โรคกระดูกสันหลังยึดติด

โรคกระดูกสันหลังอักเสบ – อาการ สามเหตุ และการป้องกัน โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดคืออะไร โรค AS คืออะไร?                โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด (Ankylosing spondylitis) หรือโรค AS เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกงอก และเกิดการยึดติดกันของข้อกระดูกสันหลังกับข้อสะโพกให้ติดกัน หากทิ้งไว้นานๆ โดยไม่รักษาจะทำให้กระดูกสันหลังมีความยืดหยุ่นน้อยลง เเละทำให้เกิดอาการหลังค่อมตามมา                                                                                                                                                                                                              โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดโดยปกติจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง10-20 เท่า ส่วนมากพบในช่วงอายุ 20-30 ปี โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ประคับประคองอาการ และป้องกันไม่ให้เป็นมากกว่าเดิมได้ อาการของโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด อาการของโรค อาการช่วงเเรกของโรคกระดูกสันหลังอักเสบเเบบยึดติด อาจมีอาการปวดตึงอย่างมากบริเวณหลังส่วนล่าง เเละสะโพกโดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน และเวลานั่งท่าเดิมๆ เป็นเวลานานๆ อาจมีอาการปวดคอและเหนื่อย ไม่มีแรง อาการอาจดีขึ้นหรือแย่ลงเป็นบางเวลา และอาจหายปวดไปเป็นช่วงๆ เมื่อกระดูกสันหลังอักเสบนาน ๆ จะมีหินปูนมาจับบริเวณกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกสันหลังเชื่อมติดกัน หลังจะแข็ง ก้มไม่ได้ ในบางรายอาจมีการเชื่อมกันของกระดูกซี่โครง ทำให้หายใจลำบาก อาจมีการอักเสบของข้ออื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก หรือมีการอักเสบของเส้นเอ็น เช่น เส้นเอ็นร้อยหวาย เส้นเอ็นฝ่าเท้า บางรายเมื่อเป็นนาน ๆ อาจมีอาการนอกระบบข้อ เช่น ปอดอักเสบ หรือหัวใจอักเสบได้ อาการของโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด      หลังปวดตึง ส่วนใหญ่อาการที่พบเจอในโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดจะเป็นอาการปวดตึงของหลัง ซึ่งผู้ป่วยอาจรู้สึกดีขึ้น เมื่อทำกายบริหาร เเต่หลังจากนั้นอาจกลับมามีอาการปวดตึงใหม่อีก หรืออาการอาจจะเเย่ลง ช่วงเช้าหลังตื่นนอน เเละระหว่างนอน อาการปวดตึงอาจเเย่ลงจนรบกวนการนอนของผู้ป่วยได้ ปวดช่วงสะโพก      ข้ออักเสบ อาการข้ออักเสบสามารถกระทบได้ทั้งกระดูกสันหลัง เช่นเดียวกับสะโพกเเละเข่า ปวดช่วงข้อต่อหลังมีการเคลื่อนไหว ข้อต่ออ่อนเเอลง มีอาการบวม และร้อนตรงบริเวณที่มีการอักเสบ       โรคประสาทอักเสบ มีอาการปวดอักเสบตรงช่วงกระดูกที่เชื่อมต่อกับเส้นเอ็น บริเวณของร่างกายที่อาจได้รับผลกระทบได้เเก่ กระดูกหน้าเเข้งส่วนบน ส้นเท้า เเละช่วงซี่โครงที่เชื่อมต่อกับกระดูกอก ซึ่งเมื่อซี่โครงได้รับผลกระทบคนไข้อาจมีอาการเจ็บหน้าอกเเละทำให้การขยายอก ยากมากขึ้น เมื่อหายใจเข้าลึกๆ       เหนื่อยล้า อาการเหนื่อยล้าเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดที่ยังไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อย เเละไม่มีเเรง  สาเหตุ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                         การเกิดโรคกระดูกสันหลังอักเสบเเบบยึดติด ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด เเต่พันธุกรรมอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ เช่น ยีน HLA-B27 โดยเฉพาะในเพศชาย อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกสันหลังอักเสบเเบบยึดติด อย่างไรก็ตาม ยีน HLA-B27 ไม่ได้เป็นปัจจัยยืนยันว่าทุกคนที่ได้รับยีนนี้จะเป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบเเบบยึดติดอย่างเด่นชัด                                                                                                          ควรปรึกษาเเพทย์เมื่อไหร่                                                                                                                                                                                                                                                                                                             ผู้ป่วยควรพบแพทย์เมื่อ มีอาการปวดหลังส่วนล่างเเละสะโพก และมีอาการปวดรุนแรงจนกระทบกับชีวิตประจำวัน โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดอาจมีผลกระทบกับสุขภาพตาได้ โดยทำให้เกิดอาการตาแดง อักเสบ และแพ้แสง เมื่อมีอาการเหล่านี้ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด   โดยแพทย์จะใช้การซักประวัติ ร่วมกับ การตรวจร่างกาย การถ่ายภาพรังสี จะมีประโยชน์ในการช่วยการวินิจฉัย โดยจะพบการอักเสบและเชื่อมติดกันของข้อ โดยเฉพาะกระดูกกระเบนเหน็บ และกระดูกสันหลัง การรักษา การรักษาและป้องกัน              โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เเต่สามารถประคับประคองอาการและป้องกันไม่ให้เป็นมากกว่าเดิมได้ โดยปัจจุบันและรูปเเบบการรักษาจะมีดังนี้ การบริหารร่างกาย เเละออกกำลังกาย การบริหารร่างกายมีความสำคัญมาก เนื่องจากสามารถช่วยปรับบุคลิก ท่าทาง เเละข้อต่อกระดูกสันหลัง การเคลื่อนไหวจากการทำกายบริหารจะช่วยป้องกันอาการข้อติด และช่วยป้องกันอาการปวดตึงของสันหลังได้ด้วย การรักษาด้วยกายบริหารสามารถทำได้โดยการยืดตัวหรือเล่นกีฬาอื่นๆ เช่นว่ายน้ำ และควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ให้ข้อได้เคลื่อนไว โดยพยายามให้หลังตรงอยู่เสมออาทิ นั่งพิงพนักหลังตรง ยืนเดินให้หลังตรง นอนหงายบนพื้นแข็ง ไม่ควรนอนตะแคง ไม่หนุนหมอนสูง การรักษาด้วยยา โดยปกติเเพทย์จะให้ยาเเก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ เพื่อให้คนไข้สามารถเคลื่อนไหวเเละทำกายบริหารได้สะดวกขึ้น ซึ่งปัจจุบันมียาเพื่อลดอาการของโรคได้แต่ราคาแพง และมีผลข้างเคียงมากต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การผ่าตัด ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังอักเสบแบบยึดติดโดยปกติไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ในกรณีที่เป็นมาก แพทย์อาจแนะนำการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกหรือข้อเข่าเทียม เพื่อช่วยให้คนไข้เคลื่อนไหวได้สะดวกกว่าเดิม                                                                                                                                แผนกศัลยกรรมและออโธปิดิกส์ รพ.วิภาวดี  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กระดูกสันหลังเสื่อม

