การบาดเจ็บข้อศอกซ้าย และวงสวิงที่ไม่ถูกต้อง

การบาดเจ็บข้อศอกซ้าย และวงสวิงที่ไม่ถูกต้อง           นักกอล์ฟที่ตีกอล์ฟแล้วมีอาการบาดเจ็บข้อศอกซ้ายรักษาไม่หายหรือรักษาหายแล้วไปตีกอล์ฟแล้วมีอาการปวดอีก สาเหตุที่ทำให้บาดเจ็บข้อศอกซ้าย นอกจากรักษาทางการแพทย์แล้ว อาจจะต้องพิจารณาสาเหตุเกิดจากวงสวิงที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ ที่พบบ่อยๆ คือ วงสวิงขณะกระทบลูก งอข้อศอกซ้ายขึ้น ที่เรียกว่า วงสวิงปีกไก่ Chicken winging  การวินิจฉัย ทำได้ง่าย โดยถ่ายวีดีโอ ทางด้านหนึ่งขณะที่หน้าไม้กระทบลูก (Impact) หรือหลังจากหน้าไม่กระทบลูกไปแล้ว (early follow-through)  ลากเส้นจากไหล่ซ้าย ผ่านข้อศอกซ้าย ข้อมือซ้ายจะเป็นเส้นตรงเดียวกัน ถ้ามีการงอข้อศอกซ้าย เรียกมี Chicken winging รูป วงสวิงที่ดี            ลากเส้นจากไหล่ซ้ายผ่านข้อศอกซ้าย ข้อมือซ้ายจะเป็นเส้นตรงเดียวกัน รูป Chicken winging ขณะ Impact           มีการงอที่ข้อศอกซ้าย  รูป Chicken winging ขณะ early follow through           มีการงอที่ข้อศอกซ้าย  สาเหตุของ Chicken winging 1. ในวงสวิงกอล์ฟที่ดีต้องมีการเคลื่อนไหวไหล่ซ้ายได้ดี และกล้ามเนื้อเหยียดแขนซ้ายต้องแข็งแรง ถ้าเอ็นหัวไหล่อักเสบข้อหัวไหล่ยึด หมุนไหล่ไม่ได้ หรือกล้ามเนื้อแขนซ้ายไม่แข็งแรง ขณะตีลูกลงมาจะทำให้เกิดการเกิดการงอข้อศอกได้ 2. ลักษณะวงสวิงที่ผิด โดยการตีลงมาจากข้างบน ( Over the top ) ใช้มือขวาหรือไหล่ขวาลงมาก่อน แนวแรงจะทำให้การเคลื่อนไหวของหัวไม้ เป็นลักษณะจากนอกเข้าใน เมื่อใกล้ถึงจุดกระทบลูก จำเป็นต้องงอข้อศอกซ้าย หน้าไม้ถึงจะถูกลูก และเป็นลักษณะเฉือน ดึงหน้าไม้เปิดออก ทำให้ลูกเลี้ยวไปทางขวา และไม่ได้ระยะ  การแก้ปัญหา 1. ฝึกยืนในท่าจรดไม้กอล์ฟ กางแขน 90 องศาคว่ำมือขนานกับพื้น งอข้อศอก 90 องศา แล้วหมุนแขนท่อนล่างขึ้นบน ไปทางด้านหลังให้มากที่สุด ค่อย ๆ เพิ่มจนแขนท่อนล่างนานกับแนวแกนลำตัว หรือหมุนเลยไปทางด้านหลังได้ (ค่อย ๆ บริหารเท่าที่ไม่ปวด)  2. ฝึกบริหาร กล้ามเนื้อ เหยียดข้อศอกทั้ง 2 ข้าง ( Triceps Diagonal chop ) ยืนในท่าจรดกอล์ฟ โดยมีสาย หรือแผ่นยางยืดผูกกับเสาในระดับสูงกว่าศีรษะเล็กน้อย ใช้มือทั้ง 2 ข้าง จับยางยืด ในท่าแบคสวิง ดึงข้อศอก ทั้ง 2 ข้างมาที่หน้าลำตัว ขณะถ่ายน้ำหนักมาที่เท้าซ้าย แล้วเหยียดข้อศอกทั้ง 2 ข้างออกให้เต็มที่ข้อมือซ้ายเหยียดตรง ข้อมือขวายังอยู่ในท่างอมาด้านหลังเล็กน้อย ดังรูป รูปที่ 2 Triceps Diagonal chop อ้างอิง จากหลักสูตร Titleist Performance Institute Level Three Medical Professional Workshops

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กล้ามเนื้อกับวงสวิงกอล์ฟ การวิเคราะห์การทำดาวน์สวิงโดยใช้ EMG

กล้ามเนื้อกับวงสวิงกอล์ฟ การวิเคราะห์การทำดาวน์สวิงโดยใช้ EMG         ปัจจุบันการวิเคราะห์วงสวิง โดยใช้ถ่ายวีดิโอด้านหน้าด้านข้างบอกรายละเอียดได้มากขึ้นสามารถวิเคราะห์ ระนาบวงสวิง แกนกระดูกสันหลัง การทำงานของสะโพก หัวไหล่ แขนและมือได้ชัดเจนขึ้น         การใช้ Golf Simulator ยังช่วยเพิ่มรายละเอียดการวิเคราะห์วงสวิงว่าผลของการตีกอล์ฟเป็นอย่างไร ความเร็วหัวไม้ ระยะทาง ทิศทางของลูกเป็นอย่างไร         อย่างไรก็ตามถึงแม้รู้รายละเอียดการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่การแก้ไขที่ให้วงสวิงเหมือนกับวงสวิงนักกอล์ฟดัง ๆ ไม่สามารถทำได้ ยิ่งกว่านั้นนักกอล์ฟที่มีชื่อเสียงหลายๆคนวงสวิงก็ไม่เหมือนกัน เนื่องจากความแตกต่างของสรีระ ความอ่อนตัวของข้อ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไม่เหมือนกัน             ดังนั้นการฝึกเรียนแบบวงสวิงของนักกอล์ฟที่มีชื่อเสียง ถ้าฝึกตั้งแต่เด็กๆอาจจะพอทำได้แต่พออายุมากขึ้นเล่นกอล์ฟมาหลายๆปีแล้ว ควรจะเลือกสิ่งที่เป็นจุดสำคัญของวงสวิงและนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของเราด้วยจึงจะประสบความสำเร็จ       ปัญหาใหญ่ของนักกอล์ฟที่ฝึกด้วยตนเองโดยไม่มีครูฝึกสอนที่ชำนาญช่วยแก้ไข ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานของกล้ามเนื้อและสภาพการเคลื่อนไหวของข้อการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต้องใช้ในการตีกอล์ฟ ไม่สามารถจะพัฒนาการเล่นกอล์ฟได้มากนัก       การดูรูป ภาพเคลื่อนไหวอาจทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย เนื่องจากวงสวิงของกอล์ฟใช้เวลาสั้นมาก โดยเฉพาะการทำดาวน์สวิงจนถึงจุดกระทบลูกใช้เวลาน้อยกว่า 1/5 วินาที ซึ่งมีการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหลายอย่าง และต้องเป็นไปตามลำดับที่ถูกต้องจึงจะสามารถเร่งความเร็วหัวไม้ได้ดี        ในตำรา นิตยสาร กอล์ฟทิป ให้คำแนะนำที่หลากหลายมากในการทำดาวน์สวิงแม้แต่ในนักกอล์ฟที่เก่ง ๆ เองยังให้ความรู้สึกไม่เหมือนกับสิ่งที่ได้ทำลงไปจริง        การใช้ EMG ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อที่สำคัญในการเคลื่อนไหวแต่ละส่วนของวงสวิงจะแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการเคลื่อนไหวของร่างกายตามลำดับที่ถูกต้อง และใช้กล้ามเนื้อที่สำคัญได้ดีหรือไม่        การศึกษาในการทำดาวน์สวิงของนักกอล์ฟที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่จะมีลักษณะการทำงานที่คล้ายกัน เริ่มตั้งแต่ช่วงล่างของร่างกาย