[อย่าฝืน] ปวดท้อง 7 จุด: ขวา,กลาง,ท้องน้อย,ซ้าย ฯลฯ ต้องระวังโรคอะไร? ควรหาหมอ?

ปวดท้องเป็นอาการนำที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์บ่อยเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งมีสาเหตุได้หลากหลาย ความสำคัญอยู่ที่อาการปวดท้องเป็นเฉียบพลันหรือเรื้อรัง เพราะหากเป็นเฉียบพลัน บางโรคอาจเป็นสาเหตุที่อันตรายถึงชีวิตได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องรีบมาพบแพทย์อย่างเร่งด่วน ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นโรคทางศัลยกรรมและทางสูตินรี

สาเหตุของอาการ

สาเหตุของอาการปวดท้องเฉียบพลัน ตามตำแหน่งการปวดที่หน้าท้อง

โดยหากปวดบริเวณท้องด้านขวา

  • ขวาบน -  อาจเป็นจากโรคถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วถุงน้ำดี ตับอักเสบ กรวยไตอักเสบ งูสวัด ปอดอักเสบ ลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
  • ขวาล่าง-  อาจเป็นจาก ไส้ติ่งอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องอักเสบ ท้องนอกมดลูก ปีกมดลูกอักเสบ เยื่อบุผนังมดลูกเจริญผิดที่ นิ่วในท่อไตและไต กรวยไตอักเสบ ไส้เลื่อน กะเปาะที่ผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ เส้นเลือดโป่งพองในช่องท้อง มีการรั่วซึม

ถ้าปวดบริเวณท้องด้านซ้าย

  • ซ้ายบน - อาจมีสาเหตุจาก กระเพาะอาหารอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ม้ามโต / แตก กรวยไตอักเสบ นิ่วไต งูสวัด กล้ามเนื้อหัวใจตาย ปอดอักเสบ ลำไส้อักเสบ
  • ซ้ายล่าง เป็นได้จาก กะเปาะที่ผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ ลำไส้อุดตัน ลำไส้อักเสบ เส้นเลือดโป่งพองในช่องท้องมีการรั่วซึม ท้องนอกมดลูก ปีกมดลูกอักเสบ เยื่อบุผนังมดลูกเจริญผิดที่ กรวยไตอักเสบ นิ่วในท่อไตและไต

ปวดบริเวณลิ้นปี่

อาจเป็นเพราะแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบระยะแรก เส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง ถุงน้ำดีอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย

ปวดรอบสะดือ

อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบระยะแรก กระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ลำไส้อุดตัน เส้นเลือดในช่องท้องอุดตัน เส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง

ปวดบริเวณท้องน้อย

สาเหตุที่พบได้แก่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กะเปาะที่ผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ โรคของต่อมลูกหมาก ปีกมดลูกอักเสบ ไส้เลื่อน ช่องเชิงกรานอักเสบ (PID) ท้องนอกมดลูก ลำไส้อักเสบ ลำไส้อุดตัน

อาการปวดท้องอาจมีสาเหตุจากโรคนอกช่องท้องก็ได้ เช่น โรคของกระดูกสันหลัง ปอดอักเสบ งูสวัด ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็น DKA ไตวายที่มีของเสียในเลือดคั่งมาก (uremia) โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ไข้ไทฟอยด์ โรคพอร์ฟัยเรีย พิษจากตะกั่ว ต่อมหมวกไตบกพร่อง โรคทางจิตเวช

ปวดท้องจุดต่าง ๆ ทั้ง 7 จุด...หมายถึง.....

1. ชายโครงขวา

เป็นจุดของตับและถุงน้ำดี หากกดแล้วเจอก้อนแข็ง ๆ บวกกับอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ก็จะหมายถึง ความบกพร่องเกี่ยวกับตับหรือถุงน้ำดี ปวดมาก หาหมอดีกว่า

2. ใต้ลิ้นปี่ หรือกลางตัวเรา ตรงซี่โครงซี่ล่างสุด (กลางตัว)

จะหมายถึง กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ตับ และกระดูกลิ้นปี่ 

  • หากปวดเป็นประจำเวลาหิวหรืออิ่ม ก็หมายถึง อาจเกี่ยวกับโรคกระเพาะ 
  • หากปวดรุนแรงร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน อันนี้ตับอ่อนอักเสบ 
  • หากคลำเจอก้อนเนื้อค่อนข้างแข็งและมีขนาดใหญ่ อาจหมายถึงตับโต (ปรึกษาหมอ)
  • คลำได้ก้อนสามเหลี่ยมแบนเล็ก ๆ มักเป็นกระดูกลิ้นปี่ อันนี้ก็ปรึกษาหมอ

