ปวดศรีษะไมเกรน

          เชื่อว่าสมองของผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนมีการไวในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะอยู่นอกร่างกายหรืออยู่ภายในร่างกาย อาการและอาการแสดง ปวดศีรษะมากจนทำงานไม่ได้ บางคนปวดจนน้ำตาไหล ส่วนใหญ่ปวด 4-72 ชั่วโมง มีปัจจัยที่ทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นคือการเคลื่อนศีรษะ ปวดศีรษะอาจมีอาการคลื่นไส้ ถ้าเป็นมากจะอาเจียน โดยมากจะมีสิ่งที่กระตุ้นทำให้ปวดศีรษะได้แก่ แสงจ้า เย็นหรือร้อนจัด เสียงดัง สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน เชื่อว่าสมองของผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนมีการไวในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะอยู่นอกร่างกายหรืออยู่ภายในร่างกาย อาการและอาการแสดง ปวดปวดศีรษะมากจนทำงานไม่ได้ บางคนปวดจนน้ำตาไหล ส่วนใหญ่ปวด 4-72 ชั่วโมง มีปัจจัยที่ทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นคือการเคลื่อนศีรษะ ปวดศีรษะอาจมีอาการคลื่นไส้ ถ้าเป็นมากจะอาเจียน มีสิ่งที่กระตุ้นทำให้ปวดศีรษะได้แก่ แสงจ้า เย็นหรือร้อนจัด เสียงดัง  โดยมากเป็นในอายุน้อย ชนิดของไมเกรนที่พบบ่อย      1.Classic migrain : อาการมักเกิดในช่วงวัยรุ่น เมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดศีรษะจะลดลงจนกระทั่งหายขาด แต่ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการนำมาก่อน เช่น เห็นแสงแลบ ตามองไม่เห็น ชาซีกใดซีกหนึ่งเราเรียก classic migrain      2.Common migrain : อาการแสดงมักเกิดบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร ปวดมักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำเรียก common migrain ไมเกรนเป็นโรครักษาไม่หายขาดแต่ถ้าเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำสามารถทำให้ควบคุมโรคได้ ชนิดของไมเกรนที่พบไม่บ่อย Hemiplegic migraine อ่อนแรงของแขนขาข้างหนึ่งเป็นระยะเวลาช่วงสั้นๆ Ophthalmoplegic migraine ปวดศีรษะร่วมกับหนังตาตก เห็นภาพซ้อน Basilar artery migraine ก่อนปวดศีรษะจะมีอาการเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้ เห็นภาพซ้อน Status migrainosus ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะนานกว่า 72 ชั่วโมงและมีอาการมากกว่าปกติ      การวินิจฉัย อาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นส่วนใหญ่ เกณฑ์การวินิจฉัยมี ดังนี้ จะต้องมีอาการปวดศีรษะ อย่างน้อย 5 ครั้ง ปวดศีรษะนาน 4-72 ชั่วโมง ลักษณะปวดศีรษะต้องประกอบด้วยลักษณะอย่างน้อย 2 ประการ ปวดข้างเดียว และมีอาการปวดตุ๊บๆๆ , ปวดมากจนทำงานประจำไม่ได้ ขึ้นบันไดหรือเคลื่อนไหวทำให้ปวดมากขึ้น ขณะปวดศีรษะจะต้องมีอาการนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง คลื่นไส้หรืออาเจียน ,แสงจ้าหรือเสียงดังทำให้ปวดศีรษะ   การรักษาในผู้ป่วยไมเกรน   1.รักษาด้วยการควบคุมอาการ       การควบคุมปัจจัยชักนำ            • หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน เช่น แอลกอฮอล์โดยเฉพาะไวน์แดง ผงชูรส เนย นม ชอคโกแลต กล้วยหอม ผงชูรส ผลไม้ประเภทส้ม กาแฟและชา            • การนอน ควรนอนให้เป็นเวลา            • งดการใช้ฮอร์โมน เช่นยาคุมกำเนิด            • ควบคุมความเครียด เช่น ออกกำลังกาย ทำสมาธิ            • ควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ อากาศ แสงไฟกระพริบ กลิ่นที่ฉุนเฉียว       2.การรักษาด้วยการให้ยา ส่วนมากเป็นยาลดและบรรเทาอาการปวด ซึ่งถ้ารับประทานเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบกับร่างกาย เช่น ระคายเคืองกับกระเพาะอาหาร มีผลทำลายตับ เป็นต้น       3.การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา มีรายงานว่าการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาก็สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะ       • การทำสมาธิ       • การจัดการกับความเครียด       • การฝังเข็ม       • การออกกำลังกาย  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โภชนบำบัดผู้ป่วยโรคเก๊าท์

โภชนบำบัดผู้ป่วยโรคเก๊าท์               โรคเก๊าท์ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสะสมกรดยูริก (Uric acid) ในร่างกาย กรดยูริกได้จากการเผาผลาญสารพิวรีน ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้และพบได้ทั่วไปในอาหารหลายชนิด โดยปกติพิวรีนที่ร่างกายได้รับจะถูกย่อย และกลายเป็น กรดยูริก ในคนปกติไตจะทำหน้าที่ขับกรดยูริกออกให้ทันต่อการสร้างใหม่ การสะสมของกรดยูริกทำให้เกิดอาการปวดรุนแรง ในกระดูกและรอบๆ ข้อกระดูก ในผู้ชายกรดยูริกไม่ควรที่จะเกิน 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้หญิงกรดยูริก ไม่ควรเกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรโรคนี้สามารถติดต่อได้ทางกรรมพันธุ์             การควบคุมอาหารผู้ป่วยโรคเก๊าฑ์ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เช่น เบียร์ , เหล้า เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ยูริกสูงขึ้น งดอาหารที่มีพิวรีนสูง  กลุ่มอาหารที่มีพิวรีนสูงมากกว่า 150 มิลลิกรัม ได้แก่ หัวใจไก่ ไข่ปลา ตับไก่ มันสมองวัว กึ๋นไก่ หอย เซ่งจี้หมู ห่าน ตับหมู น้ำซุปกระดูก ปลาดุก ยีสต์ เนื้อไก่ เป็ด ซุปก้อน กุ้งซีอิ้ว น้ำสกัดเนื้อ ปลาไส้ตัน ถั่วดำ ปลาตัวเล็ก ถั่วแดง เห็ด ถั่วเขียว กระถิน ถั่วเหลือง ตับอ่อน ชะอม ยอดฟักแม้ว ปลาอินทรีย์ กะปิ ปลาซาดีนกระป๋อง กลุ่มอาหารที่มีพิวรีนปานกลาง พิวรีนอยู่ 50-150 มก. เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ขี้เหล็ก สะตอ ข้าวโอ๊ต ผักโขม ถั่วลันเตา หน่อไม้ ข้าวที่ไม่ขัดสีจนขาว กลุ่มอาหารที่มีพิวรีนน้อย 0-50 มิลลิกรัม ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่  ผักต่างๆ ผลไม้ น้ำตาล ผลไม้เปลือกแข็ง ไขมัน ข้าวขาว ก๋วยเตี๋ยว มันเทศ ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมาก เช่น อาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะไขมันในร่างกายทำให้การขับกรด ยูริกออกได้น้อยลง ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว มีสารพิวรีนสูง จำกัดปริมาณการรับประทาน นมถั่วเหลืองไม่ควรดื่มเกินวันละ2แก้ว ควรเว้นการรับประทานผักส่วนยอด เช่น ต้นอ่อนของผัก เช่น ยอดคะน้า ยอดผักหวาน ยอดผักบุ้งจีน หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน ชะอม ผักขม งดอาหารหมักที่ใช้ยีสต์เป็นตัวเร่งหรือส่วนประกอบเช่น เต้าเจี้ยว เมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้ จะมียูริกค่อนข้างมาก แม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม ควรงดโดยเฉพาะขณะปวด               ข้อควรปฏิบัติอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ 1. รับประทานผลไม้และผักให้มาก โดยเฉพาะผักโตเต็มวัย 2. รับประทานอาหารให้ครบ5หมู่ 3. ดื่มน้ำสะอาด มากๆ วันละ3ลิตร เพื่อช่วยขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ 4. