อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด               อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง การรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอเหมาะสม ก่อน ระหว่าง และหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นและมีความรู้สึกดีขึ้น มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรค เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะสม ผู้ป่วยจะต้องรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน คาร์โบไอเดรต ไขมันและน้ำ อย่างเพียงพอ  สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผลข้างเคียงของอาการรักษาอาจจะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาการเหล่านั้นคือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูกแสบปาก กลืนลำบาก และเจ็บปากเมื่อกลืนอาหาร ยารักษามะเร็งอาจมีผลลดความอยากอาหารลง สิ่งเหล่านำไปสู่ปัญหาทางโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) ทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอ เหนื่อยง่าย ภุมิต้านทานลดลงและติดเชื้อง่าย ไม่สามารถทนต่อการบำบัดได้ ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากเสียชีวิตจากการขาดอาหาร มากกว่าการลุกลามของโรค ทำไมผู้ป่วยมะเร็งจึงขาดสารอาหาร 1. ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น เซลล์มะเร็งจะสร้างสารเคมีบางอย่างมำให้เผาผลาญอาหารได้โดยเร็ว 2. รับประทานอาหารได้น้อยในขณะที่ร่างกายต้องการอาหารเพื่อนำไปสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น แต่ผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากจะเบื่ออาหาร เมื่อเซลล์มะเร็งแพร่กระจาย การเบื่ออาหารจึงเป็นสาเหตุทำให้ขาดสารอาหารได้ง่ายขึ้น ทำอย่างไรจะทำให้รับ ประทานอาหารได้มากขึ้นได้ 3. ไม่รับประทานอาหารบางชนิด  ปัญหาการที่ไม่รับประทานอาหารหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเข้าใจว่าเป็นอาหารแสลงต่อโรคมะเร็ง ยังเป็นอีกปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งขาดสารอาหาร              ผู้ป่วยที่รักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดมักมีปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำเป็นบางช่วง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ควรระวังความสะอาดของอาหาร ได้แก่ ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ก่อนรับประทานอาหาร และการหยิบอาหารสดบางประเภท เช่น เนื้อสัตว์ ปลาดิบ ไข่สด ต้องล้างมือ ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการปรุงประกอบอาหาร ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาด อาหารที่ปรุงสุกแล้วเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ การรับประทานอาหารนอกบ้านควรดูแลความสะอาดเป็นพิเศษ เช่น สลัดผัก อาหารยำ น้ำแข็ง น้ำดื่มไม่สะอาด อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถกินอาหารได้พอสมควร ควรกินตามแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพดีของคนไทย ดังนี้ 1. กินอาหารในครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย หมั่นดูแลน้ำหนักตัวเองให้อยู่ในมาตรฐาน ไม่ผอมเกินไป 2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้ง เลือกรับประทาน ข้าวกล้อง+ข้าวไร้เบอรี่+ข้าวแดง จะได้คุณค่าและใยอาหารมากกว่า 3. กินผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำกินให้หลากสี ผักสีเขียวเข้ม เช่น ตำลึง ผักโขม บล็อคโคลี่ จะสร้างภูมิคุ้มกันโรค และต้านมะเร็งได้ 4. การกินปลา เนื้อสัตวืไม่ติดมัน ไข่ เป็นประจำ ปลาเป็นโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย ไขมันต่ำ ควรกินบ่อย การกินไข่ถ้าไม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงรับประทานได้วันละ1ฟอง แต่ถ้าเป็นไขมันในเลือดสูงควรกินเฉพาะไข่ขาว เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ลดการรับประทานเนื้อแดง และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปที่มีการเติมสารกันบูด เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง แหนม เพราะมีการวิจัยพบว่ามีส่วนกระตุ้นเซลล์มะเร็ง 5. การดื่มนมเพื่อบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยควรดื่มนมสดหรือนมพร่องมันเนยวันละ1-2แก้ว 6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร เช่น กินอาหารทอด