อารมณ์ดี ครีเอท แอ็คทีฟ ด้วยเคล็ดลับสุขภาพง่ายๆ

อารมณ์ดี ครีเอท แอ็คทีฟ ด้วยเคล็ดลับสุขภาพง่ายๆ    ถ้าคุณรู้สึกง่วงเหงา  เศร้าซึม  สมองตันๆ อารมณ์เสียบ่อย  วันนี้เรามีเคล็ดลับสุขภาพง่ายๆ มาพร้อมกับความสนุกสนานที่แอบซ่อนอยู่ รับรองเลยว่าเพียงเท่านี้  คุณก็จะอารมณ์ดีขึ้นได้ในทันที มาลองดูกันเลย! เริ่มต้นมื้ออาหารด้วยสีฟ้า ตื่นเช้าๆดื่มน้ำเปล่าด้วยหลอดสีฟ้า จานสีน้ำเงิน  ใส่ผักผลไม้สีสันสดใสตัดเข้าไป  รู้มัยว่านักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาเดียนค้นพบว่าวิธีนี้จะช่วยให้สมองแอ็คทีฟ  รู้สึกเป็นอิสระ  และมักคิดอะไรดีๆ  ออกเสมอ Plus: วันไหนอยากไดเอทลองใช้จานสีน้ำเงินเพราะสีน้ำเงินจะทำให้เราไม่ค่อยอยากกินอาหาร ดื่มกาแฟก่อนงีบ 20 นาที                 มีการศึกษาว่าวิธีนี้ช่วยหลอกร่างกายเบาๆ ว่าเมื่อคืนนี้นอนหลับสนิทอย่างสบาย (ทั้งที่อาจจะนอนไปแค่ 3 ชั่วโมงและง่วงมาก) คาเฟอีนจะช่วยเข้าไปรีชาร์ตให้สมองกระปรี้กระเปร่าหลังงีบหลับนั่นเอง หลับต่ออีกนิด                 การนอนหลับที่นานขึ้นจะช่วยทำให้ร่างกายกระตุ้นการเผาผลาญได้มากขึ้น  คำแนะนำสุดเริ่ดนี้มาจากการศึกษาในวารสารที่นักวิจัยทดลองให้คนที่กินขนมอย่างไอศกรีมและมันฝรั่งทอดกรอบนอนเพิ่มอีกคนละ 1.30 ชั่วโมง พบว่าหลังจากที่นอนหลับนานกว่าเดิม 14 % จะช่วยลดความอยากอาหารหวานและเค็มลงได้ 62 % เพราะสมองส่งสัญญาณความยากลดลง สูดกลิ่นผลไม้                 กลิ่นผลไม้จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเลือกผลไม้เป็นอาหารมื้อนั้น  อย่างเช่นได้กลิ่นลูกแพร์ก่อนกลิ่นขนมหวาน ก็จะทำให้เราเลือกอยากทานผลไม้มากกว่าขนมหวาน Eat Natural                 เมืองไทยแดดแรงเกือบทั้งปี  นอกจากทาครีมกันแดดเป็นประจำแล้ว ใครอยากปกป้องดับเบิ้ลเข้าไปอีก งานนี้ต้องอาศัยการกินเพื่อช่วยป้องกันผิวจากรังสียูวี  โดยอาหารที่จะช่วยปกป้องผิวคุณ คือ องุ่นดำ แบล็คเคอร์เรนท์  บลูเบอรี่ ผักโขม น้ำเต้าหู้ และโยเกิร์ต เลือกดื่มกาแฟ อย่างฉลาด แก้วเดียวเอาอยู่ แนะนำดื่มกาแฟวันละแก้ว หรือปริมาณเหมาะกับตัวเอง แก้วนี้ต้องไม่อ้วน เลือกดื่มกาแฟดำดีที่สุด แต่หากต้องการเติมหวานก็เติมน้ำตาลเพียงเล็กน้อย อย่าดื่มตอนท้องว่าง กาเฟอีนจะเร่งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง ดื่มเช้าหรือกลางวันดีกว่า เน้นช่วงเวลาที่ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น ควรกินอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมทดแทน เช่น นม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย คะน้า เพื่อทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไปกับปัสสาวะ ลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน                  ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิภาวดี                                                                  ขอบคุณที่มาจาก : หนังสือฟ้าดัชมิลล์ MAGAZINE