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 5.ไม่รับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง         หนังตาตก แขนขาอ่อนแรง... อาการแสดงของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ (Myasthenia Gravis : MG) ภัยแฝงที่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายทำงานอย่างผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยหนุ่มสาว เฉลี่ยอยู่ที่ 3 คนต่อประชากร 100,000 คน ทำให้โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงถูกนับให้เป็นภัยแฝงใกล้ตัว เพราะแม้ภายนอกจะยังคงดูสดใส แต่สภาวะกล้ามเนื้อข้างในอาจกำลังค่อยๆ อ่อนแรงลง     โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ (Myasthenia Gravis : MG) คือหนึ่งในกลุ่มโรคทางด้านระบบประสาทสั่งการ (Motor Neuron Disease : MND) โดยมีประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) คอยทำหน้าที่ส่งสารสื่อประสาท (Receptor) ที่เชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ให้ตอบสนองโดยการเคลื่อนไหว เช่น การบีบมือ และคลายมือ ซึ่งในผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นจะมีจำนวนตัวรับสารสื่อประสาท (Receptor) ที่น้อยกว่าคนทั่วไป รวมถึงปัญหาที่เกิดจากต่อมไทมัสที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เข้าไปทำลายตัวรับสารสื่อประสาทเอง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ โดยมักจะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อมัดที่ใช้เป็นประจำ เช่น กล้ามเนื้อดวงตา  กล้ามเนื้อรอบปากและลำคอ กล้ามเนื้อใบหน้า กล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา   เราจึงมักเห็นผู้ที่เป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีอาการตาตก เห็นภาพซ้อน การพูด-เคี้ยว-กลืนค่อยๆ ผิดปกติไป และการเดิน หรือเคลื่อนไหวที่อ่อนแรงลงไปแบบเฉียบพลัน  "กล้ามเนื้ออ่อนแรง" รู้เร็ว รักษาทัน 1. อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ แขน หรือ ขา หรือมีอาการกลืนลำบาก 2.เสียงเปลี่ยน ร่วมกับอาการกล้ามเนื้อลีบและกล้ามเนื้อเต้นกระตุก 3.พูดลำบาก หายใจติดขัดและหอบเหนื่อยจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรง 4.กระบังลมอ่อนแรง จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เพราะมีอาการเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลานอนราบ 5.มีอาการต้องตื่นกลางดึก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องให้อาหารทางสายยางผ่านจมูกหรือทางหน้าท้องและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ   กล้ามเนื้ออ่อนแรง (อันตราย) ปล่อยทิ้งไว้อาจได้ภาวะแทรกซ้อน !          ความร้ายกาจของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คือ ผู้ป่วยจะยังคงทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตต่างๆ ได้เป็นปกติในช่วงแรกๆ ของวัน แต่หลังจากนั้นจะค่อยๆ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นได้ ซึ่งหากผู้ป่วยได้หยุดพักหรือหยุดใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นไปชั่วขณะ ก็สามารถฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อกลับมาใช้งานตามปกติได้อีกเช่นเดียวกัน แต่คงดีกว่าหากผู้ป่วยไม่ปล่อยให้อาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นซ้ำๆ แบบเรื้อรัง เพราะความรุนแรงของโรคยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ภาวะหายใจล้มเหลว จากความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ จากการทำงานที่ผิดปกติของต่อมไทรอยด์  ความเสี่ยงต่อการสำลัก จากความผิดปกติของกล้ามเนื้อลำคอ ความเสี่ยงต่อโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคพุ่มพวง (SLE)          หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แนะนำให้หยุดพักสักครู่ หากรู้สึกดีขึ้นควรเข้ารับการวินิจฉัยอาการโดยแพทย์เพื่อเข้าสู่การรักษา และปิดโอกาสการมาของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น   ข้อมูลอ้างอิง : https://www.youtube.com/watch?v=j3iiPoiJBOY https://siamrath.co.th/n/180731 https://absolute-health.org/th/blog/post/autoimmune-disease1.html

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ถอดจากการสัมภาษณ์ ในรายการ Happy&Healthy ช่วง Health Talk FM.102 ทุกวันเสาร์ 09.00 -10.00 น. โรคมะเร็งตับ

ถอดจากการสัมภาษณ์ ในรายการ Happy&Healthy ช่วง Health Talk FM.102 ทุกวันเสาร์ 09.00 -10.00 น. โรคมะเร็งตับ มะเร็งตับ คืออะไร และ เป็นมากในผู้หญิงหรือผู้ชาย ในส่วนของมะเร็งตับจะแบ่งได้ 2 แบบ คือ 1.      มะเร็งแบบปฐมภูมิ เป็นมะเร็งที่เกิดจากเนื้อตับหรือท่อน้ำดีในตับ 2.      มะเร็งแบบทุติยภูมิ เป็นมะเร็งที่แพร่กระจายจากบริเวณอื่นๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม ที่มีการแพร่กระจายมาที่ตับ มะเร็งตับชนิดปฐมภูมิจะพบบ่อยเป็นอันดับ 5 ของมะเร็งทั่วโลกถ้าในประเทศไทยปัจจุบันจากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จะพบว่าเป็นมะเร็งอันดับ 1 ในเพศชาย และ เป็นอันดับ 2 ในเพศหญิง ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นในแบบปฐมภูมิมากกว่า แต่แบบแพร่กระจายจะเป็นได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดอื่นๆในระยะไหน ถ้าเป็นในระยะที่ 4 ส่วนใหญ่จะพบแพร่กระจายมาที่ตับค่อนข้างเยอะเช่น มะเร็งตับทุติยภูมิ   สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งตับ           สาเหตุจะขึ้นอยู่กับภูมิภาค ของทางเอเชีย หรือ ประเทศไทย ส่วนมากจะเป็นเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งการติดเชื้อจะเป็นเรื้อรัง และ สาเหตุสำคัญจะเป็นการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก โดยพบว่าเป็นสาเหตุ 60 % ของมะเร็งตับในคนไทย