ศูนย์หัวใจวิภาวดี

ศูนย์หัวใจวิภาวดี

 หัวใจ...มีอยู่ดวงเดียวเท่านั้น

จึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาหัวใจ

           โรคหัวใจ มีสาเหตุการเกิดทั้งจากปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น การดำเนินชีวิต การบริโภคอาหาร เราสามารถป้องกันโรคหัวใจได้โดย การดูแลตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆที่จะทำลายสุขภาพ เช่น การเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักและการออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่หากเกิด       “ โรคหัวใจ ”  ขึ้นมาแล้วคุณต้องทำการรักษา

ปัจจุบัน โรคหัวใจเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง แต่ผู้ที่เป็น “โรคหัวใจ” สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ได้ “ การดูแลรักษา ” มีส่วนสำคัญอยู่มาก

        ศูนย์หัวใจวิภาวดี พร้อมให้บริการด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมทั้งทีมแพทย์โรคหัวใจที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทุกสาขา อาทิ

· แพทย์มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ

· ช่างไฟฟ้าหัวใจ

· แพทย์ฟื้นฟูและส่งเสริมสมรรถภาพหัวใจ

· ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก

· อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ ซึ่งมีประสบการณ์สูงและปฏิบัติงานเป็นทีม ศูนย์หัวใจวิภาวดีจึงพร้อมบริการตลอด 24 ชั่วโมง

· กุมารแพทย์โรคหัวใจ

เพราะรู้ว่า “ โรคหัวใจ ” เกิดขึ้นได้ทุกเวลาจึงควรตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ และ เมื่อมีอาการ ควรรีบมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ศูนย์หัวใจวิภาวดี พร้อมบริการด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือทางงการแพทย์ที่ทันสมัย

64 – Slice Multidetector Computed Tomography Angiography (MDCTA)การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

           เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รุ่น Somatom Sensation Cardiac64 เป็นเครื่องที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า สามารถทำการตรวจผู้ป่วยที่มีแนวโน้มในการเป็นโรคทางด้านหัวใจ เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน ซึ่งช่วยในการตรวจผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจหลอดเลือดให้เห็นทำให้สามารถป้องกันและทำการรักษาต่อไปได้ทันเวลาและยังเป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถสร้างภาพได้ครั้งเดียว 64 ภาพต่อการหมุน 1 รอบ ( 360  องศา ) สามารถหมุนด้วยความเร็วเพียง 0.33 วินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่ทำให้ทำการตรวจหัวใจได้ดีที่สุด เนื่องจากหัวใจมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา

Cardiac catheterization (การตรวจสวนหัวใจ)

            เป็นการตรวจและรักษาโดยการใช้สายสวนขนาดเล็ก (ประมาณ 2 มม.) เข้าไปตามหลอดเลือดแดงหรือดำ จากบริเวณขาหนีบ หรือแขนจนถึงหัวใจ แล้วทำการฉีดสารทึบแสงเพื่อ

· ตรวจหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary  Angiography)

· ประเมินพยาธิสภาพของห้องหัวใจซ้ายหรือขวา

· ค้นหาพยาธิสภาพที่ผิดปกติของไฟฟ้าหัวใจ

· รักษาภาวะลิ้นหัวใจตีบโดยใช้ Balloon เช่น การทำบอลลูนขยายลิ้นไมทรัล

· ปิดผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว หรือรูรั่วในหลอดเลือดด้วยเครื่องมือพิเศษโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดหัวใจ

 
Coronary  Angiography

(การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่)

            คือการฉีดสารทึบแสงเพื่อตรวจเส้นเลือดหัวใจ โดยแพทย์จะใช้สายสวนขนาดเล็ก (ประมาณ 2 มม.) ใส่เข้าไปตามหลอดเลือดแดงจากบริเวณขาหนีบหรือแขน จนถึงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (Coronary artery) แล้วฉีดสารทึบแสงเข้าทางสายสวนนั้น เพื่อตรวจดูว่ามีการตีบแคบหรือตันของหลอดเลือดโคโรนารี่บริเวณใดหรือไม่ ซึ่งภาพจะปรากฎให้เห็นในจอมอนิเตอร์อย่างชัดเจน เมื่อพบว่ามีการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจก็สามารถให้การรักษาได้ทันที

Percutaneous Transluminal Coronary  Angioplasty and Stenting

(การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ที่ตีบแคบ)

            คือการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ที่ตีบแคบ โดยการใช้สายสวนที่มี Balloon เล็กๆอยู่ส่วนปลาย ใส่เข้าไปให้ถึงบริเวณที่มีหลอดเลือดตีบแคบ แล้วเป่าลมเข้าไปทำให้พองออกตรงตำแหน่งที่ตีบแคบพอดีแรงกดจะทำให้หลอดเลือดที่ตีบแคบขยายออกบ่อยครั้งมีการใส่ขดลวดสปริงเล็กๆ (stent) เคลือบด้วยน้ำยา DES เพื่อป้องกันการตีบซ้ำภายหลัง ในกรณีที่หลอดเลือดแข็งตีบตัน อาจต้องใช้หัวกรอกากเพชร กรอหินปูนออก

Echocardiography

(การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง)

          ใช้ในการวินิจฉัย และพยากรณ์โรค รวมทั้งตรวจหาความรุนแรง ติดตามผลการรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถวัดขนาดและดูความสามารถในการทำงานของหัวใจรวมถึงโครงสร้างต่างๆได้ดี ศูนย์โรคหัวใจมีเครื่อง Echocardiography 4 มิติ และสามารถตรวจรักษาโรคหัวใจได้

 
Exercise Stress Test

(การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย)

            คือการให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานตามโปรแกรมที่กำหนด เพื่อมุ่งเน้นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือขาดเลือดเป็นสำคัญ หรือ อาจใช้ตรวจหาการเต้นผิดจังหวะที่เกิดร่วมกับการออกกำลังกายอีกด้วย การทดสอบชนิดนี้ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้เป็นอย่างดี

24 Hours  Ambulatory ECG  Recording

(การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมงชนิดพกพา)

           คือ การตรวจหัวใจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง เป็นการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ไว้กับตัวท่านโดยที่ท่านสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือที่ทำงาน ได้ตามปกติโดยที่ไม่ต้องเสียเวลานอนพักค้างที่โรงพยาบาล และเมื่อครบกำหนด 24 ชั่วโมงแล้ว ท่านจึงกลับมาถอดเครื่อง และรองรับทราบผลการตรวจวิเคราะห์จากแพทย์ได้ การตรวจวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราวหน้ามืดคล้ายจะเป็นลมอยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำ

Tilt Table Test

(การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติโดยการปรับระดับเตียง)

           เป็นการตรวจพิเศษเพื่อที่ใช้ทดสอบผู้ป่วย ที่มีอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ เพื่อหาทางแก้ไขหรือรักษาให้ถูกต้องต่อไป เนื่องจากอาการเป็นลมหมดสติเกิดได้จากหลายสาเหตุซึ่งอาจจะมาจากปัญหาทางด้านสมอง หัวใจ ความดันโลหิตต่ำหรือความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous systems) การเป็นลมที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติเป็นสาเหตุของการเป็นลมที่พบบ่อยที่สุด

 

EKG การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

          ช่วยในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หัวใจโต ความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในเลือด ฯลฯ

Cardiac Rehabilitation

(การฟื้นฟูและส่งเสริมสมรรถภาพของหัวใจ)

           เป็นการผสมผสานกระบวนการต่างๆ ได้แก่ การออกกำลังกายและการให้ความรู้ สร้างแรงเสริมในการปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ให้ผู้ป่วยกลับไปมีสุขภาพทางกายและจิตใจที่ดีต่อเนื่องในระยะยาว

ศูนย์หัวใจวิภาวดี พร้อมให้บริการด้วยห้องสวนหัวใจขนาดใหญ่ พร้อมทีมแพทย์และพยาบาลที่มีประสบการณ์ และเครื่องมือการผ่าตัดหัวใจ และเครื่องมือสวนหัวใจที่ทันสมัยรวมทั้งมีหอผู้ป่วยวิกฤตทางโรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ

“ โรคหัวใจ ” ที่ต้องได้รับการดูแลรักษา

· โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง

· โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ / ตัน

· ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

· โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด

· โรคหัวใจรูห์มาติก

· ภาวะกระแสไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ

· โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

· ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ ปริแตก ฯลฯ

           หากท่านมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง น้ำหนักเกิน คอเลสเตอรอลสูง เป็นลม หมดสติบ่อยๆ มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือแม้แต่คุณทราบพฤติกรรมของตนเองว่าอยู่ในภาวะ   “ เสี่ยง ” อย่านิ่งนอนใจปล่อยให้อาการลุกลามกลายเป็น “ โรคหัวใจ ”

<