ไทรอยด์เป็นพิษ

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) มีความชุกร้อยละ 1.2 ของประชากรทั่วไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

อาการของไทรอยด์เป็นพิษ

            อาการของภาวะไทรอยด์เป็นพิษอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย โดยอาการที่พบได้ มีดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารได้ดีแต่น้ำหนักตัวลดลง
  • ชีพจรเต้นเร็ว จังหวะไม่สม่ำเสมอ ใจสั่น
  • อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • มีอาการสั่น โดยเฉพาะมือ
  • ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย วิตกกังวลง่าย
  • ถ่ายอุจจาระบ่อย หรือท้องเสีย
  • ต่อมไทรอยด์บริเวณลำคอบวม หรือโตขึ้น
  • นอนไม่หลับ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ประจำเดือนมาน้อยลงในเพศหญิง

ในผู้สูงอายุอาจมาด้วยอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AF) เหนื่อยเวลาออกแรง, ตัวบวม ขาบวม, รับประทานอาหารได้น้อยและน้ำหนักตัวลดลง

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษส่งผลให้เกิดความผิดปกติของร่างกายหลายระบบ การรักษาอย่างถูกต้องจะสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ วิธีการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค

 

สาเหตุของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ พยาธิกำเนิด และแนวทางการรักษา

สาเหตุ

พยาธิกำเนิด

แนวทางการรักษา

-Graves’s disease โรคเกรฟส์ เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด

TSH receptor antibodies (ร่างกายมีภูมิต่อสู้เนื้อเยื่อไทรอยด์ตนเอง)

- ยาต้านไทรอยด์อย่างน้อย 12 – 18 เดือน

- รังสีไอโอดีน

- ผ่าตัดต่อมไทรอยด์

-Nodular thyroid disease (ก้อนที่ไทรอยด์แบบมีพิษ พบมากในผู้สูงอายุ)

Activating somatic mutation TSH receptor gene หรือ Gs-alpha

- ยาต้านไทรอยด์ตลอดชีวิต

 - รังสีไอโอดีน

- ผ่าตัดต่อมไทรอยด์

-Thyroiditis (ต่อมไทรอยด์อักเสบ)

การอักเสบของต่อมไทรอยด์ทำให้มีการปลดปล่อยฮอร์โมนไทรอยด์

ให้ยาลดการอักเสบ (NSAID’s glucocorticoids)

-TSH producing pituitary adenoma (เนื้องอกต่อใต้สมอง)

ก้อนที่ต่อมใต้สมองหลั่ง TSH มากกว่าปกติ

ผ่าตัดก้อนที่ต่อมใต้สมอง

-Ectopic thyroid hormone production

การสร้างฮอร์โมนไทรอยด์จากอวัยวะอื่น เช่น เนื้องอกรังไข่ (struama ovarii)

ผ่าตัดเนื้องอก

<