วัคซีนป้องกันโรคนิวโมคอคคัส

 โรคนิวโมคอคคัส (Pneumococcus)

          โรคนิวโมคอคคัลเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อสเตรปโตคอคคัสนิวโมนิอิ (Streptococcus pneumoniae) ถึงแม้เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมซึ่งนำไปสู่การเจ็บป่วยและตายเป็นจำนวนมากทั่วโลก แต่ก็เป็นโรคหนึ่งที่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

         เชื้อแบคทีเรียนี้พบได้ทุกหนทุกแห่ง มักพบอาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคอของคนที่เป็นพาหะ โดยไม่มีอาการอะไร เชื้อกระจายไปสู่บุคคลอื่นโดยการไอ หรือ จาม ทำให้มีละอองเสมหะแพร่กระจายออกไป เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการสัมผัสสิ่งปนเปื้อน ซึ่งคล้ายกับการแพร่กระจายของโรคหวัด และไข้หวัดใหญ่

 

 อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อนิวโมคอคคัส

          ถ้าสงสัยว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบพบแพทย์

  • โรคปอดบวม จะมีอาการไข้สูง ไอ หายใจเร็ว หอบ อาจมีของอาการไข้หวัดนำมาก่อนหรือไม่ก็ได้
  • โรคหูชั้นกลางอักเสบ จะมีอาการไข้สูง เจ็บหู งอแง ร้องกวน
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน คอแข็ง ปวดศีรษะ อาเจียน กระวนกระวาย ชัก หรือหมดสติอย่างรวดเร็ว
  • ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้สูง โดยที่มีหรือไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยก็ได้ ควรจะรีบพามาพบแพทย์

 

การรักษาโรคนิวโมคอคคัส

          การรักษาที่สำคัญที่สุดคือการให้ยาปฏิชีวนะที่สามารถกำจัดเชื้อนิวโมคอคคัสได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะมีการดื้อต่อยาเพนนิซิลิน ยาปฏิชีวนะสามารถฆ่าเชื้อได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่ในปัจจุบันเชื้อดื้อยาเพนนิซิลินมากขึ้น ทำให้แพทย์ต้องใช้ยากลุ่มใหม่ในการรักษา ความยุ่งยากของการรักษาโรคนี้ยังขึ้นอยู่กับว่า ติดเชื้อบริเวณใด เช่น ติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง อาจทำให้มีการทำลายเนื้อสมองร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจมีความพิการเหลืออยู่ในรายที่รอดชีวิต

 

 ทำไมจึงควรได้รับวัคซีน?

          เนื่องจากการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะในปัจจุบันซึ่งเป็นเชื้อดื้อยาเพนนิซิลินมากขึ้น ทำให้การรักษาโรคนิวโมคอคคัสยุ่งยาก และซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ยังอาจทำให้มีความพิการหลงเหลือในรายที่รอดชีวิต ดังนั้นการป้องกันโรคนี้โดยการฉีดวัคซีนจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดทางหนึ่ง วัคซีนนิวโมคอคคัสโพลีแซคคาไรด์ (pneumococcal polysaccharide vaccine, PPSV23)

         

              วัคซีนนิวโมค็อคคัสโพลีแซคคะไรด์ (PPSV) ป้องกันเชื้อแบคทีเรียนิวโมค็อคคัลได้ 23 ชนิด รวมถึงชนิดที่มักก่อให้เกิดโรคขั้นรุนแรงด้วย

ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงจะสร้างภูมิคุ้มต่อต้านเชื้อส่วนใหญ่หรือทั้งหมดภายหลังรับการฉีดวัคซีนภายใน 2 ถึง 3 สัปดาห์ ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และผู้ป่วยเรื้อรังอาจไม่ตอบสนองต่อวัคซีนเท่าที่ควรหรือไม่ตอบสนองเลย


ใครควรได้รับวัคซีนนิวโมคอคคัส ?

  1. ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ที่มีอายุระหว่าง 2 ถึง 64 ปีซึ่งมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังเช่น:
            -  โรคหัวใจ, โรคปอด, โรคเลือด, โรคเบาหวาน, โรคพิษสุราเรื้อรัง, โรคตับแข็ง, มีของเหลวซึมจากสมองหรือไขสันหลัง หรือมีการเปลี่ยนอวัยวะภายในช่องหู
  3. ผู้ที่มีอายุระหว่าง 2 ถึง 64 ปี ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ร่างกายลดการต่อต้านกับการติดเชื้อ เช่น:
             - โรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือเม็ดเลือด, ไตวาย, มะเร็งของเซลล์พลาสม่า, โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของไต, ติดเชื้อเอส ไอ วี หรือ เอดส์, ม้ามบกพร่อง หรือ ไม่มีม้าม, เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
  4. ผู้ที่มีอายุระหว่าง 2 ถึง 64 ปี ซึ่งรับประทานยาหรือได้รับการบำบัดรักษาที่ทำให้ร่างกายลดการต่อต้านกับการติดเชื้อ เช่น: ใช้ยาเสตอรอยด์เป็นเวลานาน, ยารักษาเฉพาะโรคมะเร็ง, รับการฉายแสง
  5. ผู้ใหญ่อายุ 19 ถึง 64 ซึ่ง: สูบบุหรี่, เป็นโรคหืด
     

 ควรฉีดวัคซีนนิวโมคอคคัส กี่ครั้งและเมื่อไหร่?

