Monkeypox

Monkeypox: Overview, Symptoms, and Prevention Monkeypox, also known as simian smallpox, is caused by a virus found in rodents on the African continent. This virus can spread to other animals and humans. The disease was first identified in monkeys used in laboratory research, which is why it is called "monkeypox." Current Outbreaks: Recently, outbreaks have been reported primarily in North America and Europe. This year, a significant outbreak occurred in Africa, with a mortality rate of up to 3.4%. The outbreak has been linked to the Clade 1b virus, different from previous strains. Monitoring and tracking the Clade 1b strain in Thailand is crucial, as it poses a significant threat and requires vigilant surveillance to prevent its spread. Symptoms to Watch For: Symptoms typically appear 7-14 days after exposure to the virus and may include: Fever, fatigue, headache, and body aches. Swollen lymph nodes. A rash that appears 1-3 days after the fever, progressing through the following stages: Raised red bumps resembling a rash. The bumps fill with clear fluid, causing itching and a burning sensation. The fluid-filled bumps become pus-filled. In severe cases, the bumps may burst and eventually dry up, healing within 2-4 weeks. Some patients may experience additional symptoms, such as diarrhea, vomiting, sore throat, cough, and difficulty breathing. Individuals with weakened immune systems or underlying health conditions may develop complications, leading to severe and potentially life-threatening symptoms. Prevention: Wash hands regularly with soap or alcohol-based hand sanitizer, especially after handling pets or touching surfaces. Wear a mask in areas at high risk of spreading the virus. Avoid contact with infected individuals or animals that could carry the virus. Receiving the smallpox vaccine can reduce the risk of contracting monkeypox. References: Department of Disease Control. "Monkeypox: Transmission from Animals to Humans, Prevention Measures." 2022.  https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=25415&deptcode=

See More

RSV in Adults: A Hidden and Dangerous Threat

RSV Disease: An Overview RSV, or Respiratory Syncytial Virus, is a contagious virus that infects the respiratory tract, affecting both the upper airways (bronchi) and lower airways (lungs). It spreads through inhalation of droplets from an infected person's cough or sneeze, or by touching contaminated surfaces such as tables and chairs. Symptoms and Severity While RSV symptoms can resemble those of the common cold, the disease can progress to affect the lower respiratory tract, leading to bronchitis, bronchiolitis, and pneumonia. Symptoms are often more severe in older adults compared to children. Why is RSV More Recognized in Children than Adults? Children often spread RSV in schools and bring it home, infecting family members, including elderly relatives and parents. Adults are more susceptible to RSV infection but often go undiagnosed as healthcare providers may test for influenza or COVID-19 instead. RSV has no specific treatment and is managed symptomatically. In elderly individuals, who often have comorbidities, the risk of severe illness and death is higher. The mortality rate from RSV in adults is approximately 12%, significantly higher than the 0.12% mortality rate in children. Prevention and Vaccination RSV is highly contagious, so proper prevention measures are crucial. These include frequent hand washing, wearing masks, not sharing personal items, avoiding close contact with infected individuals, maintaining social distance, and getting vaccinated. RSV Vaccine for Adults Vaccination can help reduce the severity of RSV symptoms and prevent serious infections. This is especially important as there is no specific treatment for RSV. The vaccine is particularly recommended for adults with respiratory conditions such as asthma and COPD, as well as chronic diseases like diabetes and kidney disease. Vaccination Guidelines for Adults Aged 50 and Above The Adjuvanted RSVPreF3 vaccine, registered in Thailand, stimulates the immune system to protect against lower respiratory tract diseases caused by RSV in: Adults aged 60 and older; Adults aged 50 to 59 with risk factors for severe RSV-related diseases. The vaccine is 94.6% effective in preventing lower respiratory tract diseases in high-risk individuals with underlying health conditions. By understanding and addressing the risks associated with RSV, particularly in adults, we can take significant steps to protect vulnerable populations and reduce the impact of this silent threat. Reference Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2023. RSV transmission. www.cdc.gov/rsv/about/transmission.html Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2023. RSV for healthcare professionals. https://www.cdc.gov/rsv/clinical/index.html Nam HH and Ison MG. BMJ 2019;366:l5021 Otomaru H et al. Am J Epidemiol 2021;190:2536–2543 Allen KE et al. Diagn Microbiol Infect Dis 2018;92:206–209 Hurley LP et al. Vaccine 2019;37:565–570 Binder W et al. Am J Emerg Med 2017;35:1162–1165 Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2023. RSV in Older Adults and Adults with Chronic Medical Conditions. https://www.cdc.gov/rsv/high-risk/older-adults.html  Belongia EA et al. Open Forum Infect Dis 2018;5:ofy316 Chuaychoo B, Rattanasaengloet K, Banlengchit R, Horthongkham N, Athipanyasilp N, Totanarungroj K, et al. Characteristics, complications, and mortality of respiratory syncytial virus compared with influenza infections in hospitalized adult patients in Thailand. International Journal of Infectious Diseases. 2021 Sep;110:237–46. Naorat S, Chittaganpitch M, Thamthitiwat S, Henchaichon S,Sawatwong P, Srisaengchai P, Lu Y, Chuananon S, Amorninta-pichet T, Chantra S, et al. Hospitalizations for acute lower tract infection due to respiratory syncytial virus inThailand, 2008-2011. J Infect Dis 2013;208:S238–S245. Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2022. RSV Prevention. https://www.cdc.gov/rsv/about/prevention.html Papi, Alberto et al. “Respiratory Syncytial Virus Prefusion F Protein Vaccine in Older Adults.” The New England journal of medicine vol. 388,7 (2023): 595-608. doi:10.1056/NEJMoa2209604