ซึ่งสถิติคนไทยมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณถึง 6,000,000 ราย ผลของการติดเชื้อจากไวรัสตับอักเสบบี จะทำให้มีการอักเสบของเนื้อตับเรื้อรังเกิดพังผืดเป็นตับแข็ง และกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด  พาหะในความหมายของทางการแพทย์ คือ มีไวรัสอยู่ในระดับต่ำอยู่ แต่ไม่มีอาการแสดงของตัวโรค แต่มีโอกาสที่จะติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ แต่พาหะของไวรัสตับอักเสบบีในประเทศไทย คนที่เป็นพาหะส่วนใหญ่จะมีเชื้ออยู่ในร่างกาย แต่เป็นระยะสงบของตัวโรคก็เลยทำให้เข้าใจว่าพาหะไม่เกิดโรค แต่ถ้าวันหนึ่งมีอาการร่างกายอ่อนแอลง ไวรัสที่ซ่อนอยู่ในเซลล์ตับก็มีโอกาสที่จะเพิ่มจำนวน ทำให้เกิดโรคตามมาได้ ซึ่งหลักๆวิธีที่จะป้องกันได้ คือการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และการตรวจคัดกรองในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง และท้ายสุดถ้าตรวจเจอว่ามีโรค การให้ยาต้านไวรัสตับอักเสบบี สามารถที่จะช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งตับได้ การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีต้องฉีดกระตุ้นทุกกี่ปี              ถ้าเป็นเด็กยุคใหม่เด็กแรกเกิดในประเทศไทย จะมีการฉีดวัคซีนให้ตั้งแต่แรกเกิด จะเป็นการฉีดแบบครอบคลุม 100 % ถ้ากรณีไปตรวจแล้วภูมิไม่ขึ้น แต่ฉีดผ่านไปแล้วหลายปีแต่ไม่มีภูมิขึ้น จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นหรือไม่ จะมีวิธีการฉีดกระตุ้นที่สามารถช่วยกระตุ้นภูมิได้ ไม่จำเป็นต้องฉีดทุกปี ฉีดกระตุ้นแค่ครั้งเดียวพอ แต่จะมีข้อยกเว้นกรณีเดียว คือ วัคซีนที่เคยฉีดกระตุ้นได้ผลแล้วอาจจะไม่ได้ผล คือ ในกลุ่มผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ได้ยาสเตียรอยด์  กลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ที่มีเม็ดเลือดขาวในตัวต่ำ (CD4) มากๆ จะทำให้ภูมิคุ้มกันที่เคยมีลดลงได้ นอกจากไวรัสตับอักเสบบี อีกหนึ่งตัวก็คือ ไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งจะเจอบ่อยในแถบฝั่งตะวันตก แต่ในประเทศไทยจะมีอยู่ประมาณ 10-20% คนที่มีความเสี่ยงจะเป็นผู้ที่ใช้ยาเสพติดที่ฉีดเข้าเส้น กลุ่มพวกสักลายที่มีการใช้เข็มไม่สะอาด และปัจจุบันที่พบบ่อยจะเป็นกลุ่มชายรักชายที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันก็สามารถติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน แต่ปัจจุบันยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบซี มีประสิทธิภาพค่อนข้างดีรับประทานแค่ 3 เดือนก็หายขาด 95-98% แต่ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบบี ส่วนใหญ่ที่ทำได้จะเป็นการกดที่ไม่ให้ไวรัสขึ้นในปริมาณที่เยอะ แต่จะให้กำจัดเชื้อออกจากร่างกายค่อนข้างยาก เพราะเชื้อจะไปหลบซ่อนอยู่ใน DNA ทำให้การกำจัดเชื้อให้หายได้ยากอยู่ และอีกสาเหตุที่พบบ่อย คือ การดื่มสุราเป็นประจำ ทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ทำให้เป็นตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับได้ 2 สาเหตุสุดท้ายจะเป็นในเรื่องของไขมันเกาะตับ ปัจจุบันจะมีคนที่น้ำหนักตัวมากมีปัญหาโรคอ้วนตามมา ทำให้เป็นไขมันเกาะตับได้ และเกิดมะเร็งตับได้ในที่สุด อีกสาเหตุจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน เช่น การทานก๋วยเตี๋ยวที่มีพริกแห้งพริกป่นหรือถั่ว ถ้าไม่สะอาดก็จะมีโอกาสปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อราได้ ซึ่งสามารถทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ มะเร็งตับมีกี่ระยะและสามารถรู้ได้อย่างไรว่าเป็นมะเร็งตับ            มะเร็งตับจะคล้ายๆ มะเร็งทั่วไป คือ ระยะแรกหรือระยะที่รักษาได้ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ และในผู้ป่วยที่มีอาการ ส่วนใหญ่ที่มาถึงก็จะเลยระยะเวลาที่จะสามารถรักษาให้หายขาดได้แล้ว จะแนะนำให้ตรวจคัดกรองโดยใช้ตัวอัลตร้าซาวด์ร่วมกับการตรวจเลือด เช่น ผู้ป่วยตับแข็งไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม ควรตรวจคัดกรองมะเร็งตับทุก 6-12 เดือน ถ้ากรณีผู้ชายอายุ 40 ปี ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรที่จะต้องทำการตรวจคัดกรองมะเร็งตับทุก 6 เดือน ส่วนกรณีผู้หญิงจะตรวจที่อายุ 50 ปี แต่จะต้องทำการดูประวัติของครอบครัวร่วมด้วย ถ้าครอบครัวมีประวัติจะต้องมาตรวจเร็วกว่าปกติทั่วไป ถ้าเป็นระยะหลังจะมีอาการปวดท้องด้านขวา เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตัวเหลือง ตาเหลือง ขาบวม ระยะของมะเร็งตับจะมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (แรก) : ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดเล็ก และมีเพียงก้อนเนื้อเดียว ระยะที่ 2 (ปานกลาง) : มีการลุกลามของก้อนเนื้อเข้าหลอดเลือดในตับ และ/หรือ มีก้อนเนื้อหลายก้อน แต่ยังเป็นก้อนเล็กๆ ระยะที่ 3 (ลุกลาม): ก้อนเนื้อมะเร็งโตมาก และ/หรือ ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียงตับ และ/หรือ เข้าหลอดเลือดดำใหญ่ในท้อง และ/หรือ ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ตับ ระยะที่ 4 (ระยะสุดท้าย): โรคมะเร็งแพร่กระจายตามกระแสโลหิต(เลือด) มักเข้าสู่ตับกลีบอื่นๆ และปอด แต่อาจเข้าสู่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น สมอง และ/หรือ กระดูก หรือ แพร่กระจายยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไปจากตับ เช่น ในช่องท้อง หรือ บริเวณไหปลาร้า ระยะแรก ระยะปานกลาง ซึ่ง 2 ระยะนี้ จะอยู่ในช่วงที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าเป็นระยะลุกลาม หรือ ระยะท้าย ส่วนใหญ่การรักษาจะมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นให้อยู่ได้นานขึ้น แต่โอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้จะเป็นไปได้ยาก ดังนั้นเพื่อการป้องกันควรมาตรวจทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี ส่วนใหญ่ในโปรแกรมการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลทั่วไปจะมีการตรวจอยู่แล้ว แต่กรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอาจจะไม่ได้ตรวจ หลักๆที่ต้องตรวจจะเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติตับแข็ง มีไวรัสตับอักเสบบีผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องตรวจเป็นพิเศษ                                              ถ้ากรณีเป็นไขมันเกาะตับจะมีวิธีการรักษาก่อนที่จะลุกลามอย่างไร           