ขณะที่ยังทำแบคสวิง ไม่เต็มที่และการถ่ายเทน้ำหนัก การหมุนสะโพกมีการใช้กล้ามเนื้อที่ถูกต้องช่วยให้มีการส่งแรงไปที่แขนและมือและหัวไม้กอล์ฟได้         ซึ่งการใช้งานของกล้ามเนื้อช่วงล่างเป็นการทำงานของกล้ามเนื้อที่เราไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันหรือเล่นกีฬาแบบอื่นๆทำให้ยากที่จะแก้ไขและทำตามได้       Barry. Nolan ผู้เขียน Biomechanics of the Golf Swings, www.swail.com ได้รวบรวมการศึกษากล้ามเนื้อที่สำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในวงสวิงของกอล์ฟ 24 มัด มีกล้ามเนื้อมัดเดียวที่ทำงานเต็มที่ 100% ได้ถามนักกอล์ฟที่มีความสามารถหลากหลายระดับว่าใช้กล้ามเนื้อมัดไหนไม่มีผู้ใดตอบได้ถูกต้อง คำตอบที่ถูกต้องคือ กล้ามเนื้อสะโพกขวา (Gluteal muscle) เมื่อขาซ้ายรับน้ำหนักและยึดแน่นเต็มที่กับพื้นทำให้สะโพกหมุนได้เร็วและกล้ามเนื้อที่สำคัญอีกมัดหนึ่งที่ทำงาน 88% คือกล้ามเนื้อต้นขาซ้าย (Quadriceps muscle ) เข่าซ้ายงอขณะที่ทำแบคสวิงเมื่อกล้ามเนื้อต้นขาซ้ายทำงาน จะทำหน้าที่เหยียดเข่าซ้าย และดันข้อสะโพกซ้ายไปด้านหลัง เมื่อทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อสะโพกขวาก็จะทำให้ซีกขวาของลำตัวหมุนไปบนข้อสะโพกซ้าย       ในหนังสือ Five Fundamentals เขียนโดย Ben Hogans สะโพกเป็นตัวเริ่มดาวน์สวิง โดยดึงกลับไปด้านหลังด้วยความเร็วสูง ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี การศึกษาด้วย EMG เป็นการยืนยันความถูกต้องของ Ben Hogans        ในเว็บไซด์ PGA.TOUR. com David Philips. เน้นกล้ามเนื้อสะโพกว่าเป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญที่ให้พลังมากในวงสวิงกอล์ฟ โดยการศึกษาด้วย EMG กล้ามเนื้อสะโพกขวาทำงานมากขณะเริ่มดาวน์สวิง ช่วยในการถ่ายน้ำหนักมาซีกซ้าย       กล้ามเนื้อด้านซ้ายทั้ง 2 ข้างของลำตัว ทำงานมากระหว่างดาวน์สวิง ช่วยในการรักษาความมั่นคงของแกนลำตัว       จากการศึกษาด้วย EMG ได้ข้อสรุปว่ากล้ามเนื้อสะโพก (Gluteal muscle) และกล้ามเนื้อหน้าท้องด้านข้าง (Abdominal Oblique muscle) เป็นกล้ามเนื้อสำคัญที่ช่วยให้ตีกอล์ฟได้ไกล และป้องกันการบาดเจ็บริเวณหลัง รูปที่ 1 ภาพกล้ามเนื้อที่ใช้ตรวจ EMG ในขณะเริ่มทำดาวน์สวิงของลำตัว สะโพกและขา รูปที่ 2 การตรวจ EMG ของกล้ามเนื้อสะโพกและขาของนักกอล์ฟญี่ปุ่น        Hidemichi Tanska height 1.66 m, Weight 65 kg., age 30 years. U.S. PGA championship 2000 . ranked eleventh drive of 332 yards. average 282 yards. (Reference : Science and golf IV 2002)  ในแนวนอน (X) เป็นการตรวจกล้ามเนื้อแต่ละมัด  ในแนวตั้ง (Y) เป็นตำแหน่งต่าง ๆ ของวงสวิงกอล์ฟ         ในแนวตั้งเส้นที่ 3 เป็น Top of Swing มีกล้ามเนื้อยู่ 2 มัดที่เริ่มทำหน้าที่ขณะที่ยังไม่จบ Top swing ของแขน และมือคือกล้ามเนื้อเส้นที่ 1 ในแนวนอน (RGM) กล้ามเนื้อสะโพกขวา และกล้ามเนื้อเส้นที่ 3 ในแนวนอน (RBF) กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาขวา เริ่มดาวน์สวิงเส้นที่ 4 ในแนวตั้งใช้กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาซ้ายเส้นที่ 4 ในแนวนอน (LBF) และกล้ามเนื้อด้านหน้าต้นขาขวาและซ้าย (เส้นแนวนอนที่ 5, 6) กล้ามเนื้อสะโพกขวา (RGM) กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาขวาและซ้าย (RBF, LBF) กล้ามเนื้อน่องขวา (RGA) จะทำงานเต็มที่จนถึง Impact ต่อเลยไปจนถึง Follow Through จากนั้นก็จะลดการทำงานลง 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กล้ามเนื้อกับวงสวิงกอล์ฟ

กล้ามเนื้อกับวงสวิงกอล์ฟ          Phil Cheetham (http://www.mytpi.com) ได้ทำการศึกษาวงสวิงของนักกอล์ฟอาชีพที่มีชื่อเสียงหลายร้อยคน โดยใช้เครื่อง TPI 3D พบว่ามีลักษณะที่เหมือนกัน จนไม่สามารถบอกความแตกต่างของนักกอล์ฟแต่ละคน คือ ลำดับการเคลื่อนไหวของร่างกายที่มีลักษณะแบบเดียวกัน ตั้งแต่ Top swing จนถึงจุดกระทบ ทั้งที่วงสวิงจะมองเห็นแตกต่างกันได้ชัด เช่น Ernie Else , Vijay Singh , Jim Furyx , Ray Floyd , John Dally. ลักษณะการทำงานของร่างกายส่วนต่าง ๆ ที่เห็นแบบเดียวกันทั้งหมดนี้เรียกว่า Kinematic Sequence หรือการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามลำดับ เพื่อส่งถ่ายโมเมนตัมไปที่หัวไม้กอล์ฟ      การแบ่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เคลื่อนไหวในการตีกอล์ฟ ดังนี้      1. ส่วนล่างของร่างกาย (Lower body)      2. ส่วนลำตัว (Torso trunk)      3. แขนและมือ (Arm and Hand)      4. ไม้กอล์ฟ      นักกอล์ฟอาชีพชั้นนำ ใช้ส่วนต่าง ๆ ตามลำดับเหมือนสะบัดแซ่และทำได้สม่ำเสมอ        จากการใช้เครื่อง 3D Data Analysis วัดความเร็วของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและนำมาเขียนเป็นกราฟตั้งแต่ T (top swing) และ I (impact) จะพบ Kinematic Sequence ดังนี้         จากรูป แกน X เป็นเวลา (วินาที) , แกน Y เป็นความเร็วของสะโพก ลำตัว แขน และไม้กอล์ฟ ส่วนล่างของร่างกาย วัดการหมุนสะโพก (สีแดง - Pelvis) เริ่มเร่งความเร็วที่สูงน้อยกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แล้วลดความเร็วลงอย่างรวดเร็ว             ลำตัว (สีเขียว - trunk) เร่งความเร็วสูงกว่าสะโพก และลดความเร็วอย่างรวดเร็ว แขน (สีน้ำเงิน - Arm) เร่งความเร็วที่สูงกว่าลำตัว และลดความเร็วลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน ไม้กอล์ฟ (สีน้ำตาล) เร่งความเร็วสูงสุดที่จุดกระทบ หรือก่อนจุดกระทบเล็กน้อย          สังเกตกราฟความเร็วสูงสุดของสะโพกเริ่มก่อน ตามมาด้วยความเร็วสูงสุดของลำตัว ตามด้วยความเร็วสงสุดของแขน และสุดท้ายจึงเป็นความเร็วสูงสุดของหัวไม้กอล์ฟที่จุดกระทบ ตามลำดับ และเมื่อถึงความเร็วสูงสุดจะต้องชะลอหรือลดความเร็วลง เพื่อส่งถ่ายโมเมนตัมไปที่ส่วนของร่างกายต่อไปตามลำดับขั้น           นักกอล์ฟสมัครเล่นส่วนใหญ่ จะมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่จะไม่อยู่ในลำดับการเคลื่อนไหว เช่น ความเร็วสูงสุดของแขน และไม้ มาก่อนสะโพกหรือลำตัว ทำให้ต้องชดเชยการเคลื่อนไหวส่วนอื่น เพื่อให้ตีถูกลูก เช่น งอข้อศอกำซ้าย ยืดตัวขึ้น ทำให้สูญเสียทั้งความเร็วและความเร็วของไม้กอล์ฟ            ในการศึกษาด้วย EMG ของกล้ามเนื้อระหว่างการทำสวิงจะเห็นชัดเจนว่า ก่อนถึง Top swing กล้ามเนื้อสะโพกขวา และกล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาซ้ายเริ่มทำงานก่อน  Analyzed Signals / Periods          การทำงานของลำตัวจะเริ่มต่อเนื่อง ก่อนการทำงานของแขน (ดูที่กล้ามเนื้อเหยียดข้อศอก – Triceps muscle) จากนั้นจึงเป็นการทำงานของกล้ามเนื้อแขนขวาท่อนล่าง ที่จะเริ่มทำงานเต็มที่ หลังการทำงานของกล้ามเนื้อมัดอื่น          ในนักกอล์ฟอาชีพ สามารถเร่งความเร็วหัวไม้จากตำแหน่งของ Transition เมื่อแขนซ้ายขนานกับพื้นจนถึงจุด Impact ใช้เวลา 0.05 วินาที         ในนักกอล์ฟสมัครเล่นส่วนใหญ่ จากตำแหน่ง Down swing จนถึง Impact ใช้เวลามากกว่า 0.11 วินาที และดูการทำงานของกล้ามเนื้อ จะพบว่ามีการทำงานของแขนขวาท่อนล่างเริ่มมาก่อนตั้งแต่เริ่มดาวน์สวิง ทำให้ Kinematic Sequence เสียไป          นักกอล์ฟสมัครเล่นหรือนักกอล์ฟที่เคยตีดี ๆ แล้ว Kinematic Sequence เสียไป มีสาเหตุใหญ่ ๆ คือ 1. การส่งแรงไปที่หัวไม้กอล์ฟไม่ถูกหลักกลศาสตร์ (Improper swing mechanices) 2. สภาพร่างกายมีข้อจำกัด เช่น ไม่สามารถหมุนข้อสะโพกเข้าในได้ (Internal rotation of Hip) ไม่สามารถหมุนไหล่ได้หรือสภาพกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงพอ 3. การใช้ไม้กอล์ฟที่ไม่เหมาะสม เช่น ยาวเกินไป หนักเกินไป หรือก้านแข็งเกินไป         การวิเคราะห์วงสวิงด้วยเครื่อง Golf Simulator และบันทึกการทำงานของกล้ามเนื้อด้วย EMG จะช่วยบอกได้ว่าวงสวิงมี Kinematic Sequence ที่ดี และใช้กล้ามเนื้อที่สำคัญ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพตามลำดับการส่งแรงไปที่ไม้กอล์ฟหรือไม่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กล้ามเนื้อกับวงสวิงของกอล์ฟ ตอนจบ

กล้ามเนื้อกับวงสวิงของกอล์ฟ ตอนจบ   กล้ามเนื้อกับวงสวิงของกอล์ฟ ตอนจบ  ความมั่นคง (Stability) และการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในวงสวิงกอล์ฟ (kinematics of golfers)          การตีลูกกอล์ฟได้แม่นยำทั้งระยะทิศทางอาจจะพัฒนาให้ดีขึ้นได้ โดยการควบคุม การเคลื่อนไหวของสะโพก และ ส่วนบนของลำตัว (ไหล่) ไม่ให้เคลื่อนออกไปจากแกนของการหมุนมากเกินไป ในขณะทำการสวิงหรือพยายามรักษามุมของกระดูกสันหลัง(Spine angle) ให้คงที่          Fujimoto-kanatani (1995) ได้ ศึกษาการเคลื่อนไหวของร่างกายในนักกอล์ฟอาชีพ พบว่าจุดสำคัญที่เหมือนกันคือ การรักษาการงอเข่าขวา และข้อสะโพกขวา ค่อนข้างจะมั่นคงในขณะทำแบคสวิง          Wang, Yan & String (2007) ได้ศึกษา การเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนบน (C7) ในขณะทำดาวน์สวิงพบว่าการเคลื่อนไหวที่ออกไปจากแกนของการหมุนมีสัมพันธ์กับความแม่นยำขณะกระทบลูก (ยิ่งเคลื่อนไหวน้อยจะมีความแม่นยำมาก เคลื่อนไหวมากจะมีความแม่นยำลดน้อยลง)  การศึกษาวิจัย ช่วยยืนยันวงสวิงของกอล์ฟควรจะมีแกนการหมุนที่มั่นคง (Stable rotational Oxis.)           John Hellstrom และคณะจากประเทศสวีเดนได้รายงานในการประชุมระดับโลกด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกอล์ฟ ครั้งที่ 5 ปี 2008 (World Scientific Congress of golf V, Phoenix 2008) “เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคง (Stability) และการเคลื่อนไหวของร่างกายในวงสวิงกอล์ฟ” โดยศึกษาในนักกอล์ฟชายระดับมัธยม 11 คน อายุเฉลี่ย 17 ปี แต้มต่อ -0.4 ±1.8 นักกอล์ฟหญิง 7 คน อายุเฉลี่ย 16 ปี แต้มต่อ -3.4 ±2.1           โดยมีการทดสอบความมั่นคงของช่วงล่างและลำตัวทุกคน หลังจากนั้นวัดการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายขณะทำวงสวิง 3 ครั้ง บันทึกค่าต่าง ๆ ทั้งในการทำแบคสวิง และดาวน์สวิง ดังนี้  สะโพกโย้ในแนวเดียวกับ Target line - แนวแกน x (Pelvic sway) ลำตัวส่วนบนไหล่ โย้ในแนวเดียวกับ Target line - แนวแกน X (Upper torso sway) สะโพกเคลื่อนหน้าหลัง ตั้งฉากกับ Target line - แนวแกน Y (Pelvic thrust) ลำตัวส่วนบนไหล่เคลื่อนหน้าหลัง ตั้งฉากกับ Target line - แนวแกน Y (Upper torso thrust) สะโพกยกสูงต่ำ – แนวแกน Z (Pelvic lift) ลำตัวส่วนบนไหล่สูงต่ำ - แนวแกน Z (Upper torso lift) การทดสอบความมั่นคง Supine hip extrusion นอนหงาย งอข้อสะโพก 90º ค่อย ๆ ลดขาลงช้า ๆ (20º ต่อวินาที) มาที่พื้น