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคไข้หวัด

โรคไข้หวัด   โรคไข้หวัด   เป็นการติดเชื้อของจมูกและคอ  ส่วนใหญ่75-80% เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza Viruses ประกอบด้วย Rhino Viruses เป็นสำคัญ  เชื้อชนิดอื่น ๆ มี Adenoviruses, Respiratory Syncytial Virus เมื่อเชื้อเช้าสู่จมูกและคอจำทำให้เยื่อจมูกบวมและแดง  มีการหลั่งของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์  แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุด  โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้หวัด 6-12 ครั้งต่อปี  ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง  ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก  คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง   อาการ   ผู้ใหญ่ มีอาการจาม  และน้ำมูกไหลจะนำมาก่อน  อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย  แต่มักไม่ค่อยมีไข้  เชื้อจะออกจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย 2-3 ชั่วโมงและหมดใน 2 สัปดาห์  บางรายอาจมีอาการปวดหู  เยื่อแก้วหูมีเลือดคั่ง  บางรายเยื่อบุตาอักเสบ  เจ็บคอ  กลืนลำบาก  โรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน  แต่อาจมีน้ำมูกไหลนานถึง 2 สัปดาห์  ในเด็กอาจจะรุนแรง  และมักมีการแพร่ไปเป็นหลอดลมอักเสบ  ปวดบวม  เป็นต้น   การติดต่อ โรคนี้มักจะระบาดฤดูหนาวเนื่องจากความชื้นต่ำและอากาศเย็น  เราสามารถติดต่อจากน้ำลาย  และเสมหะผู้ป่วยนอกจากนั้นมือที่เปื้อนเชื้อโรค  ก็สามารถทำให้เกิดโรคได้โดยผ่านทางจมูกและตา  ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ  ผู้ที่มีโอกาสเป็นไข้หวัดได้ง่ายคือ  เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี  เด็กที่ขาดอาหาร  เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็ก   วิธีการติดต่อ 1. มือของเด็ก  หรือผู้ใหญ่ที่สัมผัสเชื้อจากเสมหะของผู้ป่วย  หรือสิ่งแวดล้อม  แล้วขยี้ตา  หรือเอาเข้าปากหรือจมูก 2. หายใจเอาเชื้อที่ผู้ป่วยที่ไอออกมา 3. หายใจเอาเชื้อที่กระจายอยู่ในอากาศ   การรักษา - ไม่มียารักษาเฉพาะ  ถ้ามีไข้ให้ยาลดไข้  Paracetamol - ห้ามให้ Aspirin - ให้ยาช่วยรักษาตามอาการ  เช่น ยาลดคัดจมูก  ลดน้ำมูก  ยาแก้ไออ่อน ๆ - ให้พัก  และดื่มน้ำมาก ๆ โดยทั่วไปจะเป็นมาก 2-4 วัน  หลังจากนั้นจะดีขึ้น  ในเด็กโรคที่แทรกซ้อนที่สำคัญคือหูชั้นกลางอักเสบ  ต้องได้รับยาปฏิชีวนะรักษา     การป้องกัน - หลีกเลี่ยงที่ชุมชน  เช่น โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร  ในช่วงที่ไข้หวัดกำลังระบาด - ไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้า  หรือทิชชูปิดปาก - ให้ล้างมือบ่อย ๆ - ไม่เอามือเข้าปากหรือขยี้ตาเพราะอาจนำเชื้อเข้าสู่ร่างกาย - อย่าอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นหวัดเป็นเวลานาน   เป็นการยากที่จะป้องกันการติดเชื้อไข้หวัด  และยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้หวัด  ดังนี้การดูแลสุขภาพตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด         ด้วยความปรารถนาดี จาก รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

5 อันตรายจากน้ำตาลเทียม

5 อันตรายจากน้ำตาลเทียม     สาวๆ หนุ่มๆ หลายคนที่รักสุขภาพ รู้ดีว่าน้ำตาลทานมากก็ไม่ดีต่อร่างกาย จึงเลี่ยงไปทานน้ำตาลเทียม หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพื่อให้ได้รสชาติความหวาน ในแบบที่ไม่รู้สึกผิดต่อร่างกาย แต่จริงๆ แล้ว น้ำตาลเทียม แฝงอันตรายเอาไว้มากมาย   1. สารเคมีตกค้าง ก่อมะเร็ง แอสปาแตมประกอบไปด้วยสารเคมี 3 ชนิด คือ กรดแอสปาร์ติก ฟีนิลอะลานีน และ เมธานอล หากร่างกายได้รับสารเคมีเหล่านี้จำนวนมาก จะไม่สามารถกำจัดออกไปจากร่างกายได้หมด จนอาจเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ และทำให้ DNA ภายในร่างกายได้รับความเสียหาย จนอาจพัฒนากลายเป็นความผิดปกติของเซลล์ และเป็นมะเร็งในที่สุด 2. สาเหตุโรคอ้วน และเบาหวานทางอ้อม แทนที่ทานอย่างอื่นแทนน้ำตาลแล้วจะเลี่ยงโรคอ้วน และเบาหวานได้ กลับกลายเป็นว่าแอสปาแตมเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็น 2 โรคนี้เสียเอง เพราะแอสปาร์แตมทำให้ร่างกายมีปริมาณการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายยิ่งโหยหาความหวานจากน้ำตาลมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุที่ท้ายที่สุดแล้วเราก็ยังวนเวียนกลับไปหาน้ำตาลแท้เหมือนเดิม แถมยังอยากอาหารมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย 3. เป็นสารอันตราย ถึงแม้จะมีการอนุญาตให้ใช้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน แต่ผลจากการทดลองกับสัตว์บางชนิด ยังพบอาการข้างเคียงเช่น ชักอย่างรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิต 4. ท้องอืด ท้องเฟ้อ เมื่อแอสปาแตมเป็นน้ำตาลเทียม ที่จะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มันไปกองรวมกันอยู่ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะมีแบคทีเรียที่สามารถย่อยแอสปาแตมได้ แต่ก็จะผลิตก๊าซออกมา จึงทำให้เรามีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อและถ่ายมากกว่าปกติได้ 5. อันตรายต่อสมอง กรดแอสปาร์ติก ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของน้ำตาลเทียม สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์สมอง และเมื่อมีปริมาณแคลเซียมอยู่ในสมองมากๆ ก็อาจทำให้สมองได้รับอันตรายได้ เซลล์สมองอาจมีความผิดปกติ โดยอาจทำให้เกิดโรคลมบ้าหมู อัลไซเมอร์ รวมไปถึงปลอกประสาทอักเสบ และต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะทานน้ำตาลเทียมไม่ได้นะคะ เรายังทานได้อยู่ แต่ขอให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ หรือถ้าอยากลดการบริโภคน้ำตาล ก็ลดการทานหวานไปเลยจะดีกว่าค่ะ                                                      ข้อมูลจาก : www.sanook.com

