เช็ค สัญญาณบอกอาการโรคไต

  เช็ค สัญญาณบอกอาการโรคไต ไต (kidney) มีหน้าที่กรองของเสีย น้ำและเกลือแร่ส่วนเกินออกจากร่างกายในรูปปัสสาวะเพื่อขับทิ้งจากร่างกาย นอกจากนี้ไต ยังมีหน้าที่รักษาระดับน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย สร้างฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตและสร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง รักษาสมดุล กรด-ด่าง รักษาสมดุลกระดูก สัญญาณบอกอาการโรคไต             อาการที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ไม่มีอาการ ผู้ป่วยอาจมาด้วยสาเหตุอื่น แต่ตรวจพบสภาวะบกพร่องของไต แต่ะถ้าไตทำงานบกพร่องแล้ว ก็จะมีอาการดังต่อไปนี้ 1.บวม ที่ ตา,หน้าแข้ง,เท้า 2 ข้าง           เกิดจากการมีน้ำและเกลือคั่งในร่างกาย เริ่มจากบวมที่หนังตาและหน้า บวมที่แขนหรือขาและเท้าทั้งสองข้าง ทดสอบได้ด้วยการลองใช้นิ้วกดที่หน้าแข้ง 30 วินาทีแล้วปล่อย หากพบว่ามีรอยบุ๋มค้างอยู่แสดงว่าบวมน้ำ อาจมีปัญหาที่ไต,ตับ,หัวใจ,ต่อมไทรอยด์หรือหลอดเลือด 2.เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย,คัน,เบื่ออาหาร             จะมีอาการเหนื่อยง่ายอ่อนเพลีย เนื่องจากมีสภาวะโลหิตจาง คันตามตัวและเบื่ออาหารร่วมด้วย เนื่องจากมีของเสียคั่งในร่างกายมาก ปวดหลัง ปวดบั้นเอว             ไต อยู่บริเวณด้านหลังส่วนล่างของซี่โครง ดังนั้น หากไตเกิดความผิดปกติขึ้น เราอาจรู้สึกปวดหลัง บั้นเอวที่บริเวณชายโครง ร้าวไปถึงท้องน้อย หัวหน่าว และที่อวัยวะเพศได้ มักเป็นเพราะมีการอุดตันที่ท่อไต กรวยไตอักเสบ หรือในท่อไตโป่งพอง ถ้ามีไข้สูงร่วมด้วยอาจเป็นสัญญาณของกรวยไตหรือกรวยปัสสาวะอักเสบติดเชื้อได้ 3.ปัสสาวะมีลักษณะผิดปกติ             เช่นพบปัสสาวะขุ่น,มีตะกอน,มีกรวดทราย ปัสสาวะเป็นเลือด,ปัสสาวะน้อยลง,ปัสสาวะบ่อยขึ้น ปัสสาวะเป็นฟองมาก หรือปัสสาวะติดขัด เป็นต้น 4.ความดันโลหิตสูง             ผู้ที่ตรวจพบความดันโลหิตสูงครั้งแรกต้องตรวจการทำงานของไตทุกราย 5.โลหิตจาง             เนื่องจากไขกระดูกขาดฮอร์โมนกระตุ้น 6.กระดูกผุ             เนื่องจากสมดุลเกลือแร่และวิตามินดีผิดปกติ 7.หอบเหนื่อย             เนื่องจากน้ำคั่งในปอดและเลือดเป็นกรด 8.ซึมซัก             เนื่องจากของเสียที่คั่งในเลือดทำให้สมองทำงานผิดปกติ     นายแพทย์สืบพงศ์  สังข์อารียกุล อายุรแพทย์โรคไต 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคไต

หน้าที่ของโรคไต  1.กำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของเสียที่เกิดจากโปรตีน 2.รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ 3.รักษาสมดุล กรด-ด่าง   4.สร้างฮอร์โมน ได้แก่ อิริโธรปัวอิติน,วิตามิน D โรคไตเรื้อรัง คือ              ภาวะที่มีการทำงานของไตลดลงและ/หรือไตมีความเสียหาย ทำให้มีความผิดปกติของโครงสร้างไต มานานมากกว่า  3  เดือน              โรคไตเรื้อรัง มี  5  ระยะ ตั้งแต่ ระยะที่ 1 มีความผิดปกติของโครงสร้างแต่การทำงานของไตยังไม่ลดลง  จนถึงระยะที่ 5 คือ ไตวายเรื้อรัง จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต   ดัชนีบ่งชี้โรคไตเรื้อรัง             1.ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ            2.ภาวะมีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ    การประเมินระดับการทำงานของไต            ทำได้โดยการตรวจเลือดหาระดับ ครีอาติน และนำมาคำนวณหาระดับ GFR ( Glomerular Filtration Rate )  ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรัง            1. ปัจจัยทำให้เสี่ยง เช่น อายุมาก มีประวัติโรคไตในครอบครัว              2. ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค/เป็นสาเหตุทำลายไต เช่น เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคจากภูมิคุ้มกันตัวเอง,การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ,การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ,การได้รับสารพิษต่อไต           3. ปัจจัยทำให้โรคลุกลามทำให้ไตมี่มีความผิดปกติเสี่อมหน้าที่มากขึ้น เช่น ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ไม่ดี เบาหวานที่ควบคุมไม่ดี  การสูบบุหรี่ การตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรัง            1. มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเพื่อที่จะรักษาโรคไตที่อาจสามารถหายขาดได้หรือป้องกันไม่ให้โรคไตนั้นเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว           2. ผู้ที่ควรตรวจคัดกรอง ได้แก่ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น              3.  วิธีการตรวจได้แก่ ตรวจวัดความดันโลหิต,ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจเลือดหาค่าครีอะตินินและปัสสาวะ  และการทำอัลตร้าซาวนด์ของไตหากมีข้อบ่งชี้ แนวทางการดูแลรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของไต           1.การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ได้แก่ การลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่น้ำหนักเกิน การหยุดสูบบุหรี่ งดอหารเค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นต้น              2.การควบคุมความดันโลหิตสูง ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม            3.การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม            4.การลดการมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะด้วยยา             5.การจำกัดอาหารโปรตีน              6.การลดระดับไขมันในเลือด             7.หลีกเลี่ยงสารหรือยาที่อาจมีผลเสียต่อไต โดยเฉพาะยากลุ่มแก้ปวด ข้อปวดกระดูก ( NSAIDS) ข้อมูลโดย : นพ.ธัชชัย  วุฒิจำนง  อายุรแพทย์โรคไต

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<