ตรวจพิเศษทางรังสี (Special X-ray)

ตรวจพิเศษทางรังสี (Special X-ray)

             แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี มีการให้บริการตรวจพิเศษทางรังสีวิทยา มีหลากหลายเพื่อให้การตรวจวินิจฉัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น IVP ,Barium Swallowing , UGI ,Long GI ,BE ,HSG เป็นต้น ซึ่งจะอธิบายในรายละเอียดดังต่อไปนี้

   1.การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ(Intra-Venous Pyelography: IVP ) 

              เป็นการตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยการตรวจดูการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะเช่น ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ อีกทั้งยังดูความผิดปกติจากการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่ว โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าทางเส้นเลือดดำ พร้อมกับการถ่ายภาพรังสีเป็นระยะจนเสร็จ
ข้อปฏิบัติในการเตรียมตัวก่อนตรวจ
      1.ให้รับประทานอาหารอ่อน(เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม) ในมื้อเย็นของวันก่อนส่งตรวจ
      2.ก่อนวันตรวจให้รับประทานยาระบาย เวลา 20.00 น.( Castor Oil 30 cc , Dulcolax 2 เม็ด)
      3.ให้งดน้ำ งดอาหาร ก่อนตรวจ 4-6 ชั่วโมง 
      4.ถ้ามีฟิล์มเก่าหรือฟิล์มจากโรงพยาบาลอื่นให้นำมาด้วยทุกครั้ง

ขั้นตอนการตรวจ
ก่อนตรวจ
   1.ผู้ป่วยปฏิบัติตามใบนัดตรวจทุกประการ
   2.ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้อาหารทะเล/โรคภูมิแพ้/หอบหืด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะรับการตรวจ
   3.เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมรับการตรวจด้วยการฉีดสารทึบรังสี 

เริ่มตรวจ
   1.เจ้าหน้าที่จะให้เปลี่ยนชุดของโรงพยาบาล และปัสสาวะทิ้งเพื่อเตรียมรับการตรวจและถ่ายภาพรังสีในท่านอนก่อน 1 ภาพ 
   2.พยาบาลจะฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นเลือดดำ
   3.ในระหว่างการฉีดสารทึบรังสี ผู้ป่วยอาจรู้สึกร้อนวูบวาบที่ตัว ขมที่ลำคอ ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออกลึกๆ อย่าพึ่งกลืนน้ำลาย อาการดังกล่าวจะค่อยทุเลาลงในเวลา 5-10 นาที 
   4.หลังจากฉีดสารทึบรังสีเสร็จ ห้ามผู้ป่วยปัสสาวะ จนกว่าเจ้าหน้าที่จะบอก
   5.เจ้าหน้าที่จะถ่ายภาพรังสีเป็นระยะตามลำดับขั้นตอนการตรวจ และจะรอให้ผู้ป่วยปวดปัสสาวะเต็มที่(เจ้าหน้าที่อาจจะให้ดื่มน้ำ เพื่อช่วยให้ปวดปัสสาวะได้เร็วขึ้น) จึงจะถ่ายภาพรังสีอีก 1 ภาพ
   6.เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยปัสสาวะออกให้หมด และถ่ายภาพรังสีอีก 1 ภาพ

หลังการตรวจ
   1.ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุด โดยให้ทิ้งชุดที่ใช้แล้วลงในตะกร้า
   2.หลังตรวจผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำ ทานอาหารได้ตามปกติ 
   3.ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ สารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไปจะไม่ตกค้างหรือถูกดูดซึมไว้ในร่างกาย จะถูกขับออกทางปัสสาวะ

   2.การตรวจหลอดอาหาร (Barium Swallowing) 

            เป็นการตรวจทางรังสีของหลอดอาหาร โดยการดื่มสารทึบรังสี เช่น แป้งแบเรี่ยม (Barium sulphate) ประกอบการถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อดูความผิดปกติของหลอดอาหารที่เป็นสาเหตุของการกลืนอาหารติดขัด

การเตรียมตัวก่อนตรวจ 
   • ถ้ามีฟิล์มเก่า วันนัดตรวจให้นำฟิล์มเก่ามาพร้อมกับผู้ป่วย ให้ไปก่อนเวลานัด 10-15 นาที เพื่อให้เจ้าหน้าที่เตรียมผู้ป่วยก่อนรังสีแพทย์เข้าห้องตรวจ และควรมีญาติมาด้วย 

ขั้นตอนการตรวจ 
   1. ผู้ป่วยนอนคว่ำบนเตียงเอกซเรย์ อมแป้งแบเรี่ยมไว้ในปาก แล้วกลืนแป้งแบเรี่ยมตามที่รังสีแพทย์บอก ขณะที่รังสีแพทย์ทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนท่าตามคำบอกของรังสีแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ 
   2. เมื่อเอกซเรย์ครบทุกส่วนแล้วรังสีแพทย์จะนำฟิล์มไปดู เพื่อให้แน่ใจว่าฟิล์มเอกซเรย์ครบถ้วนแล้วหรือยัง และต้องการถ่ายเพิ่มในส่วนที่สงสัยอีกหรือไม่ ถ้ารังสีแพทย์ตรวจสอบฟิล์มเสร็จแล้วถือเป็นการเสร็จสิ้นการตรวจ 

