรับการตรวจครรภ์และการตรวจทางห้องปฏิบัตการ และจัดให้อยู่ห่างกัน การรวมการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้อยู่ในคราวเดียวกัน การตรวจอัลตราซาวด์เฉพาะที่มีข้อบ่งชี้ ปรับระยะเวลาและความถี่ของการตรวจประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ ระยะคลอด 1.สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ COVID-19 แต่ไม่มีอาการ ควรเลื่อนการชักนำการคลอดหรือผ่าตัดคลอด ที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารกเติบโตช้าในครรภ์ ออกไปก่อนหรือไม่ ตอบ ไม่ควร เพราะอาจมีอันตรายต่อมารดาหรือทารกในครรภ์มากกว่า 2.วิธีการระงับความปวดในระหว่างการรอคลอด ที่เหมาะสมสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ COVID-19 คือวิธีใด ตอบ การให้ยาชาทางไขสันหลัง  มีข้อดีคือ... ช่วยลด ภาวะเครียดต่อระบบการทำงานของหัวใจและปอด ที่เกิดจากความปวดและความกังวล ทำให้ไม่ต้องดมยาสลบ ในกรณีต้องผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน ไม่ควรใช้ Nitrous oxide ซึ่งเป็นยาลดความเจ็บปวดชนิดสูดดมในขณะรอคลอด เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในเรื่องการทำความสะอาด (cleaning) การกรอง (filtering) และโอกาสทำให้เกิดละออง (aerosolization)   3.ควรตรวจกรอง COVID-19 บุคคลที่อยู่กับสตรีตั้งครรภ์ระหว่างการรอคลอดหรือไม่ ตอบ คนที่อยู่ในห้องรอคลอดควรได้รับการตรวจกรอง COVID-19 (ทั้งนี้ ข้อกำหนดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่) ไม่ควรให้บุคคลต่อไปนี้อยู่ในห้องรอคลอด คู่สมรสที่ตรวจพบ COVID-19 แต่ไม่มีอาการ ผู้ที่มีประวัติสัมผัสผู้ที่เป็นโรค COVID-19 ภายใน 14 วัน                4.สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ COVID-19 จำเป็นต้องคลอดโดยการผ่าตัดคลอดหรือไม่ ตอบ ไม่จำเป็น เพราะการผ่าตัดคลอดเป็นการเพิ่มความเสี่ยงทางด้านมารดาและไม่ทำให้ผลลัพธ์ทางด้านทารกดีขึ้นแต่อาจมีความจำเป็นในรายที่มารดามีอาการเหนื่อยหอบ มีอาการรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่ควรให้คลอดโดยการผ่าตัดคลอด ระยะหลังคลอด 1.ทารกซึ่งคลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ COVID-19 จะได้รับการดูแลในโรงพยาบาลอย่างไร ตอบ ให้การดูแลตามแนวทางควบคุมการติดเชื้อ (infection control precautions)          ให้การดูแลแยกออกจากทารกคนอื่น  เก็บสารคัดหลั่งภายในจมูกและคอ (nasopharyngeral swab) เพื่อตรวจหาเชื้อ COVID-19 และให้การดูแลต่อตามผลตรวจที่ได้ 2.มารดาที่ติดเชื้อ COVID-19 ควรให้การดูแลทารกอย่างไร ตอบ สามารถให้ทารกอยู่ในห้องเดียวกับมารดาได้ โดยควรวางทารกห่างจากมารดามากกว่า 6 ฟุต    มารดาต้องสวมหน้ากากอนามัย (face mask) และ ทำความสะอาดมือก่อนสัมผัสทารกทุกครั้ง 3.มารดาทีติดเชื้อ COVID-19 ควรมีการรักษาระยะห่างกับทารกแรกเกิด (isolation) และปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้อ (infection precaution) เป็นระยะเวลานานเท่าใด ตอบ ในมารดาที่มีอาการ..... อย่างน้อย 10 วันนับจากวันที่เริ่มมีอาการ อย่างน้อย 20 วัน ในกรณีมีอาการรุนแรงหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่มีไข้ โดยที่ไม่ได้ใช้ยาลดไข้ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง อาการอื่น ๆ ดีขึ้น          ในมารดาที่ไม่มีอาการ อย่างน้อย 10 วัน หลังตรวจพบเชื้อ (test positive) 4.ทารกสามารถรับน้ำนมจากมารดาที่ติดเชื้อ COVID-19 ได้หรือไม่ ตอบ แม้ว่ายังไม่มีหลักฐานว่าเชื้อ COVID-19 สามารถถ่ายทอดผ่านน้ำนมมารดาได้หรือไม่  เมื่อเทียบประโยชน์ที่ได้จากน้ำนมมารดาแล้ว แนะนำให้ทารกดื่มนมมารดาได้ 5.มารดาที่ติดเชื้อหรือสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19 ควรปฏิบัติอย่างไรในการให้นมทารกแรกเกิด ตอบ ทำความสะอาดมือ เต้านม และสวมหน้ากากอนามัย (face mask) ขณะให้นมบุตรเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ (droplet transmission) หรือ ทำความสะอาดมือ เต้านม และสวมหน้ากากอนามัย (face mask) แล้วปั๊มนมให้คนอื่นนำไปเลี้ยงทารกก็ได้     วัคซีนโควิด สำหรับสตรีตั้งครรภ์และสตรีให้นมบุตร 1.มีข้อแนะนำอย่างไรเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน COVID-19 สำหรับสตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์ ตอบ เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าการระบาดของโรค ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์สูงขึ้น จึงไม่ได้แนะนำให้เลื่อนการตั้งครรภ์ออกไป แต่แนะนำให้ฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์ ถ้าทำได้ ทั้งนี้ วัคซีนไม่มีผลทำให้มีบุตรยาก และ หลังจากฉีดวัคซีนแล้วไม่จำเป็นต้องเว้นช่วงการตั้งครรภ์ 2.