โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) สาเหตุ อาการ วิธีรักษา รู้ทันกันได้

สาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน โรคเบาหวานคือภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสสูงในเลือด  ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องในการหลั่ง Insulin จากตับอ่อน ที่ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอหรือร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม ถ้าร่างกายผลิตอินซูลินไม่พอหรืออินซูลินทำงานได้ไม่เต็มที่ น้ำตาลจะเข้าไปในเซลล์ไม่ได้จึงส่งผลให้เลือดมีน้ำตาลสูง เป็นโรคที่พบบ่อย 10.2% ของประชากรอายุ > 35 ปี  แพทย์เฉพาะทางเบาหวาน รพ. วิภาวดี ยินดีให้ครับปรึกษา เช็คอาการของโรคเบื้องต้นด้วยตัวเอง ดื่มน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยกลางคืน ตามัว เพลีย น้ำหนักตัวลดลงโดยอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุอื่น โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน เกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ บางรายสร้างไม่ได้เลย พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี อาการที่เกิดขึ้นจึงรุนแรงกว่า วิธีรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อน ซึ่งต้องติดตามผลวิจัยต่อไป ชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ตับอ่อนของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่สร้างอินซูลินได้อย่างค่อนข้างมาก แต่ร่างกายตอบสนองอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ เกิดภาวะต้านอินซูลิน ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานเป็นชนิดที่ 2 ช่วงแรกตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินมากเพื่อรองรับความต้องการสูงขึ้น แต่แล้วตับย่อยที่ทำงานหนักจะไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้เพียงพอ เพื่อสนองกับน้ำตาลสูงๆได้ เริ่มแรก จึงรักษาด้วยการกินยาควบคุมอาหาร ไม่จำเป็นต่อใช้อินซูลิน ยกเว้นในรายที่ควบคุมอาหารได้ยาก น้ำตาลขึ้นลงเร็วหรือน้ำตาลสูงมาก จึงต้องฉีดอินซูลินเป็นบางครั้ง เมื่อใดที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่ได้ จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด ซึ่งการใช้ยารักษาเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ ดังนั้น การควบคุมอาหารและการรู้จักเลือกกินอาหารที่เหมาะสม ในปริมาณที่ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกาย จึงเป็นอีกวิธีที่เป็นการรักษาาและป้องกันโรคเบาหวาน กลุ่มเสี่ยง อ้วน อายุมากกว่า 40 ปี มีภาวะความดันโลหิตสูง เมื่อทดสอบความทนต่อน้ำตาล (กลูโคส) ด้วยการดื่มกลูโคส 75 กรัมแล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคสอยู่ในช่วง 140-199มก./ดล. มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงและระดับคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ มีระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ข้อบ่งชี้ในการตรวจหาโรคเบาหวานในบุคคลที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวานมาก่อนและไม่มีอาการผิดปกติ อายุมากกว่า 45 ปี  ถ้าหากผลตรวจปกติควรตรวจซ้ำทุก 3 ปี ผู้ที่ควรได้รับการตรวจก่อนอายุ 45 ปี  หรือ ต้องมีการตรวจซ้ำเป็นระยะถี่ขึ้น  ได้แก่ผู้ที่มีปัจจัย ดังต่อไปนี้ ดัชนีมวลกาย > 25 ( คำนวณจาก  {น้ำหนัก(kg) / ส่วนสูง2(เมตร)} ) ประวัติโรคเบาหวานในญาติ  เช่น มี พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวาน ประวัติคลอดบุตรน้ำหนัก มากกว่า 4 กิโลกรัม หรือประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง มากกว่า 140/90 mmHg ไขมันในเลือดผิดปกติ HDL < 35 mg/dl, Triglyceride > 250 mg/dl เคยพบน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง > 100 mg/dl ออกกำลังกายน้อย มีโรคของหลอดเลือด เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome) การวินิจฉัย เกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานกำหนดว่าระดับต้องเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลิกรัมเปอร์เซนต์ขึ้นไปและถ้าพบในคนที่มีอาการเลยต้องตรวจซ้ำให้แน่อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น การวิจัยต้องเจาะเลือดตรวจเสมอ สำหรับคนที่ระดับน้ำตาลอยู่ในช่วง 101 ถึง 125 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ถือว่าผิดปกติ แต่ยังไม่เป็นเบาหวาน มีโอกาส ที่จะเกิดเบาหวานได้สูง และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่ได้ งดอาหารหรือเครื่องดื่มที่มี Calories เป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง  แล้วเจาะระดับน้ำตาลในเลือด ได้  > 126 mg/dl มีอาการของโรคเบาหวาน  ร่วมกับผลน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ของวันโดยไม่คำนึงถึงเวลาที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย ได้ > 200 mg/dl  HbA1c คือ ค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือด  ในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา  ซึ่งเป้าหมายในการรักษาคือ ควบคุมให้ระดับ HbA1c < 6.5 หรือ 7 (แล้วแต่ประเภทของผู้ป่วย)  ค่านี้มีประโยชน์เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ควบคุมอาหารอย่างดีเพียง 1-2 วันก่อนวันก่อนพบแพทย์  ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลที่ตรวจพบดี  แต่ความเป็นจริงคือ 2-3 เดือนที่ผ่านมามิได้ควบคุมตนเอง  ซึ่งค่า HbA1c จะสูงฟ้องให้เห็นทำให้แพทย์สามารถเห็นค่าน้ำตาลที่แท้จริงได้  และหากค่า HbA1c ยิ่งสูงจะเพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน   ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง (หรืออันตรายภัยเงียบจากเบาหวาน) เบาหวาน มักจะพบในคนที่อ้วน มีญาติหรือบรรพบุรุษเป็นเบาหวานมักจะมีความดันโลหิตสูง และมีไขมันในเลือดที่ผิดปกติร่วมด้วย สองโรคหลังนี้จะมีส่วนช่วยเร่งให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่ได้เร็วขึ้น ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลต่อหลอดเลือดแดงในร่างกาย ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดตามมาในอนาคต จึงต้องรักษาอย่างเข้มงวด ไปพร้อมๆ กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดที่ผิดปกติ มักพบร่วมกับโรคเบาหวาน เป็นตัวเร่งให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่ หลอดเลือดหัวใจ : ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดสมอง : ทำให้เกิดภาวะอัมพาต  อัมพฤกษ์ หลอดเลือดส่วนปลายที่ขา : ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาไม่เพียงพอ  มีอาการปวดน่องเวลาเดิน  และอาจทำให้เกิดแผลที่เท้าเนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยง จอประสาทตา : ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  และหากพบความผิดปกติ  สามารถรักษาได้โดยการ laser เพื่อป้องกันระดับสายตาเสื่อมลงและตาบอด อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องเบาหวานขึ้นตา ไต : ขั้นแรกจะตรวจพบ protein รั่วออกมาในปัสสาวะ และหากไม่ระวังดูแลให้ดีอาจทำให้เกิดภาวะไตวายในอนาคตได้ เส้นประสาท : อาการที่พบบ่อยคือ  มีอาการชา หรือ ปวดแสบปวดร้อน  หรือ ปวดรุนแรง หรือ รู้สึกชาแบบเหน็บชา หรือเหมือนถูกแทง  โดยมักมีอาการที่ปลายเท้า และ ปลายมือก่อน หากเราไม่อยากให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานดังกล่าว เราจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีตั้งแต่แรกวินิจฉัย  รวมทั้งตรวจหาและรักษาปัจจัยเสี่ยงที่พบร่วม อันได้แก่ ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมอาหาร โดยลด ข้าว แป้ง น้ำตาล และเครื่องดื่นที่มีน้ำตาลโดยเฉพาะ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และนมเปรี้ยว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 30-60 นาทีต่อครั้ง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ งดสูบบุหรี่ รับประทานยาหรือฉีดยาตามแพทย์แนะนำ รักษาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่พบร่วม ได้แก่ ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง หากมีอาการผิดปกติ  เช่น อาเจียนมาก  รับประทานอาหารไม่ได้  ควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากระดับน้ำตาลจะแกว่งสูงหรือต่ำได้มาก แพทย์ พญ.วรณัน เจริญหิรัญยิ่งยศ แผนกเบาหวานและต่อมไร้ท่อ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กรมอุตุนิยมวิทยา ให้คำแนะนำกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหว

