ไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุต่างจากไข้หวัดในคนทั่วไปอย่างไร

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อยและมักจะมีการระบาดช่วงฤดูฝน อาการโดยทั่วไปอาจจะทำให้เป็นไข้, ไอ, ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงอาการจะหายเองในเวลา 3-5 วัน แต่ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล จากข้อมูลในประเทศไทยพบว่ากลุ่มที่มีอัตราการต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลสูงที่สุดจากโรคไข้หวัดใหญ่คือในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ1

 

“ไข้หวัดใหญ่” ร้ายกว่าที่คิดในผู้สูงอายุอย่างไร

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายนอกเหนือจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบมากกว่าคนทั่วไป 8เท่า2
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดเลือดตีบที่หัวใจมากกว่าคนทั่วไป 10 เท่า2
  • 23% จะสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเองหลังจากเจ็บป่วยจากไข้หวัดใหญ่3
  • ในคนไข้เบาหวาน 75% จะมีปัญหาต่อระดับน้ำตาลที่ผิดปกติ4

และโรคหัวใจ อย่าเสี่ยงดีกว่า กับไวรัสไข้หวัดใหญ่

4 ใน 10 ของ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

  • การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะเพิ่มความเสี่ยงให้โรคหัวใจกำเริบ12
  • การติดเชื้อทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดฉับพลัน12
  • การติดเชื้อกระตุ้นให้ไขมันมันที่สะสมในผนังหลอดเลือดปริแตก ทำให้เก,ดเลือดเกาะตัวและอุดตัน13
  • ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันนำไปสู่การเสียชีวิต13

 

สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

  1. ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence)ทำให้เกิดการตอบสนองต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันลดลงดังจะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุจะตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าในวัยผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  2. โรคที่ติดตัวอยู่เป็นประจำรักษาไม่หายขาด (Underlying disease) การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคปอดเรื้อรัง จะเพิ่มการเสียชีวิตได้หากมีโรคทั้งสองร่วมกัน6
  3. ภาวะเปราะบาง (Frailty) ในผู้สูงอายุ นอกจากจะทำให้การตอบสนองต่อการได้รับภูมิคุ้มกันแย่ลงแล้ว การมีภาวะเปราะบางร่วมกับความเจ็บป่วยอื่นๆ ยังทำให้เกิดความพิการ7 ซึ่งมีโอกาสต้องพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้นอีกด้วยเช่น ภาวะเปราะบางกับโรคไข้หวัดใหญ่ โดยพบว่าหากเกิดร่วมกันจะทำให้ความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคลดลง ในขณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่มีโรคร่วมหรือโรคประจำตัวหลายอย่างการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะส่งผลให้เกิดภาวะเปราบางเพิ่มขึ้น นำไปสู่การได้รับผลกระทบจากตัวโรคที่เพิ่มขึ้นและการตอบสนองต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ลดลงในผู้ป่วยกลุ่มนี้

 

ไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้หรือไม่

โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เพราะในแต่ละปีเชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลง และพบการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดเชื้อตัวใหม่ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในแต่ละปีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเชื้อที่ระบาดในช่วงเวลานั้น โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาด ใน

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มีประโยชน์อย่างไรบ้างนอกจากป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ พบว่าการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่6

  • ลดอัตราการเกิดmajor adverse cardiovascular event ลดได้ 34%
  • ลดอัตราการเกิดacute coronary syndrome  ลดได้ 45%
  • ลดอัตราการเกิด cardiovascular death ลดได้ 56%

 

ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง (high dose) สำหรับผู้สูงอายุซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น8  และยังสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ลดการนอนโรงพยาบาลจากจากปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่  ลดการนอนโรงพยาบาลจากระบบทางเดินหายใจ และลดการนอนโรงพยาบาลจากไข้หวัดใหญ่ได้อีกด้วย9

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง (high dose) สำหรับผู้สูงอายุ มั่นใจได้ในประสิทธิภาพและความปลอดภัย จากประสบการณ์ กว่า 10 ปี ใช้มาแล้วมากกว่า 202 ล้านโด้ส ในกว่า 35 ประเทศ ทั่วโลก10  วัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงเป็นหนึ่งในวัคซีนที่แนะนำในผู้สูงอายุโดยอาจพิจารณาเลือกวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ขนาดสูง (high dose) ในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการศึกษาที่แสดงว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ขนาดสูง (high dose) สามารถลดการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ขนาดมาตรฐาน (standard dose) ล่าสุดมีการศึกษาในผู้สูงอายุเพิ่มเติม  ช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่หรือปอดอักเสบ ได้ถึง 64.4% และลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 48.9% ในผู้สูงอายุ11

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Baggett HC. et al. PLoS One. 2012;7(11): e48609
  2. Warren-Gash C, et al. Eur respir J. 2018
  3. Andrew MK, et al. J Am Geriatr Soc. 2021.
  4. Samson SI, et al. J Diabetes Sci Technol. 2019
  5. Oh SJ, Lee JK, Shin OS. Aging and the Immune System: the Impact of Immunosenescence on Viral Infection, Immunity and Vaccine Immunogenicity. Immune Netw. 2019 Nov 14;19(6):e37. doi: 10.4110/in.2019.19.e37. PMID: 31921467; PMCID: PMC694317 
  6. Schanzer DL, Langley JM, Tam TW. Co-morbidities associated with influenza-attributed mortality, 1994-2000, Canada. Vaccine.
  7. Dent E, Morley JE, Cruz-Jentoft AJ, Woodhouse L, Rodríguez-Mañas L, Fried LP, et al. Physical Frailty: ICFSR International Clinical Practice Guidelines for Identification and Management. J Nutr Health Aging. 2019;23(9):771-87.2008;26(36):4697-703.               
  8. DiazGranados CA, et al. N Engl J Med. 2014;371:635-645.
  9. Lee J, et al. Vaccine. 2021
  10. Quadrivalent Influenza Vaccine (Split Virion, Inactivated), 60 mcg HA/strain SMPC & Internal data
  11. Niklas Dyrby Johansen et al., NEJM Evid 2023; 2 (2), DOI: 10.1056/EVIDoa2200206
  12. Charlotte Warren-Gash,et al. Lancet,2009;9:601-610
  13. Phrommintikul A,et al. Eur Heart J.2011;32:1730-5
<