กินไม่(คิด) ชีวิตเสี่ยงโรค

   ปัจจุบันเทรนของอาหารมีความหลากหลายผู้คนต่างนิยมเลือกซื้อเพราะรสชาติที่อร่อยและสีสันที่น่ากินแต่ใครจะรู้ว่าอาหารเหล่านี้มีส่วนประกอบอะไรบ้าง รสชาติที่แสนอร่อยแต่เต็มไปด้วยสารพิษ ดังนั้นก่อนเราจะเลือกกินอะไรเข้าไปควรหยุดคิดสักนิดเพื่อสุขภาพร่างกายของเรา สารพิษที่ปะปนอยู่ในอาหารแต่ละมื้อที่เผลอรับประทานเข้าไปโดยไม่รู้ตัว?         สารเร่งเนื้อแดง ระวังเนื้อสัตว์ที่เนื้อเยอะไขมันน้อย สารเร่งเนื้อแดงคือสาร เบต้าอะโกนิสต์ ผู้เลี้ยงจะใช้สารนี้ผสมกับอาหารสัตว์เพื่อเร่งการเจริญเติบโต และใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ที่กินเข้าไปมีอาการ มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียน ปวดหัว คลื่นใส้ เป็นลม หรืออาจเสียชีวิตได้ ดังนั้นวิธีการเลือกเนื้อสัตว์ควรเลือกเนื้อสัวต์ที่ไขมันน้อย หรือเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ผงกรอบ (บอแรกซ์) ชื่อที่คุ้นเคยกันดี แต่รู้ไหมผงกรอบมีชื่อทางเคมมีว่า โซเดียมเตตราบอเรต (Sodium tetraborate) ซึ่งมีผู้ผลิตหลายคนนำมาใส่ในอาหารเพื่อให้อาหารดูสด กรุบกรอบน่ากิน เมื่อผู้บริโภคกินเข้าไป อาจมีอาการอาเจียน น้ำหนักลด มีผื่นคันที่ผิว หนังตาบวม เยื่อตาอักเสบ อาจอาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง ตับและไตอักเสบ อาจชัก และเสียชีวิตได้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารผักดอง ลูกชิ้น หมูยอ ผลไม้ดอง และผักสดบางชนิด เช่น ถั่วฝักยาวที่กรอบผิดปกติ สารฟอกขาว เป็นกลุ่มที่เรียกว่า ซัลไฟต์  เป็นสารที่ยับยั้งอาหารไม่ให้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เช่น ถั่วงอก ยอดมะพร้าว เพื่อให้ดูน่ารับประทานมากขึ้น อาการของผู้รับสารชนิดนี้ ปากและคออักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ความดันต่ำ ถ่ายเป็นเลือด ชัก หายใจไม่ออก ไตวาย หรือหากสัมผัสสารอาจเป็นโรคผิวหนังอักเสบได้ เป็นพื่นแดงได้ ควรรีบพบแพทย์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่โดนแดดนานๆ แล้วสีไม่คล้ำ และควรสังเกตุก่อนซื้อ ถั่วงอก ขิงซอย ยอดมะพร้าวอ่อน หน่อไม้ ทุเรียนกรอบ กระเทียมดอง น้ำตาลปี๊ป ฟอร์มาลิน สารเคมีชนิดนี้เป็นสารอันตรายและห้ามใช้ในอาหารทุกชนิด แต่ก็ยังมีผู้ประกอบอาหารบางรายนำมาใส่ในอาหารเพื่อให้อาหารสดใหม่ ไม่เน่าเสียได้ง่าย ดังนั้นควรเลือกซื้อให้ถูกหลัก -เลือกผักสดที่ไม่แข็งกรอบจนเกินไปหรือมีกลิ่นฉุนจนแสบจมูก -เลือกอาหารทะเลสดที่เนื้อไม่เปื่อยยุ่ย มีน้ำแข็งรักษาความสดไว้ สารกันรา สารกันราหรือสารกันบูด คือกรดซาลิซิลิค มักใช้กันในแชมพูสระผมและนำมาใส่อาหารเพื่อกันเชื้อราขึ้น ผู้ที่กินเข้าไปจะมีอาการผื่นคัน หายใจถี่และผิดปกติ อาเจียน ผิวหนังเป็นสีเขียวจากการขาดออกซิเจน หรือโลหิตเป็นพิษ ควรเลือกซื้ออาหารที่สดใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สีผสมอาหาร ขนมสีสวยน่ากินหลายชนิดนิยมใส่สีผสมอาหาร เพื่อให้ดูน่ากินมากขึ้น ซึ่งถ้าใช้ไม่มากก็อยู่ในเกณฑ์ที่ร่างกายรับได้ แต่หากเป็นสีสังเคราะห์ที่ไม่ได้จากธรรมชาติก็อาจมีอันตราย ส่งผลให้เกิดเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ยิ่งเป็นสีที่ไม่ได้คุณภาพมีสารตะกั่ว สารหนูปนเปื้อน สะสมในร่างกายและเป็นพิษต่อระบบประสาท ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่สีสดเกินไป สีสันดูแปลกตา จับแล้วสีติดนิ้ว และสีติดที่กระดาษ สารกำจัดศัตรูพืช สารชนิดนี้ใช้ในการป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชมากัดกินพืชที่อยู่ในระว่างการเจริญเติบโต หากเกษตรกรใช้ฉีดพ่นมากจนเกินไปก็ทำให้สารพิษตกค้างในผักผลไม้มากขึ้น เราควรใส่ใจในการเลือกซื้อผักอย่างละเอียดและรู้วิธีล้างผักผลไม้อย่างถูกวิธีด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ ขั้นตอนการเตรียมผักก่อนล้าง  สำหรับผักหัว ควรปลอกเปลือกตัดส่วนที่ไม่รับประทานออก ผักราก ปอกเปลือกส่วนที่ไม่รับประทานออก ผักใบ แกะกลีบ/คลี่ใบถ้ามีดินติดให้เคาะออก ผลไม้ ล้างทั้งผล วิธีการล้าง ถ้าล้างด้วยน้ำไหลผ่าน ลดสารตกค้างได้ถึง 25-65 %  ขั้นตอนการล้างผัก 1.แช่ผักในน้ำ 2.นำใส่ตระกร้าตระแกงเปิดน้ำไหลผ่านไม่ใช้น้ำแรงเกินไป 3.ใช้มือช่วยถูใบประมาน 2 นาที ขั้นตอนการล้งผลไม้ 1.ชนิดเปลือกบางเช่นองุ่นชมพู่ ให้แช่ลงไปทั้งพวง/ผล 2. ชนิดเปลือกแข็ง ส้ม ฝรั่ง แช่น้ำและล้างโดยใช้มือถูผิว เราก็จะได้รับประทานอย่างสะอาดและปลอดภัยมากขึ้น ผงชูรส สารโมโนโซเดียม กลูตาเมต (Monosodium glutamate)การยึดติดว่าถ้าไม่ใส่ผงชูรสแล้วอาหารไม่อร่อยนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะโดยธรรมชาติแล้ว  กลูตาเมตมีอยู่ในสิ่งมีชีวิต และในอาหารที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ เช่น เนื้อสัตว์ นม เห็ด แต่การเติมผงชูรสนั้นจะช่วยกระตุ้นให้ลิ้นรับรสที่คล้ายเนื้อสัตว์ จึงรู้สึกอร่อยขึ้น แต่ไม่ควรใส่มากจนเกินไป และห้ามใช้ผงชูรสปลอม มิฉะนั้นอาจถ่ายท้องอย่างรุนแรง ร้อนชาที่ต้นคอ  ชาบริเวณใบหน้า และอ่อนเพลีย อะฟลาทอกซิน สารพิษจากเชื้อรา พบบ่อยในอาหารแห้ง เช่น  ถั่วลิสง พริกป่น หอม กระเทียม กุ้งแห้ง อาการของผู้ที่รับสารนี้ ทำให้เป็น ตับแข็ง ตับอักเสบ เลือดออกในตับ หรือโรคมะเร็งในตับ ดังนั้นควรเลือกซื้ออาหารแห้งที่สะอาด ปิดมิดชิด และแห้งดีไม่มีชื้น การเลือกรับประทานอาหารและรู้วิธีการเลือกซื้ออย่างถูกต้องจะเป็นผลดีกับตัวเรา  และผู้ผลิตเองก็ควรเลือกอาหารที่ดีสะอาด ปราศจากสารต่างๆ และรู้แหล่งผลิตที่ชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เท่านี้ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ปลอดภัย ดังเช่น ที่ สสส.ได้ร่วมผลักดันมาตลอดตั้งแต่กระบวนการผลิต จนกระทั่งการจัดจำหน่าย เช่น โครงการตลาดสีเขียว เลมอนฟาร์ม เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ข้อมูลจาก : www.thaihealth.or.th

