หัวใจเสริมใยเหล็ก Love you my Sweet heart

หัวใจเสริมใยเหล็ก Love you my Sweet heart            รายการอาหารของคุนมีอาหารชนิดใดบ้างที่ช่วยให้หัวใจของคุณแข็งแรง ห่วงไกลจากการเจ็บป่วย ด้วยโครคของหัวใจบ้างมาดูกัน            ทราบหรือไม่ว่าวัยวะอะไรในร่างกาย คนเราที่ยามแข็งแกร่งก็แกร่งจนทั่วแผ่น แต่ยามอ่อนแอแค่ลมพัดเบาๆ ก็ปลิวก็ขาด เฉลย....หัวใจกระดาษ เบาๆ ก็ขาด แค่ลมบางเบาก็ปลิว (ฮา) มาเริ่มต้นสาระดีๆ ให้คนรัก สำรวจตรวจสอบกันสักนิดว่า รายการอาหารของคุนมีอาหารชนิดใดบ้างที่ช่วยให้หัวใจของคุณแข็งแรง ห่วงไกลจากการเจ็บป่วย ด้วยโครคของหัวใจบ้างมาดูกัน...    กระเทียม ไร้เทียมทาน           กระเทียมเป็นอาหารประเภทหนึ่งที่หากไม่รักก็เกลียดเลย ใครชอบรับประทานสดๆยังได้ แต่หากจะ เกลียด แค่กลิ่นเบาๆ ก็ชวนให้คลื่นเหียนปวดประสาด ขอแสดงความยินดี สำหรับคนที่ชอบรับประทานกระเทียม เพราะนี่ล่ะอาหารเสริมที่ไม่ต้องซื้อเป็นรายเดือนรายกระปุก เพราะกระเทียมประกอบด้วยสารอาหารที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้คล่องแคล่ว ซึ่งแน่นอนว่าทำดีได้ดี เมื่อเลือกไหลเวียนดี พร้อมควบคุมความดันโลหิต ระบบการไหลเวียนเลือกของหัวใจก็เปล่งปลั่งสดใส ห่างจากปัญหาการจารจรติดขัดในเส้นเลือด มะเขือเทศ ไม่ควรพลาด           อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วหลายๆ หน เรื่อง ของอาหาร ไขมันเป้นสิ่งที่กระทบกับสุขภาพมากที่สุด เมื่อมีไขมันดีมากร่างกายก็ดี เมื่อมีคอเลสเตอรอลมากคุณก็อ้วน คุณก็เป็นโรค  อยากบอกคุณว่ามะเขือเทศลูกแดงแจ่งจะแด่มแจ่มว้าวก็แสนจะดีกับการลดไขมันชนิดเลว ช่วยลดคอเลสเตอรอล หากมะเขือเทศเคยเป็นเพียงเคริ่องเคียงข้างจาน ต่อแค่นี้คงต้องเลื่อนตำแหน่ง ให้เป็นอาหารจานหลัก เพราะมะเขือเทศสามารถหยุดปัญหาของไขมันได้อย่างดี ช็อกโกแลต เพื่อเธอหัวใจของฉัน           สุดท้ายของขวัญยอดนิยมของเทศกาลความรัก ช็อกโกแลตผู้อุดมไปด้วยเสน่ห์แบบแปลก บ้างว่าขม บ้างว่หวานเกินไปบ้างว่าทานแล้วอ้วน แต่ท้ายที่สุดเราก็ได้ทราบมาคล้ายๆ กันว่างานวิจัยมักพูกตรงกันว่า           ช็อกโกแลตเป็นขนมหวานที่เพิ่มสารความสุขให้แก่สมองทำให้นิ่งสงบ  และผ่อนคลาย ที่สำคัญสารฟลาโวนอยด์มีประสิทธิภาพ แต่เพีบงดาร์กช็อกโกแลต 2 ออนซ์ ก็ทำให้คุณมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งป้องกัน  การเกิดโรคหัวใจรวมถึงเส้นเลือดหัวใจอุดตันด้วย ชาดำ ไม่เย็นชา           แต่ละมื้อคุณคงมีเครื่องดื่มสุดโปรดที่เป้นเพื่อนสนิทกับอาหารของคุณ บ้างเลือก น้ำหวาน บ้างเลือกดริ๊งค์ที่มีดีกรี อยากแนะนำให้ลองเครื่องดื่นประเภทชา โดยเฉพาะชาดำไม่ผสมน้ำตาล แค่เพียง 2 ออนซ์ต่อสัปดาห์ ชาดำจะช่วยขยายหลอดเลือดของคุณ ทำให้เลือดสามารถหล่อเลี้ยงหัวใจสูบฉีดแล่วฉิวทั้งนี้ยังมีสารด้านนอนุมูลอิสระด้านโรคร้ายด้านชราที่มาเยือนอีกด้วย แซลมอน ฟอร์ยูมายฮาร์ท           คุณของทราบดีว่า อาหารตระกูลปลาไมว่าน้ำจืดน้ำเค็มล้วนดีกับสุขภาพ ดีกับการลดความอ้วน เพราะไขมันต่ำ แต่ทราบหรือไม่ว่า ปลาอย่างแวลมอนประโยชน์สุดเต็มของมันก็คือไขมันดีๆ ในตัวมันนั่นเองโดยกรดไขมันอย่างโอเมก้า 3 มีประโยชน์ทั้งกับการเจริญเติบโตในเด็กรวมถึงเสริมสารสื่อประสาททำให้สมองของคุณทำงานได้อย่างสอดประสานมีประสิทธิภาพ และสุดเด็ดกับหัวใจนั่นคือ การช่วยเสริมหัวใจของคุณแข็งแรงดีวันดีคืนแค่เพียงรับประทานแซลมอน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หัวใจของคุณก็อนาคตใสกิ๊งๆ แม้หัวใจจะไม่ใช่ก้อนหิน อาจมีอ่อนบ้าง อ่านมีแข็งแกร่งบ้าง ขอให้เชื่อว่าหากคุณใส่ใจมันอย่างเต็มที่ไม่ว่าเรื่องของหัวใจ สุขภาพ และความรัก มันย่อมแข็งแรงได้ และจะผ่านไปได้ทุกอุปสรรค นิตยสาร Healthy Tips

