เด็กกับโรคฟัน

           เด็กกับโรคฟัน โรคฟันที่สำคัญสำหรับเด็ก ได้แก่ โรคฟันผุ สาเหตุของฟันผุ ฟันผุ เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ในช่องปากทำปฏิกิริยากับน้ำตาลในคราบอาหาร ทำให้เกิดกรด ซึ่งมีความเข้มข้นสูงพอที่จะทำลายผิวฟัน ทำให้ฟันผุ โรคฟันที่สำคัญสำหรับเด็ก ได้แก่ โรคฟันผุ สาเหตุของฟันผุ       ฟันผุ เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ในช่องปากทำปฏิกิริยากับน้ำตาลในคราบอาหาร ทำให้เกิดกรด ซึ่งมีความเข้มข้นสูงพอที่จะทำลายผิวฟัน ทำให้ฟันผุ ตามปกติถ้าสภาพฟันที่สะอาดไม่มีแผ่นคราบอาหารจับอยู่ตามผิวฟัน น้ำลายจะมีคุณสมบัติเป็นด่างเล็กน้อยซึ่งจะทำหน้าที่เป็น buffer ที่ทำให้เกิดจากสมดุลของภาวะกรด-ด่าง ในช่องปากอยู่เสมอ แต่ถ้าสภาพปากไม่สะอาด มีเศษอาหารจับอยู่ตามซอกมาก น้ำลายจะเปลี่ยนคุณสมบัติเป็นกรด เนื่องจากแบคทีเรีย STREPTOCUCCUS MUTANS จะผลิตเอนไซม์ ออกมากย่อยน้ำตาลซูโครส (sucrose) เกิดกรดในช่องปาก ระหว่างนั้นถ้าเกิดปฏิกิริยาทำให้มีกรดเกิดขึ้น ปริมาณมากจนระดับความเป็นกรด-ด่าง ในช่องปากลดลงต่ำกว่า 4.5 ผิวฟันจะถูกกรดกัดทำลาย โดยจะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมในผิวฟันและเนื้อฟันละลายเอาธาตุแคลเซียมและฟอสเฟตออกไป ผิวฟันจะเกิดการกร่อนยุ่ย นิ่มเป็นขุย เกิดเป็นรูผุขึ้นรูผุนี้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาก็จะขยายใหญ่ขึ้น และลึกลงไปใกล้โพรงประสาท ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเสียว หรือปวดฟันตามมา ขั้นตอนการลุกลามของโรคฟันเด็กและการรักษา 1. ฟันผุระยะเริ่มต้น เป็นการเกิดรูพรุนในชั้นเคลือบฟัน ฟันผุเป็นรูตื้นๆ มองเห็นเป็นจุดสีน้ำตาล หรือสีดำบนผิวฟันระยะนี้จะยังไม่มีอาการปวดหรือเสียวฟัน การรักษา  เคลือบหลุมร่องฟันหรืออุดฟัน 2. ฟันผุลึกลงไปกับชั้นเนื้อฟัน ระยะนี้จะเริ่มมีอาการเสียวฟัน สังเกตได้โดยเฉพาะเวลาดื่มน้ำเย็น การรักษา อุดฟัน โดยมีวิธีการที่ยุ่งยากมากขึ้น ซึ่งบางกรณีอาจมีการใส่ยาชาก่อนทำการอุดฟัน เพื่อป้องกันการเสียวหรือเจ็บระหว่างอุดฟัน 3. ฟันผุลึกโพรงประสาทฟัน จะพบอาการปวดฟันร่วมด้วยเสมอ การรักษา ตัดประสาทส่วนบนที่ติดเชื้อออก และใส่ยารักษาประสาทฟันส่วนที่เหลือไว้ (PULPOTOMY) และทำการอุดฟัน แต่ถ้าฟันผุมากจนอุดไม่ได้ ทันตแพทย์จะครอบฟันโลหะให้ ซึ่งฟันครอบนี้จะหลุดตามอายุฟันน้ำนม เมื่อถึงเวลาที่ฟันแท้ขึ้น 4. เมื่อมีหนองอักเสบรอบรากฟัน ระยะนี้อาจพบอาการบวมร่วมด้วย อาการจะรุนแรงกว่าระยะอื่น ๆ ที่กล่าวมา อาการปวดจะรุนแรงและทรมานมาก บางรายจะมีอาการอ้าปากไม่ขึ้น แก้มบวม คางโย้ ตาปิด  การรักษา ในกรณีที่พอรักษาได้ จะรักษาคลองรากฟันและครอบฟัน ในกรณีที่เป็นมากรักษาไม่ได้ จำเป็นต้องถอนฟันและใส่เครื่องมือกันฟันล้ม เพื่อเก็บช่องว่างไว้ให้ฟันแท้ขึ้น วิธีป้องกัน - แปรงฟันให้สะอาดอย่างถูกวิธี ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์หลังอาหารทุกมื้อ อย่าปล่อยให้มีคราบอาหารติดอยู่ในช่องปากเป็นเวลานาน - ตรวจเช็คสุขภาพฟันกับทันตแพทย์ทุก 6 เดือน - ในฟันกรามที่มีหลุมร่องฟันลึก จะเก็บกักเศษอาหารและทำความสะอาดยาก ทำให้ฟันผุได้ง่ายควรให้ทันตแพทย์เคลือบปิดร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุ - ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์แก่เด็ก เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก ผลไม้ ส่วนอาหารหวานและติดฟัน ควรหลีกเลี่ยง                              ด้วยความปรารถนาดีจาก                     ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<