วัคซีนมีความปลอดภัย สำหรับสตรีตั้งครรภ์ หรือไม่ ตอบ วัคซีนไม่ได้มีส่วนประกอบของเชื้อที่สามารถแบ่งเพิ่มจำนวนได้ จึงไม่ได้ทำให้เกิดโรค Adjuvant (aluminium salts) ซึ่งเป็นส่วนประกอบในวัคซีน มีความปลอดภัย และมีการฉีดในสตรีตั้งครรภ์อย่างกว้างขวาง เช่น วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (TdaP)           อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ฉีดวัคซีนหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไปแล้ว  ในกรณีที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้วตั้งครรภ์ ให้ฉีดเข็มที่ 2 ตามเวลาเดิมเหมือนสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ 3.การฉีดวัคซีนในสตรีตั้งครรภ์ จะมีผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน แตกต่างจากสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์หรือไม่ ตอบ มีผลข้างเคียงจากการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเหมือนที่พบได้ในสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ โดยมีผลข้างเคียงแตกต่างกันไปตามชนิดของวัคซีนที่ฉีด 4.วัคซีนมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ตอบ ข้อมูลที่มีพบว่าอัตราการแท้ง ความพิการของทารก การเติบโตช้าของทารกในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด และการตายปริกำเนิด ไม่เพิ่มขึ้น ในสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการฉีดวัคซีน 5.ประสิทธิภาพของวัคซีนที่เกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์เป็นอย่างไร ตอบ วัคซีนช่วยลดความรุนแรงของโรค ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อ COVID-19  นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่าวัคซีนบางชนิดที่ฉีด ทำให้สตรีตั้งครรภ์ เกิดภูมิคุ้มกันข้ามสายพันธุ์ได้ (cross-reactive immune responses) นอกจากนี้ ยังมีการตรวจพบภูมิคุ้มกัน (antibodies) ในสายสะดือ ในสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการฉีดวัคซีน จึงอาจช่วยให้ทารกแรกเกิดได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดาด้วย 6.สตรีตั้งครรภ์สามารถฉีดวัคซีน COVID-19 พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นที่แนะนำให้ฉีดในระยะฝากครรภ์ได้หรือไม่                                                                                                                                                                                                                          ตอบ สามารถให้พร้อมวัคซีนอื่น เช่น คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (TdaP), ไข้หวัดใหญ่ (influenza) ได้ 7.สตรีที่ให้นมบุตรสามารถฉีดวัคซีน COVID-19 ได้หรือไม่ ตอบ ภูมิต้านทาน (antibodies) ที่เกิดจากการฉีดวัคซีนในมารดา สามารถออกมาทางน้ำนมได้ และอาจจะมีผลป้องกันการติดเชื้อในทารกได้   บทความโดย พ.อ.พญ. พีระพรรณ พันธุ์ภักดีคุณ สูตินรีแพทย์ ประจำโรงพยาบาลวิภาวดี ประธาน PCT สูติ-นรีเวชกรรม สอบถามข้อมูลได้ที่ แผนกสูติ-นรีเวช 02-561-1111 / 02-058-1111 ต่อ 2219-20  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ในกรณีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ และได้รับการตรวจภายในแล้ว

ในกรณีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ และได้รับการตรวจภายในแล้ว           ในกรณีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติและได้รับการตรวจภายในแล้ว ไม่พบอาการผิดปกติ เราเรียกภาวะนี้ว่า Dysfunctional uterine bleeding (DUB) ซึ่งเกิดจากระบบฮอร์โมนที่ควบคุมการมีประจำเดือนแปรปรวนไป มักจะทำให้ไม่มีไข่ตก ภาวะนี้ไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่อาจจะรู้สึกรำคาญที่ประจำเดือนมาบ่อย หรือไม่เหมือนคนอื่น   การรักษา           จะใช้ยาคุมในกรณีที่ยังไม่แต่งงานหรือยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร ใช้ระยะเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี ถ้าได้รับการรักษามานานแล้วประจำเดือนยังไม่กลับมาปกติ ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจฮอร์โมนในเลือด อัลตราซาวด์ เป็นต้น           ถ้าในกรณีที่ต้องการมีบุตร การรักษาจะใช้ยากระตุ้นให้ไข่ตก เพื่อให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น ถ้าไม่ตั้งครรภ์ประจำเดือนก็จะมาปกติ                                    โดย นพ.ชุมพล  ชินนิยมพานิชย์  สูติ-นรีแพทย์ รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา วายร้ายต่อลูกน้อยในครรภ์