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

มหัศจรรย์แฝด 5 กับบทบาทคุณแม่..มือใหม่

มหัศจรรย์แฝด 5 กับบทบาทคุณแม่..มือใหม่            เนื่องจากวารสาร Vibhavadi.com ฉบับที่แล้ว  เราได้สัมภาษณ์  ครอบครัว  ศิริบัญชาวรรณ  ที่ประสบความสำเร็จได้ทารกแฝด  5 คน  (เด็กผู้ชาย 2 คน  เด็กผู้หญิง  3 คน)    จากการทำเด็ก-หลอดแก้ว ที่ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช รพ.วิภาวดี  ตอนนี้น้องทั้ง  5 คน อายุเกือบ 3 เดือนแล้ว น่าตากำลังน่ารักน่าชังเชียว   คุณปฐมพล - คุณเกี้ยวกุ้ง  ศิริบัญชาวรรณ   คุณพ่อ-คุณแม่ของทารกแฝด 5 บอกกับเราว่า  น้องๆ ทุกคนสุขภาพแข็งแรงดี   พัฒนาการก็ดี  แล้วก็เลี้ยงง่ายกันทุกคน  ประกอบกับในเดือนสิงหาคม  เป็นเดือนของวันแม่   เราเลยขอสัมภาษณ์คุณแม่มือใหม่ อย่างคุณเกี้ยวกุ้ง  ว่ามีวิธีการเลี้ยงลูกแฝดทั้ง 5 คน อย่างไรบ้าง พร้อมกับเก็บรูปน่ารักๆของน้องทั้ง  5 คน มาฝากด้วยค่ะ          (น้องผู้หญิงคนโต  ชื่อน้องเอวี่   คนที่ 2  ชื่อน้องแอลลี่  ผู้ชายคนที่ 3 ชื่อน้องแอนดรูว์   ผู้ชายคนที่ 4 ชื่อน้องแอนดริว  และลูกสาวคนที่  5 ชื่อ น้องเอมม่า )   ตอนนี้น้องทั้ง  5 คน  เป็นอย่างไรบ้างคะ ?           ตอนนี้น้องๆ  อายุเกือบ 4 เดือนแล้วค่ะ   สุขภาพแข็งแรง  สมบูรณ์ดีทุกคนค่ะ  แล้วน้องทุกคนก็ได้ทานนมทุกคนค่ะ  เราจ้างพี่เลี้ยงมา  3 คน แล้วก็มีคุณยายและตัวดิฉันด้วย  ช่วยกันเลี้ยงลูกๆทั้ง  5  คนค่ะ  คุณเกี้ยวกุ้งกล่าว    น้องแฝด  จะร้องไห้ งอแง ตอนไหนมากที่สุดคะ ?         “ น้องๆจะร้องพร้อมๆกันเลยค่ะ  เวลาที่พวกเขาหิวแล้วก็ปวดท้องค่ะ ซึ่งคุณพ่อของเค้ามักจะบอกว่า  เวลาที่ลูกๆร้องพร้อมกันดังเหมือนเมโลดี้เพลงเลยค่ะ” คุณแม่เริ่มวางแผนการเลี้ยงลูกๆหรือยังคะ ?        “  ที่คิดไว้ตอนนี้นะคะ  ก็คือถ้าพวกเค้าโตขึ้น อีกหน่อยต้องทำบ้านใหม่ค่ะ  และคงจะให้เรียนหนังสือในโรงเรียนแถวๆบ้านค่ะ  ดิฉันจะเลี้ยงพวกให้ดีที่สุด  แล้วก็เลี้ยงแบบธรรมดาทั่วไปเหมือนที่คุณแม่เลี้ยงดิฉันมานั่นแหละค่ะ  แต่ว่าที่ทำแล้วตอนนี้คือ  คุณพ่อเค้าซื้อรถตู้ใหม่ 1 คันค่ะเพื่อที่จะไปไหนมาไหนจะได้สะดวกมาขึ้นคะ ” คุณพ่อช่วยเลี้ยงบ้างไหมคะ ?        ปกติคุณพ่อต้องไปทำงานค่ะ  แต่ช่วงที่กลับจากทำงานก็มาช่วยเลี้ยงบ้าง  ก็ช่วยอุ้มลูกๆทั้ง 5 คนแหละค่ะ  เรียกว่าช่วยเท่าที่ทำได้นั่นแหละค่ะ  คุณเกี้ยวกุ้งกล่าว วางแผนอนาคตให้ลูกอย่างไรบ้างคะ ?        “ ไม่ได้วางเลยค่ะ  โตขึ้นพวกเค้าอยากทำอะไร  อยากเรียนอะไร  ก็แล้วแต่พวกเค้าไม่บังคับค่ะ  ขอแค่ให้พวกเค้าเป็นคนดี  และไม่สร้างปัญหาให้กับสังคมก็เพียงพอแล้วค่ะ” ในอนาคตอยากจะมีลูกเพิ่มอีกไหมคะ ?         ดิฉันได้คุยกับสามีแล้วค่ะ  ว่าเราอยากจะมีลูกอีกค่ะ  อาจจะอีกซัก 1-2 คน  เพื่อที่จะให้ ลูกๆแฝด 5 ของเราได้มีน้องๆกันค่ะ  แต่น่าจะเว้นไปซัก  4-5 ปีค่ะ  รอให้พวกเค้าโตก่อน  คุณเกี้ยวกุ้งพูดพร้องกับอมยิ้ม ในฐานะที่เป็นคุณแม่ที่วัยรุ่นมาก แถมยังเป็นคุณแม่มือใหม่ด้วย  รู้สึกอย่างไรคะที่ต้องเลี้ยงลูกแฝดตั้ง  5 คน  ?        “ รู้สึกเหนื่อยมากค่ะ    แต่เป็นการเหนื่อยที่มีความสุขมากที่สุด  ยิ่งเห็นพวกเค้าโตขึ้นทุกวัน  ก็ยิ่งมีความสุขค่ะ    แต่ดิฉันอาจจะโชคดีที่มีพี่เลี้ยงและคุณยายมาช่วยเลี้ยงด้วยค่ะ  แต่เวลาที่จะพาพวกเค้าเดินทางไปไหนแต่ละครั้ง ก็ต้องมีการวางแผนการเดินทางก่อน  เพราะจะวุ่นวายมาก  อย่างกับเวลาที่ต้องพามาพบแพทย์ที่รพ.วิภาวดี  ก็ต้องพาลูกๆสลับวันกันมาค่ะ  แต่โดยภาพรวมแล้ว ครอบครัวเรามีความสุขมากๆค่ะ”          สำหรับครอบครัวน้องแฝด 5 นี้  ถือว่าเป็นปาฏิหาริย์มากๆ  และเมื่อมีไหร่..ที่มีปาฏิหาริย์เกิดขึ้น    ปาฏิหาริย์นั้นก็ย่อมจะทำให้มีแต่ความสุข...  ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากฯ รพ.วิภาวดี  รู้ลึกยินดีและภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ครอบครัว ศิริบัญชาวรรณ  สมบูรณ์และมีความสุขค่ะ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

