โรคมะเร็ง (Cancer) เผย 3 สาเหตุหลัก พร้อมวิธีป้องกัน

ข้อมูลจากสถาบันมะเร็ง พบว่า ปี 2541 ที่ผ่านมามีคนไทยป่วยด้วยโรคมะเร็งถึง 90,000 คน จำนวนนี้ไม่นับคนที่เป็นรายเริ่มแรกไม่มีอาการ ไม่มาตรวจหรือไปรักษากับหมอแผนโบราณอีกเท่าไร

และถ้านับสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย มะเร็งดูจะเป็นอันสอง เป็นรองก็แต่โรคหัวใจเท่านั้น

แม้ว่าวิทยาการทางแพทย์จะก้าวหน้าไปมากทำให้เราสามารถที่จะวินิจฉัยโรคมะเร็งได้รวดเร็วขึ้น หรือแม้กระทั่งการรักษาให้หายขาดด้วยการฉายแสงหรือเคมีบำบัด

ก็ยังถือว่าเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อย เมื่อเทียบกับจำนวนคนที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง

สาเหตุของโรคมะเร็ง

ชนิดของมะเร็งในคนเรามีแตกต่างกันไปมากกว่า 100 ชนิดเลยทีเดียว ตรงนี้อาจเป็นสาเหตุทำให้ผลการรักษาแตกต่างกันออกไป

ถ้าทำได้คงไม่มีใครอยากพบเจอกับโรคมะเร็งแน่นอน ก็ต้องมาพิจารณากันให้เข้าใจว่า แล้วอะไรกันที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งกันแน่

นักวิทยาศาสตร์ทราบกันมามากกว่า 20 ปี แล้วว่า มะเร็งนั้นเป็นโรคที่มีความผิดปกติของสารพันธุกรรมภายในเซลล์ที่เรียกว่า ยีน (gene) ที่มีสภาวะบางอย่างทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการแบ่งตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้

เกิดมีการเพิ่มปริมาณมากจนเป็นเซลล์มะเร็ง ยีนที่ควบคุมการเกิดมะเร็งนี้เราเรียกว่า ยีนก่อมะเร็ง (oncogene) ซึ่งอาจมีการส่งผ่านทางกรรมพันธุ์ หรือเกิดขึ้นภายหลังอันเนื่องมาจากผลกระทบของสารเคมี เช่น อนุมูลอิสระ ดังที่กล่าวข้างต้น

ตามหลักการของการเกิดโรคมีปัจจัยใหญ่ๆ อยู่ 3 อย่างที่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด คือ 

  1. Host (ตัวผู้ป่วย)
  2. Agent (สารก่อมะเร็ง, เชื้อโรค)
  3. Environment (สภาพแวดล้อม)

1. ตัวผู้ป่วย

ตัวผู้ป่วยเองเป็นปัจจัยที่สำคัญเพราะเซลล์ในร่างกายคนเราซึ่งมีถึงเกือบห้าหมื่นล้านเซลล์นี้ ถ้าเซลตัวใดตัวหนึ่งเกิดแปลกปลอมขึ้นมาก ก็จะถูกระบบภูมิคุ้มกันเล่นงาน

ถ้าหากระบบนี้ทำงานแย่ก็จะเปิดโอกาสให้มีการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งเกิด ขึ้นจึงไม่น่าแปลกใจว่า คนที่ประสบกับภาวะเครียดจัดสูญเสียอย่างรุนแรง ไม่ช้าไม่นานก็จะป่วยด้วยโรคมะเร็ง เพราะภูมิต้านทานลดลงนั่นเอง

2. สารกัมมันตรังสี, เชื้อโรค

สารกัมมันตรังสี เช่น กรณีการระเบิดของโรงงานปฏิกรณ์ปรมาณู หรือสงครามนิวเคลียร์จะพบอุบัติการณ์มะเร็งของเม็ดโลหิตขาว และมะเร็งผิวหนัง เพิ่มขึ้น

  • มะเร็งตับมีสาเหตุที่ทราบแน่ชัดว่าเกี่ยวข้องกับสารที่ชื่อว่า อะฟลาทอคซิน ซึ่งอยู่ในอาหารประเภทถั่วที่ขึ้นรา ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี แบบเรื้อรัง ก็เป็นสาเหตุที่สำคัญเพราะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งตับเพิ่มขึ้นถึง 200 เท่าเลยทีเดียว คนไข้ประเภทนี้จะไม่มีอาการผิดปกติเรียกว่าเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ บี (HBV carrier) จำเป็นต้องรับการตรวจค้นหามะเร็งตับตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ด้วยการทำอัลตราซาวน์ทุก 6 เดือน -1 ปี
  • มะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่เกิดกับท่อทางเดินน้ำดี ซึ่งพบบ่อยทางภาคอีสาน มีสาเหตุเกิดมาจากการรับประทานปลาดิบร่วมกับสารประเภทไนโตรซามีน ซึ่งได้มาจากการหมักโปรตีนกับสารพวกดินประสิว
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็เป็นอีกชนิดหนึ่งซึ่งพบความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับคนที่ชอบทานเนื้อสัตว์ แต่ไม่ชอบทานอาหารที่มีกากใย คือ พวกพืชผัก และธัญพืชต่างๆ ทำให้มีปัญหาเรื่องท้องผูกเป็นประจำ สารพิษ สารก่อมะเร็ง มีโอกาสเล่นงานเซลล์ลำไส้ได้มากขึ้น 