กรมอุตุนิยมวิทยา ให้คำแนะนำกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหว ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว    1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน    2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น    3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น    4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า    5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้    6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน    7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง    8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว     1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน     2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง     3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้     4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง     5. อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น     6. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด      7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว     8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง  หลังเกิดแผ่นดินไหว     1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน     2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้     3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง     4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว     5. ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน     6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง     7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ     8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้     9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง    10. อย่าแพร่ข่าวลือ ที่มา : ครอบครัวข่าวสาม  25 มี.ค. 54 :

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

น้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมอง

น้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมอง คาดว่า หลายท่าน คงอยากรู้จัก ภาวะน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมอง เลยนำ บทความ ที่คุณหมอเขียนให้ มา Share กัน เป็นความรู้ค่ะ   น้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมอง โดย.. นายแพทย์วทัญญู ปรัชญานนท์  อะไรคือโพรงสมอง  อะไรคือน้ำไขสันหลัง             สมองของคนเราไม่ใช่เป็นแค่ก้อนเนื้อก้อนไขมันตันๆ สักก้อน หากแต่มันจะมีโพรงอยู่ตรงกลาง เราเรียกมันว่า “โพรงสมอง” ส่วนน้ำไขสันหลัง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Cerebrospinal fluid ก็คือน้ำที่สร้างขึ้นในโพรงสมอง แล้วไหลเวียนหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังของเราอยู่ทั้งในโพรงสมอง และห่อหุ้มทั้งสมองและไขสันหลังของเราไว้ หน้าที่หลักของมันก็คือนำอาหารไปเลี้ยงสมอง และรับเอาของเสียจากสมองไปทิ้ง นอกจากนั้นยังทำตัวป็นฉนวนลดแรงกระแทกต่อสมองที่อาจจะเกิดขึ้นเวลาที่หัวหรือหลังของเราถูกกระทบกระเทือนอีกอย่างหนึ่งด้วย              ร่างกายสร้างน้ำไขสันหลังขึ้นมาโดยสกัดออกมาจากเลือดแดงโดยหลอดเลือดแดงชนิดพิเศษภายในโพรงสมอง และไหลเวียนไปตามโพรงต่างๆ ในสมอง แล้วไหลออกมาอยู่ใต้เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง จากนั้นก็จะดูดซึมกลับเข้าหลอดเลือดดาใหญ่ที่ผิวสมอง น้ำไขสันหลังถูกสร้างขึ้นวันละประมาณ 500 ซี.ซี. แต่ความจุของโพรงสมองของคนปกติทั่วไปมีแค่ประมาณ 70-80 ซี.ซี. บวกกับช่องใต้เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอีก รวมๆ กันก็มีที่ให้น้ำไขสันหลังอยู่ได้ไม่เกิน 150-200 ซี.ซี. เป็นอย่างมากการสร้างและการดูดซึมกลับของน้ำไขสันหลังจึงต้องอยู่ในภาวะสมดุลย์             เพราะฉะนั้นหากมีอะไรเป็นสาเหตุให้มีการสร้างน้ำไขสันหลังมากขึ้นกว่าปกติมากๆ จนดูดซึมกลับไม่ทัน หรือการดูดซึมกลับมีประสิทธิภาพลดน้อยลง หรือแม้แต่การติดขัดของการไหลเวียนของน้ำไขสันหลังจากในโพรงสมองไปยังใต้เยื่อหุ้มสมอง และผิวสมอง ล้วนแล้วแต่ทาให้เกิดน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองได้ทั้งสิ้น             โรคหรือภาวะผิดปกติที่พบบ่อย และทำให้น้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองมีหลากหลาย อาทิ เนื้องอกของหลอดเลือดส่วนที่ทำหน้าที่สร้างน้ำไขสันหลัง ทาให้น้ำไขสันหลังผลิตออกมามากกว่าปกติ หรือเนื้องอกในโพรงสมองหรือเนื้อสมองที่ไปเบียดทำให้น้ำไขสันหลังไหลเวียนได้ไม่ดี หรือโพรงสมองตีบตัน ทั้งจากการตีบตันแต่กำเนิด หรือมีซีสต์ มีพยาธิ์ มีก้อนเลือด ก้อนเนื้อไปอุดตันตามโพรงสมองและเส้นทางไหลเวียนของน้ำไขสันหลัง เป็นต้น              ถ้าเกิดในเด็กที่กระหม่อมยังไม่ปิด หรือตะเข็บกะโหลกยังไม่สมานสนิท กะโหลกก็ยังจะพอขยายได้ แต่นานเข้าก็จะทาให้เนื้อสมองบางลงๆ หัวก็จะโตขึ้นๆ กลายเป็นเด็กหัวบาตร หรือหัวแตงโมอย่างที่เห็นๆ กันอยู่              แต่ถ้าเกิดในเด็กโต วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ กระหม่อมปิดแล้ว ตะเข็บกะโหลกก็สมานสนิทแล้ว กะโหลกขยายไม่ได้อีกแล้ว ก็จะมีอาการปวดหัว ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้ เพราะความดันในกะโหลกศีรษะหรือความดันของน้ำไขสันหลังที่เพิ่มสูงขึ้น จากการคั่งของน้ำไขสันหลังนั่นเอง ซึ่งต้องการการรักษาช่วยเหลือให้ทันท่วงที              คราวนี้มาดูภาวะน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองที่เกิดในผู้สูงอายุกันบ้าง ว่ามันเป็นอย่างไร จะเหมือนๆ กับที่เล่าให้ฟังมาแล้วหรือไม่ เกิดจากอะไร และจะแก้ไขได้อย่างไร            ภาวะน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองในผู้สูงอายุ อาจจะเรียกได้ว่าป็นการคั่งของน้ำไขสันหลังแบบค่อยเป็นค่อยไป จะเรียกว่าแบบเรื้อรังก็ได้ เกิดขึ้นตามสัจจธรรมของพุทธศาสนา หรือความเสื่อมแห่งสังขาร คือเกิดจากการไหลเวียนของน้ำไขสันหลังที่เลวลง ไม่ถึงกับอุดตัน แต่ไหลได้ไม่คล่องเหมือนเดิน ประกอบกับตัวกรองน้ำไขสันหลังกลับเข้าเลือดดำที่หลอดเลือดดำตรงผิวสมองก็ทำงานได้ไม่ดีเหมือนเดิม อาจจะเพราะใช้งานมานาน มีตะกรันตะกอนมาอุดตัน หรืออะไรก็ตามแต่ ซึ่งแม้การสร้างน้ำไขสันหลังจะไม่ไปลี่ยนไปสักเท่าไหร่ แต่ก็สามารถทาให้น้าไขสันหลังคั่งค้างสะสมอยู่ในโพรงสมองได้ วันละเล็กวันละน้อย จะว่าไปอาจจะคั่งค้างเพียงแค่วันละไม่ถึงซี.ซี.