Vital Sign สัญญาณชีพ

Vital Sign สัญญาณชีพ          เวลาคุณไปโรงพยาบาล  คุณพยาบาลเค้าจะจับคุณชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตใช่ไหมคะ คุณรู้ไหมว่าเค้าเรียกว่าอะไร ศัพท์ทางการแพทย์เขาเรียกว่า  Vital Sign  หรือสัญญาณชีพ เพื่อเป็นข้อมูลให้คุณหมอทราบข้อมูลทางสุขภาพของคุณเบื้องต้นก่อน  Vital Sign  หลักๆก็มี 4 อย่างค่ะ   วัดอุณหภูมิร่างกาย (ถ้าไม่ได้ป่วยเป็นไข้ เขาก็อาจจะไม่วัด) อุณหภูมิร่างกายที่ปกติอยู่ที่ ๓๗ องศาเซลเซียส อนุญาตให้ไม่เกิน 37.5  ถ้าเกิน คือ มีไข้ค่ะ วัดความดันโลหิต ความดันโลหิต คือแรงดันที่หัวใจต้องทำงานในการสูบฉีดโลหิต ความดันโลหิตค่าปกติ ยอดนิยมอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ที่แสดงว่าสุขภาพดี คือ 110/70  แล้วอย่างไหนอันตรายกว่ากันระหว่างความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ  ความดันโลหิตถ้าสูงเกินไป ต่ำเกินไป อันตรายหมด แต่ความดันโลหิตสูงอันตรายกว่าค่ะ เพราะความดันโลหิตสูง  อาจไม่แสดงอาการปวดศีรษะ  และความดันโลหิตในระยะยาว ทำให้เกิดผลเสียต่อสมอง หัวใจและไต  การตรวจวัดความดันทำให้พบและรักษาได้ แทนที่จะเกิดปัญหาใหญ่ฯ  เช่น ไตวายหรือเส้นเลือดสมองแตก จะวัดได้ที่ไหน ถ้าที่ไหนมีตรวจสุขภาพฟรีๆ ก็เดินไปขอวัดความดันโลหิตได้เลยค่ะ หรือไปขอวัดตามโรงพยาบาลก็ได้ค่ะ วัดชีพจร คืออัตราการเต้นของหัวใจ ที่ปกติคือประมาณ 70-80  ครั้ง/นาที (ในผู้ใหญ่นะคะ) วัดจำนวนครั้งการหายใจ ปกติควรอยู่ที่ 20 – 26 ครั้งต่อนาที ในผู้ใหญ่เช่นกัน ข้อนี้บางทีเขาก็ไม่วัดค่ะ ถ้าไม่มาด้วยโรคระบบการหายใจคือดูจากชีพจรได้ วิชาการสมัยใหม่ เขากำลังรณรงค์ให้วัด  Vital Sign   ตัวที่ 5. คือ วัดรอบเอว คุณหมอด้านหัวใจจะชอบมากค่ะ เพราะแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงโรคหัวใจเช่นกัน (คือภาวะอ้วนลงพุง ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้) รอบเอวที่ปกติคือ ถ้าเป็นผู้ชาย ต้องไม่เกิน 90 ซม. ถ้าเป็นผู้หญิง ต้องไม่เกิน 80 ซม.ค่ะ            เอาเป็นว่า คุณเคยวัดความดันโลหิตกันบ้างรึยังคะ?  แล้วรอบเอวคุณเท่าไหร่เอ่ย ?

