การผ่าตัดส่องกล้องข้อกระดูก - แผลเล็ก เจ็บน้อย หายไว

ปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้องสามารถนำมาใช้ได้กับหลายโรค ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัดไส้ติ่ง การผ่าตัดไส้เลื่อน การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ไทรอยด์ หรือแม้การผ่าตัดเต้านม เป็นต้น การผ่าตัดส่องกล้องช่วยให้คนไข้บาดเจ็บน้อยลง ด้วยขนาดของแผลผ่าตัดที่เล็กลง พักฟื้นเพียงไม่นานก็สามารถกลับบ้านได้เร็วขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้เร็วขึ้น

 

การผ่าตัดส่องกล้องแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1. การผ่าตัดแบบเปิด (Open surgery) เป็นการผ่าตัดแบบธรรมดา
  2. การผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Minimally Invasive Surgery) เป็นการผ่าตัดแผลเล็กโดยใช้เครื่องมือเพื่อเข้าไปช่วยในการผ่าตัด

 

การผ่าตัดส่องกล้องคืออะไร?

Arthroscopy คือ ส่องกล้องเข้าไปมองดูในข้อ เมื่อ 20 กว่าปีก่อนแพทย์จะใส่กล้องมีลักษณะเป็นท่อยาวๆ เข้าไปในข้อ แล้วมองดูผ่านกล้องตรงๆ ต่อมามี Video cameras และเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กพิเศษ  แพทย์สามารถจะตรวจหาความผิดปกติของข้อ และผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือเล็กๆ
เจาะรูใส่เข้าไปในข้อได้ โดยมองผ่านจอภาพที่ต่อออกมาจาก Video cameras ได้ชัดเจน ทำให้การวินิจฉัยถูกต้อง และผ่าตัดรักษาได้ผลดีกว่า วิธีผ่าตัดแบบปกติ ที่ต้องเปิดแผลและตัดเนื้อเยื่อที่ดี เพื่อให้เห็นบริเวณผ่าตัดชัดเจน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการผ่าตัดข้อ เพราะการจะเห็น
ในข้อจำเป็นต้องเปิดเยื่อหุ้มข้อเป็นแผลเป็น และเกิดภาวะข้อยึดติดได้ง่าย และการเปิดแผลใหญ่ มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงขึ้น และผิวข้อที่ถูกเปิดแผลใหญ่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงผิวข้อที่ถูกเปิดออกมาถูกอากาศนานๆ ระหว่างผ่าตัด มีผลเสียต่อกระดูกอ่อนผิวข้ออาจทำให้ผิวเสียได้

 

การผ่าตัดส่องกล้อง สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคได้ในเวลาเดียวกัน เนื่องจากแพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติในข้อกระดูกได้เลย ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลกว้าง เพียงแต่เจาะผ่านเยื่อหุ้มข้อเข้าไปในข้อ และขณะเดียวกันข้อที่รับการผ่าตัดยังอยู่ในสภาพที่มีเยื่อหุ้มข้อปิดโดยรอบ
ลดภาวะติดเชื้อ และป้องกันผิวข้อไม่ให้แห้ง การหายของแผลผ่าตัดและเยื่อหุ้มข้อใช้ระยะเวลาสั้นกล้ามเนื้อและการฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อที่ได้รับการผ่าตัดกลับสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น  โดยที่คนไข้ไม่ต้องดมยาสลบแต่ใช้ยาชาเฉพาะจุดแทน การใช้วิธีส่องกล้องนี้ เพื่อวินิจฉัยโรคข้อกระดูก
จะช่วยให้แพทย์ตรวจได้ตรงจุดมากว่าการทำ X-ray CT scan หรือ MRI เพราะเห็นสาเหตุ และรอยโรคได้โดยตรง 

 

ข้อดีของการผ่าตัดแบบส่องกล้อง

  • แผลเล็ก - การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาข้อกระดูก จะมีแผลผ่าตัดที่เล็กกว่าการผ่าตัดปกติมาก โดยขนาดแผลจะอยู่ที่ 0.8-1.0 ซม. 
  • ฟื้นตัวเร็ว - ระยะเวลาของการพักฟื้นในโรงพยาบาลจะสั้นกว่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดเป็นธรรมดา ขึ้นอยู่กับโรคที่ผ่าตัด เช่น หากเป็นการผ้าตัดบริเวณลำไส้ใหญ่ จากเดิมใช้เวลาในโรงพยาบาล 7-14 วันจะลดเวลาลงเหลือเพียง 3-5 วันเท่านั้น ทำให้คนไข้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
  • ลดการติดเชื้อ - บางรายอาจจะไม่ต้องเย็บแผล การที่แผลผ่าตัดเล็กจะช่วยลดบาดแผลจากการผ่าตัด เพราะแพทย์ไม่จำเป็นที่จะต้องตัดเยื่อหุ้มข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัด อีกทั้งยังช่วยคงความชุ่มชื้นของผิวข้อได้อีกด้วย 

 

หลังผ่าตัดส่องกล้องจะเป็นอย่างไรบ้าง?

การผ่าตัดส่องกล้องโดยทั่วไปจะใช้เวลาค่อนข้างเร็ว หลังจากการผ่าตัดคนไข้พักดูอาการที่โรงพยาบาลก่อน แล้วถึงจะกลับไปพักต่อที่บ้านได้

 

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด

  1. ทานยาแก้ปวดเมื่อมีอาการ และยาอื่นๆ ตามแพทย์สั่ง
  2. ประคบอุ่นหรือเย็นตามคำแนะนำของแพทย์
  3. พักผ่อนเยอะๆ เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้ไว
  4. ออกกำลังกายหรือทำกายภาพบำบัดเบาๆ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อขยับตัวได้ดี

ระยะเวลาการฟื้นตัวของคนไข้แต่ละราย อาจต่างกันไป ขึ้นอยู่กับภาวะของข้อกระดูกและการผ่าตัด โดยที่แพทย์จะทำการติดตามอาการของคนไข้หลังได้รับการผ่าตัดจนหายดี   

 

ข้อห้ามการผ่าแบบส่องกล้อง

ควรเป็นคนไข้ที่ไม่มีปัญหาเรื่องเลือดออกง่าย หรือเลือดมีการแข็งตัวไม่ดี จะทำให้คนไข้มีการเสียเลือดมากในระหว่างการผ่าตัด
คนไข้ที่เคยผ่านการฉายแสงหรือเคยผ่าตัดหลายครั้ง จนมีพังผืดค่อนข้างมากเพราะทำให้ยากต่อการส่องกล้องผ่าตัด อีกทั้งจะไม่มีพื้นที่ในการเป่าลมเพื่อขยายภายในช่องท้องทำให้ไม่มีพื้นที่ในการผ่าตัดได้สะดวก

 

แพทย์

นพ.แม็กซ์ ซอร์เจีย จิรพงศาธร
แผนกศัลยกรรม

 

<