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

แปรงลิ้นลดการเกิดโรค

เราทุกคนแปรงฟันกันอยู่ทุกวันอยู่แล้ว เพราะเราไม่อยากฟันผุ แต่เชื่อว่าหลายคนอาจลืมไปว่าเรามีอีกส่วนหนึ่งที่ต้องแปรง ต้องทำความสะอาด นั่นก็คือ "ลิ้น" นั่นเอง ทำไมเราต้องแปรงลิ้น แปรงลิ้นมีประโยชน์อย่างไร แปรงลิ้นแล้วจะทานอาหารอร่อยขึ้นได้อย่างไร   ลิ้น อวัยวะสำคัญในการรับรสชาติ ลิ้นของคนเรามีปุ่มรับรสอยู่ ถ้าตุ่มรับรสของเราสัมผัสกับน้ำตาล ปุ่มรับรสก็จะเปลี่ยนสัญญาณของน้ำตาลไปเป็นสัญญาณประสาท มันก็จะวิ่งไปที่สมองของเรา สมองก็จะตีความออกมาว่า "นี่คือรสอะไร"    ลิ้น รับรู้ได้กี่รสชาติ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า ลิ้นสามารถรับรู้รสได้ถึง 5 รสชาติ นั่นคือ หวาน เค็ม เปรี้ยว ขม และกลมกล่อม  รสกลมกล่อม คนอาจจะไม่ค่อยรู้จักเท่าไร บางคนเรียกว่า รสอูมามิ แต่ถ้าให้พูดง่ายๆ เลยคือ รสชาติจากผงชูรสนั่นเอง ผงชูรส คือ โมโนโซเดียมกลูตาเมต ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง เป็นสารสื่อประสาท กระตุ้นความอยากอาหารได้ เหมือนเราเอากระดูกไก่ไปต้มซุป รสชาติที่เราได้จากน้ำซุปกระดูกไก่นี้แหละ คือ รสอูมามิ    รสเผ็ดล่ะ? จริงๆ แล้ว เผ็ดไม่ใช่รสชาติค่ะ เผ็ดเป็นอาการระคายเคืองลิ้น ใช้กระบวนการในการส่งสัญญาณไปถึงประสาทแบบเดียวกันกับความรู้สึกเจ็บปวดเลยล่ะ ภายในปากมีตัวรับรู้ความเจ็บปวดอยู่เยอะมาก โดยจะคอยส่งสัญญาณไปที่สมอง ผ่านกลไกความเจ็บปวด แล้วค่อยตีความออกมาว่า "นี่คือรสเผ็ด"   ปุ่มรับรู้รสเสื่อมได้อย่างไร? มีการศึกษาวิจัยที่เปรียบเทียบกับคนญี่ปุ่น ปรากฎว่าคนไทยมีระดับที่เริ่มรู้รสสูง แปลว่าเราต้องปรุงรสเยอะกว่าเราจะรับรู้รสชาติ ว่ามันคือรสอะไร ทั้งรสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยว และรสขม ค่าเฉลี่ยเต็ม 5 ของคนไทยจะอยู่ที่ 4 ของคนญี่ปุ่นจะอยู่ที่ไม่เกินระดับ 3 ในขณะที่รสกลมกล่อม คนญี่ปุ่นก็ยังเริ่มรับรู้รสได้ที่ระดับประมาณ 3 ส่วนของคนไทยคือ 5 จากระดับ 6 บางรายหนักกว่า ให้ลองทดสอบที่ระดับ 6 แล้วยังไม่รับรู้รสเลยก็มี พอสอบถามเพิ่มเติมถึงได้รับรู้ว่า เป็นคนทานผงชูรสอยู่เป็นประจำนั่นเอง   อร่อยปาก สุขภาพพัง! การรับรู้รสสำคัญกับเรื่องรับประทานอาหาร ยิ่งระดับการรับรู้รสสูง แปลว่าเราต้องยิ่งเติมเครื่องปรุงเยอะ เราถึงจะรู้รส ยิ่งเติมน้ำตาล น้ำปลาเยอะ ก็แปลว่าเราก็บริโภคน้ำตาล น้ำปลาต่อวันเป็นจำนวนที่มากขึ้นไปด้วย การบริโภคน้ำตาลมากๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และโรคฟันผุ หากบริโภคน้ำปลา หรือเกลือมาก ก็ส่งผลถึงโรคไต ความดันโลหิตสูง และมะเร็งกระเพาะอาหาร   ทางออกของคนชอบปรุง สำหรับคนที่ติดรสชาติ แล้วมีปัญหาที่ปุ่มรับรส มีปัญหาในระดับลิ้น ให้ลองส่งกระจกดูว่า ที่ลิ้นมีคราบขาว หรือที่เราเรียกว่า คราบจุลินทรีย์อยู่หรือไม่  ถ้ามีให้ใช้แปรงทำความสะอาด การแปรงลิ้นจะเป็นการช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์ออก โดยมีงานวิจัยว่า การแปรงลิ้นจะช่วยให้ปุ่มรับรู้รสที่ลิ้นทำงานได้ดียิ่งขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ ภายในช่องปากช่องฟันได้อีกด้วย   แปรงลิ้นอย่างถูกวิธี 1. แปรงจากโคนลิ้นด้านใน ลากออกมาที่ปลายลิ้นด้านนอก 2. แปรงลิ้นวันละ 1 ครั้งก่อนนอน 3. เลือกแปรงสีฟันที่มีขนนุ่ม 4. ไม่ต้องใช้ยาสีฟันในการแปรงลิ้น ใช้แปรงสีฟันเปล่าๆ ได้เลย   นอกจากการแปรงลิ้นแล้ว เราก็ควรปรับพฤติกรรมในการทานอาหาร ทุกครั้งที่เราลดระดับลงมา ลิ้นของเราก็จะปรับตัวตามไปด้วย เมื่อระดับการเริ่มรับรู้รสของเราต่ำลง ปริมาณเครื่องปรุงที่เราใส่เพิ่มเพื่อให้ได้รสชาติเท่าเดิม มันก็จะน้อยลงตามไปด้วย อร่อยได้เหมือนเดิม แต่โรคภัยถามหาน้อยลง น่าจะเป็นวิธีที่ทำให้เราจะมีความสุขกับการทานอาหารได้นาน และมีความสุขมากยิ่งขึ้นนะคะ              ด้วยความปรารถนาดีจากทางโรงพยาบาลวิภาวดี                                                   ข้อมูลจาก : www.sanook.com