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ประโยชน์ของการนวดไทยประเภทต่าง + สอนวิธีการนวดคอ บ่า ศีรษะ

การนวดถือว่าเป็นการดูแลสุขภาพและรักษาโรคของบรรพบุรุษไทยมาอย่างช้านาน ในการบำบัดอาการเจ็บป่วย ซึ่งในการนวด ต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงของโรคและความปลอดภัย ซึ่งทางศูนย์หัตถเวชวิภาวดีได้ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพด้วยการนวด ในการทำการนวดจะมีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัย ก่อนทำการนวดเพื่อความปลอดภัยและการให้คำแนะนำที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัว สำหรับโปรแกรมการดูแลรักษาสุขภาพก็มีทั้ง การนวดเพื่อบำบัดอาการ เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากการ   ทำงานหนัก   ,   การยกของผิดท่าทาง  อาการอ่อนแรงของ     อัมพฤกษ์ อัมพาต ด้วยการนวดคลายกล้ามเนื้อ ,  การนวดกดจุด ,  การนวดด้วยน้ำมันคลายกล้ามเนื้อและการประคบด้วยสมุนไพรสด การนวดเพื่อสุขภาพ เป็นการนวดเพื่อให้เกิดความผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ   ลดการตึงตัวและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต     เช่น       การนวดตัวเพื่อสุขภาพ  ,  การนวดเท้าเพื่อสุขภาพ การนวดเพื่อความสวยงาม เช่น   การขัดตัวด้วยสมุนไพร ซึ่งอยู่ในความดูแลของทีมงานด้านการแพทย์แผนไทย และการันตี ในเรื่องของความสะอาด สะดวกและปลอดภัย การนวดคลายเครียด เป็นการนวดเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดบริเวณบ่า , ต้นคอและศีรษะ เพื่อให้ผู้ถูกนวดรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ การนวดอโรมา เป็นการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ในการบำบัดด้วย     การนวดผสมผสานกับกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณสมบัติในการลดความตึงเครียด และทำให้เกิดการผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งในทางการแพทย์ยอมรับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดอาการอีกวิธีหนึ่งด้วย การอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เป็นการนำสมุนไพรสดที่มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ , ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตและลดอาการของระบบทางเดินหายใจ   เช่น อาการหวัด การนวดร่างกายโดยใช้น้ำมัน ช่วยให้สดชื่น คลายเครียดด้วยกลิ่นหอมเฉพาะทางที่ใช้ในการบำบัดอาการให้เบาบางลง เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการเครียด หดหู่ นอกจากนี้น้ำมันยังช่วยบำรุงผิว และกระชับรูปร่างไม่ให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน ช่วยสลายไขมันไม่ให้สะสมตามที่ต่างๆ ของร่างกาย และความร้อนของน้ำมันที่เกิดจากการนวดจะซึมซาบลึกเข้าไปผิวหนัง และกล้ามเนื้อช่วยให้รู้สึกเบาสบายตัว การนวดฝ่าเท้า นวดเท้า ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากมีจุดสะท้อนของอวัยวะภายในร่างกายที่ฝ่าเท้า และเท้า การนวดฝ่าเท้า และเท้า จึงเป็นการช่วยให้ระบบการไหวเวียนไปยังอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์ ปรับสภาวะสมดุลของร่างกายทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นประโยชน์ของการนวดไทย การบริหารตน ด้วยวิธีการนวดบ่าคอและศีรษะ ใช้นิ้วชี้นิ้วกลางและนิ้วนาง กดบีบแนวบ่า ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง กดบีบบริเวณเกลียวคอ ประสานมือเข้าด้วยกันบริเวณท้ายทอย ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองกดตามแนวเกลียวคอ ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดจุดใต้ไรผม ๒ จุด  นั่งขัดสมาธิ งอข้อศอกข้างหนึ่งให้มือจับบ่าด้านตรงข้าม ใช้มืออีกข้างจับที่ข้อศอกไว้ หายใจเข้า หายใจออก พร้อมๆกับดันข้อศอกเข้าหาตัวให้มากที่สุด หายใจเข้าออกปกติ ๓-๕ ครั้ง แล้วผ่อนออก ทำสลับข้างทั้งซ้ายและขวาท่านี้เป็นการยืดข้อไหล่ เป็นท่าฤาษีดัดตนซึ่งระบุว่า แก้ขัดแขน นั่งขัดสมาธิ มือข้างหนึ่งวางบนหน้า ตัก ฝ่ามืออีกข้างวางไว้ใต้กกหู หายใจเข้า หายใจออก พร้อมกับดันมือทั้งสองข้าง หายใจเข้าออกปกติ ๓-๕ ครั้ง แล้วผ่อนออกท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ ช่วยบรรเทาอาการปวดคอ และปวดศีรษะ เป็นท่าฤาษีดัดตนซึ่งระบุว่า แก้ลมเวียนศีรษะนั่งขัดสมาธิ ตัวตรง พนมมือระหว่างอก หายใจเข้า ค่อยๆยกมือขึ้นเหนือศีรษะ ออกแรงดันฝ่ามือเข้าหากัน ยืดลำตัว หายใจเข้าออกปกติ ๓-๕ ครั้ง แล้วผ่อนออกท่านี้ช่วยบริหารกล้ามเนื้อคอและสะบัก ช่วยบรรเทาอาการปวดคอ ปวดศีรษะ และปวดสะบักเป็นท่าฤาษีดัดตนซึ่งระบุว่า แก้ลมปวดศีรษะ นั่งขัดสมาธิ ประสานฝ่ามือไว้ที่หน้าอก หายใจเข้า หายใจออก เหยียดแขนไปข้างหน้าในลักษณะหงายฝ่ามือที่ประสานกันออก หายใจเข้ายกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ยืดตัวและแขนให้สุด หายใจเข้าออกปกติ ๓-๕ ครั้ง แล้วผ่อนออก ท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อแขนที่ใช้ในการงอข้อมือและนิ้วมือ และบริหารข้อไหล่เป็นท่าฤาษีดัดตนซึ่งระบุว่า แก้เกียจ ธาตุเจ้าเรือน 1.ธาตุดิน ( ตุลาคม,พฤศจิกายน,ธันวาคม ) ลักษณะรูปร่าง รูปร่างใหญ่ ผิวค่อนข้างคล้ำ ผมดกดำ กระดูกใหญ่ ข้อกระดูกแข็งแรง ล่ำสัน เสียงดังหนักแน่น รับประทานอาหารรส ฝาด หวาน มัน และเค็ม ผลไม้ มังคุด ฝรั่ง ฟักทอง เผือก ถั่วต่างๆ  หัวมันเทศ ผักพื้นบ้าน  กล้วยดิบ ยอดมะยม ขนุนอ่อน สะตอ ผักโขม โสน ดอกขจร ยอดฟักทอง บวบเหลี่ยม  เมนูอาหาร แกงป่ากล้วยดิบ แกงเลียง ผักหวานใส่ปลาย่าง    ดอกขจรผัดไข่  คั่วขนุน สะตอผัดกุ้ง  อาหารว่าง สังขยาฟักทอง ข้าวเหนียวถั่วดำ ตะโก้เผือก เต้าส่วน วุ้นกะทิ ถั่วแปบ   กล้วยบวดชี   เครื่องดื่ม น้ำอ้อย น้ำมะพร้าว น้ำมะตูม นมถั่วเหลือง น้ำลูกเดือย น้ำข้าวโพด       น้ำฟักทอง  น้ำลูกสำรอง น้ำข้าวกล้องงอก 2.ธาตุน้ำ ( กรกฎาคม,สิงหาคม, กันยายน ) ลักษณะรูปร่าง   รูปร่างสมบูรณ์ สมส่วน ผิวพรรณสดใส เต่งตึงตาหวาน น้ำในตามาก ท่าทางเดินมั่นคง ผมดกดำเงา ทนหิว   ทนร้อน  ทนเย็นได้ดี เสียงโปร่ง ความรู้สึกทางเพศดีอากัปกิริยามักเฉื่อย และค่อนข้างเกียจคร้าน รับประทานอาหารรส   เปรี้ยวและขม ผลไม้  มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ มะยม มะดัน  กระท้อน  ผักพื้นบ้าน ขี้เหล็ก แคบ้าน มะเขือเทศ มะยม มะกอก มะดัน กระท้อน   ยอด มะกอก ยอดมะขาม   สะเดาบ้าน มะระขี้นก  เมนูอาหาร   แกงส้มดอกแค แกงอ่อมมะระขี้นก ผัดมะระใส่ไข่ ห่อหมกใบยอ แกงป่าสะเดาใส่ปลาหมอ   อาหารว่าง มะยมเชื่อม สับปะรดกวน กระท้อนลอยแก้ว  มะม่วงน้ำปลาหวาน  เครื่องดื่ม  น้ำมะนาว  น้ำมะเขือเทศ น้ำมะขาม น้ำสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะเฟือง 3.ธาตุไฟ ( มกราคม,กุมภาพันธ์,มีนาคม ) ลักษณะรูปร่าง  มักขี้ร้อน ทนร้อนไม่ค่อยดี หิวบ่อย กินเก่ง    ผมงอกเร็ว มักหัวล้าน  ผิวหนังย่น ไม่ค่อยอดทน ใจร้อน   มีกลิ่นปาก กลิ่นตัวแรง ความต้องการทางเพศปานกลาง รับประทานอาหารรส   เย็นและจืด ผลไม้ แตงโม มันแกว พุทรา แอปเปิ้ล ผักพื้นบ้าน    ผักบุ้ง ผักตำลึง ผักกระเฉด ผักกระสัง สายบัว   ผักกาด  ผักปลัง มะรุม มะเขือยาว ผักหนาม ยอดมันเทศ กระเจี๊ยบมอญ  ยอดฟักทอง หยวกกล้วย หม่อน มะเขือยาว  เมนูอาหาร    ผัดผักบุ้ง แกงจืดตำลึง ผัดสายบัวใส่พริก    แกงส้มมะรุม   แกงส้ม-หยวกกล้วยใส่ปลาช่อน ยำผักกระเฉด    อาหารว่าง    ซ่าหริ่ม ไอศกรีม น้ำแข็งใส  เครื่องดื่ม      น้ำแตงโมปั่น น้ำใบบัวบก น้ำใบเตย 4.ธาตุลม ( เมษายน, พฤษภาคม, มิถุนายน ) ลักษณะรูปร่าง  ผิวหนังหยาบแห้งรูปร่างโปร่ง ผอมบาง ข้อกระดูกมักลั่น เมื่อเคลื่อนไหว ขี้อิจฉา ขี้ขลาด รักง่ายหน่ายเร็ว ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่หลับ ช่างพูด ออกเสียง ไม่ชัดเจน ความรู้สึกทางเพศไม่ค่อยดี  รับประทานอาหารรส   เผ็ดร้อน ผักพื้นบ้าน     ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย โหระพา กะทือ ดอกกระเจียว ขมิ้นชัน  ช้าพลู พริกขี้หนู สะระแหน่  ผักชีลาว ผักชีล้อม ยี่หร่า สมอไทย กานพลู  เมนูอาหาร  แกงปลาดุกใส่กะทือ ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง แกงหอยขมใส่ใบช้าพลู สมอไทยจิ้มน้ำพริก แกงเลียงผักรวม อาหารว่าง  บัวลอยน้ำขิง เต้าฮวย เต้าทึง มันต้มน้ำขิง ถั่วเขียวต้มน้ำขิง เมี่ยงคำ เครื่องดื่ม   น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำข่า น้ำกานพลู  ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะเด่นๆ บางประการของคนเจ้าเรือนต่างๆลองเปรียบเทียบกับตัวคุณดูว่าดูแล้วน่าจะใกล้เคียงกับเจ้าเรือนแบบไหน แล้วเราจะมาดูว่าควรกินอาหารและปฏิบัติตัวอย่างไร สำหรับคนแต่ละเจ้าเรือน เพื่อร่างกายและจิตใจอยู่ในสมดุลอันเป็นรากฐานของการมีสุขภาพดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

