ไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุต่างจากไข้หวัดในคนทั่วไปอย่างไร

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อยและมักจะมีการระบาดช่วงฤดูฝน อาการโดยทั่วไปอาจจะทำให้เป็นไข้, ไอ, ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงอาการจะหายเองในเวลา 3-5 วัน แต่ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล จากข้อมูลในประเทศไทยพบว่ากลุ่มที่มีอัตราการต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลสูงที่สุดจากโรคไข้หวัดใหญ่คือในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ1   “ไข้หวัดใหญ่” ร้ายกว่าที่คิดในผู้สูงอายุอย่างไร การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายนอกเหนือจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบมากกว่าคนทั่วไป 8เท่า2 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดเลือดตีบที่หัวใจมากกว่าคนทั่วไป 10 เท่า2 23% จะสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเองหลังจากเจ็บป่วยจากไข้หวัดใหญ่3 ในคนไข้เบาหวาน 75% จะมีปัญหาต่อระดับน้ำตาลที่ผิดปกติ4 และโรคหัวใจ อย่าเสี่ยงดีกว่า กับไวรัสไข้หวัดใหญ่ 4 ใน 10 ของ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะเพิ่มความเสี่ยงให้โรคหัวใจกำเริบ12 การติดเชื้อทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดฉับพลัน12 การติดเชื้อกระตุ้นให้ไขมันมันที่สะสมในผนังหลอดเลือดปริแตก ทำให้เก,ดเลือดเกาะตัวและอุดตัน13 ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันนำไปสู่การเสียชีวิต13   สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence)5  ทำให้เกิดการตอบสนองต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันลดลงดังจะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุจะตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าในวัยผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โรคที่ติดตัวอยู่เป็นประจำรักษาไม่หายขาด (Underlying disease) การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคปอดเรื้อรัง จะเพิ่มการเสียชีวิตได้หากมีโรคทั้งสองร่วมกัน6 ภาวะเปราะบาง (Frailty) ในผู้สูงอายุ นอกจากจะทำให้การตอบสนองต่อการได้รับภูมิคุ้มกันแย่ลงแล้ว การมีภาวะเปราะบางร่วมกับความเจ็บป่วยอื่นๆ ยังทำให้เกิดความพิการ7 ซึ่งมีโอกาสต้องพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้นอีกด้วยเช่น ภาวะเปราะบางกับโรคไข้หวัดใหญ่ โดยพบว่าหากเกิดร่วมกันจะทำให้ความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคลดลง ในขณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่มีโรคร่วมหรือโรคประจำตัวหลายอย่างการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะส่งผลให้เกิดภาวะเปราบางเพิ่มขึ้น นำไปสู่การได้รับผลกระทบจากตัวโรคที่เพิ่มขึ้นและการตอบสนองต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ลดลงในผู้ป่วยกลุ่มนี้   ไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้หรือไม่ โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เพราะในแต่ละปีเชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลง และพบการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดเชื้อตัวใหม่ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในแต่ละปีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเชื้อที่ระบาดในช่วงเวลานั้น โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาด ใน การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มีประโยชน์อย่างไรบ้างนอกจากป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ พบว่าการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่6 ลดอัตราการเกิดmajor adverse cardiovascular event ลดได้ 34% ลดอัตราการเกิดacute coronary syndrome  ลดได้ 45% ลดอัตราการเกิด cardiovascular death ลดได้ 56%   ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง (high dose) สำหรับผู้สูงอายุซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น8  และยังสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ลดการนอนโรงพยาบาลจากจากปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่  ลดการนอนโรงพยาบาลจากระบบทางเดินหายใจ และลดการนอนโรงพยาบาลจากไข้หวัดใหญ่ได้อีกด้วย9 วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง (high dose) สำหรับผู้สูงอายุ มั่นใจได้ในประสิทธิภาพและความปลอดภัย จากประสบการณ์ กว่า 10 ปี ใช้มาแล้วมากกว่า 202 ล้านโด้ส ในกว่า 35 ประเทศ ทั่วโลก10  วัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงเป็นหนึ่งในวัคซีนที่แนะนำในผู้สูงอายุโดยอาจพิจารณาเลือกวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ขนาดสูง (high dose) ในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการศึกษาที่แสดงว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ขนาดสูง (high dose) สามารถลดการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ขนาดมาตรฐาน (standard dose) ล่าสุดมีการศึกษาในผู้สูงอายุเพิ่มเติม  ช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่หรือปอดอักเสบ ได้ถึง 64.4% และลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 48.9% ในผู้สูงอายุ11   เอกสารอ้างอิง Baggett HC. et al. PLoS One. 2012;7(11): e48609 Warren-Gash C, et al. Eur respir J. 2018 Andrew MK, et al. J Am Geriatr Soc. 2021. Samson SI, et al. J Diabetes Sci Technol. 2019 Oh SJ, Lee JK, Shin OS. Aging and the Immune System: the Impact of Immunosenescence on Viral Infection, Immunity and Vaccine Immunogenicity. Immune Netw. 2019 Nov 14;19(6):e37. doi: 10.4110/in.2019.19.e37. PMID: 31921467; PMCID: PMC694317  Schanzer DL, Langley JM, Tam TW. Co-morbidities associated with influenza-attributed mortality, 1994-2000, Canada. Vaccine. Dent E, Morley JE, Cruz-Jentoft AJ, Woodhouse L, Rodríguez-Mañas L, Fried LP, et al. Physical Frailty: ICFSR International Clinical Practice Guidelines for Identification and Management. J Nutr Health Aging. 2019;23(9):771-87.2008;26(36):4697-703.                DiazGranados CA, et al. N Engl J Med. 2014;371:635-645. Lee J, et al. Vaccine. 2021 Quadrivalent Influenza Vaccine (Split Virion, Inactivated), 60 mcg HA/strain SMPC & Internal data Niklas Dyrby Johansen et al., NEJM Evid 2023; 2 (2), DOI: 10.1056/EVIDoa2200206 Charlotte Warren-Gash,et al. Lancet,2009;9:601-610 Phrommintikul A,et al. Eur Heart J.2011;32:1730-5

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภัยจากน้ำท่วม โรคติดต่อและสุขภาพที่ควรระวัง