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา วายร้ายต่อลูกน้อยในครรภ์    โรคติดเชื้อไวรัสซิกา วายร้ายต่อลูกน้อยในครรภ์    ยุงร้ายกว่าเสือ...ใครเห็นด้วยยกมือขึ้น              ทำไมยุงร้ายกว่าเสือ ลองมาฟังเรื่องนี้กันดีกว่า...ในช่วงนี้หลายคนคงเคยได้ยินโรคใหม่ที่ชื่อ” โรคติดเชื้อไวรัสซิกา” จริงๆโรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เป็นโรคที่พบตั้งแต่ปี พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นปีที่ตรวจพบเชื้อไวรัสได้ครั้งแรกในลิง และที่เรียกว่า เชื้อไวรัสซิกา เพราะลิงที่ติดเชื้อเป็นลิงที่มาจากป่าซิกา ประเทศยูแกนดาแถบแอฟริกา หลังจากนั้นก็มีการระบาดไปทั่วโลก ในประเทศไทยมีรายงานยืนยันพบผู้ป่วยครั้งแรก ในพ.ศ. 2555 โดยพบผู้ป่วยเฉลี่ยปีละ 5 ราย แต่ที่สำคัญที่สุดของการติดเชื้อไวรัสซิกาคือ เมื่อพ.ศ.2558 พบว่าการติดเชื้อไวรัสซิกาในมารดาตั้งครรภ์สัมพันธ์กับภาวะทารกแรกเกิดศีรษะเล็ก....โอ น่ากลัวจริงๆ! และตั้งแต่ต้นปี 2559 จนถึงต้นเดือนกันยายนมีผู้ป่วยมากถึง279 ราย แต่ในประเทศไทยยังไม่พบว่าทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสซิกา มีภาวะศีรษะเล็ก เชื้อไวรัสซิกาติดได้ทางใด? เชื้อไวรัสเป็นอาร์เอ็นเอไวรัส กลุ่มเดียวกับไวรัสเดงกี่(ไข้เลือดออก), ไวรัสไข้สมองอักเสบ, ไข้เหลือง, ไข้เวสไนล์ โดยมีภาหะนำโรค คือ ยุงลาย....นี่ไง ที่ว่า ยุง(ลาย)ร้ายกว่าเสือ! การติดโรคส่วนใหญ่ก็จะเกิดจากการถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด(โดยยุงที่ไปกักคนที่มีเชื้อไวรัสซิกา และมากัดเราต่อ) นอกจากนี้ยังสามารถติดกันได้จากการมีเพศสัมพันธ์ พบว่าสามารถตรวจพบเชื้อในน้ำอสุจิของคนที่เป็นโรคซิกาได้นานถึง 180 วัน(หรือ 6 เดือน)ดังนั้นคนทีเป็นโรคซิกาจึงต้องงดการมีเพศสัมพันธ์นานถึง 6 เดือน...โอ! ช่างทรมานจริงๆ และติดทางการได้รับเลือดที่มีเชื้อไวรัสซิกา และที่สำคํญที่สุดก็คือ       ติดจากมารดาไปสู่ทารกในครรภ์ได้ อาการของโรคไวรัสซิกา ส่วนมาก80%ไม่มีอาการ ส่วนอีก 20% จะมีอาการ โดยที่อาการที่พบส่วนใหญ่ประมาณ 90% คือ ผื่น(maculopapular rash) อีก45-65% มีไข้ต่ำๆ(37.8C -38.7C),ตาแดง(แบบไม่มีขี้ตา), ปวดข้อ, ปวดศีรษะ และอีกส่วนน้อยมากๆ อาจเกิดอาการทางระบบประสาทกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่รุนแรงและหายได้เอง ดังนั้นถ้าเกิดโรคซิกาในคนทั่วไปก็อาจไม่มีความกังวลอะไร แต่ถ้าโรคนี้เกิดในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกในครรภ์มีศีรษะเล็ก(microcephaly) ยิ่งติดเชื้อที่อายุครรภ์น้อยๆก็จะพบทารกศีรษะเล็กและมีความผิดปกติของสมองได้มากกว่ามารดาที่ติดเชื้อในช่วงท้ายๆของการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ใดที่เข้าข่ายต้องตรวจการติดเชื้อไวรัสซิกา? หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการดังนี้ 1.มีผื่น(maculopaular rash) ร่วมกับมีอาการ 1ใน3ของ ไข้  ปวดข้อ  ตาแดง                   2. มีไข้ ร่วมกับมีอาการ 2 ใน 3 ข้อของ ปวดศีรษะ  ปวดข้อ    ตาแดง 3.มีผื่น(macupolapular rash) ที่อาศัยอยู่หรือมีประวัติเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยยืนยันและยังอยู่ในระยะควบคุมโรค(28วัน) ซึ่งการตรวจก็จะตรวจเลือด และ/หรือปัสสาวะ ตามระยะเวลาที่แสดงอาการ โดยต้องส่งไปที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ·       โรคนี้มีการรักษาอย่างไร? ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสซิกาโดยเฉพาะ การรักษาเป็นการรักษาตามอาการ เช่น มีไข้ ก็ทานยาพาราเซตามอล เพื่อลดไข้, เป็นผื่นก็ใช้คาลาไมด์ทา และอาการที่เกิดขึ้นจะหายได้เองใน 5-7 วัน ส่วนการรักษาในมารดาที่ติดเชื้อไวรัสซิกา ก็ให้การรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับคนทั่วไปที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีการอัลตร้าซาวด์ติดตามขนาดของศีรษะทารกในครรภ์ แต่แม้ว่าจะตรวจพบว่าทารกในครรภ์มีขนาดศีรษะเล็ก ในปัจจุบันก็ยังไม่มียาหรือการรักษาใดๆ ในทารกที่ตรวจพบว่ามีความผิดปกติ ในตอนนี้ก็คงมีแต่การทำบุญและสวดภาวนาขอให้บุตรที่คลอดออกมา ไม่มีอาการทางระบบประสาท ซึ่งหลังคลอดแล้ว กุมารแพทย์ก็จะต้องตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง ·         สิ่งที่สำคัญ คือ การป้องกันโรค! เนื่องจากยังไม่มียาที่ใช้รักษาและวัคซีนป้องกันเฉพาะ ดังนั้นสิ่งที่สามารถทำได้ในตอนนี้ คือ   1.กำจัดยุงลาย ด้วยมาตรการของกรมควบคุมโรค คือ 3เก็บ  เก็บบ้าน    เก็บขยะ  เก็บน้ำ                                                                      2.ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด                ทายากันยุง ในหญิงตั้งครรภ์ เน้นยาที่ทำจากสมุนไพร เช่นตะไคร้   3.งดมีเพศสัมพันธ์ ในคนที่ติดเชื้อไวรัสซิกานาน 6 เดือน เนื่องจากสามารถตรวจพบเชื้อไวรัสซิกาในน้ำอสุจิได้นาน 180 วัน (6เดือน) นั่นเอง หรือต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ สิ่งสำคัญคือ หญิงตั้งครรภ์ใดที่มี ไข้, ผื่น, ปวดข้อ, ตาแดง อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบไปพบแพทย์ และในตอนนี้ ถ้ามีใครมาถามว่า ยุงร้ายกว่าเสือจริงมั้ย?...ทุกคนคงต้องยกมือเห็นด้วยเป็นแน่   ตระหนักแต่อย่าตระหนก                                                                                                                                  ด้วยความปรารถนาดี                                                                          พ.ญ. รุจิเรข        เกตุทอง   สูตินรีแพทย์      (เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คุณรู้จัก Folic Acid ดีหรือยัง?