ขณะเดียวกันรักษากระดูกเชิงกรานไม่ให้เคลื่อน (ไม่ให้หลังแอ่น)  ทดสอบโดยใช้มือสอดไปที่หลังบริเวณเข็มขัด ให้หลังกดอยู่บนมือตลอดเวลา  ความมั่นคงดี สกอร์เท่ากับ 0 ขา 2 ข้างลงพร้อมกันมาที่พื้น ความมั่นคงน้อย สกอร์เท่ากับ 1 ลดขาลงได้ที่ละข้าง งอเข่า 20º ความมั่นคงน้อยมาก สกอร์เท่ากับ 2 ลดขาลงที่ละข้าง งอเข่า 90º ไม่มีความมั่นคง สกอร์เท่ากับ 3 ทำไม่ได้ One-Legged squat            ยืนขาข้างเดียวบนโต๊ะเตี้ย ๆ ค่อย ๆ นั่งงอเข่า (ขาที่ไม่ได้รับน้ำหนักชี้ไปข้างหน้า) ให้เข่าอยู่ในแนวเดียวกับเท้า รักษาสะโพกไม่ให้เอียง ทำสลับข้าง ความมั่นคงดี สกอร์เท่ากั[ 0 นั่งยอง ๆ งอเข่าโดยไม่ต้องมีที่เกาะ ความมั่นคงน้อย สกอร์เท่ากับ 1 นั่งยอง ๆ งอเข่าโดยมีที่เกาะที่ไม่แข็งแรง และขา ข้างที่ไม่ได้รับน้ำหนักวางบนลูกบอลใหญ่ ความมั่นคงน้อยมาก สกอร์เท่ากับ 2 นั่งยอง ๆ งอเข่าโดยมีที่เกาะที่แข็งแรง และขา ข้างที่ไม่ได้รับน้ำหนักวางบนเก้าอี้ที่แข็งแรง ไม่มีความมั่นคง สกอร์เท่ากับ 3 ทำไม่ได้ Prone bridge           นอนคว่ำ ข้อศอกแขนท่อนล่างยันพื้น ให้ข้อศอกอยู่แนวเดียวกับไหล่และยันเท้าทั้ง 2 ข้างให้ขาและหลังอยู่ในแนวเดียวกัน ความมั่นคงดี สกอร์เท่ากับ 0 จากรูปสามารถยกแขนและขาด้านตรงข้าม ออกไปตามแนวลำตัว ค้างไว้ 10 วินาที  ความมั่นคงน้อย สกอร์เท่ากับ 1 จากรูปสามารถยกขาได้อย่างเดียว 10 วินาที ความมั่นคงน้อยมาก สกอร์เท่ากับ 2 สามารถทำท่าในรูปได้ 10 วินาที ไม่มีความมั่นคง สกอร์เท่ากับ 3 ไม่สามารถที่จะรักษาขาและหลังให้อยู่ใน แนวเดียวกันได้ ผลการศึกษา พบว่า           ค่าความมั่นคงลดน้อยลง (สกอร์มีค่าสูง)ในการทดสอบท่า Prone bridge และท่า One-legged squat สัมพันธ์กับลำตัวส่วนบนเอียงห่างไปจากเป้าหมาย (Upper body Sway) ในขณะทำแบคสวิง ค่าความมั่นคงลดน้อยลง (สกอร์มีค่าสูง) ในท่า One-legged squat และท่า Supine hip extrusion สัมพันธ์กับการหมุนข้อสะโพกที่มากเกินไป           การทดสอบความมั่นคงทั้ง 3 ท่านี้ ช่วยเป็นข้อมูลในการฝึก ความมั่นคงของสะโพก ลำตัว และขา  ข้อแนะนำสำหรับนักกอล์ฟ          นักกอล์ฟที่แบคสวิง ลำตัวส่วนบนเอียงห่างไปจากเป้าหมาย (Upper body Sway) ลองตรวจสอบท่า Prone bridge และท่า One-legged squat ว่าท่านมีความมั่นคงของลำตัว และขามากน้อยแค่ไหน ถ้าตรวจสอบแล้วความมั่นคงยังไม่ดีพอ ต้องไปฝึกกล้ามเนื้อโดยใช้ 2 ท่านี้ในการบริหารให้แข็งแรง          นักกอล์ฟที่ทำแบคสวิงและมีการหมุนสะโพกมากเกินไป ควรฝึกทั้ง ท่าOne-legged squat และท่า Supine hip extrusion ให้มีความมั่นคง ของกล้ามเนื้อสะโพก และขาทั้ง 2 ข้าง รวมทั้งการฝึกหมุนไหล่ลำตัวช่วงบนให้มากขึ้น           นักกอล์ฟที่สูงอายุหรือมาอาการปวดข้อเข่าความหลีกเลี่ยงการทดสอบหรือการบริหารท่า One-legged squat เนื่องจากมีแรงกดบนข้อเข่าสูงมากอาจจะทำให้ข้อเข่าอักเสบหรือเข่าเสื่อมเพิ่มมากขึ้นได้ ใช้การบริหารโดยการปั่นจักรยานหรือนั่งห้อยเท้าเหยียดเข่าออกโดยมีน้ำหนักถ่วงที่ข้อเท้า จะทำให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรงขึ้นและลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของข้อเข่าได้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การคิดเชิงบวกเพื่อคุณภาพชีวิต คิดให้เป็นประโยชน์กับชีวิตของเราและผู้อื่น

การคิดเชิงบวกเพื่อคุณภาพชีวิต คิดให้เป็นประโยชน์กับชีวิตของเราและผู้อื่น   การคิดเชิงบวกเพื่อคุณภาพชีวิต      หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าการคิดเชิงบวกคือการมองโลกในแง่ดี จนกระทั่งไม่สามารถที่จะทำให้ตัวเองอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมีความสุข เนื่องจากมองโลกในแง่ดีเกินไป จริงๆ แล้วการคิดเชิงบวก คือ จะต้องพยายามหามุมมองที่แตกต่างออกไปจากมุมมองปกติที่เราเคยมองให้มันเป็นบวกให้มันเป็นประโยชน์กับชีวิตของเราและก็เป็นประโยชน์กับชีวิตของคนอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม ชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน ชีวิตในสังคม หรือแม้แต่ชีวิตของคนที่อยู่รอบ ๆ ข้างล้วนทำให้เราขาดความสุข มีความเครียด ทำอย่างไรเราจะคิดให้ตัวเรามีความสุขเพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่ทุกข์ให้มากขึ้นกว่านี้ หรือมีความทุกข์น้อยลง อะไรที่เป็นสภาพการณ์หรือเหตุการณ์วิกฤตให้มองหาแง่มุมดี ๆ         ยกตัวอย่างเช่น เราทำงานหนักมากเลยในช่วงชีวิตตอนนี้ ถ้าเรามัวแต่คิดในเชิงลบว่า “ตายแล้ว ชีวิตนี้ฉันแย่แน่เลยไม่สามารถจะมีความสุขอย่างคนอื่นได้ เพราะต้องทำงานทุกวัน ๆ ทำไมคนอื่นเขาช่างสบาย” พอคิดอย่างนี้เราก็เกิดท้อแท้ ลองคิดใหม่มองอีกมุมหนึ่ง ถ้าทำงานได้ทุกวัน ทำงานหนักกว่าคนอื่น แปลว่าเรามีความสามารถ เป็นคนที่มีคุณค่า และการทำงานมากทำงานหนักนี้เองจะช่วยให้เรามีประสบการณ์มากกว่าคนอื่น งานที่จะทำให้เกิดผลงานและงานนั้นก็จะช่วยให้เรามีสิ่งตอบแทนตามมา มีงานมากดีกว่าไม่มีงานทำ นี่คือมุมมองหนึ่งของการคิดเชิงบวก ถ้าเมื่อไรเราคิดเชิงบวกเราจะมีความสุขคนที่มีความสุขชีวิตมีคุณภาพ เพราะว่าถ้ามีสุขภาพจิตที่ดีแล้วก็สามารถมีพลังต่อสู้กับชีวิตได้ดีขึ้น        ความสำคัญของการคิดเชิงบวก การคิดเชิงบวกเป็นการหามุมมองที่เป็นบวก มุมมองที่ทำให้เรานั้นมีแง่คิดที่ดี มุมมองที่ทำให้เรามีกำลังใจ มุมมองที่ทำให้เรารู้สึกมีความทุกข์น้อยลง