See More

โรคหัด ผู้ใหญ่ก็เป็นได้

โรคหัด เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Measles เป็นโรคที่มีอาการแสดงชัดเจน คือ จะมีผื่นสีน้ำตาลแดงขึ้นตามร่างกาย พบได้บ่อยตลอดทั้งปี แต่มักมีการแพร่ระบาดสูงในช่วงหน้าร้อน สามารถติดต่อกันได้หรือไม่? โดยโรคหัดสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ โดยผ่านทางลมหายใจ การสัมผัส ซึ่งเชื้อไวรัสโรคหัดจะแพร่ระบาดจากละออง ไอ จาม ของคนไข้ที่กระจายอยู่ในอากาศ ทำให้หากมีคนอื่นที่อยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกันที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดสูดหายใจเข้าไป หรือสัมผัสถูกเชื้อแล้วนำไปขยี้ตา แคะจมูก หรือหยิบอาหารรับประทาน ก็จะมีโอกาสติดโรคหัดได้   สามารถหายเองได้หรือไม่? ซึ่งโรคหัดเมื่อเป็นแล้วจะสามารถหายเองได้ภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ทว่าในผู้ป่วยบางราย ก็อาจพบภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจนกระทั่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นแนะนำว่าหากมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าจะติดเชื้อโรคหัด แนะนำให้รีบมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา   โดยส่วนใหญ่คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าโรคหัดจะพบได้เฉพาะในเด็กเท่านั้น แต่ผู้ใหญ่เองก็สามารถเป็นโรคหัดได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน โดยปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคหัดจัดอยู่ในภาวะที่ทั่วโลกต่างเฝ้าระวัง ตามคำประกาศเตือนขององค์การอนามัยโลก เพราะสามารถติดต่อแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัดยังอาจเป็นอันตรายจนถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ด้วย   อาการของโรคหัด จะมีลักษณะคล้ายการเป็นหวัด คือจะมีอาการคัดจมูก ไอ จาม และมีไข้สูง ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีความรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อย ปวดเมื่อย ไม่อยากอาหาร เป็นต้น   อาการแสดงสำคัญของโรคหัดที่สามารถทำให้สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคหัดคือ มีจุดสีเทาขาวภายในกระพุ้งแก้ม มีผื่นสีน้ำตาลแดงขึ้นตามร่างกาย โดยเริ่มจากศีรษะ คอ และลามไปตามร่างกาย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคันจากผื่นร่วมด้วย   ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคหัด อาจเป็นได้ทั้งการเกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ  อาทิ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ รวมถึงอาจเป็นการเกิดอาการผิดปกติในระบบประสาท  อย่างเช่น ภาวะสมองอักเสบ ซึ่งแม้จะมีโอกาสเกิดได้น้อย แต่ถือว่าอันตรายมาก แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคหัดจากอาการแสดง รวมถึงลักษณะของผื่น โดยเฉพาะการพบจุดขาวที่กระพุ้งแก้ม และจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ   การรักษา จะเป็นไปในลักษณะของการรักษาตามอาการ  เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโดยตรง เช่นหากพบว่าผู้ป่วยมีไข้ ก็ให้ยาลดไข้ บรรเทาปวด ควบคู่ไปกับการให้คนไข้ได้พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆ โดยแยกคนไข้ออกจากคนอื่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ และเฝ้าดูอาการแทรกซ้อนต่างๆ จนการดำเนินของโรคหายไปเอง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน   การป้องกัน การป้องกันตัวเองจากโรคหัดนั้น สามารถทำได้ด้วยการรับวัคซีน MMR หรือ Measles, Mumps and Rubella Vaccine ซึ่งสามารถป้องกันได้ทั้งโรคหัด หัดเยอรมัน และโรคคางทูม โดย จะฉีดกันเข็มแรกในตอนอายุ 9-12 เดือน เข็มที่ 2 ตอนอายุ 2 ขวบครึ่ง และปัจจุบันเพื่อเป็นการควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทาง WHO แนะนำให้ฉีดกระตุ้นทุกๆ 10 ปี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน   ด้วยความปราถนาดีจาก โรงพยาบาลวิภาวดี

