กล้ามเนื้อกับวงสวิงกอล์ฟ การวิเคราะห์การทำดาวน์สวิงโดยใช้ EMG

กล้ามเนื้อกับวงสวิงกอล์ฟ การวิเคราะห์การทำดาวน์สวิงโดยใช้ EMG

        ปัจจุบันการวิเคราะห์วงสวิง โดยใช้ถ่ายวีดิโอด้านหน้าด้านข้างบอกรายละเอียดได้มากขึ้นสามารถวิเคราะห์ ระนาบวงสวิง แกนกระดูกสันหลัง การทำงานของสะโพก หัวไหล่ แขนและมือได้ชัดเจนขึ้น

        การใช้ Golf Simulator ยังช่วยเพิ่มรายละเอียดการวิเคราะห์วงสวิงว่าผลของการตีกอล์ฟเป็นอย่างไร ความเร็วหัวไม้ ระยะทาง ทิศทางของลูกเป็นอย่างไร

        อย่างไรก็ตามถึงแม้รู้รายละเอียดการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่การแก้ไขที่ให้วงสวิงเหมือนกับวงสวิงนักกอล์ฟดัง ๆ ไม่สามารถทำได้ ยิ่งกว่านั้นนักกอล์ฟที่มีชื่อเสียงหลายๆคนวงสวิงก็ไม่เหมือนกัน เนื่องจากความแตกต่างของสรีระ ความอ่อนตัวของข้อ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไม่เหมือนกัน
    
       ดังนั้นการฝึกเรียนแบบวงสวิงของนักกอล์ฟที่มีชื่อเสียง ถ้าฝึกตั้งแต่เด็กๆอาจจะพอทำได้แต่พออายุมากขึ้นเล่นกอล์ฟมาหลายๆปีแล้ว ควรจะเลือกสิ่งที่เป็นจุดสำคัญของวงสวิงและนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของเราด้วยจึงจะประสบความสำเร็จ

      ปัญหาใหญ่ของนักกอล์ฟที่ฝึกด้วยตนเองโดยไม่มีครูฝึกสอนที่ชำนาญช่วยแก้ไข ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานของกล้ามเนื้อและสภาพการเคลื่อนไหวของข้อการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต้องใช้ในการตีกอล์ฟ ไม่สามารถจะพัฒนาการเล่นกอล์ฟได้มากนัก

      การดูรูป ภาพเคลื่อนไหวอาจทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย เนื่องจากวงสวิงของกอล์ฟใช้เวลาสั้นมาก โดยเฉพาะการทำดาวน์สวิงจนถึงจุดกระทบลูกใช้เวลาน้อยกว่า 1/5 วินาที ซึ่งมีการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหลายอย่าง และต้องเป็นไปตามลำดับที่ถูกต้องจึงจะสามารถเร่งความเร็วหัวไม้ได้ดี

       ในตำรา นิตยสาร กอล์ฟทิป ให้คำแนะนำที่หลากหลายมากในการทำดาวน์สวิงแม้แต่ในนักกอล์ฟที่เก่ง ๆ เองยังให้ความรู้สึกไม่เหมือนกับสิ่งที่ได้ทำลงไปจริง

       การใช้ EMG ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อที่สำคัญในการเคลื่อนไหวแต่ละส่วนของวงสวิงจะแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการเคลื่อนไหวของร่างกายตามลำดับที่ถูกต้อง และใช้กล้ามเนื้อที่สำคัญได้ดีหรือไม่

       การศึกษาในการทำดาวน์สวิงของนักกอล์ฟที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่จะมีลักษณะการทำงานที่คล้ายกัน เริ่มตั้งแต่ช่วงล่างของร่างกาย ขณะที่ยังทำแบคสวิง ไม่เต็มที่และการถ่ายเทน้ำหนัก การหมุนสะโพกมีการใช้กล้ามเนื้อที่ถูกต้องช่วยให้มีการส่งแรงไปที่แขนและมือและหัวไม้กอล์ฟได้ 

       ซึ่งการใช้งานของกล้ามเนื้อช่วงล่างเป็นการทำงานของกล้ามเนื้อที่เราไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันหรือเล่นกีฬาแบบอื่นๆทำให้ยากที่จะแก้ไขและทำตามได้

