ทำความรู้จัก "แคดเมียม" สาเหตุโรคมะเร็งและโรคอิไต อิไต

แคดเมียม (Cadmium) มีสูตรทางเคมีคือ Cd
ค้นพบปี พ.ศ. 2360 ซึ่งในธรรมชาติมักปะปนอยู่ในแร่สังกะสีซัลไฟด์ และเป็นผลพลอยได้จากการถลุงแร่ สังกะสี แคดเมียมเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติอ่อน งอได้ มีสีขาวปนน้ำเงินเป็นโลหะที่ทนต่อการกัดกร่อน มีจุด หลอมเหลวประมาณ 321 องศาเซลเซียส หากหลอมเหลวด้วยความร้อน และความกดดันสูงทำให้กลายเป็นไอ ควัน ในรูปแบบแคดเมียมออกไซด์ นอกจากนี้แคดเมียมอาจอยู่ในรูปเกลือหรือสารประกอบต่างๆ เช่น แคดเมียมออกไซด์ มีสีแดง แคดเมียมซัลเฟต มีสีเหลือง ใช้ในการผลิตสี และแบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียม เป็น ต้น

 

การเข้าสู่ร่างกายและกลไกการเกิดโรค

  • ทางการหายใจ ฝุ่นละอองที่มีสารแคดเมียม และไอควันแคดเมียมออกไซด์ การสูบบุหรี่
  • ทางการกิน ปนเปื้อนจากอาหาร แหล่งน้ำ และดินที่เพาะปลูก มักถูกดูดซึมในทางเดินอาหารร้อยละ 2-6 แต่ในภาวะที่ร่างกายขาดธาตุเหล็กจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมากถึงร้อยละ 20

เมื่อแคดเมียมถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วนั้น ร้อยละ 80-90 จะจับกับโปรตีน (metallothionin) ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดพิษจากแคดเมียม และร้อยละ 50 ของแคดเมียมที่มีอยู่ทังหมดในร่างกาย สะสมอยู่ที่ตับ และไต
แคดเมียมมีระยะกึ่งชีพยาวนาน 7-30 ปี ตามปกติแคดเมียมถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ แต่ อัตราการขับออกทางปัสสาวะค่อนข้างต่ำและจำนวนเล็กน้อย ถูกขับออกทางน้ำดี น้ำลาย ผม และเล็บ


อาการเฉียบพลัน


(จากการหายใจรับไอควันแคดเมียม)    อาการเฉียบพลัน
(จาการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มี
แคดเมียมเกินกว่า 15 มก/ลิตร)
ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน ไข้หนาวสั่น อ่อนเพลีย    คลื่นไส้ อาเจียน
คลื่นไส้ อาเจียน    ปวดท้อง ท้องเสีย
เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก    สูญเสียน้ำ และเกลือแร่ อาจช็อกและไตวาย
 

อาการเรื้อรัง

  • เกิดพังผืดที่ปอด ถุงลมโป่ งพอง
  • พิษต่อไต
  • โรคกระดูก กระดูกพรุน กระดูกเปราะ และ หักง่าย ปวดขาและเดินลำบาก
  • อาจพบภาวะโลหิตจางจากการแตกของเม็ดเลือดแดง และก่อให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก
  • สำหรับพิษต่ออวัยวะสำคัญ คือ พิษต่อไต โดยมีการอักเสบที่ไต ทำให้สูญเสียการทำงานของไต ซึ่งทำให้การดูดซึมโปรตีนกลับจากปัสสาวะลดลง รวมทั้งมีการขับโปรตีนออกมาในปัสสาวะมากขึ้น และขับแคลเซียมฟอสฟอรัส ออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นทำให้เกิดไตวายเรื้อรังในที่สุด หากเกิดขึ้นแล้วจะไตจะเสื่อมถาวร แม้ไม่ได้รับแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายแล้ว ไตก็ไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้

โรคอิไต อิไต
เป็นโรคพิษแคดเมียมที่มีผลต่อกระดูก การที่ไตขับแคลเซียมและฟอสฟอรัส ออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ต่อ เมแทโบลิซึมของกระดูก ทำให้เกิดกระดูกเปราะ กระดูกพรุน และ หักง่าย
แคดเมียมกับมะเร็ง ซึ่งมีผล
 
แคดเมียมจัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง การรับสารแคดเมียมเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง ต่อมลูกหมาก และมะเร็งปอด ได้ เป็นต้น
แคดเมียมก่อให้เกิดโลหิตจาง

 
แคดเมียมยังก่อให้เกิดการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ภาวะซีด
ฝุ่น pm 2.5 ที่มีฝุ่นละอองของแคดเมียม
 
และก่อให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก ทำให้เกิด
 
มีผลกระทบต่อ โรคทางเดินหายใจ โรคปอด โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น
การป้องกัน
1.    หลีกเลี่ยงอาหารที่ปลูกและผลิตในพื้น ที่ ที่มีการปนเปื้อนของแคดเมียมในปริมาณที่สูง
2.    หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีคนกำลังสูบบุหรี่
3.    สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละออง แคดเมียม ป้องกันไอควันแคดเมียม ให้เหมาะสม

 4. งดเข้าพื้นที่เสี่ยง
 5. หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจ า โดยเฉพาะการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูภาวะความเสื่อมของไต 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 1. ในกรณีสูดดม ฝุ่นละอองแคดเมียม หรือไอควันแคดเมียม ให้ ออกจากพื้นที่นั้น รับอากาศ บรสทธ และส่งแพทย์ทันที
 2. หากมีการกลืนกิน หรือดื่ม อาหารหรือน้ำดื่มที่มีแคดเมียมปนเปื้อน ให้ดื่มน้ำตามทันที 2 แก้ว แล้วรีบพบแพทย์ 
 3. หากฝุ่นละอองแคดเมียมหรือ ไอควัน เข้าตา อาจ มีอาการแสบเคืองตา น้ำตาไหล ให้ล้างตา ด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากๆ 
และพบจักษุแพทย์ 
4. หากสัมผัสทางผิวหนัง ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกทันที ล้างด้วยน้ำไหลผ่าน รีบพบแพทย์
 5. งดเข้าพื้นที่เกิดเหตุ ติดตามสถานการณ์ สังกตุอาการตนเอง หากผิดปกติ รีบพบแพทย์

 แพทย์หญิง นวพรรณ ผลบุญ 
แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ 
ศูนย์อาชีวอนามัย โรงพยาบาลวิภาวดี