โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) สาเหตุ อาการ วิธีรักษา รู้ทันกันได้

สาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานคือภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสสูงในเลือด  ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องในการหลั่ง Insulin จากตับอ่อน ที่ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอหรือร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม

ถ้าร่างกายผลิตอินซูลินไม่พอหรืออินซูลินทำงานได้ไม่เต็มที่ น้ำตาลจะเข้าไปในเซลล์ไม่ได้จึงส่งผลให้เลือดมีน้ำตาลสูง เป็นโรคที่พบบ่อย 10.2% ของประชากรอายุ > 35 ปี 

แพทย์เฉพาะทางเบาหวาน รพ. วิภาวดี ยินดีให้ครับปรึกษา

เพิ่มเพื่อน

เช็คอาการของโรคเบื้องต้นด้วยตัวเอง

  • ดื่มน้ำบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อยกลางคืน
  • ตามัว
  • เพลีย
  • น้ำหนักตัวลดลงโดยอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุอื่น

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

ชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน

เกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ บางรายสร้างไม่ได้เลย พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี อาการที่เกิดขึ้นจึงรุนแรงกว่า

วิธีรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อน ซึ่งต้องติดตามผลวิจัยต่อไป

ชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

ตับอ่อนของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่สร้างอินซูลินได้อย่างค่อนข้างมาก แต่ร่างกายตอบสนองอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ เกิดภาวะต้านอินซูลิน ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานเป็นชนิดที่ 2

ช่วงแรกตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินมากเพื่อรองรับความต้องการสูงขึ้น แต่แล้วตับย่อยที่ทำงานหนักจะไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้เพียงพอ เพื่อสนองกับน้ำตาลสูงๆได้

เริ่มแรก จึงรักษาด้วยการกินยาควบคุมอาหาร ไม่จำเป็นต่อใช้อินซูลิน ยกเว้นในรายที่ควบคุมอาหารได้ยาก น้ำตาลขึ้นลงเร็วหรือน้ำตาลสูงมาก จึงต้องฉีดอินซูลินเป็นบางครั้ง เมื่อใดที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่ได้ จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน

เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด ซึ่งการใช้ยารักษาเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ ดังนั้น การควบคุมอาหารและการรู้จักเลือกกินอาหารที่เหมาะสม ในปริมาณที่ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกาย จึงเป็นอีกวิธีที่เป็นการรักษาาและป้องกันโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยง

  • อ้วน

  • อายุมากกว่า 40 ปี

  • มีภาวะความดันโลหิตสูง

  • เมื่อทดสอบความทนต่อน้ำตาล (กลูโคส) ด้วยการดื่มกลูโคส 75 กรัมแล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคสอยู่ในช่วง 140-199มก./ดล.

  • มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงและระดับคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ

  • มีระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล.

  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน

ข้อบ่งชี้ในการตรวจหาโรคเบาหวานในบุคคลที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวานมาก่อนและไม่มีอาการผิดปกติ

  1. อายุมากกว่า 45 ปี  ถ้าหากผลตรวจปกติควรตรวจซ้ำทุก 3 ปี
  2. ผู้ที่ควรได้รับการตรวจก่อนอายุ 45 ปี  หรือ ต้องมีการตรวจซ้ำเป็นระยะถี่ขึ้น  ได้แก่ผู้ที่มีปัจจัย ดังต่อไปนี้
    1. ดัชนีมวลกาย > 25 ( คำนวณจาก  {น้ำหนัก(kg) / ส่วนสูง2(เมตร)} )
    2. ประวัติโรคเบาหวานในญาติ  เช่น มี พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวาน
    3. ประวัติคลอดบุตรน้ำหนัก มากกว่า 4 กิโลกรัม หรือประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    4. ความดันโลหิตสูง มากกว่า 140/90 mmHg
    5. ไขมันในเลือดผิดปกติ HDL < 35 mg/dl, Triglyceride > 250 mg/dl
    6. เคยพบน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง > 100 mg/dl
    7. ออกกำลังกายน้อย
    8. มีโรคของหลอดเลือด
    9. เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome)

การวินิจฉัย

เกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานกำหนดว่าระดับต้องเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลิกรัมเปอร์เซนต์ขึ้นไปและถ้าพบในคนที่มีอาการเลยต้องตรวจซ้ำให้แน่อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น การวิจัยต้องเจาะเลือดตรวจเสมอ สำหรับคนที่ระดับน้ำตาลอยู่ในช่วง 101 ถึง 125 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ถือว่าผิดปกติ แต่ยังไม่เป็นเบาหวาน มีโอกาส ที่จะเกิดเบาหวานได้สูง และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่ได้