See More

7 Tips for Boosting Your Happiness Hormones

7 Tips for Boosting Your Happiness Hormones On this International Day of Happiness, let's learn how to create happiness hormones for ourselves, leading to a more balanced life. The main happiness hormones are serotonin, dopamine, and endorphins. Here are 7 tips you can follow to stimulate the production of these hormones:   1.   Regular Exercise: Regular physical activity not only strengthens the body but also helps increase the levels of  "endorphins" in the body, which is a hormone that plays a role in creating feelings of happiness and reducing stress. 2.   Get Morning Sunlight: Sunlight helps stimulate the production of "serotonin" in the body, which is a hormone that  helps regulate mood and sleep. 3.   Listen to Favorite Music: While listening to music, the brain releases "dopamine" and "serotonin," which make us feel happy and good. The more concentrated these hormones are, the better the brain remembers those events. 4.   Eat Nutrient-Rich Foods: Protein, omega-3, and vitamin B help stimulate the production of happiness hormones in the body. 5.   Build Good Relationships: Spending time with loved ones and building good relationships with them can increase  levels of dopamine and endorphins in the body. 6.   Laugh Often: Laughing not only makes you feel good but also increases levels of endorphins and serotonin in the body. 7.   Engage in Activities You Love: Whether it's drawing, reading, or playing music, doing activities you love can stimulate the production of dopamine in the body.   The Benefits of Happiness on Health In the world of medicine and health, happiness is not just a feeling of satisfaction but also a significant factor affecting our physical and mental health. Being happy can reduce stress, which is a major cause of various diseases including heart disease, high blood pressure, and depression. Moreover, happiness is also linked to increased lifespan and a strong immune system.   Being happy also has positive effects on those around us because happiness is contagious. When we are happy, we tend to share that feeling with others, creating an atmosphere that fosters happiness and emotional support among friends and family.   On this International Day of Happiness, let's take this opportunity to reflect on the importance of happiness in our lives and find ways to increase happiness for ourselves and those around us. Whether through maintaining good health, fostering supportive relationships, or engaging in activities we enjoy, taking care of our mental health is crucial. Try incorporating these tips into your daily life and bring happiness to yourself every day!          

