วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคหัด โรคไข้กาฬหลังแอ่นคืออะไร

          โรคไข้กาฬหลังแอ่น เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria meningitidis ซึ่งเป็นเชื้อกรัมลบรูปทรงกลมจำพวกเดียวกับเชื้อหนองในแท้ หรือ Neisseria gonorrheae แต่ไม่ทำให้เกิดกามโรคและมีความรุนแรงในการก่อโรคมากกว่า มีอัตราการตายสูงกว่า 
           - ชื่อโรคไข้กาฬ มีเหตุจากความรุนแรงของโรค ซึ่งทำให้ผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้ในเวลาอันสั้น 
           - ชื่อหลังแอ่น เนื่องจากลักษณะของผู้ป่วยโรคนี้อาจมีการชักเกร็ง หลังแข็งแอ่น

เชื้อที่ก่อโรคมีอยู่ 5 กลุ่ม ได้แก่ A, B, C, Y และ W-135

การติดต่อของโรค

          โรคนี้ติดต่อทางละอองฝอยจากน้ำมูก น้ำลาย หรือจากสารคัดหลั่งต่างๆ จากการสัมผัสใกล้ชิด แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าไปส่วนใหญ่ไม่มีอาการ  บางรายจะเป็นพาหะ มีน้อยรายมากที่เชื้อจะลุกลามไปที่เยื่อหุ้มสมองหรือกระแสโลหิต ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ประปราย ไม่พบการระบาดใหญ่ จากสถิติย้อนหลังพบว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ในประเทศไทยปีละไม่เกิน 10 คน

          การติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัสใกล้ชิด หรือคลุกคลีอยู่กันคนหมู่มาก อยู่รวมๆกัน เช่น นักเรียนนักศึกษาในหอพัก กลุ่มผู้แสวงบุญ หรือกลุ่มนักท่องเที่ยวนักเดินทางที่เข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาด ดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ในประชากรกลุ่มดังกล่าว

ระยะฟักตัวของโรค

          ผู้ป่วยเริ่มปรากฏอาการป่วย หลังจากรับเชื้อ 2-10 วัน

อาการ

          เริ่มด้วยมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บคอ ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่ขาและหลัง ต่อมาจะมีผื่นเลือดออกใต้ผิวหนังร่วมกับจ้ำเลือดสีคล้ำ และสะเก็ดดำในที่สุดผู้ป่วยอาจมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยแสดงอาการคอแข็งร่วมด้วย ในรายที่เป็นรุนแรงผู้ป่วยจะซึม ชัก ช็อกและอาจเสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการ

 

วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น
          วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นที่มีใช้ในประเทศไทยสามารถป้องกันโรคได้ 4 สายพันธุ์คือ   A, C, Y, W-135  แต่ในประเทศไทยสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุดคือสายพันธุ์ B ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน ดังนั้นจึงยังไม่มีคำแนะนำให้การฉีดวัคซีนในคนไทยโดยทั่วไปในการป้องกันโรคนี้ การฉีดวัคซีนจึงมีที่ใช้ในกรณีที่คนที่จะเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคเป็นประจำ หรือ ให้วัคซีนแก่ประชาชนที่อยู่เขตระบาดซึ่งทราบสายพันธุ์ของเชื้อแล้ว หรือที่กำลังจะเดินทางเข้าไปในเขตที่มีการระบาดเป็นประจำ เช่น เช่น ประเทศแถบทะเลทรายซาฮาราในทวีปอาฟริกา ประเทศในตะวันออกกลาง ผู้ที่จะเดินทางเข้าไปในเขตดังกล่าว ดังเช่นชาวไทยมุสลิมผู้ไปแสวงบุญ ณ.นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องโรคไข้กาฬหลังแอ่นก่อนการเดินทางอย่างน้อย 10 วัน วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่

