โภชนบำบัดอาหารผู้ป่วยโรคไต

โภชนบำบัดอาหารผู้ป่วยโรคไต

       การควบคุมอาหารอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกของโรค จะช่วยชะลอความเสื่อมของไต โดยรับประทานโปรตีนต่ำ ซึ่งจะมีผลทำให้ยูเรีย มีปริมาณน้อยลง ไตส่วนที่เหลือทำงานได้เบาลง

            ระยะของโรคไตเรื้อรังมี ระยะ แบ่งตามค่าการกรองของไต (GFR)

                        ระยะที่1   ค่า GFR > 90%

                        ระยะที่2   ค่า GFR = 60-89%

                        ระยะที่3   ค่า GFR = 30-59%

                        ระยะที่4   ค่า GFR = 15-29%

                        ระยะที่5   ค่า GFR < 15%

            โปรตีน การรับประทานโปรตีน ร่างกายจะนำไปใช้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเกิดเป็นของเสีย ซึ่งไตทำหน้าที่ขจัดของเสียที่เกิดจากการกินโปรตีนมากเกินไป ส่งผลทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น กรณีรับประทานอาหารโปรตีนน้อยเกินอาจจะทำให้เกิดการขาดสารอาหาร

    • เลือกโปรตีนคุณภาพดี คือ โปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อหมูสันใน เนื้อหมูไม่ติดฟัน อกไก่ไม่มีหนัง ไข่ขาว นมพร่องมันเนย นม Low fat
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น หมูยอ แหนม แฮม ชีส
    • โรคไตเรื้อรัง (ระยะก่อนฟอกเลือด) หรือมีค่า GFR ต่ำกว่า 30ml/min/1.73m²  ควรเลือกอาหารที่มีโปรตีนน้อยหรือตามแพทย์กำหนด

                        สูตรคำนวณโปรตีน : น้ำหนักตัวที่เหมาะสม× (0.6-0.8) = โปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน (กรัม/วัน)

                                ตัวอย่าง เช่น ตัวน้ำหนักที่เหมาะสมเป็น 55 กิโลกรัม

                                                คำนวณโปรตีนได้ 55×0.8 = 44  กรัม/วัน

    • โรคไตเรื้อรัง (ระยะฟอกเลือด) เลือกอาหารที่มีโปรตีนค่อนข้างสูง หรือตามแพทย์กำหนด

สูตรคำนวณโปรตีน : น้ำหนักตัวที่เหมาะสม× 1.2 = โปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน (กรัม/วัน)

                ตัวอย่าง เช่น ตัวน้ำหนักที่เหมาะสมเป็น 55 กิโลกรัม

                คำนวณโปรตีนได้ 55×1.2 = 66  กรัม/วัน

                ไขมัน เลือกน้ำมันชนิดที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง ได้แก่ น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันดอกทานตะวัน เลี่ยงการรับประทานไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม กะทิ

                คาร์โบไฮเดรต สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนฟอกเลือด เลือกรับประทานแป้งปลอดโปรตีน ได้แก่ วุ้นเส้น แป้งมัน สาคู เส้นเซี่ยงไฮ้ ข้าวขาวล้วน เส้นใหญ่

                โพแทสเซียม จำกัด2,000-3,000มก./วัน โพแทสเซียมมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ เมื่อมีภาวะไตเสื่อมการขับโพแทสเซียมจะลดน้อยลง ระดับโพแทสเซียมในเลือดควรน้อยกว่า 5 mEg/L ถ้าโพแทสเซียมในเลือดสูงจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หรือหยุดเต้นได้ ในผู้ป่วยที่ค่า GFR กรองได้ระดับ4-5 ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง

                ผลไม้ ที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ แก้วมังกร แคนตาลูป แตงโม แตงไทย ฝรั่ง ส้ม มะละกอ ทุเรียน มะขามหวาน ลำไยแห้ง อะโวคาโด สตอเบอรี่ ผลไม้กระป๋อง

                ผัก ที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลีม่วง กระชาย กระถิน แครอท ถั่วฝักยาว น้ำลูกยอ ลูกยอ ใบขี้เหล็ก สะเดา สะตอ มะรุม บล็อคโคลี่ มะเขือเทศ หัวปลี มะเขือ มะระจีน ผักหวาน หัวผักกาด เห็ดฟาง เห็ดหูหนู หอมแดง หน่อไม้ แห้ว เผือก มัน ฟักทอง รากบัว

                ผักใบเขียวทุกชนิด สามารถนำมาลวกหรือต้ม เพื่อลดโพแทสเซียมในผักลดลงได้ กรณีค่าโพแทสเซียมมากกว่า5.5 ให้งดกินผลไม้ทุกชนิด

                ฟอสฟอรัส มีผลต่อความแข็งแรงของกระดูก การที่มีฟอสฟอรัสในเลือดสูงจะส่งผลต่อกระดูกซึมแคลเซียม  ทำไมกระดูกไม่แข็งแรงและฟอสฟอรัสจะจับกับแคลเซียมในเลือด ทำให้เกิดหินปูนตามหลอดเลือด เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ฟอสฟอรัสเริ่มควบคุม เมื่อไตเสื่อมเข้าสู่ระยะที่3 พบมากใน นม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เนย คุกกี้ ขนมปัง ไอศครีม กาแฟผง ถั่วลิสง ถั่วแดง ไมโล โอวัลติน โกโก้ เป๊ปซี่ น้ำแร่ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ข้าวโพด งา ทองหยิบ ไข่แดง แมลงต่างๆ เมล็ดพืช ปลากรอบ กุ้งแห้ง เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ ปลากระป๋อง

                โซเดียม จำกัดไม่เกิน 2,000 มก./วัน อาหารเค็มทำให้ผู้ป่วยไตเรื้อรังบวม การควบคุมอาหารได้แก่ การทำอาหารลดเค็มลงครึ่งหนึ่ง หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารสำเร็จรูป ลดการเติมน้ำปลา ซีอิ้ว เกลือ ใช้เครื่องปรุงสูตรโซเดียมต่ำ อาหารอื่นๆ ที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ ไส้กรอก หมูหยอง ปลาเค็ม อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ของหมักดอง ปลาร้า กะปิ ผักดอง ขนมกรุบกรอบ เฟรนฟราย ผงฟู เป็นต้น

    • ปริมาณน้ำสะอาดที่ควรดื่ม คำนวณได้จากปริมาตร ปัสสาวะต่อวัน + น้ำ 500 มิลลิลิตร
    • งดเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น ยาต้ม ยาหมอ ยาลูกกลอน
    • โรคไตมักจะขาดวิตามินบี6 , วิตามิน D , กรดโฟลิก , ธาตุสังกะสี และแคลเซียม

                การควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรัง กรณีผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง รับประทานได้ แต่ ต้องจำกัดและไม่ควรเครียดเกินไป เพราะอาจจะทำให้ทรุดหนักได้

<