แนะวิธีการขับรถช่วงหน้าฝน

แนะวิธีการขับรถช่วงหน้าฝน          เชื่อนะว่ามีหลายท่านที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวในช่วงหน้าฝน   เนื่องจากในช่วงหน้าฝนนี่แหล่ะเป็นช่วงที่ ทุ่งหญ้า  ป่าไม้ กำลังเขียวขจีเชียว   ดังนั้นหน้าฝนจึงเหมาะแก่ผู้ที่ชอบการท่องเที่ยวในเชิงธรรมชาติเป็นที่สุด แต่ในการเดินทางในช่วงนี้  ก็ถือว่าเป็นช่วงที่ไม่ค่อยจะปลอดภัยต่อผู้ที่ใช้รถใช้ถนนมากนัก  เราจึงมีเคล็ดลับง่ายๆมาฝาก ท่านที่ชอบการท่องเที่ยวในหน้าฝนกัน    1.ขณะที่ฝนตกหรือหลังฝนหยุดตก บางจุดของผิวถนนมีน้ำท่วมขัง การขับต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น การขับด้วยความเร็วสูงผ่านจุดที่มีน้ำขังเป็นอันตรายอย่างยิ่ง อาจทำให้รถยนต์แฉลบหรือเสียการทรงตัวได้ง่าย นอกจากนั้น อาจทำให้น้ำพุ่งกระจายขึ้นมาเต็มกระจกบังลมหน้า และไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้าได้ ซึ่งอันตรายมาก  2. หากจุดที่มีน้ำท่วมขังอยู่ใกล้ทางเดินเท้า การใช้ความเร็วต่ำและความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้น้ำกระเด็นไปโดนคนเดินบนทางเท้า เป็นมารยาทที่ควรปฏิบัติ  3. ขณะที่กำลังขับลุยน้ำ ควรใช้ความเร็วต่ำป้องกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ระบบจุดระเบิดจนเครื่องยนต์ดับ และขับทิ้งระยะจากรถคันหน้าพอสมควร เมื่อต้องขับสวนกันควรชะลอความเร็ว โดยเฉพาะสวนกับรถยนต์ขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้ระลอกคลื่นเข้าปะทะด้านหน้าจนทำให้เครื่องยนต์ดับ และถือเป็นมารยาทที่ควรปฏิบัติ  4. หลังผ่านการลุยน้ำหรือผิวถนนที่มีน้ำท่วมขัง ประสิทธิภาพของระบบเบรกจะลดลงจากเดิม การแตะเบรกเบา ๆ ขณะขับ ช่วยไล่ความชื้นออกจากดิสก์หรือดรัมเบรก รวมถึงผ้าเบรก แต่ข้อควรระวัง คือ ระมัดระวังรถยนต์ที่ตามมาข้างหลัง ควรเลือกจังหวะเบรกให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุได้  5. เมื่อหมดหน้าฝน ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกใหม่ หรือเปลี่ยนทุก 1 ปี เพราะความชื้นที่เพิ่มขึ้น 1% โดยน้ำหนัก ทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรกลดลง 30-50 องศาเซลเซียส เสียค่าน้ำมันเบรก 100-200 บาท แต่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเบรกได้มาก            เคล็บลับที่ไม่ลับง่ายๆ  เช่นนี้จะช่วยให้การเดินทางท่องเที่ยวของท่าน  เป็นการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยไร้อุบัติเหตุ  แถมยังสนุกกับการเดินทางในทริปนี้เป็นที่สุด                                                                                       ขอบคุณข้อมูล www. pateawthai.com  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ เอแอลเอส (ALS) ภัยแฝงใกล้ตัว

