โรคที่มากับ...มือ

โรคที่มากับ...มือ    นอกจาก “สมอง” แล้ว, “มือ” นับเป็นอวัยวะที่ทำให้มนุษย์เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นบนโลกใบนี้ เนื่องจากมนุษย์ ใช้สมองคิดค้นสิ่งต่าง ๆ ในขณะที่ใช้มือในการประดิษฐ์ และทำงานที่สัตว์อื่นทำไม่ได้ เราใช้มือของเรานี้ในการจับต้องสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาตอนเช้า ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ สัมผัสผู้อื่น รวมทั้งหยิบอาหารเข้าปาก แคะจมูก ป้ายตา มือจึงอาจนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ด้วย และหากใครสักคนเป็นโรคติดเชื้อ มือนี้ก็สามารถกระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น จากการสัมผัสกันโดยตรง หรือแม้กระทั่งสัมผัสผ่านตัวกลาง 1 ซึ่งตัวกลางที่พบบ่อยและผู้คนมักมองข้าม ได้แก่ ลูกบิดประตู ราวโหนรถเมล์ และราวบันไดเลื่อน เชื้อโรคบนมือ                                      สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อยู่บนมือของคนโดยทั่วไป แบ่งได้ 2 ประเภท 1,2 คือพวกที่พบได้ในภาวะปกติ ซึ่งมีอยู่นับสิบชนิด 3 (แม้ว่ามือนั้นจะยังดูสะอาด ไม่เปรอะเปื้อนก็ตาม) กับพวกที่พบได้ชั่วคราว ซึ่งได้รับมาจากการสัมผัส ซึ่งจะติดอยู่ที่ผิวหนังอย่างหลวม ๆ และล้างออกได้ง่าย ๆ 1 พวกแรกนี้โดยทั่วไปไม่ก่อโรค เว้นเสียแต่มีการเหนี่ยวนำเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่กระแสเลือด หรืออวัยวะภายใน เช่น ในทางการแพทย์ การใส่สายให้น้ำเกลือเข้าไปในหลอดเลือดโดยตรง อาจมีเชื้อที่ผิวหนังปนเปื้อนเข้าไปและก่อให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดตามมาได้ ส่วนพวกหลัง อาจเป็นเชื้อก่อโรคที่ทำให้เกิดโรคติดต่อได้มากมาย บางอย่างรุนแรงถึงชีวิต โรคติดเชื้อที่ติดต่อผ่านทางมือ               โรคติดเชื้อมากมาย สามารถติดต่อผ่านการสัมผัส ตัวอย่างโรคที่พบบ่อย มีดังนี้ 1.โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด หัดเยอรมัน นอกจากจะติดต่อผ่านการหายใจเอาเชื้อเข้าไปแล้ว การที่มือไปสัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกับบุคคลอื่น หรือเครื่องใช้ในที่สาธารณะ เช่น ลูกบิดประตู ราวโหนรถเมล์ หรือราวบันได แล้วมาแคะจมูก เชื้อโรคก็จะเข้าสู่โพรงจมูกส่วนหน้า เมื่อหายใจเข้าไป ก็ทำให้เกิดโรคได้ 2.โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย โรคตับอักเสบชนิดเอ โรคบิด อหิวาตกโรค โรคพยาธิชนิดต่าง ๆ ซึ่งติดต่อได้จากการที่มือปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้ แล้วหยิบจับอาหารรับประทานเข้าไป โรคติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง เช่น โรคตาแดง โรคเชื้อรา แผลอักเสบที่ผิวหนัง หิด เหา โรคเริม โรคที่ติดต่อได้หลายทาง เช่น โรคอีสุกอีใส อาจติดต่อได้จากการหายใจ และการสัมผัส โรคติดเชื้อเหล่านี้ เป็นโรคที่พบบ่อย และบางครั้งอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้          แนวทางรักษา วิธีการง่าย ๆ ที่ลงทุนน้อย และได้ผลตอบแทนมาก ในการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อที่ผ่านทางมือ ก็คือ “การล้างมือ” จากการวิจัยทางการแพทย์ ค้นพบมานานกว่า 150 ปีแล้วว่า การล้างมือของแพทย์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล 2,4,5 นอกจากนี้การล้างมือบ่อย ๆ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตาแดง ก็เป็นวิธีป้องกันการระบาดของโรคได้ 6 หรือการล้างมือของผู้ประกอบอาหาร ก็ป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินอาหารเช่นกัน 7 แต่ปัญหาก็คือ คนทั่วไปไม่ค่อยได้สนใจและไม่ระวัง เนื่องจากเชื้อก่อโรคดังกล่าวข้างต้นแม้จะมีอันตราย แต่ก็มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น นอกจากการไม่แคะจมูกและขยี้ตาบ่อย ๆ แล้ว การล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การล้างมือที่ถูกวิธี การล้างมือที่ถูกต้อง ต้องทำให้มือสะอาดทั้งมือ โดยมีทั้งสิ้น 6 ขั้นตอน คือ 1) ถูฝ่ามือ กับฝ่ามือ 2) ฝ่ามือถูบริเวณหลังมือสลับกันทั้งสองข้าง 3) ซอกนิ้วมือด้านฝ่ามือถูกัน 4) ถูซอกนิ้วมือด้านหลังมือ ด้วยฝ่ามือทั้งสองข้างสลับกัน 5) ล้างนิ้วหัวแม่มือให้สะอาดโดยรอบทั้งสองข้าง และ 6) เอาปลายนิ้วมือ ถูฝ่ามือ สลับกันทั้งสองข้าง 8 รวมเวลาที่ใช้ล้างมือนี้ประมาณ 15-30 วินาที (อย่างน้อย 10 วินาที) นอกจากนี้ควรล้างมือด้วยน้ำที่กำลังไหลรินจากก๊อกน้ำ และควรใช้ผ้าหรือกระดาษสะอาดเช็ดมือให้แห้ง หรือทำให้แห้งด้วยเครื่องเป่าลมหลังล้างเสร็จ 5 การล้างมือนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เพียงแค่ใช้สบู่กับน้ำสะอาด ล้างอย่างถูกวิธีก็จะสามารถลดการติดเชื้อได้อย่างดีมากแล้ว เมื่อไรบ้างที่ควรล้างมือ                                               ควรล้างมือในกรณีต่าง ๆ ดังนี้: ล้างมือ หลังเสร็จกิจกรรมที่ทำให้มือสกปรก เช่น ทำงาน ยกของ พรวนดิน กวาดบ้าน ล้างห้องน้ำ เป็นต้น, ล้างมือ เมื่อจะประกอบอาหาร หรือหยิบจับอาหารเข้าปาก, ล้างมือ ก่อนล้างหน้า แปรงฟัน หรือหลังเข้าห้องน้ำ, ล้างมือ เมื่อจะสัมผัสจมูก ปาก หรือตา, ล้างมือ ก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย รวมทั้งในกรณีที่ป่วยเองก็ยิ่งต้องล้างมือให้บ่อย ๆ หลังเช็ดน้ำมูก ไอ จาม, ล้างมือ ก่อนสัมผัสบุตรหลาน และล้างมือ หลังจากกลับจากที่ทำงานมาถึงบ้าน การล้างมือควรกระทำบ่อย ๆ ให้เป็นนิสัย เนื่องจากการสัมผัสบริเวณตา จมูก ปาก หยิบจับอาหาร สามารถนำเชื้อโรคบนมือเข้าสู่ร่างกายได้ นอกจากนี้ การเลี้ยงดูบุตรหลาน โอบกอด ป้อนอาหาร ก็สามารถนำโรคสู่เด็กเหล่านั้นได้ด้วย รณรงค์อย่างไร แม้โรคติดเชื้อจำนวนมาก สามารถแพร่กระจายได้ง่าย ๆ ด้วยการสัมผัส การล้างมือก็เป็นวิธีการง่าย ๆ ที่จะป้องกันการแพร่กระจายของโรคเหล่านี้ แต่โดยประชาชนโดยทั่วไปอาจมองข้ามว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่ และละเลยสิ่งที่ควรปฏิบัติ เห็นได้จากการระบาดของโรคติดต่อ เช่น ตาแดง ให้เห็นอยู่เนือง ๆ การรณรงค์ในเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ โดยต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระดับบุคคลและครอบครัว การที่ผู้ใหญ่ล้างมือให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่าง จะสามารถสร้างอุปนิสัยที่ดีให้แก่เยาวชน ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติต่อไป                                                            จะเห็นว่าการให้ความรู้กับประชาชน แม้จะสามารถเพิ่มความตระหนักในหน้าที่การดูแลสุขภาพของตนได้ แต่จะคงการปฏิบัติและพฤติกรรมของการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องได้นานสักเท่าไร เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมืออย่างจริงจัง “ถึงเวลาหรือยัง ที่ท่านจะสละเวลาที่มีค่าของท่านสักนิด ล้างมือของท่านให้สะอาด เพื่อตัวท่าน บุตรหลานของท่าน และสังคมส่วนรวม” Reference 1. Edmond MB, Wenzel RP. Isolation. In Mandell GL, Bennett JE, Dolin R (eds). Principles and practice of infectious diseases. Philadelphia: Churchill Living Stone; 2000:2991-2995. 2. Pinney E. Hand washing. Br J Perioper Nurs 2000; 10:328-331. 3. Herceg RJ, Peterson LR. Normal flora in health and disease. In Shulman ST, Phair JP, Peterson LR, Warren JR (eds). The Bilogic and Clinical Basis of Infectious Diseases. Philadelphia: W.B. Saunders Company; 1997:5-14. 4. Handwashing Liaison Group. Hand washing: A modest measure-with big effects. BMJ 1999; 318:686. 5. Wendt C. Hand hygiene--comparison of international recommendations. J Hosp Infect 2001; 48 Suppl A:S23-S28. 6. Horton JC. Disorders of the eye. In Braunwald E, Fauci AS, Kasper DL, Hauser SL, Longo DL, Jameson JL (eds). Harrison's Principles of Medicine. New York: McGraw Hill; 2001:164-178. 7. Begue RE, Gastanaduy AS. Clinical Microbiology : Acute Gastroenteritis Viruses. In Armstrong D, Cohen J (eds). Infectious Diseases. London: Harcourt Publishers; 1999:8.1.1-8.1.10. 8. Ayliffe GA, Babb JR, Quoraishi AH. A test for 'hygienic' hand disinfection. J Clin Pathol 1978; 31:923-928. ด้วยความปรารถนาดี จาก รพ.วิภาวดี   ขอบคุณที่มา Thaiclinic.com