            กระดูกสันหลังเสื่อม “กระดูกสันหลังเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยเหมือนกับบรรดาข้อกระดูกเสื่อมทั้งหลาย เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม ลักษณะของข้อกระดูกสันหลัง คือ กระดูกสันหลังมี 3 ระดับ ระดับคอมีกระดูกสันหลัง 7 ชิ้น ระดับกลางมี 12 ชิ้น ระดับบั้นเอวมี 5 ชิ้น กระดูกสันหลังแต่ละอันมาเรียงต่อกันเป็นปล้อง ๆ โดยด้านหน้ามีหมอนรองกระดูกกั้นอยู่ ส่วนด้านหลังเป็นข้อต่อเล็ก ๆ 2 ข้าง ทำให้ข้อกระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวได้ เช่น การก้ม การเงย ของคอ การก้มหลัง และแอ่นหลัง เป็นต้น” กระดูกสันหลังเสื่อมที่พบได้บ่อย ได้แก่            ข้อกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว และระดับคอ สำหรับการเสื่อมของกระดูกสันหลััง จะมีความแตกต่างกว่าข้อเข่าและข้อสะโพกคือ การเสื่อมส่วนใหญ่จะเริ่มเกิดขึ้นที่หมอนรองกระดูก ซึ่งเป็นตัวกั้นระหว่งกระดูกสันหลังแต่ละปล้อง หมอนรองกระดูกสันหลังมีลักษณะคล้ายเยลลี่ที่มีความยืดหยุ่น ทำหน้าที่เหมือนโช็คอัพ กระดูกสันหลังระดับบั้นเอวและระดับคอมีการใช้งานมากกว่าระดับอื่น จึงเสื่อมง่ายกว่า หมอนรองกระดูกบางส่วนอาจจะมีการเคลื่อนที่ไปกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามแขนหรือขาที่เส้นประสาทนั้น ๆ ไปเลี้ยงก็ได้ ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเสื่อม แต่ไม่ไปกดเส้นประสาทจะมีผลทำให้ข้อกระดูกสันหลังที่อยู่ด้านหลังมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการอักเสบหรือขรุขระหรืออาจมีกระดูกงอก อาการของกระดูกสันหลังเสื่อม           เจ็บปวดขึ้นบริเวณหลังและปวดร้าวลงมาบริเวณกระเบนเหน็บ หรือสะโพกทั้ง 2 ข้างได้ คนอ้วน คนที่ใช้หลังไม่ถูกต้อง เช่น ก้ม ๆ เงย ๆ ยกของหนัก มีโอกาสข้อกระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วกว่าคนอื่น การรักษา             ส่วนใหญ่คือการนอนพัก การรับประทานยาแก้อักเสบของกระดูกและข้อ การระมัดระวังไม่ใช้หลังอย่างผิด ๆ ถ้าไม่ดีขึ้นอาจต้องทำกายภาพบำบัด เนื่องจากโรคนี้มีโอกาสเป็นเรื้อรังในระยะยาวควรที่จะลดน้ำหนัก และบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังให้แข็งแรง การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การฉีดยา และการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา                     ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน Menopausal Syndrome

              โรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน Menopausal Syndrome ลักษณะทั่วไป โรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน มักพบในผู้หญิงที่ใกล้ประจำเดือนหมด หรือหมดไปแล้ว (อายุประมาณ 45-55 ปี) ผู้หญิงในวัยนี้ประมาณ 25% จะไม่มีอาการอะไรทั้งสิ้น ประมาณ 50% อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย และอีก 25% จะมีอาการไม่สบายต่าง ๆ ลักษณะทั่วไป              โรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน มักพบในผู้หญิงที่ใกล้ประจำเดือนหมด หรือหมดไปแล้ว (อายุประมาณ 45-55 ปี) ผู้หญิงในวัยนี้ประมาณ 25% จะไม่มีอาการอะไรทั้งสิ้น ประมาณ 50% อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย และอีก 25% จะมีอาการไม่สบายต่าง ๆ สาเหตุ มีสาเหตุมาจากการลดลงของฮอร์โมน เอสโตรเจนในร่างกายร่วมกับความแปรปรวนทางด้านจิตใจและอารมณ์ อาการ ก่อนประจำเดือนจะหมดอย่างถาวร มักมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอหรือประจำเดือนมาน้อย แล้วต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการร้อนซู่ซ่าตามผิวกาย เช่น บริเวณหน้าอก คอ และใบหน้า มีเหงื่อออก