การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งรังไข่อุบัติการณ์ในประเทศไทยพบได้ 6.6 คนต่อประชากรหญิง 100,000 คน มะเร็งรังไข่พบได้ในสตรี 1 ใน 70 คน และเป็นมะเร็งอันดับที่ 6 ของสตรีไทย (1)

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่ คือ การตรวจภายในและอัลตราซาวน์ทางช่องคลอดหรือทางหน้าท้องร่วมกับการตรวจค่ามะเร็งรังไข่ ได้แก่ ค่า CA-125, CA19-9, HE-4 ควรตรวจทุกปี

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่ ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น เป็นโรคมะเร็งเต้านม สูบบุหรี่ ไม่มีบุตร เป็นหมัน มีโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ปวดประจำเดือน เริ่มมีประจำเดือนในอายุน้อยกว่าปกติ หมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก ประวัติครอบครัวมีโรคมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งเต้านม บุคคลที่มียีนที่เปลี่ยนแปลงไปของ BRCA1, BRCA2 (2)

เนื่องจากอาการของโรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งรังไข่โดยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการเริ่มแน่นท้องจากน้ำในท้องที่ออกมาจากโรคมะเร็งรังไข่มักตรวจพบเป็นระยะสุดท้ายของโรคนี้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่จึงเป็นสิ่งสำคัญ

 

โรคมะเร็งรังไข่มี 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 มะเร็งอยู่เฉพาะที่รังไข่โดยยังไม่พบการกระจายออกมาที่ช่องท้องส่วนท้องน้อย

ระยะที่ 2 มะเร็งได้มีการกระจายมาที่บริเวณปีกมดลูกและอวัยวะในช่องท้องน้อย

ระยะที่ 3 มะเร็งได้มีการกระจายมาบริเวณในท้อง ผิวเยื่อบุช่องท้อง ผิวนอกของลำไส้เล็ก ต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน และต่อมน้ำเหลืองที่ล้อมรอบเส้นเลือดใหญ่ในช่องท้อง

ระยะที่ 4 มะเร็งกระจายไปอวัยวะไกลนอกช่องท้อง เช่น ปอด สมอง เนื้อตับ ต่อมน้ำเหลืองที่คอ

การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ ได้แก่ การผ่าตัด การรักษาด้วยยาแบบเฉพาะเจาะจง (targeted therapy) ให้ยาเคมีบำบัด โดยยิ่งพบโรคเร็วระยะต้นยิ่งมีโอกาสรักษาหายง่ายกว่าการพบโรคระยะหลัง

 

สามารถสอบถามเพิ่มเติมและรับบริการตรวจได้ที่แผนกสูติ-นรีเวช ชั้น 2 อาคาร 2

คลิก https://www.vibhavadi.com/Center/Clinics/id/02

 

<