ด้วยซ้าไป แต่นานเข้าๆ เป็นปี เป็นหลายๆ ปี มันก็คั่งจนทาให้โพรงสมองขยายโตขึ้นที่ละน้อยจนเบียดเนื้อสมองได้ในที่สุด              เป็นเพราะภาวะน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองชนิดที่เกิดในผู้สูงอายุนี้เกิดอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป จึงทาให้ร่างกายทนการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไปนี้ได้นานกว่าการคั่งของน้ำไขสันหลังในกรณีอื่นๆ อย่างไรก็ดีเมื่อถึงจุดหนึ่งอาการผิดปกติก็ย่อมปรากฏให้เห็น               อาการของภาวะน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองในผู้สูงวัยที่สาคัญไม่ใช่ปวดหัว ไม่ใช่ลมชัก แต่เป็นอาการทางานของสมองที่เปลี่ยนไป ความจำที่แย่ลง การเดินที่ผิดปกติ เดินลำบาก หรือเดินไม่ได้ดี ล้มบ่อย มีอาการเกร็ง อาการสั่นของแขนขา คล้ายคนเป็นโรคพาร์กินสัน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่คล้ายคนที่ต่อมลูกหมากโต             ก็เพราะการที่มันมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ หลายอย่างแบบนี้นี่เองที่ทำให้บางครั้งภาวะน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองในผู้สูงวัยถูกละเลย ถูกมองข้ามไป            การวินิจฉัย ในสมัยนี้ทำได้ไม่ยาก ตั้งแต่การตรวจที่ไม่เจ็บตัว เช่นการใช้เครื่องตรวจสมองด้วยสัญญาณแม่เหล็ก (MRI brain scan) ตรวจดูขนาดของโพรงสมอง ตรวจวัดการไหลเวียนของน้าไขสันหลัง วัดความเร็วการไหลของน้ำไขสันหลังในโพรงสมอง ไปจนถึงการตรวจที่ต้องเจ็บตัวสักหน่อย แต่ให้การยืนยันการวินิจฉัยที่แน่นอนเช่นการเจาะไขสันหลังเพื่อวัดความดันน้ำไขสันหลังโดยตรง เอาน้ำไขสันหลังออกมาตรวจ และทดลองระบายน้ำไขสันหลังทิ้งสัก 40-80 ซี.ซี. หากความดันน้ำไขสันหลังสูงกว่าปกติและเมื่อระบายน้ำไขสันหลังออกเสียบ้างอาการต่างๆ ก็ดีขึ้น เช่น เดินดีขึ้น ไม่เซไม่ล้มง่าย สั่นน้อยลง เกร็งน้อยลง อย่างนี้ก็เชื่อขนมกินได้เลยว่าเกิดภาวะน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองแล้วแน่นอน              สำหรับการรักษา สมัยนี้ก็ไม่ยากเลย เพียงแค่เปลี่ยนทางเดินของน้ำไขสันหลังจากที่มันจะต้องไปดูดซึมกลับที่ผิวสมองเพียงที่เดียว ให้ไปดูดซึมกลับโดยเยื่อบุช่องท้องอีกแรงหนึ่งเท่านี้ก็เรียบร้อย              หลังการรักษาที่ถูกต้อง และทันเวลา คนไข้จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตที่เป็นปกติได้อีกนาน หลายรายที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสัน สามารถลดยาที่กินลงได้มาก และมีอีกจานวนหนึ่งที่อาจจะหยุดยาไปได้เลย              อย่างไรก็ดี ต้องเข้าใจไว้ด้วยว่า ภาวะนี้คือภาวะที่เกิดขึ้นตามสัจจธรรมแห่งสังขารที่เป็นอนิจจัง เพียงแต่ทำอย่างไรจะช่วยให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขกับลูกหลาน เป็นกำลังใจ เป็นที่เคารพให้ลูกหลาน ดูแลท่านให้สมกับที่ท่านได้เลี้ยงดูเรามา มีบุญคุณกับเราอย่างชนิดที่ไม่สามารถทดแทนได้หมด ไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ชาติก็ตาม      ที่สาคัญ สักวันหนึ่ง เมื่อเราสูงวัย เราก็มิอาจหนีสัจจธรรมนี้ไปได้เช่นกัน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การเตรียมตัวสำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การเตรียมตัวสำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ           การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ      จะได้ผลที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุดจะต้องเก็บสิ่งส่งตรวจอย่างถูกวิธีและเหมาะสม  ดังนั้นการเตรียมตัวและเก็บสิ่งส่งตรวจอย่างถูกวิธี ปริมาณเพียงพอจึงเป็นเรื่องสำคัญ 1.  การตรวจเลือด      1.   การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด  ต้องอดอาหารอย่างน้อย 8  ชั่วโมง            -  สามารถดื่มน้ำเปล่าได้            -  ห้ามดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ ทุกชนิด            -  การตรวจหาระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม  (Hb  A1C)  ไม่ต้องอดอาหาร        2.   ต้องตรวจหาระดับไขมันในเลือด  ต้องอดอาหารอย่างน้อย  12  ชั่วโมง              -  สามารถดื่มน้ำเปล่าได้                -  ห้ามดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ ทุกชนิด        3.    ควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถพับแขนเสื้อขึ้นได้ เพื่อสะดวกในการเจาะเลือด ** หลังจากเจาะเลือดต้องกดปากแผล หรือพับแขนจนเลือดหยุดไหล  หรือประมาณ 5 นาที  หากเลือดไม่หยุดไหล  ควรแจ้งเจ้าหน้าที่** 2. การเก็บปัสสาวะ      การเก็บปัสสาวะ  เก็บได้ตลอดเวลา (Random Urine)  เป็นการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ  การทดสอบการตั้งครรภ์  การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ  เป็นต้น การเก็บปัสสาวะ  มีวิธีการเก็บ คือ 1. ทำความสะอาดบริเวณที่ขับถ่ายปัสสาวะ 2. ปัสสาวะส่วนแรกทิ้งไป 3. เก็บปัสสาวะส่วนกลางประมาณ 10-30 ml (1/2 กระป๋อง) ลงในภาชนะที่สะอาด  ปิดฝาสนิท 4. นำส่งเจ้าหน้าที่ **  กรณีเก็บมาจากบ้าน  ควรส่งตรวจภายใน  2 ชั่วโมง **  กรณีที่ต้องเพาะเลี้ยงเชื้อ  จะต้องใส่ภาชนะที่ปราศจากเชื้อที่จัดให้ 3.  การเก็บอุจจาระ      เก็บอุจจาระประมาณ 1 ช้อน  ใส่ในกระป๋อง      -  โดยเลือกส่วนที่ผิดปกติ  เช่น มีมูกเลือด  หรือบริเวณที่สงสัยว่ามีพยาธิ  โดยหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนปัสสาวะ       -  กรณีถ่ายอุจจาระเหลวให้เทบางส่วนใส่ภาชนะ  ปิดฝาให้สนิท ** กรณีเก็บมาจากบ้าน  และอุจจาระมีลักษณะอ่อนจนถึงแข็ง  ไม่เหลว สามารถส่งภายใน 2 ชั่วโมง 4.  การเก็บเสมหะ         1.   ควรเก็บในตอนเช้า  หลังจากตื่นนอนใหม่ๆ      2.  บ้วนปากหลายๆครั้งด้วยน้ำธรรมดา  ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปาก      3.  หายใจเข้าลึกๆ  แล้วไอออกมา  เพื่อให้ได้เสมหะแล้วบ้วนลงกระป๋อง  ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าเป็นเสมหะ  ไม่ใช่น้ำลาย  โดยเสมหะควรมีลักษณะเป็นเมือก  เหนียว  ขุ่นข้น  มีสีเหลือง  สีเขียว  หรือสีแดงปน  ปิดฝาให้สนิท      4.  นำส่งเจ้าหน้าที่ **  กรณีเก็บเสมหะจากบ้าน  ควรส่งตรวจภายใน  2 ชั่วโมง ถ้าไม่สามารถนำส่งได้ให้เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส  ไม่เกิน 24  ชั่วโมง **  กรณีเก็บเสมหะเพื่อตรวจเชื้อวัณโรค 3 วัน สามารถเก็บทั้ง  3 กระป๋อง  โดยเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส  แล้วนำส่งพร้อมกัน  แต่ไม่ควรนานเกิน 7 วัน หมายเหตุ   ในการนำส่งตัวอย่าง  จะต้องมีการบ่งชี้  ชื่อ-สกุล และ Hospital  No. ให้ชัดเจน                                                                     ด้วยความปรารถนาดีจาก รพ.วิภาวดี 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