  1. งดอาหารหรือเครื่องดื่มที่มี Calories เป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง  แล้วเจาะระดับน้ำตาลในเลือด ได้  > 126 mg/dl
  2. มีอาการของโรคเบาหวาน  ร่วมกับผลน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ของวันโดยไม่คำนึงถึงเวลาที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย ได้ > 200 mg/dl  HbA1c คือ ค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือด  ในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา  ซึ่งเป้าหมายในการรักษาคือ ควบคุมให้ระดับ HbA1c < 6.5 หรือ 7 (แล้วแต่ประเภทของผู้ป่วย) 

ค่านี้มีประโยชน์เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ควบคุมอาหารอย่างดีเพียง 1-2 วันก่อนวันก่อนพบแพทย์  ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลที่ตรวจพบดี  แต่ความเป็นจริงคือ 2-3 เดือนที่ผ่านมามิได้ควบคุมตนเอง  ซึ่งค่า HbA1c จะสูงฟ้องให้เห็นทำให้แพทย์สามารถเห็นค่าน้ำตาลที่แท้จริงได้  และหากค่า HbA1c ยิ่งสูงจะเพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน  

ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง (หรืออันตรายภัยเงียบจากเบาหวาน)

เบาหวาน มักจะพบในคนที่อ้วน มีญาติหรือบรรพบุรุษเป็นเบาหวานมักจะมีความดันโลหิตสูง และมีไขมันในเลือดที่ผิดปกติร่วมด้วย สองโรคหลังนี้จะมีส่วนช่วยเร่งให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่ได้เร็วขึ้น ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลต่อหลอดเลือดแดงในร่างกาย ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดตามมาในอนาคต จึงต้องรักษาอย่างเข้มงวด ไปพร้อมๆ กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดที่ผิดปกติ มักพบร่วมกับโรคเบาหวาน เป็นตัวเร่งให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่

  1. หลอดเลือดหัวใจ : ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  2. หลอดเลือดสมอง : ทำให้เกิดภาวะอัมพาต  อัมพฤกษ์
  3. หลอดเลือดส่วนปลายที่ขา : ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาไม่เพียงพอ  มีอาการปวดน่องเวลาเดิน  และอาจทำให้เกิดแผลที่เท้าเนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
  4. จอประสาทตา : ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  และหากพบความผิดปกติ  สามารถรักษาได้โดยการ laser เพื่อป้องกันระดับสายตาเสื่อมลงและตาบอด อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องเบาหวานขึ้นตา
  5. ไต : ขั้นแรกจะตรวจพบ protein รั่วออกมาในปัสสาวะ และหากไม่ระวังดูแลให้ดีอาจทำให้เกิดภาวะไตวายในอนาคตได้
  6. เส้นประสาท : อาการที่พบบ่อยคือ  มีอาการชา หรือ ปวดแสบปวดร้อน  หรือ ปวดรุนแรง หรือ รู้สึกชาแบบเหน็บชา หรือเหมือนถูกแทง  โดยมักมีอาการที่ปลายเท้า และ ปลายมือก่อน

หากเราไม่อยากให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานดังกล่าว เราจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีตั้งแต่แรกวินิจฉัย  รวมทั้งตรวจหาและรักษาปัจจัยเสี่ยงที่พบร่วม อันได้แก่ ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

  1. ควบคุมอาหาร โดยลด ข้าว แป้ง น้ำตาล และเครื่องดื่นที่มีน้ำตาลโดยเฉพาะ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และนมเปรี้ยว
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 30-60 นาทีต่อครั้ง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
  3. งดสูบบุหรี่
  4. รับประทานยาหรือฉีดยาตามแพทย์แนะนำ
  5. รักษาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่พบร่วม ได้แก่ ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
  6. หากมีอาการผิดปกติ  เช่น อาเจียนมาก  รับประทานอาหารไม่ได้  ควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากระดับน้ำตาลจะแกว่งสูงหรือต่ำได้มาก

แพทย์


พญ.วรณัน เจริญหิรัญยิ่งยศ

แผนกเบาหวานและต่อมไร้ท่อ

แพทย์

<