หนังตาตก แขนขาอ่อนแรง... อาการแสดงของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ภัยแฝงที่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายทำงานอย่างผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยหนุ่มสาว เฉลี่ยอยู่ที่ 3 คนต่อประชากร 100,000 คน ทำให้โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงถูกนับให้เป็นภัยแฝงใกล้ตัว เพราะแม้ภายนอกจะยังคงดูสดใส แต่สภาวะกล้ามเนื้อข้างในอาจกำลังค่อยๆ อ่อนแรงลง ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเหตุใดเซลล์ประสาทนำคำสั่งจึงเกิดการเสื่อมโดยสมมุติฐานเชื่อว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส เกิดจากหลายเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกัน  โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอสคืออะไร    คำว่า ALS ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Sclerosis โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส ไม่ใช่โรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง โดยที่เซลล์ประสาทนำคำสั่งเหล่านี้ค่อยๆ เกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด และเนื่องจาก โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอสเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของ เซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง (motor neuron disease; MND) หรือ โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม" ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะรู้จักโรคนี้ในชื่อของโรค ลู-เก-ริก (Lou Gehrig Disease) ซึ่งตั้งชื่อโรคตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้ในปี ค.ศ. 1930   สาเหตุของโรค ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเหตุใดเซลล์ประสาทนำคำสั่งจึงเกิดการเสื่อมโดยสมมุติฐานเชื่อว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส เกิดจากหลายเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกัน ได้แก่ การมีปัจจัยบางอย่างทางพันธุกรรมซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดที่ทำให้เซลล์ประสาทนำ คำสั่งมีโอกาสเสื่อมได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง สารโลหะหนัก รังสีหรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิดมาช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้เซลล์ประสาทนำคำ สั่งเกิดการทำงานผิดปกติ ร่วมกับอายุที่สูงขึ้นตามกาลเวลาทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ อันเนื่องมาจากแบตเตอรี่ที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ที่เรียกว่า ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) มีความผิดปกติ แต่สมมุติฐานเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่ชัด  ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ข้อมูลในประเทศสหราชอาณาจักรพบประชากรทุกๆ 100,000 คน เป็นโรคเอแอลเอส ประมาณ 2 คนต่อปี อายุเฉลี่ยที่เกิดขึ้นของโรคอยู่ระหว่าง 60-65 ปี ดังนั้นโอกาสที่จะพบโรคเอแอลเอส ในคนอายุมากจึงมีมากกว่าในคนอายุน้อย โดยทั่วไปแล้วมักพบโรคเอแอลเอส ได้บ่อยประมาณ 1.5 เท่าของเพศหญิง และประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเอแอลเอส จะไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่แน่ชัดทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้ที่ไม่มีประวัติครอบครัวที่ชัดเจน จึงมีโอกาสเสี่ยงน้อยมากที่จะเกิดโรคในรุ่นลูกรุ่นหลาน นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ชัดเจนว่านักกีฬามีโอกาสเสี่ยงต่อการ เกิดโรคนี้ได้มากกว่าอาชีพอื่น ๆ  อาการและการดำเนินของโรค เริ่มต้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่น ยกแขนไม่ขึ้นเหนือศีรษะ กำมือถือของไม่ได้ ข้อมือหรือข้อเท้าตก เดินแล้วหกล้มบ่อยหรือสะดุดบ่อย ขึ้นบันไดลำบาก ลุกนั่งลำบาก เป็นต้น อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นจนลามไปทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของแขนหรือขาทั้งสองข้างตั้งแต่ต้น นอกจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้วยังพบว่ามีกล้ามเนื้อลีบร่วมกับกล้ามเนื้อ เต้นร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยมือลีบหรือขาลีบ พูดไม่ชัด พูดเหมือนลิ้นแข็ง ลิ้นลีบ เวลากลืนน้ำหรืออาหารแล้ว จะสำลัก  ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง ทำให้เหนื่อยง่ายโดยเฉพาะเวลานอนราบหรือมีอาการต้องตื่นกลางดึก เพราะมีอาการเหนื่อย แต่เนื่องจากอาการของโรคเอแอลเอส คล้ายกับโรคอื่น ทำให้ผู้ป่วยเอแอลเอสในช่วงต้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่น โดยทั่วไปเมื่ออาการเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อของแขนขาอ่อนแรงและลีบ อาการที่แย่ลง และมีอาการร่วมกับกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด การกลืนอ่อนแรง จนต้องใช้ท่อให้อาหารทางสายยางผ่านทางจมูกหรือทางหน้าท้อง และกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงจนกระทั่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคเอแอลเอส ให้หายขาด และร้อยละ 50 ของผู้ป่วย  เอแอลเอส โดยเฉลี่ยจะเสียชีวิตหลังจากมีอาการในระยะเวลาประมาณ 2 ปี สาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดจากระบบหายใจล้มเหลวและการติดเชื้อในปอดอัน เนื่องมาจากการสำลัก  การวินิจฉัย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส ทำได้อย่างไร    เนื่องจากโรคเอแอลเอส เป็นโรคที่รักษาไม่หาย การวินิจฉัยโรคเอแอลเอสจึงมีความสำคัญและจะต้องกระทำโดยแพทย์อายุรกรรมสาขา ประสาทวิทยาที่มีประสบการณ์โดยอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกายและการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ซึ่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยโรคเอแอลเอส คือการตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยคลื่นไฟฟ้าหรือ อีเอ็มจี   เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไร    เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นแล้ว การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคอง และให้กำลังใจที่ดีจากผู้ดูแลและครอบ ครัว จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ท้อแท้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ซึ่งในอนาคตอาจจะมีวิวัฒนาการรักษาโรค ให้ดีขึ้นได้เหมือนกับโรคทางระบบประสาทชนิดอื่น ๆ  ส่วนยาในปัจจุบันที่มีการยอมรับในวงการแพทย์ ช่วยชะลอการดำเนินของโรคได้มีเพียงยา Riluzole (Rilutekา) โดยมีฤทธิ์ในการยับยั้งสารกลูตาเมต ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งซึ่งถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดการตายของ เซลล์ และยังไม่มีหลักฐานทางการวิจัยที่แสดงถึงประโยชน์ ในการรักษาโรคเอแอลเอสด้วยยากลุ่มอื่นๆ รวมทั้งการใช้สเต็มเซลล์  นอกเหนือจากการใช้ยาแล้ว การรักษาแบบประคับประคอง ก็มีความสำคัญมากเพื่อผลดีต่อสุขภาพในภาพรวม เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การทำกิจกรรมและการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อส่วนที่อ่อนแรง เพื่อป้องกันการ ลีบที่เกิดจากภาวะที่กล้ามเนื้อไม่ได้ใช้งานนาน ๆ และป้องการการติดของข้อ การรับประทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้าผู้ป่วยมีปัญหานอนราบไม่ได้ หรือเหนื่อยเนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจที่บ้าน ก็จะทำให้ผู้ป่วยนอนได้ไม่เหนื่อย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง  กล้ามเนื้ออ่อนแรง (อันตราย) ปล่อยทิ้งไว้อาจได้ภาวะแทรกซ้อน !  ความร้ายกาจของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คือ ผู้ป่วยจะยังคงทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตต่างๆ ได้เป็นปกติในช่วงแรกๆ ของวัน แต่หลังจากนั้นจะค่อยๆ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นได้ ซึ่งหากผู้ป่วยได้หยุดพักหรือหยุดใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นไปชั่วขณะ ก็สามารถฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อกลับมาใช้งานตามปกติได้อีกเช่นเดียวกัน แต่คงดีกว่าหากผู้ป่วยไม่ปล่อยให้อาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นซ้ำๆ แบบเรื้อรัง เพราะความรุนแรงของโรคยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ภาวะหายใจล้มเหลว จากความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ จากการทำงานที่ผิดปกติของต่อมไทรอยด์  ความเสี่ยงต่อการสำลัก จากความผิดปกติของกล้ามเนื้อลำคอ ความเสี่ยงต่อโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคพุ่มพวง (SLE) หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แนะนำให้หยุดพักสักครู่ หากรู้สึกดีขึ้นควรเข้ารับการวินิจฉัยอาการโดยแพทย์เพื่อเข้าสู่การรักษา และปิดโอกาสการมาของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น   ด้วยความปรารถนาดีจาก  รพ.วิภาวดี ขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ทำไมต้องฉีดวัคซีนวัคซีนในผู้ใหญ่