แนะวิธีดูแลสุขภาพในช่วงหน้าฝน

แนะวิธีดูแลสุขภาพในช่วงหน้าฝน          วิธีการดูแลสุขภาพในช่วงหน้าฝน คุณสามารถทำได้ โดยให้เน้นการออกกำลังอย่างน้อยวันละ 30 นาที  และควรเลือกบริโภคผักและผลไม้ที่ให้วิตามินสูง  ซึ่งจะช่วยป้องกันไข้หวัดได้ดี           ช่วงนี้เป็นช่วงที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวก็ร้อนมาก  เดี๋ยวก็ฝนตกเพราะฉะนั้นควรหันมาดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้นเป็นพิเศษ  เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้  โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ    โดยเฉพาะโรคไข้หวัดเพราะหากป่วยเป็นไข้หวัดและไม่มีการดูแลสุขภาพที่ดี   อาจส่งผลให้กลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบและโรคปอดบวมได้ในที่สุด   และสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ควรต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษมากกว่าคนอื่น  และควรที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง  แล้วยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคอีกด้วย การออกกำลังกายสามารถทำได้หลายวิธี  เช่นการเต้นแอโรบิค   การเดินเร็วๆ การวิ่งเหยาะ  การขี่จักรยาน    หรือการเล่นกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง  และการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ การออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 5 วัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที  แค่นี้ก็เพียงพอ ที่จะเกิดภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย         การเริ่มต้นออกกำลังกาย ควรเริ่มจากเบาๆ ระยะเวลาน้อยๆ   ก่อนแล้วค่อยเพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละสัปดาห์เพื่อให้ร่างกาย ปรับตัว จากนั้นจึงเพิ่มความแรงหรือความหนัก และย้ำว่าไม่จำเป็นต้องหนักหรือเหนื่อยมาก  การออกกำลังกายมากเกินไปโดยเฉพาะในอากาศที่ร้อนจัด จะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) ได้ง่าย และเป็นโรคที่อันตรายมาก   ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิร่างกายสูงมาก   เหงื่อไม่ออก  หมดสติ  ไต หัวใจ  ตับวาย  อาจมีเลือดออกทุกอวัยวะ  ถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ ระหว่างออกกำลังกาย  ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยเฉพาะน้ำที่มีเกลือแร่ด้วย   สิ่งสำคัญ  ที่ต้องคำนึงถึงนอกจากการออกกำลังกาย  คือ การรับประทานอาหาร  ควรเน้นการรับประทานผัก ให้หลากหลายทั้งสดและลวก  ต้ม  ผัด  และรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น  ส้ม  ฝรั่ง  มะเขือเทศ   องุ่น สัปปะรด มะละกอ  เป็นต้น เพราะจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย  ดังนั้น   หากเราดูแลสุขภาพตน เองได้ตามข้อปฏิบัติดังกล่าว  ไม่เพียงแต่จะช่วยให้มีสุขภาพดีในช่วงหน้าฝนเท่านั้น  แต่ยังจะส่งผลต่อการมีสุขภาพดีในระยะยาวด้วย                                                               ด้วยความปรารถนาดีจาก รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

สิว สิว ( Acne & its management )