See More

Differences between PRK and FEMTO LASIK

Many people are wondering how many methods of LASIK surgery there are? Let's look at the differences between PRK and FEMTO LASIK to compare which type is right for you. And which type of recovery time is suitable for your lifestyle? 1. Difference: TRANS-PRK: is a method of laser eye surgery that does not require a blade. It peels off the top layer of the cornea and uses a laser to reshape the cornea to correct vision. All this is done in one step. FEMTO LASIK: It is a method of laser eye surgery that uses two types of lasers. This method will create a pool. (like a thin sheet) on the cornea first Then another laser is used to reshape the cornea beneath the flap to correct vision.   2. Suitable for vision: TRANS-PRK: Suitable for people with nearsightedness, astigmatism, or moderate farsightedness (total no more than 600). FEMTO LASIK: suitable for people with nearsightedness (100-1000), astigmatism (600).   3. Surgical steps: TRANS-PRK: Uses a laser to peel away the surface of the cornea and adjust the corneal curvature in one step. FEMTO LASIK: The corneal layers are separated using a femtosecond laser and the laser is fired. To adjust the curvature of the cornea 4. Surgery time: TRANS-PRK: approximately 10-15 minutes per eye FEMTO LASIK: approximately 15-20 minutes per eye   5. Recovery time: TRANS-PRK: Recovery may take approximately 3-4 days and may take several weeks to achieve clear vision. FEMTO LASIK: Fast recovery You can return to normal activities the next day after surgery. and have better vision quickly   6. See clearly: TRANS-PRK: It may take several weeks to have clear vision. FEMTO LASIK: Improved vision may occur quickly after surgery. and can be clearly seen the next day Consult an ophthalmologist to determine which technique is best for you based on your eye condition and needs.   Make an appointment at Ophthalmology and Lasik Department Call 02-5611111 ext. 4312-3 and 081-988-6784

