เวชศาสตร์ วิถีชีวิต : เวชปฏิบัติแนวใหม่ในการ แก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

เวชศาสตร์ วิถีชีวิต ( Lifestyle Medicine: LM ) คือการบูรณาการแนวทางเวชศาสตร์ปฏิบัติด้านวิธีชีวิตเข้ากับการแพทย์ปัจจุบันซึ่งการบูรณาการนี้มี จุดมุ่งหมายเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง  และในกรณีที่เป็นโรคอยู่แล้วก็สามารถใช้เป็นแนวทางเสริมในการบำบัดรักษาได้ในปีค.ศ. 2007 ให้ คำจำกัดความของเวชศาสตร์วิถีชีวิตว่าเป็น “ การประยุกต์ใช้หลักการด้านสิ่งแวดล้อมพฤติกรรมศาสตร์ การแพทย์ และแรงจูงใจในการจัดการปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตในระดับคลินิก เวชศาสตร์วิถีชีวิตเป็นเวชศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นศาสตร์ที่จะสามารถจัดการป้องกันและควบคุมโรคNCDs  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย เวชศาสตร์วิถีชีวิตเป็นเวชชปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการช่วยบุคคลและชุมชนด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างครอบคลุมกว้างขวาง โดยเวชศาสตร์วิถีชีวิตประกอบไปด้วยหกเสาหลัก (Six Pillars) ได้แก่ โภชนาการ การออกกำลังกาย และการมีกิจกรรมทางกาย การจัดการความเครียด การนอนหลับที่มีคุณภาพ การลด ละ เลิกสารเสพติดให้โทษ เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ และการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกในสังคมและในครอบครัว  โดยคำว่าเสาหลักนี้ต้องการสื่อให้เห็นถึงความจำเป็นของทุกเสาหลักที่จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อส่งผลให้เกิดการมีสุขภาพที่ดี ความสำคัญของแนวทางการเป็นองค์รวม Holistic approach ) ซึ่งไม่สามารถใช้เพียงแค่ 1-2 องค์ประกอบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิต

 

6 เสาหลักของวิถีชีวิต lifestyle medicine ประกอบไปด้วย

1. การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเป็นการเน้นการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการพบส่วน

2. การออกกำลังกายเป็นประจำเป็นการส่งเสริมให้บุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและปรับให้เหมาะสมกับความสามารถและความชอบของแต่ละคน

3. การจัดการความเครียด เป็นการสอนเทคนิคการลดความเครียดและส่งเสริมกลไกการเผชิญปัญหาที่ดีเพื่อจัดการกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการมีความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนซึ่งส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจและระดับความดันโลหิตสูงที่อาจจะเกิดขึ้นและมีผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดและ ส่งผล ต่อ ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

4. การนอนหลับที่ก่อให้เกิดการมีความสุขภาพดี การนอนหลับที่ไม่ดีส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อและทำให้ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น ระยะเวลาการนอนหลับที่พอเพียงจะอยู่ในช่วงประมาณ7- 9 ชั่วโมง เวชศาสตร์วิถีชีวิตมีบทบาทในการประเมินสภาวะสุขภาพในด้านการนอน ด้วยการแนะนำการจัดการสิ่งแวดล้อมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้เกิดการนอนหลับที่ดี

5. การหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย เช่น บุหรี่และแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมที่สำคัญซึ่งสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังหลายประการ เวชศาสตร์วิถีช่วยสนับสนุนให้เกิดการลดละเลิกและหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดโทษต่อ ร่างกาย

6. การมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกทางสังคมคือการมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้อื่น รู้สึกเป็นที่รัก ห่วงใย เห็นคุณค่าและได้รับการชื่นชมจากผู้อื่น และมีการสนับสนุนทางอารมณ์เมื่อรู้สึกแย่ โดย แพทย์เวชศาสตร์วิถีชีวิต จะประเมินสภาวะการแยกตัวออกจากสังคม หาสาเหตุ และให้คำแนะนำความสำคัญของการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคมต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วย

ความสำคัญของเวชศาสตร์วิถีชีวิต มีแนวทางการดูแลสุขภาพที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นความสำคัญของการดูแลเฉพาะบุคคล การตัดสินใจร่วมกัน และการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพและเป็นศาสตร์ที่เน้นการทำงานแบบสหวิทยาการ ที่รวบรวมสาขาวิชาต่างๆ  รวมถึงโภชนาการ สรีระวิทยาการออกกำลังกาย จิตวิทยา และสาธารณสุข

 

 

ที่มาจาก : วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               พญ. กานดา กู้เมือง

สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์วิถีชีวิต

<