ทำไมต้องฉีดวัคซีนวัคซีนในผู้ใหญ่           คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า วัคซีนเป็นเรื่องของเด็กเท่านั้น  ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้  เช่น   ไข้หวัดใหญ่  ปอดบวม  บาดทะยัก   ซึ่งในความเป็นจริงแล้ววัคซีน เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนทุกวัย  ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยปัจจัยดังกล่าว คือ         1.เพศ   ในเฉพาะบางวัคซีนเท่านั้น  เช่น  วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) แต่ในปัจจุบันทางการแพทย์ แนะนำให้ผู้ชายในกลุ่มรักร่วมเพศ รับวัคซีนชนิดนี้ด้วย         2.อายุ         ในคนทั่วไปอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไปทุกคน  แนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม เนื่องจากถ้าเกิดการติดเชื้อแล้ว โรคปอดบวมอันตรายถึงชีวิต         3.อาชีพ         เพราะบางอาชีพต้องรับวัคซีนเฉพาะ  เช่น  แพทย์  พยาบาล  หรือ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วย  ผู้สูงอายุ  จำเป็นต้องรับวัคซีนหลายชนิด เพื่อป้องกัน ไม่ให้เอาโรคเหล่านี้ไปติดคนไข้  เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่  วัคซีนป้องกันโรคไอกรน  วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี  วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส เป็นต้น หรือ สัตวแพทย์ ก็ต้องรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย   4.ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ มากกว่าปกติ  เช่น  ผู้ป่วยมะเร็ง  ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด  ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  เช่น  โรคหัวใจ   โรคความดันโลหิตสูง   โรคเบาหวาน  โรคตับ  ผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ  กลุ่มนี้จำเป็นต้องรับวัคซีน  ป้องกันโรคมากกว่าคนทั่วไป  เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่  วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม วัคซีนป้องกันโรคไอกรน  ฯลฯ         ซึ่งการระบาดของโรคต่างๆ ก็มักจะเกิดในหน้าฝน  โรงพยาบาลวิภาวดี ขอแนะนำให้รับวัคซีน ดังนี้ค่ะ 1. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะมีภูมิคุ้มกันหลังรับวัคซีนแล้ว 2 สัปดาห์ 2. วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส (โรคปอดบวม) 3. วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ซึ่งขณะนี้พบว่า มีการระบาดในภาคอีสาน ของประเทศไทย            แต่อย่าลืมนะคะ ที่สำคัญไปกว่านั้น คือ กินของร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ซึ่งจะช่วยลดการระบาด หรือ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี           ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลวิภาวดี 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไข้หวัดนก H7N9 ที่ระบาดในประเทศจีน

ไข้หวัดนก เป็นโรคที่ทั่วโลกจับตามอง เพราะเป็นเชื้อไวรัส  ที่ถือว่ามีความรุนแรงเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตสูง           สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้อธิบายถึงเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ว่า ไวรัสจะมีสายพันธุกรรม 2 กลุ่มใหญ่ คือ Hemaqutinin (H) และ Neuraminidase (N) ซึ่งจะสามารถแยกย่อยลงไปอีก คือ H มีกลุ่มย่อย 1-16 และ N มีกลุ่มย่อย 1-9 การเรียกไวรัสสายพันธุกรรมที่พบ จึงเรียกโดยใช้รหัสเป็นตัวกำกับ เช่น H5N1  , H7N9 โดยไวรัสสามารถผสมผสานโปรตีนหลายรูปแบบ          สำหรับกลุ่มไวรัสที่พบในคนจะเป็นกลุ่ม  H1 , H2 , H3 กลุ่มไวรัสที่พบในสัตว์ คือ H5 , H7  ซึ่งเป็นกลุ่มไวรัสที่มีความรุนแรงมากหากเกิดในสัตว์ จะทำให้สัตว์ล้มตายเป็นจำนวนมาก และถ้าข้ามมาเกิดในคน ก็จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรง ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มีไข้ ไอ หายใจลำบาก และปอดอักเสบรุนแรง  WHO  CollaboratingCenter ของประเทศจีนแนะนำว่ายา Neuraminidase Inhibitors (Oseltamivir  and  Zanamivir) ยังสามารถใช้รักษาผู้ที่ติดเชื้อได้ เนื่องจากในวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในปี 2013 นี้ ไม่ได้ป้องกันไวรัสสายพันธุ์ H7N9 ที่กำลังระบาดในประเทศจีน  ดังนั้นการปฏิบัติตนให้ห่างไกลโรคไข้หวัดใหญ่ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งสามารถทำได้โดยง่าย คือ            1.ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจล ทำความสะอาด           2.ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ  ช้อน ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าเช็ดตั ร่วมกับผู้อื่น           3.ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการหวัด หรือควรใส่หน้ากาก อนามัยทุก ครั้ง หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้           4.รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทาง  โภชนาการ ดื่มน้ำมากๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ           5.ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีคนอยู่แออัด และอากาศถ่ายเทไม่ สะดวกเป็นเวลานาน โดยไม่จำเป็น          6.ติดตามคำแนะนำอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด                                            ด้วยความปรารถนาดี                                           โรงพยาบาลวิภาวดี  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การบริหาร...สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

การบริหาร...สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ                    เป็นที่ทราบกันดีว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์ทั้งสุขภาพกายใจ แถมป้องกันโรคหัวใจและช่วยให้มีชีวิตยืนยาวขึ้นสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจแล้ว  การออกกำลังกายก็ยังมีประโยชน์อย่างมาก โดยมีจุดมุ่งหมายใหญ่ ๆ  2 ข้อ คือ - เพื่อลดการดำเนินโรคและยืดอายุผู้ป่วย    - เพื่อรักษาให้สุขภาพกลับไปแข็งแรงใกล้เคียงหรือเท่าๆ กับก่อนจะเป็นโรคหัวใจ          ก่อนออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาใด ๆ ผู้ป่วยทุกคนควรปรึกษาแพทย์และควรออกกำลังแต่พอเหมาะ  ช่วงที่เริ่มออกกําลังกายระยะแรก  ควรซ้อมเบาๆ ค่อยเป็นค่อยไป  ไม่รีบร้อน และหยุดพักเมื่อเริ่มเหนื่อยหรือแน่นหน้าอก หลังจากที่เริ่มเคยชินก็ค่อยๆ เพิ่มเวลาของการออกกำลังกาย จนสามารถทําได้อย่างต่อเนื่องนานอย่างน้อย 15 นาทีขึ้นไป และทําเป็นประจําทุกวัน ที่สำคัญต้องไม่ลืมเตรียมร่างกาย (Warming up and down) ก่อนและหลังการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากและควรทำทุกครั้ง          แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่ดีต่อหัวใจและสุขภาพโดยรวม แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่บ้างในผู้ป่วยโรคหัวใจ  ฉะนั้นหลังจากผ่านการประเมินจากแพทย์แล้วการออกกำลังกายควรทำด้วยความระมัดระวัง ค่อยเป็นค่อยไป และรู้จักประเมินสมรรถภาพของตัวผู้ป่วยเองด้วย ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายให้แข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาวขึ้นแม้จะมีโรคหัวใจก็ตาม   