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ถ่ายเป็นเลือด บ่งบอกโรค

ถ่ายเป็นเลือด บ่งบอกโรค (บทความโดย ปูผัด )         สวัสดีค่ะ เช้านี้ใครถ่ายเป็นเลือดบ้างคะ ปูผัดถามอะไรแย่ๆใช่มั๊ยคะ แต่ว่าไม่ได้นะ เรื่องแบบนี้ บางทีเราก็ไม่กล้าเล่าให้ใครฟัง จะให้ไปหาหมอเหรอ ลืมไปได้เลย ในฐานะที่ปูผัดอยู่ในวงการนะคะ ได้ยินคำถามเรื่องถ่ายเป็นเลือดมานับครั้งไม่ถ้วน ปูผัดบอกได้เลยค่ะ ว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนกังวล มันก็มีข้อสังเกตุใหญ่ๆ 2 ข้อเท่านั้น คือถ่ายเป็นเลือดสด หรือเลือดคล้ำ แต่ก่อนอื่นมาสังเกตุดูนะคะ ว่าพฤติกรรมคุณเป็นยังไงบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณไม่เคยฝึกหัดเรื่องการเข้าห้องน้ำ ทำธุระตอนเช้าๆ หรือถ่ายเป็นเวลา คุณเป็นประเภทท้องผูกประจำ ชอบนั่งห้องน้ำนานๆ อ่านหนังสือพิมพ์ คุณทานผักสด ผลไม้น้อยมากๆ เพราะไม่มีเวลาเลือก แถมชอบทานเนื้อสัตว์อีกต่างหาก คุณไม่มีเวลาออกกำลังกาย คุณเครียด คุณไม่ค่อยดื่มน้ำเปล่า คุณนอนดึกประจำ หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ   ถ้าคุณมีสิ่งเหล่านี้เกิน 3 ข้อ ก็แย่แล้วค่ะ        ทีนี้ ปูผัดอยากรู้ว่า เวลาทำธุระเสร็จ คุณเคยก้ม หรือหันไปมองผลงานบ้างมั๊ย ? รู้มั๊ยคะ ว่าอุจจาระน่ะ เป็นตัวบ่งบอกสุขภาพที่ดีได้อย่างนึง เช่น ถ่ายดำ คล้ายมีมูกเลือดปนออกมา ก็ไม่ค่อยดี ถ่ายปกติ แต่มีเลือดสดๆตามมา ก็โล่งใจนิดนึง เพราะแสดงว่าเลือดออกมาจากส่วนปลายๆ เช่น ปากทวารสันนิษฐานเบื้องต้นว่าอาจเป็นริดสีดวงทวาร ยิ่งมีติ่งๆอะไรยื่นมาเสริม ยิ่งชัวร์ค่ะ แต่ถ่ายแบบมีเลือดปะปนกับอุจจาระออกมา ไม่ค่อยดีค่ะ ยิ่งสีคล้ำ ยิ่งต้องรีบไปหาหมอเชียว เพราะแสดงว่า เลือดเดินทางออกมาไกล อาจมีเลือดออกจากกระเพาะ ลำไส้ ควรรีบไปตรวจดูค่ะ แถมอีกนิด ทุกคน แม้แต่ปูผัดก็ตาม จะอายหมอมาก ถ้าต้องไปเปิดก้นให้หมอดู แต่...ไปเถอะค่ะ เพราะการปล่อยไว้ ทรมานกว่า และขอบอกว่า พวกหมอ เค๊าเห็นมานักต่อนักแล้ว การที่คุณอาย เกิดจากที่คุณคิดไปเองแหละค่ะ           เอาเป็นว่า ใครที่ยังไม่เคยสังเกตุ หรือมอง อุจจาระของตัวเอง ต่อจากนี้ไป ลองหันไปมองหน่อยก็แล้วกันนะคะ..

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ดูแลผมสวย...ตามแนวทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง

ดูแลผมสวย...ตามแนวทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง ทำอย่างไร ผมจะสวยโดยประหยัดทรัพย์ และทรัพยากรได้ รู้มั๊ยคะว่า เส้นผมคนเรา มีน้ำมันหล่อเลี้ยงตามธรรมชาติ การสระผม ทำให้ผมสูญเสียความชุ่มชื้นจากน้ำมันตามธรรมชาติ ดังนั้นคุณหมอผิวหนัง จึงแนะนำว่า คุณๆ ควรสระผมแค่สัปดาห์ละ ๒ ครั้ง และในแต่ละครั้ง สระด้วยแชมพูแค่ ๒ ครั้ง ดูแลผมสวย...ตามแนวทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง          ทำอย่างไร ผมจะสวยโดยประหยัดทรัพย์ และทรัพยากรได้ รู้มั๊ยคะว่า เส้นผมคนเรา มีน้ำมันหล่อเลี้ยงตามธรรมชาติ การสระผม ทำให้ผมสูญเสียความชุ่มชื้นจากน้ำมันตามธรรมชาติ ดังนั้นคุณหมอผิวหนัง จึงแนะนำว่า คุณๆ ควรสระผมแค่สัปดาห์ละ ๒ ครั้ง และในแต่ละครั้ง สระด้วยแชมพูแค่ ๒ ครั้ง ตามด้วยครีมนวด ๑ ครั้ง เท่านั้นพอ ไม่ต้องสระด้วยแชมพูถึง ๓ ครั้ง คุณควรปล่อยให้น้ำมันเส้นผมตามธรรมชาติ คงเหลือเคลือบเส้นผมอยู่บ้าง ซึ่งนั่นแหละ ที่จะทำให้ผมของคุณไม่แห้ง กระด้าง เออหนอ...ธรรมชาติเขาก็สร้างน้ำมันเคลือบเส้นผมมาให้ แล้วยังจะไปสระทิ้งอีก ใครที่ชอบความคุ้มโดยการไปร้านทำผม แล้วร้านมักจะสระผมให้ ด้วยแชมพู ๓ ครั้ง ครีมนวด ๑ ครั้ง ต่อไปนี้ บอกทางร้านใหม่ค่ะ บอกว่า สระแชมพู ๒ ครั้งพอ ตามด้วยครีมนวดเลย ผลที่ได้เหรอคะ ประหยัดน้ำ (ช่วยชาติ) ประหยัดแชมพู ประหยัดเวลา แล้วผมยังนุ่มสลวยด้วยน้ำมันตามธรรมชาติอีกด้วย            สำหรับคุณผู้ชาย ที่ชอบสระผมทุกวัน ก็สระแชมพูหนเดียวพอ หรือราดแค่น้ำเปล่าก็ยังได้ แล้วคอยดูนะคะ แชมพูคุณจะหมดช้ามากค่ะ  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