ผัก แต่พอควร หลีกเลี่ยงอาหารทอดจากน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันทอดซ้ำ อาหารปิ้ง ย่าง(ไม่ดำไหม้เกรียม) เลือกอาหารประเภทต้มนึ่ง แกงที่ไม่ใส่กะทิ เช่น แกงส้ม ต้มยำ แกงจืด 7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารหวานจัด เค็มจัด เพราะถ้ากินหวานจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน กินเค็มจะเสี่ยงเป็นโรคไต โรคความดันโลหิตสูง 8. กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน เพราะอาหารที่ไม่ปรุงสุก และปนเปื้อนเชื้อโรค และสารเคมีต่างๆ เช่น สารบอแรกซ์ สารกันรา สีย้อมผ้า สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน และยาห่าแมลง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ และเป็นผลเสียต่อโรคมะเร็ง 9. งดหรือลด เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ มีส่วนทำให้เกิดโรคร้ายมากมาย   **ในผู้ป่วยมะเร็ง่มีปัญหาเฉพาะด้านที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ปกติ ควรปรับการรับประทานอาหารตามอาการที่ปรากฎ 1. เบื่ออาหาร เลือกอาหารที่ผู้ป่วยพอรับประทานได้ กลิ่น รสไม่จัด เช่นขนมปังกรอบ กินเป็นอาหารว่าง กินทีละน้อย แต่กินบ่อย 2. คลื่นไส้ ให้กินอาหารก่อนให้ยาเคมีบำบัด เลี่ยงอาหารที่มันเยิ้ม มีกลิ่นฉุน รับประทานอาหารแห้งประเภทแครกเกอร์ ขนมปังกรอบ อาหารที่เสิร์ฟไม่ปรุงรส ให้มีรสหวานตามธรรมชาติ ไม่ใส่เครื่องเทศ 3. อาเจียน จัดอาหารเหลวใสทุก 10-15 นาที หลังจากอาเจียน เช่น น้ำซุปใส น้ำหวาน น้ำผลไม้ ยกหัวให้สูงเพื่อเอนหลัง หรือการใช้ยาลดการอาเจียน 4. อิ่มเร็ว ให้เครื่องดื่มที่มีความเข้มข้นดื่มระหว่างมื่อ เช่น เสริมนมทางการแพทย์ เลี่ยงการกิน อาหารมันๆ  ของทอด  เนื่องจากย่อยยาก กินอาหารเป็นมื้อเล็กๆหลายมื้อ 5. การรับรสเปลี่ยน กลั้วคอหรือลิ้นก่อนรับประทานอาหาร ใช้น้ำมะนาวช่วย เมื่อลิ้นขม บางครั้งอาจจะทานเป็นอาหาร 6. ปากแห้ง รับประทานอาหารอ่อนที่มีน้ำมาก เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยวน้ำ อมลูกอม ไอศครีม รับประทานอาหารหวานจัด จิบน้ำบ่อยๆ 7. มีแผลในช่องปาก เจ็บปากและลิ้น ไม่รับประทานอาหารที่เป็นกรดหรือเปรี้ยว เครื่องเทศ เผ็ดร้อน อาหารเค็ม อาหารหยาบแข็ง ระวังเลือดออกในช่องปาก ให้อาหารที่เคี้ยวกลืนง่าย ได้แก่ ข้าวต้ม โจ๊กผสมผัก กล้วยสุก แตงโม วุ้น พุดดิ้ง ไข่ลวก  ข้าวโอ๊ต เสิร์ฟอาหารต้องไม่ร้อนหรืออุณหภูมิห้อง 8. ท้องเสีย แนะนำดื่มน้ำให้เพียงพอ เสริมเครื่องดื่มเกลือแร่ งดการดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมประมาณ1สัปดาห์ หรือจนกว่าหยุดถ่าย งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำอัดลม 9. ท้องผูก แนะนำให้รับประทานใยอาหาร 25-35กรัมต่อวัน เช่น กินผัก ผลไม้ ธัญพืชเมล็ดมากๆ ดื่มน้ำ8-10แก้ว หรือน้ำลูกพรุน น้ำผลไม้อุ่นๆ เดินและออกกำลังกาย หรือปรึกษาแพทย์ อาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่ ถั่วแดง ธัญพืชไม่ขัดสี ซีเรียล ข้าวโพด ผักสด ผลไม้ หน่อไม้ฝรั่ง คื่นช่าย ถั่วลันเตา มะเขือ 10. อาหารสุกสะอาด ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวต่ำมาจากหลายสาเหตุ เช่น การฉายแสง เคมีบำบัด และจากตัวโรค ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรรับประทานอาหารปรุงสุกทันที เก็บรักษาอุณหภูมิเหมาะสม ปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกสะอาด ระวังเชื้อราจากผลไม้ ล้างมือบ่อยๆ ป้องกันการแพร่เชื้อ 11. น้ำลายเหนียว ทำให้ฟันผุง่าย ให้อาหารที่มีน้ำปกติ เครื่องดื่มที่มีกรดซิตริก น้ำผลไม้ปั่น เลี่ยงการรับประทานขนมปัง นม เจลาติน แอลกอฮอล์ ดูแลสุขภาพช่องปากสม่ำเสมอ 12. น้ำหนักลด เพิ่มแคลอรี่และโปรตีนในอาหาร รับประทานไขมันดีต่อสุขภาพ เพิ่มอาหารทางการแพทย์ 13. อ่อนเพลีย ให้อาหารอ่อนๆ เคี้ยวน้อยที่สุด พักผ่อนให้เพียงพอ หรือให้อาหารทางสายให้อาหาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ ข้อเดียว! ก็เสี่ยงแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง แนะนำให้ตรวจสุขภาพหัวใจทุกปี ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี น้ำหนักเกินมาตราฐาน เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีประวัติครอบครัว และญาติสายตรง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ที่สูบบุหรี่ จะรู้ว่าเป็น..โรคหัวใจ..