สิว สิว ( Acne & its management ) ปัจจัยการเกิดของสิว 1. การเพิ่มการแบ่งตัวของผิวชั้น Basal Keratinocytes ที่ผิดปกติ 2. การอุดตันของท่อ Pilosebaceous  3. การเพิ่มการสร้าง Sebum ที่เกี่ยวข้องกับ ฮอร์โมน Androgen 4. เกิดการย่อย Comedone โดยเชื้อ P. acne 5. การเกิดการอักเสบภายในรูขุมขนและต่อมไขมัน ประเภทของสิว 1. สิวอุดตัน สิวที่ขึ้นใหม่ เม็ดเล็กสีขาว รีบรักษาให้หายในระยะนี้ไม่มีแผลเป็น 2. สิวอักเสบ เกิดจากสิวที่อุดตันและอักเสบจากภายในจากกรดไขมัน และเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะเป็นตุ่มแดง ตุ่มหนองหรือเกิดอาการบวมแดง ร้อน เจ็บ คล้ายฝี หรือเรียกว่าสิวหัวช้าง สิวชนิดนี้มักเกิดแผลเป็นตามมาภายหลัง และรักษายากกว่า  ข้อควรปฏิบัติในการรักษา สิว และข้อควรรู้ 1. ไม่ควรรีบร้อนในการรักษา เพราะสิวที่เป็นมากและรุนแรงต้องใช้ระยะเวลา โดยเฉพาะรอยแผลจากสิว อาจใช้เวลาถึง 6 เดือน 2. ไม่เช็ดหน้าแรงๆ หรือขัดถูหน้าแรงเกินไป เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดสิวมากขึ้น  3. ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ด้วยสบู่อ่อนๆ หรือโฟม และเครื่องสำอางที่ใช้ ไม่ก่อให้เกิดสิว (Non Comedone)  4. ไม่ลูบคลำหน้าหรือจับหน้าบ่อยๆ หรือบริเวณที่เป็นสิวบ่อยๆ รวมถึงการไม่บีบ แกะสิว 5. การอดนอน ความเครียดต่างๆ ที่เกิดขึ้น มักทำให้สิวเห่อง่าย 6. ยาทา หรือยารับประทาน ควรใช้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อย่าปรับยาเองหรือกินยาเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 7. เมื่อสิวหาย อย่าหยุดใช้ยาทันที ควรใช้อย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำ “อย่าปล่อยให้สิวเป็นมากเพราะอาจจะสายเกินแก้” 8. ฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิวได้มากในช่วงอายุ 15- 30 ปี อาจใช้ฮอร์โมนช่วยในการรักษา (Homonal Therapy) จากฮอร์โมน Estrogen         “สิวอักเสบและรุนแรงอาจต้องใช้ยา ทั้งชนิดทา และรับประทานร่วมกัน”           ทางการแพทย์เชื่อว่า การรักษาสิวอักเสบและรุนแรงได้ผลดีที่สุด คือ ยารับประทานยากลุ่ม Retinoid อย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป               สอบถามเพิ่มเติม ศูนย์ผิวหนังและเลเซอร์ รพ.วิภาวดี โทร. 0-2561-1111 กด 1

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ยาตีกัน ภัยเงียบผู้ใช้ยา อันตรายถึงตายได้

