เรื่องน่ารู้เมื่อต้องดมยาสลบ

เรื่องน่ารู้เมื่อต้องดมยาสลบ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ต้องได้รับการผ่าตัด  จะมีความกังวลในเรื่องต่างๆ มักมีตวามกังวลที่ต้องได้รับการระงับความรู้สึก และความกังวลจะลดลงเมื่อได้พูดคุยกับวิสัญญีแพทย์ และพยาบาลวิสัญญี  ซึ่งจะเป็นผู้อธิบายทางเลือกสำหรับวิธีระงับความรู้สึกที่สามารถทำได้อย่างเหมาะสม  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด และปัจจัยด้านสุขภาพของผู้ป่วย

การให้ยาระงับความรู้สึกของผู้ป่วยมี 3 วิธี คือ

  1. การดมยาสลบ

วิสัญญีแพทย์จะใช้วิธีการฉีดยาเข้าทางน้ำเกลือ เพื่อนำสลบ  ผู้ป่วยจะหลับ  หลังจากนั้นจะบริหารยาสลบต่อ  ผู้ป่วยจะหลับสนิทไม่รู้สึกตัวระหว่างการผ่าตัด จนกระทั่งการผ่าตัดเสร็จสิ้น  โดยมีวิสัญญีแพทย์ และ วิสัญญีพยาบาล เฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา จนถึงฟื้นจากยาสลบ  ดูแลจนผู้ป่วยสามารถย้ายออกจากห้องพักฟื้นอย่างปลอดภัย

  1. การฉีดยาชาหรือการบล็อกด้วยยาชาเฉพาะที่
    1. การฉีดยาชาที่หลัง (Spinal block )

ผู้ป่วยต้องนอนตะแคง   และวิสัญญีแพทย์จะฉีดยาชาเข้าที่หลัง  หลังฉีดผู้ป่วยจะรู้สึกชา  และสามารถทำการผ่าตัดได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ  บางครั้งวิสัญญีแพทย์จะผสมยาแก้ปวดลงในยาชาด้วย  ซึ่งจะทำให้หลังผ่าตัดปวดแผลน้อย   หลังจากบล็อกหลัง  ระหว่างผ่าตัดอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทำให้รู้สึกไม่สบายตัว  สามารถสื่อสารกับวิสัญญีแพทย์ และวิสัญญีพยาบาล  ให้ดูแลตามอาการได้  หรือ สามารถขอยานอนหลับเสริมได้อย่างปลอดภัย

ผู้ป่วยมักกังวลว่าการฉีดยาชาเข้าที่หลังจะทำให้ปวดหลังในอนาคต  แต่ในความเป็นจริงอาจจะปวดหลังได้เล็กน้อย 1-2 วัน เท่านั้น  หรือบางคนอาจไม่ปวดเลยก็ได้

    1. การฉีดยาชาที่เส้นประสาท 

เพื่อให้ยาชาเฉพาะที่บริเวณที่ทำการผ่าตัด  การออกฤทธิ์ของยาจะทำให้บริเวณที่ผ่าตัดชา  จนสามารถผ่าตัดได้อย่างไม่เจ็บปวด

  1. การให้ยาสลบ ยาคลายกังวล  และยาแก้ปวดทางหลอดเลือด

วิสัญญีแพทย์จะฉีดยาทางน้ำเกลือ  เพื่อให้ผู้ป่วยหลับลึกพอที่จะทำการผ่าตัด / ทำหัตถการได้โดยไม่เจ็บ

 

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  1. สอบถามข้อมูล  ขอคำปรึกษา  เกี่ยวกับการระงับความรู้สึกไม่ต้องกังวล  นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. งดน้ำ  และอาหารก่อนมารับการผ่าตัดเป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง  เพื่อป้องกันการสูดสำลักขณะดมยาสลบ
  3. แจ้งข้อมูลสำคัญแก่แพทย์  เช่น ประวัติการเจ็บป่วย  โรคประจำตัว  ประวัติการผ่าตัด  ประวัติการแพ้ยา  ยาที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนประวัติการใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคในร่างกาย
  4. ถอดฟันปลอม  เครื่องประดับ คอนแทคเลนส์ และของมีค่าก่อนเข้าห้องผ่าตัด
  5. ในกรณีที่หลังผ่าตัดแพทย์ให้กลับบ้านได้  จะต้องมีญาติมารับ

ก่อนถึงเวลาผ่าตัด  ท่านจะได้พบและพูดคุยกับวิสัญญีแพทย์  ซึ่งจะอธิบายขั้นตอนในการให้ยาระงับความรู้สึกและตอบข้อสงสัยของท่าน  โดยท่านมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการให้ยาระงับความรู้สึกที่เหมาะสม  โดยวิสัญญีแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำ 

ในระหว่างผ่าตัดวิสัญญีแพทย์  จะเป็นผู้ดูแลท่านตลอดเวลาอย่างใกล้ชิด  จนกระทั่งการผ่าตัดเสร็จสิ้น

หลังการผ่าตัดแล้ว  เจ้าหน้าที่จะนำท่านไปสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้น ประมาณ 1-2 ชั่วโมง  ก่อนส่งกลับไปพักที่ห้องพัก

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด

1.กรณีที่จะกลับบ้านภายในวันที่ทำการผ่าตัด  แนะนำให้ญาติมารับ  ไม่ควรขับรถมาเอง  เนื่องจากหลังผ่าตัดและดมยาสลบท่านอาจมีอาการมึนงงได้บ้าง

2. กรณีที่ได้รับการฉีดยาชาที่หลัง ( Spinal block)  ควรนอนราบอย่างน้อย 6 ชั่วโมง  ถ้าแพทย์อนุญาติให้รับประทานอาหารได้  ให้ดื่มน้ำมาก อย่างน้อย 2-3 ลิตร เป็นเวลา 2-3 วัน  เพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะจากการบล็อกหลัง  หากมีอาการปวดศีรษะให้แจ้งพยาบาลที่ดูแลทันที

<