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ซีสต์ สารพันเรื่องของผู้หญิง

ซีสต์ สารพันเรื่องของผู้หญิง    ซีสต์ สารพันเรื่องของผู้หญิง ซีสต์ เกิดจากเนื้องอกของผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นถุง ซึ่งมีไขมัน เซลหนังกำพร้า เส้นผมหรือต่อมเหงื่อ หรือสารคัดหลั่งของร่างกายบรรจุอยู่ภายในโครงสร้างที่เป็นผนังของซีสต์ก็คือ ส่วนประกอบของผิวหนัง เช่น รูขุมขน ท่อของต่อมไขมัน หรือต่อมเหงื่อ ซึ่งพองตัวเป็นถุง เนื่องจากมีการอุดตันของรูเปิดของต่อมต่างๆเหล่านี้ หรือ การฝังตัวของเซลล์ผิวหนังเข้าไปในชั้นหนังแท้ ซึ่งเกิดขึ้นตามหลังจากที่ผิวหนังถูกทิ่มแทง เป็นแผล หรือเกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โดยซีสต์ที่เกิดจากกลไกประการหลังนี้ จะเป็นซีสต์ที่เป็นตั้งแต่กำเนิด ซีสต์มีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะต่างกันอย่างไร สามารถจำแนกซีสต์ที่เกิดขึ้น บนผิวหนังตามลักษณะตำแหน่งที่เกิด และส่วนประกอบของซีสต์ ออกเป็นชนิดต่างๆ ซีสต์ที่มีผนังซึ่งมีส่วนประกอบคล้ายผิวหนัง ได้แก่ Epidermal Cyst, Milium, Steatocystoma Multiplex, Vellus Hair Cyst และ Dermoid Cyst ซีสต์ที่มีผิวหนังเป็นท่อของต่อมเหงื่อ ได้แก่ Apocrine และ Eccrine Hidrocystoma Epidermal Cyst เป็นซีสต์ที่พบบ่อยที่สุด โดยเป็นซีสต์ ที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง ที่เป็นส่วนประกอบของรูขุมขน โดยมี Keratin ซึ่งมีส่วนประกอบเหมือนขี้ไคลบรรจุอยู่ภายในซีสต์ชนิดนี้มีลักษณะ เป็นก้อนกลมๆ ขนาดแตกต่างกัน สีเดียวกับผิวหนังซึ่งยึดติดอยู่กับผิวหนังด้านบน แต่ไม่ติดกับเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ซีสต์และอาจมีรูเปิดที่ผิวหนังในส่วนที่ซีสต์ยึดติดอยู่ ซึ่งเมื่อเราดึงผิวหนังให้ตึงจะพบรอยบุ๋มเกิดขึ้นบนซีสต์ในตำแหน่งนี้ และพบสารสีขาวๆ คล้ายสังขยาไหลออกมาเมื่อเราบีบซีสต์ แต่ไม่ควรใช้วิธีนี้ในการวินิจฉัยซีสต์ เนื่องจากการบีบซีสต์อาจทำให้ซีสต์มีการอักเสบ เจ็บและบวมแดงขึ้นได้ Epidermal Cyst จะมีขนาดแตกต่างกันไป เป็นกันได้ในทุกเพศทุกวัยและทุกส่วนของร่างกาย แต่พบบ่อยคือ ที่ใบหน้า คอ หน้าอก และหลังส่วนบน Milium หรือสิวข้าวสาร เป็นซีสต์ที่มีผนังและส่วนประกอบเหมือน Epidermal Cyst แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีลักษณะเป็นตุ่มแข็งสีขาวคล้ายสิว ซึ่งอยู่ตื้นและมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1-2  ม.ม. ซีสต์ชนิดนี้ พบได้ทุกอายุตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงวัยชรา เป็นได้เท่าเทียมกันทั้งผู้หญิงและผู้ชาย พบได้ทั่วทั้งตัว แต่จะพบบ่อยที่บริเวณใบหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่จมูกในทารกแรกเกิด และที่หนังตาและแก้มในเด็ก นอกจากนี้ Milium ยังมักเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ผิวหนังเคยถูกทำลายมาก่อน เช่นในบริเวณที่ ผิวหนังเคยเป็นแผลถลอก หรือเกิดขึ้นหลังการขัดหน้า เกิดขึ้นหลังจากได้รับการฉายรังสีหรือตากแดดจนไหม้ หรือหลังจากเป็นโรคผิวหนังที่เป็นตุ่มน้ำพองใส หรือเกิดขึ้นในบริเวณที่เคยทายาสเตียรอยด์อยู่นานๆ ส่วนใหญ่เมื่อผิวหนังมีการสมานแผลภายหลังการที่ผิวถูกทำลายด้วยลักษณะต่างๆ เหล่านี้ ก็อาจมี สิวข้าวสารเกิดขึ้นได้ Steatocystoma Multiplex เป็นซีสต์ที่เกิดขึ้นที่ท่อของต่อมไขมัน (Sebaceous Duct) ผนังของซีสต์ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับซีสต์ชนิดแรกคือ Epidermal Cyst แต่สารที่บรรจุภายในซีสต์ไม่ใช่ Keratin แต่เป็นไขมันที่ผลิตจากต่อมไขมัน ซีสต์ชนิดนี้มักจะพบในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ทั้งหญิงและชาย มีลักษณะเป็นตุ่มใต้ผิวหนังขนาดแตกต่างกันแต่มักไม่เกิน 5 ซ.ม.  