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำการใช้ยาหยอดตา

ควรใช้ยาหยอดตาอย่างไร ควรใช้ยาหยอดตาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด กรณีการใช้ยาหยอดตา 6 ครั้ง ต่อวัน (หรือหยอดยาทุก 2-3 ชั่วโมง) อาจหยอดยาตามการดำเนินชีวิตประจำวันของคุณ  ดังตัวอย่างต่อไปนี้ -เมื่อตื่นนอน   , หลังอาหารเช้า , หลังอาหารกลางวัน , เวลาอาหารว่างหรือเวลาบ่าย , หลังอาหารเย็น , ก่อนนอน - เมื่อลืมหยอดยาหยอดตา  ให้หยอดยาในช่วงเวลาถัดไปจำนวนหนึ่งหยด   หรือตามแพทย์สั่ง โดย ไม่ ต้องหยอดยาเพิ่มเป็นสองเท่าเพื่อชดเชยส่วนที่ลืม - อาการตาแห้งจะดีขึ้น เมื่อผู้ป่วยใช้ยาหยอดตาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง  แต่อาการจะแย่ลง  ถ้าผู้ป่วยลดปริมาณการใช้ยาลงเอง  หรือหยุดการรักษาเองโดยไม่ปรึกษากับแพทย์ ดังนั้นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยคือ การใช้ยาหยอดตาอย่างต่อเนื่อง ตามคำแนะนำของแพทย์   วิธีหยอดตา 1.ก่อนหยอดตาควรล้างมือ ฟอกสบู่ทุกครั้ง 2.เงยหน้าขึ้นขนานพื้น ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดดึงเปลือกตาล่างลงให้เกิดร่องกระพุ้งตา 3.ใช้มือข้างที่ถนัดถือขวดยา หยอดยา 1 หยด ลงในกระพุ้งตา     * ระวังอย่าให้ปลายปากขวดยาสัมผัสกับดวงตาหรือเปลือกตา เพื่อป้องกันการปนเปื้อน 4.สำหรับยาหยอดทั่วไป หลับตาประมาณ 2 นาที   สำหรับยาหยอดรักษาต้อหิน ควรหลับตาไว้ 5 นาที  เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น   ; น้ำตาเทียมไม่ต้องหลับตา กระพริบตาได้เลย 5.เมื่อใช้ยามากกว่า 1 ชนิด ต้องหยอดยาแต่ละชนิดห่างกันอย่างน้อย 5นาที   การใช้ยาหยอดตาบางชนิดอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์  เช่น ระคายเคืองตา มีขี้ตา ตาแดง ปวดตา คันตา รู้สึกไม่สบายตา เป็นต้น   ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร                  ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

มะเร็งช่องปากตรวจเองได้

มะเร็งช่องปากตรวจเองได้          สิ่งที่อยู่ในช่องปากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ฉะนั้นจึงควรตรวจเช็คดูความผิดปกติด้วยตัวเอง และสังเกตอาการตามบริเวณภายในช่องปาก เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคร้ายต่างๆ ดังนี้   ริมฝีปาก รูปร่างผิดปกติ ความยืดหยุ่น สีซีด ม่วง, เขียว, คล้ำ   เพดานปาก มีการเปลี่ยนสี คลำหาก้อนที่ไม่ใช่ก้อนกระดูก   กระพุ้งแก้ม คลำด้วยนิ้วชี้หาส่วนที่แข็งเป็นไต หรือบวมเป็นก้อน   พื้นช่องปากและเหงือ  ก้อนคล้ายดอกกะหล่ำ  สีขาวหรือแดงผิดปกติ   ลิ้น กดหาส่วนบวมแข็ง -          - ดูบนลิ้น โคนลิ้น ข้างลิ้น               ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิภาวดี                               ศูนย์ทันตกรรม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โภชนบำบัดโรคผอมหรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

โภชนบำบัดโรคผอมหรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์           การที่ผู้ป่วยมีค่า Body Mass Index (BMI) ต่ำกว่า < 18.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร แต่ถ้าเป็นโรคผอมจะนับตั้งแต่ BMI<17.0 กิโลกรัม/ตารางเมตร           สาเหตุเกิดจากร่างกายสูญเสียพลังงาน หรือใช้พลังงานไปมากกว่าที่ร่างกายได้รับ ก็จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงหรือมีน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ หรือได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น ความยากจน เบื่ออาหาร ไม่เบื่ออาหารแต่กลัวอ้วน จึงล้วงคอเพื่อให้อาเจียน เรียกโรคนี้ว่าบูลิเมีย เนอร์โวซา (bulimia nervosa) เกิดค่านิยมผิดๆยิ่งผอมยิ่งสวย จิตเวชที่ไม่ทานอาหารเลยพบมากในกลุ่มนางแบบและวัยรุ่น ที่มักคิดว่าตัวเองอ้วน โรคทางกายที่ได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติ เช่น มีปัญหาทางช่องปากและฟัน มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร ทำให้การย่อยการดูดซึมผิดปกติ   กลุ่มที่ใช้พลังงานมากกว่าปกติได้แก่ โรคไทรอยด์เป็นพิษ ออกกำลังกายอย่างหนัก รับประทานยาบางชนิดหรือการใช้สารเสพติด เช่น ยาบ้า โรคที่สูญเสียน้ำจนทำให้น้ำหนักลดรวดเร็ว เบาหวาน น้ำตาลในเลือดมากทำให้ปัสสาวะบ่อย โรคที่มีแคลเซียมในร่างกายสูงปกติ เช่นมะเร็งบางชนิด           อันตรายของโรคผอม หากเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และกระดูกพรุน ตาโปน ถ้าเป็นโรคมะเร็ง หากไม่ได้รับการรักษาจะเกิดการลุกลามจนรักษาไม่ได้ ถ้าเป็นการล้วงคออาเจียน หลังรับประทานอาหาร น้ำย่อยในกระเพาะมีกรด ทำให้เกิดแผลในกระพุ้งแก้ม ฟันผุ เสียวฟังได้ง่าย   แนวทางการในโภชนบำบัด          กรณีเป็นโรคกลัวอ้วน จึงเป็นต้องได้รับการรักษาปรับความเข้าใจของผู้ป่วยและญาติ ให้ความรู้ด้านสารอาหารและโภชนาการ อาจจะใช้ยาช่วยภาวะทางจิตเวช          กรณีกินเยอะ แต่ไม่อ้วน ไม่แนะนำให้กินอาหารหวานจัด มันจัด เค็มจัด หรืออาหารที่มีไขมันสูง เพื่อให้ได้แคลอรี่มาก เพราะจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงได้ หรือมีพุงแทนที่จะมีกล้ามเนื้อเป็นอาหารเพิ่มโปรตีน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่นนม ไข่ ถั่ว ธัญพืช ออกกำลังกาย เช่น ยกเวท โยคะ เพิ่มการรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มีประโยชน์ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรเบอรี่ การเพิ่มน้ำหนักควรเพิ่มพลังงานจากเดิม วันละ 500 Kcal/วัน โดยอาจจะเพิ่มเมื้ออาหาร อย่าลืมว่าอาหารที่เพิ่มควรจะเป็นโปรตีน หรือข้าวแป้ง ธัญพืชขัดสีน้อยแทน ขนมหวานหรืออาหารมันๆ        เพิ่มโปรตีนเป็น1.5-2.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว1 กิโลกรัม        คาร์โบไฮเดรตและไขมัน เพิ่มขึ้นวันละ300-500 แคลอรี่ต่อวัน จะทำให้น้ำหนักค่อยๆเพิ่มขึ้น         นม เป็นแหล่งโปรตีนควรดื่มพร้อมมื้ออาหาร ประมาณ 1-2 แก้ว หรือดื่มหลังออกกำลังกาย        ไข่ ควรรับประทานทุกวัน วันละ1ฟอง ถ้ามีปัญหาไขมัน ในเลือดสูง ควรจำกัดการกินไข่แดง ไม่เกิน3ฟอง ต่อสัปดาห์ หรือรับประทานไข่ขาวแทน        ข้าวสวย1ส่วน=1ทัพพี น้ำหนัก55กรัม ให้พลังงาน80กิโลแคลอรี่ ถ้าเป็นข้าวเหนียว1ส่วน หนักประมาณ35กรัม ให้พลังงาน80กิโลแคลอรี่ ข้าวยังมีโปรตีน แต่มีปริมาณที่น้อย        พืชตระกูลถั่ว เป็นอีกทางเลือกเพราะให้พลังงานสูง ถั่วอัลมอนด์1กำมือ ประกอบด้วยโปรตีน 7กรัม และไขมันชนิดดี 18กรัม สามารถรับประทานเป็นของว่าง แต่ต้องจำกัดปริมาณ        เนื้อแดง ช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยกรดอะมิโน การรับประทานเนื้อแดงติดมันจะให้พลังงานมากกว่าเนื้อแดงไร้มัน        เวย์โปรตีน เป็นแหล่งโปรตีนที่ได้รับความนิยมในหมู่นักกล้าม เพิ่มกล้ามเนื้อ ควรรับประทานก่อนหรือหลังออกกำลังกาย หรือคนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ควรรับประทานเวย์โปรตีนเพิ่ม        ขนมปังโฮลเกรน อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ทำจากธัญพืชไม่ขัดสี กินคู่กับโปรตีนช่วยเพิ่มน้ำหนักได้ดี       อะโวคาโด อุดมไปด้วยไขมันชนิดดี อะโควาโด 1 ลูกให้พลังงาน 332 กิโลแคลอรี มีวิตามินและเกลือแร่       นอกจากการเพิ่มอาหารแล้ว ควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่อาจส่งผลดีต่อการเพิ่มน้ำหนักได้ ดังนี้ ออกกำลังกาย ทำให้เพิ่มกล้ามเนื้อที่พอเหมาะ ทำให้อยากอาหารมากขึ้น เน้นโปรตีนและข้าวแป้ง  พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง แบ่งมื้ออาหารออกเป็นวันละ 5-6 มื้อ ไม่ควรดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร  ลดการกินเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เพราะจะทำให้อยากอาหารลดลง งดการสูบบุหรี่ คนที่สูบบุรีมีแนวโน้มทำให้อยากอาหารลดลงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หินปูน คืออะไร