ดังที่ยกตัวอย่างมา เป็นเพียงส่วนน้อยในจำนวนสาเหตุการเกิดมะเร็งทั้งหมด เพราะส่วนใหญ่เราก็ยังไม่สามารถหาคำตอบไดว่า สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งเหล่านั้น คืออะไรแน่
แต่จะเห็นไดว่ามีจำนวนไม่น้อยเกี่ยวข้องอาหารที่เรารับประทาน ซึ่งก็เป็นดังภาษิตฝรั่งที่ว่า “You are what you eat “ คงไม่ผิด

3. สภาพแวดล้อม

สารก่อมะเร็งและการติดเชื้อ เป็นปัจจัยสำคัญดังที่กล่าวแล้ว เรื่องของ มลพิษ ควันบุหรี่ อาหารที่ไหม้เกรียม เป็นต้นกำเนิดของอนุมูลอิสระซึ่งจะเข้าทำลายเซลล์ การติดเชื้อไวรัสบางชนิดอาจก่อให้เกิดมะเร็งของลำคอ คือ หรือกากมดลูก พบว่าหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่วัยรุ่นมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่ม ขึ้นอย่างมาก

วิธีป้องกัน

ถ้าจะให้พูดถึงหลังการป้องกันมะเร็งโดยสรุป ก็พอจะแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทราบแน่ชัด เช่น สารพิษ ควันบุหรี่ อาหารปรุงแต่งรส สีเนื้อที่ไหม้เกรียม
  2. ทานอาหารธรรมชาติ เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ที่สดสะอาดให้มากๆ เข้าไว้ โดยไม่พยายามให้ให้ซ้ำซาก เพื่อจะได้รับสารอาหารหลากหลายชนิด
  3. หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างถูกวิธี ให้พอเหมาะพอดี
  4. ดื่มน้ำให้มาก ขับถ่ายให้เป็นเวลา พยายามอย่างให้ท้องผูก
  5. ทำจิตใจให้เบิกบาน มองโลกในแง่ดี รู้จักแก้ปัญหาชีวิตในทางที่ถูกต้อง
  6. การตรวจมะเร็งประจำปี โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม และปากมดลูก ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่า มะเร็งรักษาหายได้เป็นในระยะเริ่มแรก

ความเชื่อที่ผิด 4 ประเด็นหลัก กับ โรคมะเร็ง

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวย ได้กำหนดหัวข้อการรณรงค์เรื่องการทำลายความเชื่อที่ผิด 4 ประเด็นหลัก ในปี 2557 ไว้น่าสนใจดังนี้

ความเชื่อที่ผิดประเด็นที่ 1: เราไม่ควรพูดคุยกันเรื่องโรคมะเร็ง

เพราะเป็นเรื่องที่น่าเศร้าหรือเป็นเรื่องที่น่าอาย ที่ต้องการปกปิดไว้ไม่ให้ใครรู้ แต่ความจริงคือการที่ได้พูดคุยกันเรื่องโรคมะเร็ง รวมไปถึงการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งในสังคม จะช่วยให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในการดูแลตนเองตั้งแต่การป้องกัน การตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

การเข้าสู่กระบวนการรักษาที่ถูกต้องและได้ผลการรักษาที่ดี และการที่ผู้ป่วยมีโอกาสพูดคุย จะสามารถระบายและสามารถปรึกษาผู้อื่นรวมถึงญาติพี่น้อง ซึ่งจะช่วยให้ความวิตกกังวลลดลง รวมถึงผู้ที่ดูแลผู้ป่วยก็จะมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลและให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง

ความเชื่อที่ผิดประเด็นที่ 2: มะเร็งเป็นโรคที่ไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ

ซึ่งความจริงก็คือมะเร็งหลายชนิดมีอาการและอาการแสดงนำมาก่อน ที่ทั่วโลกต่างรณรงค์กันเรื่อง 7 สัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งอันประกอบด้วย

  1. ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปร
  2. แผลที่ไม่รู้จักหาย
  3. ร่างกายมีก้อนตุ่ม
  4. กลุ้มใจเรื่องกลืนกินอาหาร
  5. ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล
  6. ไฝหูดที่เปลี่ยนไป
  7. ไอและเสียงแหบเรื้อรัง

ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเป็นหรือไม่เป็นมะเร็งก็ได้ แต่ถ้าเป็นมะเร็งที่พึ่งเริ่มมีอาการ โอกาสที่จะรักษาหายขาดก็มีมาก