ซึ่งพบได้บนผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย แต่พบบ่อยบริเวณกลางหน้าอก ต้นแขนและต้นขา ถ้าซีสต์ประเภทนี้อยู่ตื้นจะมองเห็นเป็นตุ่มสีเหลืองๆ แต่ถ้าซีสต์อยู่ลึกจะเห็นเป็นตุ่มสีเดียวกับผิวหนัง ลักษณะสำคัญของซีสต์ประเภทนี้ก็คือ ถ้าใช้เข็มเจาะซีสต์จะมีน้ำมันสีเหลืองคล้ายเนยเหลวๆ ไหลออกมา ซีสต์ประเภทนี้มักจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันหลายๆตุ่ม Vellus Hair Cyst เป็นซีสต์ขนาดเล็กซึ่งมีผนังและสารที่บรรจุอยู่ในซีสต์คล้ายกับ Epidermal Cyst และ Steatocystoma Multiplex แต่มีเส้นผมขนาดเล็ก (Vellus Hair) บรรจุอยู่ภายในซีสต์ด้วย ทำให้ซีสต์มีลักษณะเป็นตุ่มสีคล้ำ ซีสต์ชนิดนี้มักเกิดขึ้นพร้อมกันหลายๆ ตุ่มทั่วร่างกาย Dermoid Cyst เป็นซีสต์ที่พบไม่บ่อย ซีสต์ชนิดนี้มักเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือวัยเด็ก และเป็นซีสต์ที่มีส่วนประกอบเหมือนผิวหนังมากที่สุด โดยผนังของซีสต์ประกอบด้วยเซลผิวหนัง เส้นผม ต่อมเหงื่อและต่อมไขมัน ลักษณะของซีสต์เป็นก้อนกลมใต้ผิวหนัง ขนาดประมาณ1-4 ซ.ม. ซึ่งอาจมีปอยผมงอกออกมาจากซีสต์ ตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ บริเวณหางคิ้ว จมูก และหนังศีรษะ ซีสต์ชนิดนี้ถ้าเป็นบริเวณกึ่งกลางของร่างกาย เช่น จมูก และศีรษะบริเวณท้ายทอยอาจมีทางเปิดติดต่อกับสมอง เนื่องจากผนังของซีสต์ประกอบด้วยเซลผิวหนัง จึงมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้เช่นเดียวกับผิวหนังทั่วๆไป แต่อุบัติการณ์ในการเกิดมะเร็ง จากซีสต์ต่ำมาก จนไม่จำเป็นต้องกังวลจนกลัดกลุ้ม โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากซีสต์ ส่วนใหญ่จึงเป็นการอักเสบและการติดเชื้อแทรกซ้อน ซึ่งมักเกิดขึ้นในกรณีที่ซีสต์แตก จากการถูกเจาะหรือบีบซีสต์ หรือการที่ซีสต์นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกเสียดสีบ่อยๆ ทำให้สารที่บรรจุอยู่ในซีสต์เล็ดลอดออกมากระตุ้นให้ร่างกายเกิดขบวนการอักเสบ และเชื้อแบคทีเรียที่อยู่บนผิวหนัง แทรกซึมเข้าไปเจริญเติบโตในซีสต์ ทำให้ซีสต์มีขนาดใหญ่ขึ้น แดงและเจ็บ สำหรับ Dermoid Cyst นั้นนอกจากจะมีโอกาสเกิดการอักเสบและติดเชื้อ เช่นเดียวกับซีสต์ชนิดอื่นๆ แล้ว ในกรณีที่ซีสต์มีทางเปิดติดต่อกับสมอง การติดเชื้อที่ซีสต์จึงอาจลุกลามเข้าไปในสมอง เกิดเป็นฝีในสมองได้ ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นซีสต์แบบไหนไม่ควร เจาะ แคะ แกะ เกาบ่อยๆ เพราะจะทำให้ติดเชื้อได้โดยไม่รู้ตัว การรักษา เนื่องจากซีสต์เป็นเนื้องอกที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้น้อย จึงไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดออก แต่ควรผ่าตัดเอาซีสต์ออกในกรณีที่ซีสต์นั้นมีการอักเสบติดเชื้อบ่อยๆ หรือมีโอกาสที่จะเกิดการอักเสบติดเชื้อ จากการที่ซีสต์นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับการเสียดสีบ่อยๆ สำหรับซีสต์ที่มีขนาดเล็กและอยู่ตื้น เช่น Milium อาจให้การรักษาด้วยการเจาะและใช้เครื่องมือสำหรับกดสิว กดเอาสารที่บรรจุอยู่ในซีสต์ออก ส่วนการรักษา ซีสต์ชนิดอื่นก็ทำได้โดยการผ่าตัดเอาก้อนซีสต์ออกส่วน Steatocystoma นั้น เนื่องจากสารที่อยู่ในซีสต์เป็นน้ำมัน จึงอาจรักษาได้ด้วยการใช้เข็มเจาะดูดเอาน้ำมันที่บรรจุอยู่ในซีสต์ และลอกเอาผนังของซีสต์ออก ในกรณีที่ซีสต์มีการอักเสบติดเชื้อ ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะร่วมกับการผ่าซีสต์เพื่อระบายหนองออก สำหรับ Dermoid Cyst ที่อยู่ในตำแหน่งที่อาจมีทางเปิดติดต่อกับสมองนั้น ก่อนให้การรักษาแพทย์จะต้องทำการตรวจอย่างละเอียดร่วมกับการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนไว้ล่วงหน้า ซีสต์ เป็นเรื่องไม่น่าต้องกังวลมากนัก เพราะโอกาสกลายเป็นมะเร็งค่อนข้างต่ำมาก ที่สำคัญไม่ว่าคุณจะเป็นซีสต์แบบไหน หรือถ้ายังไม่แน่ใจว่าเป็นซีสต์ ก็ลองไปให้แพทย์ผิวหนังช่วยวินิจฉัยดูได้ เพื่อความสบายใจ สิ่งที่ต้องดูแลตัวเองให้ดีคืออย่ามือซนไปบีบ เจาะซีสต์เองเพราะสามารถทำให้ติดเชื้อ และเป็นแผลขึ้นมาได้                 ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สูตินรีเวช รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