โดยปกติต้องฉีด PPSV23 เพียงครั้งเดียว แต่ในบางกรณีจำเป็นต้องฉีดครั้งที่สอง

  • ควรฉีดครั้งที่สองให้กับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปที่ได้รับการฉีดครั้งแรกเมื่อบุคคลนั้นมีอายุน้อยกว่า 65 ปี และได้รับการฉีดมานานเกินกว่า 5 ปี
  • ควรฉีดครั้งที่สองให้กับผู้ที่มีอายุ 2 ถึง 64 ปีซึ่ง: มีม้ามบกพร่องหรือไม่มีม้าม, มีโรคเลือดจากโดยกำเนิด, มีการติดเชื้อ เอช ไอ วี หรือเอดส์, เป็นมะเร็ง, มะเร็งเม็ดเลือด ต่อมน้ำเหลืองเซลล์พลาสมา, โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของไต, มีการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะหรือไขกระดูก, รับยาเพื่อกดภูมิคุ้มกัน (เช่น ใช้คีโมบำบัด หรือใช้ยาเสตอรอยด์เป็นเวลานาน)ควรฉีดวัคซีนครั้งที่สองหลังจากครั้งแรก 5 ปี

 

การดูแลอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

          วัคซีนก็เหมือนยารักษาโรคอื่นๆที่อาจเกิดปฏิกิริยาข้างเคียงได้ สำหรับวัคซีนป้องกัน โรคนิวโมคอคคัส  อาจมีผลข้างเคียงบ้างเล็กน้อยเช่น  ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด  มีส่วน้อยเพียง 1% ที่อาจมีไข้ หรือ ปวดกล้ามเนื้อ   การดูแลรักษาอาการข้างเคียง หากปวด บวมบริเวณที่ฉีดให้ประคบด้วยผ้าเย็น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ในขนาดที่เหมาะสม หากมีอาการรุนแรง หรือเป็นมาก ควรปรึกษาแพทย์ทันทีและแจ้งอาการให้ทราบโดยละเอียด

 

 การดูแลอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

สิ่งที่ควรสังเกตุ               

  • สังเกตุหาอาการผิดปกติต่างๆ ของอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ ผื่น หน้าบวม ปากบวม คอบวม หายใจไม่สะดวก หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายใน 2-3 นาที ถึง 1-2 ชั่วโมงหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน

 

สิ่งที่ควรปฏิบัติ

                   หากคิดว่าผู้รับวัคซีนเกิดปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงให้นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

  1. ในกรณีที่ใช้วัคซีนรวมที่มีคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และวัคซีนตับอักเสบบี สามารถให้ฉีด (หลังจากเข็มแรกเกิด) ที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือนได้
  2. ในกรณีเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้ในเดือนที่ 0, 1, 6 ส่วนเด็กที่อายุ ตั้งแต่ 11-15 ปี  อาจฉีดเพียง 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 4-6 โดยใช้วัคซีนขนาด 1.0 มล. เท่าผู้ใหญ่ 
   
  3. บุคคลที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนและมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ดังเช่น
    - ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
    - ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน
    - ผู้ที่ฉีดสารเสพติด
    - ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์มากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป
    - ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง หรือโรคไตเรื้อรัง
    - ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีอายุน้อยกว่า 60 ปี
    - บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ
    - บุคคลในครอบครัวติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
    - ผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของไวรัสตับอักเสบบี
    - ผู้ติดเชื้อเอดส์
  4. สตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงก็สามารถฉีดวัคซีนได้


ใครที่ไม่ควรรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

  • ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงเป็นอันตรายแก่ชีวิตต่อวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี หรือส่วนประกอบของวัคซีน
  • ผู้ที่มีอาการป่วย ควรรอจนกว่าหายเป็นปกติก่อนจึงจะฉีดได้


ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์ดังนี้

         ถึงแม้อัตราเสี่ยงของอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรงที่เกิดจากวัคซีนเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ให้เฝ้าระวังอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที

        มีอาการผิดปกติดังนี้ อาการของการแพ้รุนแรง กล่าวคือ หายไจลำบาก หรือหายใจมีเสียงวีด เสียงแหบ ไข้สูง ผื่น หน้าบวม ปากบวม ตัวซีด หรือ หัวใจเต้นเร็วเป็นต้น

                 
      ด้วยความปรารถนาดี  จาก ศูนย์วัคซีนโรงพยาบาลวิภาวดี

<