7 ประโยชน์ที่ดีแตงโม

7 ประโยชน์ที่ดีแตงโม            ผลไม้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์หน้าร้อน นอกจากมะพร้าวแล้ว ก็น่าจะมีแตงโมติดโผกับเขาด้วยนะคะ เพราะแตงโมเย็นๆ หวาน ฉ่ำน้ำ ไม่ว่าจะทานสดๆ หรือนำไปปั่นก็อร่อยเย็นชื่นใจ ดับกระหาย คลายร้อนได้ดีจริงๆ แต่นอกจากจะช่วยดับร้อนแล้ว ยังมีประโยชน์อีกหลายอย่างที่ทุกคนอาจจะยังไม่ทราบ มีอะไรกันบ้าง 1. เป็นผลไม้ที่เหมาะกับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก เพราะเป็นผลไม้ที่น้ำตาลต่ำ แคลอรี่ต่ำ 2. ป้องกันการสะสมของไขมันเส้นเลือด ควบคุมระดับความดันโลหิต   3. มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา 4. ช่วยลดความมันบนผิวหน้า เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว และลดอาการอักเสบบวมแดง 5. ช่วยบำรุงผิวพรรณ และเส้นผมให้แข็งแรง 6. กรดอะมิโนในแตงโม ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ   7. ไลโคปีนในแตงโม ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง               ถึงแม้ว่าแตงโมจะมีประโยชน์มากมาย แต่ผู้ป่วยบางราย หรือผู้ที่มีความผิดปกติบางอย่าง ก็ควรหลีกเลี่ยงการทานแตงโมด้วยเช่นกัน เช่น ผู้ที่มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย เพราะน้ำจากแตงโมจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจางลง ทำให้ย่อยอาหารไม่ดี ผู้เป็นโรคเยื่อบุลำไส้อักเสบเรื้อรัง  ความดันโลหิตต่ำ  มีแก๊สในกระเพาะอาหาร  ท้องเสียบ่อยๆ หรือช่วงที่มีไข้สูง อย่างไรก็ตามของมีประโยชน์ ก็ต้องทานแต่พอดี อย่ามากเกินไป เพราะต่อให้มีประโยชน์มากเท่าไร หากทานมากเกินไป ก็เป็นโทษต่อร่างกายได้เหมือนกันค่ะ ที่มา : www.sanook.com

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รู้เท่าทันต้อหินป้องกันการตาบอด