ใจสั่น ปวดตามข้อ ปวดศีรษะ บางคนอาจมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย ขี้วิตกกังวล ซึมเศร้า ไม่มีสมาธิและนอนไม่หลับ อาการอาจเป็นอยู่เพียง 2-3 สัปดาห์ หรือนานที่สุดถึง 5 ปี (เฉลี่ยประมาณ 2-3 ปี) แล้วจะหายไปได้เอง อาการแทรกซ้อน            เยื่อบุช่องคลอดบางและแห้ง ผิวหนังบาง และอาจมีภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกผุ (Osteoporosis) และย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ อาจมีการแตกหักของกระดูกง่ายการรักษา 1. ถ้าผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่ต้องให้ยารักษาแต่อย่างใด ควรให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่า อาการที่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามธรรมชาติและจะหายได้เองในไม่ช้า 2. ถ้ามีอาการไม่สบายมาก ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ถ้าหงุดหงิด นอนไม่หลับ ให้คลายเครียด หรือยานอนหลับ ถ้าปวดข้อหรือปวดศีรษะ ให้ยาแก้ปวด เป็นต้น 3. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือสงสัยว่ามีเหตุอื่น ควรปรึกษาแพทย์ อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติม ถ้าเป็นโรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน อาจให้กินฮอร์โมนเอสโตเจนทดแทน เพื่อลดอาการไม่สบายต่าง ๆ รวมทั้งป้องกันอาการเยื่อบุช่องคลอดบาง และภาวะกระดูกพรุน การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน อาจเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้   - ทานฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยคำสั่งแพทย์ วันที่ 1-25 ของแต่ละเดือน ร่วมกับ ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน ในวันที่ 14-25 ของเดือน หยุดกินทั้ง 2 ชนิด ตั้งแต่วันที่ 26 จนถึงสิ้นเดือน ผู้ป่วยจะมีเลือดประจำเดือนมาช่วงปลายเดือน  - ทานฮอร์โมนเอสโตรเจน และโพรเจสเตอโรน ร่วมกันทุกวันไม่มีเว้น ในระยะ 2-3 เดือนแรก อาจมีเลือดออกกระปริดกระปรอย หลังจากนั้นเลือดจะหยุดและไม่ออกอีกเลย  - ในกรณีที่ได้รับการผ่าตัด เอามดลูกออกไปแล้วให้ทานฮอร์โมนเอสโตเจนทุกวัน       ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สูติ-นรีเวช รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคมะเร็งปากมดลูก โรคที่ทำให้หญิงไทยเสียชีวิต 7 คน/วัน

มะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ 1 มากกว่ามะเร็งอื่นๆ ในผู้หญิงไทย ช่วงอายุ 35-50 ปี มีผู้ป่วยรายใหม่กว่า 6,000 คนต่อปี เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 7 คน/วัน และทำให้ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 อาการ ระยะเริ่มต้น จะไม่ปรากฏอาการใด ๆ แต่สามารถตรวจพบมะเร็งปากมดลูกได้จากการตรวจ แปปสเมียร์ (Pap Smear)  ระยะลุกลาม จะมีอาการตกขาว มีกลิ่น มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือตกขาวลักษณะคล้ายน้ำคาวปลา ถ้าเป็นมากอาจถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีอาการผิดปกติของระบบขับถ่ายอุจจาระได้ นอกจากนี้มะเร็งอาจกระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ปอด ตับ และกระดูก เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย (ต่ำกว่า 20 ปี) และมีคู่นอนหลายคน มีการอักเสบของปากมดลูกเนื่องจากการติดเชื้อ Human Papiloma Virus เริม หูดหงอนไก่ สตรีที่สูบบุหรี่ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ สตรีที่มีภูมิต้านทานต่ำ ขาดสารอาหาร เช่น โฟเลท วิตามินเอ วิตามินซี วิธีลดความเสี่ยง… เลี่ยงโอกาสเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก แนวทางหลักที่จะช่วยให้ห่างจากมะเร็งปากมดลูกก็คือ การลดโอกาสในการติดเชื้อเอชพีวีซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ  หลีกเลี่ยงการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การมีคู่นอนหลายคน และการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย  ตรวจ “แปปสเมียร์” (Pap smear Test) โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วหรืออายุ 30 ปีขึ้นไป ควรทำการตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อจะได้พบการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในระยะแรก ซึ่งจะสมารถรักษาให้หายได้ รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้ประมาณ 70% ควบคู่ไปกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ  การรักษา ถ้าเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะแรก ๆ การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดี แต่ถ้าเป็นระยะที่มะเร็งลุกลามมากแล้ว จะใช้รังสีรักษา โดยการฉายแสงร่วมกับการใส่แร่ หรือการผสมผสานระหว่างการผ่าตัดรังสีรักษา และการให้ยาเคมีบำบัด การป้องกัน มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคที่ป้องกันได้ แพทย์สามารถตรวจหา “ระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก” ได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ซึ่งวิธีการที่ใช้ตรวจหาระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก เรียกว่า การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) โดยการเก็บเอาเซลเยื่อบุบริเวณปากมดลูกไปตรวจหาเซลมะเร็ง หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หลายคู่นอน หลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถ้าไม่แน่ใจควรใช้ถุงยางอนามัย เมื่อมีอาการตกขาวผิดปกติ หรือเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรรีบไปพบแพทย์ สตรีที่มีเพศสัมพันธ์ทุกคน ควรได้รับการตรวจ Pap Smear เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละครั้ง รู้จักเชื้อเอชพีวี… ไวรัสที่อาจทำร้ายผู้หญิงในหลายรูปแบบ เชื้อเอชพีวีเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อได้ง่ายและมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยทั่วไปการติดเชื้อเอชพีวี ส่วนใหญ่จะหายไปได้เอง แต่ในบางคนหากร่างกายไม่สามารถกำจัดออกไปก็อาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เชื้อเอชพีวี แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ เอชพีวีชนิดที่ก่อมะเร็ง เช่น เอชพีวีสายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์อันตรายและเป็นสาเหตุถึง 70 % ของการเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งในช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอด เอชพีวีชนิดที่ไม่ก่อมะเร็ง แต่เป็นสาเหตุกการเกิดโรคอื่น ๆ เช่น เอชพีวีสายพันธ์ 6 และ 11 ซึ่งเป็นๆไวรัสที่มีความรุนแรงน้อย ถึงแม้ไม่ได้ทำให้เกิดโรคมะเร็งแต่ก็เป็นสาเหตุของโรคติดต่อบางชนิด เช่นโรคหูดบริเวณอวัยวะเพศ (หูดหงอนไก่) ซึ่งเป็นโรคที่รักษาได้แต่โดยทั่วไปมักจะพบการกลับมาเป็นซ้ำ ๆ อีก เชื้อเอชพีวีจะติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก โดยสามารถติดต่อได้ง่ายแม้เพียงแค่การ สัมผัสของอวัยวะเพศภายนอกก็ตาม