สารพัดต้อที่ควรรู้

โรคต้อ แบ่งหลักๆออกเป็น 3 ประเภท 1.ต้อลม, ต้อเนื้อ : เป็นความเสื่อมของเยื่อบุตา 2.ต้อกระจก : เป็นความเสื่อมของเลนส์แก้วตา 3.ต้อหิน : เป็นความเสื่อมของเส้นประสาทตา   สารพัดต้อที่ควรรู้ โรคต้อ แบ่งหลักๆออกเป็น3ประเภท 1.ต้อลม, ต้อเนื้อ: เป็นความเสื่อมของเยื่อบุตา 2.ต้อกระจก      : เป็นความเสื่อมของเลนส์แก้วตา 3.ต้อหิน          : เป็นความเสื่อมของเส้นประสาทตา   1.ต้อลม , ต้อเนื้อ ต้อลม จะเป็นลักษณะก้อนขาวเหลือง นูนเล็กน้อยคล้ายวุ้นใสๆ ติดอยู่ที่เยื่อบุตาใกล้ตาดำ พบมากบริเวณด้านหัวตา แต่ทางหางตาก็พบได้ สาเหตุเกิดจากภาวะที่มีการระคายเคืองตาอย่างเรื้อรัง จากฝุ่น แดด ลม ควัน ต้อเนื้อ ก็เป็นความเสื่อมของเยื้อบุตาเช่นเดียวกันพัฒนาเพิ่มมาจากต้อลม จะพบเป็นเส้นเลือดและเนื้อเยื่อหนาตัวขึ้นเป็นแผ่น แผ่จากบริเวณเยื่อบุตาเข้าสู่กระจกตาหรือตาดำ พบมากบริเวณหัวตา 2.ต้อกระจก คือ ภาวะที่เลนส์แก้วตาขุ่น ปกติแล้วเลนส์แก้วตาจะมีความใส ทำหน้าที่ในการหักเหแสงในการมองเห็น เมื่อเกิดต้อกระจกขึ้นก็จะทำให้การมองเห็นลดลง เกิดอาการตามัว สาเหตุที่ทำให้เลนส์ตาขุ่นหรือเกิดต้อกระจก แบ่งได้เป็น 2 สาเหตุ หลักๆคือ 2.1.ต้อกระจกแต่กำเนิด( congenital cataract ) 2.2ต้อกระจกที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง ( acquired cataract ) ทำความรู้จักกับต้อกระจกเชิงลึกอ่านต่อได้ที่บทความนี้ 3.ต้อหิน                                                                                               เป็นโรคของเส้นประสาทตาที่เสื่อมลงอย่างช้าๆ ทำให้ผู้ป่วยค่อยๆสูญเสียลานสายตาและการมองเห็นลง หากไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้ตาบอดได้ สาเหตุที่แท้จริง ยังไม่ทราบชัดเจน เชื่อว่า 3.1 เกิดขึ้นเอง เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างการสร้างและการระบายน้ำในลูกตา 3.2 กรรมพันธุ์            3.3 การใช้ยาบางชนิด เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ 3.4 อุบัติเหตุต่อลูกตา 3.5 การอักเสบของลูกตาที่เป็นเรื้อรัง   ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดต้อหิน ได้แก่ 1.ระดับความดันลูกตาสูงเกินระดับปกติ (20-21 mmHg) 2.อายุตั้งแต่60ปีขึ้นไป 3.ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง เป็นเหตุให้เลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทตาได้ไม่ดี 4.เบาหวาน 5.ภาวะสายตาสั้น   วิธีการดูแลรักษา 1.สำหรับต้อลม , ต้อเนื้อ แนะนำให้ใส่แว่นกันแดด หลีกเลี่ยง ฝุ่น แดด ลม ควัน หรือสาเหตุใดๆ ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองตา หยอดตาลดการอักเสบระคายเคือง สลับกับการใช้น้ำตาเทียม กรณีที่เป็นมาก สำหรับต้อเนื้อที่ยื่นล้ำเข้าไปในกระจกตาหรือตาดำมาก อาจมีผลทำให้เกิดภาวะสายตาเอียง หรือต้อเนื้อไปบดบังการมองเห็นก็แนะนำให้ทำผ่าตัดลอกออก 2.ต้อกระจก หลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เป็นต้อกระจกเพิ่มเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะแสงแดดจ้า ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาต่างๆ กรณีเป็นต้อกระจกระยะเริ่มต้น จะส่งผลให้สายตาเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ซึ่งระยะนี้การใช้แว่นสายตาจะยังพอแก้ไขให้การมองเห็นดีขึ้นได้ มีการอ้างถึงยาหยอดตาบางชนิดที่จะช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาที่พิสูจน์ชัดเจนว่าได้ผลจริง กรณีที่ต้อกระจกเป็นมากถึงระดับหนึ่ง ก็จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดรักษาในปัจจุบันนิยมใช้วิธีการสลายต้อกระจกที่มีอยู่เดิมออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ ก็จะทำให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นชัดเจนดีดังเดิม 3.ต้อหิน การดูแลรักษาขึ้นกับชนิดของต้อหินที่เป็นสาเหตุ บางชนิดไม่แสดงอาการเลย จะทราบได้ก็จากการตรวจพบ ซึ่งผู้ป่วยหลายคนกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรค ก็ตามัวมากเสียแล้ว ดังนั้นผู้ที่สงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยง เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน มีโรคประจำตัวหรือต้องใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เคยมีอุบัติเหตุตามาก่อน เคยมีภาวะตาอักเสบเรื้อรัง หรือตาติดเชื้อ เคยทำผ่าตัดตา ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาและตรวจเช็คเป็นระยะอย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐานการรักษาต้อหินโดยทั่วไป ได้แก่ -การใช้ยาหยอดตา เพื่อลดความดันลูกตาลงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความรุนแรงของโรค และความผิดปกติของเส้นประสาทตาที่เริ่มเสียไป -การทำผ่าตัด จะพิจารณาในกรณีที่ผู้ป่วย ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้ด้วยการใช้ยาหยอดตา -การเลเซอร์ จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นต้อหินมุมปิด(ไม่ได้ทำในผู้ป่วยทุกราย) ทั้งนี้การรักษาต้อหินไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม หรืออาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกันก็ไม่สามารถรักษาให้โรคหายขาดได้ หากแต่เป็นการควบคุมโรคให้คงที่ไว้ไม่ให้เกิดการเสื่อมเสียหายของเส้นประสาทตาเพิ่มเติมต่อไป ผู้ป่วยควรต้องทำความเข้าใจ ให้ความร่วมมือในการใช้ยา และตรวจเช็คตามนัด และมีความคาดหวังที่ถูกต้องว่าวัตถุประสงค์ของการรักษาโรคต้อหิน เพื่อเก็บการมองเห็นที่มีอยู่ไว้ไม่ให้สูญเสียระดับการมองเห็น และไม่สามารถทำให้การมองเห็นที่เป็นอยู่ดีขึ้น   สัญญาณที่บอกว่าเป็นต้อ ต้อบางชนิดมีอาการ มีการเปลี่ยนแปลงภายนอกให้สังเกตได้ แต่บางชนิดไม่แสดงอาการในเบื้อต้น ฉะนั้นการหมั่นสังเกตความผิดปกติต่างๆ ของตาที่ปรากฏ อาการผิดปกติทั้งในแง่การระคายเคือง อักเสบปวดตา หรือตามัว ก็จะช่วยเตือนเราได้บ้างในเบื้องต้น ควรรีบไปตรวจเช็คและรับการรักษาโดยเร็ว และไม่แนะนำให้ซื้อยาหยอดตาใช้เอง กรณีที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรืออยู่ในวัยสูงอายุ การตรวจตาประจำปีน่าจะได้ประโยชน์   การป้องกัน+รักษาความเสี่ยง 1.ต้องทราบก่อนว่าใครคือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และเรามีความเสี่ยงเหล่านั้นหรือไม่ 2.ก่อนใช้ยาทุกชนิด ควรปรึกษาแพทย์ ร่วมกับรับทราบถึงผลข้างคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ 3.สวมแว่นกันแดดให้เป็นนิสัย เมื่ออยู่กลางแจ้ง 4.หาโอกาสตรวจเช็คตาสม่ำเสมอตามเกณฑ์อายุ เพื่อตรวจหาโรคต่างๆ ที่อาจมีได้แต่ยังไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น 5.หมั่นสังเกตตัวเอง หากพบความผิดปกติใดไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์ ไม่ซื้อยาหยอดตาใดใช้เอง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ศูนย์หัวใจวิภาวดี

