การเตรียมตัวสำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การเตรียมตัวสำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

          การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ      จะได้ผลที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุดจะต้องเก็บสิ่งส่งตรวจอย่างถูกวิธีและเหมาะสม  ดังนั้นการเตรียมตัวและเก็บสิ่งส่งตรวจอย่างถูกวิธี ปริมาณเพียงพอจึงเป็นเรื่องสำคัญ

1.  การตรวจเลือด
     1.   การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด  ต้องอดอาหารอย่างน้อย 8  ชั่วโมง
           -  สามารถดื่มน้ำเปล่าได้
           -  ห้ามดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ ทุกชนิด
           -  การตรวจหาระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม  (Hb  A1C)  ไม่ต้องอดอาหาร
       2.   ต้องตรวจหาระดับไขมันในเลือด  ต้องอดอาหารอย่างน้อย  12  ชั่วโมง
             -  สามารถดื่มน้ำเปล่าได้  
             -  ห้ามดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ ทุกชนิด
       3.    ควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถพับแขนเสื้อขึ้นได้ เพื่อสะดวกในการเจาะเลือด
** หลังจากเจาะเลือดต้องกดปากแผล หรือพับแขนจนเลือดหยุดไหล  หรือประมาณ 5 นาที  หากเลือดไม่หยุดไหล  ควรแจ้งเจ้าหน้าที่**

2. การเก็บปัสสาวะ 
    การเก็บปัสสาวะ  เก็บได้ตลอดเวลา (Random Urine)  เป็นการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ  การทดสอบการตั้งครรภ์  การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ  เป็นต้น

การเก็บปัสสาวะ  มีวิธีการเก็บ คือ
1. ทำความสะอาดบริเวณที่ขับถ่ายปัสสาวะ
2. ปัสสาวะส่วนแรกทิ้งไป
3. เก็บปัสสาวะส่วนกลางประมาณ 10-30 ml (1/2 กระป๋อง) ลงในภาชนะที่สะอาด  ปิดฝาสนิท
4. นำส่งเจ้าหน้าที่
**  กรณีเก็บมาจากบ้าน  ควรส่งตรวจภายใน  2 ชั่วโมง
**  กรณีที่ต้องเพาะเลี้ยงเชื้อ  จะต้องใส่ภาชนะที่ปราศจากเชื้อที่จัดให้

3.  การเก็บอุจจาระ
     เก็บอุจจาระประมาณ 1 ช้อน  ใส่ในกระป๋อง
     -  โดยเลือกส่วนที่ผิดปกติ  เช่น มีมูกเลือด  หรือบริเวณที่สงสัยว่ามีพยาธิ  โดยหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนปัสสาวะ
      -  กรณีถ่ายอุจจาระเหลวให้เทบางส่วนใส่ภาชนะ  ปิดฝาให้สนิท
** กรณีเก็บมาจากบ้าน  และอุจจาระมีลักษณะอ่อนจนถึงแข็ง  ไม่เหลว สามารถส่งภายใน 2 ชั่วโมง

4.  การเก็บเสมหะ   
     1.   ควรเก็บในตอนเช้า  หลังจากตื่นนอนใหม่ๆ
     2.  บ้วนปากหลายๆครั้งด้วยน้ำธรรมดา  ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปาก
     3.  หายใจเข้าลึกๆ  แล้วไอออกมา  เพื่อให้ได้เสมหะแล้วบ้วนลงกระป๋อง  ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าเป็นเสมหะ  ไม่ใช่น้ำลาย  โดยเสมหะควรมีลักษณะเป็นเมือก  เหนียว  ขุ่นข้น  มีสีเหลือง  สีเขียว  หรือสีแดงปน  ปิดฝาให้สนิท
     4.  นำส่งเจ้าหน้าที่
**  กรณีเก็บเสมหะจากบ้าน  ควรส่งตรวจภายใน  2 ชั่วโมง ถ้าไม่สามารถนำส่งได้ให้เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส  ไม่เกิน 24  ชั่วโมง
**  กรณีเก็บเสมหะเพื่อตรวจเชื้อวัณโรค 3 วัน สามารถเก็บทั้ง  3 กระป๋อง  โดยเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส  แล้วนำส่งพร้อมกัน  แต่ไม่ควรนานเกิน 7 วัน

หมายเหตุ   ในการนำส่งตัวอย่าง  จะต้องมีการบ่งชี้  ชื่อ-สกุล และ Hospital  No. ให้ชัดเจน

 

                                                                  ด้วยความปรารถนาดีจาก รพ.วิภาวดี 

<