      Barry. Nolan ผู้เขียน Biomechanics of the Golf Swings, www.swail.com ได้รวบรวมการศึกษากล้ามเนื้อที่สำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในวงสวิงของกอล์ฟ 24 มัด มีกล้ามเนื้อมัดเดียวที่ทำงานเต็มที่ 100% ได้ถามนักกอล์ฟที่มีความสามารถหลากหลายระดับว่าใช้กล้ามเนื้อมัดไหนไม่มีผู้ใดตอบได้ถูกต้อง คำตอบที่ถูกต้องคือ กล้ามเนื้อสะโพกขวา (Gluteal muscle) เมื่อขาซ้ายรับน้ำหนักและยึดแน่นเต็มที่กับพื้นทำให้สะโพกหมุนได้เร็วและกล้ามเนื้อที่สำคัญอีกมัดหนึ่งที่ทำงาน 88% คือกล้ามเนื้อต้นขาซ้าย (Quadriceps muscle ) เข่าซ้ายงอขณะที่ทำแบคสวิงเมื่อกล้ามเนื้อต้นขาซ้ายทำงาน จะทำหน้าที่เหยียดเข่าซ้าย และดันข้อสะโพกซ้ายไปด้านหลัง เมื่อทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อสะโพกขวาก็จะทำให้ซีกขวาของลำตัวหมุนไปบนข้อสะโพกซ้าย

      ในหนังสือ Five Fundamentals เขียนโดย Ben Hogans สะโพกเป็นตัวเริ่มดาวน์สวิง โดยดึงกลับไปด้านหลังด้วยความเร็วสูง ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี การศึกษาด้วย EMG เป็นการยืนยันความถูกต้องของ Ben Hogans 

      ในเว็บไซด์ PGA.TOUR. com David Philips. เน้นกล้ามเนื้อสะโพกว่าเป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญที่ให้พลังมากในวงสวิงกอล์ฟ โดยการศึกษาด้วย EMG กล้ามเนื้อสะโพกขวาทำงานมากขณะเริ่มดาวน์สวิง ช่วยในการถ่ายน้ำหนักมาซีกซ้าย

      กล้ามเนื้อด้านซ้ายทั้ง 2 ข้างของลำตัว ทำงานมากระหว่างดาวน์สวิง ช่วยในการรักษาความมั่นคงของแกนลำตัว

      จากการศึกษาด้วย EMG ได้ข้อสรุปว่ากล้ามเนื้อสะโพก (Gluteal muscle) และกล้ามเนื้อหน้าท้องด้านข้าง (Abdominal Oblique muscle) เป็นกล้ามเนื้อสำคัญที่ช่วยให้ตีกอล์ฟได้ไกล และป้องกันการบาดเจ็บริเวณหลัง


รูปที่ 1 ภาพกล้ามเนื้อที่ใช้ตรวจ EMG ในขณะเริ่มทำดาวน์สวิงของลำตัว สะโพกและขา



รูปที่ 2 การตรวจ EMG ของกล้ามเนื้อสะโพกและขาของนักกอล์ฟญี่ปุ่น

       Hidemichi Tanska height 1.66 m, Weight 65 kg., age 30 years. U.S. PGA championship 2000 . ranked eleventh drive of 332 yards. average 282 yards. (Reference : Science and golf IV 2002) 
ในแนวนอน (X) เป็นการตรวจกล้ามเนื้อแต่ละมัด 
ในแนวตั้ง (Y) เป็นตำแหน่งต่าง ๆ ของวงสวิงกอล์ฟ 

       ในแนวตั้งเส้นที่ 3 เป็น Top of Swing มีกล้ามเนื้อยู่ 2 มัดที่เริ่มทำหน้าที่ขณะที่ยังไม่จบ Top swing ของแขน และมือคือกล้ามเนื้อเส้นที่ 1 ในแนวนอน (RGM) กล้ามเนื้อสะโพกขวา และกล้ามเนื้อเส้นที่ 3 ในแนวนอน (RBF) กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาขวา
เริ่มดาวน์สวิงเส้นที่ 4 ในแนวตั้งใช้กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาซ้ายเส้นที่ 4 ในแนวนอน (LBF) และกล้ามเนื้อด้านหน้าต้นขาขวาและซ้าย (เส้นแนวนอนที่ 5, 6) กล้ามเนื้อสะโพกขวา (RGM) กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาขวาและซ้าย (RBF, LBF) กล้ามเนื้อน่องขวา (RGA) จะทำงานเต็มที่จนถึง Impact ต่อเลยไปจนถึง Follow Through จากนั้นก็จะลดการทำงานลง 

<