การทำงานของดวงตา

การทำงานของดวงตา

การทำงานของดวงตา
          การที่คนเราจะมองเห็นชัดได้เกิดจากการที่แสงผ่านกระจกตาเลนส์แก้วตาแล้วหักเห ตกลงที่จอประสาทตาพอดี ถ้ามีอะไรก็ตามที่ทำให้แสงหักเหไม่ตกลงจอประสาทตาพอดี
ก็ทำให้มองไม่ชัดเจนได้ เรียกว่ามีสายตาผิดปกติ (Refractive error)
 

 


สายตาปกติ
 



 การมีสายตาผิดปกติแบ่งได้เป็น

 สายตาสั้น Myopia แสงเข้าตาแล้วตกลงก่อนถึงจอประสาทตา ทำให้มองไกลไม่ชัด
 

 


สายตาสั้น
 



 
 สายตายาวแต่กำเนิด Hyperopia
 แสงเข้าตาแล้วตกเลยจอประสาทตา ทำให้มองเห็นชัดแต่ที่ไกลๆ
 


สายตายาว
 

 
 สายตาเอียง Astigmatism
 แสงเข้าตาแล้วโฟกัสแต่ละระนาบคนละจุดกัน ทำให้มองทั้งไกลและใกล้ไม่ชัด
 


สายตาเอียง
 

 
 สายตายาวสูงอายุ Presbyopia
 จริงๆแล้วภาษาไทยใช้คำนี้ไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากกรณีนี้เกิดจาก การที่เลนส์แก้วตาแข็งขึ้นตามวัยและกล้มเนื้อตาที่ใช้เพ่งในการมองใกล้ล้าลง ทำให้ไม่สามารถมองใกล้ได้ดี

 การแก้ไขสายตาผิดปกติ ใช้หลักการที่แก้ไขวิธีการรวมแสงให้แสงตกลงจอประสาทตาพอดีจึงจะมองเห็นชัดขึ้น

 

แว่นตา เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ปลอดภัยที่สุดที่จะช่วยให้ผู้ที่มีสายตาผิดปกติมองชัดขึ้น แต่บางท่านมีข้อจำกัดที่ไม่สะดวกกับการใช้แว่นตา เช่น ผู้ที่มีสายตาสองข้างแตกต่างกันมากเกินไป ผู้ที่ชอบเล่นกีฬา หรือผู้ที่ประกอบอาชีพบางอย่างที่ไม่เหมาะกับการใช้แว่น

คอนแทคเลนส์ ในปัจจุบันนี้ได้มีการออกแบบคอนแทคเลนส์ที่ใส่สบาย มีความคมชัดและคุณภาพดี ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ไม่ชอบใส่แว่นได้ แต่อย่างไรก็ดีการใช้คอนแทคเลนส์ต้องอาศัยการดูแลทำความสะอาดที่เหมาะสม ต้องเสียเวลาในการใส่ ถอดและล้าง นอกจากนี้บางท่านมีปัญหาจากการใช้คอนแทคเลนส์ เช่น ตาอักเสบ กระจกตาติดเชื้อ อีกทั้งต้องมีค่าใช้จ่ายของตัวเลนส์น้ำยาต่างๆเอง ซึ่งถ้าคิดถึงระยะยาวแล้วค่าใช้จ่ายส่วนนี้ค่อนข้างสูงทีเดียว การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกต ิ(Refractive Surgery) จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของท่าน

การใช้แสงเลเซอร์แก้ไขสายตาผิดปกติด้วย LASIK

สายตาสั้น ยาว เอียง สามารถแก้ไขได้โดย LASIK โดยอาศัยหลักการที่ไปปรับแต่งความโค้งของกระจกตาให้แสงตกกระทบแล้วโฟกัสลงจอประสาทตาพอดี เช่นสายตาสั้นที่มีกระจกตาโค้งนูนเกินไป ก็ทำให้แบนลง สายตายาวที่มีกระจกตาแบนเกินไปก็ทำให้นูนขึ้น สายตาเอียงที่มีกระจกตาเบี้ยวก็ทำให้หายเบี้ยว ส่วนสายตายาวสูงอายุอาจไม่สามารถแก้ได้โดยตรงด้วย LASIK แต่ LASIK ก็สามารถช่วยได้บ้างโดยทำให้ตานั้นมองใกล้ได้ดีขึ้นบ้าง

 Basic Principle of Excimer Laser

Excimer Laser เป็นแสงย่าน UV ( 193 nanometre ) โดยมีแหล่งกำนิดแสงจาก Gas Argon Fluoride แสงนี้มีความแม่นยำมากอยู่ในย่าน Micron (ดูรูปประกอบใน Basic LASIK.ppt เป็นรูปเส้นผมที่ใช้ Excimer Laser แกะสลักเป็นตัวอักษร) Excimer Laser มีวิวัฒนาการจากรุ่นแรกๆมาสู่รุ่นปัจจุบันดังนี้

First Generation: Broad Beam Laser เป็นการใช้แสงลำใหญ่ยิงลงไปทีเดียวเลย แต่พบว่ามีปํญหาความสม่ำเสมอของพลังงานในเนื้อแสง และถ้ายิงเบี้ยวไปก็จะเบี้ยว ( Decenter )ไปทั้งพื้นที่ใหญ่นั้นเลย จึงพัฒนาเป็น…..

Second Generation: Slit Scanning Beam Laser ซึ่งมีขนาดลำแสงเล็กลง แต่ก็ยังไม่ละเอียดพอจึงปรับปรุงเป็น…

Third Generation: Free Flying Spot Scanning Laser ซึ่งลำแสงมีขนาดเล็กลงได้ประมาณ 0.8-2.0 mm

การที่ Spot size เล็กลงทำให้การควบคุมพลังงานได้ Homogenous มากขึ้น ยิงแบบ Random ทำให้ความผิดพลาดที่จะเกิด Decentration ลดลง

Fourth Generation เราเริ่มจะได้ยินคำนี้บ่อยขึ้น ไม่มีใครให้คำนิยามที่แน่นอนแต่โดยรวมหมายถึงการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า………….

Wavefront System ( Customized or Wavefront guided LASIK )

 

ขอขอบคุณ
แหล่งข้อมูล 
http://www.wavefrontthai.com/

แพทย์

FAQ

<