น้ำลูกยอ ดีจริงหรือ

น้ำลูกยอ ดีจริงหรือ    น้ำลูกยอ ดีจริงหรือ ลูกยอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citrifolia Lin ชื่อวงศ์ Rubiaceae ชื่อท้องถิ่น มะตาเสือ, ยอบ้าน, แยใหญ่ ลูกยอที่มีในบ้านเรา เป็นจีนัส สปีชี่เดียวกับของตาฮีติ ที่มีขายทั่วโลก คือถือเป็นพันธ์เดียวกัน อาจแตกต่างกันบ้างเช่นทุเรียน หมอนทองกับก้านยาว ไม่สามารถบอกได้ว่าของใครจะดีกว่ากัน ลูกยอ มีประโยชน์ ทางด้านคุณค่าของอาหารที่มี วิตามิน ซี วิตามิน A และ ธาตุโปตัสเซียมสูง นอกจากนั้นจะมีลักษณะเหมือนพืชผักผลไม้จำนวนมากตรงที่มีสาร แอนตี้ออกซิแดนท์ ซึ่งถือว่าชะลอการแก่ของเซลล์ และต้านมะเร็งได้ รักษาสารพัดโรคได้จริงหรือ งานวิจัยลูกยอมีไม่มากนัก ที่มีการวิจัยมากที่สุดเป็นที่คณะแพทย์ในเกาะตาฮีติเอง แต่การวิจัยเหล่านี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ เพราะถือว่าอาจมีอคติได้ เพราะเป็นการสนับสนุนธุรกิจของประเทศตน จะยอมรับต่อเมื่อมีการออกแบบที่ดี และได้รับการตีพิมพ์ทางวารสารการแพทย์ที่เชื่อถือได้ และมีคนทำการทดลองซ้ำและได้ผลเช่นนั้นจริง ถ้าไปค้นในเวบไซด์จะมีรายงานเป็นรายบุคคลว่าทานแล้วสามารถลด ความดันโลหิตสูงได้ เพิ่มพลังงาน สดชื่น ลดการอักเสบ ช่วยรักษาหวัด ระงับปวด รักษามะเร็ง โรคเอดส์ ลดไขมันในเลือด รายงานเหล่านี้เป็นรายบุคคลประปราย จากแพทย์บางท่าน หรือนักโภชนาการ สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ เพราะยังไม่มีการวิจัยทดลองที่แน่นอนแต่อย่างใด แต่มีการลงเวบไซด์เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เพราะเป็นเวบไซด์ประกอบกับการขายผลิตภัณฑ์ งานวิจัยเท่าที่มี  รายงานที่ตีพิมพ์อย่างแท้จริง เมื่อค้นในห้องสมุดแพทย์ และจาก Medline search มีเพียงประมาณ 20 รายงานทั่วโลก มีสามรายงานที่มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ ในลูกยอมีสาร Polysaccharide ( noni PPt ) มีผลต่อเซลล์ของมะเร็งคือ ต้านมะเร็ง Lewis lung carcinoma ได้จริง และยืดอายุของหนูที่เป็นมะเร็งนี้ได้จริง แต่ยังไม่มีการวิจัยในคน ( Phyto ther Resp 1999 ) อาจมีผลป้องกันมะเร็งได้ จากการที่มีสาร Anti oxidant โดยดูการลด DMBA-DNA adduct formation และด้วยกลไกอื่นๆอย่างไรก็ตามไม่มีรายงานในคนว่าผู้ที่ทานลูกยอ จะเป็นมะเร็งน้อยกว่าผู้ที่ไม่ทาน หรือรักษามะเร็งได้ ซึ่งต่างจากกระเทียมที่มีรายงานทางระบาดวิทยาว่าผู้ที่ทานกระเทียมจะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้ใหญ่น้อยกว่าผู้ที่ไม่ทาน และสารสกักระเทียมยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลายชนิดกว่า ข้อควรระวัง                                                                                         น้ำลูกยอมีธาตุโปแตสเซียมสูงมากประมาณ 56 meq/L พอๆกับน้ำส้ม และน้ำมะเขือเทศ และมีรายงานว่าผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังทานน้ำลูกยอแล้วมีโปตัสเซียมสูงมากจนเป็นอันตราย จึงไม่ควรทานในโรคไต ในประเทศไทย มีรายงานผลการรักษาคนไข้ที่มีอาการและอาเจียน หลังจากฟื้นจากโรคมาลาเรีย โดยเทียบกับ metoclopamide และชาจีน พบว่าต้านการอาเจียนไม่ดีเท่า metoclopamide แต่ให้ผลดีกว่าในกลุ่มควบคุม แต่เป็นการตากแห้งชงน้ำไม่ใช่ทานน้ำคั้นสด สรุป โดยสรุป ลูกยอ เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ มีวิตามินซี โปตัสเซียม วิตามิน เอ สูง มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยชะลอการแก่และต้านมะเร็ง โดยหลักการแล้วน่าจะป้องกันมะเร็งได้บ้าง เหมือนกับการทานผักผลไม้สดทั้งหลาย ตัวน้ำลูกยอมีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งชนิด Lewis lung carcinoma แต่มะเร็งชนิดนี้พบได้น้อยมาก การทานน้ำลูกยอไม่มีอันตรายเว้นผู้ป่วยโรคไต และเป็นไปได้ว่าลูกยอไทย อาจจะไม่ต่างหรืออาจะดีกว่าหรือด้อยกว่าของต่างประเทศก็ได้ แต่เป็นพันธ์เดียวกัน ด้วยความปรารถนาดี จาก รพ.วิภาวดี   ขอบคุณที่มา Thaiclinic.com     LINETwitterFacebook

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน

บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน    บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน           -อ้วน             -อายุมากกว่า 40 ปี             -มีภาวะความดันโลหิตสูง             -เมื่อทดสอบความทนต่อน้ำตาล (กลูโคส) ด้วยการดื่มกลูโคส 75 กรัม             แล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคสอยู่ในช่วง 140-199มก./ดล.             -มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงและระดับโคเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ             -มีระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล.             -มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานในอนาคตขึ้นกับจำนวนปัจจัยเสี่ยง เช่น ถ้าอ้วน มีอายุมากกว่า 40 ปี มีโรคความดันโลหิตสูง ไขมันสูง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน หรือมีระดับน้ำตาลที่มากกว่า 100 มก./ดล. จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยความปรารถนาดี จากศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อและไต รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคแอนแทรกซ์

