การทานอาหารที่มีปริมาณไขมันชนิดอิ่มตัวมากเกินไปมีความเสี่ยง

โคเลสเตอรอลสูง
 

โคเลสเตอรรอลมาจากไหน

- 1 ใน 3 ได้รับมาจากอาหาร ไขมันจากอาหารที่กินเข้าไปจะถูย่อยและส่งไปที่ตับแล้วส่งต่อไปทั่วร่างกาย
 

- 2 ใน 3 ร่างกายสร้างขึ้นเองที่ตับของเรา ตับจะสร้างโคเลสเตอรรอลที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยขนส่งไขมันไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
 

ภัยร้ายจากโคเลสเตอรรอล
 

-หลอดเลือดแดงปกติ

-เริ่มมีโคเลสเตอรรอลจับที่ผนังหลอดเลือดด้านใน

-ไขมันสะสมมากขึ้นจนเริ่มก่อตัวเป็นคราบจนอาจเกิดหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง

-โคเลสเตอรรอลจับตัวเป็นคราบที่ใหญ่ขึ้นจนกระทั่วหลอดเลือดแดงอาจถูกปิดกั้นทั้งหมด ก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันและเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน

โคเลสเตอรรอลและไตรกลีเซอไรด์ ก่อให้เกิดคราบไขมัน (Plaque)

-สมอง   เกิดหลอดเลือดสมองตีบเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

-หัวใจ   หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

-ไต       หลอดเลือดไตอุดตัน เกิดไตวาย

-ขา       เลือดไปเลี้ยงขาไม่สะดวก เกิดอาการปวดขาเวลาเดิน
 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
 

ได้แก่ อาหารไขมันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันชนิดอิ่มตัวและโคเลสเตอรรอล

- เนื้อสัตว์ที่ติดมัน เบคอน ไส้กรอก

- ตับ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์

- ไข่แดง (กินเฉพาะไข่ขาวได้)

- หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง ไข่ปลา

- ชีส ครีม เนย

- เค้ก คุกกี้ โดนัท

- อาหารทอด และอาหารที่ปรุงจากน้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ
 

ปริมาณโคเลสเตอรรอล ในอาหารบางชนิด
 

อาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม                     ปริมาณโคเลสเตอรรอล(มิลลิกรัม)

          ไก่, อก(ไม่ติดมัน                                       63

         เป็ด, เนื้อ                                                  82

         วัว, เนื้อ                                                    65

         ปลากะพงขาว                                           69

         ปลาทูน่า                                                   51

         กุ้งกุลาดำ                                                175

         ปลาหมึกกล้วย, ตัว                                   251

         ไข่ไก่, ทั้งฟอง                                           508

         ซึ่โครงหมู                                                 105

         เนื้อปู                                                       145

                                                      *ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย
 

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีโคเลสเตอรรอลสูง
 

-  ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

-  ลดเครื่องดื่มแอลกอฮล์

-  งดสูบบุหรี่

-  หากมีความดันโลหิตสูงและเบาหวาน พยายามควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่สุด

-  ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน เต้นแอโรบิค วิ่ง (ครั้งละ 30-60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง)

-  ตรวจระดับโคเลสเตอรอลอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานยาควบคุมระดับโคเลสเตอรรอลตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ

 

<