มะเร็งโพรงมดลูก

มะเร็งโพรงมดลูก
สาเหตุที่พบเป็นปัจจัยเสี่ยงมากสุดของการเกิดโรคมะเร็งโพรงมดลูก ได้แก่ การได้รับการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวยาวนานเกินไป (1)

ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งโพรงมดลูก (1)

ปัจจัยเสี่ยง

โอกาสเกิดโรคมากกว่าคนทั่วไป (เท่า)

ไม่มีบุตร

2-3

หมดประจำเดือนช้า

2.4

ภาวะอ้วน

3-10

โรคเบาหวาน

2.8

การได้รับการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวยาวนานเกินไป

4-8

รับประทานยาTamoxifen

2-3

ผลเนื้อโพรงมดลูกผิดปกติเล็กน้อย (Atypical endometrial hyperplasia)

8-29

โรค Lynch II syndrome

20

 

 

อาการของคนไข้โรคมะเร็งโพรงมดลูก

ส่วนใหญ่มาด้วย เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด (1)

การวินิจฉัยโรค

โดยการนำเนื้อในโพรงมดลูกมาตรวจ เช่น การที่แพทย์ใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหลอดดูดเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อนำเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา หรือการขูดมดลูกเพื่อนำเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา (1)

ภาวะแทรกซ้อน ของหัตถการที่แพทย์ใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหลอดดูดเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อนำเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยาเกิดน้อยมาก เช่น มดลูกทะลุพบได้ 1-2 คน ใน 1,000 คนที่ได้รับการทำหัตถการนี้ (1)

 สำหรับการตรวจป้ายเซลล์ปากมดลูก (Pap test) ไม่มีความน่าเชื่อถือในการตรวจพบโรคมะเร็งโพรงมดลูก เพราะ 30 - 50% ในคนไข้โรคมะเร็งโพรงมดลูกพบเซลล์ผิดปกติที่หลุดออกมาแล้วตรวจได้จากการตรวจป้ายเซลล์ปากมดลูก (2)

ความแม่นยำของการนำเนื้อในโพรงมดลูกมาตรวจ โดยการใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหลอดดูดเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อนำเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา 90 -98% เมื่อเทียบกับการขูดมดลูกหรือการตัดมดลูกไปตรวจทางพยาธิวิทยาในผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน (3)

การส่องกล้องตรวจแบบเห็นภาพสีสามมิติในโพรงมดลูกร่วมกับการใส่ของเหลวเข้าไปในโพรงมดลูก (Hysteroscopy) และการขูดมดลูกควรทำในคนไข้ที่มีปากมดลูกตีบ หรือคนไข้ที่ทนต่อความเจ็บปวดไม่ไหวในการทำหัตถการนี้หรือการได้เนื้อมาจากการดูดเนื้อในโพรงมดลูก มาตรวจแต่ได้เนื้อไม่พอสำหรับการตรวจทางพยาธิวิทยา (1)

การรักษาหลักที่เป็นมาตรฐานของโรคมะเร็งโพรงมดลูก คือ การผ่าตัดเพื่อประเมินระยะของโรค ได้แก่ การตัดมดลูก ปากมดลูก รังไข่ทั้งสองข้าง เลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน เลาะต่อมน้ำเหลืองข้างเส้นเลือดใหญ่ในช่องท้องไปส่งตรวจผลเนื้อทางพยาธิวิทยา (1)

ระยะของโรคมะเร็งโพรงมดลูก (4)

ระยะที่หนึ่ง มะเร็งอยู่ในมดลูก แบ่งเป็น

  • ระยะที่หนึ่งเอ มะเร็งไม่ลามไปที่กล้ามเนื้อมดลูกหรือลามไปแต่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของกล้ามเนื้อมดลูก
  • ระยะที่หนึ่งบี มะเร็งลามไปที่เท่ากับครึ่งหนึ่งของกล้ามเนื้อมดลูกหรือลามไปเกินครึ่งหนึ่งของกล้ามเนื้อมดลูก

ระยะที่สอง มะเร็งลามมาที่เนื้อของปากมดลูก ที่เรียกว่า stroma

ระยะที่สาม แบ่งเป็น

  • ระยะสามเอ มะเร็งลามไปที่เยื่อบุของตัวมดลูกด้านนอกที่เรียกว่า serosa และ/หรือปีกมดลูก
  • ระยะสามบี มะเร็งลามไปที่ช่องคลอดและ/หรือบริเวณเนื้อเยื่อด้านข้างออกมาจากตัวปากมดลูก (parametrium)
  • ระยะสามซี แบ่งเป็นระยะ ดังนี้
  • มะเร็งระยะสามซีหนึ่ง มะเร็งลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง (pelvic nodes)
  • มะเร็งระยะสามซีสอง มะเร็งลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่ข้างเส้นเลือดใหญ่ในช่องท้อง (para-aortic lymph nodes)

ระยะที่สี่ แบ่งเป็น

  • ระยะสี่เอ มะเร็งลามไปกระเพาะปัสสาวะหรือผนังลำไส้ส่วนmucosa
  • ระยะสี่บี มะเร็งลามไปที่อวัยวะอื่นๆ นอกจากที่กล่าวไปด้านบนในช่องท้อง หรืออวัยวะนอกช่องท้อง หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ

การรักษาโรคมะเร็งโพรงมดลูกเป็นไปตามระยะของโรคและชนิดของเซลล์มะเร็ง ซึ่งแพทย์จะแนะนำต่อไปเมื่อฟังผลเนื้อทางพยาธิวิทยาและประเมินระยะของโรคแล้ว

References

  1. Berek and Novak's gynecology 16th edition
  2. Zucker PK, Kasdon EJ, Feldstein ML. The Validity of Pap smear parameters as predictors of endometrial pathology in menopausal women. Cancer 1985;56:2256-2263
  3. Van Hanegem N, Prins MM, Bongers MY, et al. The accuracy of endometrial sampling in women with postmenopausal bleeding: A systematic review and meta-analysis. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2016; 197:147-155.
  4. FIGO Committee on Gynecologic Oncology. Revised FIGO staging for carcinoma of the vulva, cervix, and endometrium. Int J Gynecol Obst 2009;105:103-104.

 

สามารถสอบถามเพิ่มเติมและรับบริการตรวจได้ที่แผนกสูติ-นรีเวช ชั้น 2 อาคาร 2

คลิก https://www.vibhavadi.com/Center/Clinics/id/02

 

<