มุมมองที่ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น มีแรงจูงใจที่จะต่อสู้กับชีวิต ที่จะเผชิญชีวิต หรือที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เพราะฉะนั้นถ้าสามารถคิดในเชิงบวกได้ตลอดเวลา แปลว่าสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและความสุข        วิธีการพัฒนาการคิดเชิงบวก ก่อนอื่นต้องฝึกการคิดเชิงบวก ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่มีใครมาพูดกับเราไม่สุภาพ เราจะรู้สึกโกรธทันที แต่ถ้าเราฝึกคิดนิดหนึ่งว่า การพูดไม่สุภาพของเขามันช่างไม่น่าฟังเลย จะเป็นข้อดีกับเราได้อย่างดีเลยว่าเราจะไม่พูดคำนี้กับใครอีก เพราะฉะนั้นดีนะที่คนๆ นี้ มาพูดแบบนี้กับเราทำให้เรารู้สึกว่า เราจะไม่พูดแบบนี้กับคนอื่น และนี่ก็คือกระจกเงาที่มาสะท้อนให้เราเห็นก่อนที่เราจะไปทำอะไรที่ไม่ดีนั้น ซึ่งการคิดเชิงบวก ก็จะมีความสุขมากกว่าไปโกรธ หัดคิดเชิงบวกบ่อยๆ ปกติคนเรามักจะมองอะไรเป็นเชิงลบเสมอ เวลาที่ใครพูดถึงตัวของเราไม่ดีเราจะโกรธ การโกรธเป็นการสกัดกั้นการพัฒนาตนเอง เพราะฉะนั้นเวลาที่ใครว่าอะไรเรา เรากลับมาคิดอีกมุมหนึ่งว่าเขาเตือนเราหรือเปล่า เขาบอกอะไรเราหรือเปล่าจะเป็นการช่วยพัฒนาตัวเราเองให้ดีขึ้น        นี่เป็นเรื่องของการคิดเชิงบวกที่ฝึกกันได้ง่าย ๆ และเห็นกันชัด ๆ การคิดเชิงบวกเป็นเรื่องของการมองมุมที่เราไม่เคยมองโดยปกติประจำวัน โดยมุมที่เรามองนั้นจะเป็นมุมที่จะช่วยให้เราสบายใจขึ้น ความสบายใจถือว่าเป็นประโยชน์แก่ตัวเราเอง จะมีผลไปถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับครอบครัวถ้าคนในครอบครัวของเราอยู่กันอย่างมีความสุข มองกันในแง่ดี ในเชิงบวก อะไรที่มันจะทำให้เดือดร้อนรำคาญใจก็เฉยเสีย หันไปมองในมุมที่ดีขึ้น แล้วจากการที่ครอบครัวมีความสุขนี้เองก็จะส่งผลไปถึงสังคมและประเทศชาติในที่สุด การคิดเชิงบวกนั้นมีความสำคัญกับคุณภาพชีวิต ทั้งในเชิงชีวิตส่วนตัวบุคคล ทั้งในเชิงชีวิตของครอบครัวที่เราเป็นสมาชิกอยู่ แล้วในเชิงคุณภาพชีวิตของสังคมด้วย    ขอบคุณข้อมูล รศ. ดร.ประดินันท์ อุปรมัย  อดีตผอ.สำนักการศึกษาต่อเนื่อง ม.สุโขทัยธรรมาธิราช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

สต็อกโฮล์ม ซินโดรมม (Stockholm Syndrome)

สต็อกโฮล์ม ซินโดรมม (Stockholm Syndrome)            Stockholm Syndrome (สต็อกโฮล์ม ซินโดรม) เป็นอาการของคนที่ตกเป็นเชลยหรือตัวประกันเกิดมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนที่เป็นคนร้ายหลังจากต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันระยะหนึ่ง และอาจจะลงเอยด้วยการแสดงอาการปกป้องคนร้ายหรือยอมเป็นพวกเดียวกันด้วยซ้ำ อาการที่ว่านี้นักจิตวิทยาตั้งขึ้นตามคดีปล้นธนาคารที่เกิดขึ้นในกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดนในปี 1973    หลังจากถูกตำรวจปิดล้อมอยู่หลายวันเจ้าหน้าที่และลูกค้าธนาคารซึ่งถูกจับเป็นตัวประกันเริ่มเห็นใจโจร   เมื่อตำรวจบุกเข้าไปตัวประกันพยายามปกป้องโจรด้วยซ้ำ   (เหตุการณ์ปล้นครั้งนั้นกลายเป็นพล็อตหนังเรื่อง “ปล้นกลางแดด” หรือ Dog Days Afternoon  ที่มีอัลปา ชีโน่เป็นดารานำ)             นักจิตวิทยาวิเคราะห์ ว่า เป็นพฤติกรรม "สองดอกจิก แหม่มโพธิ์ดำ" หรือที่ทางธรรม เรียกว่า เห็นผิดเป็นชอบ   เกิดจากความใจอ่อน สงสารสัตว์โลกผู้ชะตาตกต่ำ ประกอบกับ ได้ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ก่อการร้ายเป็นระยะเวลานาน กินข้าวหม้อเดียวกัน - นอนเตียงเดียวกัน มิได้ถูกข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย หรือ พูดจาประชด ถากถาง แม้แต่น้อย  จึงเกิดความสงสาร เห็นใจ หันมาเข้าข้างเค้าซะเลย   Wikipedia            กลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม (อังกฤษ: Stockholm syndrome) เป็นคำอธิบายถึงอาการอย่างหนึ่งที่ตัวประกันเกิดความสัมพันธ์ทางใจกับผู้ลักพาตัวในระหว่างการถูกกักขัง ความสัมพันธ์ทางอารมณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างผู้จับกับเชลยในช่วงเวลาที่ได้ใกล้ชิดกัน แต่นี่อาจถือได้ว่าไม่มีสัญญาณด้านอันตรายหรือเกิดความเสี่ยงอันตรายต่อเหยื่อ กลุ่มอาการสต็อกโฮล์มไม่อยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต เนื่องจากขาดการวิจัยเชิงวิชาการ กลุ่มอาการนี่พบเห็นได้ยาก จากข้อมูลของระบบฐานข้อมูลการจับตัวประกัน ของสำนักงานสอบสวนกลาง และ Law Enforcement Bulletin ประเมินว่าพบการลักพาตัวประเภทนี้น้อยกว่า 5%             คำนี้มีการใช้ครั้งแรกโดยสื่อมวลชนในปี ค.ศ.1973 เมื่อมีการจับตัวประกัน 4 คนระหว่างการปล้นธนาคาร ที่สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ตัวประกันได้ปกป้องผู้จับตัวพวกเขาหลังถูกปล่อยตัวและยังไม่ยอมเป็นพยานต่อศาลด้วย   สี่องค์ประกอบสำคัญที่แสดงคุณลักษณะของกลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม คือ ตัวประกันมีความรู้สึกที่ดีต่อผู้จับตัว ไม่มีความสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ระหว่างตัวประกันและผู้จับตัว ตัวประกันไม่ให้ความช่วยเหลือต่อตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐบาล (เว้นแต่ผู้จับตัวจะถูกตำรวจบังคับ) ตัวประกันเห็นถึงมนุษยธรรมในผู้จับตัว เพราะพวกเขาไม่ได้ถูกคุกคาม เพียงอยู่ในฐานะเป็นผู้บุกรุก    