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะอาหาร

             พูดถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร  อาจมาด้วยอาการที่คล้ายเป็นโรคกระเพาะ ซึ่งมีความสำคัญต้องวินิจฉัยโรคให้เร็วการรักษาจึงจะได้ผลดี จะพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป เป็นส่วนใหญ่ และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในประเทศไทยการส่องกล้องตรวจผู้ป่วยที่มาด้วยอาการโรคกระเพาะอาหารพบว่า มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะ ประมาณร้อยละ 2 อาการของโรคกระเพาะอาหารได้แก่ อาการปวดท้อง แน่นท้องหรือท้องอืด โดยจะมีอาการบริเวณลิ้นปี่ถึงสะดือ อิ่มเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หากมีอาการดังกล่าว ควรจะไปพบแพทย์ เพื่อจะได้รับการประเมินหาสาเหตุที่แน่นอนชัดเจนต่อไป   อาการของมะเร็งในกระเพาะอาหารเป็นอย่างไร?  อาการก็จะคล้าย โรคกระเพาะ คือ ปวดท้องจุกลิ้นปี่ก่อนอาหาร บางทีก็หลังอาหาร แต่อาการจะเป็นนานไม่หาย กินยา ดีขึ้นแต่เดี๋ยวก็ เป็นอีก ถ้าเป็นมาก จะมีเลือดออกในกระเพาะ ถ่ายอุจจาระดำ หรือ อาเจียนเป็นเลือด  อาจมาด้วยคลำก้อนได้จากหน้าท้อง ระยะหลังๆ รักษาไม่หายขาดดังนั้น ถ้าเป็นโรคกระเพาะแล้ว รักษา ไม่หาย ต้องไป พบแพทย์ ส่องกล้องดูเลย ปัจจัยเสี่ยง ของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้แก่ ความผิดปกติทางพันธุกรรม การติดเชื้อเฮริโคแบกเตอร์ ไพลอริในกระเพาะอาหาร ความผิดปกติของเยื่อบุกระเพาะอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มสุราจำนวนมาก ส่วนประกอบในอาหารซึ่งมีสารบางชนิดในเนื้อสัตว์หมัก เช่น ไส้กรอก แหนม ปลาร้าหรือเนื้อย่าง อาหารที่มีเกลือมาก หรืออาหารที่มีปริมาณของวิตามินซีน้อย อาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ วิธีวินิจฉัย มะเร็งกระเพาะอาหาร จะใช้การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและตัดชิ้นเนื้อ ไปตรวจเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร จะใช้วิธีการผ่าตัด เป็นวิธีที่อาจจะทำให้โรคหายได้ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะที่ 1 นอกจากนี้ การผ่าตัดจะช่วยบรรเทาอาการแก่ผู้ป่วยได้ การป้องกัน การเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจน แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจจะแก้ไขได้ เช่น การรักษาการติดเชื้อเฮริโคแบกเตอร์ไพลอริ การหลีกเลี่ยงการรับประทานของหมักดอง อาหารรสเค็มจัดของปิ้งย่าง การกินอาหารที่มีวิตามินซีหรือคาโรทีนสูง งดการสูบบุหรี่และงดการดื่มสุรา  การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว อาจจะลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารลงได้ แต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน  ดังนั้นหากท่านมีอาการของโรคกระเพาะอาหารดังกล่าวนานเกินกว่า  4 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ข้อบ่งชี้ในการตรวจหาสาเหตุ คือ  อายุ  หรือทานยาประมาณ  2 สัปดาห์   แล้วอาการไม่ดีขึ้น ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เรื่องน่ารู้ก่อนไปฝังเข็ม