การติดเชื้อเอชพีวีสมารถเกิดได้ทั้งการมีเพศสัมพันธ์ระหว่าง ชาย – หญิง , ชาย – ชาย หรือ หญิง – หญิง สำหรับผู้ชายถ้าหากได้รับเชื้อไวรัสนี้ ก็อาจจะทำให้เป็นมะเร็งที่อวัยวะเพศ เช่น ที่องคชาติหรือทวารหนัก แต่โดยทั่วไปผู้ชายจะเป็นพาหะของเชื้อไวรัสและแพร่ไปสู่ผู้อื่นผ่านการมีเพศสัมพันธ์  การฉีด HPV Vaccine (HPV Vaccination) เนื่องจากสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ oncogenic HPV ที่ปากมดลูก เชื้อ HPV สายพันธุ์ที่พบว่าเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกมากที่สุดคือ เชื้อ HPV 16 และ HPV 18 ซึ่งเป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 70 การฉีด HPV vaccine เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ HPV เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันปากมดลูกจากการติดเชื้อ HPV ได้ แพทย์ นพ. มนัส สุรทานต์นนท์ แผนกสูติ-นรีเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction)

              โรคกล้ามเนื้อหัวใจตามเฉียบพลัน คือ ภาวะที่เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายในที่สุด สาเหตุของโรค               เกิดจากการที่ก้อนไขมันในเส้นเลือดหัวใจเกิดการปริแตกออก ทำให้เกิดการจับตัวกันของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ อาการของโรค               เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนถูกกดทับ อาจมีอาการอึดอัด หายใจไม่ออกและมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ แขน หรือหลังได้ อาการมักจะรุนแรงและเป็นนานมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป ปัจจัยเสี่ยงต่อโรค 1. เพศชายอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป เพศหญิงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป 2. การสูบบุหรี่ 3. ภาวะไขมันในเลือดสูง 4. ความดันโลหิตสูง 5. โรคเบาหวาน 6. อ้วน การรักษา 1. การให้ออกซิเจน 2. การให้ยาแก้ปวด 3. การให้ยาขยายหลอดเลือด 4. การให้ยาต้านเกร็ดเลือด และยาละลายลิ่มเลือด 5. การรักษาอย่างอื่น ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปโดยทั่วไป ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ เพราะผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจสัญญาณชีพจร และควรจะได้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจอยู่ตลอดเวลา ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว ให้อมยาไนโตรกลีเซอรีน หรือไนเตรตใต้ลิ้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบมาโรงพยาบาล วิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค 1. หยุดสูบบุหรี่ 2. ควบคุมโรคความดันโลหิตสูง 3. ถ้าเป็นเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี 4. ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้เหมาะสม โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลต่ำ งดอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว และกะทิ 5. ปรับปริมาณแคลอรี่ในอาหารให้พอดี เพื่อให้ได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับความสูง 6. ออกกำลังกายพอประมาณทุกวัน หรืออย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์           ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เด็กกับโรคฟัน