ศูนย์หัวใจวิภาวดี  หัวใจ...มีอยู่ดวงเดียวเท่านั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาหัวใจ            โรคหัวใจ มีสาเหตุการเกิดทั้งจากปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น การดำเนินชีวิต การบริโภคอาหาร เราสามารถป้องกันโรคหัวใจได้โดย การดูแลตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆที่จะทำลายสุขภาพ เช่น การเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักและการออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่หากเกิด       “ โรคหัวใจ ”  ขึ้นมาแล้วคุณต้องทำการรักษา ปัจจุบัน โรคหัวใจเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง แต่ผู้ที่เป็น “โรคหัวใจ” สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ได้ “ การดูแลรักษา ” มีส่วนสำคัญอยู่มาก         ศูนย์หัวใจวิภาวดี พร้อมให้บริการด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมทั้งทีมแพทย์โรคหัวใจที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทุกสาขา อาทิ · แพทย์มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ · ช่างไฟฟ้าหัวใจ · แพทย์ฟื้นฟูและส่งเสริมสมรรถภาพหัวใจ · ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก · อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ ซึ่งมีประสบการณ์สูงและปฏิบัติงานเป็นทีม ศูนย์หัวใจวิภาวดีจึงพร้อมบริการตลอด 24 ชั่วโมง · กุมารแพทย์โรคหัวใจ เพราะรู้ว่า “ โรคหัวใจ ” เกิดขึ้นได้ทุกเวลาจึงควรตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ และ เมื่อมีอาการ ควรรีบมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ศูนย์หัวใจวิภาวดี พร้อมบริการด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือทางงการแพทย์ที่ทันสมัย 64 – Slice Multidetector Computed Tomography Angiography (MDCTA)การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง            เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รุ่น Somatom Sensation Cardiac64 เป็นเครื่องที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า สามารถทำการตรวจผู้ป่วยที่มีแนวโน้มในการเป็นโรคทางด้านหัวใจ เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน ซึ่งช่วยในการตรวจผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจหลอดเลือดให้เห็นทำให้สามารถป้องกันและทำการรักษาต่อไปได้ทันเวลาและยังเป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถสร้างภาพได้ครั้งเดียว 64 ภาพต่อการหมุน 1 รอบ ( 360  องศา ) สามารถหมุนด้วยความเร็วเพียง 0.33 วินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่ทำให้ทำการตรวจหัวใจได้ดีที่สุด เนื่องจากหัวใจมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา Cardiac catheterization (การตรวจสวนหัวใจ)             เป็นการตรวจและรักษาโดยการใช้สายสวนขนาดเล็ก (ประมาณ 2 มม.) เข้าไปตามหลอดเลือดแดงหรือดำ จากบริเวณขาหนีบ หรือแขนจนถึงหัวใจ แล้วทำการฉีดสารทึบแสงเพื่อ · ตรวจหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary  Angiography) · ประเมินพยาธิสภาพของห้องหัวใจซ้ายหรือขวา · ค้นหาพยาธิสภาพที่ผิดปกติของไฟฟ้าหัวใจ · รักษาภาวะลิ้นหัวใจตีบโดยใช้ Balloon เช่น การทำบอลลูนขยายลิ้นไมทรัล · ปิดผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว หรือรูรั่วในหลอดเลือดด้วยเครื่องมือพิเศษโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดหัวใจ   Coronary  Angiography (การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่)             คือการฉีดสารทึบแสงเพื่อตรวจเส้นเลือดหัวใจ โดยแพทย์จะใช้สายสวนขนาดเล็ก (ประมาณ 2 มม.) ใส่เข้าไปตามหลอดเลือดแดงจากบริเวณขาหนีบหรือแขน จนถึงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (Coronary artery) แล้วฉีดสารทึบแสงเข้าทางสายสวนนั้น เพื่อตรวจดูว่ามีการตีบแคบหรือตันของหลอดเลือดโคโรนารี่บริเวณใดหรือไม่ ซึ่งภาพจะปรากฎให้เห็นในจอมอนิเตอร์อย่างชัดเจน เมื่อพบว่ามีการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจก็สามารถให้การรักษาได้ทันที Percutaneous Transluminal Coronary  Angioplasty and Stenting (การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ที่ตีบแคบ)             คือการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ที่ตีบแคบ โดยการใช้สายสวนที่มี Balloon เล็กๆอยู่ส่วนปลาย ใส่เข้าไปให้ถึงบริเวณที่มีหลอดเลือดตีบแคบ แล้วเป่าลมเข้าไปทำให้พองออกตรงตำแหน่งที่ตีบแคบพอดีแรงกดจะทำให้หลอดเลือดที่ตีบแคบขยายออกบ่อยครั้งมีการใส่ขดลวดสปริงเล็กๆ (stent) เคลือบด้วยน้ำยา DES เพื่อป้องกันการตีบซ้ำภายหลัง ในกรณีที่หลอดเลือดแข็งตีบตัน อาจต้องใช้หัวกรอกากเพชร กรอหินปูนออก Echocardiography (การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง)           ใช้ในการวินิจฉัย และพยากรณ์โรค รวมทั้งตรวจหาความรุนแรง ติดตามผลการรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถวัดขนาดและดูความสามารถในการทำงานของหัวใจรวมถึงโครงสร้างต่างๆได้ดี