ความเชื่อที่ผิดประเด็นที่ 3: เราไม่สามารถทำอะไรได้กับมะเร็ง

เรียกว่ามะเร็งเป็นสิ่งที่เราจัดการอะไรไม่ได้เลย เป็นมะเร็งเพราะโชคชะตาฟ้าลิขิตเป็นเรื่องของเวรกรรม แต่แท้จริงแล้วเราสามารถป้องกันไม่ให้ตนเองเป็นมะเร็งหลายชนิดได้ ด้วยการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็ง การปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคมะเร็ง โดยต้องร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ในระดับบุคคล ระดับสังคมและนโยบายระดับประเทศ รวมถึงการออกกฎหมายควบคุมและดำเนินการอย่างจริงจัง ก็จะสามารถลดการเกิดมะเร็งในภาพรวมได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์

ความเชื่อที่ผิดประเด็นที่ 4: เราไม่มีสิทธิ์ได้รับการรักษาโรคมะเร็ง

ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยทุกสิทธิ์การรักษาสามารถได้รับการรักษาโรคมะเร็งได้ทุกคน ทั้ง 3 กองทุนคือ สิทธิ์ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ 30 บาทรักษาทุกโรค สิทธิ์ประกันสังคม สิทธิ์กรมบัญชีกลาง เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปเสียเงินรักษาเอง หรือไปรักษาในแนวทางที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ 

เนื้องอกกับมะเร็งต่างกันอย่างไร?

เนื้องอก - เป็นก้อนเนื้อที่งอกขึ้นในอวัยวะต่างๆ เนื้องอกอาจทำให้เกิดปัญหาการกดทับได้ แต่ไม่สามารถลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่ออื่นๆได้ ถ้าต้องรักษาส่วนมากผ่าออกก็จะหาย 

มะเร็งหรือเนื้อร้าย - เป็นเนื้องอกที่สามารถลุกลามเข้าไปโตในเนื้อเยื่อชนิดอื่นๆ ได้ ทั้งที่อยู่ในบริเวณรอบๆ ใกล้เคียง หรือไกลออกไป

การรักษาจะยากกว่าเนื้องอกเพราะมะเร็งชอบทิ้งเซลล์เล็กๆไว้ในร่างกายถึงแม้จะผ่าเอาก้อนออกไปได้

ดังนั้นการรักษามะเร็งจึงต้องพยายามทำลายเซลล์เล็กๆเหล่านั้นด้วยวิธีต่างๆ เช่น การใช้คีโม รังสีรักษา สารกลุ่มที่เรียกกันว่าไบโอลอจิกชนิดต่างๆ ฯลฯ

แพทย์

นพ.วรงค์ ลาภานันต์
แผนกอายุรกรรมโรคหัวใจ

แพทย์

วรงค์ ลาภานันต์

อายุรกรรมโรคหัวใจ

ดูโปรไฟล์

FAQ

คำถามโรคหัวใจ ถาม อยากทราบว่า ผู้ป่วยเป็นโรค หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยต้องเข้าการรับการรักษาอะไรบ้าง เมื่อแพทย์ตรวจพบกล้ามเนื้อหัวใจตายต้องทำการรักษาโดยทันทีหรือเปล่าค่ะ

คำถามโรคหัวใจ ตอบ จากคำถาม เข้าใจว่าผู้ป่วยได้รับการตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันแล้ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันคือ ภาวะที่เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายในที่สุด สาเหตุเกิดจากการที่ก้อนไขมันเส้นเลือดหัวจเกิดการปริแตกออก ทำให้เกิดการจับตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนถูกกดทับ อาจมีอาการอึดอัด หายใจไม่ออก และมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ แขน หรือหลังได้ อาการมักจะรุนแรงและเป็นเวลานานมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป การรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการคนไข้ โรคแทรกซ้อน โรคร่วมอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยมี เช่น โรคไต เบาหวาน แพทย์จะเป็นคนพิจารณาร่วมกับผู้ป่วยและญาติจะรักษาด้วยวิธีใด พิจารณาพร้อมกับผลตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น EKG, ผลเลือด การรักษาโดยการเปิดหลอดเลือด แบ่งเป็น 1. การให้ยาละลายลิ่มเลือด ในรายที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา 2. การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดและใส่ขดลวดค้ำยัน สรุป การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันให้ได้ผลดีนั้น ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการจนถึงได้รับการรักษา มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหลอดเลือด โดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดใส่ขดลวด ค้ำยัน ผลของการรักษาจะดีและภาวะแทรกซ้อนน้อย ถ้าผู้ป่วยได้รรับการรักษาเร็วค่ะ ยินดีบริการค่ะ คำตอบโดย คุณพรทิพย์ พิทักษ์เทพสมบัติ หัวหน้าแผนกคลีนิคบริการโรคหัวใจ
<