See More

Q&A วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกชนิดใหม่

ครั้งนี้โรคไข้เลือดออก ระบาดสูงสุดในรอบ 5 ปี ! ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกสะสมย้อนหลัง 15 ปี สูงถึง 1,237,467 ราย และเสียชีวิตกว่า 1,311 ราย ทั้งนี้อัตราการเสียชีวิตจะสูงในกลุ่มผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว มักเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรครุนแรงกว่ากลุ่มอื่นๆ   โดยโรคไข้เลือดออกพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ขณะนี้ได้มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกชนิดใหม่ ที่สามารถฉีดได้โดยไม่ต้องตรวจภูมิ หรือเคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้วก็สามารถฉีดได้ วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุระหว่าง 4-60 ปี วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้เลือดออกจากทุกสายพันธุ์ ได้สูงถึง 80.2%  ป้องกันไข้เลือดออกแบบรุนแรง 85.9% และป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้สูงถึง 90.4% ฉีดเพียงแค่ 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน ฉีดได้ทั้งคนที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน โดยไม่ต้องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด วัคซีนมีความปลอดภัย ผลข้างเคียงที่พบ แค่มีอาการปวดตรงตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนมากมักหายได้เอง ภายในเวลา 1-3 วัน   Q1: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ สามารถฉีดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่เลยไหม จำนวนเข็มในการฉีดเท่ากันหรือไม่ กี่เข็ม ห่างกันกี่เดือน? A1: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ สามารถฉีดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ใช้ปริมาณยา เท่ากัน ฉีดได้ตั้งแต่อายุระหว่าง 4-60 ปี   โดยฉีดจำนวน 2 เข็มเท่ากัน  ห่างกัน 3 เดือน   Q2: มาฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ก่อน 3 เดือนได้หรือไม่? A2: ไม่แนะนำการฉีดวัคซีนก่อน 3 เดือน เพราะว่าประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงที่สุดเมื่อเว้นระยะห่างระหว่างเข็ม 3 เดือน หากจำเป็นต้องเลื่อน ควรเลื่อนออกไปเกิน 3 เดือน ได้แต่ไม่ควรห่างนานเกินไป โดยไม่ต้องเริ่มเข็มแรกใหม่ อย่างไรก็ตามแนะนำให้มาฉีดเข็มที่ 2 ตามเวลาที่แพทย์นัด เพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพในการปกป้องโรคไข้เลือดออกจากวัคซีนที่สูงที่สุด   Q3: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก (Qdenga) ฉีดแล้วป้องกันได้กี่เปอร์เซ็น? A3: ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้ 100% หลังจากฉีดครบโดสแล้วก็ติดเชื้อได้ แต่จะลดอัตราการนอนโรงพยาบาลหรือความรุนแรงของโรคได้ เหมือนกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ ป้องกันไข้เลือดออกทุกสายพันธุ์ได้สูงถึง 80.2% ป้องกันไข้เลือดออกแบบรุนแรง 85.9% และป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้สูงถึง 90.4% ซึ่งนับว่ามีประสิทธิภาพที่สูง   Q4: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ แตกต่างจากวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกตัวก่อนอย่างไร? A4: เนื่องจากโครงสร้างของวัคซีน กระบวนการผลิตและหลักการในการผลิตของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน จึงอาจส่งผลต่อ ข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัยของวัคซีน รวมไปถึงจำนวนเข็มและระยะห่างของการฉีดวัคซีนแต่ละเข็มที่แตกต่างกัน โดยวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ 1: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดเดิม ผลิตที่ประเทศฝรั่งเศส ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 - 45 ปี สามารถฉีดได้เฉพาะคนที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อนเท่านั้น หากไม่มีประวัติการติดเชื้อยืนยัน ต้องทำการตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน ฉีด 3 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน (ที่เดือน 0, 6 และ 12) ชนิดที่ 2: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ ผลิตที่ประเทศเยอรมนี ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4 - 60 ปี สามารถฉีดได้ทั้งในคนที่เคยและไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน คือ ทุกคนสามารถฉีดได้โดยไม่ต้องทำการตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน ฉีดเพียง 