หินปูน คืออะไร    หินปูน คืออะไร คราบหินปูน (calculus  หรือ tartar)    เป็นคราบที่ปรากฏบนฟัน ก่อตัวขึ้นจากน้ำลายและเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ตามตัวฟันรวมถึงแร่ธาตุอื่นๆเกาะเป็นเวลานานจะเปลี่ยนกลายมาเป็นคราบหินปูน  คราบหินปูนเมื่อก่อตัวขึ้นในช่องปากแล้ว ไม่สามารถที่จะนำออกได้เองนอกจากจะให้หมอฟันขูดออกให้เท่านั้น  คราบหินปูนเป็นตัวที่ก่อให้เกิดสุขภาพเหงือกอ่อนแอ  เลือดออกเวลาแปรงฟัน และอาจนำไปสู่โรคเหงือกอักเสบได้  นอกจากนี้ยังทำให้เกิดเป็นโพรงใต้เหงือกเป็นที่สะสมของจุลินทรีย์    การป้องกันคราบหินปูนที่ดีที่สุด คือการแปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้งและใช้ไหมขัดฟันภายหลังการแปรงฟัน และพบหมอฟันทุกๆ 6 เดือน เพื่อขูดหินน้ำลาย หรือหินปูน    วิธีการใช้ไหมขัดฟัน    วิธีใช้  ดึงไหมขัดฟันออกมาใช้ประมาณ 1 ฟุต  พันปลายไหมขัดฟันกับนิ้วกลาง  ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้  เป็นตัวบังคับทิศทางการใช้  โอบไหมขัดฟันแนบกับคอฟัน  ขยับในแนวนอนและขึ้น – ลงในฟันแต่ละซี่ มะเร็งช่องปาก ช่องปาก (Oral cavity) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ ได้แก่ ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานแข็ง เหงือกลิ้น และเนื้อเยื่อใต้ลิ้น ซึ่งเนื้อเยื่อ/อวัยวะทุกชนิดของช่องปาก สามารถเกิดเป็นมะเร็งได้ทุกส่วน และเป็นมะเร็งที่มีลักษณะเหมือนกัน ทั้งชนิดของเซลล์มะเร็ง การจัดระยะโรค อาการ และวิธีรักษา ดังนั้นมะเร็งของเนื้อเยื่อ/อวัยวะทั้งหมดของช่องปาก จึงจัดเป็นมะเร็งในกลุ่มเดียวกัน รวมเรียกว่า มะเร็ง/โรคมะเร็งช่องปาก (Oral cancer) มะเร็งช่องปากพบได้ 3-5 % ของโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย เป็นโรคมะเร็งพบบ่อย 1 ใน 10 ของทั้งหญิงและชายไทย เป็นโรค มะเร็งของผู้ ใหญ่ตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป มะเร็งช่องปาก คืออะไร? มะเร็งช่องปาก เป็นส่วนหนึ่งของโรคมะเร็งในกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ซึ่งประมาณ 90-95% ของมะเร็งช่องปากจะเป็นชนิด สะความัส (Squamous cell carcinoma) หรือเรียกย่อว่าชนิด เอสซีซี (SCC) สำหรับมะเร็งชนิดอื่นๆ เช่นมะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarci noma) หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง พบได้น้อยมากๆ ดังนั้น ในบทความนี้ จึงกล่าวถึงเฉพาะมะเร็งช่องปากชนิด เอสซีซี เท่านั้น                                 ด้วยความปรารถนาดี ศูนย์ทันตกรรม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โภชนบำบัดโรคความดันโลหิตสูง

          การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตนั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการป้องกันความดันโลหิตสูง สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน โดยน้ำหนักตัวที่ลดลง 10 กิโลกรัม จะลดความดันโลหิตซิสทอลิค (ความดันช่วงหัวใจบีบตัว) ได้โดยเฉลี่ย 5-20 มิลลิเมตรปรอท สำหรับผู้ที่น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็ควรดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ต่อไป ควบคุมดัชนีมวลกาย = 18.5-22.9 Kg/m2 ลดการรับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง ทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ การรับประทานอาหารในรูปแบบ DASH Diet การเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผัก ผลไม้ นม และผลิตภัณฑ์จากนมที่ไขมันต่ำ รวมถึงการลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว การจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ชายไม่เกิน 2 ดริ๊งก์/วัน ผู้หญิงไม่เกิน 1 ดริ๊งก์/วัน จำกัดการดื่มชา-กาแฟ เลิกสูบบุหรี่ ลดภาวะเครียด           โซเดียม (Sodium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ปรับสมดุลของของเหลวในร่างกาย ควบคุมการเต้นของหัวใจ และมีผลต่อความดันโลหิต พบได้จากอาหารตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว ผัก โดยมีปริมาณเล็กน้อย แต่คนส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมเกินจากเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา ผงปรุงรสและอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูหยอง กุนเชียง รวมถึงอาหารกระป๋อง เช่น ผักกาดดอง ไข่เค็ม เต้าหู้ยี้ กุ้งแห้ง ปลาเค็ม เป็นต้น การควบคุมปริมาณโซเดียมสำหรับผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมของโซเดียมต่อวัน จะสามารถลดความดันได้ 2-8 มิลลิเมตรปรอท และหากผู้ป่วยบริโภคอาหารแบบ DASH Diet ร่วมกับการจำกัดปริมาณโซเดียม สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีกว่าการควบคุมเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง           ปริมาณโซเดียมในอาหาร ยกตัวอย่าง ข้าวสวย 1 ทัพพี มีโซเดียม 20 มิลลิกรัม นม 240 มิลลิลิตร มีโซเดียม 120 มิลลิกรัม  ขนมปัง 1 แผ่น มีโซเดียม 130 มิลลิกรัม หมูหยอง 2 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 23 มิลลิกรัม ไส้กรอกหมู 30 กรัม  มีโซเดียม 200 มิลลิกรัม เนื้อหมูสุก 2 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 30 มิลลิกรัม           ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรส ยกตัวอย่าง ผงชูรส 1 ช้อนชา มีโซเดียม 815 มิลลิกรัม ซอสหอยนางรม 1 ช้อนชา มีโซเดียม 104 มิลลิกรัม ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 30 มิลลิกรัม ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา มีโซเดียม 238 มิลลิกรัม ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนชา มีโซเดียม 237 มิลลิกรัม เกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม น้ำปลา 1 ช้อนชา มีโซเดียม 500 มิลลิกรัม ซุปก้อน 1 ก้อน (10 กรัม) มีโซเดียม 1,760 มิลลิกรัม  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น(Upper Gastrointestinal Endoscopy Esophagogastroduodenoscopy)

 การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper Gastrointestinal Endoscopy : Esophagogastroduodenoscopy)               เทคนิคพิเศษที่จะตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยจะใช้กล้องที่มีลักษณะยาว เล็ก และโค้งงอได้ ซึ่งแพทย์จะใส่สายยางเล็กที่มีเลนส์และแสงไฟสว่างที่ปลาย ส่องกล้องเข้าทางปาก โดยภาพจะปรากฏบนจอโทรทัศน์  ให้คุณภาพคมชัด และชัดเจน แม่นยำมากกว่าการเอกซเรย์ และหลังจากส่องตรวจเสร็จสามารถทราบผลการตรวจได้ทันที               การส่องกล้องจะทำให้เห็นเยื่อบุกระเพาะ เพื่อดูการอักเสบ ดูแผลในกระเพาะ ดูเนื้องอก นอกจากนั้นยังสามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา หาเซลล์มะเร็ง , เพาะเชื้อเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย ร่วมไปถึงการส่องกล้องเพื่อรักษาห้ามเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นได้   เพราะอะไรถึงต้องส่องกล่องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น ?             แพทย์จะใช้การส่องกล้องเพื่อตรวจสาเหตุของโรคหรืออาการดังต่อไปนี้ - ปวดท้องช่วงบนของท้อง ปวดบริเวณลิ้นปี่ ปวดเป็นๆหายๆ โดยเฉพาะในกรณีที่ปวดมานานกว่า 1-2 สัปดาห์ - อาเจียนโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ - กลืนอาหารลำบาก , จุกแน่นคอ - ท้องอืด มีลมในท้องมาก เรอบ่อย รับประทานอาหารได้น้อย หรืออาจมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย  - เลือดออกทางเดินอาหาร : อาเจียนเป็นเลือด , ถ่ายอุจจาระมีสีดำหรือมีเลือดปน หรือโลหิตจาง ซึ่งอาจจะมีแผลเลือดออกในกระเพาะอาหาร โดยอาจจะไม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วย   ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้างก่อนมาตรวจ ?   1. ห้ามรับประทานอาหาร และดื่มน้ำทุกชนิดก่อนมารับการตรวจ อย่างน้อย 6-8 ชม. ก่อนตรวจ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่ากระเพาะอาหารว่างเปล่า ซึ่งทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และป้องกันอันตรายที่เกิดจากการสำลักอาหารและน้ำเข้าไปในหลอดลมขณะที่กลืนกล้องลงสู่ลำคอและระหว่างส่องกล้อง 2. ในรายที่มีฟันปลอมถอดได้ ต้องถอดออก หรือมีฟันโยกจะต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบ เพื่อป้องกันการหลุดและอุดกลั้นทางเดินหายใจ  3. แนะนำให้คนไข้ไม่ควรสวมเครื่องประดับติดตัวมา  4. ควรมีญาติมาด้วย หากในรายที่แพทย์พิจารณาให้ฉีดยาคลายกังวลหลังจากตรวจไม่ควรขับรถด้วยตนเอง  5. ถ้ามีโรคประจำตัว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ในบางกรณีแพทย์อาจจะพิจารณาให้งดยาละลายลิ่มเลือดก่อนส่องกล้อง อย่างน้อย 3-7 วัน   อะไรจะเกิดขึ้นบ้างกับตัวท่านบ้าง ขณะได้รับการตรวจ ? 1. เมื่อถึงห้องตรวจผู้ป่วยจะได้รับการพ่นยาชาที่คอ สามารถกลืนลงไปได้เลยโดยไม่เป็นอันตราย ซึ่งจะทำให้ลำคอหมดความรู้สึกเจ็บชั่วคราว ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ผู้ป่วยบางรายอาจจะรู้สึกแสบในลำคอช่วงแรกๆของการพ่นยา หากผู้ป่วยบางรายมีอาการหวาดกลัว กระสับกระส่าย แพทย์อาจจะต้องพิจารณาให้ยาคลายกังวล หรือยาแก้ปวดทางหลอดเลือดดำ  2. ขณะส่องกล้องจะต้องให้นอนตะแคงซ้าย หลังจากจะใส่ที่กันกัดกล้องให้ผู้ป่วยกัดไว้ในปาก ซึ่งจะมีรูเปิดไว้สำหรับให้กล้องผ่านลงไปได้  3. หลังจากนั้นแพทย์จะทำการส่องกล้อง โดยจะผ่านจากปากเข้าไปในลำคอ โดยผู้ป่วยจะต้องกลืนกล้อง เพื่อให้สู่หลอดอาหาร หากมีน้ำลายควรปล่อยไหลออกมา ห้ามกลืนเพราะอาจจะเกิดการสำลักได้ ซึ่งขณะส่องกล้องแนะนำให้ผู้ป่วยผ่อนลมหายใจเข้าออก เพื่อบรรเทาอาการแน่นอึดอัดท้อง จะใช้เวลาส่องตรวจประมาณ 10-15 นาที     การปฏิบัติตัวหลังได้รับการส่องตรวจ ? 1. ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีเสมหะติดอยู่ในลำคอ หรือรู้สึกหนาๆ ภายในลำคอ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยาชา จะคงอยู่ประมาน15-30 นาที หลังจากหมดฤทธิ์ยาชาแล้ว อาการเหล่านี้จะค่อยๆหายไปเป็นปกติเช่นเดิมเอง   2. ระหว่างคอชาอยู่ ให้บ้วนน้ำล้างปากได้ เพียงแต่อย่างรีบดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการสำลัก  3.หลังจากคอหายชาแล้วให้เริ่มจิบน้ำก่อน เพื่อทดสอบการกลืนว่าเป็นปกติหรือยัง จึงให้รับประทานอาหารได้ ควรเป็นอาหารอ่อนก่อน เพื่อให้สามารถกลืนได้ง่ายขึ้น ไม่ควรรับประทานอาหารร้อนจัดหรือเย็นจัด  4. หากผู้ป่วยบางรายที่ได้รับยาฉีดเพื่อนอนหลับให้คลายกังวล อาจจะมีอาการง่วงอยู่จะต้องนอนพักฟื้นต่อสังเกตอาการรอให้ตื่นรู้สึกตัวดีก่อนประมาณ 90 นาที หากเห็นว่าปลอดภัยดีแล้วจึงจะฟังผลตรวจกับแพทย์ และจะให้ย้ายกลับหอผู้ป่วย หรือกลับบ้านได้  5.