ยาตีกัน ภัยเงียบผู้ใช้ยา อันตรายถึงตายได้ โดย ภก.จตุพร ทองอิ่ม เภสัชกรประจำศูนย์บริการสาธารณสุข 51 วัดไผ่ตัน สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร  ยาตีกันคืออะไร            “ยาตีกัน” หมายถึงการที่ฤทธิ์ของยาตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อได้รับยาอีกตัวหนึ่งร่วมด้วย โดยผลที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดผลการรักษาที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ตั้งใจ หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์ หรืออาจทำให้ผลการรักษาลดลงก็ได้ หรือบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ยาตีกันจะเกิดผลมากน้อยขึ้นกับสภาวะของผู้ป่วย ระยะเวลาที่ใช้ยาร่วมกัน และขนาดยาที่ใช้ด้วย สาเหตุของยาตีกัน มาจากอะไร           -  อาจมาจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ป่วย หรือ การได้รับยาจากสถานพยาบาลหลายแห่ง แพทย์ หรือเภสัชกรคนละคน  โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งต้องรักษาต่อเนื่องและกินยาหลายขนาน  เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง  มักได้รับยามาจากสถานพยาบาลหลายแห่ง โดยแต่ละแห่งไม่ทราบข้อมูลว่าผู้ป่วยรับประทานยาอะไรอยู่บ้างเป็นประจำ      -  หรืออาจมาจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของตัวผู้ป่วยเอง เช่น การที่ผู้ป่วยไปหาซื้อยา อาหารเสริม หรือแม้แต่สมุนไพรมารับประทานเอง นอกจากเกิดปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อนแล้ว ยังอาจเกิด “ยาตีกัน” ได้    กรณีตัวอย่างของยาตีกัน ที่พบได้บ่อย และเป็นอันตรายมีอะไรบ้าง           - ยาปฏิชีวนะบางชนิดจะตีกันกับยาที่ผู้ป่วยได้รับอยู่แล้ว เช่น ยาลดไขมัน  ยาหัวใจ ยาขยายหลอดลม เป็นต้น ทำให้ระดับยาในเลือดของยาเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้น  ในผู้ป่วยบางคนอาจเป็นอันตรายได้          - ผู้ป่วยที่ได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ต้องระมัดระวังในการซื้อยาหรืออาหารเสริมมารับประทานร่วมด้วย   เพราะอาจเกิดปฏิกิริยากัน ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติและอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้            - การรับประทานยาฆ่าเชื้อบางกลุ่ม ร่วมกับยาลดกรด หรือแคลเซียม  เหล็ก  วิตามินบางชนิด จะทำให้การดูดซึมของยาฆ่าเชื้อลดลงกว่าครึ่ง  ผลการฆ่าเชื้อก็ลดลงด้วย         - ยาตีกับอาหารเสริม หรือสมุนไพรบางชนิด นอกจากยาตีกันเองแล้ว อาหารเสริมที่ไม่ได้จัดเป็นยาหรือสมุนไพรบางชนิดก็สามารถ “ตีกับยา” ได้  เช่น น้ำผลไม้บางชนิด กระเทียม หรือแป๊ะก๊วย อาจเพิ่มฤทธิ์ของยาที่ต้านการเกาะกันของเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน หรือยาที่ต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin ได้    . ในส่วนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือการรับประทานอาหารเสริม รวมถึง การสูบบุหรี่ หรือ การดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งเหล่านี้จะมีฤทธิ์ตีกับยาหรือไม่ อย่างไร?         - พฤติกรรมของผู้ป่วย ในเรื่องการรับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า ล้วนมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาทั้งสิ้น การสูบบุหรี่จะทำให้ยาทั้งหลายออกฤทธิ์ลดลง ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ต้องการขนาดยาที่จะได้ผลการรักษาที่สูงกว่าคนอื่นทั่วไป เช่นเดียวกับแอลกอฮอล์จะทำให้ผลการรักษาของยาเปลี่ยนแปลงไป             - ยาบางอย่าง เช่น ยาเบาหวาน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือเกิดอาการที่เรียกว่า disulfiram-like effect          -  น้ำผลไม้บางชนิดโดยเฉพาะน้ำเกรฟฟรุต (ขนาด 250 ซีซี) จะทำให้ระดับยาในเลือดของยาที่รับประทานร่วมด้วยสูงขึ้น เช่น ยาลดไขมัน ยากดระบบประสาท เป็นต้น         - อาหารเสริม หรือสมุนไพรบางชนิด    นอกจากยาตีกันเองแล้ว อาหารเสริมที่ไม่ได้จัดเป็นยาหรือสมุนไพรบางชนิดก็สามารถ “ตีกับยา”ได้  เช่น น้ำผลไม้บางชนิด กระเทียม หรือแป๊ะก๊วย อาจเพิ่มฤทธิ์ของยาที่เพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้  แนวทางการแก้ปัญหายาตีกัน ใช้ยาซ้ำซ้อน           - จากปัญหาในการใช้ยาที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ  และจากภารกิจหลักของเภสัชกรที่จะต้องสร้างหลักประกันความปลอดภัยในการใช้ยาให้กับผู้ป่วยและประชาชน สภาเภสัชกรรม จึงได้จัดทำ “สมุดบันทึกยา” ขึ้น  เพื่อบันทึกประวัติการใช้ยาประจำตัวผู้ป่วย  ใช้เป็นเครื่องมือของเภสัชกรในภาคส่วน   ต่าง ๆ ทั้งในโรงพยาบาลและร้านยาที่จะได้ร่วมกันดูแลความปลอดภัยในการใช้ยาของประชาชน         - “สมุดบันทึกยา”  นี้จะมีข้อมูลรายการยาที่ผู้ป่วยใช้  ไม่ว่าจะได้จากสถานพยาบาลใด ซึ่งจะช่วยให้ตรวจสอบ ดูแล ปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วย ได้อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษา ช่วยให้แพทย์หรือเภสัชกรไม่จ่ายยาที่ซ้ำซ้อนกับยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่  หรือเลือกจ่ายยาที่ไม่ “ตี” กับยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่  เป็นต้น  ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ยา   ในสมุดบันทึกยานอกจากจะมีรายการยาทั้งหมดที่ผู้ป่วยได้รับแล้ว  ยังมีการบันทึกรายละเอียดที่สำคัญของผู้ป่วยไว้ ทั้งประวัติการแพ้ยา อาการข้างเคียงของยาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย  พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์  เป็นต้น        - สภาเภสัชกรรมได้ขอความร่วมมือจากเภสัชกรในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเภสัชกรในร้านยา  ให้ช่วยบันทึกรายการยาหรือออกบันทึกยาที่จ่ายให้กับผู้ป่วยและประชาชนที่เข้ารับบริการด้านยาจากท่านทั้งในโรงพยาบาล  ร้านยา  ศูนย์บริการสาธารณสุข ต่าง ๆ   พร้อมให้คำแนะนำการใช้ยาอย่างถูกวิธี  เพื่อเพิ่มผลการรักษา ลดความซ้ำซ้อนของยา ป้องกันผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยในการใช้ยา    โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง         - อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ป่วยและประชาชนผู้ใช้ยา ควรดูแลบันทึกการใช้ยาของตนเองด้วยเพื่อความปลอดภัย   รวมถึงการบันทึกรายการยา สมุนไพร อาหารเสริม ที่ประชาชนหาซื้อมาใช้เองเพิ่มเติม เพื่อให้มีบันทึกยาที่สมบูรณ์ ที่จะเป็นเครื่องมือในการป้องกันอันตรายจากยาและช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาอย่างแท้จริง จะขอรับสมุดบันทึกยาได้ที่ไหน        -ผู้ป่วยโรคเรื้องรังสามารถขอคำปรึกษาจากเภสัชกรที่อยู่ประจำหน่วยบริการ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล หรือร้านยา โดยเฉพาะ “ร้านยาคุณภาพ”  ซึ่งจะช่วยดูแลการใช้ยาอย่างต่อเนื่องเสมือน “เภสัชกรประจำครอบครัว (Family Pharmacist)” พร้อมขอรับสมุดบันทึกยา  โดย รวบรวมยาทุกรายการที่ใช้อยู่เป็นประจำมาให้เภสัชกรตรวจสภาพและลงบันทึก รายการและขนาดยาทั้งหมดในบันทึกยาประจำตัวท่านได้ตั้งแต่วันนี้   และควรพกสมุดบันทึกยานี้ติดตัวทุกครั้งที่ไปพบแพทย์หรือไปซื้อยากับเภสัชกรที่ร้านยา  เพื่อลงรายการยาที่ได้รับเพิ่ม ทั้งนี้เพื่อผลการรักษาที่คุ้มค่าและปลอดภัยกับตัวท่านเอง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กระ ฝ้า (Melasma)

