โรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และ โรคไอกรน คืออะไร มีความรุนแรงอย่างไร
โรคบาดทะยัก เกิดจากพิษของเชื้อบาดทะยัก ที่มีอยู่ตามสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่นในดิน พื้นหญ้า มูลสัตว์ เจริญได้ดีในที่ที่ไม่มีออกซิเจน ส่วนมากมักจะมีประวัติมีบาดแผลตามร่างกาย เช่น ตะปูตำ หนามตำ สัตว์กัด เป็นต้น
เมื่อเชื้อบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล แล้วปล่อยสารพิษออกมาทำลายระบบประสาท ทำให้มีอาการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อ ขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ คอแข็ง ชักกระตุก หายใจลำบาก รุนแรงจนเสียชีวิตได้ ระยะฟักตัว 5 วัน - 15 สัปดาห์ แต่พบมากระหว่าง 6-15 วัน
โรคคอตีบ เกิดจากเชื้อคอตีบ ซึ่งอยู่ในน้ำลาย เสมหะ หรือน้ำมูกของผู้ป่วย ซึ่งทำให้ลำคออักเสบรุนแรง เกิดเป็นพังพืดอุดกั้นทางเดินหายใจ นอกจากนี้ การติดเชื้อยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน กล่าวคือเชื้อคอตีบสามารถปล่อยสารพิษ ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและประสาทอักเสบได้ โรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายโดยการหายใจ ไอ หรือจามรดกัน มีระยะฟักตัวประมาณ 1-7 วัน
อาการของโรคคอตีบ จะมีอาการ ไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว เจ็บคอเล็กน้อยแต่รู้สึกกลืนลำบาก คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียมาก ถ้ามีอาการอักเสบของกล่องเสียง จะมีอาการไอ เสียงแหบ หายใจลำบาก
โรคไอกรน เกิดจากเชื้อไอกรนซึ่งมีอยู่ในคอของผู้ป่วยที่เป็นโรคในระยะแรกเท่านั้น ติดต่อได้โดยการไอหรือจามรดกัน ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการไอมาก จนหายใจลำบาก ในเด็กอาจมีอาการ หยุดหายใจ ชัก ไออย่างรุนแรง ซึ่งทำให้หายใจลำบาก อาเจียน และรบกวนการนอนหลับ ระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน
อาการของโรคไอกรน แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่
· ระยะแรก มีไข้ต่ำๆ น้ำมูกไหล จามและไอคล้ายไข้หวัด อาการไอจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่ระยะที่สองระยะนี้เป็นอยู่นานประมาณ 7-14 วัน
· ระยะที่สอง มีอาการไอเป็นชุดคือไอติดต่อกันครั้งละนานๆจนตัวงอและหายใจแทบไม่ทัน เมื่อหยุดไอจะหายใจเข้ายาวๆเสียงดังวู้บ ยกเว้นทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน อาจไม่มีอาการนี้ และมักจะอาเจียนมีเสมหะออกมาด้วย ในรายที่ไอรุนแรง หน้าจะเขียว ตาโปนแดง หลอดเลือดที่คอโป่ง บางรายอาจไอจนหลอดเลือดฝอยใต้เยื่อบุตาแตกเป็นปื้นแดงที่ตาขาวและอาจพบรอยบวม ช้ำ หรือห้อเลือดที่หนังตาด้วย ในเด็กเล็กอาจมีอาการชักเกร็ง หยุดหายใจ ตัวเขียวเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง อาการไอเป็นชุดส่วนใหญ่มักจะเป็นมากตอนกลางคืนหรือเมื่อกระทบอากาศเย็น ดื่มน้ำเย็นจัด ถูกควันบุหรี่ หรือถูกฝุ่น ระยะนี้จะเป็นอยู่นานประมาณ 1 เดือน แต่จะเป็นมากในช่วง 2 สัปดาห์แรก
· ระยะที่สาม เป็นระยะฟื้นตัว อาการไอจะค่อยๆลดลงรับประทานอาหารได้มากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือปอดอักเสบ ถ้าเป็นในเด็กอ่อนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดอาการชักเกร็งและหยุดหายใจเนื่องจากสมองขาดออกซิเจนระหว่างที่ไอนานๆมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
ใครควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และ โรคไอกรน
วัคซีนสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่
อายุ 11 ถึง 18 ปี
· แนะนำให้ฉีด Tdap ตอนอายุ 11 หรือ 12 ปี (สำหรับเด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน DTaP ให้ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 7 ปี)
· เด็กและวัยรุ่นที่ฉีด DTaP ไม่ครบทุกเข็มตอนอายุ 7 ปีควรฉีดวัคซีนที่มีส่วนผสมของ Td และ Tdap ให้ครบทุกเข็ม
อายุ 19 ถึง 64 ปี
· ผู้ใหญ่ควรได้รับการฉีดวัคซีน Td กระตุ้นทุกๆ 10 ปี ในผู้ใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี ซึ่งยังไม่เคยฉีด Tdap ควรฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีน Tdap ในครั้งต่อไป ผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไปอาจฉีด Tdap กระตุ้น 1 เข็ม
· ผู้ใหญ่ (รวมทั้งหญิงที่จะตั้งครรภ์และผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป) ที่มีโอกาสใกล้ชิดกับทารกที่มีอายุต่ำกว่า 12 เดือนควรต้องฉีด Tdap หนึ่งเข็มเพื่อช่วยป้องกันทารกจากโรคไอกรน
· บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งต้องสัมผัสโดยตรงกับคนไข้ในโรงพยาบาลหรือคลีนิคควรฉีด Tdap 1 เข็ม
