โรค​ RSV ในผู้ใหญ่ โรคที่อันตรายและเป็นภัยเงียบที่ผู้ใหญ่ยังไม่รู้จัก

โรค RSV คือโรคติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบน (หลอดลม) และส่วนล่าง (ปอด) เป็นโรคติดต่อผ่านการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ RSV1 เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ 

อาการคล้ายไข้หวัด2-3 แต่อาการโรคลุกลามไปทางเดินหายใจส่วนล่าง ทำให้เกิดหลอดลมใหญ่อักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ และปอดอักเสบ โดยมักจะมีอาการรุนแรงในผู้สูงอายุมากกว่าในเด็ก2

 

ทำไม RSV มักเป็นที่รู้จักในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

  • เพราะเด็กมักมีการแพร่เชื้อจากการสัมผัสในโรงเรียน และนำเชื้อมาให้คนในบ้าน รวมถึงผู้สูงอายุและผู้ปกครอง4
  • ผู้ใหญ่มีโอกาสการติดเชื้อ RSV ที่มากกว่า แต่มักไม่ได้รับการวินิจฉัยโรค โดยส่วนใหญ่จะไปตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ หรือ โควิดแทน5-7
  • โรค RSV ไม่มียารักษาโรคโดยเฉพาะ เป็นการรักษาตามอาการ หากเกิดกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีอันตรายและมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าในเด็กเนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีโรคประจำตัวร่วม3,8-9
  • พบอัตราเสียชีวิตจากโรค RSV ในผู้ใหญ่ ประมาณ 12%10 ซึ่งมากกว่าเมื่อเทียบกับอัตราการตายในเด็ก 0.12%11 

 

RSV เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ทั่วไป จึงควรป้องกันอย่างเหมาะสม และฉีดวัคซีนในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง สามารถป้องกันไดยการหมั่นล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และรับการฉีดวัคซีน RSV12

 

สำหรับวัคซีน RSV ในผู้ใหญ่ จะช่วยป้องกันให้อาการรุนแรงของโรคลดลง และไม่ให้เกิดการติดเชื้อ RSV ที่รุนแรง13  และเนื่องด้วยยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค3 การป้องกันด้วยวัคซีนจึงมีความสำคัญและลดความเสี่ยงให้ผู้ป่วย3,12 โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่มีโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต3,8-9

 

แนวทางการป้องกันโรค RSV ด้วยวัคซีนในผู้ใหญ่ อายุ 50 ปีขึ้นไป

วัคซีน RSV ในปัจจุบันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย คือ Adjuvanted RSVPreF3 vaccine ใช้สำหรับกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง ที่มีสาเหตุมาจาก respiratory syncytial virus ใน

  • ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ถึง 59 ปี ที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจาก RSV

โดยวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 94.6% ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV รุนแรง

 

Reference

  1. Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2023. RSV transmission. www.cdc.gov/rsv/about/transmission.html
  2. Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2023. RSV for healthcare professionals. https://www.cdc.gov/rsv/clinical/index.html
  3. Nam HH and Ison MG. BMJ 2019;366:l5021
  4. Otomaru H et al. Am J Epidemiol 2021;190:2536–2543
  5. Allen KE et al. Diagn Microbiol Infect Dis 2018;92:206–209
  6. Hurley LP et al. Vaccine 2019;37:565–570
  7. Binder W et al. Am J Emerg Med 2017;35:1162–1165
  8. Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2023. RSV in Older Adults and Adults with Chronic Medical Conditions. https://www.cdc.gov/rsv/high-risk/older-adults.html 
  9. Belongia EA et al. Open Forum Infect Dis 2018;5:ofy316
  10. Chuaychoo B, Rattanasaengloet K, Banlengchit R, Horthongkham N, Athipanyasilp N, Totanarungroj K, et al. Characteristics, complications, and mortality of respiratory syncytial virus compared with influenza infections in hospitalized adult patients in Thailand. International Journal of Infectious Diseases. 2021 Sep;110:237–46.
  11. Naorat S, Chittaganpitch M, Thamthitiwat S, Henchaichon S,Sawatwong P, Srisaengchai P, Lu Y, Chuananon S, Amorninta-pichet T, Chantra S, et al. Hospitalizations for acute lower tract infection due to respiratory syncytial virus inThailand, 2008-2011. J Infect Dis 2013;208:S238–S245.
  12. Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2022. RSV Prevention. https://www.cdc.gov/rsv/about/prevention.html
  13. Papi, Alberto et al. “Respiratory Syncytial Virus Prefusion F Protein Vaccine in Older Adults.” The New England journal of medicine vol. 388,7 (2023): 595-608. doi:10.1056/NEJMoa2209604
<