กระ ฝ้า  (Melasma)             สาเหตุการเกิดฝ้า เกิดจากกระบวนการสร้างสีของเซลล์เม็ดสี (Melanocyte) ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นรอยสีน้ำตาลบนผิวหนัง ปัจจัยที่ทำให้เกิด คือ รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) ที่อยู่ในแสงแดดฮอร์โมนและกรรมพันธุ์ เมื่อเม็ดสีดำ (Melanin) สะสมมากขึ้นเป็นเวลานาน ทำให้เห็นเป็นแผ่นหรือเป็นวงสีน้ำตาลชัดเจน บริเวณที่มักจะเกิดฝ้ามาก็คือ โหนกแก้ม สันจมูก หน้าผาก           สาเหตุหนึ่งของการเกิดฝ้า คือ การใช้ยาบางตัวเช่น hormone ยาคุมกำเนิด, พันธุกรรม, สารบางอย่าง สารกระตุ้นการอักเสบความร้อนและแสงแดด           การทายาหรือครีมกันแดดไม่สามารถป้องกันได้ 100% จึงอาจเป็นฝ้า กระ รอยเหี่ยวย่นหรือมะเร็งผิวหนังได้ ถ้าต้องอยู่กลางแสงแดดเป็นเวลานานๆ หรือบ่อยๆ          โอกาสการเกิดฝ้า ในผู้หญิงจะมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เซลล์เม็ดสีทำงานมากผิดปกติ ช่วงตั้งครรภ์หรือช่วงรับประทานยาคุมกำเนิด หรือการรับประทานฮอร์โมนช่วงวัยทอง การรักษาและดูแลฝ้า 1. หลีกเหลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง ควรใช้ครีมกันแดดที่มี SPF ตั้งแต่ 30 PA+++ขึ้นไป และใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวก ร่ม แว่นตากันแดด เป็นต้น 2. การดูแลรักษาโดยใช้ยาที่มีประสิทธิภาพ ที่สามารถควบคุมการสร้าง Melanin หรือกินวิตามินกลุ่ม Anti-oxidant ที่ปราศจากสารปรอท และลดการสร้างเม็ดสีที่มีประสิทธิภาพ และยาที่ใช้ควรมีความปลอดภัยมีผลข้างเคียงน้อย ซึ่งการรักษาที่มีประสิทธิภาพทำให้ฝ้าจางลง 80-90% และมีการรักษาอื่นร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา 1. AHA Treatment 2. การทำ Treatment lonto, Phono, Microdermabrasion 3. การรักษาด้วยเลเซอร์ ที่มีผลต่อการลดเม็ดสี (Pigmented Laser) เช่น Nd Yag, VPL/IPL เป็นต้น           ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากแพทย์ผิวหนังที่ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและปราศจากผลข้างเคียงและปลอดภัย   กระ (Freckle)           จุดดำจากกระ (Freckles) และจุดดำจากกระลึก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันคือ จุดดำจากกระ หรือเรียกว่า “ตกกระ”             ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลที่อยู่ตื้นๆ พบมากในคนที่มีผิวขาว ตำแหน่งที่เกิดบ่อย คือบริเวณโหนกแก้มและสันจมูก อาจพบทั่วใบหน้า แขน คอ และหน้าอก หรือบริเวณนอกร่มผ้าก็อาจเป็นได้ สาเหตุของการตกกระมาจากการที่ผิวหนังบริเวณนั้นโดยแสงแดดเป็นเวลานาน กระลึก (ปานโอตะและปานโอริ)              พบได้ประมาณ 20-30% ของชาวเอเชีย ไทย ญี่ปุ่น แตกต่างจากการตกกระ คือ เป็นจุดสีออกเทาดำขอบเขตไม่ชัดเจนและมีความแตกต่างจากฝ้าตรงที่ฝ้าจะมีลักษณะเป็นแผ่น ตำแหน่งที่พบบ่อยคือโหนกแก้ม ดั้งจมูก ปานโอตะจะแตกต่างจากปานโอริตรงที่ปานโอตะนอกจากจะเกิดที่ผิวหนังปกติแล้วยังสามารถเกิดที่บริเวณเยื่อบุของร่างกายได้ เช่นบริเวณเยื่อบุตาขาวหรือเพดานปาก สาเหตุการเกิดกระเนื้อ กระลึก (ป่านโอตะและปานโอริ)  ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน เป็นอาการที่เกิดได้เองตามธรรมชาติ และค่อยๆแสดงอาการชัดเจนขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ สามารถพบได้ตั้งแต่เกิด หรือพบตอนเป็นผู้ใหญ่ วิธีการรักษา           การรักษา จุดดำจากกระ “ตกกระ” 1. การใช้ยากลุ่ม Whitening โดยที่กลไกออกฤทธิ์หลายประเภท เช่น การกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ หรือออกฤทธิ์ลดการสร้างสีผิว ทำให้ผิวขาวขึ้น การกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ 2. การใช้น้ำยากรดเข้มข้นแต้ม บริเวณที่ตกกระ ทำให้เป็นสะเก็ดแล้วหลุดลอกออก ต้องอาศัยความชำนาญจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็น 3. การทำ Treatment ต่างๆ ที่ใช้การส่งผ่านตัวยาลงไปในผิวหนังได้ลึกกว่าปกติ ซึ่งทำให้กระจางลง 4. การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ ที่มีผลต่อเม็ดสี (Pigmented Laser) เช่น Ruby Laser กลุ่ม Nd Yag Laser และ IPL ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง เพื่อเลือกชนิดของเลเซอร์และตั้งพลังงานในการรักษาที่เหมาะสมให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและปราศจากผลข้างเคียง ซึ่งหลังจากการทำการรักษาด้วยเลเซอร์ กระจะตกสะเก็ดและหลุดออกภายใน 1 สัปดาห์   การรักษา (ปานโอตะและปานโอริ)            ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการรักษาโดยเลเซอร์ที่ใช้เฉพาะกับเม็ดสี ได้แก่ ruby laser หรือและ Q-Switched Nd-YAG laser ซึ่งการที่จะเลือกใช้เลเซอร์ชนิดใดต้องอาศัยความรู้และความชำนาญจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนัง (Dermatologist) โดยทั่วไปการทำเลเซอร์แต่ละครั้งจะทำให้ดีขึ้น 20-30% และต้องรักษาหลายครั้งโดยแต่ละครั้งห่างกันเฉลี่ย 1-3 เดือน ข้อแนะนำ • เมื่อมีจุดด่างดำบนใบหน้า ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางผิวหนัง (Dermatologist) เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาได้อย่างถูกวิธีได้ประสิทธิผลสูงสุด             “สิ่งที่สำคัญที่สุด   ในการป้องกันและรักษาคือการหลีกเลี่ยงแสงแดดให้มากที่สุด”                              ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์ผิวหนังและเลเซอร์                                                         รพ.วิภาวดี โทร. 0-2561-1111 กด 1   