           เด็กกับโรคฟัน โรคฟันที่สำคัญสำหรับเด็ก ได้แก่ โรคฟันผุ สาเหตุของฟันผุ ฟันผุ เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ในช่องปากทำปฏิกิริยากับน้ำตาลในคราบอาหาร ทำให้เกิดกรด ซึ่งมีความเข้มข้นสูงพอที่จะทำลายผิวฟัน ทำให้ฟันผุ โรคฟันที่สำคัญสำหรับเด็ก ได้แก่ โรคฟันผุ สาเหตุของฟันผุ       ฟันผุ เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ในช่องปากทำปฏิกิริยากับน้ำตาลในคราบอาหาร ทำให้เกิดกรด ซึ่งมีความเข้มข้นสูงพอที่จะทำลายผิวฟัน ทำให้ฟันผุ ตามปกติถ้าสภาพฟันที่สะอาดไม่มีแผ่นคราบอาหารจับอยู่ตามผิวฟัน น้ำลายจะมีคุณสมบัติเป็นด่างเล็กน้อยซึ่งจะทำหน้าที่เป็น buffer ที่ทำให้เกิดจากสมดุลของภาวะกรด-ด่าง ในช่องปากอยู่เสมอ แต่ถ้าสภาพปากไม่สะอาด มีเศษอาหารจับอยู่ตามซอกมาก น้ำลายจะเปลี่ยนคุณสมบัติเป็นกรด เนื่องจากแบคทีเรีย STREPTOCUCCUS MUTANS จะผลิตเอนไซม์ ออกมากย่อยน้ำตาลซูโครส (sucrose) เกิดกรดในช่องปาก ระหว่างนั้นถ้าเกิดปฏิกิริยาทำให้มีกรดเกิดขึ้น ปริมาณมากจนระดับความเป็นกรด-ด่าง ในช่องปากลดลงต่ำกว่า 4.5 ผิวฟันจะถูกกรดกัดทำลาย โดยจะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมในผิวฟันและเนื้อฟันละลายเอาธาตุแคลเซียมและฟอสเฟตออกไป ผิวฟันจะเกิดการกร่อนยุ่ย นิ่มเป็นขุย เกิดเป็นรูผุขึ้นรูผุนี้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาก็จะขยายใหญ่ขึ้น และลึกลงไปใกล้โพรงประสาท ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเสียว หรือปวดฟันตามมา ขั้นตอนการลุกลามของโรคฟันเด็กและการรักษา 1. ฟันผุระยะเริ่มต้น เป็นการเกิดรูพรุนในชั้นเคลือบฟัน ฟันผุเป็นรูตื้นๆ มองเห็นเป็นจุดสีน้ำตาล หรือสีดำบนผิวฟันระยะนี้จะยังไม่มีอาการปวดหรือเสียวฟัน การรักษา  เคลือบหลุมร่องฟันหรืออุดฟัน 2. ฟันผุลึกลงไปกับชั้นเนื้อฟัน ระยะนี้จะเริ่มมีอาการเสียวฟัน สังเกตได้โดยเฉพาะเวลาดื่มน้ำเย็น การรักษา อุดฟัน โดยมีวิธีการที่ยุ่งยากมากขึ้น ซึ่งบางกรณีอาจมีการใส่ยาชาก่อนทำการอุดฟัน เพื่อป้องกันการเสียวหรือเจ็บระหว่างอุดฟัน 3. ฟันผุลึกโพรงประสาทฟัน จะพบอาการปวดฟันร่วมด้วยเสมอ การรักษา ตัดประสาทส่วนบนที่ติดเชื้อออก และใส่ยารักษาประสาทฟันส่วนที่เหลือไว้ (PULPOTOMY) และทำการอุดฟัน แต่ถ้าฟันผุมากจนอุดไม่ได้ ทันตแพทย์จะครอบฟันโลหะให้ ซึ่งฟันครอบนี้จะหลุดตามอายุฟันน้ำนม เมื่อถึงเวลาที่ฟันแท้ขึ้น 4. เมื่อมีหนองอักเสบรอบรากฟัน ระยะนี้อาจพบอาการบวมร่วมด้วย อาการจะรุนแรงกว่าระยะอื่น ๆ ที่กล่าวมา อาการปวดจะรุนแรงและทรมานมาก บางรายจะมีอาการอ้าปากไม่ขึ้น แก้มบวม คางโย้ ตาปิด  การรักษา ในกรณีที่พอรักษาได้ จะรักษาคลองรากฟันและครอบฟัน ในกรณีที่เป็นมากรักษาไม่ได้ จำเป็นต้องถอนฟันและใส่เครื่องมือกันฟันล้ม เพื่อเก็บช่องว่างไว้ให้ฟันแท้ขึ้น วิธีป้องกัน - แปรงฟันให้สะอาดอย่างถูกวิธี ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์หลังอาหารทุกมื้อ อย่าปล่อยให้มีคราบอาหารติดอยู่ในช่องปากเป็นเวลานาน - ตรวจเช็คสุขภาพฟันกับทันตแพทย์ทุก 6 เดือน - ในฟันกรามที่มีหลุมร่องฟันลึก จะเก็บกักเศษอาหารและทำความสะอาดยาก ทำให้ฟันผุได้ง่ายควรให้ทันตแพทย์เคลือบปิดร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุ - ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์แก่เด็ก เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก ผลไม้ ส่วนอาหารหวานและติดฟัน ควรหลีกเลี่ยง                              ด้วยความปรารถนาดีจาก                     ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<