วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และ โรคไอกรน (Tdap)

วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และ โรคไอกรน (Tdap)

โรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และ โรคไอกรน คืออะไร  มีความรุนแรงอย่างไร

โรคบาดทะยัก เกิดจากพิษของเชื้อบาดทะยัก ที่มีอยู่ตามสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่นในดิน พื้นหญ้า มูลสัตว์ เจริญได้ดีในที่ที่ไม่มีออกซิเจน ส่วนมากมักจะมีประวัติมีบาดแผลตามร่างกาย เช่น ตะปูตำ หนามตำ สัตว์กัด เป็นต้น

เมื่อเชื้อบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล แล้วปล่อยสารพิษออกมาทำลายระบบประสาท ทำให้มีอาการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อ ขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ คอแข็ง ชักกระตุก หายใจลำบาก รุนแรงจนเสียชีวิตได้ ระยะฟักตัว 5 วัน - 15 สัปดาห์ แต่พบมากระหว่าง 6-15 วัน

โรคคอตีบ เกิดจากเชื้อคอตีบ ซึ่งอยู่ในน้ำลาย เสมหะ หรือน้ำมูกของผู้ป่วย ซึ่งทำให้ลำคออักเสบรุนแรง เกิดเป็นพังพืดอุดกั้นทางเดินหายใจ นอกจากนี้ การติดเชื้อยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน กล่าวคือเชื้อคอตีบสามารถปล่อยสารพิษ ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและประสาทอักเสบได้ โรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายโดยการหายใจ ไอ หรือจามรดกัน มีระยะฟักตัวประมาณ 1-7 วัน

อาการของโรคคอตีบ จะมีอาการ ไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว เจ็บคอเล็กน้อยแต่รู้สึกกลืนลำบาก คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียมาก ถ้ามีอาการอักเสบของกล่องเสียง จะมีอาการไอ เสียงแหบ หายใจลำบาก

โรคไอกรน เกิดจากเชื้อไอกรนซึ่งมีอยู่ในคอของผู้ป่วยที่เป็นโรคในระยะแรกเท่านั้น ติดต่อได้โดยการไอหรือจามรดกัน ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการไอมาก จนหายใจลำบาก ในเด็กอาจมีอาการ หยุดหายใจ ชัก ไออย่างรุนแรง ซึ่งทำให้หายใจลำบาก อาเจียน และรบกวนการนอนหลับ ระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน

อาการของโรคไอกรน แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่                         

·        ระยะแรก มีไข้ต่ำๆ น้ำมูกไหล จามและไอคล้ายไข้หวัด  อาการไอจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่ระยะที่สองระยะนี้เป็นอยู่นานประมาณ 7-14 วัน

·        ระยะที่สอง มีอาการไอเป็นชุดคือไอติดต่อกันครั้งละนานๆจนตัวงอและหายใจแทบไม่ทัน เมื่อหยุดไอจะหายใจเข้ายาวๆเสียงดังวู้บ ยกเว้นทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน อาจไม่มีอาการนี้ และมักจะอาเจียนมีเสมหะออกมาด้วย ในรายที่ไอรุนแรง หน้าจะเขียว ตาโปนแดง หลอดเลือดที่คอโป่ง บางรายอาจไอจนหลอดเลือดฝอยใต้เยื่อบุตาแตกเป็นปื้นแดงที่ตาขาวและอาจพบรอยบวม ช้ำ หรือห้อเลือดที่หนังตาด้วย ในเด็กเล็กอาจมีอาการชักเกร็ง หยุดหายใจ ตัวเขียวเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง อาการไอเป็นชุดส่วนใหญ่มักจะเป็นมากตอนกลางคืนหรือเมื่อกระทบอากาศเย็น ดื่มน้ำเย็นจัด ถูกควันบุหรี่ หรือถูกฝุ่น ระยะนี้จะเป็นอยู่นานประมาณ 1 เดือน แต่จะเป็นมากในช่วง 2 สัปดาห์แรก

·        ระยะที่สาม เป็นระยะฟื้นตัว อาการไอจะค่อยๆลดลงรับประทานอาหารได้มากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือปอดอักเสบ ถ้าเป็นในเด็กอ่อนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดอาการชักเกร็งและหยุดหายใจเนื่องจากสมองขาดออกซิเจนระหว่างที่ไอนานๆมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

ใครควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก  โรคคอตีบ และ โรคไอกรน

                 วัคซีนสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ 

อายุ 11 ถึง 18 ปี

·        แนะนำให้ฉีด Tdap ตอนอายุ 11 หรือ 12 ปี (สำหรับเด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน DTaP ให้ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 7 ปี)

·        เด็กและวัยรุ่นที่ฉีด DTaP ไม่ครบทุกเข็มตอนอายุ 7 ปีควรฉีดวัคซีนที่มีส่วนผสมของ Td และ Tdap ให้ครบทุกเข็ม