        น้ำท่วมไม่เพียงสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน แต่ยังแฝงไปด้วยภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพและชีวิต ตั้งแต่โรคระบาดร้ายแรง ทั้งทางผิวหนัง อาหารที่รับประทาน กระแสไฟฟ้ารั่วไหลและลัดวงจร กระแสน้ำพัดพาอันตราย ไปจนถึงสัตว์มีพิษและสัตว์ร้ายที่ซ่อนตัวอยู่ในน้ำ เรียนรู้ถึงวิธีปกป้องตัวเองและครอบครัวที่มากับน้ำท่วม เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้อย่างปลอดภัยและมีสุขภาพแข็งแรง  โรคติดต่อทางน้ำและอาหาร โรคอุจจาระร่วง สาเหตุ: เชื้อแบคทีเรียในน้ำและอาหารปนเปื้อน อาการ: ถ่ายเหลว ปวดท้อง คลื่นไส้ การป้องกัน: ดื่มน้ำต้มสุก รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ล้างมือบ่อยๆ โรคที่มียุงเป็นพาหะ - ไข้เลือดออก - ไข้มาลาเรีย - โรคไข้สมองอักเสบ โรคผิวหนัง โรคน้ำกัดเท้า, โรคเชื้อราที่ผิวหนัง สาเหตุ: เชื้อราและแบคทีเรียในน้ำ อาการ: ผิวหนังเท้าอักเสบ คัน แตกเป็นแผล การป้องกัน: สวมรองเท้ากันน้ำ เช็ดเท้าให้แห้ง ทาครีมป้องกันเชื้อรา   โรคฉี่หนู (Leptospirosis) สาเหตุ: เชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะสัตว์ อาการ: ไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ ตัวเหลือง การป้องกัน: สวมรองเท้าบูทยาง หลีกเลี่ยงการแช่น้ำนาน ล้างมือบ่อยๆ   โรคตาแดง สาเหตุ: เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในน้ำ อาการ: ตาแดง คัน มีขี้ตา การป้องกัน: หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำสกปรกกับตา ล้างมือก่อนสัมผัสตา   โรคไข้หวัดใหญ่ สาเหตุ: เชื้อไวรัสที่แพร่กระจายในที่แออัด อาการ: ไข้ ปวดเมื่อยตัว ไอ น้ำมูก การป้องกัน: สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงที่แออัด ล้างมือบ่อยๆ อันตรายจากสัตว์มีพิษ - งู - แมงป่อง - ตะขาบ อันตรายจากไฟฟ้า - ไฟฟ้าดูด - ไฟฟ้าลัดวงจร อันตรายจากโครงสร้างพังทลาย - อาคารถล่ม - ถนนทรุด การบาดเจ็บจากสิ่งของลอยมากับน้ำ - เศษไม้ - เศษแก้ว   การป้องกันทั่วไป: รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือ ล้างเท้าให้สะอาดหลังไปพื้นที่น้ำท่วม และล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หรือสัมผัสร่างกาย สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำท่วมขังโดยตรง ทำความสะอาดบ้านและสิ่งของหลังน้ำลด รับวัคซีนป้องกันโรคที่เกี่ยวข้อง เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ติดตามข่าวสารและคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุข   

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox

     โรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะบนทวีปแอฟริกา โดยเชื้อไวรัสนี้แพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่น และสามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่คนได้ ซึ่งการรายงานที่พบโรคนี้ครั้งแรกเกิดจากลิงในห้องทดลอง จึงเรียกว่าฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานร การระบาดที่พบในตอนนี้ เกิดในประเทศบนทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปเป็นส่วนใหญ่        ปีนี้ได้เกิดการระบาดใหญ่ ในทวีปแอฟริกา ผู้ป่วยเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 3.4 โดยพบว่าเป็นไวรัสในกลุ่ม Clade 1b ซึ่งต่างกับการระบาดก่อนหน้านี้ การเฝ้าระวังตรวจสายพันธุ์ ฝีดาษวานร ในประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าเป็น Clade 1b  หรือสายพันธุ์ที่มาจากแอฟริกา จะเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลและต้องเฝ้าระวังติดตามไม่ให้แพร่กระจายได้   อาการที่ควรเฝ้าระวังของโรคฝีดาษลิง อาการของโรคจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 7-14 วัน  มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย  ต่อมน้ำเหลืองโต  หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายผื่นขึ้นตามตัว ซึ่งตุ่มเหล่านี้จะอักเสบและแห้งไปเองใน 2 – 4 สัปดาห์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ ดังนี้ มีตุ่มนูนแดงคล้ายผื่น ภายในตุ่มมีน้ำใสอยู่ภายใน รู้สึกคัน แสบร้อน ตุ่มใสกลายเป็นหนอง เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ตุ่มหนองเหล่านั้นจะแตกออกและแห้งไปเอง อาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน เจ็บคอ ไอ หอบเหนื่อยร่วมด้วย  บางรายที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัวอาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้อาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้   การป้องกัน หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์หลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยงหรือสิ่งต่าง ๆ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงการแพร่ระบาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยหรือสัตว์ที่อาจเป็นพาหะของโรค การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้   ข้อมูลอ้างอิง 1. กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค เผยโรคฝีดาษลิงติดจากสัตว์สู่คนได้ แม้มีโอกาสติดน้อยแต่ต้องเฝ้าระวัง พร้อมแนะวิธีการป้องกัน . 2565, แหล่งที่มา : หน้าแรก | กรมควบคุมโรค (moph.go.th)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรค​ RSV ในผู้ใหญ่ โรคที่อันตรายและเป็นภัยเงียบที่ผู้ใหญ่ยังไม่รู้จัก