   3.การตรวจกระเพาะอาหาร (Upper GI Study / Barium meal) 

            เป็นการตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยการกลืนสารทึบรังสีที่มีลักษณะคล้ายแป้ง เพื่อตรวจดูความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ประกอบกับการถ่ายภาพรังสี

ข้อปฏิบัติในการเตรียมตัวก่อนตรวจ
   1. งดน้ำและอาหารก่อนตรวจ 4-6 ชั่วโมง
   2. ถ้ามีฟิล์มเก่าหรือฟิล์มจากโรงพยาบาลอื่นให้นำมาด้วยทุกครั้ง

ขั้นตอนการตรวจ
ก่อนตรวจ
   1. ผู้ป่วยปฏิบัติตามใบนัดตรวจทุกประการ

เริ่มตรวจ
   1. เจ้าหน้าที่จะให้เปลี่ยนชุดของโรงพยาบาล 
   2. รังสีแพทย์จะให้ผู้ป่วยอมและกลืนสารทึบรังสี ประมาณ 100 cc
   3. บางครั้งจะให้ผู้ป่วยกินอีโน เพื่อให้สารทึบรังสีเคลือบกระเพาะอาหารได้ดีขึ้น
   4. รังสีแพทย์จะพลิกตัวผู้ป่วยไป-มา ขณะทำการตรวจ เพื่อให้ได้ภาพรังสีตามต้องการ ดังนั้นผู้ป่วยควรให้ความร่วมมือ
   5. ในการถ่ายภาพรังสี รังสีแพทย์จะบอกให้กลั้นใจ ให้ผู้ป่วยหยุดหายใจและกลั้นใจทันที เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด 

หลังการตรวจ
   1.ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุด โดยให้ทิ้งชุดที่ใช้แล้วลงในตะกร้า
   2.หลังตรวจผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำ ทานอาหารได้ตามปกติ 
   3.สารทึบรังสีที่ผู้ป่วยกลืนเข้าไปในระหว่างการตรวจจะถูกขับถ่ายออกมาตามการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ในเวลา 1-2 วัน จะไม่ถูกดูดซึมหรือตกค้างอยู่ในร่างกาย และผู้ป่วยควรดื่มน้ำมากๆ
  
   4.การตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก (Long GI / GI follow through)

           เป็นการตรวจทางรังสีของลำไส้เล็ก เพื่อดูความผิดปกติและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น วิธีทำคือให้ดื่มสารทึบรังสี (แป้งแบเรี่ยม) ประกอบการถ่ายภาพเอกซเรย์ 

การตรวจลำไส้เล็กจะถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นระยะ ๆ คือ 15 นาที, 30 นาที, 45 นาที, 1 ชั่วโมง, 1 ชั่วโมง 30 นาที, 2 ชั่วโมง เป็นต้น ภายหลังจากการดื่มแป้งแบเรี่ยม 2 แก้ว เพื่อเป็นการถ่ายให้เห็นส่วนต่าง ๆ ของลำไส้เล็ก และจะเสร็จสิ้นต่อเมื่อแป้งแบเรี่ยมได้ไหลเข้าสู่ Caecum ของลำไส้ใหญ่ 

การเตรียมตัวก่อนตรวจ 
• งดน้ำ อาหารและยา ก่อนเวลานัดตรวจ 6-8 ชั่วโมง 
• ถ้ามีฟิล์มเก่า วันนัดตรวจให้นำฟิล์มเก่ามาพร้อมกับผู้ป่วย ให้ไปก่อนเวลานัด 10-15 นาที เพื่อให้เจ้าหน้าที่เตรียมผู้ป่วยก่อนรังสีแพทย์เข้าห้องตรวจ และควรมีญาติมาด้วย 

ขั้นตอนการตรวจ 
   1. ผู้ป่วยนอนคว่ำบนเตียงเอกซเรย์ อมแป้งแบเรี่ยมไว้ในปาก แล้วกลืนแป้งแบเรี่ยมตามที่รังสีแพทย์บอก (ประมาณ 300 cc / 1 แก้ว) และอาจต้องดื่มสารที่ทำให้เกิด air เช่น ENO ร่วมด้วย รังสีแพทย์จะทำการถ่ายเอกซเรย์กระเพาะอาหารโดยให้ผู้ป่วยเอียงตัวไปมา เพื่อดูกระเพาะอาหารให้ครบทุกส่วน ขณะที่รังสีแพทย์ทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือ ในการเปลี่ยนท่าตามคำบอกของรังสีแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ 
   2. ผู้ป่วยจะต้องดื่มแป้งแบเรี่ยมเพิ่มอีก 1แก้ว แล้วนั่งรอเพื่อเอกซเรย์ตามระยะเวลา จนกว่าจะเสร็จสิ้นการตรวจคือ แป้งแบเรี่ยมได้ไหลเข้าสู่ Caecum ของลำไส้ใหญ่ 