 โรคแอนแทรกซ์ โรคแอนแทรกซ์ ซึ่งกำลังถูกใช้ในการทำสงครามชีวภาพ ความจริงโรคนี้ไม่น่ากลัวนัก รักษาก็ไม่ยาก และบ้านเราเองก็มีมานานแล้ว แต่มีประปรายไม่มาก มาทำความรู้จักกันเลย สาเหตุ โรคแอนแทรกซ์ ( อ่านว่า แอนแถรก ) ได้รับการพิสูจน์ โดย โรเบิต คุก ในปี พ.ศ. 2420 ว่ามีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย แบซิลลัส แอนทราซิส ( Bacillus anthracis ) ซึ่งมีรูปร่างลักษณะเป็นแท่ง เชื้อสามารถสร้างสปอร์ในอาหารเหลว สปอร์ มีลักษณะเป็นช่องกลมๆใส อยู่ภายในเซลล์ สปอร์สามารถอยู่ในดินได้นาน 20-25 ปี ในที่แห้งมีความทนทานต่อความร้อน 140 C ได้นาน 1-3 ชั่วโมง แต่ถ้ามีความชื้นด้วย เช่นนำไปต้ม จะทนความร้อน 100 C ซึ่งเท่ากับความร้อนที่น้ำเดือด ได้นานเพียง 5-30นาทีเท่านั้นครับ เชื้อนี้พบได้ตามพื้นดิน ไม่เคลื่อนไหว ชอบอยู่ติดกันเป็นโซ่ยาวๆ การระบาดมักจะติดเชื้อในสัตว์ และรุนแรงจนทำให้สัตว์ถึงแก่ความตายได้มาก แต่ก็สามารถติดต่อในคนได้ การติดต่อ การติดต่อในคนที่พบบ่อยเป็นการติดเชื้อทางผิวหนัง ทางเดินอาหาร และที่ปอด เชื้อแอนแทรกซ์์ พบได้ทั่วโลกทั้งเอมริกา ยุโรป อาฟริกา ตะวันออกกลางและเอเซีย โรคแอนแทรกซ์ เป็นในสัตว์ได้เกือบทุกชนิด แต่มักพบในสัตว์เลือดอุ่นเลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว ควาย ม้า ลา ฬ่อ แพะ แกะ สัตว์กินเนื้อและนกบางชนิดก็พบได้ โรคจะติดต่อมาสู่คนได้เมื่อสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค ซึ่งจะมีเชื้อโรคในทุกส่วนของสัตว์ ทั้ง ขน เนื้อ เลือดกระดูก ในคนจึงรับเชื้อ 3 ทางคือ การติดเชื้อผิวหนังที่เป็นแผล ทางระบบการหายใจ และระบบทางเดินอาหาร การติดเชื้อผิวหนังที่เป็นแผลเกิดจากไปสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่เป็นโรค ทางระบบหายใจพบได้น้อยในประเทศไทย มักจะพบในอุตสาหกรรม ขนสัตว์ หนังสัตว์ ซึ่งเชื้อในหนังและขน และกระจายไปในอากาศ เมื่อหายใจเข้าไปก็ติดเชื้อในปอดได้ ในส่วนนี้ เป็นการติดเชื้อที่กลัวกันมากว่าจะนำมาใช้ในสงคราม ส่วนการติดเชี้อในอาหารมักจากการทานเนื่อสัตว์ที่เป็นโรคโดยไม่ทำให้สุกก่อน อาการ อาการทางคลินิก 1. แอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง เท่าที่มีในประเทศไทย มักจะได้ประวัติว่าไปแล่เนื้อวัวควายที่ตายเองโดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมาประมาณ 2-3 วันจะมีตุ่มแดงขึ้นตรงที่สัมผัส เช่นมือหรือนิ้วมือ ตุ่มจะคันแต่ไม่เจ็บ และในเวลา 12-48 ชั่วโมงต่อมา จะพองเป็นตุ่มน้ำใส และกลายเป็นตุ่มหนอง ตรงกลางจะแตกและแผลจะลึกกลมเหมือนเบ้าขนมครกมีขอบนูนชัด แผลจะกลายเป็นสีน้ำตาล ต่อมาจะกลายเป็นสีดำเหมือนถูกบุหรี่จี้ขอบแข็ง การที่แผลเป็นสีดำเหมือนถ่านหิน จึงได้ชื่อว่าแอนแทรกซ์ ซึ่งรากศัพท์ แปลว่าถ่านหินนั่นเองครับ ทั้งหมดจะเกิดประมาณวันที่ 5 หลังจากมีตุ่มแดง แผลอาจพบได้ที่นิ้ว บริเวณ ตา คอ แขน ขา ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ปวดหัว และอ่อนเพลีย ในรายที่รุนแรง การอักเสบจะลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง และเข้าสู่กระแสเลือด เกิดภาวะ ติดเชื้อในเลือด ช็อกและเสียชีวิตได้ 2. แอนแทรกซ์ ที่ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง หายใจขัด กระสับกระส่าย เจ็บคอ เจ็บหน้าอก ลิ้นบวม หอบ เขียว ไอเป็นเลือด เกิดความดันโลหิตต่ำ ช็อค ถึงแก่กรรม การติดเชื้อทางหายใจจะรุนแรงและการดำเนินโรคจะเร็วกว่าแบบอื่น ดังนั้นต้องรีบรักษา จุดเด่นคืออาการเร็ว เจ็บหน้าอก ไอ เป็นเลือด 3. แอนแทรกซ์ ที่ระบบอาหาร มักจะมีประวัติกินแกงเนื้อ ยำเนื้อ และมาด้วยอาการปวดท้องฉับพลัน ท้องร่วงอย่างรุนแรง คล้ายกับอหิวาต์ อุจจาระอาจเป็นเลือดสดๆจำนวนมาก ทำให้มีอาการซีด ไข้สูง อาเจียน อ่อนเพลีย ถ้าอาการหนักมาก ก็อาจช็อค ถึงแก่กรรมได้ อาการแทรกซ้อนและการรักษา อาการแทรกซ้อนอื่น อาจพบติดเชื้อในกระแสเลือด จะมีไข้สูง ช็อค อาจติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง จะมีอาการทางสมอง คือ ปวดหัว สับสน กระวนกระวาย เอะอะอาละวาด จนกระทั่งซึมหมดสติ การวินิจฉัย โรคไม่ยากคือ ได้จากประวัติ สัมผัสสัตว์หรือได้รับจดหมายมีผงแป้งของจริงจากบิล ลาเดน หรือ ผู้ก่อการร้าย ตรวจร่างกายพบอาการดังกล่าว และตรวจพบเชื้อจากเสมหะ ผิวหนัง หรือเพาะเชื้อจากเลือด  สำหรับ การรักษา โชคดีที่รักษาไม่ยาก ยาที่ใช้ได้มีหลายตัวด้วยกันได้แก่ เพนนิซิลิน สเตรพโตมัยซิน เตตร้าไซคลิน อีรีย์โทรมัยซิน คลอแรมเฟนนิคอล ถ้าเป็นเพนนิซิลลิน ส่วนมากมักต้องให้ยาในรูปการฉีดเข้าเส้นเลือด เพราะรักษาไม่ยากจึงไม่น่ากลัว และลักษณะเชื้อชนิดแกรมบวก ก็มักจะไม่ดื้อยามาก แต่ก่อนที่ตายกัน เพราะยังไม่มีการพบยาทีรักษา แต่ตอนนี้มียาดีหลายอย่างมากมายครับ การป้องกัน การป้องกัน กระทำได้โดย ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน ไม่ทานเนื้อสุกๆดิบ เช่น น้ำตก ลาบ การต้มเดือดประมาณ ครึ่งชั่วโมงจะทำลายสปอร์ได้หมด ถ้าสัตว์ตายโดยไม่ทราบสาเหตุต้องแจ้งเจ้าหน้าที่มาตรวจ ถ้าเปิดซองจดหมายพบแป้งให้แจ้งกระทรวงสาธารณสุข ถ้ารู้ปั๊บรักษาปุ๊บ ปลอดภัยแน่นอนครับ การฉีดวัคซีน อาจฉีดได้ในสัตว์ ส่วนในคนไม่แพร่หลายมักให้แก่ บุคคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับสัตว์ หรือในอนาคต อาจเป็นเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ ในรายทีสัมผัสโรคไปแล้ว ควรเฝ้าสังเกตุอาการประมาณ 7 วัน เพราะระยะฟักตัวของโรคไม่เกิน 7 วัน ถ้าพ้นนี้ไป สบายใจได้ ถ้าระหว่างนี้ป่วยก็รักษาทันครับ สรุป แอนแทรกซ์จึงเป็นโรคที่น่ารู้ แต่ไม่น่ากลัวสำหรับบ้านเรา และที่สำคัญที่สุด คือเราไม่เป็นศัตรูกับใคร ก็คงไม่มีใครมาแกล้งเรา หวังว่าคงจะได้รับความรู้กันเต็มที่นะครับ ด้วยความปรารถนาดี จาก รพ.วิภาวดี   ขอบคุณที่มา Thaiclinic.com  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภัยร้ายใกล้ตัวจาก แมลงก้นกระดก