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

มือชา-นิ้วล็อค โรคฮิตของคนทำงาน

มือชา-นิ้วล็อค โรคฮิตของคนทำงาน               เป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีผู้เข้ามาปรึกษาแพทย์ทางกระดูกและข้อ เกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดกับมือ และต้องเข้ารับการฟื้นฟู ทำกายภาพบำบัดจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งหญิงและชาย ที่พบเป็นประจำได้แก่ อาการมือชาจนอ่อนแรงหยิบจับอะไรแทบไม่ได้ และอาการของนิ้วล็อค คือนิ้วบางนิ้วแข็งเกร็งขยับแทบไม่ได้ เมื่องอ  หรือเหยียดนิ้วออกแล้วจะเจ็บปวดมาก               เมื่อสอบถามประวัติแต่ละคนก็ได้คำตอบคล้ายๆกันคือ ส่วนใหญ่เป็นคนที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำ บางคนมีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์ นักออกแบบ พนักงานบัญชี นอกเหนือไปจากนั้นก็ได้แก่ หนุ่มๆ นักกอล์ฟ กลุ่มสาวๆ พนักงานนวด (แผนไทย) คนทำงานตามโรงงาน ที่ต้องใช้มือหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ พ่อครัวที่ต้องสับเนื้อหั่นผักตลอดเวลา แม้กระทั่งแม่บ้านที่ทำงานซักผ้า ถูบ้านต้องออกแรงบิดผ้าเสมอๆ             เรามาดูกันดีกว่าครับว่าอาการผิดปกติเหล่านี้ มันเกิดขึ้นได้อย่างไร หากใครที่กำลังเริ่มเป็นจะได้ไหวตัวทัน และไปรับการรักษาก่อนอาการจะเป็นมากขึ้นนะครับ  โรคมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ             โรคมือชานี้ เกิดจากการที่เส้นประสาทที่พาดผ่านบริเวณข้อมือถูกกดทับ ซึ่งเส้นประสาทนี้จะผ่านจากแขนไปยังข้อมือ เพื่อไปรับความรู้สึกที่บริเวณมือ โดยทอดผ่านบริเวณข้อมือ และลอดผ่านเอ็นที่ยึดบริเวณข้อมือ อาจมีสาเหตุบางประการ ที่ทำให้เส้นประสาทนี้ถูกกดทับได้ จึงทำให้มือชา ร่วมกับมีอาการปวดชา ร้าวไปยังท่อนแขนหรือต้นแขนได้ และบางคนพบว่ามือข้างที่เป็นอ่อนแรง หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด ถ้าทิ้งไว้จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มืออาจจะแฟบลง เมื่อเทียบกับมืออีกข้างหนึ่ง พบในเพศหญิงมากกว่าชาย ระหว่างวัย 30-60 ปี อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุ...            สิ่งใดก็ตามที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการบวม และการระคายเคืองของเยื่อบุข้อที่อยู่รอบๆ เส้นเอ็น ทำให้เส้นประสาทถูกกด เช่น เกิดการกระแทกที่บริเวณข้อมืออยู่เป็นประจำ เช่นใช้เครื่องตัดหญ้า เครื่องเจาะสกรู กำไม้เทนนิส ไม้กอล์ฟ กระดูกข้อมือหัก หรือการหลุดเคลื่อนของข้อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (ไขข้ออักเสบ) คนที่เป็นเบาหวาน ในผู้หญิงตั้งครรภ์ และคนที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจากการหมดประจำเดือน  ถ้ามีอาการเบื้องต้นต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ          - มีอาการชา และรู้สึกซ่าในบริเวณมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการมักจะเกิดในตอนกลางคืน ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับท่าทางในการนอน และหลังจากการใช้มือข้างนั้น ๆ          - การรับความรู้สึกที่บริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนางลดลง ทำให้หยิบจับของไม่ถนัด          - มีอาการรู้สึกแปล๊บๆ หรือคล้ายกับไฟฟ้าช็อต เมื่อทำการเคาะลงตรงข้อมือ ในบริเวณที่มีเส้นประสาททอดผ่าน อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้น ในคนที่งอมือเข้าหาท้องแขนเป็นเวลา 1 นาที ถ้าเส้นประสาทนี้ถูกกดทับเป็นเวลานาน จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือแฟบลง การรักษา  ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย อาจจะใช้วิธีการรักษาโดยวิธีดังต่อไปนี้           - ใส่เครื่องพยุงข้อมือในช่วงเวลากลางคืน เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมืองอเวลานอน และช่วยให้เยื่อบุข้อมือ และเส้นเอ็นที่อักเสบยุบจากอาการบวม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ          - รับประทานยาลดการอักเสบ          - ถ้าอาการเป็นมากขึ้น แพทย์อาจจะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าไปในบริเวณที่เส้นประสาททอดผ่าน ซึ่งยานี้จะแพร่กระจายไปยังบริเวณเยื่อบุผิวข้อ และเส้นเอ็นที่มีการอักเสบ และบวม ทำให้อาการบวมยุบลง การกดเส้นประสาทก็น้อยลง ปริมาณของยาที่ใช้ฉีดไม่มากนักและไม่มีอันตรายที่รุนแรง การรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้จะได้ผลดี ในกรณีที่เส้นประสาทไม่ถูกกดทับมากนัก ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยตัดเอาส่วนของพังผืด เส้นเอ็นในส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก หลังผ่าตัดอาการก็จะดีขึ้น อาการปวดลดลง อาการชาลดลง แต่อาจไม่ถึงกับหายสนิทยังจะต้องใช้ เวลาอีกสักระยะหนึ่ง                                                               ด้วยความปรารถนาดี จากรพ.วิภาวดี  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การกำจัดเชื้อราหลังน้ำท่วม

การกำจัดเชื้อราหลังน้ำท่วม   การสํารวจว่ามี เชื้อราหลังน้ำท่วมหรือไม่ อาจทําได้ 2 ทางคือ ดูด้วยตา เช่น พบเห็นผนังมี รอยเปื้อน หรือมี ลักษณะเชื้อราขึ้น  ดมกลิ่น กลิ่นเชื้อราเป็นกลิ่นเหม็นอับทึบ หรือเหม็นคล้ายกลิ่นดิน (earthy smell)   หากสงสัยว่ามีเชื้อรา ให้ปฏิบัติ ดังนี้  ให้ใช้หลักว่าสิ่งของใดที่ไม่สามารถกําจัดเชื้อราได้หมดจดให้ทิ้งไป เลยโดยเฉพาะวัสดุที่มี รูพรุนซึ่งไม่สามารถชะล้างและทําให้แห้งได้จะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อรา อยู่ต่อไปนอกจากนี้เชื้อราที่ตายแล้ว ก็ยังอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ได้ ถ้าเป็น สิ่งของที่ทําด้วยผ้าหากต้มได้ต้องฆ่าเชื้อด้วยการต้มด้วยน้ำร้อนก่อนจึงจะนํามาใช้อีก  รีบทําควาะอาดพื้นและผนังโดยการขัดล้างให้เร็วที่สุดภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังน้ำลดระหว่างทําความสะอาดให้เปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ    และเปิดพัดลมเพื่อช่วยให้ แห้งโดยเร็วเริ่มแรกควรล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อนแล้วตาม   ด้วยการขัดล้างด้วยน้ำยา 0.5 % sodium hypochlorite    ถ้าเป็นการขัดผนังปูนหรือพื้นผิวที่ หยาบควรขัดด้วยแปรงชนิดแข็งถ้าไม่ใช้น้ำยา 0.5% sodium hypochlorite อาจผสมน้ำยาใช้ เองโดยใช้ผงฟอกขาวที่มีใช้อยู่ตามบ้านปริมาณ 1 ถ้วยตวงผสมกับ น้ำ 1แกลลอนก็ได้ ส่วน   ผู้ทําความสะอาดต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายได้แก่  รองเท้าบู๊ทยาง  ถุงมือยางสําหรับทํางานบ้าน  แว่นป้องกันตา  หน้ากากอนามัย เมื่อขัดล้างเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง หรืออาจใช้ไฟสปอร์ตไลท์ส่องเพื่อช่วยให้แห้งเร็วขึ้น   นอกจากนี้หากพบว่ามีเชื้อราฝังแน่นตามผนัง ไม่สามารถขัดล้างออกได้ ควรเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรทาสีทับ และหากเป็นห้อง ที่มีเครื่องปรับอากาศควรล้างทําความสะอาดเครื่องปรับอากาศไปพร้อมกันด้วย  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<