โรค RSV คือโรคติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบน (หลอดลม) และส่วนล่าง (ปอด) เป็นโรคติดต่อผ่านการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ RSV1 เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง เช่น โต๊ะ เก้าอี้  อาการคล้ายไข้หวัด2-3 แต่อาการโรคลุกลามไปทางเดินหายใจส่วนล่าง ทำให้เกิดหลอดลมใหญ่อักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ และปอดอักเสบ โดยมักจะมีอาการรุนแรงในผู้สูงอายุมากกว่าในเด็ก2   ทำไม RSV มักเป็นที่รู้จักในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กมักมีการแพร่เชื้อจากการสัมผัสในโรงเรียน และนำเชื้อมาให้คนในบ้าน รวมถึงผู้สูงอายุและผู้ปกครอง4 ผู้ใหญ่มีโอกาสการติดเชื้อ RSV ที่มากกว่า แต่มักไม่ได้รับการวินิจฉัยโรค โดยส่วนใหญ่จะไปตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ หรือ โควิดแทน5-7 โรค RSV ไม่มียารักษาโรคโดยเฉพาะ เป็นการรักษาตามอาการ หากเกิดกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีอันตรายและมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าในเด็กเนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีโรคประจำตัวร่วม3,8-9 พบอัตราเสียชีวิตจากโรค RSV ในผู้ใหญ่ ประมาณ 12%10 ซึ่งมากกว่าเมื่อเทียบกับอัตราการตายในเด็ก 0.12%11    RSV เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ทั่วไป จึงควรป้องกันอย่างเหมาะสม และฉีดวัคซีนในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง สามารถป้องกันไดยการหมั่นล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และรับการฉีดวัคซีน RSV12   สำหรับวัคซีน RSV ในผู้ใหญ่ จะช่วยป้องกันให้อาการรุนแรงของโรคลดลง และไม่ให้เกิดการติดเชื้อ RSV ที่รุนแรง13  และเนื่องด้วยยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค3 การป้องกันด้วยวัคซีนจึงมีความสำคัญและลดความเสี่ยงให้ผู้ป่วย3,12 โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่มีโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต3,8-9   แนวทางการป้องกันโรค RSV ด้วยวัคซีนในผู้ใหญ่ อายุ 50 ปีขึ้นไป วัคซีน RSV ในปัจจุบันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย คือ Adjuvanted RSVPreF3 vaccine ใช้สำหรับกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง ที่มีสาเหตุมาจาก respiratory syncytial virus ใน ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ถึง 59 ปี ที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจาก RSV โดยวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 94.6% ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV รุนแรง   Reference Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2023. RSV transmission. www.cdc.gov/rsv/about/transmission.html Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2023. RSV for healthcare professionals. https://www.cdc.gov/rsv/clinical/index.html Nam HH and Ison MG. BMJ 2019;366:l5021 Otomaru H et al. Am J Epidemiol 2021;190:2536–2543 Allen KE et al. Diagn Microbiol Infect Dis 2018;92:206–209 Hurley LP et al. Vaccine 2019;37:565–570 Binder W et al. Am J Emerg Med 2017;35:1162–1165 Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2023. RSV in Older Adults and Adults with Chronic Medical Conditions. https://www.cdc.gov/rsv/high-risk/older-adults.html  Belongia EA et al. Open Forum Infect Dis 2018;5:ofy316 Chuaychoo B, Rattanasaengloet K, Banlengchit R, Horthongkham N, Athipanyasilp N, Totanarungroj K, et al. Characteristics, complications, and mortality of respiratory syncytial virus compared with influenza infections in hospitalized adult patients in Thailand. International Journal of Infectious Diseases. 2021 Sep;110:237–46. Naorat S, Chittaganpitch M, Thamthitiwat S, Henchaichon S,Sawatwong P, Srisaengchai P, Lu Y, Chuananon S, Amorninta-pichet T, Chantra S, et al. Hospitalizations for acute lower tract infection due to respiratory syncytial virus inThailand, 2008-2011. J Infect Dis 2013;208:S238–S245. Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2022. RSV Prevention. https://www.cdc.gov/rsv/about/prevention.html Papi, Alberto et al. “Respiratory Syncytial Virus Prefusion F Protein Vaccine in Older Adults.” The New England journal of medicine vol. 388,7 (2023): 595-608. doi:10.1056/NEJMoa2209604

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคหัด ผู้ใหญ่ก็เป็นได้

โรคหัด เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Measles เป็นโรคที่มีอาการแสดงชัดเจน คือ จะมีผื่นสีน้ำตาลแดงขึ้นตามร่างกาย พบได้บ่อยตลอดทั้งปี แต่มักมีการแพร่ระบาดสูงในช่วงหน้าร้อน สามารถติดต่อกันได้หรือไม่? โดยโรคหัดสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ โดยผ่านทางลมหายใจ การสัมผัส ซึ่งเชื้อไวรัสโรคหัดจะแพร่ระบาดจากละออง ไอ จาม ของคนไข้ที่กระจายอยู่ในอากาศ ทำให้หากมีคนอื่นที่อยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกันที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดสูดหายใจเข้าไป หรือสัมผัสถูกเชื้อแล้วนำไปขยี้ตา แคะจมูก หรือหยิบอาหารรับประทาน ก็จะมีโอกาสติดโรคหัดได้   สามารถหายเองได้หรือไม่? ซึ่งโรคหัดเมื่อเป็นแล้วจะสามารถหายเองได้ภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ทว่าในผู้ป่วยบางราย ก็อาจพบภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจนกระทั่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นแนะนำว่าหากมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าจะติดเชื้อโรคหัด แนะนำให้รีบมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา   โดยส่วนใหญ่คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าโรคหัดจะพบได้เฉพาะในเด็กเท่านั้น แต่ผู้ใหญ่เองก็สามารถเป็นโรคหัดได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน โดยปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคหัดจัดอยู่ในภาวะที่ทั่วโลกต่างเฝ้าระวัง ตามคำประกาศเตือนขององค์การอนามัยโลก เพราะสามารถติดต่อแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัดยังอาจเป็นอันตรายจนถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ด้วย   อาการของโรคหัด จะมีลักษณะคล้ายการเป็นหวัด คือจะมีอาการคัดจมูก ไอ จาม และมีไข้สูง ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีความรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อย ปวดเมื่อย ไม่อยากอาหาร เป็นต้น   อาการแสดงสำคัญของโรคหัดที่สามารถทำให้สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคหัดคือ มีจุดสีเทาขาวภายในกระพุ้งแก้ม มีผื่นสีน้ำตาลแดงขึ้นตามร่างกาย โดยเริ่มจากศีรษะ คอ และลามไปตามร่างกาย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคันจากผื่นร่วมด้วย   ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคหัด อาจเป็นได้ทั้งการเกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ  อาทิ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ รวมถึงอาจเป็นการเกิดอาการผิดปกติในระบบประสาท  อย่างเช่น ภาวะสมองอักเสบ ซึ่งแม้จะมีโอกาสเกิดได้น้อย แต่ถือว่าอันตรายมาก แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคหัดจากอาการแสดง รวมถึงลักษณะของผื่น โดยเฉพาะการพบจุดขาวที่กระพุ้งแก้ม และจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ   การรักษา จะเป็นไปในลักษณะของการรักษาตามอาการ  เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโดยตรง เช่นหากพบว่าผู้ป่วยมีไข้ ก็ให้ยาลดไข้ บรรเทาปวด ควบคู่ไปกับการให้คนไข้ได้พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆ โดยแยกคนไข้ออกจากคนอื่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ และเฝ้าดูอาการแทรกซ้อนต่างๆ จนการดำเนินของโรคหายไปเอง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน   การป้องกัน การป้องกันตัวเองจากโรคหัดนั้น สามารถทำได้ด้วยการรับวัคซีน MMR หรือ Measles, Mumps and Rubella Vaccine ซึ่งสามารถป้องกันได้ทั้งโรคหัด หัดเยอรมัน และโรคคางทูม โดย จะฉีดกันเข็มแรกในตอนอายุ 9-12 เดือน เข็มที่ 2 ตอนอายุ 2 ขวบครึ่ง และปัจจุบันเพื่อเป็นการควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทาง WHO แนะนำให้ฉีดกระตุ้นทุกๆ 10 ปี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน   ด้วยความปราถนาดีจาก โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