การรักษาในปัจจุบันไม่ได้เน้นการรักษาด้วยยา ถ้ากลุ่มที่เป็นไขมันเกาะตับจะแนะนำให้ผู้ป่วยทำการลดน้ำหนักประมาณ 7-10% จะสามารถช่วยลดการอักเสบของตับและพังผืดได้ แต่หลักๆ ที่สมาคมโรคตับทั่วโลกแนะนำ คือ ให้ผู้ป่วยออกกำลังกายร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ความเสี่ยงที่มีไขมันเกาะตับและกลายไปเป็นมะเร็งตับ หรือ ตับแข็ง จะมีความเสี่ยงสูงหรือไม่         ปัจจุบันมีความเสี่ยงสูง แต่จะมีการตรวจไขมันเกาะตับอยู่ 2 วิธี ถ้ากรณีไขมันเกาะตับอยู่ 30% ตัวอัลตร้าซาวด์ตับจะสามารถตรวจพบได้ ถ้าต้องการตรวจอย่างละเอียดจะเป็นการตรวจ Fibro Scan เป็นการตรวจที่สามารถวัดไขมันในตับได้ รวมถึงดูค่าการมีพังผืดในตับได้เช่นเดียวกัน วิธีการรักษาระยะแรกของไขมันเกาะตับเป็นอย่างไร              วิธีการรักษา จะเป็นการดูแลคนไข้ร่วมกันระหว่างอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ และแพทย์รังสี จะดูว่าทางเลือกไหนเป็นทางเลือกที่เหมาะกับคนไข้ที่สุด ถ้าก้อนมีขนาดเล็กจะใช้วิธีการผ่าตัดเป็นทางเลือกแรก จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดได้ แต่เงื่อนไขจะดูว่าขนาดหรือก้อนต้องมีขนาดไม่ใหญ่เกิน 5 เซนติเมตร ไม่มีการกระจายของมะเร็ง ไปยังบริเวณเส้นเลือดใกล้เคียงอื่นๆ และการทำงานของตับยังดีอยู่ ถ้าการทำงานของตับไม่ดีบางทีตับที่เหลืออยู่อาจไม่เพียงพอต่อการอยู่รอดชีวิตได้ หรือ การทำงานของตับได้ ซึ่งปกติทางศัลยแพทย์จะมีการประเมินว่าตัดได้หรือเปล่า ถ้ากรณีผู้ป่วยมีตับแข็งจะมีอาการเข้าได้ กับโรคตับระยะท้ายๆ และมีมะเร็งตับร่วมด้วย กรณีนี้วิธีการรักษาที่ดีที่สุด ถ้าก้อนไม่ใหญ่มากและยังอยู่ในระยะที่ยังไม่แพร่กระจาย และอยู่ในเกณฑ์กำหนด คือ การปลูกถ่ายตับ คือ การเอาตับเก่าที่มีมะเร็งออก และ เอาตับใหม่ที่ไม่มีมะเร็งใส่กลับเข้าไป แต่ปัจจุบันค่อนข้างทำได้น้อยอยู่จะทำได้ในโรงพยาบาลใหญ่ หรือโรงเรียนแพทย์ ปัญหาในปัจจุบัน คือ การขาดแคลนผู้ป่วยที่บริจาคอวัยวะ จึงทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ต้องการกับจำนวนของตับที่มีให้ยังมีจำกัด ค่าใช้จ่ายในการเฉลี่ยปลูกถ่ายตับประมาณ 1,000,000 บาท ในการผ่าตัดจะเป็นรัฐบาลออกให้จะครอบคลุมเฉพาะข้าราชการและผู้ที่มีประกันสังคม ยังไม่ครบคลุมผู้ป่วยบัตรทองขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนเพื่อขยายการเข้าถึงการรักษาให้ได้วงกว้างมากขึ้น ปัจจุบันสามารถผ่าตัดได้ปีละ 100 - 200 ราย เพราะมีทรัพยากรที่ค่อนข้างจำกัด และอีกวิธีหนึ่งถ้าเป็นก้อนขนาดเล็กยังอยู่ในระยะไม่เกิน 2 เซนติเมตร ที่ใช้ค่อนข้างเยอะ คือ การใช้เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง ซึ่งความถี่สูงจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ไปทำลายตัวมะเร็งตับ ซึ่งมีผลการศึกษาที่รับรองว่าหายขาดได้ ไม่แตกต่างกับการผ่าตัดตับ ในก้อนมะเร็งก็ขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร ซึ่งต่างประเทศจะนิยมมาก เพราะค่านอนโรงพยาบาลกับการผ่าตัดค่อนข้างแพง และผู้ป่วยหลายรายที่ไม่อยากผ่าตัด หรือ มีความเสี่ยงในการผ่าตัดที่ค่อนข้างสูงก็จะเลือกใช้วิธีนี้ แต่เรื่องการเลือกใช้วิธีการรักษาจะต้องประเมินเป็นรายๆไป เนื่องจากตำแหน่งของก้อนจะมีผลกับการรักษา และอีกระยะหนึ่งที่เป็นระยะลุกลามแล้ว ไม่สามารถให้การรักษาโดยการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ หรือ จี้ไฟฟ้า จะมีการรักษาอีกวิธีหนึ่งเป็นการรักษาที่เรียกว่า “TACE” คือการฉีดยาเคมีบำบัดเข้าไปที่ก้อนมะเร็งโดยตรง ร่วมกับฉีด Gelfoam ไปอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง แต่การรักษาไม่ได้ทำให้มะเร็งหายขาด แต่สามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและอยู่ได้นานขึ้น   คำแนะนำเพิ่มเติมในการดูแลตัวเองก่อนที่จะเสี่ยงเป็นมะเร็งตับ            ฝากเรื่องการป้องกันเพราะการป้องกันก็ดีกว่าการรักษา ในบุคคลทั่วไปถ้าพยายามลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี หรือ ซี ต้องระวังพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้น การสักลาย และ พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปหรือไม่เหมาะสม สุดท้ายจะเป็นเรื่องการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะไขมันเกาะตับก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งตับที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง และในผู้ป่วยที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี แนะนำให้ฉีดวัคซีน ซึ่งจะป้องกันที่จะทำให้เกิดโรคได้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หลากหลายสาเหตุของการเกิด ภาวะตกขาว ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้หญิงทุกคนต้องรู้

หลากหลายสาเหตุของการเกิด ภาวะตกขาว ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้หญิงทุกคนต้องรู้ ภาวะตกขาว         ภาวะตกขาว ซึ่งบางทีเรียกว่ามุตกิด หรือระดูขาว นั้น เป็นภาวะหนึ่งที่สตรีส่วนมากต้องประสบและทำให้สตรีจำนวนไม่น้อยมาพบสูติ-นรีแพทย์ ภาวะดังกล่าวอาจเป็นอาการที่แสดงออกมาจากการตอบสนองต่อฮอร์โมนในสตรีที่ปกติ หรือจากการที่เป็นโรคที่ไม่รุนแรงจนกระทั่งเป็นโรคที่รุนแรงก็ได้ ดังนั้นภาวะนี้จึงมีความสำคัญมิใช่น้อย ตกขาว คืออะไร        ตกขาวเป็นของเหลวใด ๆ ที่ไหลออกมานอกช่องคลอดแต่ไม่ใช่เลือด ของเหลวดังกล่าวส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นจากช่องคลอดปากมดลูกและอวัยวะช้างเคียงบริเวณปากช่องคลอด ลักษณะของตกขาวจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทั้งในขณะที่อยู่ในภาวะปกติ หรือกำลังเป็นโรคอยู่ ภาวะตกขาวที่ปกติเป็นอย่างไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร          ตามปกติแล้วในสตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ (อีกนัยหนึ่งคือสตรีที่อยู่ในช่วงอายุที่ยังมีประจำเดือน หรือมีฮอร์โมนเพศหญิงเจริญเต็มที่) จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแตกต่างกันไปตามระยะของประจำเดือน การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลต่อลักษณะของเหลวที่สร้างขึ้นมาจากอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์สตรี ดังเช่น ในช่วงกึ่งกลางรอบประจำเดือนหรือระยะใกล้เคียงกับการตกไข่ซึ่งเป็นเวลาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ทำให้ในช่วงเวลานี้ จะมีตกขาวลักษณะค่อนข้างเหลวใส ๆ ปริมาณมากกว่าระยะเวลาอื่น