คุณรู้จัก Folic Acid ดีหรือยัง? Folic acid          Folic acid เป็น B vitamin ชนิดหนึ่งซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้าง cells ใหม่ในร่างกาย คำว่า “Folic Acid” เป็นชื่อเรียกสารที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้เกิดเองตามธรรมชาติ เป็นรูปแบบหนึ่งของ “Folate” บ่อยครั้งมีการใช้สองคำนี้แทนกันได้ folate ในธรรมชาติสามารถพบได้มากในอาหารบางประเภท เช่น ผักใบเขียว ผลไม้รสเปรี้ยว ถั่ว ฯลฯ ในบางประเทศมีการเติม folic acid ลงไปในอาหารบางประเภท เช่น ข้าว ขนมปัง pasta cereals ฯลฯ การได้รับ folate อย่างเพียงพอตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนถึงช่วงแรกของการตั้งครรภ์ช่วยป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural Tube Defects) ในทารกได้   ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural Tube Defects) ในทารกคืออะไร?           ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ หลอดประสาทจะม้วนตัวปิดตามแนวยาวและพัฒนากลายเป็นสมองและไขสันหลังของทารก ซึ่งช่วงเวลานี้สตรีอาจยังไม่ทราบว่าตนเองเริ่มตั้งครรภ์แล้ว ภาวะหลอดประสาทไม่ปิดจึงเป็นพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่มีความรุนแรงเกี่ยวเนื่องกับสมองและไขสันหลัง ภาวะนี้มีหลายชนิดแต่ที่พบบ่อยที่สุดคือภาวะ Spina Bifida (หลอดประสาทไม่ปิดบริเวณไขสันหลัง) และ Anencephaly (หลอดประสาทไม่ปิดที่สมองและกระโหลกศีรษะ)   ภาวะหลอดประสาทไม่ปิดป้องกันได้อย่างไร?           Folic acid มีบทบาทช่วยในการเจริญของหลอดประสาททารก อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีการวางแผนมาก่อนและภาวะหลอดประสาทไม่ปิดเกิดขึ้นในช่วง 3-4 สัปดาห์หลังปฏิสนธิซึ่งสตรีอาจยังไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ดังนั้นการรับประทาน folic acid เสริมอย่างเพียงพอทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญในการช่วยลดโอกาสการเกิดความผิดปกติแต่กำเนิดชนิดนี้ แม้ folate จะมีอยู่ในอาหารหลายประเภทแต่สตรีมักได้รับ folate ในระดับที่ไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหาร ต้องอาศัยการรับประทาน folic acid เสริมด้วย ปริมาณ folic acid เสริมที่แนะนำต่อวันคือ 400 micrograms ร่วมกับการรับประทานอาหารที่มี folate อยู่ด้วย การรอจนกระทั่งมาตรวจฝากครรภ์ครั้งแรก (ทั่วไปมักเป็นในช่วงอายุครรภ์ 6-12 สัปดาห์) แล้วจึงเริ่มรับประทาน folic acid อาจไม่ได้ประโยชน์ในการป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด           สตรีที่มีประวัติภาวะหลอดประสาทไม่ปิดในครรภ์ก่อนควรเริ่มรับประทาน folic acid 400 micrograms วันละครั้งตั้งแต่ยังไม่ได้วางแผนมีบุตร เมื่อวางแผนจะมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและรับประทาน folic acid 4,000 micrograms วันละครั้ง 1 เดือนก่อนการตั้งครรภ์เป็นอย่างน้อยตลอดจนสิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์           อย่างไรก็ตามการรับประทาน folic acid ในช่วงเวลาและปริมาณที่เหมาะสม ไม่ได้เป็นการป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิดได้ 100% เนื่องจากภาวะหลอดประสาทไม่ปิดอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นอีกมาก   โดย นพ.พริษฐ์ วาจาสิทธิศิลป์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ถอดจากการสัมภาษณ์ ในรายการ Happy&Healthy ช่วง Health Talk FM.102 ทุกวันเสาร์ 09.00 -10.00 น. ภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน

ภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน         อุ้งเชิงกรานเป็นบริเวณหนึ่งของร่างกาย มีลักษณะเป็นรูปถ้วยโอบรอบด้วยกระดูกเชิงกราน กล้ามเนื้อ รวมถึงเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีความแข็งแรง อวัยวะทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณนี้เรียกว่าอวัยวะในอุ้งเชิงกรานในสตรีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานที่มีความสำคัญ ได้แก่ กระเพราะปัสสาวะ มดลูก ช่องคลอด รวมถึงลำไส้ตรงของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอวัยวะทั้งหมดสามารถเกิดการเคลื่อนจากตำแหน่งปกติที่ควรจะเป็นได้หรือเรียกสั้นๆว่า “หย่อน” ได้ เนื่องจากอวัยวะทั้งหมดนี้ถูกยึดไว้ด้วยโครงสร้างของร่างกายซึ่งก็คือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ เมื่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเหล่านี้เสื่อมสภาพลงหรือมีการบาดเจ็บ สามารถที่จะทำให้เกิดการหย่อนของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานได้ ซึ่งการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเหล่านี้ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุ กรรมพันธุ์ การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร โดยเฉพาะการคลอดบุตรหลายๆ คนด้วยวิธีธรรมชาติหรือใช้คีมช่วยคลอด ความอ้วน ภาวะอื่นที่มีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น ไอ จาม ท้องผูกแบบเรื้อรัง            อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนชนิดที่พบได้บ่อยคืออวัยวะระบบสืบพันธุ์ของสตรี ได้แก่ มดลูกและช่องคลอด เนื่องจากสตรีมีช่องคลอดและปากช่องคลอดซึ่งเป็นโครงสร้างที่แตกต่างจากบุรุษ อวัยวะต่างๆจึงสามารถหย่อนเข้ามาในช่องคลอดได้ โดยนิยามของคำว่า “อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน” คือ การที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานยื่นมาในช่องคลอด เช่น มดลูกที่อยู่จุดบนสุดของช่องคลอดเคลื่อนตัวลงมา ผนังช่องคลอดด้านหน้าหรือด้านหลังยื่นเข้ามาในช่องคลอด ภาวะนี้มีความรุนแรงหลายระดับ มีวิธีการแบ่งความรุนแรงได้หลายวิธี วิธีที่นิยมมากที่สุดชื่อว่า POP-Q (ซึ่งไม่ขอลงในรายละเอียดในที่นี้) แบ่งความรุนแรงได้เป็น 4 ระดับ ผู้ป่วยที่มีภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนไม่มาก ได้แก่ ระดับที่ 1-2 อวัยวะต่างๆ มีการหย่อนแต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ภายในช่องคลอด ไม่พ้นปากช่องคลอดออกมาภายนอก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ในบางรายอาจมีอาการเกี่ยวกับระบบปัสสาวะหรืออุจจาระที่เปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อยเท่านั้น ในทางกลับกันผู้ป่วยที่มีอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนระดับสูง ได้แก่ ระดับที่ 3-4 จะมีก้อนยื่นโผล่พ้นปากช่องคลอดซึ่งก้อนนี้อาจเป็นปากมดลูก ผนังช่องคลอดด้านใดด้านหนึ่ง หรืออวัยวะอุ้งเชิงกรานทั้งหมดก็ได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้บางรายอาจมีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด ปัสสาวะคั่ง ไตบวมน้ำ และอุจจาระผิดปกติได้ อวัยวะในอุ้งเชิงกรานอีกส่วนหนึ่งที่สามารถหย่อนได้ แต่ถูกพูดถึงน้อยเพราะพบไม่บ่อยคือลำไส้ตรง (ส่วนสุดท้ายของลำไส้ใหญ่ก่อนที่จะถึงรูทวารหนัก) สามารถหย่อนได้ทั้งในบุรุษและสตรี จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาโดยศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ซึ่งจะมีวิธีการดูแลรักษาแตกต่างจากการหย่อนของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี   การดูแลรักษาสตรีที่มีภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนจะขึ้นกับระดับความรุนแรงและอาการเป็นหลัก 1.การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การลดน้ำหนักในรายที่น้ำหนักเกิน การยกของหนักบ่อยๆ ภาวะไอจามเรื้อรัง ภาวะท้องผูก เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้ทำให้มีการเพิ่มแรงดันในช่องท้องซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การรักษาอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนรักษาไม่ได้ผล   2.ผู้ป่วยที่มีภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนในระยะเริ่มต้น การรักษาจะเน้นในเรื่องของการฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานซึ่งเป็น first-line treatment มีจุดประสงค์เพื่อทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงมากขึ้น มีผลช่วยลดขนาดของปากช่องคลอด การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานต้องอาศัยวินัยในการฝึก เพราะคล้ายคลึงกับการฝึกกล้ามเนื้อส่วนอื่นของร่างกาย ที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและมีความถี่มากเพียงพอ แนะนำว่าควรฝึกอย่างน้อยๆ 3-4 วันต่อสัปดาห์ ในแต่ละวันฝึกประมาณ 30-40 ครั้ง ซึ่งถ้าผู้ป่วยทำได้มักจะได้ผลดี แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนระดับสูง การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ประโยชน์มาก และไม่สามารถจะแก้ไขอาการทั้งหมดได้   3.อุปกรณ์พยุงช่องคลอด (Pessary) เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อค้ำบางส่วนของช่องคลอดไม่ให้เคลื่อนตำแหน่งจนทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการ การใส่อุปกรณ์ทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่มีแผลผ่าตัด ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล และสามารถแก้ปัญหาอาการของผู้ป่วยได้เลยทันที ผู้ป่วยแต่ละรายจะเหมาะสมกับชนิดและขนาดของอุปกรณ์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจำเป็นต้องมีการ fitting อุปกรณ์ก่อนใช้จริง นอกจากประโยชน์ในแง่ความสะดวกแล้ว อุปกรณ์นี้มีข้อดีที่สำคัญคือสามารถทำให้ผู้ป่วยเลี่ยงการผ่าตัดได้ และยังสามารถแก้ไขอาการได้เทียบเท่ากับการผ่าตัดอีกด้วย อย่างไรก็ตามการใส่อุปกรณ์ไม่ได้เป็นการแก้ไขโครงสร้างของร่างกายที่แท้จริง ทำให้ต้องใส่อุปกรณ์อยู่ตลอด เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการ   4.การผ่าตัดแก้ไขอาจทำได้หลายลักษณะ เช่น การทำให้ส่วนของช่องคลอดกลับไปอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม การเย็บปิดช่องคลอดไปเลย ผู้ป่วยหลายรายที่มีภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนระดับสูงมักเข้าใจว่าสามารถผ่าตัดทั้งส่วนของมดลูกและช่องคลอดออกทั้งหมดได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ส่วนที่สามารถผ่าตัดออกได้จะเป็นมดลูกเท่านั้น ส่วนช่องคลอดต้องคงอยู่ เพราะเป็นส่วนที่ติดกับกระเพาะปัสสาวะและไส้ตรง และยังทำหน้าที่กั้นระหว่างอวัยวะภายในกับอากาศภายนอก           ภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน โดยหลักเกิดจากความเสื่อมของโครงสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ดังนั้นวิธีป้องกันหลักคือการลดปัจจัยเสี่ยงเท่าที่ทำได้ เช่น การควบคุมน้ำหนัก การแก้ไขภาวะไอเรื้อรังท้องผูกเรื้อรัง ฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้ตั้งแต่วัยเจริญพันธุ์ทั่วไป นอกจากนั้นแล้วสำหรับสตรีทั่วไปที่ไม่มีอาการ แนะนำเรื่องของการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งรวมถึงการตรวจภายใน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และอัลตราซาวด์ ในกรณีที่มีอาการต่างๆ เกิดขึ้นมาใหม่ เช่น รูปแบบการปัสสาวะ หรืออุจจาระเปลี่ยนไป แนะนำให้รีบพบแพทย์ เพื่อที่จะทำการรักษา หรือหาสาเหตุต่อไป   นพ.พริษฐ์ วาจาสิทธิศิลป์  สูติ นรีแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในสตรี อาจเกิดจากโรคประจำตัว หรือยาที่ใช้เป็นประจำ

