"เจ็บหน้าอก" อาจไม่ใช่ "โรคหัวใจ" อาการแบบไหน เป็นโรคอะไร รีบเช็ก!

อาการเจ็บหน้าอก... อาจเกิดจากหลากหลายโรค

            อาการเจ็บหน้าอก หลายคนต้องตกใจกลัวว่า ต้องเป็นโรคหัวใจแน่เลยยิ่งถ้าอาการเกิดบ่อยๆ ด้วย  ความมั่นใจเรื่องสุขภาพที่แข็งแรงนั้นย่อมหายไปเลย  แต่เกิดความวิตกกังวลเข้ามาแทนที่ ซึ่งจริงๆแล้วอาการเจ็บหน้าอกนั้น  อาจมาจากโรคหัวใจหรือไม่ได้มาจากโรคหัวใจ เสมอไป เพราะมีหลายปัจจัยในการเกิดได้ ดังนี้

1.หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

            อาการของโรคจะทำให้เจ็บแน่นหรืออึดอัดบริเวณหน้าอก ปวดเมื่อยหัวไหล่  ปวดกราม  หรือจุกบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งอาการแบบนี้จะเป็นมากขณะออกกำลังกาย เป็นอาการเจ็บหนักๆเหมือนมีอะไรมาทับหรือรัดบริเวณกลางหน้าอกใต้กระดูก  บางคนมีร้าวไปบริเวณคอ กราม ไหล่ และแขนทั้ง 2 ข้าง โดยเฉพาะข้างซ้าย  อาการจะทุเลาลงเมื่อได้นั่งพักหรืออมยา Nitroglycerin ซึ่งเราก็สามารถดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ ด้วยการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกายในระดับที่เหมาะสม ไปตรวจสมรรถภาพหัวใจบ้างปีละครั้ง เพื่อให้แพทย์ได้แนะนำวิธีการดูแลตัวเอง ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการเจ็บหน้าอกและการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

2.เจ็บหน้าอกจากอาการแสบร้อนที่หน้าอกหรือลิ้นปี่

            ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคกรดไหลย้อน เมื่อกระเพาะอาหารของคุณและกรดในกระเพาะอาหารที่ช่วยย่อยอาหาร  กลับดันกลับเข้าไปในหลอดอาหาร หลอดที่เชื่อมต่อ ลำคอกับกระเพาะอาหาร และจากกรดในกระเพาะมีความเป็นกรดสูงมาก จึงเป็นเหตุให้คุณรู้สึก แสบร้อนหลังกระดูกหน้าอกของคุณ ซึ่งภายในกระเพาะอาหารนั้นเรียงรายไปด้วยเยื้อหุ้มชั้นดีที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดฤทธิ์กัดกร่อนของกรดมาทำลายได้ ขณะที่หลอดอาหารไม่ได้เป็นเช่นนั้น หากอาการเกิดขึ้นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือมากกว่า คุณอาจมีโรคกรดไหลย้อน Gastroesophageal Reflux Disease (GERD) เกิดขึ้นแล้ว ต้องได้รับการรักษา มิฉะนั้นอาจเกิดโรคหอบหืด แน่นหน้าอก ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการพัฒนาเป็นมะเร็งชนิดที่หายยากได้

3.กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกได้รับบาดเจ็บ

            หรือที่เราเรียกกันแบบธรรมดาว่า “กล้ามเนื้อหน้าอกฉีก” เป็นการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่พบได้บ่อยในการเล่นกีฬา สามารถเกิดได้ทั้งในระหว่างฝึกซ้อม หรือในระหว่างการแข่งขันที่ต้องใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก ซึ่งมีปัญหามาก โดยในนักกีฬาจะมีโอกาสบาดเจ็บซ้ำได้สูง และมีอาการปวดเรื้อรังได้

4.ความรู้สึกที่ไม่สบายภายในหน้าอก

            ซึ่งในบางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ  หรืออาจจะเกิดการที่เราเคยกระทบกระเทือนในบริเวณนั้นมาก่อน  อาการจะทุเลาลงเมื่อได้กินยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบ

5.โรคเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ

            หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัสในช่วงสองสามวันที่ผ่านมานี้ คุณก็อาจจะมีอาการเจ็บปวดแปล๊บๆที่หน้าอกได้ เพราะมันเป็นผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดการอักเสบในชั้นเนื้อเยื่อรอบหัวใจ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงความผิดปกติของภูมิต้านทานที่บกพร่องด้วย เช่นโรคลูปัส และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ถึงแม้ว่าเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักจะไม่เป็นพิษเป็นภัยมากนัก แต่มันจะส่งผลต่อคุณภาพของชีวิตของคุณ จึงควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

6.โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ

            โรคของเยื้อหุ้มหัวใจอาจทำคุณมีไข้และมีอาการเจ็บหน้าอกได้ ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุที่ทำให้สมรรถภาพการทำงานของร่างกายลดลง ควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเลาะเยื่อหุ้มหัวใจที่หนาออกไป ก็จะช่วยลดอาการเจ็บหน้าอกให้ดีขึ้นได้

 

                                            สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

                                             ศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

                                      โทร 02-561-1111 ต่อ1322-1323

FAQ

คำถามโรคหัวใจ ถาม อยากทราบว่า ผู้ป่วยเป็นโรค หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยต้องเข้าการรับการรักษาอะไรบ้าง เมื่อแพทย์ตรวจพบกล้ามเนื้อหัวใจตายต้องทำการรักษาโดยทันทีหรือเปล่าค่ะ

คำถามโรคหัวใจ ตอบ จากคำถาม เข้าใจว่าผู้ป่วยได้รับการตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันแล้ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันคือ ภาวะที่เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายในที่สุด สาเหตุเกิดจากการที่ก้อนไขมันเส้นเลือดหัวจเกิดการปริแตกออก ทำให้เกิดการจับตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนถูกกดทับ อาจมีอาการอึดอัด หายใจไม่ออก และมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ แขน หรือหลังได้ อาการมักจะรุนแรงและเป็นเวลานานมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป การรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการคนไข้ โรคแทรกซ้อน โรคร่วมอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยมี เช่น โรคไต เบาหวาน แพทย์จะเป็นคนพิจารณาร่วมกับผู้ป่วยและญาติจะรักษาด้วยวิธีใด พิจารณาพร้อมกับผลตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น EKG, ผลเลือด การรักษาโดยการเปิดหลอดเลือด แบ่งเป็น 1. การให้ยาละลายลิ่มเลือด ในรายที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา 2. การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดและใส่ขดลวดค้ำยัน สรุป การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันให้ได้ผลดีนั้น ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการจนถึงได้รับการรักษา มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหลอดเลือด โดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดใส่ขดลวด ค้ำยัน ผลของการรักษาจะดีและภาวะแทรกซ้อนน้อย ถ้าผู้ป่วยได้รรับการรักษาเร็วค่ะ ยินดีบริการค่ะ คำตอบโดย คุณพรทิพย์ พิทักษ์เทพสมบัติ หัวหน้าแผนกคลีนิคบริการโรคหัวใจ
<