ส่วนตกขาวในระยะเวลาอื่นจะมีสีขาวขุ่นคล้ายแป้งเปียก นอกจากนั้นแล้วตกขาวที่ปกติควรจะไม่คัน และไม่มีกลิ่น ถ้าตกขาวของท่านมีลักษณะดังที่กล่าวมานี้ถือว่าปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา          อย่างไรก็ตามสตรีแต่ละท่านจะมีปริมาณตกขาวแตกต่างกันไป บางท่านอาจมีปริมาณตกขาวมากจนเปื้อนชุดชั้นในอยู่หลายวันในแต่ละเดือน แต่สำหรับบางท่านอาจมีปริมาณน้อยจนไม่รู้ว่ามีตกขาวเลย นอกจากฮอร์โมนในสตรีวัยดังกล่าว  ทำให้เซลในช่องคลอดสมบูรณ์และมีการสร้างสารประเภทแป้งที่เรียกว่าไกลโคเจน ซึ่งจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยแบคทีเรียชนิดหนึ่งให้เป็นกรดอ่อน ๆ ภาวะนี้จะช่วยป้องกันการรุกรานจากเชื้อโรคชนิดอื่นที่ก่อให้เกิดความผิดปกติได้ ภาวะตกขาวที่ผิดปกติเป็นอย่างไร มีสาเหตุจากอะไร          ตกขาวผิดปกติจะมีลักษณะที่ต่างออกไปจากที่กล่าวมาข้างต้น จะมีสาเหตุใหญ่อยู่ 2 ประเภท คือ สาเหตุจากการติดเชื้อ และสาเหตุจาการไม่ติดเชื้อ ตกขาวที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ           ตกขาวจากสาเหตุนี้เกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา และพยาธิในช่องคลอด ตกขาวประเภทนี้บางชนิดจะมีลักษณะที่ค่อนข้างเฉพาะตัวดังจะกล่าวต่อไป ตกขาวที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส          เชื้อไวรัสบางชนิดเป็นเชื้อโรคที่ติดต่อมาโดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อ บางครั้งอาจไม่มีอาการชัดเจน  ตัวอย่างของโรคในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคเริม ซึ่งเป็นโรคที่ไม่หายขาด จะมีอาการเป็นตุ่มใส ๆ ขนาดเล็ก ต่อมาจะแตกเป็นแผลแสบ มีตกขาวสีเหลืองมีกลิ่นผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครั้งแรกที่ปรากฏอาการ ตกขาวที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย           ตกขาวประเภทนี้มักมีสีเหลือง หรือค่อนข้างเขียว อาจมีอาการคันในบางราย  เชื้อบางชนิดอาจเกิดตกขาวมีกลิ่นคาวปลาหลังการร่วมเพศ แต่ในกรณีที่มีการติดเชื้อจากโรคหนองใน จะมีตกขาวเหลืองจัด อาจร่วมกับมีอาการปัสสาวะแสบขัดได้ ตกขาวที่มีสาเหตุจากเชื้อรา           เชื้อราในช่องคลอดมักทำให้เกิดอาการตกขาวสีขาว มีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายนม และมีอาการคันช่องคลอด การตกขาวชนิดนี้มักไม่ได้เกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยกำลังใช้ยาที่มีฤทธิ์กดภูมิต้านทาน ตกขาวที่มีสาเหตุมาจากเชื้อพยาธิในช่องคลอด          พยาธิชนิดนี้ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ชนิดหนึ่งมักมีสีเหลือง อาจเห็นเป็นฟอง มีอาการคันช่องคลอด และมีกลิ่นออกเปรี้ยวเล็กน้อย ตกขาวที่มีสาเหตุจากการไม่ติดเชื้อ         ตกขาวผิดปกติประเภทนี้ มีสาเหตุได้จากการระคายเคืองหรือแพ้สารเคมี จากมะเร็งในอวัยวะสืบพันธ์สตรี (เช่น มะเร็งของปากมดลูก ช่องคลอด ท่อนำไข่)  รวมทั้งเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด ท่านจะทำอย่างไร ในกรณีที่เกิดปัญหาตกขาว         ท่านที่ประสบปัญหาตกขาว ที่มีลักษณะปกติดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ท่านไม่จำเป็นต้องทำการรักษาแต่อย่างไร เพียงแต่ควรมาพบสูติ-นรีแพทย์ เพื่อตรวจภายในพร้อมทั้งตรวจมะเร็งปากมดลูกประจำปี         แต่ถ้าหากว่าท่านมีอาการตกขาวที่มีลักษณะผิดปกติ กล่าวคือมีสี  กลิ่นผิดปกติหรืออาจมีอาการคันร่วมด้วย ก็ควรจะได้รับการตรวจและรักษาให้ถูกต้องตามสาเหตุ ทั้งนี้เนื่องมาจากการรักษาที่ตรงตามสาเหตุจะทำให้โรคหายเร็วขึ้น เช่น ในกรณีที่ตกขาวจากเชื้อรา แพทย์อาจจะให้ยาเหน็บรักษาด้วย โคลไทรมาโซล หรือถ้าเป็นจากพยาธิในช่องคลอด ก็อาจจะต้องใช้ยารับประทาน เมโทรนิดาโซล เป็นต้น ประการที่สอง สาเหตุของตกขาวที่ผิดปกติบางครั้งอาจเกิดจากมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีได้ โรคดังกล่าวนี้ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน  ส่วนประการสุดท้ายคือ ถ้าอาการตกขาวของท่านมีสาเหตุจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ท่านควรจะได้รับการตรวจหา พร้อมกับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นที่อาจเกิดร่วมด้วย  รวมทั้งต้องมีการตรวจรักษาคู่สมรสด้วยจึงจะไม่ทำให้ท่านและคู่สมรสเกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดโรคขึ้นซ้ำอีกในภายหลัง                  ด้วยความปรารถนาดี ศูนย์สูตินรีเวช รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อดีของการจัดฟัน แบบ Invisalign

ข้อดีของการจัดฟัน แบบใส  Invisalign                              ทุก ๆ อาชีพ ทุก ๆ ช่วงอายุ สามารถจัดฟันแบบใส ได้ ไม่มีขีดจำกัดในการจัดฟันแบบใส Invisalign    ข้อดีการจัดฟันแบบใส Invisalign                    ข้อดีอย่างแรกเลย  คือ ใส่อุปกรณ์แบบใส invisalign แล้วรู้สึกสบายเหมือนไม่ได้ใส่แผ่นใสครอบฟันอยู่ จนบางครั้งลืมไปเลยว่านี่เราดัดฟันอยู่ และไม่ต้องทนเจ็บที่จะต้องมาดึงเหล็กดัดทุกเดือน จนต้องทานแต่โจ๊กไป 2-3 วัน ในขณะที่ดัดฟันแบบใส invisalign สามารถทานอาหารทุกอย่างได้ตามปกติโดยที่ไม่ปวดฟันเลย            ข้อดีต่อมาคือ ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่ต่างจากการแปรงฟันทั่วไป แปรงสีฟันก็ใช้แปรงธรรมดา ไม่ต้องเป็นแบบพิเศษเหมือนคนที่จัดฟันแบบใส่เหล็กดัด และยังไม่ต้องกังวลว่าจะมีเศษอาหารอะไรมาติดที่เหล็กดัดฟันจนทำให้ขาดความมั่นใจ แถมยังสามารถใช้ไหมขัดฟันได้ตามปกติอีกด้วย           นอกจากนี้เคยสังเกตตัวเองมั๊ยคะ  เวลาที่เราคุยกับคนที่ใส่เหล็กดัดฟันเราก็มักจะมองไปที่ฟันที่ใส่เหล็กอยู่ของคนที่เราสนทนาด้วย ทำให้ความสนใจ ของเราส่วนหนึ่งไปดูที่การมองเหล็กดัดฟัน ส่วนการดัดฟันแบบใส invisalign นั้น คนที่สนทนากับเรานั้นส่วนใหญ่แล้วไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าเราดัดฟันแบบใสอยู่ อันนี้จึงเป็นข้อดีที่สำคัญของการดัดฟันแบบใส invisalign เพราะผู้ที่สนทนากับเราก็จะได้ให้ความสนใจในสิ่งที่เราพูด โดยที่ไม่ถูกเหล็กดัดฟันดึงความสนใจไป  และที่สำคัญเลยคือ...เรื่องอายุ เพราะโดยทั่วไปอายุของคนที่เราเห็นใส่เหล็กดัดฟัน ก็จะเป็นเด็กหรือวัยรุ่นส่วนมาก อย่างเราก็อยู่ในวัยทำงาน ถ้ามีใส่เหล็กดัดฟัน ก็อาจจะมีความรู้สึกแปลกๆ เกิดขึ้นในใจของคนที่ได้พบเห็น คนวัยทำงานจึงให้ความสนใจกับการจัดฟันแบบใส กันมากขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คนสูงอายุว่ายน้ำ … ได้ประโยชน์อย่างไร !