ภัยร้ายใกล้ตัวจาก “แมลงก้นกระดก”  สวัสดีครับ ผมชื่อ พีเดอร์รัส บางคนก็เรียกว่า แมลงก้นกระดก ตอนนี้ใครๆ ก็กลัวและบอกว่าเรากำลังระบาด ก่อโรคผิวหนังให้กับผู้คนมากมาย ก่อนจะด่วนสรุปว่าเราน่ากลัวมาทำความรู้จักกับเรามากขึ้นเรามี ชื่อภาษาอังกฤษว่า Paederus spp. เป็นแมลงตัวเล็กๆ แต่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีแถบขวางที่ลำตัวเป็นสีส้มกับสีดำ เราไม่ได้คิดเองก็รูปของเราไปอยู่ในข้อสอบของคุณหมอทั้งหลายบ่อยๆ เลย แต่เอ๊ะ! อยู่ๆ ของเหลวในตัวพวกเราไปก่อโรคผิวหนังได้ล่ะ คือ  พวกเราเป็นแมลงที่ออกบินตอนกลางคืน แล้วเป็นพวกหลงแสงสี เห็นแสงไฟที่ไหนไม่ได้ บินไปบินมาพอแรงตก พวกเราบางตัวก็เลยร่วงตกลงมาบนผิวของพวกคุณที่นอนอยู่บริเวณใต้โคมไฟนั้น พวกเราเดินเล่นอยู่ดีๆ บนผิวหนังของคุณ เมื่อคุณหลับไปแล้วก็อาจจะรู้สึกระคายผิวโดยที่ไม่รู้ตัว เผลอตบพวกเราทั้งๆ ที่ยังหลับอยู่ พวกเราจึงตัวแตกตายคาที่สารระคายเคืองที่อยู่ในตัวของพวกเราจึงออกมาเลอะผิวหนังในบริเวณนั้น ก่อให้เกิดผิวหนังอักเสบในลักษณะไหม้สารเคมี (Chemical burn) หากคุณตบพวกเราด้วยมือ แล้วเอาไปขยี้ตาต่อก็จะทำให้เยื่อบุตาอักเสบจากการระคายเคืองได้เช่นกัน ทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นขณะที่คุณหลับ พวกคุณจะไปพบแพทย์ด้วยความตกใจว่า ตื่นมามีผื่นแสบ ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง และตาอักเสบแบบฉับพลัน sudden (ซึ่งต่างกับงูสวัดซึ่งประวัติจะยาวนานกว่า) อาจพบผื่นที่มีรูปร่างจำเพาะ เช่น แนวเส้นตรง (Linear confiuration) หากว่าคุณสังหารเราให้ตายแล้วลากเป็นทางยาว หรือเป็นผื่นแบบสมมาตรกันในตำแหน่งข้อพับ (Kissing lesion) หากว่าคุณสังหารด้วยการพับแขน ลักษณะผื่นผิวหนังที่พบได้ เช่น ผื่นแดงแสบ ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง ทำให้หลายท่านเข้าใจผิดคิดว่าเป็นงูสวัด การรักษา ไม่มีอะไรน่ากลัวอย่างที่สื่อโซเชียลร่ำลือกัน แพทย์จะให้การรักษาแบบผิวหนังอักเสบที่ไม่ใช่การติดเชื้อ ดูแลแผลอย่างเหมาะสมตลอดจนเฝ้าระวังการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ก็หายสนิท แต่อาจทิ้งรอยดำหลังการอักเสบไว้ได้บ้าง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปรอยดำพวกนี้ก็จะจางลงเอง การป้องกัน หากพบพวกเราคลานอยู่บนผิวของท่าน อย่าตบให้สารระคายเคืองแตกคาผิวให้จับพวกเราออกก็จบแล้ว   ที่มาจาก : สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ด้วยความปรารถนาดีจากศูนย์ผิวหนังและเลเซอร์โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ท่าทางการทำงานเพื่อสุขภาพที่ดี

 ท่าทางการทำงานเพื่อสุขภาพที่ดี เราจะมาพูดกันในหัวข้อ ต่อไปนี้ครับ อันตรายจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม ลักษณะท่าทางการทำงาน วิธีการทำงาน การเคลื่อนย้ายวัสดุชิ้นงาน อันตรายจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม       1. อันตรายต่อเอ็น และกล้ามเนื้อ 2. อันตรายต่อข้อต่างๆ 3. อันตรายต่อเส้นประสาท 4. อันตรายต่อเส้นเลือด ลักษณะท่าทางการทำงาน 1. มือและข้อมือ ท่าทางที่เหมาะสม วางมือในแนวราบเป็นเส้นตรง ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง 1) การงอนิ้วมือและนิ้วย้อนกลับมาด้านหลังของมือ 2) การงอมือและนิ้วห้อยลงด้านหน้า 3) การหักข้อมือให้เบี่ยงออกไปทางด้านหัวแม่มือ 4) การหักข้อมือให้เบี่ยงออกไปทางด้านนิ้วก้อย 5) การหมุนมือและแขนแบบหมุนออกทางด้านนิ้วก้อย 6) การหมุนมือและแขนแบบหมุนเข้าทางด้านนิ้วก้อย 2. แขนและไหล่ ท่าทางที่เหมาะสม ช่วงหัวไหล่และท่อนแขนในขณะทำงานควรจะระนาบและตั้งฉากกับลำตัว ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง 1) มือ แขน หรือไหล่เหยียดตรงออกไปด้านหน้าของลำตัว 2) แขน หรือไหล่เคลื่อนที่ไปทางด้านหลังของลำตัว 3) เหยียดแขนตรงออกไปด้านข้างของลำตัว 4) งอแขนเข้าหาลำตัว 3. คอและหลัง ท่าทางที่เหมาะสม ในขณะยืนหรือนั่ง กระดูกสันหลังจะต้องโค้งเว้าตามธรรมชาติ ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง 1) การงอหลังหรือการโน้มตัวไปข้างหน้า 2) การบิดเอี้ยวลำตัวตรงกระดูกส่วนเอว 3) การเอียงลำตัวไปทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง 4) การเอียงคอไปทางด้านข้าง 5) การก้มเงยคอไปมา 6) การหันหน้าไปมา 4. เข่าและขา ท่าทางที่เหมาะสม ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง 1) การคุกเข่าหรืองอขาเป็นระยะเวลานาน 2) ยืนอยู่ท่าเดียวเป็นเวลานาน วิธีการทำงาน 1. มือและข้อมือ ท่าทางปกติในขณะทำงาน - มือและข้อมืออยู่ในแนวตรงคล้ายการจับมือทักทาย - ควรปรับระดับความสูงของตำแหน่งวางชิ้นงานให้เหมาะสม กับตำแหน่งการวางมือและข้อมือ - ควรวางชิ้นงานตรงหน้าโดยตรง - หากมีการเคลื่อนที่ของชิ้นงานในขณะทำงาน ควรสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของมือ การทำงานซ้ำๆ กัน                 - หลีกเลี่ยงการออกแรงทำงานของมือเดิมซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน - ควรมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของมือและข้อมือไปมา - ควรสลับเปลี่ยนชิ้นงานที่ต้องทำให้หลากหลายหากต้องทำงานใดเป็นเวลานานๆ - ถ้าเป็นไปได้ควรมีการสลับหน้าที่การทำงานกันบ้าง การออกแรงจับถือ - ลดการออกแรงจับถือชิ้นงานโดยการใช้ทั้งมือจับ - หลีกเลี่ยงการจับถือสิ่งของที่ใหญ่เกินไป หรือเล็กเกินไป - ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ทั้งสองมือทำงานประสานร่วมกัน - ใช้วิธีการลากหรือเลื่อนสิ่งของแทนที่จะใช้วิธีการจับขึ้นในแนวดิ่ง การใช้ถุงมือและมือจับ               - พิจารณาขนาดและตำแหน่งของมือจับให้รู้สึกถนัดกระชับ - ควรใช้ถุงมือที่มีขนาดพอเหมาะกับมือ - ควรใช้ถุงมือที่มีขนาดใหญ่พอที่จะไม่บีบรัดการไหลเวียนเลือด การใช้เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ - พยายามหลีกเลี่ยงการงอบิดของข้อมือบ่อยครั้งเกินไป - พยายามลดการออกแรงกดที่ไม่จำเป็น - ควรใช้ถุงมือยางในการใช้เครื่องมือที่มีการสั่นสะเทือน และเครื่องมือที่ต้องออกแรงหมุน - ดูแลรักษาเครื่องมือให้ปลอดภัยและเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา - ใช้กล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของมือในการใช้เครื่องมือ 2. แขนและไหล่ ท่าทางปกติ - ควรรักษาระดับของไหล่และแขนให้อยู่ในท่าทางปกติ คือ ในระดับของการจับมือทักทายกัน - ข้อศอกควรอยู่แนบกับลำตัว        - ข้อศอกควรอยู่ในระดับต่ำ หรือระดับที่รองรับน้ำหนักในการทำงานของท่อนแขน การเอื้อมจับ - พยายามลดความถี่ในการที่จะต้องยื่นแขนออกไปจับวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน - พยายามลดการที่ต้องยกแขนหรือไหล่ในการเอื้อมมือไปจนสุดเอื้อม การเคลื่อนไหวในขณะทำงาน - ใช้วิธีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ สม่ำเสมอ - หลีกเลี่ยงการยกหรือโยนชิ้นงานขึ้นเหนือศีรษะ - ใช้วิธีการวางชิ้นงานลงเมื่อทำเสร็จ แทนการออกแรงโยน การคงท่าเดิมขณะทำงาน - หลีกเลี่ยงการทำงานท่าเดิมโดยตลอด - ใช้วิธีการหมุนเปลี่ยนงานที่ทำ - ใช้เครื่องมือช่วยในการจับวัสดุอุปกรณ์หรือชิ้นงานในขณะทำงาน - ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อส่วนไหล่และแขนเพื่อให้เกิดการคลายตัว 3. คอและหลัง การทำงานในท่านั่ง ท่านั่งปกติในขณะทำงาน - นั่งทำงานในท่าทางที่การจัดเรียงตัวของกระดูกสันหลังได้รูปทรงตามธรรมชาติ - ใช้เก้าอี้ที่ปรับได้                     

