วิตามินดี (Vitamin D) มีประโยชน์ ห้ามขาด ถ้าไม่อยากเป็นโรคเหล่านี้!

ทราบไหมว่า มีงานวิจัยศึกษาพบว่า คนไทยวัยทำงานถึงหนึ่งในสาม หรือประมาณร้อยละ 36.51 ขาดวิตามินดี ทั้งๆที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่เรียกได้ว่ามีแต่ฤดูร้อนน้อยกับฤดูร้อนมากเท่านั้น  เราได้วิตามินดีจากไหน? ร่างกายของเราจะได้รับวิตามินดี 2 ทางด้วยกันคือ  1. อาหาร ซึ่งในอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี เช่น ปลาแซลมอน หรือปลาแมคคอแรลที่สุก ปลาทูน่ากระป๋อง และ ในต่างประเทศมีการเพิ่มเติมวิตามินดี ใส่ลงในนม น้ำส้ม โยเกิร์ต หรือแม้กระทั่งธัญพืชอาหารเช้าที่ใส่วิตามินดีเสริม 2. แสงแดด  ซึ่งการที่เราจะได้รับวิตามินดีจากแสงแดดนั้น จะต้องให้ผิวหนังสัมผัสกับแสงอาทิตย์เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาทีทุกวัน โดยใส่เสื้อแขนสั้น กางเกงขาสั้น และวิตามินดี 3 จะสังเคราะห์ในผิวหนังของเราจากรังสี UVB ซึ่งเป็นรังสีที่มีช่วงคลื่นสั้น ตกกระทบที่ผิวหนังชั้นนอกสุด หรือชั้นหนังกำพร้า ซึ่งเป็นผิวบริเวณที่สังเคราะห์วิตามินดี  แต่จากการที่เราวัยทำงานที่ทำงานกันอยู่ในตึก หรือพนักงานออฟฟิศ ตอนเช้าก่อนออกจากบ้าน ใส่เสื้อแขนยาว ทาครีมกันแดด หลีกเลี่ยงแสงแดดเพราะกลัวผิวคล้ำ ขับรถติดฟิล์มกรองแสงเพราะแสงแดดจ้า ตกเย็นออกกำลังกายในที่ร่ม เข้า Fitness ตามวิถีชีวิตคนเมืองกรุง อีกทั้งบางคนที่มีผิวสีคล้ำ ปัจจัยเหล่านี้เองทำให้เราไม่ได้รับวิตามินดีจากแสงแดด ประกอบกับอายุที่มากขึ้นการดูดซึมวิตามินดีจากอาหารก็ลดลงตามวัยด้วย และเมื่อปัจจัยเหล่านี้รวมกันร่างกายของเราจึงขาดวิตามินดีได้ หน้าที่หลักของวิตามินดี คือช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน  แต่ในปัจจุบันเราทราบแล้วว่าวิตามินดีมีโครงสร้างคล้ายเสตีรอยด์ฮอร์โมน ( Serge Steroid) จึงถูกจัดเป็นฮอร์โมนประเภทหนึ่ง ร่วมกับอวัยวะต่าง ๆ ทั่งร่างกายทั้งในเซลล์สมอง บีต้าเซลล์ในตับอ่อนประกอบด้วย VDR ( Vitamin D Receptor ) ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ทั้งร่างกาย เมื่อเราขาด Vitamin D หากเรามีวิตามินดีต่ำหรือขาดวิตามินดี เป็นระยะเวลานานจะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคกระดูกน่วม (Osteomalacia)  โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets)  การขาดวิตามินดียังสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เพิ่มความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และอาจทำให้กระดูกหักได้  การขาดวิตามินดีมีผลต่อสุขภาพของเราด้านอื่นนอกเหนือจากเรื่องกระดูกของเรา เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle weakness) ช่วยต้านโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon cancer) มะเร็งเต้านม (Breast cancer) มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย (Immune system) รวมถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes)  โรคเอ็มเอส (MS – Multiple Sclerosis) และกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease – IBD) โรคติดเชื้อ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน เราควรปฏิบัติตัวอย่างไร จากข้อมูลงานวิจัยเราจะเห็นได้ถึงประโยชน์ของวิตามินดีมากมายซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะในกระดูก แต่มีผลสำคัญในระบบอื่นๆด้วย ดังนั้น และเพื่อเป็นการป้องกันการขาดวิตามินดี เราจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีสูง ร่วมกับ.. ปรับวิถีการดำเนินชีวิต เช่น ออกสัมผัสแสงแดดยามเช้า นอกจากนั้น.. การรับประทานวิตามินดีในรูปแบบของวิตามินเสริม ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก โดยปริมาณของวิตามินดีที่แนะนำว่าควรได้รับต่อวัน (The Recommended Dietary Allowance – RDA) คือ 600 international units (IU) แต่ทั้งนี้ควรได้รับการตรวจหาระดับ VitaminD Level,Totel ก่อนเริ่มการรักษา    การรักษาควรทำอย่างไร เราควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับวิตามินดีในเลือดก่อนทานวิตามินเสริม เนื่องจากหากเรารับประทานวิตามินดีในปริมาณมาก เกินความต้องการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ในปริมาณมากกว่า 20,000 IU ต่อวัน แทนที่จะเกิดประโยชน์ ก็อาจทำให้เกิดโทษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเราได้เช่นกัน   ด้วยความปรารถนาดีจากแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัย รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เตรียมรับมือกับฮอร์โมนเมื่ออายุเยอะขึ้น

เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ปัญหาที่เห็นได้ชัดคือ เรื่องสุขภาพทางกายที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่เรียกว่าอาการของ “วัยทอง”  โดยเกิดขึ้นในหญิงและชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนเพศ หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน จะลดลงเรื่อยๆ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย   เมื่อระดับฮอร์โมนเพศลดลง เกิดอะไรขึ้น? โดยทั่วไปจะเกิดอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตัว รู้สึกร้อนวูบวาบตามร่างกาย เหงื่อออกและใจสั่น รวมถึงอาการทางจิตใจและสมอง เช่น ความจำลดลง สมาธิสั้น ตกใจ หงุดหงิดง่าย ตลอดจนเรื่องของอารมณ์ทางเพศที่ลดลงตามไปด้วย   ใช้ฮอร์โมนทดแทน จะดีหรือไม่? การใช้ฮอร์โมนทดแทน ขึ้นอยู่กับว่ามีอาการที่กระทบชีวิตประจำวันมากน้อยแค่ไหน เพราะอาการอารมณ์แปรปรวน เครียดง่าย นอนไม่หลับ หรือร้อนวูบวาบเป็นอาการที่กระทบต่อคุณภาพชีวิต ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการลดลงของฮอร์โมนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดอาการรุนแรง ที่เกิดจากความเครียดจากครอบครัวและการงาน รวมถึงสภาพจิตใจดั้งเดิมของแต่ละคน ดังนั้นหากไม่ได้รับผลกระทบมาก ไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนหากต้องการใช้เพื่อความปลอดภัย   เสริมฮอร์โมนด้วยอาหาร ทั้งนี้ เราสามารถเสริมฮอร์โมนได้ด้วย อาหารที่มีส่วนประกอบตามธรรมชาติคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เรียกว่า ไฟโตเอสโตรเจน ได้แก่   1.ฟลาโวนอยด์ ในกลุ่มเบตาแคโรทีน ช่วยในการขจัดสารพิษในสมองและช่วยให้สมองได้รับออกซิเจนพบมากในผลไม้ที่มีสีต่างๆ เช่น แครอท ฟักทอง แคนตาลูป มะเขือเทศ มะละกอ ส้มและผักใบเขียว เช่น ตําลึง คะน้า บล็อคโคลี เป็นต้น   2. วิตามินบี ช่วยส่งเสริมระบบไหลเวียนเลือด การทํางานของฮอร์โมน ประสาท และส่งเสริมให้ระบบกล้ามเนื้อแข็งแรง โดยวิตามินบี 6 มีมากในจมูกขาวสาลี กล้วย ไก่ ปลา กะหล่ำดอก ส่วนวิตามินบี 12 มีมากในตับ เนื้อวัว เนื้อหมู ปลาเนื้อขาว ไข่ ธัญพืช นม   3. วิตามินซี ช่วยด้านการไหลเวียนโลหิต ทําให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นและขยายตัวได้ดี และช่วยให้อสุจิแข็งแรง ไม่จับตัวเป็นกลุ่ม พบได้ในผักและผลไม้สดทุกชนิด   4. วิตามินอี ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ เสริมความแข็งแกร่งของเซลล์เนื้อเยื่อหัวใจและกล้ามเนื้อต่างๆ ป้องกันการเสื่อมชราของเนื้อเยื่อและสร้างฮอร์โมน สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย   5. แคลเซียม ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาทเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางเพศและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอารมณ์ พบได้ในนม ผลิตภัณฑ์จากนมและถั่วเหลือง ผักใบเขียว เช่น คะน้า ตําลึง เป็นต้น   6. โครเมียม หากขาดโครเมียมจะทําให้ความต้องการทางเพศลดลง พบได้ในแอปเปิ้ล องุ่น ลูกเกด ผักใบเขียว เห็ด ถั่ว เป็นต้น   7. สังกะสี มีบทบาทสําคัญในการสร้างฮอร์โมนเพศชาย และการทํางานของต่อมลูกหมาก พบมากใน หอยนางรม เนื้อปู เมล็ดฟักทอง ถั่ว หัวหอม ไข่แดง เป็นต้น วิตามินและเกลือแรกต่างๆ ที่ได้แนะนำนั้นล้วนส่งผลดีต่อร่างกาย แต่ควรกินอย่างพอเหมาะของร่างกาย รวมถึงอย่าหลงเชื่อการรับประทานยาหรือสมุนไพรตามคำโฆษณา เพราะยาเหล่านี้อาจส่งผลเสียของร่างกาย โดยลูกหลานก็ต้องช่วยกันดูแลผู้สูงวัยอย่างใกล้ชิด โดยหากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์เป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ        ด้วยความปรารถนาดีจากแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัย รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

"ซิฟิลิส" โรคติดต่อที่ไม่ควรมองข้าม

เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema Pallidum การติดต่อจะเกิดขึ้นจากการสัมผัสระหว่างปาก อวัยวะเพศ หรือส่วนอื่นของร่างกายของผู้รับเชื้อกับแผลซิฟิลิสของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังอาจติดจากมารดาไปยังทารกได้ทั้งในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด ทำให้ทารกป่วยจากโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดได้ซึ่งรายละเอียดจะยังไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสอาจมีอาการและอาการแสดงได้หลากหลายขึ้นกับระยะของโรค ระยะแรก (Primary Stage Symptoms) ผู้ป่วยมักมีแผลริมแข็ง (chancre) อาจเป็นแผลเดียวหรือหลายแผล ไม่มีอาการเจ็บ ส่วนมากเกิดในตำแหน่งที่ผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศ ริมฝีปาก ช่องปาก ทวารหนัก ไส้ตรง แผลอาจคงอยู่ราว 3 ถึง 6 สัปดาห์แล้วหายเอง หากผู้ป่วยไมได้รับการักษาโรคจะดำเนินเข้าสู่ระยะที่สอง เนื่องจากแผลดังกล่าวไม่เจ็บและส่วนมากเกิดในที่ลับ ผู้ป่วยจึงอาจไม่ทันสังเกตเห็นก่อนที่แผลจะหายไป ระยะที่สอง (Secondary Stage Symptoms) ผู้ป่วยมักมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้ารวมถึงอาจมีผื่นขึ้นที่ส่วนอื่นของร่างกาย ผื่นมีสีแดงน้ำตาล ไม่คัน อาจมีแผลเจ็บในปากหรือในช่องคลอดได้ บางครั้งอาจเรียกว่า "ระยะออกดอก" ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น เช่น ไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ผมร่วง อ่อนเพลีย ซึ่งอาการดังกล่าวอาจหายไปเอง หากผู้ป่วยไม่ได้รับการักษาโรคจะดำเนินเข้าสู่ระยะถัดไป ระยะแฝง (Latent Stage Symptoms) ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ ได้นานหลายปี โรคซิฟิลิสในระยะนี้อาจตรวจพบได้จากการเจาะเลือดเท่านั้น ระยะที่สาม (Tertiary Stage Symptoms) ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะก่อนหน้านี้จะเข้าสู่ระยะที่สาม เชื้อโรคอาจทำลายหัวใจ สมอง ตา รวมถึงอวัยวะอย่างอื่น ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรง เช่น อาการขยับแขนขาได้ลำบาก อัมพาต อาการชา ตาบอด โรคหัวใจ หรือเสียชีวิตได้ บางครั้งโรคนี้จึงถูกเรียกว่าเป็นนักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่ (The Great Imitator) เนื่องจากทำให้มีอาการได้หลากหลาย คล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ หลายโรค การวินิจฉัย                 การวินิจฉัยมักต้องอาศัยอาการและการตรวจเลือด ผู้ที่ควรจะได้รับการตรวจวินิจฉัย ได้แก่ ผู้ที่มีอาการแผลริมแข็งที่อวัยวะเพศหรือปาก ผู้ที่มีคู่นอนติดเชื้อซิฟิลิสหรือมีอาการของโรคซิฟิลิส และผู้ที่ตั้งครรภ์หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ซึ่งในปัจจุบันการตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิสก็เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจฝากครรภ์ในประเทศไทย การป้องกัน วิธีการป้องกันโรคซิฟิลิสที่ดีที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์หรือการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่มีเชื้อซิฟิลิสและไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งจะลดความเสี่ยงการติดเชื้ออย่างไรก็ตามถุงยางอนามัยสามารถป้องกันได้เฉพาะบริเวณที่ถุงยางอนามัยคลุมไว้เท่านั้น หากเป็นคู่รักใหม่ควรพาไปตรวจเลือดก่อนการมีเพศสัมพันธ์หรือแต่งงาน จากข้อมูลที่มีพบว่าการล้างอวัยวะเพศ การปัสสาวะ หรือการสวนล้างช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ การรักษา การรักษาสามารถทำได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี ยาที่แนะนำให้ใช้คือยา benzathine penicillin G โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้งในรายที่ติดเชื้อน้อยกว่า 1 ปี ในรายที่มีการติดเชื้อมานานอาจต้องฉีดยาหลายครั้ง ในกรณีที่แพ้ยา penicillin อาจใช้ doxycycline หรือ tetracycline แทนได้ กรณีผู้ป่วยซิฟิลิสเข้าระบบประสาทแนะนำให้ใช้ benzylpenicillin ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือใช้ ceftriaxone แทน ระหว่างการรักษาผู้ป่วยอาจมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ (Jarisch–Herxheimer reaction) อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยรักษาจนหายแล้ว ควรมีการติดตามโดยการตรวจเลือดทุก ๆ 3 เดือน จนครบ 3 ปี และควรปฏิบัติคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด แจ้งคู่นอนปัจจุบันและคู่นอนในอดีตให้รับการตรวจและรักษาเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกระทั่งได้รับการรักษาให้หายขาดทั้งผู้ป่วยและคู่นอน เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำกันและกัน หลังผู้ป่วยหายขาดจากโรคแล้วผู้ป่วยก็ยังสามารถติดเชื้อใหม่ได้จากคู่นอนที่ไม่ได้รักษา หรือจากคู่นอนใหม่ที่มีเชื้อนี้ ด้วยความปรารถนาดีจากแผนกสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การตรวจการได้ยิน

การตรวจการได้ยิน ( Hearing Test )   คุณมีปัญหาเหล่านี้หรือไม่ ??   -           ไม่ค่อยเข้าใจคำพูดเวลาคนพูดคุยกัน -           ต้องเปิด TV หรือ วิทยุหรือเพลงเสียงดัง -           ต้องถามซ้ำ เช่น ฮะ อะไรนะ ? / พูดอีกครั้งได้ไหม ? -           ฟังโทรศัพท์ไม่ค่อยได้ยิน -           ได้ยินเสียงดังวี๊ดๆในหู -           ต้องพูดเสียงดังขึ้น -           ฟังลำบากเมื่ออยู่ในที่จอแจ -           ฟังเสียงสูงๆไม่ค่อยชัด เช่น เสียงเด็ด เสียงผู้หญิง   หากคุณมีปัญหาดังกล่าว เป็นไปได้ว่าอาจมีปัญหาด้านการได้ยิน การตรวจการได้ยินคืออะไร ?   การตรวจระดับการได้ยิน เป็นการตรวจการทำงานของหู และระบบโสตประสาทเพื่อหาระดับการได้ยิน โดยปกติจะทำการทดสอบหาระดับการได้ยินผ่านสองทาง คือ การนำเสียงผ่านอากาศ และการนำเสียงผ่านกระดูก โดยตรวจในห้องเก็บเสียงโดยเฉพาะ •          การนำเสียงผ่านอากาศจะทดสอบโดยการครอบหูฟัง  •          การนำเสียงผ่านกระดูกจะทดสอบโดยการวางตัวปล่อยเสียงที่กระดูกกกหู  อาการที่ควรได้รับการตรวจการได้ยิน -           หูอื้อ -           มีเสียงดังในหู -           เวียนศีรษะ/ เวียนศีรษะบ้านหมุน -           การได้ยินลดลง -           ปวดหู -           มีน้ำไหลจากหู -           ฟังเสียงพูดไม่ค่อยชัด -           ทำงานสัมผัสเสียงดัง   เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ   -           Audiometer  : ตรวจหาพยาธิสภาของระบบการได้ยิน -           Tympanometer : ตรวจการทำงานของหูชั้นกลาง -           Otoacoustic emissions (OAEs) : ตรวจวัดเสียงสะท้อนกลับจากเซลล์ขนในหูชั้นใน มักตรวจ screen ในทารกแรกเกิด ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน -           การนำเสียงบกพร่อง : พยาธิสภาพที่ผิดปกตออยู่ในหูชั้นกลาง -           เส้นประสาทการรับฟังเสียงบกพร่อง : พยาธิสภาพที่ผิดปกตออยู่ในหูชั้นใน -           การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม : พยาธิสภาพที่ผิดปกตออยู่ในหูชั้นกลางร่วมกับหูชั้นใน   ทดสอบกันไหมการได้ยินคุณอยู่ระดับไหน   ระดับการได้ยิน   ระดับความสามารถในการได้ยิน ปกติ      0 - 25 dB          ไม่มีความลำบากในการรับฟังเสียงพูด หูตึงเล็กน้อย      26 - 40 dB        ไม่ได้ยินเสียงพูดเบาๆ หูตึงปานกลาง    41 - 55 dB        เข้าใจคำพูดระดับความดังปกติในระยะ 3 -5 ฟุต หูตึงมาก            56 - 70 dB        ต้องพูดเสียงดังจึงจะเข้าใจ และมีความลำบากในการรับฟังขณะอยู่ในที่จอแจ หูตึงรุนแรง         