อายุ 19 ถึง 64 ปี

·        ผู้ใหญ่ควรได้รับการฉีดวัคซีน Td กระตุ้นทุกๆ 10 ปี ในผู้ใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี ซึ่งยังไม่เคยฉีด Tdap ควรฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีน Tdap ในครั้งต่อไป ผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไปอาจฉีด Tdap กระตุ้น 1 เข็ม

·        ผู้ใหญ่ (รวมทั้งหญิงที่จะตั้งครรภ์และผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป) ที่มีโอกาสใกล้ชิดกับทารกที่มีอายุต่ำกว่า 12 เดือนควรต้องฉีด Tdap หนึ่งเข็มเพื่อช่วยป้องกันทารกจากโรคไอกรน

·        บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งต้องสัมผัสโดยตรงกับคนไข้ในโรงพยาบาลหรือคลีนิคควรฉีด Tdap 1 เข็ม

อายุ 65 ปีขึ้นไป

·        อาจฉีด Tdap กระตุ้นหนึ่งเข็ม

การฉีดวัคซีนป้องกันในผู้ป่วยหลังจากมีบาดแผล

·        บุคคลที่มีบาดแผลหรือแผลไหม้อาจต้องฉีด Td หรือ Tdap เพื่อป้องกันการติดเชื้อบาดทะยัก Tdap สามารถฉีดให้กับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนนี้มาก่อน

 การฉีดวัคซีนป้องกันในหญิงตั้งครรภ์

·        หญิงตั้งครรภ์ซึ่งยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน Tdap ควรฉีดหนึ่งครั้งจากอายุครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ และจะให้ดีควรอยู่ระหว่างไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ถ้าฉีดให้มารดา ก็จะป้องกันให้ลูกที่คลอดออกมาได้ประมาณ 6 เดือนและวัคซีนป้องกันบาดทะยัก จะช่วยป้องกันการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตรด้วย  สตรีที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน Tdap ระหว่างตั้งครรภ์ ควรฉีด 1 เข็มทันทีหลังคลอดบุตร  เนื่องจากลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรนอาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อมาจากแม่  ทั้งวัคซีน Tdap และ Td อาจฉีดร่วมกับวัคซีนอื่นได้

 การดูแลอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

            วัคซีนอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ ซึ่งจะมีอาการผื่น หน้าบวม คอบวม หายใจลำบาก หรือ หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งต้องรีบพาผู้ได้รับวัคซีนไปพบแพทย์อย่างรีบด่วน อย่างไรก็ตามอาการแพ้อย่างรุนแรงจากวัคซีนพบได้น้อยมาก

            ปฏิกิริยาที่อาจพบได้หลังจากการฉัดวัคซีน ได้แก่ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งมักหายเองภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้อาจะพบ ไข้ อาเจียน ปวดเมื่อย หากมีอาการปวด บวม บริเวณที่ฉีดวัคซีนให้ประคบเย็น แต่ถ้ามีอาการผิดปกติอื่นนอกเหนือจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

  ภายใน 12 ชม. หลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมๆ กันคนละตำแหน่งกับ HBIG วัคซีนครั้งที่ 2 ให้เมื่ออายุ 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน

o   ในกรณีที่ใช้วัคซีนรวมที่มีคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และวัคซีนตับอักเสบบี สามารถให้ฉีด (หลังจากเข็มแรกเกิด) ที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือนได้

o   ในกรณีเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้ในเดือนที่ 0, 1, 6 ส่วนเด็กที่อายุ ตั้งแต่ 11-15 ปี  อาจฉีดเพียง 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 4-6 โดยใช้วัคซีนขนาด 1.0 มล. เท่าผู้ใหญ่ 

o   บุคคลที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนและมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ดังเช่น

§  ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

§  ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน

§  ผู้ที่ฉีดสารเสพติด

§  ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์มากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป

§  ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง หรือโรคไตเรื้อรัง

§  ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีอายุน้อยกว่า 60 ปี

§  บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ

§  บุคคลในครอบครัวติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

§  ผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของไวรัสตับอักเสบบี

§  ผู้ติดเชื้อเอดส์

o   สตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงก็สามารถฉีดวัคซีนได้

ใครที่ไม่ควรรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

·         ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงเป็นอันตรายแก่ชีวิตต่อวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี หรือส่วนประกอบของวัคซีน

·         ผู้ที่มีอาการป่วย ควรรอจนกว่าหายเป็นปกติก่อนจึงจะฉีดได้

ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์ดังนี้      

          ถึงแม้อัตราเสี่ยงของอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรงที่เกิดจากวัคซีนเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ให้เฝ้าระวังอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที

·         มีอาการผิดปกติดังนี้ อาการของการแพ้รุนแรง กล่าวคือ หายไจลำบาก หรือหายใจมีเสียงวีด เสียงแหบ ไข้สูง ผื่น หน้าบวม ปากบวม ตัวซีด หรือ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น
                     

                             ด้วยความปรารถนาดี  จาก ศูนย์วัคซีน โรงพยาบาลวิภาวดี

แพทย์

FAQ

<