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน (ที่เดือน 0 และ 3)           Q5: เคยเป็นไข้เลือดออกแล้ว ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกไหม? A5:  ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก เพราะไวรัสเดงกีที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกมีถึง 4 สายพันธุ์ การติดสายพันธุ์หนึ่ง ๆ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันได้เฉพาะสายพันธุ์นั้น ๆ และจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์อื่น ๆ ได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น อีกทั้งยังพบว่า การติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคแทรกซ้อนได้ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกจึงเป็นการลดโอกาสในการติดเชื้อ ลดโอกาสในการนอนโรงพยาบาล และลดโอกาสการเป็นโรคแทรกซ้อนได้   Q6: หลังจากหายเป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว สามารถฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกได้ทันทีเลยหรือไม่? A6:  แนะนำให้ผู้ที่หายจากไข้เลือดออกแล้ว เว้นระยะห่างอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนมารับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก เนื่องจากหลังจากติดเชื้อร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคไว้แล้ว ซึ่งจะลดน้อยลงตามเวลาผ่านไป การฉีดวัคซีนในช่วงที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคสูง อาจลดประสิทธิภาพของวัคซีนได้   Q7: วัคซีนมีความปลอดภัยแค่ไหน ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง? A7:  วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ มีความปลอดภัย มีการใช้แล้วในหลายประเทศทั่วโลก ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม เป็นเพียงผลข้างเคียงทั่วไป ได้แก่ อาการปวดตรงตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนมากมักหายได้เอง ภายในเวลา 1-3 วัน   Q8: ใครบ้างที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก? A8:  เนื่องจากโรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่ระบาดอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 65 ปี โดยมักระบาดหนักในสังคมเมือง ที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น แม้ไข้เลือดออกจะไม่ติดต่อทางการสัมผัสโดยตรงแบบโควิด-19 ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการใส่หน้ากากอนามัยและการฉีดวัคซีน แต่โรคไข้เลือดออกไม่สามารถป้องกันโรคโดยการใส่หน้ากากอนามัยได้ เพราะโรคนั้นติดต่อผ่านยุงลายที่เป็นพาหะที่มีเชื้อไข้เลือดออก หากยุงลายกัดคนที่มีเชื้อไข้เลือดออกแม้ไม่แสดงอาการ และมากัดเราต่อก็สามารถส่งต่อเชื้อได้ การป้องกันตนเองจากการโดยยุงกัดตลอดเวลานั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก การป้องกันไข้เลือดออกโดยการฉีดวัคซีนจึงเป็นวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ โรคไข้เลือดออกสามาถติดได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอายุ พบว่าไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคไข้เลือดออกรุนแรงได้เหมือนกัน ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีการระบาด คือ ประเทศไทย จึงควรได้รับวัคซีนในการป้องกันตนเองจากโรคนี้   Q9: คนกลุ่มใดบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออกรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น และจำเป็นต้องรับวัคซีนอย่างเร่งด่วน A9: เป็นกลุ่มเปราะบางที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นไข้เลือดออกรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น นั้นใกล้เคียงกับกลุ่มเปราะบางของโรคโควิด-19 และโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ กลุ่มคนอ้วน กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคธาลัสซีเมีย โรคเลือด โรคไต เป็นต้น กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มนี้อาจจะมีภูมิต้นทานต่ำและมีโรคประจำตัวร่วมหลายโรค         อ้างอิง World Health Organization. Dengue and severe dengue [Internet].. 2023 [cited 2023 Jun 20]. Available at: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dengue-and-severe-dengue.  [Accessed Jul 2023]. ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย ปี พ.ศ. 2566 แนะนำโดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566 เอกสารกำกับยาภาษาไทย คิวเดนกา Thai Product Information Qdenga ฉบับวันที่ 8 พฤษภาคม 2566

