สารพัดต้อที่ควรรู้

โรคต้อ แบ่งหลักๆออกเป็น 3 ประเภท
1.ต้อลม, ต้อเนื้อ : เป็นความเสื่อมของเยื่อบุตา
2.ต้อกระจก : เป็นความเสื่อมของเลนส์แก้วตา
3.ต้อหิน : เป็นความเสื่อมของเส้นประสาทตา

 

สารพัดต้อที่ควรรู้

โรคต้อ แบ่งหลักๆออกเป็น3ประเภท

1.ต้อลม, ต้อเนื้อ: เป็นความเสื่อมของเยื่อบุตา

2.ต้อกระจก      : เป็นความเสื่อมของเลนส์แก้วตา

3.ต้อหิน          : เป็นความเสื่อมของเส้นประสาทตา

 

1.ต้อลม , ต้อเนื้อ

ต้อลม จะเป็นลักษณะก้อนขาวเหลือง นูนเล็กน้อยคล้ายวุ้นใสๆ ติดอยู่ที่เยื่อบุตาใกล้ตาดำ พบมากบริเวณด้านหัวตา แต่ทางหางตาก็พบได้ สาเหตุเกิดจากภาวะที่มีการระคายเคืองตาอย่างเรื้อรัง จากฝุ่น แดด ลม ควัน ต้อเนื้อ ก็เป็นความเสื่อมของเยื้อบุตาเช่นเดียวกันพัฒนาเพิ่มมาจากต้อลม จะพบเป็นเส้นเลือดและเนื้อเยื่อหนาตัวขึ้นเป็นแผ่น แผ่จากบริเวณเยื่อบุตาเข้าสู่กระจกตาหรือตาดำ พบมากบริเวณหัวตา

2.ต้อกระจก

คือ ภาวะที่เลนส์แก้วตาขุ่น ปกติแล้วเลนส์แก้วตาจะมีความใส ทำหน้าที่ในการหักเหแสงในการมองเห็น เมื่อเกิดต้อกระจกขึ้นก็จะทำให้การมองเห็นลดลง เกิดอาการตามัว สาเหตุที่ทำให้เลนส์ตาขุ่นหรือเกิดต้อกระจก แบ่งได้เป็น 2 สาเหตุ หลักๆคือ

2.1.ต้อกระจกแต่กำเนิด( congenital cataract )

2.2ต้อกระจกที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง ( acquired cataract )

ทำความรู้จักกับต้อกระจกเชิงลึกอ่านต่อได้ที่บทความนี้

3.ต้อหิน                                                                                              

เป็นโรคของเส้นประสาทตาที่เสื่อมลงอย่างช้าๆ ทำให้ผู้ป่วยค่อยๆสูญเสียลานสายตาและการมองเห็นลง หากไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้ตาบอดได้ สาเหตุที่แท้จริง ยังไม่ทราบชัดเจน เชื่อว่า

3.1 เกิดขึ้นเอง เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างการสร้างและการระบายน้ำในลูกตา

3.2 กรรมพันธุ์           

3.3 การใช้ยาบางชนิด เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์

3.4 อุบัติเหตุต่อลูกตา

3.5 การอักเสบของลูกตาที่เป็นเรื้อรัง

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดต้อหิน ได้แก่

1.ระดับความดันลูกตาสูงเกินระดับปกติ (20-21 mmHg)

2.อายุตั้งแต่60ปีขึ้นไป

3.ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง เป็นเหตุให้เลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทตาได้ไม่ดี

4.เบาหวาน

5.ภาวะสายตาสั้น

 

วิธีการดูแลรักษา

1.สำหรับต้อลม , ต้อเนื้อ แนะนำให้ใส่แว่นกันแดด หลีกเลี่ยง ฝุ่น แดด ลม ควัน หรือสาเหตุใดๆ ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองตา หยอดตาลดการอักเสบระคายเคือง สลับกับการใช้น้ำตาเทียม กรณีที่เป็นมาก สำหรับต้อเนื้อที่ยื่นล้ำเข้าไปในกระจกตาหรือตาดำมาก อาจมีผลทำให้เกิดภาวะสายตาเอียง หรือต้อเนื้อไปบดบังการมองเห็นก็แนะนำให้ทำผ่าตัดลอกออก