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้  คือ ภาวะที่มีปัสสาวะซึมหรือไหลออกมาโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ภาวะนี้มีอุบัติการณ์สูงและจะเพิ่มมากขึ้นในสตรีสูงอายุ นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในหลาย ๆ ด้านรวมถึงความอับอายทั้งต่อครอบครัวของตนเองและสังคม ผู้ป่วยส่วนมากพยายามปกปิดภาวะดังกล่าวไว้ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในสตรีมีหลายชนิดอาจมีความซับซ้อนในผู้ป่วยบางราย ที่สำคัญภาวะนี้อาจพบร่วมกับภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน (Pelvic Organ Prolapse) ได้บ่อย ดังนั้นผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการประเมินและการรักษาที่ถูกต้อง   ชนิดของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Types of Urinary Incontinence) ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้มี 3 ชนิดหลักที่พบได้บ่อย ได้แก่ 1. ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้หลังมีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง(Stress Urinary Incontinence) หรือภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด ในภาวะปกติสตรีจะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ทำหน้าที่พยุงท่อปัสสาวะให้อยู่นิ่งและช่วยทำหน้าที่อุดกั้นท่อปัสสาวะเมื่อเกิดการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น การไอหรือจาม การหัวเราะ การออกกำลังกาย แต่หากเกิดการบาดเจ็บหรือความเสื่อมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันดังกล่าวย่อมทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดตามหลังการเพิ่มแรงดันในท้องได้ 2. ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้หลังมีอาการปวดปัสสาวะฉับพลัน (Urgency Incontinence) หรือภาวะปัสสาวะราด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน โดยมักมีอาการตามหลังอาการปวดปัสสาวะฉับพลันซึ่งอาจมีอาการเกิดขึ้นเองหรือมีปัจจัยบางอย่างกระตุ้น เช่น การถอดกางเกงชั้นใน การเปิดประตูห้องน้ำ การล้างมือด้วยน้ำเย็น หรือแม้กระทั่งการไขกุญแจบ้าน นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการปัสสาวะบ่อย (มากกว่า 7 ครั้ง) และปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืน (ตื่นขึ้นมาปัสสาวะมากกว่า 1 ครั้ง) ร่วมด้วย 3. ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบผสม (Mixed Incontinence) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีทั้งภาวะไอจามปัสสาวะเล็ดและภาวะปัสสาวะราดรวมกัน นอกจากนี้แล้วยังมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้อีกหลายชนิด แต่อาจพบได้น้อยกว่า ได้แก่ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ขณะเปลี่ยนท่าทาง ภาวะปัสสาวะรดที่นอน ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ตลอดเวลา ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบไม่รู้สึกตัว และภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ขณะมีเพศสัมพันธ์   การประเมินผู้ป่วยเมื่อมาพบแพทย์             การประเมินผู้ป่วยจะนำไปสู่การวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง แพทย์จะสอบถามอาการเกี่ยวกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้โดยละเอียด ประวัติทั่วไปรวมถึงเครื่องดื่มที่ดื่มประจำ โรคประจำตัวและยาที่ใช้ประจำ ตรวจร่างกายทั่วไป และตรวจภายในโดยละเอียดรวมถึงประเมินภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน นอกจากนั้นแพทย์อาจแนะนำการตรวจพิเศษหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการบางอย่างเพิ่มเติม ได้แก่ 1. การจดบันทึกการปัสสาวะ (Bladder Diary) คือ การจดบันทึกปริมาณปัสสาวะ เวลาที่ปัสสาวะ ปริมาณน้ำดื่ม และกิจกรรมที่ทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ การจดบันทึกปัสสาวะเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญมากต่อการประเมินผู้ป่วยเนื่องจากอาจบ่งถึงสาเหตุและเป็นแนวทางในการรักษาได้อีกด้วย 2. การตรวจพื้นฐานอื่น ๆ (Simple Tests) ได้แก่ การวัดปริมาณปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การจำลองภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้โดยการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง(Cough Stress Test) การวัดปริมาณปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะหลังจากปัสสาวะแล้วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง 3. การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urinalysis) เพื่อตรวจหาสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เช่น