See More

โรคงูสวัด อันตรายที่ซ่อนอยู่ วิธีป้องกัน และวัคซีนงูสวัด

โรคงูสวัดเป็นการติดเชื้อไวรัส Varicella zoster ชนิดเดียวกับที่ก่อโรคสุกใส โดยการติดเชื้อนี้เป็นครั้งแรก จะแสดงอาการของโรคสุกใส ซึ่งจะมีตุ่มน้ำใสกระจายทั่วตัว ส่วนใหญ่มักจะเป็นในวัยเด็ก เพราะโรคสุกใสแพร่ระบาดได้ง่าย เนื่องจากติดต่อกันทางลมหายใจ หรือสัมผัสตุ่มน้ำ เมื่อโรคหายแล้ว เชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกายโดยซ่อนอยู่ที่ปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีภาวะภูมิถดถอยตามวัย เชื้อก็จะถูกกระตุ้นขึ้นมาก่อให้เกิดโรคงูสวัดที่มีความเสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพ ข้อมูลจากการศึกษาในหลายประเทศทั่วโลกพบว่า คนที่อายุ 50 ขึ้นไป มีความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัดเพิ่มสูงขึ้นมาก นอกจากนี้ยังพบว่าคนวัย(อายุ 50 ปีขึ้นไป) กว่า 90% เคยติดเชื้อไวรัสสุกใสมาแล้ว นั่นหมายความว่า ผู้คนเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคงูสวัด ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคปอด โรคไต รวมถึงผู้ที่เคยติดเชื้อ Covid-19 มีความเสี่ยงในการเป็นงูสวัดเพิ่มขึ้น   ความอันตรายของโรคงูสวัด โรคงูสวัดนั้น นอกจากจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและไม่สบายแล้ว ยังจะทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้องูสวัดที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคปวดเส้นประสาท (Post Herpetic Neuralgia – PHN) คือ มีอาการปวดเส้นประสาทตลอดเวลา นานหลายเดือนหรือหลายปีหลังจากผื่นหาย ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังจนเกิดเป็นแผลเป็น, งูสวัดขึ้นตา (HZO), ปัญหาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardiovascular disease) ภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง แม้พบไม่บ่อยแต่รุนแรงมาก เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื้อหุ้มสมองตาย ใบหน้าเป็นอัมพาตครึ่งซีก     ใครมีความเสี่ยงของโรคงูสวัดบ้าง • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี, ผู้ที่มีภาวะร่างกายภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น ติดเชื้อ HIV, ได้รับยากดภูมิคุ้มกันหรือยา steroid ขนาดสูงอย่างต่อเนื่อง • ผู้ที่เคยเป็นโรคงูสวัด มีโอกาสเป็นซ้ำประมาณ ร้อยละ 6.2 โดยมีปัจจัยเสี่ยง เช่น เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ อายุมากกว่า 50 ปี ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อ HIV คนไข้มะเร็ง   การดูแลรักษาและป้องกันโรคงูสวัด การรักษาโรคงูสวัด • ให้ยาต้านไวรัสได้เร็ว โดยเฉพาะในช่วง 72 ชม.แรกที่เกิดผื่นผิวหนัง จะช่วยย่นระยะเวลาของโรค และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้ • ดูแลผิวหนังในบริเวณนั้นให้สะอาดและหลีกเลี่ยงการเกาจะช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย • ในกรณีที่มีอาการรุนแรง อาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การป้องกันโรคงูสวัด • การจัดการความเครียด การรักษาสุขอนามัยจะช่วยลดโอกาสในการกระตุ้นขึ้นมาของเชื้อไวรัสได้ และหลีกเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดกับผู้มีอาการของโรคงูสวัดสามารถลดความเสี่ยงของการติดต่อได้ • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการของโรคงูสวัด • วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ถือเป็นวิธีป้องกันโรคงูสวัดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด   รู้จักวัคซีนโรคงูสวัด ในปัจจุบันมีวัคซีนโรคงูสวัดอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนแรง(ZVL) และ วัคซีน Protein Subunit ร่วมกับสารเสริมฤทธิ์ (Recombinant Zoster Vaccine - RZV) ซึ่งไม่ใช่วัคซีนเชื้อเป็น ผลศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าทั้งสองวัคซีนมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของโรคงูสวัดและโรคปวดเส้นประสาทได้ แต่วัคซีนชนิดที่ไม่ใช่เชื้อเป็น (Protein Subunit with adjuvant system)  แสดงให้เห็นประสิทธิภาพที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับวัคซีนเชื้อเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอายุที่มากขึ้น วัคซีนทั้งสองชนิดมีความปลอดภัยที่ดี โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปจะไม่รุนแรงและเป็นชั่วคราว   ข้อบ่งชี้ของวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด วัคซีนถือเป็นวิธีป้องกันโรคงูสวัดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย แนะนำให้ฉีดวัคซีนโรคงูสวัดสำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะกลุ่มอายุนี้มีความเสี่ยงสูง และเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่มีโรคประจำตัวหรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งหากเป็นวัคซีนงูสวัดชนิดที่ไม่ใช่เชื้อเป็น สามารถฉีดให้ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากโรค หรือยากดภูมิได้ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่เคยเป็นโรคงูสวัดมาก่อนเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดซ้ำ ซึ่งพบได้ราว 6 -10%   รู้จักวัคซีนโรคงูสวัดวัคซีนชนิด Recombinant Zoster Vaccine – RZV 1.เพื่อป้องกันโรคงูสวัด และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับโรคงูสวัด ในผู้ใหญ่ อายุ 50 ปีขึ้นไป (ให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน 2 โด๊ส ห่างกัน 2-6 เดือน) และผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัดมากกว่าปกติ (ให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน 2 โด๊ส ห่างกัน 1-2 เดือน)   2.ประสิทธิภาพของวัคซีนงูสวัด ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคงูสวัด 97% และประสิทธิภาพในการป้องกันโรคปวดเส้นประสาท (PHN) 91.2% ในผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคงูสวัด 89% เมื่อติดตามยาวนาน 10 ปี   3.กรณีที่คนไข้เคยเป็นโรคงูสวัดมาก่อน สามารถรับวัคซีนงูสวัดได้ โดยให้ 2 โด๊ส และเว้นห่างหลังจากหายจากโรคงูสวัด อย่างน้อย 6 เดือน   4.กรณีที่คนไข้เคยได้รับวัคซีนงูสวัดชนิดเชื้อเป็นมาก่อน สามารถรับวัคซีนงูสวัดได้ โดยให้ 2 โด๊ส และเว้นห่างหลังจากวัคซีนเดิม อย่างน้อย 2 เดือน   5.การให้วัคซีนงูสวัดร่วมกับวัคซีนตัวอื่น สามารถให้ได้ในวันเดียวกัน แต่คนละตำแหน่ง เช่น แขนคนละข้าง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนปอดอักเสบ วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก   การรู้จักโรคงูสวัดเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและรับมือกับโรคนี้ เพื่อปกป้องสุขภาพของตัวเราและคนที่เรารักให้ห่างไกลจากโรคงูสวัด