ได้อย่างไร   มีเครื่องมือตรวจค้นหา ดังนี้               -Echocardiogram             ใช้ในการวินิจฉัย และพยากรณ์โรค รวมทั้งตรวจหาความรุนแรง ติดตามผล การรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถวัด ขนาด และดูความสามารถในการทำงานของหัวใจ รวมถึงโครงสร้างต่างได้ดี               -Exercise Stress Test             คือการให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานตามโปรแกรมที่กำหนด เพื่อมุ่งเน้นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือขาดเลือดเป็นสำคัญ หรืออาจใช้ตรวจหาการเต้น ผิดจังหวะที่เกิดร่วมกับการออกกำลังกายอีกด้วย การทดสอบชนิดนี้ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ได้เป็นอย่างดี               -CIMT             Carotid Intima Media Thickness เป็นการตรวจวัดการตีบตันของหลอด เลือดแดงที่คอ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด               -EKG             การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ช่วยในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ อุดตัน หัวใจโต ความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในเลือด ฯลฯ               -ABI             Ankle-brachial index เป็นการตรวจวิเคราะห์ สมรรถภาพการแข็งตัวของ หลอดเลือดแดงส่วนปลาย เพื่อเช็คดูว่ามีโรคของหลอดเลือดแดงที่แขน หรือขาตีบ หรือไม่               -Tilt Table Test             (การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติโดยการปรับระดับเตียง) เป็นการตรวจ พิเศษเพื่อที่ใช้ทดสอบผู้ป่วย ที่มีอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ เพื่อหาทางแก้ไข หรือรักษาให้ถูกต้องต่อไป เนื่องจากอาการเป็นลม หมดสติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจะมาจากปัญหาทางด้านสมอง หัวใจ ความดันโลหิตต่ำ หรือความผิดปกติ ของระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เป็นสาเหตุของการเป็นลมที่พบบ่อยที่สุด               -24 Hours Ambulatory ECG Recording             (การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ชนิดพกพา) คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง เป็นการติด เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ไว้กับตัวท่าน โดยที่ท่านสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือที่ทำงานได้ตามปกติ การตรวจวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว หน้ามืดคล้ายจะเป็นลมอยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำ                ด้วยความปรารถนาดี จากศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ถอดจากการสัมภาษณ์ ในรายการ Happy&Healthy ช่วง Health Talk FM.102 ทุกวันเสาร์ 09.00 -10.00 น. พัฒนาการในเด็ก

พัฒนาการในเด็ก ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนี้ เรื่องของพัฒนาการของเด็ก มีส่วนสำคัญและพ่อแม่ให้ความสนใจกันมาก มีการวิจัยยืนยันว่า เด็กในยุคปัจจุบันนี้ สมองจะพัฒนาการได้ดีและเร็วที่สุดในช่วงประถมวัย นั่นคือหมายความว่า อายุก่อน 6 ปี จะมีพัฒนาการทางสมองและเรียนรู้ได้เร็วกว่าช่วงวัยอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงของเด็กอายุ 3 ปีแรก จะเป็นช่วงที่เด็กจะมีพัฒนาทางด้านสมองเร็วได้เต็มที่มากกว่าวัยอื่นๆ ของทุกช่วงอายุ เพราะฉะนั้นการส่งเสริมทางด้านพัฒนาการเด็กในวัยนี้จึงจำเป็นและสำคัญ เช่น เด็กที่อายุ 1 ขวบครึ่ง เด็กจะต้องฝึกทักษะทางด้านการขับถ่าย 2 ขวบเด็กจะต้องฝึกเรื่องการทานอาหารเอง 3 ขวบเด็กจะต้องใส่กางเกงได้เอง ถ้าสมมติเราไม่ได้ฝึกทักษะลูกเราตรงนี้ พอพ้นวัย 6 ปีเป็นต้นไป จะกลับมาแก้ไขเป็นเรื่องที่ยาก   พยาบาลมีบทบาทสำคัญ ต่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการที่จะให้ความรู้ คำแนะนำกับครอบครัว จะเริ่มดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ มีการส่งเสริมให้ลูกได้ฟังเสียงหัวใจแม่ ฝึกให้คุณพ่อพูดคุยกับลูกผ่านทางท้องคุณแม่ เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน บางทีเราอาจจะให้คุณแม่โยกตัวเบาๆ เพื่อเป็นการฝึกทักษะและฝึกพัฒนาการของลูกในด้านการเคลื่อนไหว ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 7-8 เดือนขึ้นไป เราอาจจะส่องไฟฉายไปที่หน้าท้อง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมทางด้านการอยากรู้อยากเห็นของเด็ก   พอเด็กคลอดออกมาแล้ว พยาบาลจะมีหน้าที่ในการที่จะฝึกและสอนให้คุณแม่สังเกตและประเมินพัฒนาการของลูก ถ้าหากพยาบาลเจอเด็กมีแนวโน้มว่าพัฒนาการจะล่าช้า จะแนะนำให้แม่กลับไปฝึกทักษะ ถ้าฝึกทักษะกลับมาแล้ว 1 เดือนไม่ดีขึ้น พยาบาลก็จะส่งพบแพทย์ เพื่อตรวจและวินิจฉัยเพิ่มเติม ส่วนใหญ่แล้วก็จะเริ่มต้นที่อายุ 9 เดือน 18 เดือน 30 เดือน และ 42 เดือน   การสังเกตข้อบกพร่องพัฒนาการของเด็ก โดยพัฒนาการของเด็ก จะดูอยู่ที่ 5 ด้าน คือ 1.พัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหว หรือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการทรงตัว การเคลื่อนไหว และการเคลื่อนที่ เช่น การชันคอ การนั่ง การยืน และการคว่ำ เป็นต้น 2.พัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา เป็นการใช้สัมผัสต่างๆ การใช้มือเพื่อทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น การควบคุมกล้ามเนื้อมือ ตา ปาก การหยิบจับ การขีดเขียน เป็นต้น 3.พัฒนาการทางด้านการเข้าใจภาษา เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งเด็กๆ จะมีพัฒนาการที่ช้าหรือเร็วนั้น ก็ขึ้นอยู่กับอายุและวัยของเขาด้วย 4.พัฒนาการทางด้านการใช้ภาษา เด็กบางคน จะมีพัฒนาการต่างๆ ที่ช้ากว่าปกติ ถ้าลูกใช้เวลาในการเรียนรู้การคลาน การเดิน การกินอาหารเหลวช้า ก็อาจเป็นไปได้ว่าพัฒนาการทางการพูดจะช้าไปด้วย แต่ถ้าลูกเข้าใจสิ่งที่พ่อแม่บอก และสามารถทำตามคำแนะนำคือลูกสามารถชี้บอกได้ว่าต้องการอะไร แสดงว่าลูกอาจจะมีพัฒนาการทางการพูดช้าและมีความเป็นไปได้ที่จะมีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์เมื่อโตขึ้น แต่ในทางกลับกัน หากเด็กไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่พ่อแม่ขอให้ทำ และไม่สามารถเลียนแบบหรือจดจำเสียงต่างๆ ได้เลย และเวลาได้ยินเสียงดังๆ ลูกก็ไม่รู้สึกตกใจ คุณแม่ควรพาลูกไปรับการตรวจเช็คหูและประสาทรับฟัง ปัญหาการได้ยิน ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการการพูด เด็กหลายคนควรจะสามารถเข้าใจบทสนทนาจากคนแปลกหน้าได้เมื่อพวกเขาอายุ 3-4 ปีขึ้นไป หากลูกของคนมีปัญหาในเรื่องนี้ พยายามปรึกษาคุณหมอหรือที่ปรึกษาเกี่ยวกับการพูดและฟังสำหรับเด็กแต่เนิ่นๆ เพื่อช่วยพัฒนาต่อไป 5.พัฒนาการทางด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม เป็นความสามารถในด้านการรับรู้ เข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รวมไปถึงการควบคุมอารมณ์ในการแสดงออก เพื่อการรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเกิดขึ้นตั้งแต่วัยทารก หากทารกได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม จะมีความไว้วางใจผู้เลี้ยงดู ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการด้านสังคมที่สำคัญ เมื่ออายุมากขึ้นเด็กจะมีการพัฒนาที่ซับซ้อนมากขึ้น จะเริ่มอยากเล่นกับเพื่อน มีกลุ่มเพื่อนสนิท ได้เล่น ได้แสดงความรู้สึก ได้เรียนรู้ข้อตกลง กฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคมตามวัยแต่ละช่วงอายุ   สาเหตุที่ทำให้พัฒนาการล่าช้า ส่วนใหญ่จะมีเรื่องของการคลอดก่อนกำหนด ความผิดปกติของพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม ความเจ็บปวด หรือว่าอุบัติเหตุ และก็ความพิการทางหู คอ จมูก และสิ่งที่เจอได้บ่อยๆ ในปัจจุบันก็คือจากการเลี้ยงดู  ในยุคนี้ สื่อและเทคโนโลยีทันสมัยเข้าถึงง่าย เราจะสังเกตเห็นว่าพ่อแม่จะให้ลูกเล่นเมือถือกันตั้งแต่เล็ก เด็กก็จะมีอาการสมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย รอคอยไม่เป็น บางคนก็จะดื้อ ต่อต้าน และรบกวนการนอนของเด็กด้วย  อีกกรณีที่เจอก็คือ ให้ลูกเล่นคนเดียว หลายๆ ท่านมักจะคิดว่า เราก็ใช้เวลากับลูกอยู่นะ ลูกก็นั่งเล่นของลูกไป ส่วนเราก็ทำงานหรือทำกิจกรรมของเราไป เพราะฉะนั้น เวลาคุณภาพหมายถึง พ่อแม่ต้องลงไปเล่นกับลูก เล่นอะไรก็ได้ที่สนุก เล่นอะไรก็ได้ที่ทำให้ลูกหัวเราะ               การเล่นเป็นธรรมชาติของเด็กทุกคน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่นำไปสู่การเรียนรู้ รู้จักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สำหรับพ่อแม่แล้วลูกคือทุกสิ่งของชีวิต พ่อแม่ก็คือทุกสิ่งทุกอย่างของลูกเช่นเดียวกัน แม้แต่การเล่น คงไม่มีของเล่นชิ้นไหนที่จะมีความสุข อบอุ่นไว้ใจ เท่ากับพ่อแม่อีกแล้ว   โดยคุณวิลาวัณย์ บุญจูง   หัวหน้าแผนกคลิกนิกบริการกุมารเวชและพยาบาลเฉพาะทาง สาขาพยาบาลเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การนวดแผนไทย ดีอย่างไร ?