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วิธีปฏิบัติตัวห่างไกลโรคหัวใจ

วิธีปฏิบัติตัวห่างไกลโรคหัวใจ   แนวทางการรักษาโรคหัวใจในปี 2016 เป็นหน้าที่ของแพทย์ในรักษา แต่การปฏิบัติตัวที่จะทำให้ห่างไกลจากโรคหัวใจก็คือ " 4 ไม่ 5 ต้อง 3 ปกติ" " 4 ไม่ " 1. ไม่น้ำตาล 2. ไม่เกลือ 3. ไม่แปรรูป 4. ไม่เนื้อแดง " 5 ต้อง " 1. ต้องทานน้ำมันมะกอก 2. ต้องทานธัญพืช 3. ต้องทานถั่ว 4. ต้องทานผัก 5. ต้องทานปลา " 3 ปกติ " 1. ระดับความดันปกติ 2. ระดับน้ำตาลปกติ 3. ระดับไขมันปกติ                     ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไข่วันละฟองกินได้หรือไม่?

 ไข่วันละฟองกินได้หรือไม่?       ไข่เป็นอาหารที่หาทานได้ง่าย ราคาถูก สามารถประกอบอาหารได้หลายอย่าง แต่เป็นเวลานานหลายปีแล้วที่ทางการแพทย์พบว่า ไข่ประกอบด้วยคลอเรสเตอรอล ที่ทำให้คลอเรสเตอรอลในเลือดสูง และทำให้อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด จึงมีคำแนะนำว่าในผู้ใหญ่ไม่ควรทานไข่เกินสัปดาห์ละ 3ฟอง แต่จากการวิจัยในระยะหลังๆ พบว่า คลอเรสเตอรอลที่มีในไข่ มีผลต่อคลอเรสเตอรอลในเลือดน้อยมาก  ดังนั้นจึงเริ่มมีการรณรงค์ให้ทานไข่กันมากขึ้น และเพิ่มคำแนะนำให้ทานไข่วันละหนึ่งฟอง คำแนะนำใหม่นี้ใช้ได้จริงหรือไม่ เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย หรือเป็นเพียงคำโฆษณา องค์ประกอบของไข่ แบ่งออกเป็น สามส่วนใหญ่ๆ คือ 1. เปลือกไข่ (Shell) เป็นเปลือกแข็ง ห่อหุ้มด้านนอก 2. ไข่ขาว (White egg) มีลักษณะเหลวใสหรือสีเหลืองอ่อนห่อหุ้มไข่แดง 3. ไข่แดง (Yolk egg) มีทรงกลมมีส้มหรือแดง อยู่ตรงกลาง ถ้ามีไข่ที่มีเชื้อ ส่วนของไข่แดงจะเปลี่ยนไปเป็นตัวอ่อนและฟักออกมาเป็นตัวได้ คุณค่าทางโภชนาการ      ไข่เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารหลายชนิดอยู่ภายในไข่ ในไข่ขาวจะมีโปรตีนสูง และเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง คือมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย(Essentil aminoacid) ส่วนในไข่แดงจะมีสารอาหารหลายชนิด ได้แก่โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ      ไขมันในไข่แดงส่วนใหญ่จะเป็นไขมันไม่อิ่มตัว รวมถึงomega-3ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งมีคุณค่าเหมือนไขมันในปลาแซลมอลและปลาทะเล ส่วนคลอเรสเตอรอลจะมีเฉพาะในไข่แดง ไม่มีในไข่ขาว      สารอาหารอื่นได้แก่ ธาตุเหล็ก โฟลิก(Folic acid) ไรโบเฟลวิน(Riboflavin) โคลีน (choline) วิตามินเอ บี ดี และ อี วิตามินที่ไม่พบในไข่คือ วิตามินซี ธาตุเหล็กในไข่ มีคุณค่าเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ แต่เคี้ยวง่ายไม่เหนียวเหมือนเนื้อสัตว์ จึงเหมาะสมกับเด็กทารก และคนสูงอายุที่มีปัญหาเรื่องฟัน  โฟลิก เป็นสารที่ป้องกันเลือดจาง และป้องกันความพิการแต่กำเนิด มีความจำเป็นในหญิงที่ตั้งครรภ์ โคลีน(Choline) เป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างความจำ(Cognitive function) ช่วยพัฒนาการในเด็กที่กำลังเติบโต จะเห็นได้ว่าไข่เป็นอาหารที่มีคุณค่ามาก ให้สารอาหารที่เกือบครบถ้วน ในขณะที่ราคาถูกกว่าอาหารอื่นๆที่มีคุณค่าทางอาหารเท่ากัน สามารถทำเป็นอาหารได้หลายชนิด ไข่กับคลอเรสเตอรอลและโรคหัวใจขาดเลือด                                                                                              ในวงการแพทย์มีความกังวลในคลอเรสเตอรอลที่มีอยู่ในไข่ที่อาจจะเป็นเป็นต้นเหตุของไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะก่อปัญหาให้กับอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด แต่ในงานวิจัยที่พบภายหลัง พบว่าคลอเรสเตอรอลในไข่มีผลทำให้คลอเรสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นความกลัวคลอเรสเตอรอลในไข่เริ่มลดลง โดยในสมาคมหัวใจของ สหรัฐอเมริกา (American Heart Association หรือ AHA) ได้เปลี่ยนคำแนะนำในการทานไข่ ซึ่งจากเดิมไม่ควรเกิน 3ฟองต่อสัปดาห์ เป็น วันละไม่เกินหนึ่งฟอง ความปลอดภัยในไข่ ภัยหนึ่งที่อาจพบได้ในไข่คือ เชื้อโรคชื่อ Samonella Enteritidis เชื้อนี้พบว่าเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย       สาเหตุที่มีเชื้อปนเปื้อนในไข่พบว่าเกิดจากสองสาเหตุคือ สาเหตุแรก ที่เป็นสาเหตุใหญ่คือการที่เปลือกไข่มีเลือดหรืออุจจาระปนเปื้อนในขณะที่ทำการเก็บไข่ เกิดจากการเลี้ยงไก้ในที่ไม่สะอาด ไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นในการเลือกไข่ ควรเลือกไข่ที่ผิวสะอาด ไม่มีสิ่งปนเปื้อนที่เปลือกไข่ ถ้าเปลือกไข่เปื้อนมากควรทำการเช็ดผิวให้สะอาดก่อนที่จะทำการเก็บ  สาเหตุที่สองคือ การที่แม่ไก่ป่วยติดเชื้อ และเชื้อไปฝังตัวอยู่ในรังไข่ เมื่อออกมาเป็นไข่จะมีเชื้ออยู่ในไข่แดง ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการทานไข่ดิบ ควรทำให้สุกก่อนทาน เชื้อ Samonella จะเจริญได้ดีในอุณหภูมิห้อง แต่เจริญลดลงในอุณหภูมิที่เย็น ดังนั้นจึงควรเก็บไข่ไว้ในตู้เย็น ซึ่งไข่ที่เก็บในตู้เย็นสามารถเก็บไว้ได้นาน 3 สัปดาห์ โดยที่ไข่ไม่เสีย การทานไข่อย่างฉลาด      นอกจากการทานไข่ควรทำให้สุกแล้ว การทานไข่ในรูปแบบไข่ต้ม ไข่ตุ๋น ไข่พะโล้ จะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าไข่ชนิดอื่น การทำไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย ในการปรุงอาหารควรใช้น้ำมันที่ไม่อิ่มตัว อาหารที่ควรทำ คือ สลัดไข่ หรือยำไข่ เพราะจะทำให้ได้สารจากไข่ มีไฟเบอร์และวิตามินซีจากผัก และผลไม้ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ขนมปังไข่ดาว ใส่เบคอน ไส้กรอก เพราะจะได้รับปริมาณไขมันสูงมากจากเบคอน น้ำมันที่ใช้ทอด และเนยที่ทาขนมปัง     ควรเลือกทานไข่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด มากกว่าไข่ฟองเล็ก เช่น ไข่นกกระทา เพราะปริมาณคลอเรสเตอรอลในไข่ใบใหญ่จะน้อยกว่าในไข่ใบเล็ก เมื่อเทียบกันในปริมาณเท่ากัน ไข่วันละฟองทานได้หรือไม่                                                                         ในคนทั่วไป การทานไข่วันละฟองถือว่าไม่มากเกินไป โดยเฉพาะในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต และในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องฟันที่ไม่สามารถทานอาหารโปรตีนอื่นได้ แนะนำให้ทานไข่เป็นแหล่งของโปรตีนแทน เนื้อสัตว์ ในคนสูงอายุ ถ้ามีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง ในบางมื้ออาจหลีกเลี่ยงการทานไข่แดง ทานเฉพาะไข่ขาวเท่านั้น     คนที่ไม่ควรทานไข่มากเกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ คือคนที่มีไขมันในเลือดสูง และจำเป็นต้องควบคุมไขมันในเลือด ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ ก็คงต้องงดทาน เพื่อไม่ให้เกิดอาการแพ้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่โชคดี มีการผลิตไข่ที่สามารถทานได้ตลอดปี และมีแหล่งผลิตที่ดีและสะอาด ราคาไม่แพง ดังนั้นเราจึงควรเลือกทานอาหารโปรตีนที่มาจากไข่ มากกว่าการเลือกทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ซึ่งคุณค่าทางอาหารสู้ไข่ไม่ได้  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคของต่อมลูกหมาก