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อแนะนำที่ทำอย่างไรจะไม่ให้มียาเหลือใช้ในบ้าน

ข้อแนะนำที่ทำอย่างไรจะไม่ให้มียาเหลือใช้ในบ้าน สำหรับข้อแนะนำที่ทำอย่างไรจะไม่ให้มียาเหลือใช้ในบ้าน           สำหรับข้อแนะนำที่ทำอย่างไรจะไม่ให้มียาเหลือใช้ในบ้าน ทำได้ดังนี้ • อ่านฉลากให้ถี่ถ้วนก่อนใช้ยา ควรอ่านให้เข้าใจว่าใช้อย่างไร ต้องใช้ต่อเนื่องจนยาหมดหรือไม่ หรือ ใช้นานเท่าใด ยาบางชนิด เช่นยาปฏิชีวนะ ต้องกินติดต่อกันจนหมด เพื่อให้ได้ผลในการรักษา หรือยาหยอด ตา เมื่อเปิดใช้แล้วเกิน 1 เดือน ให้ทิ้งไป เป็นต้น ถ้าปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก จะช่วยลดยาเหลือใช้ • นำยาที่เหลืออยู่ไปพบแพทย์ตามนัด หากท่านมีโรคประจำตัวหรือโรคที่ต้องใช้ยาต่อเนื่อง และต้องไปพบแพทย์ตามนัด อย่าลืมนำยาที่เหลืออยู่ไปด้วยทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทราบถึงจำนวนยาที่เหลืออยู่ และสั่งจ่ายยาตามจำนวนที่หักยาเดิมให้พอถึงวันนัดครั้งต่อไป แทนที่จะสั่งยาให้ตามจำนวนวัน ซึ่งทำให้มียาเดิมเหลือค้างอยู่จำนวนหนึ่ง หากแพทย์มีการเปลี่ยนยาให้ใหม่ และท่านใช้ร่วมไปกับยาเดิม จะทำให้ได้รับยามากเกินไปจนอาจเป็นอันตราย แต่ถ้าท่านไม่ใช้ ยาเดิมนั้นก็จะเป็นยาเหลือใช้ • ไม่ควรซื้อยาบรรเทาอาการคราวละมากๆ ยาบรรเทาอาการ เช่น ลดไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด หลังจากหายแล้วถ้าเหลืออยู่ จะกลายเป็นยาเหลือใช้ หากมียาเหลือใช้ในบ้าน..จะจัดการอย่างไร ก่อนอื่นควรตรวจสอบสภาพยาและวันหมดอายุของยาก่อน โดยดูจากข้อมูลวันหมดอายุบนแผงยา หรือที่ข้างกล่องยา ทั้งนี้โดยดูสภาพเม็ดยาประกอบด้วย เพราะบางครั้งการเก็บยาไม่ดีก็จะทำให้ยาเสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุ เช่น เก็บไว้ในที่ร้อนหรือที่แดดส่องถึง หรือไว้ในที่ชื้น เป็นต้น หากไม่มีวันหมดอายุระบุไว้ ให้ดูจากวันที่ที่ได้รับยามาซึ่งระบุบนซองใส่ยา หากได้รับยามาเกิน 6 เดือนถึง 1 ปี ก็ไม่ควรใช้อีกต่อไป • ยาเหลือใช้ที่ยังไม่หมดอายุและอยู่ในสภาพดี ควรเก็บอยู่ในซองยา หรือขวดยาเดิม และวางรวมไว้ที่เดียวกันในที่ที่เหมาะสม หรือเก็บในตู้ยา หรือกระเป๋ายา ให้พ้นแสงแดด ไม่เก็บในที่ชื้น และต้องให้พ้นมือเด็ก ตรวจสอบด้วยว่าฉลากยายังชัดเจน มีวิธีใช้ครบถ้วน หากไม่มั่นใจ ให้นำไปปรึกษาเภสัชกร • ยาเหลือใช้ที่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพแล้ว ให้ทำลายก่อนทิ้ง โดยแกะฉลากที่มีชื่อของท่านออก ถ้าเป็นยาเม็ด ให้ทุบทำลายและเติมน้ำเล็กน้อย หรือถ้ามียาน้ำที่หมดอายุให้เทผสมลงไป ยาครีม/ขี้ผึ้งให้บีบออกจากหลอด จากนั้น นำกากใบชา ขี้เลื่อย เศษผัก หรือเปลือกผลไม้ผสมลงไปในถุงเดียวกัน ปิดปากถุงให้สนิท (ถ้าเป็นถุงซิปล็อกได้ก็จะดี) ก่อนจะทิ้งลงถังขยะต่อไป เพื่อไม่ให้คนอื่นนำยาที่ทิ้งนั้นไปใช้ได้อีก แต่หากมียาเหลือใช้จำนวนมาก ให้นำไปปรึกษาเภสัชกร สิ่งที่ไม่ควรทำ •อย่านำยาเหลือใช้ไปให้คนอื่นใช้ ขณะเดียวกันก็อย่ากินยาที่คนอื่นให้มา เพราะอาการคล้ายกันแต่อาจไม่ใช่โรคเดียวกัน ขนาดยาก็อาจไม่เหมาะสม และอาจเกิดอาการแพ้ยาได้อีกด้วย •อย่านำยาเหลือใช้มารวมในซองยา หรือขวดยาเดียวกัน •อย่าแกะยาออกจากแผงหากยังไม่ใช้ •อย่าเก็บยาในตู้เย็น ยกเว้นยาที่มีฉลากระบุไว้ •อย่าเก็บยาในรถที่จอดทิ้งไว้เพราะความร้อนจะทำให้ยาเสื่อม •อย่าหยุดยาเอง เพราะแพทย์จะเข้าใจผิดว่าอาการที่เลวลงเป็นเพราะโรค แล้วเพิ่มยาให้อีก •อย่าซื้อยากินเองโดยไม่ปรึกษาเภสัชกร เพราะถ้าได้รับยาจำนวนมากจากสถานพยาบาลแล้วอาจได้รับยาซ้ำซ้อน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กินแบบโอกินาวา

กินแบบโอกินาวา           กินแบบโอกินาวา  ชาวโอกินาวาของญี่ปุ่นได้ชื่อว่าอายุยืนมากที่สุดในโลก   ส่วนหนึ่งเพราะอาหาร พวกเขากินอย่างไรจึงอายุยืนยาว คอลัมน์ “Wellbeing & Health” นิตยสาร “โมเดิร์น มัม” ฉบับ ก.ค. รวบรวมไว้ดังนี้ 1.         ชาวโอกินาวามีคำพูดติดปากเสมอว่า “กินอาหารเป็นยา” จึงต้องคิดให้รอบคอบก่อนกิน  ไม่ตามใจปาก 2.         ไม่งดกินโน่นกินนี่ แต่ละเลือกกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนอย่างเหมาะสมในแต่ละมื้อ 3.         ชาวโอกินาวามีวัฒนธรรมการกินอาหารเกือบอิ่มหรือที่เรียกว่า ฮาราฮาชิบุ คือ กินประมาณ  4 ใน 5 ส่วน ของท้องหรือประมาณ 1,800 กิโลแคลอรี่ (เทียบกับชาวตะวันตกโดยทั่วไปบริโภควันละ 2,500 กิโลแคลอรี) ซึ่งพอนั่งสักครู่จะรู้สึกอิ่มโดยธรรมชาติ วิธีนี้ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารไม่ทำงานหนักเกินไป 4.         ชาวโอกินาวากินข้าวแต่ละคำช้า ๆ เคี้ยวนาน ๆ ทำให้รับรู้รสชาติอาหารได้ดีและช่วยให้ไม่กินมากเกินไป 5.         ลดการกินไขมันแทนการลดน้ำหนัก ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่อ่อนล้าง่าย 6.         อาหารแต่ละมื้อมีวิตามินอีมาก ซึ่งเป็นผลดีต่อสมองจึงเป็นโรคเบาหวานและอัลไซเมอร์กันน้อยมาก 7.         อาหารที่ชาวโอกินาวากินมีพืชผักสมุนไพร  7  ส่วนเป็นส่วนประกอบในอาหารทุกมื้อ  ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพ เช่น ขมิ้น สะระแหน่ งา พริก พริกไทย  เป็นต้น 8.         ชาวโอกินาวากินเกลือน้อยมาก วันละไม่ถึง  3  ช้อนชา  ช่วยลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ดี 9.         กินมิโซะก่อนกินอาหารทุกมื้อ ช่วยเพิ่มพื้นที่ในกระเพาะอาหาร ทำให้กินอาหารอย่างอื่นได้ไม่มากและไม่อ้วน หนังสือพิมพ์ข่าวสด คอลัมน์การตลาด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคเซ็งเรื้อรัง มฤตยูเงียบทางอารมณ์