7 เคล็ดลับสร้างฮอร์โมนความสุขให้ตัวเอง

7 เคล็ดลับสร้างฮอร์โมนความสุขให้ตัวเอง  20 มีนาคมในวันความสุขสากลนี้ มาเรียนรู้วิธีเสริมสร้างฮอร์โมนความสุขให้กับตัวเอง เพื่อชีวิตที่มีสมดุลยิ่งขึ้น ฮอร์โมนความสุขหลัก ๆ ได้แก่ เซโรโทนิน (Serotonin), โดปามีน (Dopamine) , และเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) และนี่คือ 7 เคล็ดลับที่คุณสามารถทำได้ เพื่อกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนความสุขในทุกๆวัน :   1.   ออกกำลังกายเป็นประจำ : การออกกำลังกายไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่ยังช่วยเพิ่มระดับ “เอ็นดอร์ฟิน” ในร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทในการสร้างความรู้สึกสุขใจและลดความเครียด 2.   รับแสงแดดในตอนเช้า : แสงแดดช่วยกระตุ้นการผลิต “เซโรโทนิน”  ในร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมอารมณ์และการนอนหลับ 3.   ฟังเพลงโปรด :  ระหว่างที่เรากำลังฟังเพลงสมองจะหลั่งสาร “โดปามีน”  “เซโรโทนิน” ซึ่งทำให้เรามีความสุขและรู้สึกดี ยิ่งฮอร์โมนเหล่านี้เข้มข้นขึ้น สมองเหล่าก็ยิ่งจำเหตุการณ์เหล่านั้นได้เก่งขึ้น 4.   ทานอาหารที่มีสารอาหารสำคัญ : เปรียบเสมือนการเติมพลังให้ร่างกาย ช่วยให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ 5.   สร้างความสัมพันธ์ที่ดี : การใช้เวลากับคนที่คุณรัก ไม่ว่าจะเป็นคนรัก ครอบครัว เพื่อนหรือสัตว์เลี้ยง เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพวกเขาสามารถเพิ่มระดับ “โดปามีน” และ “เอ็นดอร์ฟิน” ในร่างกายให้สูงขึ้น 6.   หัวเราะบ่อย ๆ : การหัวเราะไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกดี แต่ยังเพิ่มระดับ “เอ็นดอร์ฟิน” และ “เซโรโทนิน” ในร่างกายด้วย 7.   ทำกิจกรรมที่คุณชอบ : ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ อ่านหนังสือ หรือเล่นดนตรี การทำกิจกรรมที่คุณรักสามารถกระตุ้นการผลิต “โดปามีน” ในร่างกายได้   ผลดีของความสุขที่มีต่อสุขภาพ ในโลกของการดูแลสุขภาพ ความสุขไม่ได้มีแค่ความหมายในเรื่องของอารมณ์ที่เราสัมผัสได้เท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจด้วย การมีความสุขสามารถช่วยลดความเครียดได้ ซึ่งความเครียดนี่แหละที่เป็นต้นตอของหลายๆ โรค เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ ความสุขยังมีส่วนเชื่อมโยงกับการมีอายุที่ยืนยาวและระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง   การมีความสุขไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อตัวเราเอง แต่ยังส่งผลดีต่อคนรอบข้างอีกด้วย เพราะความสุขนั้นสามารถส่งต่อได้เมื่อเรามีความสุข เรามักจะแบ่งปันความรู้สึกดีๆนั้นกับผู้อื่น สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อความสุขและการสนับสนุนทางอารมณ์ในกลุ่มเพื่อนและครอบครัว ในวันแห่งความสุขสากลนี้ ลองใช้เวลาสะท้อนถึงความสำคัญของความสุขในชีวิตของเรา และหาวิธีที่จะเพิ่มความสุขให้กับตัวเองและคนรอบข้าง ไม่ว่าจะผ่านการดูแลสุขภาพที่ดี การสร้างความสัมพันธ์ที่เอื้ออำนวยต่อความสุข หรือการทำกิจกรรมที่เรารักและชื่นชอบ  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อแตกต่างระหว่างการทำ PRK และ FEMTO LASIK

หลายคนที่กำลังสงสัยว่าการทำเลสิคนั้นมีกี่วิธีกันแน่นะ? มาดูข้อแตกต่างระหว่างการทำ PRK และ FEMTO LASIK  เพื่อเปรียบเทียบว่าแบบไหนเหมาะสมกับคุณ และแบบไหนที่ใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ 1. ข้อแตกต่าง: TRANS-PRK: เป็นวิธีการผ่าตัดตาด้วยเลเซอร์ที่ไม่ต้องใช้ใบมีด มันจะลอกชั้นบนสุดของกระจกตาออกแล้วใช้เลเซอร์ปรับรูปร่างของกระจกตาเพื่อแก้ไขสายตา ทั้งหมดนี้ทำในขั้นตอนเดียว FEMTO LASIK: เป็นวิธีการผ่าตัดตาด้วยเลเซอร์ที่ใช้เลเซอร์สองชนิด วิธีนี้จะสร้างฟลับ (เหมือนแผ่นบางๆ) บนกระจกตาก่อน แล้วจึงใช้เลเซอร์อีกตัวหนึ่งมาปรับรูปร่างของกระจกตาที่อยู่ด้านใต้ฟลับเพื่อแก้ไขสายตา 2. เหมาะกับค่าสายตา: TRANS-PRK: เหมาะสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้น, สายตาเอียง, หรือสายตายาวในระดับปานกลาง (รวมกันไม่เกิน 600) FEMTO LASIK: เหมาะสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้น (100-1,000), สายตาเอียง (600) 3. ขั้นตอนการผ่าตัด: TRANS-PRK: ใช้เลเซอร์ลอกเอาผิวกระจกตาออกแล้วปรับความโค้งกระจกตาในขั้นตอนเดียว FEMTO LASIK: แยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์ femtosecond แล้วยิงเลเซอร์ เพื่อปรับความโค้งของกระจกตา 4. ระยะเวลาผ่าตัด: TRANS-PRK: ประมาณ 10-15 นาทีต่อตา FEMTO LASIK: ประมาณ 15-20 นาทีต่อตา 5. เวลาพักฟื้น: TRANS-PRK: อาจใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 3-4 วัน และอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะมีการมองเห็นที่ชัดเจน FEMTO LASIK: ฟื้นตัวรวดเร็ว สามารถกลับไปทำกิจกรรมปกติได้ในวันถัดไปหลังการผ่าตัด และมีการมองเห็นที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว 6. เห็นชัดเจน: TRANS-PRK: อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะมีการมองเห็นที่ชัดเจน FEMTO LASIK: การมองเห็นที่ดีขึ้นอาจเกิดขึ้นได้รวดเร็วหลังการผ่าตัด และสามารถเห็นชัดเจนในวันถัดไป ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อประเมินว่าเทคนิคใดเหมาะสมกับคุณมากที่สุดโดยพิจารณาจากสภาพสายตาและความต้องการของคุณเป็นหลัก.   นัดหมายได้ที่ แผนกจักษุและเลสิค โทร.02-5611111 ต่อ 4312-3 และ 081-988-6784