See More

See More

Migraine

Migraine: A Common Condition You Might Have Without Realizing In today's society, people are frequently exposed to various environmental factors, both external and internal, that can trigger migraines. These include prolonged screen time, extreme weather, and air pollution from PM2.5 particles. Many people suffer from migraines without realizing it. What is a Migraine? A migraine is a condition where the brain responds sensitively to environmental triggers, leading to severe headaches. Symptoms: Severe headache that can incapacitate, sometimes accompanied by tears, lasting 4-72 hours. Increased headache with head movement. Headache may come with nausea and, in severe cases, vomiting. Triggers include bright lights, extreme temperatures, and loud noises. Commonly affects younger individuals. Common Types of Migraine: Classic Migraine: Typically starts in adolescence and may diminish with age. Some may experience warning signs like flashes of light, vision loss, or numbness on one side, known as auras. Common Migraine: Usually affects the forehead, around the eyes, temples, and jaw, often on one side. These migraines typically lack warning signs. Less Common Types of Migraine: Hemiplegic Migraine: Causes temporary weakness on one side of the body. Ophthalmoplegic Migraine: Headache accompanied by drooping eyelid and double vision. Basilar Artery Migraine: Preceded by dizziness, imbalance, and double vision. Status Migrainosus: Prolonged headache lasting more than 72 hours, more intense than usual. Diagnosis: Diagnosis is based primarily on medical history and physical examination. Criteria include: At least 5 headache episodes Headache duration of 4-72 hours Headache must include at least 2 of the following characteristics: Unilateral pain with pulsating quality Intensity causing interference with daily activities Worsening with physical activity Accompanied by nausea/vomiting or sensitivity to light/noise Treatment for Migraine Patients: Symptom Control: Avoidance of Triggers: Avoid migraine-triggering foods such as alcohol (especially red wine), MSG, dairy products, chocolate, bananas, citrus fruits, coffee, and tea. Maintain a consistent sleep schedule. Avoid hormonal medications like contraceptives. Manage stress through exercise and meditation. Control environmental factors like temperature changes, flickering lights, and strong odors. Medication: Use pain relief medications cautiously as long-term use may cause side effects like stomach irritation and liver damage. Non-Pharmacological Treatments: Meditation Stress management Acupuncture Regular exercise Conclusion: Migraines are a common condition that can significantly impact daily life. Understanding the triggers and adopting preventive measures can help manage the condition. If you experience symptoms, consult a healthcare professional for appropriate diagnosis and treatment to maintain a better quality of life.

See More

Dietary Therapy for Patients with Gout

Dietary Therapy for Patients with Gout Gout is caused by an abnormal accumulation of uric acid (Uric acid) in the body. Uric acid comes from the metabolism of purines, which are nutrients that the body synthesizes itself and are commonly found in many types of food. Normally, the purines that the body receives are digested and turned into uric acid. In healthy individuals, the kidneys function to excrete uric acid in accordance with its production. The accumulation of uric acid leads to severe pain in the bones and around the joints. In men, uric acid should not exceed 8 milligrams per deciliter, and in women, it should not exceed 6 milligrams per deciliter. This disease can be genetically inherited. Controlling the Diet for Patients with Gout: Avoid all alcoholic beverages such as beer, liquor, as alcohol raises uric acid levels. Avoid foods high in purines. Foods with more than 150 milligrams of purines include chicken hearts, fish eggs, chicken liver, beef brain, chicken tendons, oysters, pork jelly, goose, pig liver, bone soup, catfish, yeast, chicken meat, duck, instant soup, soy sauce shrimp, meat extract, anchovy, black beans, small fish, red beans, mushrooms, green beans, seaweed, yellow beans, spleen, acacia, vegetable tops, organic fish, shrimp paste, canned sardines. Foods with moderate purines (50-150 mg) include pork, beef, seabass, squid, crab, peanuts, spinach, oat, kale, unpolished rice. Foods low in purines (0-50 mg) include milk and milk products, eggs, various vegetables, fruits, sugar, hard-shell fruits, fats, white rice, noodles, sweet potatoes. Avoid foods high in fat, such as fried foods and fatty meats, as fat in the body reduces uric acid excretion. Limit the intake of dry legumes, such as red beans, yellow beans, and green beans. Soy milk should not exceed 2 glasses per day. Avoid consuming vegetable shoots such as broccoli, sweet vegetable sprouts, Chinese watercress sprouts, bamboo shoots, foreign bamboo shoots, cabbage flowers, durian, seaweed, acacia, bitter vegetables. Avoid fermented foods that use yeast as an accelerator or component, like soy sauce. Any type of sprouted plant seeds will have a fairly high amount of uric acid, even if cooked. Avoid especially during pain. Recommended Dietary Practices for Patients with Gout: Eat plenty of fruits and mature vegetables. Consume a well-balanced diet from all 5 food groups. Drink plenty of clean water, 3 liters a day, to help excrete uric acid through urine. Maintain a normal body weight according to standard guidelines. Do not consume excessive amounts of animal meat.

See More