แน่นอก แยกให้ออก : หัวใจวาย หรือ กรดไหลย้อน?

จุดสังเกตความแตกต่างอาการระหว่าง โรคหัวใจ กับ โรคกรดไหลย้อน

เมื่อเกิดอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก รู้สึกเจ็บร้าวไปที่ลำคอ ขากรรไกร ไหล่และแขนซ้าย เจ็บเมื่อออกแรง สำหรับโรคกรดไหลย้อน เจ็บหน้าอกเวลาหายใจลึกๆ หรือไอ แต่ไม่ร้าวไปบริเวณขากรรไกร ไหล่ หรือแขน มีอาการมากขึ้นหลังมื้ออาหาร
 

อาการของโรคหัวใจ หรือภาวะหัวใจขาดเลือด

  1. เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเหมือนถูกบีบรัด หรือกดทับ
  2. เจ็บหน้าอกปวดร้าวไปกราม สะบักหลัง แขนซ้าย หัวไหล่ เจ็บหน้าอกมากขึ้น
  3. เมื่อมีการออกแรง หรือ ออกกำลังกาย เหงื่อออก จะเป็นลม หน้าซีด ใจสั่น หอบเหนื่อย คลื่นไส้
  4. มีอาการจุกบริเวณคอหอย ซึ่งบางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่
     

อาการของโรคกรดไหลย้อน

  1. เจ็บหน้าอกเวลาหายใจลึกๆ หรือไอ แต่ไม่ร้าวไปบริเวณขากรรไกร ไหล่ หรือแขน
  2. มีอาการมากขึ้นหลังมื้ออาหาร แล้วโน้มตัวลงนอน
  3. แสบร้อนบริเวณทรวงอก คอ มีอาการปวด จุกเสียด แน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่
  4. เรอเปรี้ยว เรอบ่อย คลื่นไส้ คล้ายมีอาหารไหลย้อยขึ้นมา มีรสขมขึ้นคอและปาก
  5. ไอเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ เจ็บคอเรื้อรัง มีกลิ่นปาก
  6. กลืนอาหารลำบาก จุกที่คอ คล้ายมีอะไรติดขวางลำคอ

 

การแยกแยะระหว่างอาการของโรคหัวใจและโรคกรดไหลย้อนอาจทำได้ยาก เนื่องจากมีอาการคล้ายคลึงกันในบางแง่มุม อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างสำคัญคือ อาการของโรคหัวใจมักรุนแรงขึ้นเมื่อออกแรงและอาจร้าวไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ในขณะที่อาการของโรคกรดไหลย้อนมักสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารและการนอนราบ หากคุณสงสัยว่าตนเองมีอาการของโรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง เหงื่อออก หน้ามืด หรือหายใจลำบาก อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือทางการแพทย์โดยด่วน การวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงทีอาจช่วยชีวิตคุณได้ ดังนั้น หากมีข้อสงสัยใดๆ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องโดยเร็วที่สุด

FAQ

คำถามโรคหัวใจ ถาม อยากทราบว่า ผู้ป่วยเป็นโรค หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยต้องเข้าการรับการรักษาอะไรบ้าง เมื่อแพทย์ตรวจพบกล้ามเนื้อหัวใจตายต้องทำการรักษาโดยทันทีหรือเปล่าค่ะ

คำถามโรคหัวใจ ตอบ จากคำถาม เข้าใจว่าผู้ป่วยได้รับการตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันแล้ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันคือ ภาวะที่เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายในที่สุด สาเหตุเกิดจากการที่ก้อนไขมันเส้นเลือดหัวจเกิดการปริแตกออก ทำให้เกิดการจับตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนถูกกดทับ อาจมีอาการอึดอัด หายใจไม่ออก และมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ แขน หรือหลังได้ อาการมักจะรุนแรงและเป็นเวลานานมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป การรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการคนไข้ โรคแทรกซ้อน โรคร่วมอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยมี เช่น โรคไต เบาหวาน แพทย์จะเป็นคนพิจารณาร่วมกับผู้ป่วยและญาติจะรักษาด้วยวิธีใด พิจารณาพร้อมกับผลตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น EKG, ผลเลือด การรักษาโดยการเปิดหลอดเลือด แบ่งเป็น 1. การให้ยาละลายลิ่มเลือด ในรายที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา 2. การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดและใส่ขดลวดค้ำยัน สรุป การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันให้ได้ผลดีนั้น ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการจนถึงได้รับการรักษา มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหลอดเลือด โดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดใส่ขดลวด ค้ำยัน ผลของการรักษาจะดีและภาวะแทรกซ้อนน้อย ถ้าผู้ป่วยได้รรับการรักษาเร็วค่ะ ยินดีบริการค่ะ คำตอบโดย คุณพรทิพย์ พิทักษ์เทพสมบัติ หัวหน้าแผนกคลีนิคบริการโรคหัวใจ
<