เสาหลักของชีวิตไม่ดี อาจทำให้ชีวิตคุณพังได้

เสาหลักของชีวิตไม่ดี อาจทำให้ชีวิตคุณพังได้

          ไพรัช บุญลือ หนุ่ม Office วัย 33 ปี เข้ารับการผ่าตัดด้วยอาการของหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท ที่คลินิกโรคกระดูกสันหลังของ รพ.วิภาวดี อาการของหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท เป็นอย่างไร และอันตรายมากแค่ไหน คุณไพรัช จะมาเล่าให้เราฟังกัน

          ผมเป็นหนุ่ม Office งานของผมต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เป็นประจำ ผมมีอาการปวดบริเวณเอวและหลังบ่อยมาก เรียกว่า เป็นๆ หายๆอยู่ตลอด จนกระทั่งวันหนึ่งผมมีอาการปวดที่บริเวณบั้นเอวและร้าวมาถึงก้นกบ นั่งก็ปวด เดินก็ปวดมาก จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ อาการปวดดังกล่าว มีความรุนแรงมากขึ้น และเริ่มปวดร้าวลงไปถึงต้นขา ผมปวดมากจนทนไม่ไหวต้องมาพบแพทย์ที่ รพ.วิภาวดี อาการตอนนั้นคือ ผมเริ่มมีอาการชาตั้งแต่หัวเข่าจนถึงข้อเท้าและนิ้วเท้า และรู้สึกว่าแขนขามีอาการอ่อนแรง พญ.กัลยา ดำรงศักดิ์ อายุรแพทย์ประสาทวิทยา รพ.วิภาวดี ตรวจและแนะนำให้ผมทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging คือ การตรวจอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กแรงสูงและความถี่วิทยุร่วมกับคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จะมีรายละเอียดชัดเจนเหมือนภาพถ่ายจริง) ผลจากการทำ MRI พบว่า หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท ซึ่งคุณหมอกัลยาจึงส่งต่อให้ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ประสาทวิทยารพ.วิภาวดีดูแลรักษาต่อไป คุณหมอเมธีอธิบายให้ผมฟังว่า เกิดการปลิ้นของไส้ในของหมอนรองกระดูกสันหลัง ที่มีลักษณะคล้ายเจลลี่มาทางด้านหลัง เข้าไปในโพรงของไขสันหลัง และไปเบียดทับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงความรู้สึก และการทำงานของกล้ามเนื้อแขนขา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผมมีอาการชาตั้งแต่บริเวณหัวเข่าจนถึงนิ้วเท้า คุณหมอแนะนำให้ผมเข้ารับการผ่าตัด เพราะถ้าไม่ได้รับการผ่าตัด อาจจะทำให้ผมเป็นอัมพาตได้ 

          ผมตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดทั้งๆ ที่ในใจยังรู้สึกกลัวมาก แต่ผมเคยได้ยินชื่อเสียงของคุณหมอเมธี ว่าท่านมีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดมาก บวกกับมีความมั่นใจในเครื่องมือ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ของ รพ.วิภาวดี ผมจึงตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัด หลังจากผ่าตัดคุณหมอเมธีบอกกับผมว่า ผลของการผ่าตัดออกมาดี แต่ผมต้องนอนรักษาตัวต่อที่ รพ. อีกซักระยะหนึ่ง เพื่อนบอกกับผมว่า แผลผ่าตัดของผมเล็กนิดเดียว ซึ่งก็คงเป็นเพราะว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ของ รพ.วิภาวดี ตอนนี้ผมไม่มีอาการปวดร้าว หรือชาที่บริเวณขาเหมือนแต่ก่อนแล้ว แต่ก็ยังมีอาการเจ็บแผลบริเวณที่ผ่าตัดอยู่บ้าง คุณหมอเมธีแนะนำให้ผมออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัด รวมถึงแนะวิธีการนั่งทำงานที่ถูกลักษณะ และไม่ควรนั่งทำงานนานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง ผมปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่ง จนวันนี้ผมมีอาการดีขึ้นเรื่อยๆ และสามารถกลับไปทำงานได้เหมือนเดิมแล้วครับ 

          เพราะโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง ไม่ได้เป็นแต่เฉพาะผู้สูงวัยเหมือนแต่ก่อนแล้ว ปัจจุบัน วัยหนุ่มสาวก็เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังมีมากขึ้น โดยเฉพาะหนุ่มๆ สาวๆ Office ทั้งหลาย ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการปวดหลังเป็นประจำ อย่านิ่งนอนใจ คลินิกโรคกระดูกสันหลัง รพ.วิภาวดี พร้อมให้บริการคุณ

แพทย์

FAQ

<