ปัญหาคนสูงอายุ  คือ  สุขภาพไม่ดี   โรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ คือ  โรคหัวใจ  โรคมะเร็ง  เส้นเลือดในสมองแตก  โรคเบาหวาน การปรับพฤติกรรมการกินอาหาร  และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ  จะลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรค  หรือควบคุมโรคได้และทำให้มีสุขภาพดีขึ้น ปัญหาของคนสูงอายุอีกประการ   คือ  ข้อเสื่อม  กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง  การออกกำลังกาย  การยกน้ำหนัก  วิ่ง  อาจเป็นอันตรายได้ การว่ายน้ำ เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น  กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น   และไม่ทำให้มีการบาดเจ็บต่อข้อที่รับน้ำหนัก  เช่น  หลัง  ข้อสะโพก  และข้อเข่า ก่อนการลงสระว่ายน้ำเป็นครั้งแรก  ควรได้รับการตรวจร่างกายและคำแนะนำจากแพทย์ว่า  ไม่มีโรคผิวหนัง  ไม่มีบาดแผล  ไม่มีโรคหัวใจระยะอันตราย  ไม่มีปัญหาเรื่องแพ้คลอรีน  ไม่มีโรคเกี่ยวกับตา  แก้วหูทะลุ  หรือการติดเชื้อในช่องหู ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำการใช้สระว่ายน้ำ  เช่น  ทำความสะอาดร่างกายก่อนใช้สระว่ายน้ำ  แต่งชุดว่ายน้ำที่สุภาพ  สวมหมวกว่ายน้ำ  มีแว่นตากันน้ำ  มีที่อุดหูเพื่อป้องกันน้ำเข้าหู  ควรว่ายน้ำในช่วงเวลาที่มีผู้ดูแลรักษาความปลอดภัย การออกกำลังว่ายน้ำได้ประโยชน์หลายอย่าง เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค  ช่วยให้ระบบไหลเวียน  หัวใจทำงานดีขึ้น  ช่วยเผาผลาญไขมัน  ลดน้ำหนัก  ผู้ที่ยังว่ายน้ำไม่เก่ง  สามารถเกาะแผ่นช่วยว่ายน้ำ  แต่ต้องว่ายน้ำต่อเนื่อง  15 – 20  นาที ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง  โดยไม่มีอันตรายต่อข้อ  เช่น  การบริหารกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อเข่า  กล้ามเนื้อหลัง  กล้ามเนื้อหน้าท้อง ช่วยบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ช่วยบริหารให้ข้อเคลื่อนไหวได้มากขึ้น  ช่วยป้องกันรักษาสภาวะข้อยึดติด การออกกำลังเป็นหมู่คณะร่วมกับบุคคลอื่น  หรือในครอบครัว  ช่วยให้มีความสนุกสนาน  เพลิดเพลิน  และก่อให้เกิดสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน การว่ายน้ำสม่ำเสมอ  สัปดาห์ละ  3 – 5  ครั้ง  ช่วยทำให้สุขภาพร่างกายทั่วไปดีขึ้น  แข็งแรงขึ้น  รวมทั้งด้านจิตใจและอารมณ์ดีขึ้นด้วย  เป็นการช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด  ถ้าท่านออกกำลังว่ายน้ำสม่ำเสมอ  รวมทั้งปรับพฤติกรรมการกิน  หลีกเลี่ยงอาหารมัน  หวาน  อาหารทอด  เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์  เช่น  ผัก  ผลไม้หลาย ๆ ชนิด  เนื้อปลา  ธัญพืช  ท่านจะห่างไกลจากโรค  มีสุขภาพที่ดีขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

10 โรคแทรกซ้อนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า คืออะไร          บุหรี่ไฟฟ้า (Electronic Cigarette) เป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่งที่ใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำ ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ แบตเตอรี่  ตัวทำให้เกิดควันและความร้อน (Atomizer) และน้ำยา โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป และด้วยการสูบควันของบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดความเข้าใจว่ามีอันตรายต่อร่างกายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา   ควันจากบุหรี่ไฟฟ้า           ควันจากบุหรี่ไฟฟ้ามีนิโคติน เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติดได้เช่นเดียวกันกับบุหรี่มวน สารนิโคตินนี้ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายน้อยลง ในบุหรี่ไฟฟ้ายังมีสารมีพิษอื่น ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบของร่างกาย ทำให้เกิดอาการไอ ระคายเคืองปอด เพิ่มความเสี่ยงอาการหอบหืด ควันระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่าบุหรี่มวน  สามารถเข้าไปในปอดส่วนลึกมากกว่า ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็ว อีกทั้งขดลวดโลหะในอุปกรณ์สูบบุหรี่ไฟฟ้าสามารถปล่อยโลหะหนักออกมาได้ การสูบควันในระยะยาวอาจทำให้เกิดความผิดปกติของประสาทสัมผัสรับกลิ่น เมื่อการรับรู้กลิ่นลดลง ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจึงต้องเลือกน้ำยาที่มีรสชาติเข้มข้นขึ้น ซึ่งอาจยิ่งสร้างความระคายเคือง ทำลายจมูก ปอด และทางเดินหายใจมากยิ่งขึ้น   ภัยจากบุหรี่ไฟฟ้า            แม้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะไม่ถูกกฎหมายในปัจจุบัน แต่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยนักสูบหันมาใช้แทนบุหรี่แบบดั้งเดิม ด้วยความเชื่อเรื่องความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและบุคคลรอบข้าง นอกจากนี้ยังมีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มจำนวนขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิง เด็ก และเยาวชน ดังนั้นเพื่อหยุดผลกระทบในมิติต่าง ๆ จากบุหรี่ไฟฟ้า จึงต้องมีการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไข ด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและส่งเสริมให้ประชาชนรู้เท่าทันการบุกโจมตีของอุปกรณ์สูบยาประเภทนี้ ข้อมูลจากศูนย์วิจัย พบรายงานโรคแทรกซ้อนจากบุหรี่ไฟฟ้าในระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 49, ระบบหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 13, ช่องปากและฟัน ร้อยละ 18, สมอง ร้อยละ 7,  ตับ ร้อยละ 2.9,  ผิวหนัง ร้อยละ 2.9 และระบบอื่น ๆ ร้อยละ 19            การสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดถึง 1.8 เท่า และทำให้ปอดอักเสบ มีความเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 49 โรคหอบหืดเพิ่มขึ้นร้อยละ 39 แถมยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองในเด็กและเยาวชนลดลงและก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ ปัจจุบันนี้ในประเทศไทยยังไม่มีตัวเลขจำนวนของผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า แต่พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2562              ทุกวันนี้ ยังคงมีการถกเถียงเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าว่า แท้จริงแล้วเป็นตัวช่วยหรือตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับคนอยากเลิกสูบบุหรี่ได้จริงไหม?   