71 - 90 dB        อาจได้ยินเสียงตะโกนในระยะ1ฟุต แต่ไม่เข้าใจ หูหนวก  91+ ขึ้นไป         ไม่ได้ยินแม้ได้ยินเสียงดังมากๆ   40-60 dB คือระดับเสียงคำพูดปกติ   การรักษาและการป้องกัน -           ยา -           ผ่าตัด -           ใส่เครื่องช่วยฟัง -           ใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงดังหากทำงานสัมผัสเสียงดัง เช่น Ear Plug/ Ear muff -           หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังเป็นเวลานานๆ ** เมื่อใดที่ประสบปัญหาการได้ยิน เมื่อนั้นต้องประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน  อย่าให้หูของเราต้องเสื่อมก่อนวัยอันควร ควรตรวจการได้ยินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง **            ด้วยความปรารถนาดี ศูนย์ ตา หู คอ จมูก รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การส่องกล้องลำไล้ใหญ่ ทางเดินอาหารส่วนล่าง (Colonoscopy)

การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง (Colonoscopy) เป็นการส่องกล้องเพื่อดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ตั้งแต่ทวารหนักจนถึงลำไส้ใหญ่   ส่วนต้น(Caecum) ไส้ติ่ง(Appendix) และบริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย(Terminal lleum) ซึ่งเป็นหัตถการที่มีความปลอดภัยสูงโดยใช้เวลาในการตรวจไม่นาน(สำหรับในกรณีที่ไม่มีการตัดเนื้องอก) ถ้าผู้ป่วยอายุน้อยและไม่มีโรคประจำตัวก็สามารถตรวจโดยไม่ต้องนอน รพ. แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาแทรกซ้อน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ โรคตับและโรคไต จำเป็นต้องรับผู้ป่วยไว้ในรพ.เพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระหว่าง หรือหลังการตรวจรักษาได้ ข้อบ่งชี้ของการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ การถ่ายอุจจาระผิดปกติไปจากเดิม(Abnormal Bowel Habit) เช่น ท้องผูกมากขึ้น มีท้องเสียสลับท้องผูก ถ่ายอุจจาระมีเลือดหรือมูกปน หรือท้องเสียบ่อยๆ ถ่ายอุจจาระไม่สุด ปวดท้องด้านล่าง ปวดเบ่งอยากถ่าย หรือปวดเป็นๆหายๆ มีการตรวจพบความผิดปกติในภาพถ่ายรังสีของลำไส้ใหญ่(Abnormal Barium enema) มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ อุจจาระมีลักษณะปกติ แต่ตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบมีเลือดปน (ผล Occult blood test ได้ผลเป็นบวก) การเตรียมตัวของผู้ป่วยและขั้นตอนการตรวจ ผู้ป่วยควรงดยา Aspirin หรือยาที่มีธาตุเหล็กประกอบอย่างน้อย 7 วันก่อนตรวจ เพื่อให้ลำไส้ของผู้ป่วยสะอาด ปราศจากอุจจาระที่ผิวของลำไส้ใหญ่ จึงต้องมีการเตรียมผู้ป่วยเพื่อการส่องกล้อง ดังนี้ สามวันก่อนตรวจให้รับประทานอาหารที่มีกากน้อย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ปลา ข้าว ขนมปังสีขาว เนย นม น้ำผึ้ง ชา กาแฟ “ห้ามรับประทานอาหารที่มีกากมาก” เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง หนึ่งวันก่อนตรวจ ให้รับประทานอาหารเหลวใสทุกมื้ออาหาร และดื่มน้ำมากๆ(อาหารเหลวใส คือ น้ำผลไม้ต่างๆที่ไม่มีกาก น้ำชาไม่ใส่นม กาแฟดำ น้ำซุปใสที่ไม่มีกากอาหาร และน้ำหวาน) การให้ยาระบายเพื่อให้ลำไส้ไม่มีอุจจาระ(ตามแพทย์สั่ง) ในตอนเย็นหรือก่อนนอนหรือเช้าวันตรวจมารับประทานที่รพ. โดยที่ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร รพ.วิภาวดี ได้จัดเตรียมห้องสำหรับผู้รับการตรวจโดยเฉพาะ(แยกห้องชาย/หญิง) การดูแลหลังการตรวจ งดน้ำและงดอาหารประมาณหนึ่งชั่วโมง จนกว่าอาการทั่วไปหรือจนกว่าจะรู้สึกตัวเป็นปกติ ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องอืด แน่น เนื่องจากลมที่แพทย์ใส่เข้าไปในลำไส้ ซึ่งจะหายไปในเวลาไม่นาน อาจมีความรู้สึกปวดท้องอยากถ่าย อาจมีเลือดออกปนอุจจาระเล็กน้อยในสองวันแรก (กรณีตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ) การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง เป็นหัตถการที่ปลอดภัยสูง โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ ลำไส้ทะลุ หรือฉีกขาด ซึ่งต้องผ่าตัดซ่อมแซมมีน้อยมาก เลือดที่ออกจากการตัดชิ้นเนื้อหรือติ่งเนื้อลำไส้ มักหยุดได้เอง หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องเฉียบพลัน มีไข้ หรือเลือดออกจากทางทวารหนักมากกว่าครึ่งถ้วยกาแฟ ควรติดต่อแพทย์โดยด่วน   ด้วยความปรารถนาดี ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

7 วิธีกินแบบชะลอวัยเพื่อ หุ่นสวย ผิวใส สุขภาพดี

7 วิธีกินแบบชะลอวัยเพื่อ หุ่นสวย ผิวใส สุขภาพดี   1. กินครบ 3 มื้อ ห้ามอดมื้อเช้า  ควรเบามื้อเที่ยง  และเลี่ยงหนักในมื้อเย็น     2. กินให้ครบ 5 หมู่ โปรตีนสีขาวจากไข่/ปลา คาร์บอไฮเดรตเชิงซ้อนจากข้าวกล้อง ธัญพืช ไขมันดีจากพืช เช่น ถั่ว งา อโวคโด ลดไขมันจาดสัตว์ กินวิตามินและเกลือแร่จากผักหลากสี และผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง แอปเปิลเขียว    3.  กินให้หลากหลาย สลับหมุนเวียนกันไป การกินอาหารชนิดเดิมซ้ำบ่อย ๆ เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร และการได้รับสารปนเปื้อนชนิดเดิมเพิ่มมากขึ้น     4.  