  การนวด เป็นกระบวนการดูแลสุขภาพอย่างหนึ่ง โดยอาศัยการสัมผัสอย่างมีหลักการ การนวดที่ถูกสุขลักษณะจะทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดลมดีขึ้น          ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงล้า  รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย คลายเครียด เคล็ดขัดยอก ช่วยให้สุขภาพ กระปรี้กระเปร่า จิตใจผ่อนคลาย    นวดไทยกดจุด             การนวดเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยเฉพาะจุด หรือตามข้อต่อ การยึดติดของพังผืดของร่างกายให้ทุเลา   นวดน้ำมันคลายกล้ามเนื้อ               การนวดร่างกายโดยใช้น้ำมันที่สกัดจากธรรมชาติที่บริสุทธิ์ พร้อมกลิ่นหอมจากธรรมชาติ ช่วยให้สดชื่น คลายเครียดด้วยกลิ่นหอมเฉพาะทางที่ใช้ในการบำบัดอาการให้เบาบางลง เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการเครียด หดหู่ นอกจากนี้น้ำมันบริสุทธิ์ยังช่วยบำรุงผิว และกระชับรูปร่างไม่ให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน ช่วยสลายไขมันไม่ให้สะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และความร้อนของน้ำมันที่เกิดจากการนวดจะซึมซาบลึกเข้าไปในผิวหนัง และกล้ามเนื้อช่วยให้รู้สึกเบาสบายตัว   นวดฝ่าเท้า/นวดเท้า การนวดฝ่าเท้า นวดเท้า เป็นการปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากมีจุดสะท้อนของอวัยวะภายในร่างกายที่ฝ่าเท้า และเท้า การนวดฝ่าเท้า และเท้า จึงเป็นการช่วยให้ระบบการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์ ปรับสภาวะสมดุลของร่างกายทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น   นวดประคบสมุนไพร การนวดประคบเป็นการใช้ความร้อนและสมุนไพรช่วยในการคลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด  ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้ดีขึ้น                                             ด้วยความปรารถนาดี ศูนย์หัตถเวช รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การฉีดสีตรวจท่อนำไข่ Hysterosalpingography (HSG)

คือ การตรวจโพรงมดลูกและปีกมดลูกทางรังสีวิทยา เป็นการตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาเกี่ยวข้องกับการฉีดสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบเข้าทางปากมดลูกเข้าสู่โพรงมดลูกและท่อนำไข่ทั้งสองข้างก่อนจะถ่ายภาพเอกซเรย์ การตรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูรูปร่างโดยทั่วไปของมดลูก และตรวจหาสาเหตุการมีบุตรยาก หรือการเป็นหมัน เช่น ท่อรังไข่ตีบตัน หรือโพรงมดลูกมีลักษณะผิดปกติ เป็นต้น เตรียมตัวอย่างไรบ้าง? เนื่องจากขณะที่แพทย์ฉีดสีอาจมีอาการปวดหน่วงๆจากแรงดันภายในมดลูกได้ แนะนำให้ทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID เช่น lbuprofen (Brufen) 400-600 มิลลิกรัม ล่วงหน้าก่อนการตรวจ 1 ชั่วโมง ควรตรวจวันไหน? วันที่เหมาะสมในการตรวจ คือ วันที่ 7-12 หลังมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยนับ 1 วันที่ประจำเดือนมาวันแรก สิ่งสำคัญ คือ ต้องแน่ใจว่าไม่มีการตั้งครรภ์ ขณะตรวจ    ควรงดการมีเพศสัมพันธ์หลังมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่ตรวจ ขั้นตอนการตรวจ แพทย์จะให้เราขึ้นขาหยั่งเหมือนอย่างตรวจภายในทั่วไป และสอดเครื่องมือเพื่อเปิดช่องคลอดแล้วทายาทำความสะอาดปากมดลูก หลังจากนั้นแพทย์จะสอดท่อเล็กๆผ่านปากมดลูกเข้าไปและถ่ายเอกซเรย์เพื่อดูการไหลของสี ถ้าผลตรวจปกติก็จะใช้เวลาไม่นานประมาณ 10 นาทีก็เสร็จ ผลข้างเคียง 1. เลือดออกกะปริดกะปรอย มักหยุดเองใน 24 ชั่วโมง 2. การติดเชื้อ จะมีไข้และตกขาวมีกลิ่นเหม็น 2-4 วันหลังตรวจแต่โอกาสเกิดน้อยเนื่องจากเครื่องมือทุกชิ้นผ่านการฆ่าเชื้อ 3. อาการปวดมักพบในคนไข้ที่มีท่อนำไข่ตัน มักปวดไม่มากและเป็นไม่นาน 4. การแพ้สารทึบรังสี ซึ่งพบน้อยมาก สารทึบรังสีมีกี่แบบ? สารทึบรังสีมี 2 แบบ คือ แบบละลายน้ำ และน้ำมัน ซึ่งมีการศึกษาหลายชิ้นเปรียบเทียบอัตราการตั้งครรภ์ระหว่างการฉีดสีดูท่อนำไข่โดยใช้สารทึบรังสีแบบละลายน้ำและน้ำมัน พบว่า การฉีดสีโดยใช้สารทึบรังสีแบบน้ำมัน ช่วยกระตุ้นให้เกิดการตั้งครรภ์ได้มากกว่าแบบละลายน้ำถึง 10 %    ทำไมการใช้สารทึบรังสีแบบน้ำมันจึงทำให้โอกาสการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น? 1.สารทึบรังสีแบบน้ำมันจะช่วยชะล้างโพรงมดลูกและท่อนำไข่ กำจัดสิ่งที่ขวางอยู่เล็กๆน้อยๆ ทำให้สภาวะในท่อนำไข่เหมาะแก่การปฏิสนธิระหว่างสเปิร์มกับไข่ 2.สารทึบรังสีแบบน้ำมันสามารถลดจำนวนของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน (Macrophages) ซึ่งสเปิร์มจะถูกทำลายโดยกลไกการป้องกันสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย (Phagocytosis) ด้วยคุณสมบัติของสารทึบรังสีแบบน้ำมันที่สามารถลดจำนวนของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันได้ จึงเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ดี 3. สารทึบรังสีแบบน้ำมันสามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ที่ทำให้เกิดการเตรียมพร้อมในการตั้งครรภ์ได้ (Uterine Natural Killer)         ด้วยความปรารถนาดีจากแผนกสูติ-นรีเวช รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภูมิแพ้อาหารแบบแฝง Food Intolerance

  ภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงต่างจากการแพ้อาหารทั่วไปอย่างไร? – การแพ้อาหารแบบทั่วไป เมื่อร่างกายได้รับอาหารที่แพ้ จะเกิดปฎิกิริยาแบบเฉียบพลันซึ่งมีอาการค่อยข้างรุนแรง เช่น การเกิดผื่นคันตามตัว หรือเกิดอาการช๊อค หายใจติดขัด   – ภาวะภูมิแพ้อาหารแบบแฝง ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการแพ้ทันที แต่จะเกิดอาการเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารชนิดนั้นซ้ำๆ จนร่างกายไม่สามารถกำจัดส่วนประกอบของภูมิต้านทานอิสระที่มีมากเกินไปได้หมด จึงไปกระตุ้นนำระบบกลไกที่ทำให้เกิดการอักเสบให้เกิดขึ้นที่อวัยวะต่างๆของร่างกายอย่างต่อเนื่อง ภูมิแพ้ในลักษณะนี้จะทำให้มีอาการเรื้อรังโดยที่คุณไม่รู้ตัว เช่น ปวดหัว ท้องเสีย ท้องอืด ไอเรื้อรัง ผื่นคันตามตัว บวมน้ำ เป็นค้น   สาเหตุการเกิดภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง   สาเหตุในการเกิดภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงเริ่มมาจากภาวะ “ลำไส้รั่ว (leaky gut)” คือลำไส้ถูกทำลายจากอาหารที่ไม่มีประโยชน์หรือมีสารปนเปื้อนและปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเครียด พยาธิ แบคทีเรียไม่ดี ตับอ่อนผลิตเอมไซด์ได้ไม่ดี ภาวะทุพโภชนาการ เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์ผนังเยื่อบุลำไส้หลวม โมเลกุลที่ยังไม่ย่อยหรือสิ่งแปลกปลอมสามารถซึมผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์เข้าสู่กระแสเลือด   อาการที่เกิดขึ้น – กล้ามเนื้อและกระดูก ปวดข้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว รูมาตอยด์ – ผิวหนัง แผลเรื้อรัง ผิวหนังแข็ง ผื่นคัน สะเก็ดเงิน แผลพุพอง – ระบบหายใจ ภูมิแพ้ หอบหืด ไอเรื้อรัง ไซนัส – ระบบประสาท ADHD ไมเกรน ไม่มีสมาธิ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ   การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงมีประโยชน์อย่างไร?      มนุษย์ทุกคนมีภาวะภูมิแพ้อาหารอยู่ในร่างกายอยู่แล้วเพียงแต่บางคนอาจจะแสดงอาการหรือในบางคนจะไม่แสดงอาการ ซึ่งในรายการที่ไม่แสดงอาการนั้นจะมีความเสี่ยงสูงมากกว่ารายที่แสดงอาการ เนื่องมาจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเรามีภาวะภูมิแพ้อาหารชนิดใดบ้างเราจึงควรให้ความสำคัญกับสุขภาพโดยการเข้ารับ การตรวจ “ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Allergy)”  ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่าคุณมีภาวะหรือความเสี่ยงในการแพ้อาหารชนิดใด เพื่อจะได้ทำการหลีกเลี่ยงและวางแผนโภชนาการของคุณให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์มากที่สุดพร้อมทั้งป้องกันโรคร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น                 ด้วยความปรารถนาดี  แผนกเวชศาสตร์ชะลอวัย    

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

2 กลุ่มวิตามิน ➕ แร่ธาตุ ตัวไหนจำเป็น กินตอนไหนให้ร่างกายแข็งแรง

วิตามิน (Vitamin) คืออะไร? วิตามิน คือสารอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่น้อย ต่อวันแต่มีความจำเป็นขาดไม่ได้ เพราะจะช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์ทุกเซลล์ให้ทำงานปกติ วิตามินจึงมีความสำคัญอย่างมาก  แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินขึ้นเองได้ จึงต้องทานอาหารและอาหารเสริม 2 กลุ่มวิตามิน กินตอนไหนให้ประโยชน์สูงสุด วิตามินทานเวลาไหนดี? ก่อนที่เราจะทานวิตามินตอนไหนดี ที่ได้ประโยชน์สูงสุด มาทราบกันก่อนว่า วิตามินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มที่ละลายในน้ำ วิตามินกลุ่มละลายไขมัน 1. วิตามินกลุ่มที่ละลายน้ำ ( Water Soluble)  วิตามินกลุ่มที่ละลายน้ำเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้และไม่สะสมในร่างกาย ปริมาณที่เหลือใช้จะถูกขับออกทางปัสสาวะ  ได้แก่  วิตามินบีรวม (B-complex vitamins) หรือ วิตามินบีรวมต่าง ๆ (บี 1, 2, 3, 5, 6, 9 และ 12)  เป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างพลังงาน เผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ทั้งคาร์โบไอเดรต