อายุ 65 ปีขึ้นไป
· อาจฉีด Tdap กระตุ้นหนึ่งเข็ม
การฉีดวัคซีนป้องกันในผู้ป่วยหลังจากมีบาดแผล
· บุคคลที่มีบาดแผลหรือแผลไหม้อาจต้องฉีด Td หรือ Tdap เพื่อป้องกันการติดเชื้อบาดทะยัก Tdap สามารถฉีดให้กับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนนี้มาก่อน
การฉีดวัคซีนป้องกันในหญิงตั้งครรภ์
· หญิงตั้งครรภ์ซึ่งยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน Tdap ควรฉีดหนึ่งครั้งจากอายุครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ และจะให้ดีควรอยู่ระหว่างไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ถ้าฉีดให้มารดา ก็จะป้องกันให้ลูกที่คลอดออกมาได้ประมาณ 6 เดือนและวัคซีนป้องกันบาดทะยัก จะช่วยป้องกันการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตรด้วย สตรีที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน Tdap ระหว่างตั้งครรภ์ ควรฉีด 1 เข็มทันทีหลังคลอดบุตร เนื่องจากลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรนอาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อมาจากแม่ ทั้งวัคซีน Tdap และ Td อาจฉีดร่วมกับวัคซีนอื่นได้
การดูแลอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
วัคซีนอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ ซึ่งจะมีอาการผื่น หน้าบวม คอบวม หายใจลำบาก หรือ หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งต้องรีบพาผู้ได้รับวัคซีนไปพบแพทย์อย่างรีบด่วน อย่างไรก็ตามอาการแพ้อย่างรุนแรงจากวัคซีนพบได้น้อยมาก
ปฏิกิริยาที่อาจพบได้หลังจากการฉัดวัคซีน ได้แก่ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งมักหายเองภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้อาจะพบ ไข้ อาเจียน ปวดเมื่อย หากมีอาการปวด บวม บริเวณที่ฉีดวัคซีนให้ประคบเย็น แต่ถ้ามีอาการผิดปกติอื่นนอกเหนือจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
ภายใน 12 ชม. หลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมๆ กันคนละตำแหน่งกับ HBIG วัคซีนครั้งที่ 2 ให้เมื่ออายุ 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
o ในกรณีที่ใช้วัคซีนรวมที่มีคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และวัคซีนตับอักเสบบี สามารถให้ฉีด (หลังจากเข็มแรกเกิด) ที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือนได้
o ในกรณีเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้ในเดือนที่ 0, 1, 6 ส่วนเด็กที่อายุ ตั้งแต่ 11-15 ปี อาจฉีดเพียง 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 4-6 โดยใช้วัคซีนขนาด 1.0 มล. เท่าผู้ใหญ่
o บุคคลที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนและมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ดังเช่น
§ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
§ ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน
§ ผู้ที่ฉีดสารเสพติด
§ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์มากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป
§ ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง หรือโรคไตเรื้อรัง
§ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีอายุน้อยกว่า 60 ปี
§ บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ
§ บุคคลในครอบครัวติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
§ ผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของไวรัสตับอักเสบบี
§ ผู้ติดเชื้อเอดส์
o สตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงก็สามารถฉีดวัคซีนได้
ใครที่ไม่ควรรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
· ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงเป็นอันตรายแก่ชีวิตต่อวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี หรือส่วนประกอบของวัคซีน
· ผู้ที่มีอาการป่วย ควรรอจนกว่าหายเป็นปกติก่อนจึงจะฉีดได้
ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์ดังนี้
ถึงแม้อัตราเสี่ยงของอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรงที่เกิดจากวัคซีนเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ให้เฝ้าระวังอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที
· มีอาการผิดปกติดังนี้ อาการของการแพ้รุนแรง กล่าวคือ หายไจลำบาก หรือหายใจมีเสียงวีด เสียงแหบ ไข้สูง ผื่น หน้าบวม ปากบวม ตัวซีด หรือ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น
ด้วยความปรารถนาดี จาก ศูนย์วัคซีน โรงพยาบาลวิภาวดี