บุหรี่ไฟฟ้ากับเยาวชน           บุหรี่ไฟฟ้าเข้าถึงเด็กและเยาวชนได้ง่ายขึ้นโดยผ่านทางโซเชียลมีเดีย “บุหรี่ไฟฟ้า” ในโซเชียลมีเดียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ผู้จำหน่ายดึงดูดใจเยาวชนให้เข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้นด้วยภาพลักษณ์แปลกใหม่ทันสมัย รูปทรงสวย ขนาดเล็ก สามารถพกซ่อนติดตัวได้ง่าย และแตกต่างจากบุหรี่ทั่วไป มีการให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว ทั้งยังหาซื้อได้ง่าย จึงเข้าถึงเด็ก และเยาวชนมากขึ้นเรื่อยๆ ในเด็กและเยาวชนที่สมองยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ พิษของนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าจะส่งผลให้เด็กที่สูบมีอาการหงุดหงิดง่าย เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง ความจำแย่ลง ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน สมาธิสั้น และมีภาวะซึมเศร้า   กลิ่นและรสชาติ            บุหรี่ไฟฟ้าบุกจู่โจมกลุ่มนักสูบหน้าใหม่จากกลิ่นและรสชาติถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่บุหรี่ไฟฟ้าสามารถยั่วใจลูกค้าได้ โดยในตลาดบุหรี่ไฟฟ้ามีของเหลวปรุงแต่งรสประมาณ 20,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีซึ่งระเหยง่าย อาจเป็นสารเคมีที่ใช้กับอาหารทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีความปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย แต่อาจจะไม่ปลอดภัยเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นควันที่สูบหรือสูดเข้าไป การผสมสารปรุงแต่งรสชาติยังเป็นการอำพรางความไม่พึงประสงค์ของควันบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคติน โลหะหนัก ฟอร์มาลดีไฮด์ ฯลฯ ซึ่งทั้งฉุนและเป็นอันตราย สารปรุงแต่งรสทำให้สัญญาณเตือนภัยทางประสาทสัมผัส และปฏิกิริยาป้องกันของผู้ใช้ลดลง มีผลการวิจัยเผยให้เห็นว่า สารแต่งกลิ่นรสทำปฏิกิริยาผลิตสารระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ การสัมผัสเป็นเวลานานอาจทำให้ไอเรื้อรัง มีการอักเสบในทางเดินหายใจ และปอดถูกทำลายอย่างเฉียบพลัน   การใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่คนหนุ่มสาว เด็ก และเยาวชน ทำให้ต้องมีการจับตาเฝ้าระวัง รวมทั้งมีวิธีการแก้ไขและป้องกัน เพื่อลดการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ปกป้องเด็ก เยาวชน และคนหนุ่มสาวจากการติดนิโคตินไปตลอดชีวิต รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ ที่อาจจะตามมา ทั้งนี้ทุกฝ่ายจะต้องทำงานร่วมกัน ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน บุคลากรทางด้านสาธารณสุข องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ และรัฐบาล รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาวะกรดไหลย้อนเข้าหลอดอาหารอย่างไรผิดปกติ ?

ภาวะกรดไหลย้อนเข้าหลอดอาหารอย่างไรผิดปกติ ?  โรคกรดไหลย้อนเข้าหลอดคอ คืออะไร (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD)              ภาวะที่กรดในกระเพาะอาหาร  จะถูกหลั่งออกมาเพื่อการย่อยอาหาร  กรดในกระเพาะนั้นไม่มีการไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหารส่วนบน  แต่ในภาวะผิดปกติ  กรกนี้อาจไหลย้อนผ่านกล้ามเนื้อหูรูดส่วนบนของหลอดอาหาร  ซึ่งอาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบ  และมีแผล (erosive esophagitis) หรือหลอดอาหารอักเสบโดยไม่เกิดแผล (non-erosive esophagitis)            นอกจากนี้  กรดนี้อาจไหลย้อนผ่านหลอดอาหารเข้าสู่หลอดคอและกล่องเสียง (Laryngopharyngeal reflux : LPR)  เกิดพยาธิสภาพต่าง ๆ เพราะเยื่อบุกล่องเสียง  และหลอดคอบอบบางทนสภาวะกรดได้ไม่ดี  รวมทั้งอาจก่อปัญหาด้านระบบการหายใจและปอด  ปัจจัยหรือพฤติกรรมบางอย่าง  เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการไหลย้อนกลับ  ของกรดหรือน้ำย่อยจากหลอดอาหารภาวะนี้เกิดได้ตลอดเวลา  และไม่ว่ากำลังรับประทานอาหารหรือไม่ก็ตามพบอาการนี้ได้ตั้งแต่ทารกจนถึงผู้ใหญ่   อาการทางคอและหลอดอาหาร ·       รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ ·       กลืนลำบาก  ติดขัด  คล้ายสะดุดสิ่งแปลกปลอมในคอ  หรือกลืนแล้วเจ็บ ·       เจ็บคอ  หรือแสบปาก  หรือเจ็บเรื้อรัง  โดยเฉพาะในตอนเช้า ·       รู้สึกมีเสมหะอยู่ในลำคอ  หรือระคายคอตลอดเวลา ·       เรอบ่อย  คลื่นไส้  คล้ายมีอาหาร  หรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอก  หรือคอ ·       อาการปวดแสบปวดร้อน  บริเวณหน้าอก  และลิ้นปี่ (Heartburn) บางครั้งร้าวไปถึงบริเวณคอ  และไหล่ ·       รู้สึกจุดแน่นในคอ  หรือหน้าอก  คล้ายอาหารไม่ย่อย (dyspepsia) ·       มีกลิ่นปาก  เสียวฟัน  หรือมีฟันผุ อาการทางกล่องเสียงและปอด ·       เสียงแหบเรื้อรัง  หรือแหบเฉพาะตอนเช้า  มีเสียงผิดไปจากเดิม ·       ไอเรื้อรัง,  ไอ หรือรู้สึกสำลักน้ำลาย  หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน  จนอาจทำให้ต้องตื่นกลางดึก ·       กระแอม  ไอบ่อย ๆ ·       อาการหอบหืดที่เคยเป็นอยู่(ถ้ามี)  แย่ลง  หรือไม่ดีขึ้นจากการใช้ยา ·       เจ็บหน้าอก (non-cardiac chest pain) ·       เป็นโรคปอดอักเสบ  เป็น ๆ หาย ๆ           อาการที่กล่าวข้างต้น  อาจเป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นตลอดให้ปรึกษาแพทย์  หู คอ จมูก  ซึ่งแพทย์จะตรวจทาง  หู  คอ  จมูก  เพื่อดูว่ามีความผิดปกติบริเวณกล่องเสียง  และคอหรือไม่  เพื่อแนะนำการรักษาและปฏิบัติตัวต่อไป ภาวะกรดไหลย้อนรักษาอย่างไร  ขึ้นอยู่กับอาการ  และสุขภาพของแต่ละคน  โดยทั่วไปหลักการรักษามี 3 ประการ 1.      ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอุปนิสัย  และงดเว้นอาหารบางอย่างเพื่อลดภาวะกรดไหลย้อน 2.      