กินผักผลไม้สดตามฤดูกาล ช่วยลดความเสี่ยงจากปริมาณสารพิษและสารเคมีที่ใช้เพาะปลูก และล้างผัก-ผลไม้ให้สะอาดก่อนกิน กินผักและผลไม้แบบออร์กานิคได้ยิ่งดี     5. เลือกกินอาหารที่อายุสั้น คืออาหารปรุ่งสดใหม่  ไม่ผ่านการแปรรูป ไม่สารกันบูด และลด-ละ-เลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารแช่แข็ง อาหารสะดวกซื้อ แล้วคนกินจะอายุยืน    6. กินน้อยแก่ช้า กินมากแก่เร็ว ควรกินช้า ๆ แค่พออิ่ม เคี้ยวให้ละเอียด ช่วยลดภาระการทำงานของร่างกาย ลดการเกิดอนุมูลอิสระที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญ หรืออาจทำ IF ( Intermitent-Fasting) สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ช่วยกระตุ้น Growth Hormone เพื่อฟื้นฟูความอ่อนเยาว์    7. จิบน้ำบ่อย ๆ ตลอดวันให้ได้ 2-3 ลิตร เพื่อบำรุงผิวพรรณและสมอง อย่าปล่อยให้กระหายน้ำแล้วดื่มน้ำทีละเยอะ ๆ  เลี่ยงดื่มน้ำที่ใช้กระบวนการ RO – reverse osmosis เพราะเสี่ยงต่อการเสียแร่ธาตุในร่างกายและกระดูกได้       ด้วยความปรารถนาดี แผนกเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลวิภาวดี 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อยู่อย่างสุขใจเมื่อเข้าวัยทอง (ผู้หญิง) เตรียมรับมือกับวัยทองได้ไม่ยากหากเข้าใจ

วัยทอง (Menopause) คืออะไร? วัยทองเป็นวัยหนึ่งของชีวิตซึ่งเริ่มด้วยวัยทารก  วัยเด็ก  วัยรุ่น  วัยกลางคน  วัยทอง  วัยรุ่นเป็นวัยเริ่มต้นที่รังไข่สร้างฮอร์โมนออกมาทำให้มีประจำเดือน ส่วนวัยทองรังไขจะทำงานน้อยลงทำให้สร้างฮอร์โมน (Estrogen, Progesterone) ออกมาน้อยลง ทำให้บางท่านอาจมีประจำเดือนน้อยลง บางท่านจะมีประจำเดือนห่างออกไปจนถึงหมดประจำเดือนไปเลย  ฮอร์โมนนี้จะช่วยในการมีประจำเดือนการตั้งครรภ์ ความแข็งแรงของกระดูก ลดระดับ Cholesterol วัยทองจะเริ่มเมื่อไร หญิงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป สามารถเกิดวัยทองได้ โดยเฉลี่ยคืออายุ 50 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่จะเกิดวัยทองได้เร็วกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่ตัดรังไข่ก็สามารถเกิดวัยทองได้ทันทีหลังตัดรังไข่ อาการเตือนของวัยทองมีอะไรบ้าง ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เช่น มาเร็ว  มาช้า  มามาก  มาน้อย ร้อนวูบวาบตามตัว ผู้ป่วยจะมีร้อนโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย  แก้ม  คอ  หลังจะแดง  หลังจากนั้นจะตามด้วยเหงื่อออกและหนาวสั่นในเวลากลางคืน  อาการนี้จะเป็นนาน 1-5 นาที ปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ  เนื่องจากระดับ Estrogen ลดลงทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งและบางลง ผู้ป่วยจะมีอาการแสบร้อนในช่องคลอด  ปวดขณะร่วมเพศ  และมีการติดเชื้อในช่องคลอดบ่อยขึ้น  นอกจากนั้น  ยังมีเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ปัสสาวะเล็ดเวลาจากหรือไอ ปัญหาเรื่องการนอน  นอนหลับยาก  ตื่นเร็ว  อาจจะตื่นกลางคืนและเหงื่อออกมาก  ผู้ป่วยจะบ่นเรื่องเหนื่อย ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ผันผวนโกรธง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิ การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง เอวจะเริ่มหายไป ไขมันที่เคยเกาะบริเวณขาจะเปลี่ยนไปเกาะบริเวณเอว  กล้ามเนื้อลดลงมีไขมันเพิ่ม ผิวหนังเริ่มเหี่ยว ปัญหาอื่น เช่น ปวดศีรษะ  ความจำลดลง  ปวดตามตัว วัยทองของโรค เมื่อเข้าสู่วัยทองจะมีโรคหลายโรคเกิดมากในวัยนี้  ได้แก่  โรคหัวใจ  โรคกระดูกพรุน  มะเร็งเต้านม  แต่ไม่มีใครสามารถที่จะคาดเดาว่าเป็นใครจะเป็นโรคดังกล่าว  แต่เราจะพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงว่า  วัยทองคนใดมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอะไร  ดังนั้นท่านที่อยู่ในวัยทองท่านจะต้องรู้สิ่งต่อไปนี้เพื่อการตัดสินใจรับฮอร์โมนทดแทน รายละเอียดเกี่ยวกับโรคหัวใจ  โรคกระดูกพรุน  โรคมะเร็งเต้านม ปัจจัยเสี่ยงของแต่ละโรค ผลของฮอร์โมนทดแทนต่อภาวะดังกล่าว โรคที่มักจะเกิดกับวัยทอง ผู้ป่วยจะเกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็ว ผู้ป่วยวัยทองจะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ  และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่ม ผู้ป่วยควรควบคุมปัจจัยเสี่ยง มะเร็งเต้านม การปฏิบัติตัวเมื่อเข้าสู่วัยทอง ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ลดไขมัน ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ  เลิกบุหรี่  และแอลกอฮอล์ ใช้สารหล่อลื่นก่อนร่วมเพศ ตรวจมะเร็งเต้านม  มะเร็งปากมดลูก ทุกปี การรักษาโรคที่มากับวัยทองโดยไม่ใช้ฮอร์โมน ก่อนการให้ฮอร์โมนทดแทน  จะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทอง  เช่น อาการร้อนวูบวาบตามตัว  กระดูกโปร่งบาง และต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจาการให้ฮอร์โมน  เช่น มะเร็ง  โรคหัวใจและหลอดเลือด   และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่  ในการรักษาภาวะเหล่านี้ ถ้าหากท่านมีอาการร้อนวูบวาบตามตัว(วัยทอง)  ควรปฏิบัติตัวดังนี้ เมื่อเริ่มเกิดอาการ้อนให้ไปอยู่ที่เย็น ๆ  ให้นอนในห้องที่เย็น ให้ดื่มน้ำเย็นเมื่อเริ่มรู้สึกร้อน หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด ๆ และร้อน หลีกเลี่ยงสุรา หลีกเลี่ยงความเครียด  เมื่อเวลาเครียดให้หายใจเข้าออกยาว ๆ ช้าและใจเย็น ๆ ถ้าหนาวให้ใส่เสื้อหลายชั้น  และหากร้อนก็สามารถถอดทีละชั้น