2.ต้อกระจก หลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เป็นต้อกระจกเพิ่มเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะแสงแดดจ้า ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาต่างๆ กรณีเป็นต้อกระจกระยะเริ่มต้น จะส่งผลให้สายตาเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ซึ่งระยะนี้การใช้แว่นสายตาจะยังพอแก้ไขให้การมองเห็นดีขึ้นได้ มีการอ้างถึงยาหยอดตาบางชนิดที่จะช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาที่พิสูจน์ชัดเจนว่าได้ผลจริง

กรณีที่ต้อกระจกเป็นมากถึงระดับหนึ่ง ก็จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดรักษาในปัจจุบันนิยมใช้วิธีการสลายต้อกระจกที่มีอยู่เดิมออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ ก็จะทำให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นชัดเจนดีดังเดิม

3.ต้อหิน การดูแลรักษาขึ้นกับชนิดของต้อหินที่เป็นสาเหตุ บางชนิดไม่แสดงอาการเลย จะทราบได้ก็จากการตรวจพบ ซึ่งผู้ป่วยหลายคนกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรค ก็ตามัวมากเสียแล้ว ดังนั้นผู้ที่สงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยง เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน มีโรคประจำตัวหรือต้องใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เคยมีอุบัติเหตุตามาก่อน เคยมีภาวะตาอักเสบเรื้อรัง หรือตาติดเชื้อ เคยทำผ่าตัดตา ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาและตรวจเช็คเป็นระยะอย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐานการรักษาต้อหินโดยทั่วไป ได้แก่

-การใช้ยาหยอดตา เพื่อลดความดันลูกตาลงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความรุนแรงของโรค และความผิดปกติของเส้นประสาทตาที่เริ่มเสียไป

-การทำผ่าตัด จะพิจารณาในกรณีที่ผู้ป่วย ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้ด้วยการใช้ยาหยอดตา

-การเลเซอร์ จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นต้อหินมุมปิด(ไม่ได้ทำในผู้ป่วยทุกราย) ทั้งนี้การรักษาต้อหินไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม หรืออาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกันก็ไม่สามารถรักษาให้โรคหายขาดได้ หากแต่เป็นการควบคุมโรคให้คงที่ไว้ไม่ให้เกิดการเสื่อมเสียหายของเส้นประสาทตาเพิ่มเติมต่อไป ผู้ป่วยควรต้องทำความเข้าใจ ให้ความร่วมมือในการใช้ยา และตรวจเช็คตามนัด และมีความคาดหวังที่ถูกต้องว่าวัตถุประสงค์ของการรักษาโรคต้อหิน เพื่อเก็บการมองเห็นที่มีอยู่ไว้ไม่ให้สูญเสียระดับการมองเห็น และไม่สามารถทำให้การมองเห็นที่เป็นอยู่ดีขึ้น

 

สัญญาณที่บอกว่าเป็นต้อ

ต้อบางชนิดมีอาการ มีการเปลี่ยนแปลงภายนอกให้สังเกตได้ แต่บางชนิดไม่แสดงอาการในเบื้อต้น ฉะนั้นการหมั่นสังเกตความผิดปกติต่างๆ ของตาที่ปรากฏ อาการผิดปกติทั้งในแง่การระคายเคือง อักเสบปวดตา หรือตามัว ก็จะช่วยเตือนเราได้บ้างในเบื้องต้น ควรรีบไปตรวจเช็คและรับการรักษาโดยเร็ว และไม่แนะนำให้ซื้อยาหยอดตาใช้เอง กรณีที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรืออยู่ในวัยสูงอายุ การตรวจตาประจำปีน่าจะได้ประโยชน์

 

การป้องกัน+รักษาความเสี่ยง

1.ต้องทราบก่อนว่าใครคือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และเรามีความเสี่ยงเหล่านั้นหรือไม่

2.ก่อนใช้ยาทุกชนิด ควรปรึกษาแพทย์ ร่วมกับรับทราบถึงผลข้างคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

3.สวมแว่นกันแดดให้เป็นนิสัย เมื่ออยู่กลางแจ้ง

4.หาโอกาสตรวจเช็คตาสม่ำเสมอตามเกณฑ์อายุ เพื่อตรวจหาโรคต่างๆ ที่อาจมีได้แต่ยังไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น

5.หมั่นสังเกตตัวเอง หากพบความผิดปกติใดไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์ ไม่ซื้อยาหยอดตาใดใช้เอง

<