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Q&A วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกชนิดใหม่

         ครั้งนี้โรคไข้เลือดออก ระบาดสูงสุดในรอบ 5 ปี ! ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกสะสมย้อนหลัง 15 ปี สูงถึง 1,237,467 ราย และเสียชีวิตกว่า 1,311 ราย ทั้งนี้อัตราการเสียชีวิตจะสูงในกลุ่มผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว มักเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรครุนแรงกว่ากลุ่มอื่นๆ   โดยโรคไข้เลือดออกพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ขณะนี้ได้มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกชนิดใหม่ ที่สามารถฉีดได้โดยไม่ต้องตรวจภูมิ หรือเคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้วก็สามารถฉีดได้ วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุระหว่าง 4-60 ปี วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้เลือดออกจากทุกสายพันธุ์ ได้สูงถึง 80.2%  ป้องกันไข้เลือดออกแบบรุนแรง 85.9% และป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้สูงถึง 90.4% ฉีดเพียงแค่ 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน ฉีดได้ทั้งคนที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน โดยไม่ต้องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด วัคซีนมีความปลอดภัย ผลข้างเคียงที่พบ แค่มีอาการปวดตรงตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนมากมักหายได้เอง ภายในเวลา 1-3 วัน   Q1: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ สามารถฉีดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่เลยไหม จำนวนเข็มในการฉีดเท่ากันหรือไม่ กี่เข็ม ห่างกันกี่เดือน? A1: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ สามารถฉีดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ใช้ปริมาณยา เท่ากัน ฉีดได้ตั้งแต่อายุระหว่าง 4-60 ปี   โดยฉีดจำนวน 2 เข็มเท่ากัน  ห่างกัน 3 เดือน   Q2: มาฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ก่อน 3 เดือนได้หรือไม่? A2: ไม่แนะนำการฉีดวัคซีนก่อน 3 เดือน เพราะว่าประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงที่สุดเมื่อเว้นระยะห่างระหว่างเข็ม 3 เดือน หากจำเป็นต้องเลื่อน ควรเลื่อนออกไปเกิน 3 เดือน ได้แต่ไม่ควรห่างนานเกินไป โดยไม่ต้องเริ่มเข็มแรกใหม่ อย่างไรก็ตามแนะนำให้มาฉีดเข็มที่ 2 ตามเวลาที่แพทย์นัด เพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพในการปกป้องโรคไข้เลือดออกจากวัคซีนที่สูงที่สุด   Q3: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก (Qdenga) ฉีดแล้วป้องกันได้กี่เปอร์เซ็น? A3: ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้ 100% หลังจากฉีดครบโดสแล้วก็ติดเชื้อได้ แต่จะลดอัตราการนอนโรงพยาบาลหรือความรุนแรงของโรคได้ เหมือนกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ ป้องกันไข้เลือดออกทุกสายพันธุ์ได้สูงถึง 80.2% ป้องกันไข้เลือดออกแบบรุนแรง 85.9% และป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้สูงถึง 90.4% ซึ่งนับว่ามีประสิทธิภาพที่สูง   Q4: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ แตกต่างจากวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกตัวก่อนอย่างไร? A4: เนื่องจากโครงสร้างของวัคซีน กระบวนการผลิตและหลักการในการผลิตของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน จึงอาจส่งผลต่อ ข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัยของวัคซีน รวมไปถึงจำนวนเข็มและระยะห่างของการฉีดวัคซีนแต่ละเข็มที่แตกต่างกัน โดยวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ 1: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดเดิม ผลิตที่ประเทศฝรั่งเศส ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 - 45 ปี สามารถฉีดได้เฉพาะคนที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อนเท่านั้น หากไม่มีประวัติการติดเชื้อยืนยัน ต้องทำการตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน ฉีด 3 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน (ที่เดือน 0, 6 และ 12) ชนิดที่ 2: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ ผลิตที่ประเทศเยอรมนี ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4 - 60 ปี สามารถฉีดได้ทั้งในคนที่เคยและไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน คือ ทุกคนสามารถฉีดได้โดยไม่ต้องทำการตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน ฉีดเพียง 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน (ที่เดือน 0 และ 3)           Q5: เคยเป็นไข้เลือดออกแล้ว ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกไหม? A5:  ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก เพราะไวรัสเดงกีที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกมีถึง 4 สายพันธุ์ การติดสายพันธุ์หนึ่ง ๆ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันได้เฉพาะสายพันธุ์นั้น ๆ และจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์อื่น ๆ ได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น อีกทั้งยังพบว่า การติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคแทรกซ้อนได้ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกจึงเป็นการลดโอกาสในการติดเชื้อ ลดโอกาสในการนอนโรงพยาบาล และลดโอกาสการเป็นโรคแทรกซ้อนได้   Q6: หลังจากหายเป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว สามารถฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกได้ทันทีเลยหรือไม่? A6:  แนะนำให้ผู้ที่หายจากไข้เลือดออกแล้ว เว้นระยะห่างอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนมารับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก เนื่องจากหลังจากติดเชื้อร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคไว้แล้ว ซึ่งจะลดน้อยลงตามเวลาผ่านไป การฉีดวัคซีนในช่วงที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคสูง อาจลดประสิทธิภาพของวัคซีนได้   Q7: วัคซีนมีความปลอดภัยแค่ไหน ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง? A7:  วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ มีความปลอดภัย มีการใช้แล้วในหลายประเทศทั่วโลก ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม เป็นเพียงผลข้างเคียงทั่วไป ได้แก่ อาการปวดตรงตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนมากมักหายได้เอง ภายในเวลา 1-3 วัน   Q8: ใครบ้างที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก? A8:  เนื่องจากโรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่ระบาดอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 65 ปี โดยมักระบาดหนักในสังคมเมือง ที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น แม้ไข้เลือดออกจะไม่ติดต่อทางการสัมผัสโดยตรงแบบโควิด-19 ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการใส่หน้ากากอนามัยและการฉีดวัคซีน แต่โรคไข้เลือดออกไม่สามารถป้องกันโรคโดยการใส่หน้ากากอนามัยได้ เพราะโรคนั้นติดต่อผ่านยุงลายที่เป็นพาหะที่มีเชื้อไข้เลือดออก หากยุงลายกัดคนที่มีเชื้อไข้เลือดออกแม้ไม่แสดงอาการ และมากัดเราต่อก็สามารถส่งต่อเชื้อได้ การป้องกันตนเองจากการโดยยุงกัดตลอดเวลานั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก การป้องกันไข้เลือดออกโดยการฉีดวัคซีนจึงเป็นวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ โรคไข้เลือดออกสามาถติดได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอายุ พบว่าไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคไข้เลือดออกรุนแรงได้เหมือนกัน ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีการระบาด คือ ประเทศไทย จึงควรได้รับวัคซีนในการป้องกันตนเองจากโรคนี้   Q9: คนกลุ่มใดบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออกรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น และจำเป็นต้องรับวัคซีนอย่างเร่งด่วน A9: เป็นกลุ่มเปราะบางที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นไข้เลือดออกรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น นั้นใกล้เคียงกับกลุ่มเปราะบางของโรคโควิด-19 และโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ กลุ่มคนอ้วน กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคธาลัสซีเมีย โรคเลือด โรคไต เป็นต้น กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มนี้อาจจะมีภูมิต้นทานต่ำและมีโรคประจำตัวร่วมหลายโรค         อ้างอิง World Health Organization. Dengue and severe dengue [Internet].. 2023 [cited 2023 Jun 20]. Available at: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dengue-and-severe-dengue.  [Accessed Jul 2023]. ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย ปี พ.ศ. 2566 แนะนำโดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566 เอกสารกำกับยาภาษาไทย คิวเดนกา Thai Product Information Qdenga ฉบับวันที่ 8 พฤษภาคม 2566  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคงูสวัด อันตรายที่ซ่อนอยู่ วิธีป้องกัน และวัคซีนงูสวัด