โรคของต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่จะเกิดกับผู้ชายทุกคนเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ในจำนวนนี้มะเร็งของต่อมลูกหมากเป็นโรคอันตราย   โรคของต่อมลูกหมาก โรคของต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่จะเกิดกับผู้ชายทุกคนเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ในจำนวนนี้มะเร็งของต่อมลูกหมากเป็นโรคอันตราย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาในระแรก จะสร้างความทรมานแก่ผู้ป่วยอย่างมากเป็นการทำลายคุณภาพชีวิตในวัยทองของตน ในปัจจุบัน ปรากฏว่ามะเร็งของต่อมลูกหมาก เป้นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด เป็นอันดับสองของมะเร็งในผู้ป่วยเพศชาย มะเร็งของต่อมลูกหมาก สามารถตรวจพบได้ในระยะแรก และเมื่อตรวจพบแล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ การปฏิบัติตนเองเพื่อการตรวจค้นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก 1.การตรวจสุขภาพประจำปี ครอบคลุมโรคของต่อมลูกหมาก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1.1 ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งของต่อมลูกหมากได้แก่(ปู่ ตา บิดาและพี่ชายร่วมสายโลหิต) เมื่ออายุเกิน 40 ปี จะต้องได้รับการตรวจต่อมลูกหมาก ในการตรวจสุขภาพประจำปี ทุกๆปี อย่างสม่ำเสมอ 1.2 บุคคลทั่วไปเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจสุขภาพครอบคลุมโรคของต่อมลูกหมากปีละ1ครั้ง 2.ผู้ที่มีอาการของต่อมลูกหมากโตผิดปกติ จะต้องได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อความมั่นใจ อาการของต่อมลูกหมากโต ได้แก่ - ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน(เกินกว่า2ครั้ง) - ปัสสาวะบ่อย (เร็วกว่า 2 ชั่วโมง) - ปัสสาวะไม่สุด กะปริบกะปรอย - กลั่นปัสสาวะไม่ได้ มีปัญหาราดเล็ด - ปัสสาวะไม่พุ่ง - ปัสสาวะไม่หยด เปรอะเปื้อนมือเท้า - ต้องออกแรงเบ่ง เวลาถ่ายปัสสาวะ การตรวจของแพทย์ ดำเนินเป็นขั้นๆ ดังนี้ 1.การตรวจโดยแพทย์ทั่วไป แพทย์จะสั่งตรวจ - น้ำปัสสาวะ เพื่อตรวจว่ามีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะร่วมด้วยหรือไม่ หากมีการติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับการรักษาเริ่มต้นพร้อมกันไป - ตรวจเลือด เพื่อวิเคราะห์สภาพของไต(ส่งตรวจCREAYININE หรือ B.U.N.) ว่ามีการอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะเพียงไร การตรวจเลือดหาปริมาณของ ENZYME ซึ่งผลิตในต่อมลูกหมาก เรียกว่า P.S.A. (Prostatic Specific Antigen) หากพบสูงในเลือด (ค่าปกติ 4ng%) จะนำไปสู่การพิจารณา เพราะอาจเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ 2. การตรวจโดยแพทย์ของระบบทางเดินปัสสาวะ เมื่อแพทย์ทั่วไปได้พบการเปลี่ยนแปลงในน้ำปัสสาวะในเลือดแล้ว หรือเมื่อผู้ป่วยมีอาการของต่อมลูกหมากโต (7 ข้อความ กล่าวแล้ว) จะส่งให้แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะตรวจวิเคราะห์ต่อไป โดยจะทำการตรวจตามขั้นตอน คือ 2.1 ใช้นิ้วมือตรวจทางทวารหนัก เพื่อคลำต่อมลูกหมากว่ามีขนาดโตเพียงไร มีปุ่มก้อนเนื้อคลำได้หรือไม่ และต่อมลูกหมากมีความแข็ง และเคลื่อนไหวได้เพียงไร 2.2 หากพบก้อนในต่อมลูกหมากจะต้องทำการตรวจในขั้นต่อไป คือ การตรวจด้วยเครื่อง Ultrasound ทางทวารหนัก พร้อมกับพิจารณาเจาะชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก ในบริเวณที่เป็นก้อนออกมาตรวจ ยืนยันการเป็นมะเร็งอีกครั้งหนึ่ง 2.3 หากการตรวจโดยเครื่องมือไม่พบก้อน และต่อมลูกหมากไม่แข็งกว่าปกติ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยมาตรวจวัดปริมาณของ PSA ในเลือดในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน หากผลของ PSA ในเลือดไม่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้นไม่มาก โอกาสเป็นมะเร็งจะน้อย ผู้ป่วยจะได้รับการนัดหมายติดตามดูต่อไปอย่างใกล้ชิน หากผลของ PSA สูงมากกว่าเดิม จะได้รับการแนะนำให้ทำการตรวจด้วย Ultrasound และเจาะเอาชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมากออกมาวิเคราะห์ด้านมะเร็งและเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการเฝ้าติดตามต่อไป การตรวจของแพทย์ทางระบบทางเดินปัสสาวะ จะเป็นการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย ว่าต่อมลูกหมากเป็นโรคชนิดใดและควรจะได้รับการรักษาด้วยวิธีใด จึงจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตในระยะวัยทองได้อย่างมีความสุข LINETwitterFacebook

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<