ศูนย์โรคหัวใจมีเครื่อง Echocardiography 4 มิติ และสามารถตรวจรักษาโรคหัวใจได้   Exercise Stress Test (การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย)             คือการให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานตามโปรแกรมที่กำหนด เพื่อมุ่งเน้นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือขาดเลือดเป็นสำคัญ หรือ อาจใช้ตรวจหาการเต้นผิดจังหวะที่เกิดร่วมกับการออกกำลังกายอีกด้วย การทดสอบชนิดนี้ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้เป็นอย่างดี 24 Hours  Ambulatory ECG  Recording (การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมงชนิดพกพา)            คือ การตรวจหัวใจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง เป็นการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ไว้กับตัวท่านโดยที่ท่านสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือที่ทำงาน ได้ตามปกติโดยที่ไม่ต้องเสียเวลานอนพักค้างที่โรงพยาบาล และเมื่อครบกำหนด 24 ชั่วโมงแล้ว ท่านจึงกลับมาถอดเครื่อง และรองรับทราบผลการตรวจวิเคราะห์จากแพทย์ได้ การตรวจวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราวหน้ามืดคล้ายจะเป็นลมอยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำ Tilt Table Test (การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติโดยการปรับระดับเตียง)            เป็นการตรวจพิเศษเพื่อที่ใช้ทดสอบผู้ป่วย ที่มีอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ เพื่อหาทางแก้ไขหรือรักษาให้ถูกต้องต่อไป เนื่องจากอาการเป็นลมหมดสติเกิดได้จากหลายสาเหตุซึ่งอาจจะมาจากปัญหาทางด้านสมอง หัวใจ ความดันโลหิตต่ำหรือความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous systems) การเป็นลมที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติเป็นสาเหตุของการเป็นลมที่พบบ่อยที่สุด   EKG การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ           ช่วยในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หัวใจโต ความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในเลือด ฯลฯ Cardiac Rehabilitation (การฟื้นฟูและส่งเสริมสมรรถภาพของหัวใจ)            เป็นการผสมผสานกระบวนการต่างๆ ได้แก่ การออกกำลังกายและการให้ความรู้ สร้างแรงเสริมในการปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ให้ผู้ป่วยกลับไปมีสุขภาพทางกายและจิตใจที่ดีต่อเนื่องในระยะยาว ศูนย์หัวใจวิภาวดี พร้อมให้บริการด้วยห้องสวนหัวใจขนาดใหญ่ พร้อมทีมแพทย์และพยาบาลที่มีประสบการณ์ และเครื่องมือการผ่าตัดหัวใจ และเครื่องมือสวนหัวใจที่ทันสมัยรวมทั้งมีหอผู้ป่วยวิกฤตทางโรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ “ โรคหัวใจ ” ที่ต้องได้รับการดูแลรักษา · โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง · โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ / ตัน · ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ · โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด · โรคหัวใจรูห์มาติก · ภาวะกระแสไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ · โรคกล้ามเนื้อหัวใจ · ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ ปริแตก ฯลฯ            หากท่านมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง น้ำหนักเกิน คอเลสเตอรอลสูง เป็นลม หมดสติบ่อยๆ มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือแม้แต่คุณทราบพฤติกรรมของตนเองว่าอยู่ในภาวะ   “ เสี่ยง ” อย่านิ่งนอนใจปล่อยให้อาการลุกลามกลายเป็น “ โรคหัวใจ ”

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หลงลืม เป็นโรคความจำเสื่อมหรือยัง

หลงลืม เป็นโรคความจำเสื่อมหรือยัง? คิดช้า...ลืมง่าย เป็นโรคความจำเสื่อมหรือยัง? ท่านเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหานี้หรือไม่? "ทำไม เมื่อก่อน ความจำดีมาก และระยะนี้ เป็นอะไรไม่รู้ ได้หน้า ลืมหลัง สงสัยจะเป็นโรคอัลไซเมอร์" แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคความจำเสื่อมหรือยัง?     เมื่อสมัยยังหนุ่มสาว สามารถทำงานได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน โดยไม่ขาดตกบกพร่อง แต่พออายุมากขึ้น ต้องทำงานทีละอย่างให้เสร็จก่อน และจึงจะเริ่มทำงานต่อไปได้ สมองของเราเสื่อมแล้วหรือยัง? อาการหลงลืม พบได้บ่อยเมื่ออายุมากขึ้น แต่ในสังคมปัจจุบัน คนมักทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์งาน รับโทรศัพท์ ต้องทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน สมองคนเรามีความสามารถที่จะทำงานได้หลายอย่าง แต่เมื่อมีอาการล้าเพราะต้องทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง เป็นเวลาหลายวันจะส่งผลให้ทำงานได้ไม่ดี หลงลืม ที่เรียกว่า สมาธิไม่ดี หากสมองได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็สามารถทำงานได้ตามปกติ      สำหรับผู้สูงอายุ สมองที่ใช้งานมานานหลายปี จะมีความเสื่อมซึ่งเกิดขึ้นตามวัย ดังนั้นการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันจะทำได้ยากขึ้นต้องใช้ความพยายามมาก จึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเสียใหม่โดยทำงานให้เสร็จทีละอย่าง ก็จะทำงานได้ดีขึ้น สังคมโลกและสังคมไทยกำลังเปลี่ยนเข้าสู่สังคมของคนสูงวัยอายุเฉลี่ยของผู้หญิงไทยอยู่ที่ 85 ปี ขณะที่ผู้ชายมีอายุเฉลี่ย 83 ปี      เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ปัญหาเรื่องความจำจึงเป็นอีกอาการหนึ่งของคนสูงวัย หลายคนพยายามจะฝึกสมาธิ ความจำด้วยการเล่นเกมส์ หรือกิจกรรมเสริมความจำ ซึ่งจะพบได้มากขึ้น สุภาษิตไทยที่กล่าวว่า "ได้หน้า ลืมหลัง" น่าจะเหมาะกับวัยนี้หากต้องทำกิจกรรมหลายอย่าง แม้ว่าจะเป็นเรื่องง่ายๆ ก็อาจจะทำได้สำเร็จเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะความสามารถของสมองลดลง ภาษาอังกฤษเรียกว่า mild cognitive impairment ยังไม่มีคำแปลภาษาไทยอย่างเป็นทางการ แต่ถ้าเรียกว่า อาการขี้หลง ขี้ลืม ก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น ยิ่งอายุมาก อาการก็พบมาก จากการสำรวจพบว่า ผู้ที่มีอาการขี้หลง ขี้ลืม 100 คน จะมี 20-25 คน ที่จะกลายเป็นโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงทีเดียว จะทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าเป็นโรคความจำเสื่อมหรือยัง? หากลูก หรือสามี หรือภรรยา สังเกตเห็นว่ามีอาการหลงลืมบ่อยขึ้น ถามซ้ำๆ ขับรถหลงทาง หรือเฉี่ยวชนบ่อย อารมณ์แปรปรวน จากคนอารมณ์เย็นกลายเป็นคนอารมณ์หงุดหงิดง่าย ใจร้อน พฤติกรรมเปลี่ยน กลางคืนไม่ยอมนอน ชอบค้น ชอบรื้อของ อาการประสาทหลอน หลงผิด ควรปรึกษาประสาทแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง เพราะต้องทำการทดสอบความจำ ตรวจเลือด ตรวจสมองเพื่อหาสาเหตุ โรคความจำเสื่อมที่พบได้บ่อย จะขอกล่าวถึงเพียง 4 โรค คือ โรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์ ซึ่งพบบ่อยที่สุด ระยะแรกจะมีอาการหลงลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานแต่ความจำระยะยาวยังคงปกติ ชอบถามซ้ำ เริ่มมีปัญหากับการคิดคำนวณ ทอนเงินผิด นับเลขผิด ส่วนใหญ่ญาติจะไม่ทันสังเกต เพราะคิดว่าเป็นสิ่งปกติของคนสูงวัย แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการเป็นมากขึ้นนอกจากหลงลืมมากขึ้น ลืมปิดน้ำ ปิดไฟ มรอารมณืแปรปรวน พฤติกรรมเปลี่ยน นอนกลางวัน ตื่นกลางคืน มีเรื่องทะเลาะกับคนข้างบ้าน หรือหวาดระแวงว่าจะมีขโมยขึ้นบ้าน หากพบแพทย์จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ซึ่งในปัจจุบันต้องรับประทานยาควบคุมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หากอาการเป็นมากขึ้นจนมีผลต่อชีวิตประจำวัน ต้องหาผู้ดูแลใกล้ชิดเพราะการช่วยเหลือตัวเองจะทำได้ยากขึ้น โรคความจำเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง พบได้บ่อยเป็นอันดับสอง คนที่มีโรคประจำตัวเป็น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นเวลาหลายปี ต่อมาญาติสังเกตว่าเฉยเมย พูดน้อยลง เดินลำบาก ปัสสาวะ อุจจาระราด จึงมาพบแพทย์ หลังจากตรวจคอมพิวเตอร์สมองพบว่ามีหลอดเลือดในสมองตีบหลายแห่งแพทย์จะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองต้องมียาต้านเกล็ดเลือด ยาช่วยความจำและบางรายต้องมียารักษาอาการจิตประสาทร่วมด้วย พร้อมกับการควบคุมโรคประจำตัวอย่างเข้มงวด ก็จะทำให้ความจำนั้นดีขึ้นได้ โรคความจำเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน อาการของโรคพาร์กินสันที่จำง่ายๆคือ สั่น ชา เฉย ได้แก่ มือสั่น เดินช้า หน้าเฉยไม่แสดงสีหน้า เหมือนคนใส่หน้ากาก หากเป็นโรคนี้มาหลายปี ก็พบว่าเกิดอาการความจำเสื่อมได้เช่นกัน ซึ่งต้องทำการตรวจคอมพิวเตอร์สมอง เมื่อแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคความจำเสื่อมจากโรคพาร์กินสันก็จะแนะนำให้รับประทานยารักษาความจำร่วมกับยารักษาโรคพาร์กินสัน โรคความจำเสื่อมที่เกิดจากโพรงน้ำในสมองโต อาการที่พบได้คือ เดินก้าวขาไม่ออก กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ต่อมาเกิดความจำเสื่อม แพทย์จะทำการตรวจคอมพิวเตอร์สมอง หากพบว่าโพรงน้ำในสมองโตผิดปกติจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดใส่ท่อเพื่อระบายน้ำในสมองก็จะทำให้อาการดีขึ้น                  ดังนั้นหากคนใกล้ชิดเริ่มมีอาการหลงลืม และไม่แน่ใจว่าจะเป็นโรคความจำเสื่อมหรือไม่ควรมาพบประสาทแพทย์เพื่อทำการทดสอบความจำ ตรวจเลือดและตรวจสมอง แต่หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์ และกลัวว่าตนเองหรือพี่น้องจะเป็นโรคชนิดพันธุกรรมก็สามารถทำการตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ รวมทั้งการตรวจสมองด้วยวิธีพิเศษที่เรียกว่า PET scan การฝึกความจำทำได้หลายรูปแบบ แต่ถ้าเป็นแนวพุทธก็ให้สวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน หรือการฟังเพลงบรรเลงเพื่อผ่อนคลายบรรยากา  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรควูบ (Syncope)

โรควูบ (Syncope)            โรควูบ (Syncope) คือ อาการเป็นลมหมดสติเป็นภาวะที่พบได้บ่อย  สาเหตุของการเป็นลมหมดสติ มีตั้งแต่เป็นลมธรรมดา จนถึงเป็นลมเนื่องจากความผิดปกติขั้นรุนแรงของหัวใจ ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์กับตนเอง  รวมถึงคนใกล้ชิดผู้ป่วย  จนเกิดความวิตกกังวล  สูญเสียความมั่นใจ  เนื่องจากไม่แน่ใจว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดจะเป็นลมหมดสติอีกเมื่อไร  ถ้าเกิดขณะขับรถ  ข้ามถนน  หรือขณะเล่นกีฬา  จะทำอย่างไร  จะฟื้นหรือไม่  จะดูแลในเบื้องต้นอย่างไร  เรามาทำความรู้จักการเป็นลมหมดสติกันดีกว่า เป็นลมหมดสติ เกิดขึ้นเมื่อสมองขาดเลือดไปเลี้ยงในระดับรุนแรง ทำให้ศูนย์ควบคุมความรู้สึกเสียการทำงานไป  มีสาเหตุที่สำคัญ 1.       โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจเต้นช้าเกินไป  ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ  หรือบางกรณีหัวใจเต้นเร็วเกินไป ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย  ทำให้เป็นลม สาเหตุชนิดนี้เป็นสาเหตุที่อันตราย เพราะผู้ป่วยอาจเสียชีวิตเฉียบพลันได้ 2.       โรคหัวใจชนิดที่มีการอุดตันการไหลเวียนของเลือด  เช่น ลิ้นหัวใจตีบขั้นรุนแรง  หลอดเลือดหัวใจอุดตัน 3.       ความดันโลหิตต่ำ ที่พบบ่อยเกิดจากภาวะท้องเสีย เลือดออกในทางเดินอาหาร  ผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันในขนาดที่มากเกินไปโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ 4.       เป็นลมธรรมดา เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นลมตั้งแต่เด็ก มักเป็นลมเวลาเห็นเลือด เห็นเข็มฉีดยา ยืนกลางแดด อากาศร้อนอบอ้าว อยู่ในรถโดยสารที่มีคนแน่น 5.       ความผิดปกติจากระบบควบคุมประสาทอัตโนมัติ(Neurogenic Syncope) มักพบในผู้สูงอายุ ไม่สามารถรักษาความดันโลหิตไว้ได้ 6.       