                                                               โรคงูสวัดเป็นการติดเชื้อไวรัส Varicella zoster ชนิดเดียวกับที่ก่อโรคสุกใส โดยการติดเชื้อนี้เป็นครั้งแรก จะแสดงอาการของโรคสุกใส ซึ่งจะมีตุ่มน้ำใสกระจายทั่วตัว ส่วนใหญ่มักจะเป็นในวัยเด็ก เพราะโรคสุกใสแพร่ระบาดได้ง่าย เนื่องจากติดต่อกันทางลมหายใจ หรือสัมผัสตุ่มน้ำ เมื่อโรคหายแล้ว เชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกายโดยซ่อนอยู่ที่ปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีภาวะภูมิถดถอยตามวัย เชื้อก็จะถูกกระตุ้นขึ้นมาก่อให้เกิดโรคงูสวัดที่มีความเสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพ                                    ข้อมูลจากการศึกษาในหลายประเทศทั่วโลกพบว่า คนที่อายุ 50 ขึ้นไป มีความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัดเพิ่มสูงขึ้นมาก นอกจากนี้ยังพบว่าคนวัย(อายุ 50 ปีขึ้นไป) กว่า 90% เคยติดเชื้อไวรัสสุกใสมาแล้ว นั่นหมายความว่า ผู้คนเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคงูสวัด ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคปอด โรคไต รวมถึงผู้ที่เคยติดเชื้อ Covid-19 มีความเสี่ยงในการเป็นงูสวัดเพิ่มขึ้น   ความอันตรายของโรคงูสวัด โรคงูสวัดนั้น นอกจากจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและไม่สบายแล้ว ยังจะทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้องูสวัดที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคปวดเส้นประสาท (Post Herpetic Neuralgia – PHN) คือ มีอาการปวดเส้นประสาทตลอดเวลา นานหลายเดือนหรือหลายปีหลังจากผื่นหาย ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังจนเกิดเป็นแผลเป็น, งูสวัดขึ้นตา (HZO), ปัญหาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardiovascular disease) ภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง แม้พบไม่บ่อยแต่รุนแรงมาก เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื้อหุ้มสมองตาย ใบหน้าเป็นอัมพาตครึ่งซีก   ใครมีความเสี่ยงของโรคงูสวัดบ้าง • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี, ผู้ที่มีภาวะร่างกายภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น ติดเชื้อ HIV, ได้รับยากดภูมิคุ้มกันหรือยา steroid ขนาดสูงอย่างต่อเนื่อง • ผู้ที่เคยเป็นโรคงูสวัด มีโอกาสเป็นซ้ำประมาณ ร้อยละ 6.2 โดยมีปัจจัยเสี่ยง เช่น เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ อายุมากกว่า 50 ปี ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อ HIV คนไข้มะเร็ง   การดูแลรักษาและป้องกันโรคงูสวัด การรักษาโรคงูสวัด • ให้ยาต้านไวรัสได้เร็ว โดยเฉพาะในช่วง 72 ชม.แรกที่เกิดผื่นผิวหนัง จะช่วยย่นระยะเวลาของโรค และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้ • ดูแลผิวหนังในบริเวณนั้นให้สะอาดและหลีกเลี่ยงการเกาจะช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย • ในกรณีที่มีอาการรุนแรง อาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การป้องกันโรคงูสวัด • การจัดการความเครียด การรักษาสุขอนามัยจะช่วยลดโอกาสในการกระตุ้นขึ้นมาของเชื้อไวรัสได้ และหลีกเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดกับผู้มีอาการของโรคงูสวัดสามารถลดความเสี่ยงของการติดต่อได้ • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการของโรคงูสวัด • วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ถือเป็นวิธีป้องกันโรคงูสวัดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด   รู้จักวัคซีนโรคงูสวัด ในปัจจุบันมีวัคซีนโรคงูสวัดอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนแรง(ZVL) และ วัคซีน Protein Subunit ร่วมกับสารเสริมฤทธิ์ (Recombinant Zoster Vaccine - RZV) ซึ่งไม่ใช่วัคซีนเชื้อเป็น ผลศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าทั้งสองวัคซีนมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของโรคงูสวัดและโรคปวดเส้นประสาทได้ แต่วัคซีนชนิดที่ไม่ใช่เชื้อเป็น (Protein Subunit with adjuvant system)  แสดงให้เห็นประสิทธิภาพที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับวัคซีนเชื้อเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอายุที่มากขึ้น วัคซีนทั้งสองชนิดมีความปลอดภัยที่ดี โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปจะไม่รุนแรงและเป็นชั่วคราว   ข้อบ่งชี้ของวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด วัคซีนถือเป็นวิธีป้องกันโรคงูสวัดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย แนะนำให้ฉีดวัคซีนโรคงูสวัดสำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะกลุ่มอายุนี้มีความเสี่ยงสูง และเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่มีโรคประจำตัวหรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งหากเป็นวัคซีนงูสวัดชนิดที่ไม่ใช่เชื้อเป็น สามารถฉีดให้ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากโรค หรือยากดภูมิได้ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่เคยเป็นโรคงูสวัดมาก่อนเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดซ้ำ ซึ่งพบได้ราว 6 -10%   รู้จักวัคซีนโรคงูสวัดวัคซีนชนิด Recombinant Zoster Vaccine – RZV 1.เพื่อป้องกันโรคงูสวัด และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับโรคงูสวัด ในผู้ใหญ่ อายุ 50 ปีขึ้นไป (ให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน 2 โด๊ส ห่างกัน 2-6 เดือน) และผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัดมากกว่าปกติ (ให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน 2 โด๊ส ห่างกัน 1-2 เดือน)   2.ประสิทธิภาพของวัคซีนงูสวัด ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคงูสวัด 97% และประสิทธิภาพในการป้องกันโรคปวดเส้นประสาท (PHN) 91.2% ในผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคงูสวัด 89% เมื่อติดตามยาวนาน 10 ปี   3.กรณีที่คนไข้เคยเป็นโรคงูสวัดมาก่อน สามารถรับวัคซีนงูสวัดได้ โดยให้ 2 โด๊ส และเว้นห่างหลังจากหายจากโรคงูสวัด อย่างน้อย 6 เดือน   4.กรณีที่คนไข้เคยได้รับวัคซีนงูสวัดชนิดเชื้อเป็นมาก่อน สามารถรับวัคซีนงูสวัดได้ โดยให้ 2 โด๊ส และเว้นห่างหลังจากวัคซีนเดิม อย่างน้อย 2 เดือน   5.การให้วัคซีนงูสวัดร่วมกับวัคซีนตัวอื่น สามารถให้ได้ในวันเดียวกัน แต่คนละตำแหน่ง เช่น แขนคนละข้าง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนปอดอักเสบ วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก   การรู้จักโรคงูสวัดเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและรับมือกับโรคนี้ เพื่อปกป้องสุขภาพของตัวเราและคนที่เรารักให้ห่างไกลจากโรคงูสวัด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ทำไมถึง...ปวดศีรษะ