โรคเซ็งเรื้อรัง มฤตยูเงียบทางอารมณ์            แต่ทว่าใครถ้าเริ่มมีอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยอ่อนอยู่เป็นระยะ เวลานานอาจเป็นเดือน หลายเดือนหรือเป็นปีภายหลังจากที่ต้องพบกับภาวะเครียดอย่างรุนแรง เป็นต้น อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงของคนปกติมักจะหายไปภายหลังการได้พัก นอนหลับให้เต็มที่สัก 2-3 วัน แต่ถ้าใครไม่หายบางทีคุณอาจจะกลายเป็นผู้ป่วยในกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังได้        โดย พ.อ. (พ) รศ.นพ.สามารถ นิธินันทน์ อายุรแพทย์ด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลวิภาวดี บอกว่า กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง หรือ Chronic Fatique Syndrome (CFS) ซึ่งในที่นี้ขอเรียกว่าโรคเซ็งเรื้อรัง เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังแต่ประการใด และการพักผ่อนก็ไม่ช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น รวมถึงอาจจะพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย และต้องมีอาการอ่อนล้าเรื้อรังเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการหลังการเป็นไข้หวัดใหญ่ อย่างไรก็ดี กลไกการเกิดโรคจะทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและระบบต่อมไร้ท่อ ด้วยเหตุนี้องค์การอนามัยโลกจึงได้จัดกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังเป็นโรคทางระบบประสาท              สำหรับกลุ่มอาการนี้พบราว 3,000 คนต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้เนื่องจาก คำจำกัดความของโรคที่แตกต่างกันดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง แต่องค์กรสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกาได้ประเมินว่า ชาวอเมริกันมากกว่า 1,000,000 คนเป็นโรคนี้ และในประเทศอังกฤษพบราว 250,000 คน ส่วนใหญ่พบในคนที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปีสำหรับในประเทศกลุ่มอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม 151,953 คน ฟิลิปปินส์  158,532 คน สิงคโปร์ 8,003 คน ส่วนประเทศไทยพบว่าคนเป็นโรคนี้   119,238 คน              กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ แต่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบมากในคนที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี ซึ่งอาจจะมีคนในครอบครัวมีอาการเช่นนี้ด้วย แต่ไม่ใช่โรคติดต่อ              “กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังจะเกี่ยวข้องกับโรคหลายๆ ระบบ จึงทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เหนื่อยง่าย รู้สึกไม่สดชื่นหลังตื่นนอน  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ สมาธิสั้น เป็นต้น จนมีผลต่อร่างกายและจิตใจในที่สุด สำหรับอาการอื่นๆ ที่อาจพบได้อีกอย่าง เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความรู้สึกไว เปลี่ยนท่าเร็วๆ ไม่ได้ อาหารไม่ย่อย ซึมเศร้า และภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติเกิดปัญหากับหัวใจและปอด เป็นต้น ” รศ.น.พ. สามารถ บอกต่อว่า อาการเริ่มต้นของโรคดังกล่าว ส่วนใหญ่มักเกิดอาการ อย่างเฉียบพลันทันที เช่น มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ด้วยเหตุนี้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค แห่งสหรัฐอเมริกาจึงให้เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคนี้ไว้ว่าต้องประกอบด้วยอาการอ่อนล้าที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับการออกแรง จนมีผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน และแม้จะพักก็ไม่หาย รวมถึงต้องมีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 4 อย่าง ขึ้นไปเป็นเวลานานอย่างน้อย 6 เดือน คือ               ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อมถอย สมาธิสั้น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังออกกำลัง รู้สึกว่าร่างกายและสมองเกิดความอ่อนล้า หลับไม่เต็มอิ่ม ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อหลายข้อ ปวดหัวอย่างรุนแรง เจ็บคอบ่อยๆ เจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณคอ หรือรักแร้  และอาจจะมีอาการที่ตรวจพบร่วมด้วย ได้แก่ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเสีย หนาวสั่นและเหงื่อออกในเวลากลางคืน เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด ไอเรื้อรัง การมองเห็นผิดปกติ แพ้หรือไวต่ออาหาร แอลกอฮอล์ กลิ่น สารเคมี ยาหรือเสียง ยืนนานๆ จะมีอาการเป็นลม วิงเวียน ซึมเศร้า อารมณ์ไม่แน่นอน                  “ถ้าพบว่ามีอาการดังกล่าวผู้ป่วยมักจะบอกว่ามีความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง โดยเฉพาะงานที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายๆ กับคนที่เป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคเอดส์ระยะท้าย โรคลูปัส โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และอาจจะส่งผลต่อการทำงานมากกว่าโรคบางโรค