โปรตีน ไขมัน ควรทานหลังอาหารเช้า หรือ ระหว่างวัน ทานก่อนนอนอาจทำให้นอนไม่หลับ  วิตามินซี (Vitamin C)  ทานหลังอาหารเช้า หรือ ระหว่างวันและดื่มน้ำตามมาก ๆ เพราะวิตามินซีจะละลายได้ดีในน้ำ  แต่ดูดซึมได้ปริมาณจำกัด จึงควรแบ่งขนาดทาน เช่น ครั้งละ 500 mg 2 ครั้ง/วัน  วิตามินบี12 (Vitamin B12) ทานช่วงท้องว่างจะทำให้ดูดซึมได้ดี และทานร่วมกับโฟลิก  (Folic acid) จะทำให้ได้รับประโยชน์มากในการบำรุงเม็ดเลือด การสร้างพลังงาน การลดระดับ Homocysteine (หากมีค่าสูง จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด) ธาตุเหล็ก (Iron)   ทานขณะท้องว่างจะดูดซึมได้ดีที่สุด หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอาจทานหลังอาหารได้ และ ไม่ควรทานพร้อมกับแคลเซี่ยมและสังกะสี เพราะจะรบกวนการดูดซึมของธาตุเหล็กได้ และทานอาหารที่มีวิตามินซีร่วมด้วยจะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กดียิ่งขึ้น สังกะสี (Zinc)   ดูดซึมได้ดีตอนท้องว่างเช่นกัน (1 ชม. ก่อนอาหาร หรือ 2 ชม.หลังอาหาร) หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาจทานหลังอาหารได้และไม่ควรทานสังกะสีพร้อมกับแคลเซี่ยมและเหล็ก  แคลเซี่ยม (Calcium)  ต้องดูว่าเป็นแคลเซี่ยมชนิดไหนก่อน                                แคลเซี่ยมคาร์บอเนต (Calcium carbonate): ควรทานหลังอาหารทันที  เพราะต้องใช้กรดในกระเพาะอาหารช่วยในการแตกตัว แต่ร่างกายดูดซึมได้น้อยและอาจมีอาการไม่สบายท้อง ท้องอืดได้ แคลเซี่ยมซิเทรท (Calcium citrate): ทานตอนท้องว่างได้และดูดซึมได้ดีกว่า (ปริมาณแคลเซี่ยมจะน้อยกว่าชนิดคาร์บอเนต) แต่ราคาก็จะสูงกว่า  และควรเลี่ยงทานพร้อมยาอื่น ๆ เพราะจะไปลดฤทธิ์ของยา   เลี่ยงหลังการทานผักมาก ๆ และควรทานคู่กับวิตามินดี (Vitamin D) เนื่องจากจะช่วยในการดูดซึมและการนำแคลเซี่ยมไปใช้ได้ แต่ควรตรวจระดับ Vitamin D ในเลือดก่อนเสมอหากไม่ต่ำก็ไม่ต้องทาน(แต่คนไทยส่วนใหญ่ระดับวิตามิน D จะต่ำ)   2. วิตามินกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน (Fat Soluble)   วิตามินกลุ่มนี้สะสมที่ตับและไขมันทั่วร่างกาย ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ ได้แก่ วิตามิน เอ,ดี,อี และ เค รวมถึงกลุ่มน้ำมันต่าง ๆ เช่น น้ำมันปลา (Fish oil) น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส (EPO) , Co-enzyme Q10  อาจรวมไปถึงวิตามิน แร่ธาตุรวม (Multivitamins ; MTV) อีกด้วย ควรทานหลังอาหาร เนื่องจากอาหารในกลุ่มไขมันที่เราทานเข้าไปจะช่วยเพิ่มการดูดซึมวิตามินหรือสารอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ได้มากขึ้น (โดยทั่วไปการดูดซึมอยู่ที่ประมาณ 20-30 นาทีหลังมื้ออาหาร) แต่ก่อนที่จะรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมตัวไหนควรหาข้อมูลให้ดีก่อน หรือปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย    ด้วยความปรารถนาดี จากแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

สุขภาพดีได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้ชีวิตตามหลัก 6 อ.

       แนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยใช้หลัก 6 อ. ตามศาสตร์ชะลอวัย มาส่งเสริม และดูแลให้มีสุขภาพที่ดี          อ.  ที่  1  อาหาร   อาหารดี สุขภาพดี เคล็ดลับง่าย ๆ  คือ รับประทานให้ครบ 3 มื้อ หนักมื้อเช้า เบามื้อเที่ยง เลี่ยงแป้งมื้อเย็น ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่  เพิ่มการกินผักมากขึ้น ไม่ควรตัดอาหารประเภทไขมันออกจากมื้ออาหาร เลือกรับประทานไขมันดี ใช้หลัก Caloric restriction  และควรรับประทานอาหารเสริมที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย           อ. ที่  2  อาศัยแบบไลฟ์สไตล์สุขภาพดี ซึ่งในปัจจุบันการดำเนินชีวิตมีแต่ความเร่งรีบ ทำให้เราไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย และนอนดึก พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายให้มีความผิดเพี้ยนทุกระบบ ทางแก้คือการกลับคืนสู่วิถีทางธรรมชาติ ทำได้โดยการมีวินัยในการดำรงชีวิต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภพ หรือใช้ชีวิตตาม Biological Clock          อ. ที่  3  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงแค่สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 30-60 นาที  ซึ่งต้องออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ หรือการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน และการสร้างความสมดุลในการทรงตัว ปิดท้ายด้วยการยืดเหยียด เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังจากการออกกำลังกายด้วย           อ. ที่  4  เอนกายนอน