โรคลมชัก   เป็นลมหมดสติจะมีอาการเตือนอย่างไร            บางคนก่อนจะเป็นลมหมดสติ  จะมีอาการเตือนนำมาก่อน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง อยากถ่าย เหงื่อแตก ตัวเย็น ถ้าเป็นจากโรคหัวใจอาจมีใจสั่นนำก่อน  หรืออาจไม่มีเตือนเลยก็ได้ ขณะหมดสติอาจมีอาการเกร็ง กระตุกได้ อาจทำให้สับสนกับโรคลมชัก ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อกำลังจะเป็นลมหมดสติ             ให้รีบล้มตัวลงนอนทันที เพื่อให้หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น จะสามารถป้องกันการเป็นลมได้ และยังลดการเกิดอาการบาดเจ็บถ้าขับรถอยู่ควรจอดทันที แล้วปรับที่นั่งให้อยู่ในท่านอนราบถ้าอยู่ในรถโดยสารควรหาที่นั่ง/นอนในรถ แจ้งคนรอบข้างว่ากำลังเป็นลม ไม่ควรรีบลงจากรถเพราะอาจหมดสติตรงทางลงทำให้เกิดอันตรายได้ ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อพบเห็นคนเป็นลม           ควรปฐมพยาบาลในเบื้องต้น โดยให้ผู้ป่วยนอนราบให้ได้มากที่สุด ป้องกันการบาดเจ็บจากการเป็นลม สังเกตลักษณะผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติอย่างไรบ้าง เช่น หน้าซีด ปากเขียว เหงื่อแตก ตัวเย็น เพราะจะสามารถบอกสาเหตุของการเป็นลมได้ มีการทดสอบหาสาเหตุของการเป็นลมหรือไม่                   การทดสอบขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แพทย์สงสัย ถ้าสงสัยว่าเป็นลมจากหัวใจ จึงมุ่งตรวจไปที่โรคหัวใจ ถ้าผู้ป่วยลมชัก เกิดอาการทางระบบประสาทที่สังเกตพบได้ต้องส่งปรึกษาแพทย์ ถ้าสงสัยว่าเป็นลมธรรมดาจึงทำการทดสอบที่เรียกว่า Tilt table test

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หัวใจล้มเหลว

โรคหัวใจล้มเหลวคืออะไร               ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ  ของร่างกายได้เพียงพอ หรืออาจหมายถึงภาวะที่หัวใจไม่สามารถคลายตัวหรือขยายตัวเพื่อรองรับเลือดได้ปกติ ทำให้เกิดความดันเลือดในช่องปอดมากขึ้น เกิดการคลั่งของเลือดในปอดมากขึ้น ทำให้มีอาการเหนื่อยง่ายและอาจก่อให้เกิดอาการบวมของร่างกาย   สาเหตุของหัวใจล้มเหลว                       โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจรูมาติก หรือลิ้นหัวใจพิการ โรคหัวใจเป็นแต่กำเนิด โรคโลหิตจาง การดื่มเหล้ามาก ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคติดเชื้อไวรัส ได้รับยาเคมีบำบัด หรือได้รับการฉายแสง ได้รับสารพิษบางชนิด โรคการนอนหลับบางชนิด ภาวะที่เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้มีอาการของโรคหัวใจล้มเหลวมากขึ้น เช่น ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างเฉียบพลัน ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อบางชนิด เช่น การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ ภาวะที่หัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป ภาวะได้รับน้ำมากเกินความต้องการ การขาดการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารเค็มเกินไป รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด ยากลุ่มสเตียร์รอยด์ เป็นต้น   อาการของโรคหัวใจล้มเหลว                        อาการมีดังนี้ อาการเหนื่อยง่าย เวลาออกกำลังกายแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก นอนราบไม่ได้เวลากลางคืนอาจต้องลุกขึ้นมาเพื่อช่วยหายใจ ไอ ใจสั่น บวม ถ้าเป็นนาน ๆ อาจอ่อนเพลียไม่มีแรง ผอมลงได้   การตรวจวินิจฉัย                       ซักประวัติ ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค การตรวจร่างกายโดยแพทย์และการตรวจพิเศษต่าง ๆ   การตรวจพิเศษ 1)การตรวจเอกซเรย์ปอด ดูว่าเงาหัวใจโตหรือไม่ และดูว่าปริมาณของสารน้ำ หรือเลือดคลั่งในช่องปอดหรือไม่ 2)การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่าลักษณะที่บ่งชี้ถึงหัวใจโต หรือสงสัยว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ มีหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดจังหวะหรือไม่ 3)การตรวจด้วยเครื่องสะท้อนคลื่นเสียงหัวใจ (Echocard-iography) ดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจว่ามีการบีบตัว หรือคลายตัวปกติหรือไม่ มีโรคลิ้นหัวใจพิการ รวมทั้งดูว่าเยื่อหุ้มหัวใจผิดปกติหรือไม่ 4)การตรวจเลือด เพื่อดูระดับเกลือแร่บางชนิดในเลือด การทำงานของไต ไทรอยด์ หรือฮอร์โมนบางชนิด ปริมาณเม็ดเลือดแดง ระดับของ BNP หรือ NT pro BNP (Brain Natriuetic Peptides) ซึ่งพบว่ามีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นในภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถวินิจฉัยและใช้ติดตามการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้ 1.      การรักษาทั่วไป 1)        การควบคุมรักษา ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว 2)        การรักษาระยะยาว เพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตนเองหลังกลับจาก รพ. 2.1   ควบคุมการดื่มน้ำ ไม่ควรเกิน 1.5 ลิตรต่อวัน 2.2   อาหารเค็ม จำกัดเกลือไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน(ประมาณครึ่งช้อนชา) 2.3 การนั่งน้ำหนักทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อดูว่ามีภาวะน้ำในร่างกายเกินหรือไม่ ถ้าหากน้ำหนักเกินมากกว่า 2 กิโลกรัม ภายใน 3 วัน อาจพิจารณาใช้ยาขับปัสสาวะเอง หรือมาพบแพทย์ 2.4  การควบคุมน้ำหนัก ถ้าอ้วนเกินไปควรลดน้ำหนักตัวเองลงแต่ถ้าหากผอมเกินไปอาจหมายถึง การขาดสารอาหาร หรือภาวะหัวใจวายรุนแรงและเรื้อรังได้ 2.5 การออกกำลังกาย โดยมีโปรแกรมการออกกำลังกายตามความเหมาะสมเป็นรายๆ ไป หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย เช่น การยกน้ำหนัก หรือการเล่นยกเวท 2.6    ระมัดระวังไม่ให้เป็นหวัดติดเชื้อง่าย 2.7    งดดื่มเหล้า และสูบบุหรี่ 2.8    ควบคุมอาหารไขมัน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ 2.9    การมีเพศสัมพันธ์ ถ้าขึ้นบันได 1 ขั้นโดยไม่เหนื่อย ก็อาจมีเพศสัมพันธ์ได้ปกติ 2.10   พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ 2.11   การเดินทาง ควรระมัดระวัง ไม่ควรไปในสถานที่สูง อากาศเบาบาง อากาศที่ร้อนขึ้นเกินไป           การใช้ยามีหลายชนิด จึงไม่ได้นำมากล่าวในที่นี้ แต่สิ่งสำคัญต้องรับประทานยาสม่ำเสมอ   2.      