สำหรับผู้ป่วยที่กลับบ้านได้ เมื่อกลับบ้านแล้วควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการรับประทานยาและอาหารให้ครบตามที่แพทย์สั่ง เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ควรมารับการตรวจรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง    การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)          การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)  เป็นวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการประเมินปัญหาในลำไส้ใหญ่  โดยใช้กล้องส่องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ผอม ยาว และยืดหยุ่นได้ มีกล้องวีดีโอและดวงไฟขนาดเล็กมาก ติดอยู่ที่ปลายท่อ เมื่อทำการขยับและปรับกล้องส่องลำไส้ใหญ่อย่างเหมาะสมแล้ว แพทย์จะสามารถเคลื่อนไหวกล้องให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้ ภาพที่กล้องบันทึกได้ใน ลำไส้ใหญ่จะปรากฏบนจอโทรทัศน์ ให้คุณภาพความชัดที่ดี และสามารถเก็บรายละเอียดภายในลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด ซึ่งจะให้ความถูกต้องแม่นยำมากกว่าการทำเอกซเรย์   โดยการส่องกล้องตรวจควรทำในผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ •          มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระเช่นท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย •          ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อาจจะเป็นสีแดงสดหรือคล้ำ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ •          เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก •          มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด และปวดท้องร่วมด้วย •          มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย •          ผู้ที่มีอายุ 50ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจทางทวารหนักโดยการส่องกล้องทุกๆ3-5 ปี   สิ่งที่ตรวจพบจากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ •          ริดสีดวงทวาร •          ลำไส้อักเสบ •          ติ่งเนื้อ •          หลุมในลำไส้ใหญ่ (Diverticulum) •          เนื้องอก •          มะเร็งลำไส้ใหญ่   การเตรียมตัวก่อนการรับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ •          3 วันก่อนตรวจ ให้รับประทานอาการอ่อนย่อยง่าย •          งดรับประทานผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใย •          รับประทานยาระบายให้ครบตรงตามจำนวน และเวลาที่แพทย์สั่ง •          คืนวันก่อนตรวจ งดอาหารและน้ำดื่ม จนกว่าจะทำการตรวจ •          ควรมีญาติมาด้วย (ในบางรายอาจได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำทำให้ไม่รู้สึกตัวขณะตรวจ)และเมื่อตื่นจากฤทธิ์ยานอนหลับ อาจมีอาการง่วงซึมได้         ขณะตรวจผู้ป่วยอาจรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระหรืออึดอัดแน่นท้อง เนื่องจากแพทย์ได้เป่าลมให้ลำไส้ขยายเพื่อดูพยาธิภาพภายใน อาการเหล่านี้จะบรรเทาได้โดยปฏิบัติ ดังนี้ •          หายใจช้าๆ สูดลมหายใจเข้า-ออก •          ปล่อยตัวตามสบาย ไม่เกร็ง •          ห้ามดิ้น หรือขยับตัวขณะแพทย์ส่องกล้อง   อาการที่อาจพบได้ภายหลังการตรวจ •          ท้องอืด แน่นท้อง จะทุเลาลงเมื่อผู้ป่วยผายลม •          เจ็บ บริเวณท้องน้อย หรือทวารหนัก อาการเหล่านี้ จะค่อยๆทุเลาลงและหายไป การปฏิบัติตัวหลังส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ •          ให้สังเกตอุจจาระ อาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย หรือถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ •          ห้ามขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรืองานที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เนื่องจาก ยังมีฤทธิ์ยานอนหลับค้างอยู่ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการง่วงซึม •          มีอาการผิดปกติ เช่นปวดท้องมาก ท้องแข็ง มีไข้สูง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที •          ติดตามการรักษาและมาตรวจตามนัด     เอกสารอ้างอิง              มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร. “การส่องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น”. [ ระบบออนไลน์ ]. แหล่งที่มา http://www.si.mahidol.ac.th/office_d/adm/Gi_scope/egd.html (07 กันยายน 2560.)             โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร. “การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.bumrungrad.com.th/digestive-diseases-gi-center-tretment-bangkok-thaoland/procedures/upper-gi-endoscopy#Benefits (07 กันยายน 2560).             “การส่องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://siamhealth.net/public_html/investigation/gi/endoscope.htm#.WbiAS6gxWEd (07 กันยายน 2560).     

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<