 ต้อหินเป็นโรคที่เกิดจากการถูกทำลายของเส้นประสาทตา เนื่องจากมีแรงดันในลูกตาสูง ซึ่งเส้นประสาทตานี้จะเชื่อมต่อระหว่างตาไปยังสมอง ทำให้การมองเห็นค่อยๆลดลง และบอดในที่สุดแรงดันตาที่สูงมากขึ้น เกิดจากการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตามากขึ้น และมีการระบายน้ำออกจากทางเดินระบายน้ำลดลง โดยค่าปกติของความดันตาอยู่ที่ 5-21 มิลลิเมตรปรอท หากพบว่าความดันตามีค่ามากกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อหินได้   การสูญเสียการมองเห็นของผู้ป่วยต้อหิน ในระยะเริ่มแรก ลานสายตาจะถูกทำลายจากด้านข้างก่อน ผู้ป่วยอาจเริ่มมีการเดินชนสิ่งของดัานข้าง ผู้ป่วยที่ไม่สังเกตจึงไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ เพราะการมองตรงกลางยังเห็นดีอยู่ จนระยะท้าย ลานสายตาโดนทำลายจนแคบเข้ามาเรื่อยๆ การมองเห็นภาพตรงกลางเริ่มลดลง ระยะนี้ผู้ป่วยจึงจะมาพบแพทย์ ซึ่งเป็นระยะท้ายของโรคแล้ว สิ่งที่น่ากลัวคือ การมองเห็นที่เสียไปแล้ว ไม่สามารถทำให้กลับมาดีเหมือนเดิมได้ ทำให้ตาบอดถาวร การรักษาจึงเพื่อไม่ให้ลานสายตาและการมองเห็นที่ยังดีอยู่แย่ลงไปอีก ปัจจัยเสี่ยงของต้อหิน -          เชื้อชาติ คนเชื้อชาติแอฟริกันอเมริกันจะพบต้อหินสูงกว่าคนผิวขาวถึง 6-8 เท่า ส่วนคนเชื้อชาติเอเชียจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินมุมปิดมากกว่าชนชาติอื่น -          อายุมากกว่า 40 ปี -          มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นต้อหิน -          ผู้ป่วยเบาหวาน ไมเกรน นอนกรน -          ตรวจพบความดันตาสูง -          เคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา -          การใช้ยาสเตียรอยด์ -          ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อาทิ สายตายาวหรือสั้นมาก กระจกตาบาง -          โดยบุคคลที่มีความเสี่ยงสมควรได้รับการตรวจตาเป็นประจำ งดการซื้อยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยมาใช้เอง เมื่อมีอาการผิดปกติทางตาควรรีบมาพบแพทย์    การวินิจฉัยต้อหิน  -          การตรวจตาด้วยเครื่องตรวจตา slit-lamp microscopy -          การตรวจวัดความดันภายในลูกตา -          การตรวจลักษณะของขั้วประสาทตา -          การตรวจลานสายตา   โรคต้อหิน  สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด ถ้าแบ่งตามลักษณะกายวิภาคของมุมตา ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ระหว่างกระจกตาและม่านตา สามารถแบ่งได้เป็นสองชนิด ด้วยกันคือ 1.ต้อหินชนิดมุมเปิด  เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการปวด เพราะความดันลูกตาจะค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละน้อย ทำให้ผู้ป่วยเคยชินกับความดันตาที่สูงขึ้น ทำให้เส้นประสาทตาถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายที่มาพบแพทย์เนื่องจากตามัวลงแล้ว ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของโรค  2.ต้อหินชนิดมุมปิด  จะมีลักษณะมุมตาแคบ ทำให้ขวางกั้นทางเดินระบายน้ำในตา เกิดความดันในลูกตาสูงขึ้น ซึ่งถ้าเกิดแบบเฉียบพลันจะมีอาการปวดมาก และมองเห็นแสงสีรุ้ง ตามัวลงเฉียบพลัน และมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ ผู้ป่วยที่เป็นต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน จะมาพบแพทย์เร็วเพราะมีอาการปวดตามาก ต้อหินชนิดนี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้โดยการยิงเลเซอร์ป้องกันให้มุมตาเปิดกว้างมากขึ้น แต่ถ้าเป็นต้อหินมุมปิดชนิดเรื้อรังที่ความดันตาค่อยๆเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัว จนกว่าเป็นระยะท้ายของโรคแล้ว เหมือนกับต้อหินมุมเปิด  3.การรักษาต้อหิน เนื่องจากโรคต้อหินเส้นประสาทตาจะถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจึงเป็นการประคับประคองเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้นและเพื่อคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรค ·       การรักษาด้วยยา ซึ่งยาหยอดเหล่านี้จะออกฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาหรือช่วยให้การไหลเวียนออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาดีขึ้น จึงลดความดันตาให้อยู่ในระดับเหมาะสมไม่เกิดการทำลายของเส้นประสาทตา การรักษาด้วยยาจำเป็นต้องหยอดยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และแพทย์จะนัดติดตามอาการเป็นระยะๆ เพื่อประเมินผลการรักษา การดำเนินโรค และผลข้างเคียงจากยา ·       การใช้เลเซอร์ โดยประเภทของเลเซอร์ที่ใช้จะขึ้นกับชนิดของต้อหินและระยะของโรค -          Selective laser trabeculoplasty (SLT) เป็นการรักษาต้อหินมุมเปิด ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยยาหยอดตาแล้วได้ผลไม่ดีนัก หรือรักษาด้วยยาหยอดตาไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ หรือมีอการแพ้ยาหยอดตา และมักเลือกใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ -          Laser peripheral iridotomy (LPI) เป็นการรักษาต้อหินมุมปิด -          Laser cyclophotocoagulation มักใช้ในกรณีที่การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล เป็นการทำลายเซลล์มีหน้าที่สร้างน้ำในลูกตา ทำให้น้ำในลูกตาสร้างน้อยลง  ·       การผ่าตัด ใช้รักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้ -          Trabeculectomy เป็นการผ่าตัดทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ให้น้ำออกมานอกลูกตามากขึ้น เป็นผลให้ความดันตาลดลง -          Aqueous shunt surgery ทำในกรณีที่การผ่าตัดวิธีแรกไม่ได้ผล เป็นการทำการผ่าตัดด้วยการใส่เครื่องมือที่เป็นท่อระบายเพื่อลดความดันตา   โรคต้อหิน มีความสำคัญเพราะเป็นภัยเงียบที่ทำให้ตาบอดถาวรได้ การตระหนักถึงความสำคัญ โดยการตรวจตาสม่ำเสมอจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อตรวจพบโรคได้ในระยะแรก และรับการรักษาอย่างทันท่วงที

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รู้เท่าทันอาการปวดหัว

ข้อมูลโดย : นพ.พงศกร ตนายะพงศ์ อายุรแพทย์ประสาทวิทยา ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.วิภาวดี    ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปมาก ชีวิตต้องเร่งรีบทำให้เกิดความเครียดมาก ขาดการออกกำลังกายและนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้คนเรามีอาการปวดศีรษะได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามอาการปวดศีรษะบางโรคไม่ได้เกิดจากปัจจัยดังกล่าว แต่เป็นกลุ่มโรคปวดศีรษะที่ร้ายแรงซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้ ถ้าไม่รีบรักษา โดยทั่วไปเรามักแบ่งโรคปวดศีรษะออกเป็น 2 กลุ่ม       1. กลุ่มที่ไม่มีรอยโรคในสมอง ศีรษะ หรือ คอ (Primary Headache) กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่ร้ายแรงมักปวดเป็นๆ หายๆ ช่วงหายจะหายสนิท ได้แก่ ไมเกรน , ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension – type Headache ) ,ปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster Headache) เป็นต้น    1.1 ไมเกรน (Migraine) เป็นโรคปวดศีรษะที่พบได้บ่อยในคนอายุน้อยถึงวัยกลางคน มักปวดศีรษะขมับข้างใดข้างหนึ่ง ร้าวไปกระบอกตา หรือท้ายทอยได้ ปวดลักษณะตุบๆตามจังหวะชีพจรและมักปวดมากขึ้นหลังทำกิจวัตรประจำวัน มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยได้ ไม่ชอบแสงจ้าหรือเสียงดัง ระยะเวลาที่ปวดแต่ละครั้งประมาณ 4 ชั่วโมง ถึง 3 วัน สาเหตุ เชื่อว่ามีการขยายตัวของหลอดเลือดที่อยู่ชิดกับเยื่อหุ้มสมอง หลังจากที่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งได้แก่  ๐ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในผู้หญิง เช่น ช่วงใกล้ประจำเดือน ๐ อาหาร เช่น กาแฟ ช็อคโกแลต ชีส แอลกอฮอล์ ๐ การไม่สบายของร่างกายและจิตใจ เช่น นอนไม่พอ ทานอาหารไม่ตรงเวลา ๐ สิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อน แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นฉุน  1.2 ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension-type Headache) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดมักปวดมึนศีรษะเหมือนมีอะไรมารัดรอบศีรษะ บางคนร้าวลงต้น คอ บ่า สะบัก  สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอและความเครียด  1.3 ปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster Headache) พบได้บ่อยในช่วงอายุ 20-50 ปี มีลักษณะพิเศษ ได้แก่ ปวดศีรษะข้างเดียวบริเวณรอบ หรือ หลังเบ้าตาร้าวไปขมับเหมือนมีอะไรแหลมๆแทงเข้าตา ปวดมากจนรู้สึกกระสับกระส่าย ระยะเวลา 15 นาที – 3 ชั่วโมง ใน 1 วัน เป็นได้หลายครั้งและมักปวดเป็นเวลาเดิมของทุกวันติดต่อกันเป็นสัปดาห์ถึงเดือน พอหายปีนี้ ปีหน้าก็อาจปวดในช่วงเดือนใกล้เคียง มีอาการร่วมทาง   ระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ลืมตาลำบาก ตาบวม ตาแดง น้ำตาหรือน้ำมูกไหล ม่านตาหดเล็กลง ซึ่งเป็นข้างเดียวกับที่ปวด  สาเหตุ เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับสมองส่วนที่ควบคุมเวลาของร่างกายที่ชื่อ Hypothalamus ทำงานผิดปกติ ทำให้เส้นประสาทสมองที่ 5 ซึ่งทำหน้าที่รับความรู้สึกของใบหน้าพร้อมทั้งระบบประสาทอัตโนมัติและหลอดเลือดข้างคียงเกิดการเปลี่ยนแปลง         2. กลุ่มที่มีรอยโรคในสมอง ศีรษะ หรือ คอ (Secondary Headache) เช่น เนื้องอกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หลอดเลือดสมองโป่งพอง หลอดเลือดอักเสบ เลือดออกในสมอง กระดูกคอเสื่อม ต้อหิน โพรงไซนัสอักเสบ เป็นต้น         วิธีการสังเกตว่าปวดศีรษะจากกลุ่มนี้ ได้แก่ 1. ปวดทันทีและรุนแรงมาก 2. ปวดมากแบบที่ไม่เคยปวดมาก่อนเลยในชีวิต 3. ปวดจนต้องตื่นนอนตอนกลางคืน 4. ปวดมากขึ้นเรื่อยๆโดยไม่มีช่วงหายปกติ 5. ปวดรูปแบบใหม่ซึ่งไม่เหมือนกับที่เคยปวดมาเป็นประจำ 6. มีอาการต้นคอแข็ง อาเจียนมาก มีไข้ 7. มีอาการอ่อนแรง มองเห็นภาพซ้อน ตามัว พูดไม่ชัด สับสนหรือจำอะไรไม่ได้ 8. ปวดเมื่อไอ จาม หรือ เบ่งปัสสาวะหรืออุจจาระ 9. ปวดครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี 10. ปวดสัมพันธ์กับท่าทาง 11. มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะภูมิคุ้มกันร่างกายไม่ดี หากมีอาการดังกล่าว ที่ชวนสงสัยโรคที่น่าจะมีรอยโรคในสมองควรรีบพบแพทย์ แพทย์จะใช้วิธีการถามอาการอย่างละเอียดและตรวจร่างกาย ทางระบบประสาท หากสงสัยว่าจะมีรอยโรค จะตรวจยืนยันด้วยภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Brain) หรือภาพแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI Brain) หรือตรวจภาพหลอดเลือดสมอง (MRA) หรือว่าสงสัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบก็ต้องเจาะหลังตรวจน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง อย่างละเอียดต่อไป   อย่างไรก็ตามหากไม่แน่ใจว่าจะเป็นโรคในกลุ่มที่ไม่มีรอยโรคก็ตาม ก็ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาการใช้ยาที่ถูกต้อง ลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงจากยา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ยาหมดอายุ หรือยาเสื่อมคุณภาพ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

        ยามีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมายแต่บางครั้งก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ถ้าหากเราใช้ยาไม่ถูกต้องหรือเหมาะสม ซึ่งปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อย คือ ปัญหายาเสื่อมคุณภาพ มีคนจำนวนไม่น้อยมียาเก็บไว้ที่บ้านจำนวนมาก ทั้งยาที่ได้รับจากโรงพยาบาล ร้านยาหรือคลินิก แล้วรับประทานไม่หมด เมื่อมีอาการเจ็บป่วยก็อาจนำยาที่เหลืออยู่มารับประทาน แต่ที่เสี่ยงอันตราย คือ ยาทุกชนิดมีวันหมดอายุ ซึ่งหมายถึงยานั้นๆ หมดประสิทธิภาพในการรักษาไปแล้ว ถ้าเรารับประทานยาเสื่อมคุณภาพไปโดยไม่รู้ตัวก็อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล หรือก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น อาจก่อให้เกิดโรคไตวาย ไตอักเสบ หรือทำให้เกิดการลุกลามของโรคต่างๆตลอดจนเกิดการดื้อยาขึ้น   การเสื่อมสภาพของยาอาจสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอก ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในตัวยา ซึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า วิธีที่จะช่วยตรวจสอบวิธีหนึ่ง คือ การสังเกตข้อมูลวันผลิตและวันหมดอายุบนฉลากยา ดังนี้ ข้อมูลวันผลิต จะดูที่คำว่า “Manu. Date” หรือ “Mfg. Date” ซึ่งจะตามด้วยเลขวัน-เดือน-ปี ของวันผลิต   ข้อมูลวันหมดอายุ จะดูที่คำว่า “Expiry Date” หรือ “Exp. Date” หรือ “Exp.” หรือ “Used before” หรือ “Expiring” หรือ “Used by” ซึ่งจะตามด้วยเลขวัน-เดือน-ปี ของวันหมดอายุ  และในกรณีที่ระบุวันหมดอายุไว้เพียงเลขเดือน-ปี จะให้นับวันที่สุดท้ายของเดือนนั้นๆ เป็นวันหมดอายุ ตัวอย่างเช่น Exp. 08/60 หมายความว่า ยาจะหมดอายุในวันที่ 31 เดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2560           ในกรณีที่พบยาบางชนิดระบุไว้เพียงวันผลิต แต่ไม่ได้ระบุวันหมดอายุ  หลักเกณฑ์ทั่วไปจะกำหนดให้ยาน้ำที่ยังไม่ได้เปิดใช้สามารถเก็บไว้ได้ 3 ปี นับจากวันผลิต  แต่หากยาน้ำถูกเปิดใช้แล้วและมีการเก็บรักษาที่ดีจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 เดือน    ส่วนยาเม็ดสามารถเก็บไว้ได้ 5 ปี นับจากวันผลิต แต่หากยาเม็ดมีการแบ่งบรรจุใส่ในถุงซิป วันหมดอายุของยาจะนับจากวันแบ่งบรรจุออกไป 1 ปี โดยไม่เกินวันหมดอายุจริงที่ระบุบนฉลากยา    นอกจากนี้การตรวจสอบยาหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพอีกวิธีหนึ่ง สามารถสังเกตได้จากลักษณะต่างๆของยา ดังนี้ ยาเม็ดแคปซูล ที่มีลักษณะแคปซูลบวมโป่ง ผงยาภายในแคปซูลมีการเปลี่ยนสีหรือเกิดการจับกันเป็นก้อน เปลือกแคปซูลอาจมีเชื้อราขึ้นหรือมีสีเปลี่ยนไป เช่น เตตราไซคลีน Tetracycline ที่มีผงยาเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลแนะนำให้ทิ้งทันที เพราะหากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อไตได้ ยาเม็ด ที่มีสีเปลี่ยนไป มีจุดด่างหรือเชื้อราขึ้น เม็ดยาแตกกร่อนเป็นผงง่าย เม็ดยานิ่มและแตกได้เมื่อใช้มือบีบเบาๆนอกจากนี้แล้วยาเม็ดที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ของบริษัทผู้ผลิตที่มีการเปิดใช้แล้ว ควรสังเกตลักษณะของยาควบคู่ไปด้วยหากลักษณะทางกายภาพของยา (สี กลิ่น รส) เปลี่ยนแปลงไป เป็นการบ่งบอกถึงความไม่คงตัวของยา ก็ไม่ควรใช้ยานั้นต่อไป ยาเม็ดที่เป็นแบบเคลือบน้ำตาล ซึ่งมีลักษณะมันเงา(เช่น วิตามินรวม) เม็ดยามักดูเยิ้มเหนียวมีกลิ่นหืน หรือบูด ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาคล้ายแป้งน้ำใช้ทาแก้คัน ยาลดกรด ถ้าเสื่อมก็จะตกตะกอน จับกันเป็นก้อน เกาะติดกันแน่นเขย่ายังไงก็ไม่กระจายตัว ทั้ง กลิ่น สี หรือรสก็เปลี่ยนไปจากเดิม ยาผงแห้งผสมน้ำ    

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคปอดบวม

โรคปอดบวม เด็กๆ กว่า 900,000 คนทั่วโลก จะเสียชีวิตเนื่องจากโรคปอดบวม ซึ่งเป็นโรคที่ป้องกันและรักษาได้ ข้อมูลปี พ.ศ.2558    โรคปอดบวม  เด็กๆ กว่า 900,000 คนทั่วโลก จะเสียชีวิตเนื่องจากโรคปอดบวม ซึ่งเป็นโรคที่ป้องกันและรักษาได้ ข้อมูลปี พ.ศ.2558 โรคติดเชื้อ ที่คร่าชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มากที่สุด* ·       โรคปอดบวม                  16% ·       โรคมาลาเรีย                   6% ·       โรคไข้สมองอักเสบ          2% ·       โรคเอดส์/ เอชไอวี            2% โรคปอดบวม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อ ‘สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี’ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคปอดบวม และยังเป็นเชื้ออันตรายที่ก่อให้เกิดกลุ่มโรครุนแรงอย่างโรค ไอ พี ดี ได้อีกด้วย             โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำเรื่องเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน อาการและการป้องกันโรคปอดบวม สังเกตอาการ2 ·       ไข้ ·       ไอ ·       หนาวสั่น ·       เจ็บหน้าอก ·       หายใจลำบาก             อาการของโรคปอดบวม คือมีอาการไข้มากกว่า 3 วัน ไอนานและรุนแรง เริ่มมีอาการหอบเหนื่อย ในรายที่มีอาการรุนแรง จะเป็นหนองในเยื่อหุ้มปอด เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ และอาจทำให้เสียชีวิตได้             การป้องกัน ·       ให้ทารกดื่มนมแม่ในช่วงหกเดือนแรก ·       ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ·       ล้างมือให้สะอาด ·       รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคปอดบวม โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม วิธีง่ายๆ แนะนำให้ครอบครัวของเด็กๆ รู้จักถึงสัญญาณอันตรายของโรคปอดบวม และเร่งพบแพทย์หากเกิดอาการ คุณอาจเสี่ยง เป็นโรคปอดบวม จากเชื้อนิวโมคอคคัส ถ้าคุณมีปัจจัยเสี่ยง 1 ข้อหรือมากกว่านั้น ·       อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี ·       เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต ·       โรคหอบหืด ·       เบาหวาน ·       ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ ·       ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ·       โรคมะเร็ง ·       ภาวะม้ามไม่ทำงานหรือไม่มีม้าม ·       ใส่ชุดประสาทหูเทียม ·       น้ำไขสันหลังรั่ว ·       สูบบุหรี่ ·       โรคพิษสุราเรื้อรัง โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำเรื่องเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน       ด้วยความปรารถนาดี รพ.วิภาวดี เอกสารอ้างอิง 1Centers for Disease Control and Prevention[Internet]. Pneumococcal Diseas/Transmission and Those at High Risk; 2013. [cited2015 June 6] Available from: http://www.cdc.gov/pneumoccol/about/risk-transmission.html