เช่น หัวใจล้มเหลว เบาหวาน เป็นต้น ซึ่งผุ้ป่วยประมาณ 2 ใน 3 จะทำงานได้น้อยลงหากได้พักอาการก็จะดีขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว แต่ไม่สามารถกลับมาทำงานอย่างเต็มที่ได้เหมือนเดิม เชาวน์ปัญญาผู้ป่วยอาจจะมีเชาวน์ปัญญาเสื่อมถอยเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากสมาธิ ความจำและการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงต้องใช้เวลานานขึ้นในการทำความเข้าใจงานที่ทำจนอาจจะเกิดความเสียหายในการทำงานได้รวมถึงยังมีความสามารถในการรับรู้ การพูด การใช้ภาษา และความมีเหตุผลลดลง”                   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นโรคที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย หากไม่ได้รับการรักษา แต่เนื่องจากยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง ทำให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาจำเป็นต้องค้นหาสาเหตุของโรคตามอาการที่ปรากฏ ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาใดๆ ที่ทำให้โรคนี้หายขาดได้จึงมีผู้ป่วยเพียง 5% ที่มีโอกาสหายขาด จากการรักษาตามอาการ ขณะที่ผู้ป่วยจำนวนมากไม่หายขาดแม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยวิธีการดูแลเรื่องอาหาร การทำกายภาพบำบัด การให้อาหารเสริม ยาต้านโรคซึมเศร้า การใช้สารปรับเปลี่ยนภูมิคุ้มกันยานอนหลับ เป็นวิธีการที่ยังให้ผลการรักษาไม่ดีนัก              สุดท้ายนี้ ผู้ที่มีอาการเรื้อรังควรพยายามรักษาสุขภาพของตนเอง รับประทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายพอสมควร ที่จะไม่ให้เกิดอาการอ่อนเพลียอีก ผู้ป่วยควรจะรู้จักวิธีดูแลตนเองให้เหมาะทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาเพราะความเครียดอาจจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นได้              และที่สำคัญควรรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง และชวนคนรอบตัวหันไปมองเรื่องดีๆ ทำสิ่งดีๆ ที่ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพียงเท่านี้ก็จะสามารถเป็นยาป้องกันที่ดีที่สุดที่ทำให้ท่านไกลจากโรคที่ไม่มียารักษาแต่มีอานุภาพบั่นทอนสุขภาพได้อย่างรุนแรง ให้ห่างไกลจากคนในสังคมไทยได้อย่างแน่นอน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

5ส. สู่ Safety Goal 7 พลัดตกหกล้ม

5ส. สู่ Safety Goal 7 พลัดตกหกล้ม 5ส. สู่ Safety Goal 7 พลัดตกหกล้ม คัดแยก แบ่งเก็บ ไม่เกะกะ ขวางทางเดิน ป้ายบ่งชี้ ต่างระดับ ทั้งราวจับ ราวกั้น รัดเข็มขัด กันพลัดตก ร่วมกัน เช็ดถูดูสะอาด ทั้งปัดกวาด ให้เรียบร้อย คอยดูแล สิ่งแวดล้อม ส่องสว่าง เพียงพอ เห็นเด่นชัด กันหกล้ม ปฏิบัติได้ทุกวัน เพื่อสร้างสรร ทุก ส นั้นให้ยั่งยืน ใส่ใจ ร่วมมือ ซื่อสัตย์ พัฒนา ใฝ่หาความรู้ สู่ความเป็นเลิศ ประโยชน์ของกิจกรรม 5ส · เป็นเทคนิคในการปรับปรุงง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก · ผู้ทำ 5ส ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม · เน้นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม · ส่งเสริมการสร้างนิสัย และการมีวินัยในหน่วยงาน ·เป็นพื้นฐานของกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตอื่นๆ หัวใจของ ส สะสาง มีแต่ของที่จำเป็นเท่านั้นใน สถานที่ทำงาน   ส สะสาง คือ การแยกของที่จำเป็นออกจากของที่ไม่จำเป็นและขจัดของที่ไม่จำเป็นออกไป  เหตุผลที่จำเป็นต้องทำการสะสาง  -มีของไม่จำเป็นอยู่ในที่ทำงาน -สูญเสียพื้นที่ในการจัดเก็บ -ของหายบ่อย หาไม่เจอ เสียเวลาในการค้นหา - สถานที่ทำงานคับแคบ หัวใจของ ส สะดวกมีที่สำหรับของทุกสิ่งแของทุกสิ่งต้องอยู่ในที่ของมัน ส สะดวก คือ การจัดวางหรือจัดเก็บของต่างๆ ในสถานที่ทำงาน อย่างเป็นระบบ เพื่อประสิทธิภาพ คุณภาพและความปลอดภัยในการทำงาน การที่จะสร้างให้ ส สะดวก เกิดขึ้นกับสิ่งของ อุปกรณ์เครื่องมือ เอกสาร ได้นั้นมีขั้นตอนในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความสะดวก ดังนี้ 1.วางแผนการกำหนดที่วางของให้ชัดเจน 2.จัดวางให้เป็นระเบียบ หมวดหมู่ 3.มีป้ายชื่อแสดงที่วางของ 4.มีป้ายชื่อติดสิ่งของที่จะวาง 5.ทำผังแสดงตำแหน่งวางของ 6.ตรวจเช็คเป็นประจำ การปฏิบัติ ส สะดวก ต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ ประสิทธิภาพ หมายถึง การปฏิบัติ ส สะดวกโดยการประยุกต์ใช้ ป้ายชี้บ่ง การทำสันแฟ้มเอกสาร การใช้สัญลักษณ์สี การจัดสิ่งของเป็นระบบหมวดหมู่ ·คุณภาพ หมายถึง การจัดเก็บของ วัตถุดิบ เครื่องมืออุปกรณ์ ฯลฯ โดยคำนึงถึงหลักคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้น นอกจากนั้นการนำไปใช้งานต้องคำนึงถึงหลักการ FIFO : First in First out ·ความปลอดภัย หมายถึง การจัดเก็บสิ่งของ เครื่องมือ อุปกรณ์ โดยคำนึงถึงหลักความปลอดภัย หัวใจของ ส สะอาด การทำความสะอาดเป็น การตรวจสอบ ส สะอาด คือ การทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) และตรวจสอบเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ รวมทั้งบริเวณสถานที่ทำงาน การทำความสะอาดที่นำไปสู่การเพิ่มผลผลิตมี อยู่ 3 ระดับ คือ 1.การทำความสะอาดประจำวัน 2.การทำความสะอาดแบบตรวจสอบ 3.การทำความสะอาดแบบบำรุงรักษา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<