การนอนเป็นส่วนหนึ่งของการชะลอความแก่  เรามาอดอาหารเช้า ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ นอนอย่างมีคุณภาพ เข้านอนเร็วขึ้นตั้งแต่เวลา 21.00 น. ปิดแสงไฟ ปิดม่านให้มืดสนิท ไม่มีเสียงและคลื่นความถี่ต่าง ๆ รบกวน เพื่อการหลับที่สนิทในช่วงเวลาที่ Growth Hormone  หลั่งในช่วง 24.00-01.00 น. ฮอร์โมนเหล่านี้จะไปซ่อมแซมเซลล์ในร่างกายที่เสื่อมให้กลับมาดีขึ้น           อ. ที่ 5  เอาน้ำหนักส่วนเกินออก คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ สูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักในระดับมาตรฐาน การลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ           อ. ที่ 6  อ่อนเยาว์ด้วยฮอร์โมนที่สมดุล ฮอร์โมนต่าง ๆในร่างกายเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อระบบการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น Growth Hormone ที่ช่วยกระตุ้นความอ่อนเยาว์และชะลอความเสื่อมของร่างกาย  ถ้าเราต้องการชะลอความเสื่อม รักษาความอ่อนเยาว์ของเราไว้ ต้องมีการปรับความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายที่ดี เพื่อความอ่อนเยาว์ที่ยาวนาน           แค่เราปฏิบัติตามทั้งหมด 6 อ. นี้ เราก็จะสามารถชะลอความเสื่อมของร่างกาย  คงไว้ในความอ่อนเยาว์ และมีสุขภาพที่ดี สามารถลดภาระค่ารักษาพยาบาลได้ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวได้ด้วย            ด้วยความปรารถนาดี จากแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัย  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กลิ่นปาก

เกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประเภท คือ สาเหตุจากในช่องปาก และสาเหตุภายนอกช่องปาก สาเหตุจากในช่องปาก ได้แก่ มีแผลในช่องปาก ฟันผุ เหงือกอักเสบ และกลุ่มคนที่ใส่เครื่องมือภายในปาก เช่น เครื่องมือจัดฟัน ฟันปลอม หากดูแลความสะอาดไม่ดี ก็อาจเกิดกลิ่นได้เช่นกัน นอกจากนั้นน้ำลายซึ่งคอยช่วยชะล้างสิ่งสกปรกออกจากภายในปาก หากหลั่งออกมาน้อยก็อาจทำให้สิ่งสกปรกที่ติดค้างอยู่ภายในปากเกิดการบูดเน่า และเกิดกลิ่นปากได้ สาเหตุภายนอกช่องปาก ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การรับประทานอาหารบางชนิดที่มีกลิ่นแรง เช่น กระเทียม เครื่องเทศ นอกจากนี้โรคระบบทางเดินหายใจก็เป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นปากได้ เช่น โรคไซนัสอักเสบ โรคทอนซิลอักเสบ โรคมะเร็งโพรงกระดูก กรดไหลย้อน โรคปอดเรื้อรัง วัณโรค มะเร็งปอด เบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ดี ดังนั้นหากรู้ตัวว่าตัวเองเริ่มมีกลิ่นปากหรือมีกลิ่นแปลกๆเกิดขึ้นเป็นเวลานานและเรื้อรังให้ไปพบแพทย์ ทันตแพทย์ เพื่อตรวจสอบและหาสาเหตุเพื่อแก้ไขต่อไป ซึ่งสาเหตุหลักประมาณร้อยละ 90 มาจากในช่องปาก แนวทางการรักษา การดูแลสุขอนามัยช่องปากโดยเน้นการทำความสะอาดฟันและลิ้นรวมถึงการกำจัดและรักษาปัญหาพยาธิสภาพในช่องปาก เช่น ฟันผุ วัสดุอุดฟันสภาพไม่ดี เหงือกอักเสบ เป็นต้น รวมถึงการดื่มน้ำเปล่าอย่างพอเพียง และการดูแลสุขภาพร่างกายโดยรวม ไม่เครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint Disorder)

คือ ภาวะที่ข้อต่อระหว่างขากรรไกรบนและล่างไม่สามารถทำงานอย่างที่ควร มีผลต่อการเคลื่อนขากรรไกรล่างไปในทิศทางข้างหน้า ข้างหลัง หรือด้านข้างได้ สาเหตุอาจเกิดจาก             - แผ่นหมอนรองกระดูกสึกกร่อน หรือเคลื่อนตัวออกนอกตำแหน่ง      - กระดูกอ่อนของข้อต่อถูกทำลายจากภาวะข้อเสื่อม      - ข้อต่อถูกกระทบกระเทือนจากปัจจัยภายนอกหรืออาจจะหาสาเหตุไม่ได้ก็เป็นไปได้เช่นกัน อาการที่พบได้บ่อย           - ปวดศีรษะ ปวดหู ปวดบริเวณหลังตา     - เสียงคลิกเวลาอ้างปากหรือหุบปาก     - ปวดจากการหาว อ้าปากกว้าง เคี้ยวอาหาร     - ขากรรไกรค้าง     - เจ็บกล้ามเนื้อขากรรไกร วิธีการรักษา           ยังไม่มีวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่มีวิธีบรรเทาอาการได้หลายวิธีดังนี้              - การรับประทานยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้อักเสบ เพื่อลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ            - การใส่อุปกรณ์ป้องกันการกระทบของฟันบนและล่าง            - การผ่อนคลาย เพื่อควบคุมความตึงเครียดของกล้ามเนื้อขากรรไกร เช่น ระมัดระวังพฤติกรรมการกัดเค้นฟัน การกัดของแข็ง           -  หากการรักษาแบบประคับประคองไม่ได้ผล อาจต้องรักษาด้วยวิธีอื่นๆแทน เช่น การฉีดยาเข้าข้อต่อหรือกล้ามเนื้อ พวกยาสเตียรอยด์ สาร Botulinum toxin หรือการผ่าตัดข้อต่อขากรรไกรแบบส่องกล้องขนาดเล็ก หรือการผ่าตัดเปิดข้อต่อขากรรไกร  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<