แพทย์บางท่านแนะนำให้ใช้วิตามินอี  ซึ่งจะลดอาการได้ร้อยละ 40 และยาลดอาการซึ่งเศร้ากลุ่ม  SSRI เช่น Prozac Zoloft อาหารซึ่งมีถั่วเหลืองจะช่วยลดอาการร้อนตามตัว อาการช่องคลอดแห้ง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อย  ควรปฏิบัติตัวดังนี้ เนื่องจากเนื้อเยื่อของช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะจะฝ่อทำให้เกิดอาการดังกล่าว  และหากมีข้อห้ามในการรับประทานฮอร์โมนทดแทน  หรือผู้ป่วยไม่อยากจะรับความเสี่ยงจากการให้ฮอร์โมน  ก็สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดทาช่องคลอดได้  โดยระดับยาในเลือดจะมีน้อยกว่าชนิดรับประทาน  1 ใน 4  แต่จะให้ผลดีต่อช่องคลอดมากกว่าชนิดรับประทาน 4 เท่า  ในการใช้ยาครั้งแรกให้ทาทุกวัน  หลังจากนั้นให้ทาอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง  หรือแล้วแต่การปรับของผู้ป่วย นอกจากนั้น  บางคนอาจจะใช้ยาที่เพิ่มความชุ่มชื่นแก่ช่องคลอดแต่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อหนาตัว อาการนอนไม่หลับและอารมณ์แปรปรวน  ควรปฏิบัติตัวดังนี้ หลีกเลี่ยงความเครียด ออกกำลังกาย งดการดื่มกาแฟที่ทำให้นอนหลับยากขึ้น  ใช้ยาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI  ซึ่งจะไปเปลี่ยนแปลงระดับ Serotonin  ในสมองทำให้ลดอาการซึมเศร้า การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยวัยทอง ก่อนการให้ฮอรโมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีก หรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านั้นผู้ป่วยบางคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองแพทย์จะให้ยาคุมกำเนิดรับประทานซึ่งมีผลดีหลายประการ เช่นทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ลดอาการร้อนตามตัว ลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่ ข้อเสียคือไม่ทราบว่าหมดประจำเดือนหรือยัง ถ้าสงสัยก็ให้หยุดยาคุมกำเนิด 4-5 เดือนแล้วดูว่าประจำเดือนมาหรือไม่ เมื่อเข้าสู่วัยทองจริงแพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนที่มีส่วนประกอบของ estrogen  และ progesteroneผลดีของการให้คือ ลดอาการ ป้องกันกระดูกพรุน และป้องกันโรคหัวใจ แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อนคือ โรคตับอักเสบ ไขมัน triglyceride สูง โรคมะเร็งเต้านม Phytoestrogen พืชหลายชนิด เช่น ธัญพืช ผัก ถั่วต่าง ถั่วเหลือง จะมีสารซึ่งออกฤทธิ์คล้าย estrogen แต่ยังไม่แนะนำให้ใช้รักษาเนื่องจากยังไม่มีรายงานเรื่องประสิทธิภาพ และผลข้างเคียง ด้วยความปรารถนาดี ศูนย์สูตินรีเวช รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การทานอาหารที่มีปริมาณไขมันชนิดอิ่มตัวมากเกินไปมีความเสี่ยง

โคเลสเตอรอลสูง   โคเลสเตอรรอลมาจากไหน - 1 ใน 3 ได้รับมาจากอาหาร ไขมันจากอาหารที่กินเข้าไปจะถูย่อยและส่งไปที่ตับแล้วส่งต่อไปทั่วร่างกาย   - 2 ใน 3 ร่างกายสร้างขึ้นเองที่ตับของเรา ตับจะสร้างโคเลสเตอรรอลที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยขนส่งไขมันไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย   ภัยร้ายจากโคเลสเตอรรอล   -หลอดเลือดแดงปกติ -เริ่มมีโคเลสเตอรรอลจับที่ผนังหลอดเลือดด้านใน -ไขมันสะสมมากขึ้นจนเริ่มก่อตัวเป็นคราบจนอาจเกิดหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง -โคเลสเตอรรอลจับตัวเป็นคราบที่ใหญ่ขึ้นจนกระทั่วหลอดเลือดแดงอาจถูกปิดกั้นทั้งหมด ก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันและเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน โคเลสเตอรรอลและไตรกลีเซอไรด์ ก่อให้เกิดคราบไขมัน (Plaque) -สมอง   เกิดหลอดเลือดสมองตีบเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต -หัวใจ   หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน -ไต       หลอดเลือดไตอุดตัน เกิดไตวาย -ขา       เลือดไปเลี้ยงขาไม่สะดวก เกิดอาการปวดขาเวลาเดิน   อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง   ได้แก่ อาหารไขมันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันชนิดอิ่มตัวและโคเลสเตอรรอล - เนื้อสัตว์ที่ติดมัน เบคอน ไส้กรอก - ตับ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ - ไข่แดง (กินเฉพาะไข่ขาวได้) - หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง ไข่ปลา - ชีส ครีม เนย - เค้ก คุกกี้ โดนัท - อาหารทอด และอาหารที่ปรุงจากน้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ   ปริมาณโคเลสเตอรรอล ในอาหารบางชนิด   อาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม                     ปริมาณโคเลสเตอรรอล(มิลลิกรัม)           ไก่, อก(ไม่ติดมัน                                       63          เป็ด, เนื้อ                                                  82          วัว, เนื้อ                                                    65          ปลากะพงขาว                                           69          ปลาทูน่า                                                   51          กุ้งกุลาดำ                                                175          ปลาหมึกกล้วย, ตัว                                   251          ไข่ไก่, ทั้งฟอง                                           508          