การรักษาโดยใช้เครื่องมือพิเศษ 2.1                      การฝังเครื่องช็อคหัวใจ (Implantable Cardioverter-Defribrillators, ICD) เป็นเครื่องที่ใช้ฝังเข้าไปที่ตัวผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา หัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งมักจะพบได้ในภาวะหัวใจล้มเหลวที่เป็นรุนแรง โดยเครื่องจะวินิจฉัยลักษณะการเต้นของหัวใจ และทำการช็อคไปเองโดยอัตโนมัติ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้ 2.2           การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ CRT (Cardiac Resyn-chonization Therapy) เป็นเครื่องที่ฝังเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่เป็นรุนแรง ที่มีลักษณะการนำไฟฟ้าผิดปกติทำให้การบีบตัวของหัวใจไม่สัมพันธ์กัน เพื่อให้มีการนำไฟฟ้าหัวใจที่ดีขึ้น เป็นผลทำให้หัวใจทำงานบีบตัวได้ดีขึ้น สามารถทำให้อาการผู้ป่วยดีขึ้นได้ นอนโรงพยาบาลน้อยลง และลดอัตราการเสียชีวิตได้ อุปกรณ์ชนิดนี้อาจมีการเสริมหน้าที่เป็นแบบช็อคไฟฟ้าหัวใจ เรียกว่า CRT-Defribrillator             3.      การรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ คือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ(CardiacTranplantation)  ใช้ในกรณีที่ไม่มีทางรักษาโดยวิธีข้างต้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ชีวิตเปลี่ยนด้วย 4 นาที

          ความเครียดจะก่อโรคอันตราย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะอาหาร ฯลฯ ลองมาใช้วิธีที่นักจิตบำบัดชื่ออังชาวอเมริกัน แคเนียลา เทมเพสตา แนะนำ คือ ใช้ร่างกายเพื่อช่วยในการปรับสมดุลจิตใจภายในเวลาเพียง 4 นาที ในช่วงเวลาที่เร่งรีบ แต่คุณเกิดปรี๊ดปรอทแตกเผลอวีนเหวี่ยงคนรอบข้างจนร่างกายเกิดภาวะเครียดก่อนที่ความเครียดจะก่อโรคอันตราย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะอาหาร ฯลฯ ลองมาใช้วิธีที่นักจิตบำบัดชื่ออังชาวอเมริกัน แคเนียลา เทมเพสตา แนะนำ คือ ใช้ร่างกายเพื่อช่วยในการปรับสมดุลจิตใจภายในเวลาเพียง 4 นาที ดังนี้ ขยับทั้งตัวแบบอุ่นเครื่อง  เมื่อใจหงุดหงิดหรือเคร่งเครียด ภายใน 1 นาทีแรกให้คุณลองเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกขึ้นยืน จากนั้นให้ขยับกล้ามเนื้อบนใบหน้า โดยทำสีหน้าต่างๆ ไปสัก 3-4 แบบ สุดท้ายลองวางมือลงบนตำแหน่งเหนือหัวใจเบาๆ เพื่อช่วยให้เกิดความรู้ตัวและกลับสู่ปัจจุบันขณะอีกครั้ง ยิ้มให้ตัวเอง 30 วินาทีต่อมา  ขอให้คุณยิ้มหวานๆ ให้ตัวเองในกระจก มีผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคนซัส สหรัฐอเมริกา ยืนยันว่าการยิ้มช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตลงได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม้ในขณะนั้นคุณไม่ได้รู้สึกสดชื่นเพียงพอที่จะยิ้มแต่วิธีนี้ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการทำหน้าบูดจนมีริ้วรอยบนใบหน้า ท่านั่งช่วยปรับใจ อีก 2 นาทีครึ่งที่เหลือ  ให้คุณนั่งหลังตรง งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ระบุว่า การนั่งหลังตรงภายใน 2 นาที ช่วยปรับอารมณ์ได้ เพราะส่งผลต่อฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน ซึ่งทำให้รู้สึกมั่นใจขึ้นราว 20 เปอร์เซ็นต์ และลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่ทำให้รู้สึกเครียดได้ราว 25 เปอร์เซ็นต์   แค่มีความสุขก็สามารถหยุดสารพัดโรคจากความเครียดได้แล้วค่ะ ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หัวใจวาย (Heart Failure)

หัวใจวาย (Heart Failure) หัวใจวาย               หมายถึง ภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ หัวใจวายไม่ใช่หัวใจหยุดเต้น เราเรียวหัวใจวายว่า Heart Failure คือหัวใจทำงานล้มเหลวทำให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ ขาดออกซิเจน หากหัวใจห้องซ้ายวาย ก็จะมีการคั่งของน้ำที่ปอดทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด  Pulmonary Ederma หากหัวใจห้องขวาวายจะเกิดการคั่งของน้ำที่ขาทำให้บวมที่เท้า โดยที่อาการหัวใจวายอาจจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น เกิดภายหลังจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออาจจะค่อย ๆ เกิดขึ้น โรคของลิ้นหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ   สาเหตุของหัวใจวาย             เมื่ออายุมากขึ้นการบีบตัวของหัวใจก็จะลดลง หากมีภาวะที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น หรือมีการสูญเสียความสามารถในการบีบตัวของหัวใจก็จะเกิดโรคหัวใจวาย นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น การสูบบุหรี่ อ้วน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดหัวใจวายได้ หัวใจวายมีด้วยกันหลายสาเหตุ บางครั้งอาจจะไม่ทราบ สาเหตุแน่ชัด สาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่        - หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (Coronary Heart Disease) ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเจ็บแน่นหน้าอกมาก่อน เมื่อเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างเฉียบพลันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไป หากบริเวณที่ตายกินบริเวณกว้างก็อาจจะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน       - โรคกล้ามเนื้อหัวใจ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสบางชนิด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดหัวใจวาย    - ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัวและต้องทำงานมากขึ้น เกิดหัวใจล้มเหลว      - โรคลิ้นหัวใจ เช่น โรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic Heart Disease) ทำให้ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว     - หัวใจพิการแต่กำเนิด    - โรคปอด เช่น โรคถุงลมโป่งพอง ก็สามารถทำให้หัวใจห้องขวาวาย   -หัวใจเต้นผิดปกติ อาจเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าเกินไป(Bradyarrhythmia) หรือเต้นเร็วเกินไป (Tachyarrhythmia) ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างเพียงพอ    - สารพิษ เช่น สุรา หรือยาเสพติด ซึ่งทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น    - ไทรอยด์เป็นพิษ อาการของโรคหัวใจวาย         ผู้ป่วยอาจมีอาการเล็กน้อยจึงไม่ได้ใส่ใจ มีจำนวนไม่น้อยที่มาพบแพทย์เมื่ออาการหนักมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจวาย ควรที่จะรู้ว่ามีอาการอะไรบ้าง และควรที่จะติดตามอาการเหล่านั้นหากอาการแย่ลงต้องรีบปรึกษาแพทย์อาการต่างๆที่พบได้คือ  - เหนื่อยง่าย หากโรคหัวใจเป็นไม่มากจะเหนื่อยเฉพาะเวลาทำงานหนัก ถ้าโรคหัวใจเป็นมากขึ้นความรุนแรงของอาการเหนื่อยจะมากขึ้น งานปกติที่เคยทำได้ก็จะเหนื่อย แม้แต่เวลาพักก็ยังรู้สึกเหนื่อย หากอาการเหนื่อยเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงต้องปรึกษาแพทย์ - นอนแล้วจะมีอาการเหนื่อย หลังจากนอนไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ทำให้ต้องลุกขึ้นมานั่งอาการถึงจะดีขึ้น บางรายนอนราบไม่ได้เลยเรียกว่า Orthopnea - อ่อนเพลียง่าย -  เท้าบวมหรือท้องมานเนื่องจากมีการคั่งของน้ำ - น้ำหนักเพิ่มอย่างเร็ว - ไอเรื้อรังโดยเฉพาะหากเสมหะมีสีแดงหรือชมพู ปนออกมาต้องรีบไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอาการของน้ำท่วมปอด -มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากระบบย่อยอาหารได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลง - ความจำเสื่อมมีการสับสน - ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว   การรักษา           โรคหัวใจวาย เป็นโรคที่มีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจอย่างต่อเนื่องจนเกิดอาการของหัวใจวาย ผู้ป่วยจำเป็นต้องร่วมมือในการรักษาโดยมีหลักการรักษา ดังนี้     - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม    - การใช้ยารักษา    - การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น การขยาย Balloon หลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน การผ่าตัดลิ้นหัวใจ    -   การใส่เครื่องมือเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ การป้องกันโรคหัวใจวาย      การป้องกันก่อนการเกิดโรค เรียก Primary Prevention เป็นวิธีการที่ดีที่สุด 1.      ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารรสเค็มจัด ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เครียด งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณที่จำกัด 2.      รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิต การรักษาโรคเบาหวาน ไขมัน หลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว หรือตีบ 3.      ตรวจร่างกายประจำปา ก่อนการเกิดโรคหัวใจ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาวะเส้นเลือดขอดบริเวณขา

ภาวะเส้นเลือดขอดบริเวณขา ภาวะเส้นเลือดขอดบริเวณขา             เป็นภาวะที่พบบ่อยในเพศหญิง โดยเฉพาะในช่วงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จะพบได้มากกว่าร้อยละ 50 ในเพศหญิงจะพบภาวการณ์ขยายตัวของหลอดเลือดแดง (Telangiectasis) ได้มากกว่าเพศชายถึง 4 เท่า แต่ขณะเดียวกันขนาดของเส้นเลือดขอดของหลอดเลือดดำ(Varicose vein) ในเพศชายจะมีขนาดใหญ่กว่าที่พบได้ในเพศหญิงถึง 2 เท่า เส้นเลือดขอดเกิดจากความผิดปกติของวาวล์ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการไหลย้อนกลับของเลือดทำให้มีการคั่งของเลือดภายในเส้นเลือดและเกิดการโป่งตึงของหลอดเลือดบริเวณนั้นขึ้นมา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการไหลกลับของหลอดเลือดนั้น คือ ภาวการณ์ตั้งครรภ์ การมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และรวมถึงการมีประวัติญาติพี่น้องที่มีอาการดังกล่าวด้วย นอกจากจะทำให้เกิดอาการปวดบวมบริเวณขาแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง การติดเชื้อ การอุดตันของหลอดเลือดและการเกิดเลือดออกเฉียบพลันบริเวณดังกล่าวด้วย   ปัจจุบันทางโรงพยาบาลมีการรักษาหลายวิธี เช่น 1.      การฉีดสารเพื่อทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดบริเวณนั้น ๆ  เช่น  Sodium tetradecyl sulfate และPolidocanol โดยสารดังกล่าวจะทำให้เส้นเลือดบริเวณที่ฉีดเกิดการแข็งตัวและเกิดพังผืดจนทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดในที่สุด วิธีนี้เป็นวิธีการรักษามาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูง แต่ก็อาจเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดได้ เช่น การเกิดรอยดำจากการฉีดยา แผลอักเสบ การอักเสบของหลอดเลือดบริเวณที่ได้รับการฉีดยา การเกิดการอุดตันของหลอดเลือดดำภารในปอด เนื่องมาจากการฉีดยาในปริมาณมากเกินไปหรือฉีดในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดแดงซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดปลายเท้าได้ 2.      การใช้เลเซอร์ Nd:YAG ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีทำให้เส้นเลือดขอดลดลงถึงร้อยละ 75 หลังจากการรักษา 1 ครั้ง มีประสิทธิภาพที่ดีต่อทั้งหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง โดยใช้เป็นการรักษาหลักหรือรักษาเสริมจากการที่ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยามาแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้นก็ได้ 3.      การผ่าตัดเส้นเลือดขอด เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งมีประสิทธิภาพดีในผู้ป่วยที่มีลักษณะของเส้นเลือดขอดที่ใหญ่หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากเส้นเลือดขอดมาก           ทั้งนี้นอกจากการรักษาดังกล่าวแล้ว การป้องกันการเกิดภาวะเส้นเลือดขอดนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องยืนทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินและหญิงตั้งครรภ์ วิธีการป้องกกันที่ได้ผลดี เช่น การยกขาบริเวณที่เป็นและการสวมถุงน่อง (Compression stockings) เพื่อให้เลือดได้ไหลเวียนกลับสู่หลอดเลือดดำได้สะดวกขึ้น และลดการไหลย้อนกลับของเลือดลงสู่ส่วนที่ต่ำกว่ารวมถึงการรับประทานยาต้านการอักเสบ เข่น Ibuprofen และ aspirin ในกรณีเกิดการอักเสบของหลอดเลือด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus)

หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus) โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน โรคที่เกิดจาการแตกของหมอนรองกระดูกสันหลังโดยมีส่วนไส้ของหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน ถอยหลังออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลัง   อาการของโรค                  ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด ชา หรืออ่อนแรงจากการทำงานที่ผิดปกติของเส้นประสาทที่โดยกดนั้น สามารถเกิดในคนตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยสูงอายุ เกิดได้กับหมอนรองกระดูกสันหลังทุกระดับตั้งแต่ระดับ กระดูกสันหลังส่วนคอไปจนถึงกระดูกสันหลังส่วนเอว ถ้าโรคนี้เป็นในระดับกระดูกคอ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามเส้นประสาทจาก ไหล่ ศอก ลงมาถึงปลายนิ้ว อาจเป็นตลอดเวลา หรือเป็นเฉพาะหันหน้าซ้าย-ขวา หรืออาจชาที่ปลายมือร่วมด้วย รายที่เป็นมากมือและแขนอาจอ่อนแรงกว่าอีกข้างจนรู้สึกได้และถ้าหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนทับเส้นประสาท ถ้าโรคนี้เป็นในระดับเอว จะมีอาการปวดเส้นประสาทจากบริเวณสะโพก้นกบ ลงมาต้นขามักจะปวดเลยเข่าลงไปจนถึงข้อเท้าไปจนถึงนิ้วเท้า ปวดจะเป็นมากเวลานั่งนาน เช่น นั่งขับรถนานจะปวด โดยเฉพาะตอนลุกออกจากรถ ไอจามเบ่งมักปวดขึ้นมีอาการชาหรือรู้สึกลดลงที่ปลายเท้าด้วย หรือเป็นมากจะมีอาการอ่อนแรงของขาจนทำให้มีอาการขาอ่อนเดินกระเผลก หรือเดินไม่ได้ตามปกติ พยาธิสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังแตกเคลื่อนกดทับเส้นประสาทนี้ พบว่ามีการปลิ้นของไส้ในของหมอนรองกระดูสันหลังที่มีลักษณะคล้ายเจลลี่ มาทางด้านหลังเข้าไปในโพรงของไขสันหลัง (Spinal Cannal) ไปเบียดทับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงความรู้สึก และการทำงานของกล้ามเนื้อแขนขาทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดแขนหรือขา   การรักษา                 โรคกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังทับเส้นประสาทนั้นการรักษาที่ใช้กันอยู่ก็มีการรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด การผ่าตัดแล้วแต่ข้อบ่งชี้ ส่วนการออกกำลังกายหรือการบริหารร่างกายที่ถูกต้องก็คือ เริ่มตั้งแต่การปฏิบัติตัว ควรนั่งทำงานให้ตัวตรง หลังชิดพนักพิง และไม่ควรนั่งทำงานนาน ๆ ติดต่อกันควรเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง ส่วนการบริหารนั้น ก็การออกกำลังกายทั่วไป เช่น เดิน ว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์ ก็สามารถทำได้ การบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องในช่วงที่มีอาการปวดมากไม่ควรทำ เมื่ออาการดีขึ้นอาจจะเริ่มบริหารโดยการนอนหงายชันเข่า แล้วเกร็งเหลังให้ส่วนที่โค้งของหลัง แนบพื้นกระดกก้นเล็กน้อย ค้างไว้ 5 วินาทีแล้วคลาย ทำซัก 10 ครั้งก็พอ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เวียนศีรษะ เสียการทรงตัว

เวียนศีรษะ เสียการทรงตัว การฟื้นฟูสมรรถภาพการทรงตัวโดยวิธีบริหารลำตัวและศีรษะ 1. การบริหารสายตาและกล้ามเนื้อคอ (นั่งทำ) 1.1 มองขึ้น-ลง ซ้ำ 20 ครั้ง พักแล้วมองไปทางซ้าย มองไปทางขวา 20 ครั้ง ช้าๆ และเร็วขึ้น เมื่อคล่องแล้วมองไปด้วยเคลื่อนไหวศีรษะไปด้วย เช่น มองขวาก็หันขวา มองบนก็เงยศีรษะ มองลงล่างขณะก้มศีรษะ 1.2 มองที่ปลายนิ้วชี้ตัวเองแล้วขยับมือเข้ามาใกล้ตัว 1 ฟุต แล้วถอยกลับไปที่เดิม ทำ 20 ครั้ง 1.3 หลับตาก้มศีรษะมากๆเหมือนคำนับเงยตรงแล้วหงายศีรษะไปด้านหลัง ทำ 20 ครั้ง 1.4 หันศีรษะไปซ้าย ตรง ขวา 20 ครั้ง แล้วลืมตาทำ 1.5 เอียงหูขวาชิดไหล่ขวา ตรง เอียงหูซ้ายชิดไหล่ซ้าย ตรง ทำ 20 ครั้ง แล้วลืมตา 2. ท่าบริหารเพื่อกระตุ้นการทรงตัวทั้งระบบ (5-10 นาที) 2.1 ยืนที่มุมห้องผู้ช่วยอยู่ด้านหลังเท้าชิดหมุนศีรษะไปมา 15-20 ครั้ง 2.2 หมุนทั้งตัวไปมา (ข้อเท้ายังชิดกันเหมือนเดิม) 15-20 ครั้ง 2.3 ยืนเท้าชิดกัน หันหน้าเข้าหามุมห้องมือ ยันข้างฝา (ถ้าจำเป็น) ให้ผู้ช่วยผลักสะโพกเบาๆ ทีละข้าง ผลักเข่าเบาๆ ทีละข้าง พยายามปรับสมดุลด้วยตนเอง 2.4 ยืนท่าเดิม ยกเข่าขึ้นทีละข้าง พยายามยืนขาเดียว 5-10 วินาที ทำสลับขา 3. การบริหารในท่าที่เวียน (ประมาณ 10 นาที) 3.1 ถ้าผู้ป่วยเวียนเวลานอนตะแคง       ให้นั่งบนเตียง โดยยกตัวให้หูซ้ายแตะเตียง นั่งตรงหูขวาแตะเตียง   3.2 ถ้าเวียนเวลานอนหงาย หรือเงยศีรษะ       ให้นั่งเก้าอี้ตัวตรง ก้มพยายามให้จมูกแตะเข่าซ้ายค้างไว้ 10-20 นาที แล้วยืดตัวขึ้นพร้อมๆกับเอียง   หูขวาแตะไหล่ขวา ทำสลับข้างพยายามค้างในแต่ละท่า 10 – 20 วินาที แม้จะมีอาการเวียน เพื่อเอาชนะอาการ ทำประมาณ 5 – 10 นาที 4. การบริหารร่างกายทั่วไป       เป็นการบริหารที่ไม่เป็นระบบแต่ผู้ป่วยจะมีความสุขกับวิธีนี้มากกว่าโดยให้เลือกทำอะไรก็ได้ดังต่อไปนี้ วันละ 20 นาที หรือมากกว่าที่ต้องการ เช่น 4.1 ไปนั่งชมกีฬาในสถานที่จริงๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส กอล์ฟ ฟุตบอล ฯลฯ 4.2 เดินเล่นชมนกชมไม้ มองพื้น มองท้องฟ้า ก้มหยิบเก็บของ (ต้องมีผู้ช่วย) หัดเดินบนฟูก 4.3 เล่นกีฬาเบาๆที่ชอบ เช่น ปิงปอง เลี้ยงบาส พัตกอล์ฟ เป็นต้น (ห้ามว่ายน้ำ)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<