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หลักการกินอาหารเจหรือมังสวิรัติให้ถูกวิธี

หลักการกินอาหารเจหรือมังสวิรัติให้ถูกวิธี  สำหรับหลาย ๆ ท่านอาจรับประทานมังสวิรัติเป็นกิจวัตร แม้ว่าการรับประทานอาหารแบบนี้ มีผลดีมากต่อร่างกาย โดยเฉพาะป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด อย่างไรก็ตามควรตระหนักว่า การรับประทานไม่ถูกต้อง มีผลเสียต่อร่างกายมากกว่า เรามาดูคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจว่า รับประทานมังสวิรัตอย่างไรจะดี     อาหารที่ประกอบด้วยผักจะมีเส้นใยและวิตามินมาก ช่วยในระบบการย่อย ป้องกันโรคอ้วน ในขณะที่มีไขมันน้อย โปรตีนและธาตุเหล็ก รวมถึงวิตามินบี 12 ซึ่งอยู่ในเนื้อสัตว์จะน้อย การรับประทานอาหารมังสวิรัติ ถ้ารับประทานไม่ถูกต้องอาจขาดสารอาหารเหล่านี้ ดังนั้น ข้อแนะนำคือ 1.รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ แหล่งโปรตีนในพืชจะมาจากถั่วลิสง ถั่วเหลือง 2.รับประทานถั่ว ธัญพืช ข่าวซ้อมมือ ที่มีวิตามินสูง 3.รับประทานผักที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักโขม ถั่วลิสง และถ้าจำเป็น อาจรับประทานแคปซูลธาตุเหล็กเสริม ประทานวิตามิน บี 12 เสริม 4.ควรเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล หรือไขมันสูงไป                                          โปรตีนจากเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนชนิดสมบูรณ์ ซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ได้อย่างครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย  โปรตีนจากเนื้อสัตว์ เป็นโปรตีนที่มีคุณค่าสูง นอกจากจะประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วนแล้ว ยังมีคุณสมบัติถูกย่อยได้ดีร่างกายจึงสามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ ง่าย ขณะที่โปรตีนจากพืชและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจะมีกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นสูง จึงจัดเป็นโปรตีนที่มีคุณค่าต่ำ  การบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะได้ปริมาณโปรตีนแตกต่างกันไปด้วย เนื้อสัตว์หมายถึงส่วนที่ได้จากสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร ได้แก่ กล้ามเนื้อและ อวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น ตับ หัวใจ และส่วนอื่นที่บริโภคได้ เช่น หนัง กระดูก เป็นต้น เนื้อที่ได้จากสัตว์ที่ชนิดพันธุ์และอายุต่างกันจะมีองค์ประกอบทางเคมีที่ต่างกัน กล้ามเนื้อของสัตว์จะมีองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ น้ำประมาณร้อยละ 65-80 โปรตีนประมาณร้อยละ 16-22 ไขมันประมาณร้อยละ 5-25 เถ้าและคาร์โบไฮเดรตชนิดละประมาณร้อยละ 1  เนื้อสัตว์ยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุทุกชนิดโดยเฉพาะฟอสฟอรัสและเหล็ก ส่วนใหญ่แร่ธาตุเหล่านี้จะอยู่ในส่วนที่เป็นน้ำและโปรตีนของเนื้อสัตว์ เมื่อเปรียบเทียบเนื้อแดงกับเนื้อที่มีไขมันปนอยู่ พบว่าเนื้อที่เป็นเนื้อแดง จะเป็นแหล่งแร่ธาตุที่ดีกว่าเนื้อที่มีไขมัน เมื่อถูกความร้อนเพื่อทำให้สุกนั้น แร่ธาตุส่วนใหญ่โดยเฉพาะธาตุเหล็กจะยังคงเหลือครบ  โปรตีนเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะส่วนกล้ามเนื้อโครงร่างซึ่งมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 16–22  โปรตีนในเนื้อสัตว์ถูกแบ่งตามแหล่งที่มาและความสามารถในการละลายได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ไมโอไฟบริลลาร์โปรตีน (myofibrillar protein) ซาร์โคปลาสมิกโปรตีน (sarcoplasmic protein) และสโตรมาโปรตีน (stroma protein)   อาหารพวกพืช เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าว และผัก มีวิตามินบี 12 น้อยมาก อาหารที่ได้จากการหมัก เช่น ปลาหมัก ถั่วหมักจะมีวิตามินบี 12 มากขึ้น ดังนั้นกลุ่มผู้ที่บริโภคอาหารมังสวิรัติ หรือผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ แต่บริโภคน้ำปลา ซีอิ๊ว และเต้าเจี้ยว จึงไม่เป็นโรคโลหิตจาง เพราะได้รับวิตามินบี 12 จากอาหารเหล่านี้ และได้จากการสังเคราะห์ของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่                                            การขาดวิตามินบี 12 อาจทำให้เกิดโรคเลือดจาง เส้นประสาทเสื่อมสภาพ หรือมีอาการจากระบบประสาทหลายอย่าง เช่น ความจำเสื่อม การขาดสมาธิ หรือความสามารถในการใส่ใจในการทำงานลดลง เกิดความรู้สึกผิดปกติ เช่น ร้อนเหมือนถูกไฟ คัน ความรับรู้สัมผัสลดลง    คนที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี 12 ได้แก่ คนที่กินมังสวิรัติแบบไม่กินเนื้อด้วย ไม่กินนมด้วย คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งส่วนหนึ่งกระเพาะอาหารเริ่มเสื่อมสภาพไปตามอายุ ทำให้การหลั่งกรดออกมาน้อยลง ปัจจุบันยังไม่ทราบความต้องการวิตามินบี 12 ของคน แต่ในอาหารที่บริโภคทั่วไปจะมีวิตามินบี 12 ประมาณ  2 -10 ไมโครกรัม    การกินวิตามินรวมวันละ 1 เม็ดพร้อมอาหารสามารถแก้ไขปัญหาการขาดวิตามินบี 12ได้ เพื่อให้การดูดซึมดีขึ้น ช่วยป้องกันภาวะขาดวิตะมินบี 12 ได้ หรือจะกินวิตามินรวมครั้งละ 1 เม็ด วันเว้นวัน การดูดซึมวิตามินบี 12  เนื่องจากวิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่มีโคบอลท์ประกอบอยู่ในโมเลกุล จึงทำให้โมเลกุลมีขนาดใหญ่ การดูดซึมต้องอาศัยสารอินทรินสิก แฟกเตอร์ ช่วยพาวิตามินบี12 มาที่ลำไส้เล็กตอนปลายแล้วปล่อยให้ซึมผ่านเข้าผนังลำไส้เล็กสู่กระแสโลหิต เมื่อเข้าสู่กระแสโลหิตแล้วจะรวมตัวกับโปรตีนขนส่ง (transcobalamin) เพื่อส่งวิตามินไปยังอวัยวะต่าง ๆ โดยอวัยวะที่พบมาก ได้แก่ ตับ ไต หัวใจ และสมอง ในร่างกายมีการสะสมวิตามินบี12  ที่ตับประมาณ 5,000 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นวิตามินชนิดเดียวที่ร่างกายเก็บสะสมไว้ได้มากที่สุด ด้วยความปรารถนาดี จาก โรงพยาบาลวิภาวดี รู้ไว้ใช้ว่า ก่อนเริ่มกินเจ (ไทยรัฐ)                       ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ ที่มา : http://www.naturerich.com/