การใช้ยาลดกรดที่ถูกต้อง  มักจำเป็นต้องใช้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ร่วมกับปฏิบัติในข้อ 1. 3.      การผ่าตัดรัดหูรูดกระเพาะอาหาร  จำทำให้รายที่เป็นรุนแรง  และไม่ตอบสนองต่อยา   เทคนิคในการลดภาวะกรดไหลย้อน            การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เป็นเป้าหมายสำคัญของการรักษา  เพื่อให้อาการหายขาด  และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค  โดยปฏิบัติดังนี้              หลีกเลี่ยงอาหาร  และเครื่องดื่ม  ได้แก่  ชา  กาแฟ  น้ำอัดลม  อาหารทอด  อาหารรสจัด  อาหารมัน ๆ ช็อคโกแลต  ผักผลไม้บางชนิด  เช่น  ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว  สะระแหน่  หอมหัวใหญ่  ถั่ว  นม  (ดื่มนมพร่องมันเนยได้) ·       ระวังน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป ·       หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา  สูบบุหรี่  โดยเฉพาะช่วงเย็น ·       อย่านอนราบหลังจากเพิ่มรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ โดยเฉพาะใน 3 ชั่วโมงแรก ·       อย่าใส่เสื้อผ้าคับโดยเฉพาะบริเวณรอบเอว ·       หมุนหัวเตียงให้สูง  อย่างน้อย 6 นิ้ว ·       ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  อย่าเครียด ·       ทำจิตใจให้สบาย  แจ่มใส   ช่วงระยะเวลาของการรักษา              ส่วนใหญ่ผู้ป่วยต้องรักษาค่อนข้างต่อเนื่อง  ตั้งแต่ 6 อาทิตย์  ถึง  6 เดือน   บางคนอาการจะหายไปอย่างสิ้นเชิง  ซึ่งอาจหยุดยาได้หลายเดือน  หรือหลายปี   ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนนิสัยหรือสภาพแวดล้อม  พยาธิสภาพของแต่ละบุคคล  และต้องทำความเข้าใจด้วยว่า  โรคนี้อาจหายขาดไปเลย  หรืออาจกลับมาเป็นใหม่ได้อีก   ***ถ้าท่านมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นภาวะกรดไหลย้อนเข้าหลอดคอ  โปรดปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal Cancer)           เป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้น และเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก สำหรับประเทศไทย ปี พ.ศ.2542 พบมะเร็งลำไส้ใหญ่บ่อยเป็นอันดับสามในชายไทย (8.8 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน) รองจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด เป็นอันดับที่ 5 ในหญิงไทย (7.6 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน) โดยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป และพบว่าหนึ่งในสามของผู้ป่วยมะเร็งนี้จะมีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว ปัจจุบันมีการศึกษาด้านชีวภาพของโรคนี้มากขึ้น ทำให้เข้าใจถึงพยาธิกำเนิดนำไปสู่แนวทางการป้องกันโดยการตรวจคัดกรอง (Screening) ทำให้วินิจฉัยมะเร็งนี้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก่อนที่มะเร็งลำไส้ใหญ่จะลุกลาม ส่งผลให้เพิ่มอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น มีการตรวจหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป ได้แก่ การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ (Fecal Occult Blood Test : FOBT)           เป็นวิธีที่ใช้แพร่หลาย จากข้อมูลทางยุโรปและสหรัฐ พบว่าร้อยละ 1-2.6 ของผู้ที่ให้ผลบวกของ FOBT มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ข้อจำกัดของวิธีนี้คือ ความไวต่ำและมีผลบวกลวงสูง โดยเฉพาะผู้ที่ชอบบริโภคเนื้อแดง หรือผักจำพวกหัวผักกาด กระหล่ำดอก บล็อกโคลี หัวไชเท้า แคนตาลูป ฯลฯ ซึ่งผู้ตรวจควรงดรับประทานอาหารดังกล่าว 3 วัน ก่อนเก็บตัวอย่างอุจจาระ มาตรวจ และอาจต้องเก็บตัวอย่างอุจจาระมาตรวจซ้ำ เพื่อเพิ่มความแม่นยำ ซึ่งผู้คัดกรอง หลายท่านไม่สะดวกและรู้สึกยากลำบากในการเก็บตัวอย่างมาตรวจนั่นเอง การตรวจลำไส้ใหญ่โดยการสวนแป้งและเอกซเรย์ (Double (air) Contrast Barium Enema : DCBE)           เป็นทางเลือกหนึ่งในการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอดีต โดยใช้แป้งแบเรียมสวนเข้าทางทวารหนัก ประสิทธิภาพในการตรวจนี้ไม่ชัดเจน ความไวในการตรวจน้อยกว่าการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ถ้าติ่งเนื้องอกขนาดเล็กกว่า 1 ซม. ข้อจำกัดอีกอย่างคือ ผู้รับการตรวจอาจไม่สามารถทนการตรวจได้ เพราะต้องอัดแป้งเข้าไปประกอบกับต้องกลั้นทวารหนัก พลิกตะแคงไปมาและยังต้องการรังสีแพทย์ผู้มีประสบการณ์ ความชำนาญในการอ่านผลเป็นอย่างดี การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscope)           เป็นวิธีที่มี Cost Effective สูงสุดในปัจจุบัน สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ จึงเป็นที่แนะนำของสมาคมแพทย์ต่าง ๆ ทั่วโลก นอกจากจะเห็นเนื้องอกชัดเจนแล้วยังสามารถนำติ่งเนื้องอกออกได้โดยไม่ต้องผ่าตัด อย่างไรก็ตามวิธีนี้จัดว่ามีภาวะแทรกซ้อนได้ร้อยละ 0.03-0.72 มีค่าใช้จ่ายสูง ผู้รับการตรวจต้องอดอาหารและเตรียมลำไส้ใหญ่ให้โล่งว่าง ทั้งยังต้องการแพทย์ผู้ชำนาญในการส่องกล้องตรวจเพื่อความแม่นยำและลดภาวะแทรกซ้อนในการตรวจ การตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Colonography)           เป็นการนำ Helical CT ซึ่งมีความละเอียดสูง มาประกอบภาพ 3 มิติของลำไส้ใหญ่ ข้อดีคือ ทำให้เร็วและปลอดภัย เห็นภาพได้ตลอดความยาวลำไส้ใหญ่และมองเห็นผิวนอก ต่อมน้ำเหลืองรอบ ๆ ลำไส้ใหญ่ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายอย่างคือ ความไวและความจำเพาะไม่มาก ทั้งยังต้องเตรียมและต้องเป่าลมเข้าลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม เครื่องมือชนิดนี้ยังมีไม่มากและไม่สามารถเบิกจ่ายค่าตรวจจากระบบประกันสุขภาพได้ การรวจหาดีเอนเอ (Fecal DNA Testing)           มีความไวในการคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าการตรวจ FOBT ถึง 4 เท่า แต่มีความไว ครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ การตรวจนี้อาจเป็นที่ยอมรับให้ใช้เป็น เครื่องมือในการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต                                         ด้วยความปรารถนาดีจาก                                 ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<