 ทำไมถึง...ปวดศีรษะ ปวดศีรษะ เป็นอาการที่ทุกคนรู้จักดี เนื่องจากเกิด ได้กับ ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยอาจเป็นอาการแสดงของโรคต่างๆ หรืออาจเป็นโรคปวดศีรษะโดยตรงก็ได้ มีหลายภาวะ ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เช่น มีไข้ เครียด อดนอน ยาบางชนิดความดันสูง ฯลฯ จนถึงโรครุนแรงในสมอง เช่น เนื้องอก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น                 สำหรับโรคปวดศีรษะที่เป็นโรคของมันเองจริงๆ นั้น มีหลายโรค แต่ที่ยอดฮิต ในกลุ่มผู้ปวดบ่อยๆ ได้แก่ ไมเกรน ซึ่งมักชอบสงสัยกันมาก ว่าจะเป็นหรือไม่ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป               สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องให้ผู้อ่านเข้าใจคือ การวินิจฉัยสาเหตุของการปวดศีรษะนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องอาศัยการซักอาการโดยละเอียด (ไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ) นอกจากในบางรายที่ค่อนข้างชัดเจนมากๆ อาจใช้คำถาม 3-4 ข้อก็พอบอกได้ ดังนั้นการเล่าอาการของคนไข้ทางจดหมาย หรือทางอินเตอร์เน็ตนั้น บ่อยครั้งที่ผู้ถามจะได้คำตอบที่ชวนให้หงุดหงิดว่า ' ควรพบแพทย์' หรือ ' บอกไม่ได้ ข้อมูลไม่พอ' ซึ่งความจริงก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ             การตอบโดยอาศัยผ่านสื่อนี้ สิ่งที่น่าจะมีประโยชน์ที่สุดคือ บอกให้ผู้ถามพอเป็นแนวทางว่า อาจเป็นอะไรได้บ้าง จำเป็นต้องพบแพทย์หรือไม่ แต่สำหรับการวินิจฉัยนั้น คงหวังผล 100% คงไม่ได้ ก่อนจะเข้าเรื่อง สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับปวดศีรษะคือ ปวดแบบใดบ้างที่ต้องให้ความสำคัญ และต้องรีบไปพบแพทย์ ซึ่งได้แก่ลักษณะต่อไปนี้ - ปวดกะทันหัน ทันทีทันใด - ปวดรุนแรงมาก - ปวดในลักษณะที่ไม่เหมือนที่เคยปวดมาก่อน (ปวดแบบใหม่) - อาการค่อยๆเป็นมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อาจเป็นวัน เป็นเดือน จนถึงเป็นปีก็ได้ - มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้สูง ชัก เห็นภาพซ้อน อาเจียนรุนแรง แขนขาอ่อนแรงเป็นซีก เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ขอแบ่งชนิดการปวดศีรษะเป็น 3 กลุ่มกว้างๆ ได้แก่ ·       ปวดจากกล้ามเนื้อตึงตัว ·       ปวดจากการขยายตัวของหลอดเลือด และ ·       ปวดจากมีสิ่งผิดปกติในสมอง สำหรับการปวดจากเส้นประสาทที่ศีรษะและใบหน้า ขอไม่กล่าวถึงในที่นี้ ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน เกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น อดนอน เครียด ใช้สมองหรือสายตาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ฯลฯ การปวดมีลักษณะตึงๆตื้อๆ บางคนอาจปวดจี๊ดๆร่วมด้วย ร้าวจากขมับไปกลางศีรษะ จนถึงท้ายทอย (ข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้) อาการปวดมักจะเริ่มตอนสายๆ หรือบ่าย (คือเมื่อเริ่มเคร่งเครียดกับงาน)แล้วมักจะปวดต่อไปทั้งวัน อาจไม่รุนแรงแต่พอรำคาญ (ถ้าเป็นมากๆก็รุนแรง ได้เหมือนกัน) ลักษณะสำคัญ คือ เวลาหายก็มักหายไม่สนิทเป็นปลิดทิ้ง คือจะยังตื้อๆอยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งต่างจากไมเกรนที่ปวดรุนแรง แต่เวลาไม่ปวดก็จะปกติ100% (เป็นปลิดทิ้ง) การป้องกัน  ทำได้โดย 1.