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคมือเท้าปาก

 โรคมือเท้าปาก      โรคมือเท้าปากเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก ทำให้มีอาการไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ประเทศไทยพบอยู่เสมอ ๆ ไวรัสที่พบ เป็นเชื้อค๊อกแซกกี่ A (Coxsackic Airus A) ซึ่งเชื้อนี้จะไม่รุนแรง เป็นแล้วหายเองได้ แต่ถ้าเป็นจากเชื้อค๊อกแซกกี่ B ( Coxsackic Virus B) หรือเอนเทอโรไวรัส 71 อาการจะรุนแรงกว่ามาก อาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ  อัมพาต  หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ ตัวอย่างที่พบในสิงคโปร์จะเป็นเชื้อ เอนเทอโรไวรัส 71   สาเหตุของโรคมือเท้าปาก      โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อย เช่น คอกซากีไวรัส เอ16 (coxsackievirus A16) และเอนเทอโรไวรัส 71 (enterovirus 71)      กลุ่มเสี่ยงที่พบบ่อยคือ เด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต สำหรับผู้ใหญ่พบโรคนี้ได้บ้าง   การติดต่อของโรคมือเท้าปาก      สำหรับอาการของผู้ป่วยช่วงสัปดาห์แรก จะสามารถติดต่อได้โดย 1.การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง ทั้งจากจมูก, ลำคอ และน้ำจากในตุ่มใส โดยเชื้อโรคอาจติดมากับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือการไอจามรดกัน 2.อุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ โดยช่วงที่แพร่กระจายมากที่สุด คือในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ และจะยังแพร่เชื้อได้จนกว่ารอยโรคจะหายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ ฉะนั้นหลังล้างก้นเด็ก ทุกครั้ง ควรล้างมือ ให้สะอาดหยุดไปเนอสเซอรี่ หรือโรงเรียนจนกว่าตุ่มแผลต่าง ๆ หายจะได้ไม่ไปแพร่เชื้อให้กับเด็กคนอื่นด้วย ทั้งนี้เชื้อเอนเทอโรไวรัสสามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน แต่โรคนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่สัตว์ หรือจากสัตว์สู่คนได้         โรคมือเท้าปากสามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากจมูก ลำคอ น้ำลาย และน้ำจากตุ่มใส รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้ออยู่ และสามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสของเล่น พื้นผิวสัมผัสที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ อาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ มือของผู้เลี้ยงดู โดยสถานที่ที่มักพบการระบาดของโรค ได้แก่ สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล และช่วงที่มักมีการระบาดของโรคนี้คือ ช่วงฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว อย่างไรก็ดี โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่สัตว์หรือสัตว์สู่คน        ทั้งนี้ โรคนี้สามารถเป็นซ้ำได้อีก เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งๆ อาจไม่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ได้ แม้จะจัดอยู่ในกลุ่มย่อยของเชื้อไวรัสเดียวกัน     อาการและภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปาก      อาการเริ่มต้นของโรคมือเท้าปากจะคล้ายไข้หวัด(เน้นว่าคล้ายไข้หวัด) คือ มีตุ่มใส หรือแผลร้อนในเกิดขึ้นหลายแผลในปาก และมีอาการเจ็บ มีผื่นแดงหรือตุ่มใส ขนาดเล็กที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า หรือก้น และมีอาการไข้เป็นระยะเวลา 5-7 วัน ก่อนที่มีผื่นและตุ่มน้ำขึ้นประมาณ 12-24 ชั่วโมง เด็กจะมีอาการไข้ต่ำ ๆ เหนื่อยอ่อน ปวดข้อ ต่อมาจะมีแผลในช่องปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เด็กจะมาด้วยอาการเจ็บในช่องปาก และไม่ยอมทานอาหาร แผลในช่องปากมักจะพบจำนวนระหว่าง 5-10 แผล โดยจุดที่พบบ่อย คือ ที่เพดานแข็ง ลิ้น และเยื่อบุช่องปาก         แผลในช่องปาก แรกเริ่มจะเห็นเป็นผื่นหรือตุ่มแดงเล็ก ๆ ต่อมาก็จะเห็นตุ่มน้ำสีเทาเล็ก ๆ สีออกเหลืองเท่าและมีผื่นแดงล้อมรอบ(แผบเหล่านี้มักเจ็บ ทำให้เด็กไม่ยอมทานอาหาร ยังทำให้ลิ้นแดงและบวมได้ แต่มักหายไปภายใน 5-10 วัน) พบตุ่มใส ๆ ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า มักพบที่ก้นด้วยขนาดประมาณ 3-7 มิลลิเมตร (ตุ่มเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 7 วัน) ผิวหนังเกิดผื่นอาจเกิดพร้อม ๆ กับแผลในช่องปาก หรือ เกิดหลังแผลในช่องปากเล็กน้อย อาจมีเพียง 2-3 จุด หรือมากกว่า 100 จุด โดยพบที่มือมากกว่าที่เท้า มักพบเป็นที่หลังมือ ด้านข้างของนิ้วมือ หลังเท้า และด้านข้างของนิ้วเท้า มากกว่าที่ฝ่ามือ หรือฝ่าเท้า ผิวหนังเริ่มแรกจะเป็นผื่นหรือตุ่มแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-10 มิลลิเมตร ที่ตรงกลางมีตุ่มน้ำสีเทามักเรียงตามแนวเส้นของผิวหนังและมีผื่นแดงล้อมรอบ ผื่นเหล่านี้อาจกดเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ 2-3 วัน ต่อมาจะเป็นสะเก็ดจนผิวแลดูปกติ ไม่มีแผลเป็นใน 7-10 วัน        อย่างไรก็ตาม โรคมือเท้าปากอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไปจนถึงเสียชีวิตได้ โดยอาการแทรกซ้อนไม่สัมพันธ์กับจำนวนแผลในปากหรือตุ่มที่พบตามฝ่ามือฝ่าเท้า ในรายที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงอาจมีแผลไม่กี่จุดในลำคอหรืออาจมีตุ่มเพียงไม่กี่ตุ่มตามฝ่ามือฝ่าเท้าก็ได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก แม้จะดูว่าผื่นและแผลในปากหายไปแล้วก็ตาม โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที เช่น "           เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม "           บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว "           มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ "           ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน "           มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง "           มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูหอบ เหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ อย่างไรก็ตาม โรคมือเท้าปากอาจแสดงอาการในหลายระบบ เช่น            1. ระบบทางเดินหายใจ อาจมีอาการเหมือนไข้หวัด ไอ มีน้ำมูกใส เจ็บคอ            2. ทางผิวหนัง            3. ทางระบบประสาท เช่น สมอง เยื่อหุ้มสมอง หรือเนื้อสมองอักเสบ            4. ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำเล็กน้อย ปวดหัว อาเจียน            5. ทางตา มักพบเยื่อบุตาอักเสบ (chemosis and conjuntivitis) และ            6. ทางหัวใจ เช่น สามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ ซึ่งอาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง การรักษา รักษาตามอาการคือ ให้ยาลดไข้ เวลามีไข้ ตุ่มที่ฝ่ามือ เท้า มักไม่คันไม่เจ็บ แผลในปากมักจะเจ็บมาก ทำให้เด็ก ๆ ไม่ยอมดูดนม หรือกินอาหาร อาจให้เด็กกินนมโดยใช้ช้อนป้อน หรือใช้หลอดฉีดยาค่อย ๆ หยดนมใส่ปาก ควรทานนมที่เย็น อมน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ หรือรับประทานไอศกรีม จะทำให้แผลไม่ค่อยเจ็บ และเด็กยังได้น้ำและสารอาหารบ้าง ในเด็กเล็ก ๆ การป้องกันโรคมือเท้าปาก     คือ การมีสุขลักษณะที่ดีและการรับวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ชนิดรุนแรงจากเชื้ออีวี 71 แนะนำให้ฉีดในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี 11 เดือน  โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันโรคมือเท้าปาก รวมถึงป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้โดย -          หลีกเลี่ยงการให้เด็กคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย -          รักษาอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็กเล็กควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน และรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด -          ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ ขวดนม -          เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว -          รีบซักผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระให้สะอาดโดยเร็ว และทิ้งน้ำลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ -          หากเด็กมีอาการของโรคมือเท้าปากให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ และเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมือเท้าปาก ต้องให้เด็กหยุดเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหาย  ในกรณีที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปากชนิดที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะมีการเสียชีวิต เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น เช่น -          การปิดทั้งโรงเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ -          การคัดแยกเด็กป่วยออกตั้งแต่เดินเข้าที่หน้าประตูโรงเรียน -          การหมั่นล้างมือ เช็ดถูทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ  และโรคมือ เท้า ปากเป็นโรคที่ต้องรายงาน ดังนั้นหากหน่วยงานใดพบผู้ป่วย โรคดังกล่าวต้องรายงานโดยใช้บัตรรายงาน 506 การดูแลของผู้ปกครอง ควรดูแลบุตรหลาน และผู้เลี้ยงดูเด็ก ให้รักษาความสะอาดตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อยๆ (ด้วยน้ำและสบู่) หลังขับถ่าย และ ก่อนรับประทานอาหาร ใช้ช้อนกลาง หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือเป็นต้น สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล                                                                      ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือ และส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแล รักษาสุขลักษณะของสถานที่ และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอรวมถึงการกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกต้องด้วย หากพบเด็กป่วย ต้องรีบป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังเด็กคนอื่น ๆ   ด้วยความปรารถนาดี  จากโรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วิ่งอย่างไรเพื่อให้มีสุขภาพดี