1.       วัคซีนชนิดโปลิแซค ประกอบด้วยสารสกัดบริสุทธิ์ของแคปซูลของเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น โดยสกัดจากเชื้อ ชนิด ได้แก่ A, C, Y และ W-135 วัคซีนชนิดนี้ใช้ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นชนิด และ ในเด็กที่มีอายุมากกว่า ปี และในผู้ใหญ่ ส่วนภูมิคุ้มกันสำหรับเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นชนิด C ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า ปี ไม่ดีเท่าใดนัก และวัคซีนชนิดโปลิแซคคาไรด์ไม่ได้ผลชัดเจนในเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นชนิด และW-135 สำหรับทุกช่วงอายุ

2.       วัคซีนชนิดคอนจูเกต วัคซีนชนิดคอนจูเกตเป็นวัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นชนิดใหม่ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ยาวนานขึ้น   สร้างขึ้นโดยรวมส่วนของโปรตีนเข้ากับโปลิแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นแคปซูลของเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น ชนิด ได้แก่ A, C, Y และ W-135 ให้ใช้ได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นในบุคคลที่มีอายุระหว่าง 2-55 ปี

 

ใครควรได้รับวัคซีนนี้ และจะต้องให้กี่ครั้ง อย่างไร

          ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนนี้ มี3 กลุ่มใหญ่ๆคือ

1.       เด็กอายุมากกว่า 2 ปี และผู้ใหญ่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เดินทางไปหรืออาศัยอยู่ในแหล่งระบาดของโรค

2.       นักเรียนนักศึกษาที่จะไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา หรือบางประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนนักศึกษาที่จะเข้าไปพักในหอพัก เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการระบาดของโรคนี้ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ทำให้ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกามีข้อกำหนดเลยว่า นักเรียนนักศึกษาที่จะเข้าไปเรียนจะต้องได้รับวัคซีนดังกล่าวก่อนเข้าไป และจะต้องยื่นเอกสารว่าได้รับการฉีดวัคซีนนี้ด้วย

3.       กลุ่มผู้แสวงบุญในพิธีฮัจจ์และอุมเราะห์ ซึ่งเป็นข้อกำหนดของทางการประเทศซาอุดิอารเบีย ก่อนเข้าร่วมพิธีดังกล่าวจะต้องได้รับวัคซีนป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น โดยจะต้องยื่นหลักฐานว่าเคยได้รับวัคซีนนี้แล้วเพื่อใช้ในการขอ visa เข้าประเทศ โดยจะต้องฉีดล่วงหน้าก่อนเดินทางไปอย่างน้อย 10 วัน และไม่เกิน 2 ปี

4.       กลุ่มนักท่องเที่ยว/นักเดินทางที่จะไปในประเทศในเขต Meningitis belt ในแอฟริกา ตั้งแต่ประเทศแกมเบีย บูร์กินาฟาโซ เซเนกัล กีนี ไปทางตะวันออกจนถึงประเทศเอธิโอเปีย หรือเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องเข้าไปคลุกคลีกับคนในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้นผู้ที่จะเข้าไปท่องเที่ยวหรือทำงานในประเทศดังกล่าวควรได้รับวัคซีนก่อนเดินทาง

           วัคซีนใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังในชนิดโพลีแซคคาไรด์ และฉีดเข้ากล้ามเนื้อในชนิดคอนจูเกต 1 ครั้ง

 

 

ใครไม่ควรรับวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น หรือควร เลื่อนการรับวัคซีนออกไปก่อน

·        เคยมีปฏิกิริยารุนแรงต่อ วัคซีนนี้มาก่อน แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน แพ้สารลาเท็ค (latex) ซึ่งเป็นส่วนประกิบของภาชนะบรรจุวัคซีน

·        ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์นานเกิน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งได้รับยาเคมีบำบัด ฉายแสง ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการเต็มขั้นหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน

 

 อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

          หลังฉีดวัคซีน อาจมีอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีดได้ และหาย ได้เองภายใน 2 - 3 วัน

การดูแลรักษาอาการข้างเคียง หากปวด บวมบริเวณที่ฉีดให้ปะคบด้วยผ้าเย็น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ในขนาดที่เหมาะสม หากอาการข้างเคียง เป็นรุนแรง หรือเป็นมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที และบอกอาการให้แพทย์ทราบโดยละเอียด


ด้วยความปรารถนาดี  จากศูนย์วัคซีน โรงพยาบาลวิภาวดี 

<