เลี่ยงสาเหตุทั้งหลายที่กล่าวไว้ข้างต้น ช่วงที่ปวดสามารถทานยาแก้ปวดทั่วๆไป (เช่น พาราเซตามอล) 2. ถ้ายังไม่ค่อยดี อาจต้องใช้ยาอื่นร่วมด้วย เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาคลายเครียด 3. ซึ่งควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณา ปวดจากการขยายตัวของหลอดเลือดที่ศีรษะ มีหลายแบบ แต่ที่พูดถึงบ่อยๆคือ ไมเกรน ซึ่งยังไม่ทราบกลไกการเกิดโรค อย่างแท้จริง แต่เชื่อว่าเกี่ยวกับทั้งระบบหลอดเลือด และเส้นประสาทในศีรษะ สำหรับต้นเหตุอื่นที่ทำให้ปวดจากหลอดเลือดขยายตัว นอกจากโรคไมเกรนได้แก่ ไข้สูง ยาบางชนิด อากาศร้อน เป็นต้น ลักษณะสำคัญ คือ ปวดตุ้บๆที่บริเวณขมับ ข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ บางคนอาจเริ่มจากตื้อๆจี๊ดๆก่อน แล้วค่อยๆรุนแรงขึ้นจนตุ้บๆในที่สุด เวลาปวดจะรุนแรงมาก มักคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย แต่ช่วงที่ไม่ปวดจะหายเป็นปลิดทิ้งบางคน(10-20%) อาจมีอาการเตือนก่อนปวด โดยจะตาพร่า เห็นแสงแว้บๆ สีเหลืองหรือเป็นเส้นหยักๆลอยไปมา แล้วต่อมาค่อยปวดศีรษะ สิ่งที่กระตุ้นให้อาการกำเริบ มีหลายอย่าง เช่น อากาศร้อน ยาบางชนิด(เช่น ยาลดความดันบางชนิด ยาเม็ดคุมกำเนิด) แอลกอฮอล์ อาหารบางชนิด เช่น ช็อกโกแล็ต เนย เบคอน ไส้กรอก แฮม ผงชูรส เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีสารบางอย่างที่กระตุ้นอาการได้ เมื่อเริ่มมีอาการ สิ่งที่ต้องปฏิบัติ คือ พยายามอยู่ในที่เงียบๆ สงบๆ ถ้าหลับได้เลยยิ่งดี ยาที่ทานแก้ปวด มีตั้งแต่พาราเซตามอลธรรมดา จนถึงยาที่ใช้เฉพาะโรค (ซึ่งหลายตัวจะมีผลข้างเคียง จึงควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณา) ซึ่งแล้วแต่ แต่ละรายว่าจำเป็นแค่ไหน ในรายที่เป็นบ่อยๆ อาจต้องใช้ยา ในกลุ่มที่ป้องกันไมเกรน ซึ่งต้องให้แพทย์สั่งให้ เนื่องจากยาแต่ละตัวมีความเหมาะสม ต่อคนไข้แต่ละคนไม่เหมือนกัน ไมเกรน มักเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่น หรืออาจเริ่มช่วงอายุ15-30 ปี พบในหญิงมากกว่าชาย โดยบางคนมีอาการมากช่วงก่อน ระหว่าง หรือหลังมีประจำเดือน ต่อมาเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะหลังวัยหมดประจำเดือน อาการมักห่างลงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งหมดนี้ เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับการเกิดอาการปวดแบบไมเกรน คนที่คิดว่าตัวเองเป็นไมเกรน มักนิยมซื้อยา cafergot มาทานเอง ซึ่งต้องระวัง ให้มากๆ โดยเฉพาะในคนอายุ40ปีขึ้นไป เนื่องจากยาอาจมีโอกาส ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบได้ และที่สำคัญคือ ไม่แน่ว่า จะเป็นไมเกรนจริงหรือไม่ โดยเฉพาะรายที่เพิ่งจะเริ่มเป็นตอนอายุมากๆ เนื่องจากโอกาสเป็นไมเกรน มีน้อย(ถ้าไม่เคยเป็นมาก่อน) ข้อแนะนำ  คือ ถ้าเป็นไม่มากนัก และยังไม่อยากพบแพทย์ ช่วงที่ปวด อาจลองทานพาราเซตามอลดูก่อน ถ้าหาย อาจเป็นปวดหัวธรรมดา หรืออาจเป็นไมเกรน แบบไม่รุนแรงก็ได้  ถ้าไม่ดีขึ้น หรือเป็นบ่อยๆ ก็ควรพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่ชัดเจน และการรักษาที่เหมาะสม ปวดศีรษะจากสิ่งผิดปกติในสมอง                                                                                    ได้แก่ เนื้องอก ฝี พยาธิ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เส้นเลือดสมองแตก ฯลฯ มีลักษณะการปวดที่หลากหลาย ซึ่งขึ้นกับความรุนแรงของโรค ขนาดของรอยโรค ตำแหน่ง(ในสมอง)ที่เกิดโรค อาการโดยรวมๆคือ  มักปวดมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผ่านไปเป็นวัน เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน (ขึ้นกับโรค) ช่วงที่เป็นมักมีอาการอาเจียนมาก หรืออาจมีอาการอื่นๆทางสมองร่วมด้วยเช่น ชัก เห็นภาพซ้อน สับสน  อ่อนแรงครึ่งซีก ซึมลง จนถึงเสียชีวิตได้ ด้วยความปรารถนาดี จาก รพ.วิภาวดี ที่มาของข้อมูล Thaiclinic.com

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<