 วิ่งอย่างไรเพื่อให้มีสุขภาพดี 1.วิ่งอย่างไรจึงเรียกว่าถูกวิธีและปลอดภัยจากการบาดเจ็บ                 หัวข้อนี้อาจใช้เวลาสักหน่อยเพราะมีความสำคัญ หลักการเบื้องต้นที่ถือว่าเป็นหัวใจของการออกกำลังกาย คือ การอบอุ่นร่างกายก่อนและผ่อนคลายร่างกายหลังวิ่ง (Warm up & Cool down) ซึ่งจำเป็นต้องยืดกล้ามเนื้อที่ใช้มากๆ คือ กล้ามเนื้อน่อง ซึ่งจะป้องกันตะคริวได้เป็นอย่างดีรวมกับกล้ามเนื้อต้นขา,กล้ามเนื้อหลังและสะโพกส่วนล่าง ส่วนกล้ามเนื้อแขนและไหล่ก็สำคัญรองลงมา หลังจากนั้นก็วิ่งเหยาะๆก่อน แต่ก่อนจะลงสนามคงต้องไม่ลืมที่จะแต่งตัวให้เหมาะสมก่อน ซึ่งบางคนก็ทราบแล้ว แต่ส่วนมือใหม่ ขอแนะนำดังนี้ครับ                 1.เสื้อผ้า เลือกตามสภาพอากาศ โดยทั่วไปเลือกให้เบา, ระบายเหงื่อได้ดีและแห้งเร็ว                 2.รองเท้า แนะนำเลือกซื้อรองเท้าวิ่งโดยเฉพาะ และถ้าเสริมด้วยยางรองส้นเท้าด้วยก็จะเยี่ยมเลยและอย่าลืมถุงเท้า เพื่อลดการเสียดสีที่ทำให้นิ้วเท้าพองได้ ขั้นตอนการเริ่มออกกำลังกาย                 1.เลือกสนามวิ่งที่นุ่ม เช่น สนามหญ้าแล้วค่อยเปลี่ยนไปวิ่งสนามที่แข็งขึ้น                 2.ยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังวิ่ง                 3.แนะนำให้เดินเร็วก่อนแล้วค่อยวิ่งเหยาะๆสักช่วงหนึ่งก่อน แล้วจึงวิ่งเร็วขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับการกระตุ้นและเริ่มคุ้นเคยกับการรับน้ำหนักที่มากกว่าการเดินปกติ                 4.ขณะวิ่งถ้ามีการผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ, เจ็บบริเวณส่วนต่างๆให้หยุดพัก                 5.ถ้ามีเพื่อนวิ่งด้วยก็จะดี เผื่อว่าเรามีการบาดเจ็บระหว่างการวิ่งจะได้ช่วยดูแลกันได้ เทคนิคการวิ่ง                 1.การลงเท้า มีความสำคัญมาก โดยส่วนใหญ่คนที่วิ่งเพื่อสุขภาพจะแนะนำให้ลงส้นเท้าก่อน                 2.การเคลื่อนไหวของแขน จะช่วยในการทรงตัวโดยแขนจะแกว่งไปแนว หน้า-หลัง อย่าเกร็งหรือหนีบแขนไว้แนบลำตัว, กำมือหลวมๆ                 3.การหายใจ หายใจเข้าทางจมูก และหายใจออกทางจมูกและปาก ถ้าเราสามารถฝึกการหายใจเข้าอกขยายและหายใจออกแขม่วท้องได้ก็จะดีมาก บางครั้งอาจให้จังหวะกับตัวเอง เช่น 1, 2, 3; 1, 2, 3 เป็นต้น 2.มีโรคอะไรบ้าง ที่เกิดได้จากการวิ่ง หรือเป็นโรคที่แพทย์พบได้บ่อยอันมีสาเหตุมาจากการวิ่ง ส่วนใหญ่จะพบปัญหาช่วงล่างตั้งแต่ หลัง สะโพก ต้นขา เข่าน่อง ข้อเท้า และฝ่าเท้า กลุ่มอาการกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอักเสบ เช่นเส้นเอ็นสะโพกและต้นขาอักเสบ ตะคริวบริเวณกล้ามเนื้อน่อง รอยช้ำเนื้อเยื่อส้นเท้าอักเสบ และการบาดเจ็บ  ข้อเคล็ดที่ข้อเข่า และข้อเท้า 3.สัญญาณเตือนของร่างกาย จากการออกกำลังกายโดยการวิ่ง                                    ข้อนี้สำคัญมากโดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้สูงอายุคงต้องอาศัยการสังเกตด้วยตนเองเป็นหลัก ซึ่งแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน ดังนี้                 1.อาการหน้ามืดและวิงเวียน บ่งบอกถึงการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ                 2.อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อหรือปวดข้อต่อ บ่งบอกถึง กล้ามเนื้อและข้อต่อรับแรงกระแทกมากเกินไป                 3.รู้สึกอ่อนเพลียมากระหว่างวันหลังการออกกำลังกาย บ่งบอกถึง การที่ออกกำลังกายมากเกินไปที่ร่างกายจะรับได้                 4.ไม่สามารถสนทนาพูดคุยได้ขณะออกกำลังกาย บ่งบอกถึง การที่เราหายใจไม่ทัน หรือไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆต่อได้ บ่งบอกถึง การออกกำลังกายมากเกินที่ร่างกายจะรับไหว                 5.มีอาการป่วยบ่อยๆ บ่งบอกถึง การที่ออกกำลังกายหักโหมทำให้ ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง 4.ข้อห้ามสำหรับบุคคลที่ไม่ควรเลือกออกกำลังกายโดยการวิ่ง                 โดยส่วนตัวผมคิดว่าไม่มีข้อห้ามชัดเจนว่าห้ามบุคคลใดวิ่งออกกำลังกายแต่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน ไม่หักโหมจนเกินไป และต้องระมัดระวัง ในกรณีต่อไปนี้                 1.ผู้มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะ โรคความดันโลหิตสูง, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคไตเสื่อม และโรคหอบหืด                 2.โรคอ้วน เริ่มจากการเลือกรองเท้า, สนามที่นุ่ม ออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไปและสังเกตตัวเองว่าปวดตามข้อต่อหรือไม่ 5.ข้อแนะนำจากแพทย์ เกี่ยวกับเคล็ดลับการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพดี                                       1. “เริ่มต้น” ตั้งแต่บัดนี้ (สำคัญที่สุด)                 2. “ทีละน้อย” ค่อยๆทำ                 3. “มองตัวเองว่าผิดปกติอะไร”                 4. “ทำสม่ำเสมอ” อย่างน้อย 3 ครั้ง/ สัปดาห์                 5. “อย่าลืมดื่มน้ำ” ดื่มทีละนิดเป็นช่วงๆ                 6. “งดอาหารก่อนออกกำลังกาย” ก่อนออกกำลังกายไม่ควรทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอาการจุกเสียด                 7. “พักผ่อนให้เพียงพอ” เพื่อการฟื้นฟูและพร้อมกับการออกกำลังกายต่อไป                 หวังว่าเนื้อหาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์และเป็นจุดเริ่มต้นให้กับผู้อ่านที่คิดจะหันมาดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่นโดยการออกกำลังกาย 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<