การอักเสบ นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ 4. การตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ (Urodynamic Study) คือ การตรวจเพื่อจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในกระเพาะปัสสาวะโดยเริ่มตั้งแต่ปัสสาวะเติมในกระเพาะปัสสาวะ ปริมาณปัสสาวะที่กระเพาะปัสสาวะสามารถรับได้ จำลองภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ไปจนถึงสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะปัสสาวะ การตรวจนี้มักจะทำในผู้ป่วยที่การวินิจฉัยปัญหามีความซับซ้อนหรือผู้ป่วยที่มีแผนจะเข้ารับการผ่าตัด   การรักษาที่ผู้ป่วยอาจได้รับ 1. การรักษาทั่วไปของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ 1.1 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Lifestyle Modification) ได้แก่ -การลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนจะช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น -การรักษาอาการท้องผูกในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำอาจช่วยลดอาการได้ -การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ในผู้ป่วยที่ดื่มน้ำปริมาณมากเกินไป (มากกว่า 2 ลิตรต่อวัน) และมีภาวะปัสสาวะบ่อยหรือภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ การดื่มน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ (1.5-2 ลิตรต่อวัน) จะช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามควรระวังในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะปัสสาวะบ่อยและดื่มน้ำน้อยอยู่แล้วเป็นประจำ (น้อยกว่า 1.5 ลิตรต่อวัน) ไม่ควรจะจำกัดปริมาณน้ำที่ดื่มอีกเนื่องจากจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ -การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางชนิด เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม โซดา น้ำผลไม้ สุรา รวมถึงอาหารบางชนิดที่มีรสชาติเปรี้ยวจัดหรือเผ็ดจัด 1.2 การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic Floor Muscle Training) กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่แข็งแรงจะช่วยบำบัดภาวะปัสสาวะเล็ดหรือราดได้ดี การบริหารจะได้ผลดีที่สุดเมื่อฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและมีวินัยเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรเริ่มฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานภายใต้คำแนะนำของแพทย์เนื่องจากผู้ป่วยประมาณกึ่งหนึ่งบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานผิดวิธี 2. การรักษาที่จำเพาะต่อภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด 3. การรักษาที่จำเพาะต่อภาวะปัสสาวะราด 3.1 การฝึกการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Training) มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะเก็บปัสสาวะได้มากขึ้น วิธีการฝึกคือการค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาระหว่างการไปเข้าห้องนํ้ากับการพยายามกลั้นปัสสาวะให้นานขึ้นทีละน้อยเมื่อมีความรู้สึกต้องการถ่ายปัสสาวะ อย่างไรก็ตามการฝึกการทำงานของกระเพาะปัสสาวะควรฝึกภายใต้การดูแลของแพทย์ 3.2 การใช้ยา ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะซึ่งจะช่วยให้กลั้นปัสสาวะได้นานขึ้นและช่วยลดภาวะปัสสาวะราด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการปากแห้ง ตาแห้ง ท้องผูก ยากลุ่มนี้มีหลายชนิดบางครั้งผู้ป่วยอาจต้องเปลี่ยนชนิดยา 1-2 ครั้งจึงจะพบยาที่ช่วยบรรเทาอาการได้ดีที่สุด โดยทั่วไปการใช้ยาถือเป็นการรักษาที่มาเสริมกับการรักษาหลักที่ได้กล่าวไปข้างต้นและมักจะใช้ยาเป็นระยะเวลาเพียงประมาณ 3 เดือนเท่านั้น 3.3 การฉีดโบทูลินัม ท็อกซิน (Botulinum Toxin) คือ การส่องกล้องเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะและฉีดท็อกซินเข้าไปในผนังของกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะคลายตัวเพื่อลดการปวดปัสสาวะแบบฉับพลันและช่วยให้กระเพาะปัสสาวะเก็บปัสสาวะได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามท็อกซินจะออกฤทธิ์อยู่นานประมาณ 6-9 เดือน หลังจากนั้นอาจต้องมีการฉีดซํ้า ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจมีอาการปัสสาวะยากหรือปัสสาวะคั่งตามมาและจำเป็นต้องใช้การสวนปัสสาวะช่วงระยะเวลาหนึ่ง  3.4 วิธีการรักษาอื่น ๆ ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ยังคงมีอาการรุนแรงแม้จะได้รับการรักษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว เช่น การกระตุ้นเส้นประสาททิเบียล (Tibial Nerve Stimulation)การกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ (Sacral Nerve Stimulation) อย่างไรก็ตามการรักษาทั้งสองวิธีนี้ยังไม่เป็นที่นิยมทำในประเทศไทย เนื่องจากมีความยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูง และมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก            ด้วยความปราถนาดีจาก นายแพทย์พริษฐ์ วาจาสิทธิศิลป์ สูตินรีแพทย์ประจำ รพ.วิภาวดี ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม   

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไขข้อข้องใจทำไมต้องฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ?