ซึ่โครงหมู                                                 105          เนื้อปู                                                       145                                                       *ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย   คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีโคเลสเตอรรอลสูง   -  ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม -  ลดเครื่องดื่มแอลกอฮล์ -  งดสูบบุหรี่ -  หากมีความดันโลหิตสูงและเบาหวาน พยายามควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่สุด -  ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน เต้นแอโรบิค วิ่ง (ครั้งละ 30-60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง) -  ตรวจระดับโคเลสเตอรอลอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานยาควบคุมระดับโคเลสเตอรรอลตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ หากป้องกันให้ถูกวิธี

เชื่อว่าคุณเองก็สัมผัสได้ถึงสภาพอากาศอันแปรปรวนตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงตอนนี้ ที่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน เดี๋ยวหนาว ทำเอาแต่งตัวตามฤดูกาลกันไม่ถูกเลยทีเดียว แต่ที่น่าหนักใจไปมากกว่าการจะเลือกสเวตเตอร์ตัวไหนมาสวมดี ก็คือ อาการเจ็บป่วยที่หลายคนถูกอุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดเล่นงาน เป็นหวัดธรรมดายังพอรับไหว แต่เป็นไข้หวัดใหญ่ขึ้นมานี่สิ เรื่องใหญ่แน่ๆ โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว แต่ละปีจะมีการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ ทำให้เกิดความรุนแรงมากหรือน้อย แต่ไข้หวัดใหญ่จะรุนแรงมากในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังหรือภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ  จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล ต้องลาหยุดงาน และประสิทธิภาพการทำงานลดลง โรคไข้หวัดใหญ่จะก่อให้เกิดความรุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา ดังนี้ ไข้หวัดไหญ่ VS ไข้หวัดธรรมดา อาการไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ ไข้ พบได้บ่อยในเด็ก ผู้ใหญ่อาจมีไข้ต่ำ ๆ มีไข้สูงเฉียบพลัน 38-40 ċ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่ค่อยพบถ้ามีก็น้อย ๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและปวดหลัง อ่อนเพลีย ไม่ค่อยพบ เป็นมากและอาจเป็นนานถึงสัปดาห์ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน มีน้อยและเป็นระยะสั้น ๆ พบได้ในเด็ก คัดจมูกน้ำมูกไหล ไม่ค่อยพบ พบบ่อย ในระยะหลัง ๆ เจ็บคอ พบบ่อยในระยะเริ่มแรก - เชื้อ เชื้อไวรัสในทางเดินหายใจตัวอื่น ๆ Influenza Virus  แต่อย่าเพิ่งหวาดกลัวจนถึงขั้นพารานอยด์ เพราะไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO) และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงทุกรายควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล กลุ่มเสี่ยง คำถามต่อมาคือ แล้วใครล่ะ คือผู้ที่เข้าข่ายเป็น ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ที่จะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่  ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงนั้นมีตั้งแต่บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ไปจนถึงผู้ที่มีโรคเรื้อรัง อย่างปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ นอกจากนี้ กลุ่มเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่ ยังรวมถึง บุคคลที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป หญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป ผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นไป ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ในบรรดาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดที่ว่ามา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหัวใจและโรคเบาหวานนั้นต้องป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นพิเศษ เพราะการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการกำเริบของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยทันทีที่ร่างกายติดเชื้อจะเกิดการกระตุ้น การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดกระบวนการแข็งตัวของเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดอุดตัน นำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในที่สุด โดยเฉพาะในฤดูกาลที่โรคไข้หวัดใหญ่กำลังระบาด มักพบว่า 4 ใน 10 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute MI) มีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่นำมาก่อนในเวลาไม่นาน นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราการนอนโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้น การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่นั้น ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากกว่าคนปกติ โดยพบว่าอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคเบาหวานถึง 6 เท่า และมีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อในช่วงระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5 การระบาด ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการระบาดทั่วภูมิภาค บางปีถ้ารุนแรงจะระบาดทั่วโลก เนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงมีไวรัสไข้หวัดใหญ่ก่อให้เกิดโรค ในสัตว์ก็แพร่สู่มนุษย์ทำให้เกิดโรคได้สำหรับประเทศไทย โรคไข้หวัดใหญ่มีการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ช่วง พฤษภาคม-ตุลาคม และ มกราคม – กุมภาพันธ์ การติดต่อ เชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ จะสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง โดยการหายใจ ได้รับน้ำมูกหรือเสมหะของผู้ป่วยโดยเชื้อจะผ่านเข้าทางเยื่อบุตา จมูกและปาก และจากการได้สัมผัสสิ่งที่ปนเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ช้อน แก้วน้ำ หรือการจูบ รวมถึงการที่มือไปสัมผัสเชื้อแล้วขยี้ตา หรือ เอาเข้าปาก เป็นต้น อาการแทรกซ้อน ส่วนมากอาการจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นเป็นส่วนน้อย ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นในอักเสบ หลอดลมอักเสบ ภาวะที่สำคัญคือปอดอักเสบ ซึ่งมักจะเกิดกับจากแบคทีเรีย พวก นิวโมค็อกคัส หรือ  สเตฟฟิโลค็อกคัส ภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ที่ร้ายแรงมักจะเกิดในเด็ก ผู้สูงอายุ การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ให้นอนพักผ่อนมาก ๆ และไม่ควรออกกำลังกาย ดื่มน้ำ น้ำผลไม้ หรืออาจะดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย แต่ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว เพราะจะทำให้ขาดเกลือแร่ได้ รักษาโรคไข้หวัดใหญ่จะรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน ให้ยาแก้ปวด Paracetamol ผู้ใหญ่ครั้ง 1 เม็ด (500 มิลลิกรัม) วันละ 2-3 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน วัคซีน การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จึงช่วยลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวานได้ถึงร้อยละ 79 รวมถึงการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่นั้น ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ และชนิด 4 สายพันธุ์ โดยวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ สามารถครอบคลุมเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B ได้มากกว่า กล่าวคือ ครอบคลุมเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A ทั้ง H1N1 และ H3N2 และสายพันธุ์ B ทั้งตระกูล Victoria และ Yamagata จึงยิ่งเพิ่มความสามารถในป้องกันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีการระบาด ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ดีขึ้น11 หากคุณหรือคนในครอบครัวอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อกันไว้ดีกว่าแก้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาวะตัวเหลืองในทารกรักษาได้

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด พบได้ 50% โดยค่าสารเหลืองที่เราเห็นที่ผิวเด็กวัดได้จากการตรวจค่า บิลิรูบิน ในเลือดซึ่งเกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงในเด็ก ค่าบิลิรูบิน นี้จะถูกกำจัดโดยตับ และขับออกทางลำไส้ ผ่านทางอุจจาระของทารก สาเหตุหลักแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม  กลุ่มแรกคือภาวะตัวเหลืองแบบปกติ(Physiologic jaundice) จะไม่มีอันตราย ส่วนอีกกลุ่มคือภาวะตัวเหลืองแบบไม่ปกติ (Pathologic jaundice)เป็นอันตราย ทราบสาเหตุชัดเจน เกิดจากสาเหตุดังนี้ 1. มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้น 2. การที่ตับทำงานผิดปกติ 3. การที่ทารกได้กินนมมารดา สาเหตุสุดท้ายนี้กลไกไม่ได้ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร วิธีการรักษา  ถ้ากลุ่มปกติ ทารกอายุ 7-10 วัน ค่าเหลืองจะค่อยๆลดลงเอง ส่วนในกลุ่มอันตราย ต้องรักษา โดยมีเกณฑ์การรักษาตาม (American academy of Pediatric ) ซึ่งมี 2 หลักในการรักษาคือ 1. ถ้าค่าเหลืองไม่สูงมากเราจะส่องไฟ จะทำให้ค่าเหลืองลดลง 2. ถ้าระดับค่าเหลืองสูงมาก หรือรักษาโดยการส่องไฟแล้วไม่ลด จะต้องทำการรักษาโดยเปลี่ยนถ่ายเลือด          มีคำกล่าวว่าให้พาทารกออกแดดก็จะดีขึ้น เรื่องนี้คุณหมอบอกว่าก็ช่วยได้บ้าง แต่ที่จริงความเข้มแสงของแสงแดดกับความเข้มแสงของไฟที่เราใช้รักษานั้นคนละความเข้มแสงกัน และระยะเวลาในการส่องไฟแตกต่างกัน ฉะนั้น จะช่วยรักษาได้ 100% เลยก็คงมิใช่          วิธีสังเกต คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตจากสีผิวลูกบริเวณใบหน้า,ลำตัวและขา ถ้าสังเกตว่าผิวลูกเหลืองมาถึงลำตัวแล้วควรพากลับมาโรงพยาบาลเพื่อเจาะเลือดรักษา           คุณแม่บางท่านกังวลว่าจะต้องหยุดให้นมช่วงส่องไฟหรือไม่ คุณหมอแนะนำว่า คุณแม่สามารถหยุดให้นมจากอกเมื่อมีค่าเหลืองสูงถึงค่าที่กำหนดเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง จนค่าเหลืองลดลงเป็นปกติก็กลับมาทานนมแม่ได้ คุณแม่ไม่ต้องกังวล และถ้าค่าเหลืองลดลงแล้ว ทารกจะไม่กลับมาเป็นภาวะตัวเหลืองอีก                                                   สอบถามเพิ่มเติมได้ที่                                              แผนกกุมารเวช รพ.วิภาวดี                                           โทร 02-561-1111 ต่อ 4220, 4221

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<