3. ปวดชายโครงขวา

เป็นตำแหน่งของม้าม หากเจ็บ ต้องปรึกษาหมอโดยด่วน

4. ปวดบั้นเอวขวา

สาว ๆ เป็นกันประจำ ตำแหน่งนี้คือ ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่ 

  • ปวดมากจะหมายถึง ลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • ปวดร้าวถึงต้นขา อันนี้แรงหน่อย เริ่มต้นเป็นนิ่วในท่อไตครับ
  • ปวดร่วมกับปวดหลัง แถมมีไข้ หนาวสั่นด้วย ปัสสาวะขุ่น อันนี้แรงหน่อย กรวยไตอักเสบ อย่าฝืนนะครับ หาหมอดีกว่า
  • คลำเจอก้อนเนื้อ อันนี้ก็หาหมอวินิจฉัยด่วน

5. ปวดรอบสะดือ

มันคือ ตำแหน่งลำไส้เล็ก มักพบในคนที่มักท้องเดิน แต่หากกดแล้วปวดโครต ๆ มันคือไส้ติ่งครับ ปวดมาก ๆ หาหมอด่วน
แต่ถ้าปวดแบบมีลมในท้องด้วย ก็ไม่เป็นไรมากครับ อาจแค่กระเพาะลำไส้ทำงานผิดปกติ (คงกินมากไป เหอะ ๆ)

6. ปวดบั้นเอวซ้าย

เป็นตำแหน่ง ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่ (เหมือนข้อ 4)

7. ปวดท้องน้อย

มันเป็นตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะและมดลูก

  • ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะหรือถ่ายกระปริบกระปรอย เดาได้ง่ายเลย เพราะมันคือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือแรงหน่อยคือ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (แต่เป็นกันน้อย)
  • ปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน ไม่มีอะไรมาก คุณกำลังมีประจำเดือน แต่ในรายที่ปวดเรื้อรังในหญิงแต่งงานแล้วไม่มีบุตร ไม่อยากบอก ปรึกษาหมอโดยด่วนครับเพราะมันคืออาการมดลูกผิดปกติ

7.1 ท้องน้อยขวา

เป็นตำแหน่ง ไส้ติ่ง ท่อไต และปีกมดลูก

  • หากปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา หมายถึงกรวยไตอาจเป็นอะไรสักอย่าง หาหมอครับ
  • ปวดเสียดตลอดเวลา กดแล้วเจ็บมาก อย่าทนครับ เพราะเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบ
  • ปวดร่วมกับมีไข้สูง หนาวสั่น มีตกขาว ผู้หญิงเท่านั้น่ที่เป็น เพราะมันคือ ปีกมดลูกอักเสบครับ
  • คลำแล้วเจอก้อนเนื้อ เบื้องต้นอาจเป็นก้อนไส้ติ่งหรือรังไข่ผิดปกติ

7.2. ท้องน้อยซ้าย

เป็นตำแหน่ง ปีกมดลูกและท่อไต

  • ปวดเกร็งเป็นระยะและร้าวมาที่ต้นขา มักเป็นนิ่วในท่อไต
  • ปวดร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น ตกขาว เป็นเพราะมดลูกอักเสบ
  • ปวดร่วมกับถ่ายอุจจาระผิดปกติ อาจเป็นเพราะลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • คลำพบก้อนร่วมกับอาการท้องผูกเป็นประจำ อาจเป็นเนื้องอกในลำไส้

การรักษา

แพทย์จะอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายของผู้ป่วยในการพิจารณาเลือกวิธีการตรวจเพิ่มเติมหรือในรายที่อาการปวดท้องไม่ชัดเจนหรือเป็นเรื้อรัง โดยอาการไม่เปลี่ยนแปลงอาจให้การวินิจฉัย

โดยให้การรักษาและติดตามอาการ หากผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดี อาจให้การวินิจฉัยในขั้นต้นได้ แต่หากไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรืออาการมีการเปลี่ยนแปลงไป

จำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มเติม ซึ่งการตรวจเพิ่มเติมนี้ขึ้นกับสาเหตุของอาการปวดท้องที่แพทย์สันนิษฐาน ได้แก่ การตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ การตรวจทางรังสี การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร การตรวจชิ้นเนื้อ เป็นต้น

หากพบภาวะเสี่ยงสามารถเข้ารับการตรวจและคำปรึกษาได้ที่
ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร รพ.วิภาวดี 

แพทย์

FAQ

<