“เรื่องน่ารู้ที่จะช่วยให้สาว ๆ หายสงสัยว่าทำไมควรป้องกันเชื้อ HPV สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก”   หนูยังหาแฟนไม่ได้เลยแล้วจะรีบฉีดทำไมแต่งงานแล้วค่อยฉีดดีกว่าไหมคะ ?    มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV ซึ่งติดต่อได้ง่ายมากจากการมีเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เพศสัมพันธ์แม้เพียงครั้งเดียวก็อาจทำให้ติดเชื้อ HPV ได้    เพราะส่วนใหญ่เพศสัมพันธ์ครั้งแรกเกิดจากความไม่ตั้งใจ เราคงคาดเดาไม่ได้ว่าจะมีเมื่อไรถึงตอนนั้นจะป้องกันก็คงไม่ทันแล้ว     การฉีดวัคซีนตั้งแต่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์หรือยังไม่ติดเชื้อ จะทำให้ได้ประโยชน์มากกว่า ข้อมูลทางการแพทย์ล่าสุดพบว่า วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกบางชนิดสามารถป้องกันได้มากกว่า 90% ผู้หญิงที่ยังไม่เคยติดเชื้อและการฉีดตั้งแต่อายุยังน้อย จะทำให้มีภูมิคุ้มกันสูงกว่าและอยู่ได้นานกว่าฉีดตอนที่มีอายุมากขึ้น ดังนั้นการฉีดเมื่ออายุน้อยและยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เป็นการป้องกันที่ดีที่สุด ดิฉันมีแฟนคนเดียวค่ะ เขารับประกันว่าชัวร์มั่นใจไม่นอกใจแน่นอนค่ะ? จะแน่ใจได้อย่างไร? เพราะผู้ชายอาจติดเชื้อมาก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเรา และแม้เราจะมีแฟนคนเดียวแต่แฟนอาจไม่ได้มีเราเป็นคนแรกหรือคนเดียว เขาอาจติดเชื้อมาโดยไม่รู้ตัวเพราะเชื้อโรคนี้เป็นไวรัสที่ติดต่อง่าย   ต้องตรวจมะเร็งปากมดลูกก่อนฉีดหรือไม่กลัวฉีดไปแล้วไม่ได้ช่วยอะไรเลย?   โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องตรวจภายในเพื่อหาเชลล์มะเร็งปากมดลูกก่อนเพราะการฉีดวัคซีนเป็นการป้องกันการติดเชื้อในอนาคตส่วนการตรวจภายในเป็นการตรวจหาเซลล์ผิดปกติที่เกิดจากการติดเชื้อมาก่อนทำได้ควบคู่กันไปก็จะดีที่สุด    ฉันอายุมากแล้ว จะฉีดไปทำไมให้เด็ก ๆ สาว ๆ เขาฉีดน่าจะดีกว่า?   “ฉีดช้า ยังดีกว่าไม่ได้ฉีด” เพราะมะเร็งเกิดได้ทุกวันและทุกช่วงวัย การศึกษาทางการแพทย์พบว่าวัคซีนสามารถป้องกันได้แม้ในผู้หญิงอายุมาก นอกจากนี้วัคซีนยังมีความปลอดภัย ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งไว้ล่วงหน้า     วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฉีดที่ตรงไหนกลัวเจ็บจนทนไม่ไหวค่ะ?   ฉีดบริเวณต้นแขนข้างใดข้างหนึ่งเหมือนการฉีดวัคซีนทั่ว ๆ ไป ไม่ได้ฉีดบริเวณปากมดลูกหรืออวัยวะอื่นใดเลย วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจำนวน  3  เข็ม  เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน และเข็มที่สุดท้ายห่างจากเข็มแรก  6  เดือน ฉีดวัคซีนแล้วจะมีอันตรายไหม มีผลข้างเคียงหรือไม่คะ? องค์การอนามัยโลก( WHO ) ได้รับรองวัคซีนนี้แล้วว่าปลอดภัยทั่วโลกมีการฉีดไปแล้วกว่า 50 ล้านโด๊ส อาทิ อเมริกา ยุโรป กลุ่มสแกนดิเนเวีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฯลฯ ดิฉันกำลังจะแต่งงานคิดว่าจะมีลูกเลยฉีดได้หรือไม่คะ? ฉีดได้ค่ะ ไม่ต้องคุมกำเนิดหลังฉีดเพราะวัคซีนไม่ได้สังเคราะห์จากเชื้อไวรัสโดยตรงถ้าตั้งครรภ์แล้วยังฉีดไม่ครบ  3 เข็ม ก็แนะนำให้ฉีดเข็มที่เหลือหลังคลอดได้   รักตัวเอง ก่อนจะสายเกินไป ชวนผู้หญิงไทยตรวจคัดกรองเป็นประจำพร้อมทั้งฉีดวัคซีน HPV   ข้อมูลโดย : พญ.สุนีย์  ศักดิ์ศรี สูตินรีแพทย์ประจำ รพ.วิภาวดี  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<