   5.การตรวจลำไส้ใหญ่ (Barium Enema) 

          เป็นการตรวจดูพยาธิสภาพ และความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ โดยการสวนสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนักประกอบกับการถ่ายภาพรังสี

ข้อปฏิบัติในการเตรียมตัวก่อนตรวจ
   1.ให้รับประทานอาหารอ่อน(เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม) และงดผัก ผลไม้ 2 วัน ก่อนถึงวันตรวจ
   2.ให้รับประทานยาระบาย เวลา 20.00 น.( Castor Oil 30 cc , Dulcolax 2 เม็ด) เป็นเวลา 2 วันก่อนตรวจ
   3.หลังเที่ยงคืนของวันก่อนตรวจ ให้งดน้ำและอาหารทุกชนิด(กรณีเด็กเล็กให้งดนมก่อนตรวจ 4 ชั่วโมง) 
   4.ถ้ามีฟิล์มเก่าหรือฟิล์มจากโรงพยาบาลอื่นให้นำมาด้วยทุกครั้ง

ก่อนตรวจ
   1.ผู้ป่วยปฏิบัติตามใบนัดตรวจทุกประการ
   2.เจ้าหน้าที่จะให้เปลี่ยนชุดของโรงพยาบาล 
   3.เจ้าหน้าที่จะถ่ายภาพรังสี 1 ภาพ เพื่อตรวจดูว่าในลำไส้ใหญ่ของผู้ป่วยมีกากอาหารอยู่หรือไม่ ถ้าหากมีเจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยสวนอุจจาระออกให้หมดจึงจะเริ่มตรวจต่อไป

เริ่มตรวจ
   1.เจ้าหน้าที่จะใช้หัวสวนชนิดเป่าลม สวนเข้าในทวารหนักของท่านและจะบีบลมเข้าไปในหัวสวนเพื่อป้องกันไม่ให้สารทึบรังสีไหลย้อนกลับมา 
   2.เมื่อเริ่มตรวจเจ้าหน้าที่จะเริ่มปล่อยสารทึบรังสีเข้าไปในลำไส้ใหญ่และรังสีแพทย์จะถ่ายภาพรังสีตามส่วนต่างๆที่ต้องการ 
   3.ระหว่างการตรวจผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้องเนื่องจากการบีบสารทึบรังสีและลมเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยอาจรู้สึกคล้ายๆปวดอุจจาระ ให้ผู้ป่วยกลั้นไว้ก่อน พยายามหายใจเข้า-ออกลึกๆทางปาก อาการปวดท้องจะค่อยทุเลาลง
   4.ในระหว่างการตรวจรังสีแพทย์จะบอกให้ผู้ป่วยพลิกตัวและกลั้นใจนิ่งเพื่อถ่ายภาพรังสี ให้ผู้ป่วยทำตาม
   5.เมื่อได้ภาพรังสีครบตามต้องการ เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยไปถ่ายอุจจาระในห้องน้ำ และกลับมาถ่ายภาพรังสีอีก 1 ภาพ 

หลังการตรวจ
   1.ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุด โดยให้ทิ้งชุดที่ใช้แล้วลงในตะกร้า
   2.หลังตรวจผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำ ทานอาหารได้ตามปกติ 
   3.สารทึบรังสีที่สวนเข้าไปในระหว่างการตรวจจะถูกขับถ่ายออกมาตามการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ในเวลา 1-2 วัน จะไม่ถูกดูดซึมหรือตกค้างอยู่ในร่างกาย และผู้ป่วยควรดื่มน้ำมากๆ 

   6.การตรวจท่อนำไข่และโพรงมดลูก (Hysterosalpingography : HSG) 

           เป็นการตรวจทางรังสีของท่อนำไข่ (Uterine tubes) และโพรงมดลูก (Uterus) เพื่อดูความผิดปกติหรือมีการอุดตันของท่อนำไข่หรือไม่ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ไม่มีลูก โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในโพรงมดลูก ประกอบกับการถ่ายภาพทางรังสี 

สาเหตุของการส่งตรวจ 
   o หาสาเหตุของการมีบุตรยาก ,เป็นหมัน (infertility) 
   o ผู้ที่เคยมีบุตรแล้ว แต่ไม่มีอีก โดยไม่ได้คุมกำเนิด 
   o หาสาเหตุของหนอง หรือมีน้ำในท่อนำไข่ หรือ ก้อนเนื้องอก 
   o ตรวจดูในผู้ที่มีสาเหตุของการแท้งบุตร บ่อยๆ 
   o การท้องนอกมดลูก 

การเตรียมตัวตรวจ 
   -คนไข้ต้องมั่นใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ 
   -ควรตรวจหลังจากมีประจำเดือนวันแรก 10 วัน 

<