กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส... ไข้ต่ำ สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม!

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัสคืออะไร?

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัสเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเชื้อไวรัสสามารถทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งในบางกรณีอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวและเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

ไวรัสที่เป็นสาเหตุ

  1. กลุ่ม Enterovirus เช่น Enterovirus-A71, Coxsackie B, Echo virus เป็นไวรัสที่พบบ่อยในโรคมือเท้าปาก และบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือสมองอักเสบ
  2. ไวรัสที่ทำให้เกิดโรค เรารู้จักกันดี เช่น ไข้หวัดใหญ่, ไข้เลือดออก, โรคหัด, และสุกใส แม้จะพบได้น้อยมาก แต่ไวรัสเหล่านี้ก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจในผู้ป่วยบางราย

 

การติดเชื้อและความเสี่ยงในเด็กเล็ก

  • เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี โอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนอยู่ที่ 1 ใน 100
  • เด็กเล็ก โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 3 ปี มีโอกาสเกิด 1 ใน 300 โอกาสจะเกิดน้อยลงไปเรื่อยๆตามอายุที่มากขึ้น สำหรับไวรัสอื่น ๆ ความเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนมีเพียง 1 ในหมื่นถึงแสน ของผู้ติดเชื้อ

 

 อาการเริ่มต้นที่ต้องสังเกต

  • ไข้ต่ำๆ: เป็นอาการเริ่มต้นที่พบบ่อยที่สุด แต่อาจถูกมองข้ามเพราะดูไม่รุนแรง
  • ชักเกร็ง: ในบางรายโดยเฉพาะเด็กเล็ก อาจมีอาการชักร่วมด้วย ซึ่งเป็นสัญญาณที่ควรรีบพบแพทย์

หากไม่ได้รับการดูแล อาจนำไปสู่การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจหรือสมองอย่างเฉียบพลัน

 

 การแพร่เชื้อของไวรัส

  • ไวรัสสามารถแพร่กระจายทาง อากาศ ได้ง่าย โดยเฉพาะในสถานที่ชุมชน โรงเรียน หรือโรงพยาบาล
  • การติดเชื้อยังสามารถเกิดจากการสัมผัสกับสิ่งของปนเปื้อนเชื้อ เช่น ของเล่นหรือพื้นผิวต่าง ๆ

 

การป้องกันการติดเชื้อไวรัส
ไม่ว่าจะเป็นโรคทางเดินหายใจ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร การป้องกันดีที่สุดก็คงเป็น การดูแลสุขภาพอนามัย ดูแลร่างกายให้แข็งแรงเรื่องของความสะอาด ล้างมือ ทานอาหารที่สุก ใหม่ และสะอาด
ใส่หน้ากากอนามัย มือไปที่ชุมชนคนหนาแน่น หรือโรงพยาบาล

 

ยง ภู่วรวรรณ
ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬา
9 มกราคม 2568

แพทย์

FAQ

<