เรื่องน่ารู้ก่อนไปฝังเข็ม                    เวชกรรมฝังเข็มเป็นศาตร์การรักษาโรคที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนับ 4,000 กว่าปีมาแล้ว ศาสตร์วิชานี้มีกำหนดมาจากการแพทย์แผนโบราณของจีนและได้รับการพัฒนาสืบทอดมาจนกระทั่งทุกวันนี้           ปัจจุบันนี้  การรักษาโรคด้วยการฝังเข็มได้เป็นที่ยอมรับจากวงการแพทย์ทั่วโลกนับ 140 กว่าประเทศแล้ว องค์การอนามัยโลกหรือ WHO (  World Health Organization ) ได้ประกาศรับรองผล  การรักษาโรคด้วยวิธีนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 เดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1996 สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ NIH ( National Institutes of Health ) ก็ยอมรับว่า การฝังเข็มเป็น “ทางเลือกที่สมเหตุผล” ในการรักษาโรคได้หลายอย่าง             โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะปักเข็มคาเอาไว้ประมาณ 20-30 นาที แล้วจึงถอนเข็มออก การรักษามักจะทำวันละหนึ่งครั้ง ทุกวันหรือวันเว้นวันต่อเนื่องกันไปประมาณ 7-10 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรคนั้น ๆ  นอกจากนี้ เวชกรรมฝังเข็มยังมีรูปแบบการรักษาปลีกย่อยอื่น ๆ อีกด้วย เช่น เข็มหู,เข็มเคาะผิวหนัง,การรมยา,การใช้กระปุกดูด เป็นต้น การปฏิบัติตัวขณะรักษา            ก่อนไปฝังเข็ม ผู้ป่วยก็ควรต้องมีการเตรียมตัวด้วย 1.เตรียมใจไปรักษา            การฝังเข็มนั้นเป็นการรักษาที่มีลักษณะเป็น “หัตถการ” ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยหวดกลัวดิ้นไปมาโดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กแพทย์ก็จะปักเข็มได้ไม่ถนัดหรือ ผิดพลาด ผลการรักษาย่อมไม่ดีอย่างแน่นอน หรือกระทั่งอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม จึงควรมาด้วยความมั่นใจต่อการรักษามิใช่มาด้วย ความกังวลหวาดวิตก 2.สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม           ในการฝังเข็ม ตำแหน่งจุดปักเข็มบางครั้งจะอยู่บริเวณใต้ร่มผ้าผู้ป่วยจึงควรสวมใส่เสื้อผ้าที่เป็นชุดแยกส่วน ระหว่างเสื้อกับกระโปรงหรือกางเกง เสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่ควรรัดแน่นเกินไปเพื่อสะดวกในการพับแขนเสื้อและปลายขากางเกง ควรให้หลวมหรือกว้างพอที่จะพับสูงขึ้นมาเหนือข้อศอกหรือข้อเข่าได้ ในกรณีที่ต้องปักเข็มบริเวณไหล่หรือต้นคอก็ควรเลือกสวมเสื้อที่มีคอกว้าง 3.รับประทานอาหารให้พอเหมาะ             โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยที่มาฝังเข็มควรรับประทานอาหารมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารมากจนเกินไป หากเพิ่งรับประทานอาหารอิ่มมาใหม่ ๆ หรือรับประทานมากเกินไป อาหารยังคงค้างอยู่ในกระเพาะอาหารมาก เมื่อมาฝังเข็มซึ่งต้องนอนเป็นเวลานาน ๆ ถึง 20 นาที อาจทำให้รู้สึกอึดอัด โดยเฉพาะในท่านอนคว่ำผู้ป่วยอาจทนไม่ได้นอกจากนี้ หากต้องปักเข็มบริเวณหน้าท้อง ถ้ากระเพาะอาหารบรรจุอาหารจนพองโตมากๆ อาจทำให้เกิดอันตรายจากการปักเข็มทะลุเข้าไปในช่องท้องหรือกระเพาะอาหารได้ง่าย ตรงกันข้าม ไม่ควรมารักษาในขณะที่กำลังหิวจัด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดอาการ “หน้ามืดเป็นลม” ได้ง่ายเมื่อกระตุ้นเข็มแรง ๆ ทั้งนี้เพราะว่าร่างกายอาจขาดพลังงาน ที่จะเอามาใช้เผาผลาญ ในขณะที่ระบบประสาทและฮอร์โมนกำลังถูกกระตุ้น จากการฝังเข็ม 4.ทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย            การฝังเข็มเป็นหัตถการที่ต้องใช้วัตถุแหลมคมปักผ่านผิวหนังลงไปในร่างกาย ผู้ป่วยจึงควรมีสภาพร่างกายที่สะอาด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนมาฝังเข็ม หากผู้ป่วยสามารถอาบน้ำสระผมมาก่อนได้นั่นก็จะดีที่สุด หรืออย่างน้อยก็อย่าให้ส่วนของร่างกายบริเวณที่ต้องปักเข็มนั้นสกปรกจนเกินไป ก็ถือว่าใช้ได้เหมือนกัน            ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการปักเข็มศีรษะ ควรตัดผมให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ไม่ควรใช้เยลหรือครีมทาผมที่เหนียวเหนอะหนะหรือ ถ้าหากไม่ใช้เลยจะดีที่สุด เพื่อสะดวกแก่แพทย็ในการปักเข็มเช่นกัน ผู้ป่วยสตรีที่กำลังมีประจำเดือนมานั้น สามารถปักเข็มรักษาได้โดยไม่มีอันตราย อะไรเลย การที่ไม่นิยมฝังเข็มในช่วงนี้คงเป็นเรื่องของความไม่สะดวกหรือกระดากอายมากกว่า 5.สงบกายและใจในขณะรักษา             เมื่อแพทย์ปักเข็มลงบนผิวหนัง ผู้ป่วนจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยคล้ายกับถูกมดกัด เมื่อแพทย์ปักถึงตำแหน่งจุด ผู้ป่วยจะรู้สึกตื้อ ๆ หรือหนัก ๆ หรือชา เล็กน้อย เมื่อแพทย์เริ่มทำการกระตุ้นหมุนปั่นเข็มก็จะรู้สึกตื้อหรือหนักชา มากขึ้น ในบางครั้ง ความรู้สึกดังกล่าวอาจจะแผ่เคลื่อนที่ออกไปตามแนว เส้นลมปราณก็ได้ หากเกิดความรู้สึก เช่นนี้ มักจะมีผลการรักษาดีเสมอ             ในกรณีทีใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ผู้ป่วยจะรู้สึกว่า กล้ามเนื้อบริเวณที่ปักเข็ม มีการเต้นกระตุกเบาๆ เป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้าที่กระตุ้น             โดยทั่วไปแล้ว ในระหว่างการฝังเข็มผู้ป่วยไม่ควรมีอาการเจ็บปวดหรือชามากจนเกินไป หากรู้สึกเจ็บปวดมากหรือมีอาการชามากๆ หรือรู้สึกเหมือนถูก “ไฟฟ้าช๊อต” ควรรีบบอกแพทย์ทันที เพราะเข็มอาจจะไปแทงถูกเส้นเลือดหรือ เส้นประสารท หรือตำแหน่งของเข็มไม่ถูกต้องหรือตั้งความแรงของกระแสไฟฟ้าจาก เครื่องกระตุ้นไม่เหมาะสมก็ได้             ในระหว่างรักษา หากมีอาการผิดปกติหรือไม่สบายใด ๆ เกิดขึ้น เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หน้ามือ รู้สึกวิงเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม ให้รีบบอกแพทย์ผู้รักษาหรือผู้ช่วยแพทย์ทันที             ขณะที่มีเข็มปักคาร่างกายนั้น ควรนั่งหรือนอนนิ่ง ๆ ไม่ควรขยับเคลื่อนไหว ส่วนของร่างกายที่มีเข็มปักคาอยู่เพราะอาจทำให้เข็มงดหรือหักคาเนื้อได้ ยกเว้นการขยับตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ยังสามารถทำได้ แต่ร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่ไม่มีเข็มปักอยู่นั้น สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ตามสบาย             ระหว่างที่ปักเข็มรักษา ผู้ป่วยจึงควรอยู่ในสภาพที่สงบผ่อนคลายอาจหลับตาและหายใจเข้าออกช้า ๆ ให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพื่อช่วยทำให้จิตใจสงบสบาย             ระหว่างที่ปักเข็มกระตุ้นอยู่นั้น ผู้ป่วยบางคนอาจรู้สึกง่วงนอนเนื่องจาก การฝังเข็มสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่ง สารเอนเดอร์ฟีน ( Endorphins ) เกิดขึ้น สารนี้มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนช่วยลดความเจ็บปวดและ ช่วยกล่อมประสาทให้รู้สึก เคลิบเคลิ้ม เมื่อรักษาไปหลาย ๆ ครั้ง ผู้ป่วยบางคนจะพบว่าตนเองนอนหลับได้ง่ายขึ้น หรือหลับสนิทขึ้นและจิตใจก็จะสดชื่น แจ่มใสมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย 6.การปฏิบัติตัวหลังการรักษา             หลังจากปักเข็มกระตุ้นครบเวลาตามกำหนด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาทีแล้ว แพทย์ก็จะถอนเข็มออก บางครั้งอาจมีเลือดออกเล็กน้อยตรงจุดที่ปักเข็ม เหมือนกับเวลาไปฉีดยา เนื่องจากเข็มอาจปักไปถูกเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ เมื่อใช้สำลีกด เอาไว้สักครู่ เลือดก็จะหยุดได้เอง             หลังเสร็จสิ้นจากการรักษา โดยทั่วไปแล้วไม่มีข้อห้ามเป็นพิเศษอะไรเลย  ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหาร อาบน้ำ ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นกรณีที่ติดเข็มคาใบหูเวลาอาบน้ำต้องระมัดระวัง มิให้ใบหูเปียกน้ำ             โดยทั่วไปแล้วหลังจากฝังเข็ม ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องกลับไปนอนพักที่บ้านแต่อย่างไร  สามารถขับรถหรือกลับไปทำงานได้ เว้นแต่บางคนอาจมี อาการอ่อนเพลียได้บ้างหลังจากฝังเข็ม เมื่อนอนพักแล้วก็จะหายไปได้ 7.การรักษาอื่น ๆร่วมกับการฝังเข็ม             ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม อาจมีโรคประจำตัวอย่างอื่นอยู่แล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯ ซึ่งมักจะต้องมียารับประทานรักษาอยู่เป็นประจำหรือมีการ รักษาอื่น ๆ เช่น กายภาพบำบัด ร่วมอยู่ด้วย             โดยทั่วไปแล้วการรักษาด้วยการฝังเข็ม มักสามารถจะรับประทานยาหรือไข้ การรักษาอื่น ๆ ร่วมไปด้วยได้ โดยไม่มีข้อห้ามอะไร 8.ข้อห้ามสำหรับการฝังเข็ม 8.1 ผู้ป่วยที่ตื่นเต้นหวาดกลัวต่อการรักษามากเกินไปทั้ง ๆ ที่ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ยังควบคุมจิตใจตนเองไม่ได้ 8.2 ผู้ป่วยที่เหน็ดเหนื่อยหลังออกกำลังกายหนัก 8.3 สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้คลอด เพราะว่าผู้ป่วยเหล่านี้มักจะไม่สามารถทนนอนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ได้ การนอนหงายจะทำให้มดลูกและทารกในครรภ์  กดทับหลอดเลือดดำใหญ่ในช่องท้องอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการช็อกเป็นลมได้ ส่วนท่านอนคว่ำก็ไม่เหมาะสมกับสตรีขณะตั้งครรภ์ เพราะจะกดทับอารกในครรภ์และก่อให้เกิดความอึดอัดไม่สบายแก่มารดา             นอกจากนี้แล้ว การปักเข็มที่รุนแรงอาจกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวมากเกินไป จนทำให้เกิดการแท้งลูกได้ 8.4 ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เมื่อเลือดออกแล้วหยุดยาก เช่น โรคฮีโมฟีเลีย เป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องรักษาควรระมัดระวังเป็นพิเศษ การปักเข็มหรือการกระตุ้นเข็ม แพทย์จะต้องทำอย่างนุ่มนวล ระวังมิให้เข็มปักโดนเส้นเลือดใหญ่ หลังจากถอนเข็มต้องกดห้ามเลือดให้ นานกว่าผู้ป่วยทั่ว ๆ ไป 8.5 ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคจิต โรคสมองเสื่อมที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้ 8.6 ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (pacemaker) ติดอยู่ในร่างกาย ห้ามรักษาโดยเครื่องกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า เพราะอาจรบกวน การทำงานของเครื่อง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดอันตรายร้ายแรงได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีเช่นนี้ ยังคงสามารถปักเข็มกระตุ้นโดยวิธีการหมุนปั่น ด้วยมือได้ “ข้อห้าม” ดังกล่าวเหล่านี้ มิใช่เป็นข้อห้ามอย่างสมบูรณ์เด็ดขาด ตัวอย่างเช่น การปักเข็มในผู้ป่วยโรคจิตก็อาจทำได้เหมือนกัน ขอเพียงแต่เข้าใจถึงเหตุผลที่ จะทำให้เกิดอันตราย เมื่อตั้งอยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวัง เราก็อาจพลิกแพลง ปักเข็มให้แก่ผู้ป่วยเหล่านี้ก็ได้                      

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การฝังเข็ม

        ตามแนวคิดของศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค  3 ประการ คือ 1.แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด 2.ปรับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่สมดุล 3.กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย 4.ยังยั้งความเจ็บปวด 5.ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว ระยะเวลาฝังเข็ม           แพทย์จะใช้เข็มเล็ก ๆ ขนาด 0.18-0.30 มม.  ปักลงในตำแหน่งจุดต่าง ๆ ของร่างกาย แล้วกระตุ้นโดยใช้นิ้วมือหมุนปั่นหรือใช้เครื่องไฟฟ้าหมุนกระตุ้นโวลต์ต่ำ ใช้เวลาประมาณ  30  นาที แล้วจึงถอนออก โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม           องค์การอนามัยโรคระบุว่า มีโรคหลายชนิด หลายกรณีที่สามารถทำการรักษาได้ โดยโรคและอาการที่พบบ่อย ๆ มีดังนี้ -อัมพาต  อัมพฤกษ์  แขน-ขา อ่อนแรง -ปวดศีรษะ -นอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล -ท้องผูก -โรคบริเวณในหน้า,ปวดสามแฉก,อัมพาตใบหน้าครึ่งซีก,หน้ากระตุก,ขากรรไกรค้าง,อ้าปากไม่ขึ้น -โรคกล้ามเนื้อ เอ็น,ข้อกระดูกและปลายประสาทชา,ปวดข้อมูมาตอยด์,ชาปลายมือปลายเท้า,ตะคริว,ปวดหลัง,ปวดหัวเข่า,เข่าบวม,ข้อเข่าเสื่อม,ข้อเข่าพลิก -ปวดจากมะเร็ง,เนื้องอก,ปวดแผลผ่าตัด -แพ้ท้อง,อาเจียน,ทานอาหารไม่ได้ -เบาหวาน,และภาวะแทรกซ้อน ปลายเท้าคล้ำดำ ชาปลายมือปลายเท้า -ความดันโลหิตสูง,ไขมันในเลือดสูง -ลดความอ้วน ลดความอ้วนหลังคลอด ลดไขมันเฉพาะที่ต้นขา น่อง ต้นแขน ท้องแขน  -เพิ่มน้ำหนัก คนผอม ผู้ป่วยเรื้อรัง -บำรุงสุขภาพ วัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงอายุ -โรคผู้สูงอายุ สั่นกระตุก,พาร์คินสัน,หลงลืม,ความจำเสื่อมโรคอับไซเมอร์ -โรคสูติ-นรีเวช ปวดประจำเดือน,ประจำเดือนมาไม่ปกติช้า เร็ว มาไม่แน่นอน -วัยทอง -เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ -โรคภูมิแพ้ -ลบรอยตีนกา รอยเหี่ยวย่นใต้คาง ท้องแขน ฝ้า กระ สิว ผมร่วง เส้นเลือดขอด -เลิกยาเสพติด เช่น สุรา,บุหรี่,ยาเสพติด -โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ปวดท้องเรื้อรังริดสีดวงทวาร -โรคอื่น ๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ข้อห้ามในการฝังเข็ม ไม่ควรทำการฝังเข็มในผู้ป่วยต่อไปนี้ 1.สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงใกล้คลอด 2.ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย 3.โรคมะเร็ง(ที่ยังไม่ได้รับการรักษา) 4.โรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด ระยะเวลาฝังเข็ม           ควรฝังเข็มอย่างน้อยสัปดาห์ละ  2  ครั้ง และต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 ครั้ง แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์ โรคเรื้อรังอาจต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น การรักษาแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที                    

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<