จัดฟัน ศูนย์ทันตกรรม รพ.วิภาวดี

จัดฟัน ศูนย์ทันตกรรม รพ.วิภาวดี  เมื่อไหร่ที่ต้องจัดฟัน         เมื่อมีการเรียงฟัน การสบฟัน หรือโครงสร้างของขากรรไกรผิดปกติ ขั้นตอนทั่วไปในการจัดฟัน      1. X-Ray โครงสร้างฟัน      2. พิมพ์ปาก แยกฟัน      3. ติดเครื่องมือในสัปดาห์ต่อมา จากนั้นจะนัดพบทันตแพทย์จัดฟัน ทุก 3 - 4 สัปดาห์ ต่อครั้ง จนกระทั่งสภาพฟัน เป็นที่น่าพอใจ ใช้เวลาประมาณ ปีครึ่ง - 2 ปี จึงถอดเครื่องมือ      4. ใส่ Retainer 9 ต่อจนฟันคงสภาพในตำแหน่งที่จัดอีก 1-2 ปี ซึ่งจะนัดตรวจเป็นระยะ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 2 ปี  ระยะเวลา         ประมาณ ปีครึ่ง - 2 ปี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอายุ ความยากง่าย และความร่วมมือของผู้ป่วยแต่ ละราย หมายเหตุ      - กรณีผู้ป่วยมาตามนัดไม่ได้ เลื่อนนัดออกไป การชำระเงินจะคิดรวมถึงย้อนหลังครั้งที่เลื่อนนัดไปด้วย เนื่องจากเป็นการแบ่งชำระงวดตามข้อตกลงเบื้องต้น      - เมื่อชำระเงินครบตามที่ตกลงเอาไว้ ถ้าการจัดการยังไม่เสร็จ จะไม่มีการเก็บเงินเพิ่มเติมอีกในการมาพบทันตแพทย์ครั้งต่อๆไป ยกเว้นในกรณีเครื่องมือที่ใส่อยู่ชำรุด เสียหาย ผู้ป่วยจะชำระเฉพาะค่าเครื่องมือนั้นๆ ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อจัดฟัน      1. ต้องปฏิบัติตัวตามที่ทันตแพทย์จัดฟันแนะนำอย่างเคร่งครัด เช่นการใส่ยางรัดฟัน การแปรงฟันหลังอาหารทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เศษอาหารติดตามซอกฟัน      2. งดอาหารบางประเภท           - อาหารแข็งมาก เช่น อ้อย น้ำแข็ง           - อาหารเหนียว เช่น หมากฝรั่ง ตังเม เนื้อที่เหนียวมากๆ           - อาหารหวานจัด เช่น ทอฟฟี่ ช็อกโกแลต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม รพ.วิภาวดี โทร. 0-2561-1111 ต่อ 4520-1

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคไตเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลัน ภาวะโรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลัน ภาวะโรคไตเรื้อรัง           โดยปกติในวัยผู้ใหญ่ ไตของคนเราจะเริ่มทำงานลดลงหรือเสื่อมลงอย่างช้าๆ ตามอายุ โดยเฉลี่ยการทำงานของไตจะลดลงปีละประมาณ 1% แต่หากไตมีความผิดปกติหรือเกิดโรค การทำงานของไตก็จะเสื่อมลงเร็วกว่าปกติ กรณีที่ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็วหรือหยุดทำงานทันทีเรียกว่า “ไตวายเฉียบพลัน” ซึ่งในกรณีนี้ไตอาจจะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้ถ้าได้รับการรักษาที่เหมาะสม แต่ถ้าไตเสื่อมลงอย่างช้าๆต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานานเกินกว่า 3 เดือน โดยเฉพาะเมื่อการทำงานของไตลดน้อยลงต่ำกว่า 60 % จะเรียกว่า “ภาวะโรคไตเรื้อรัง” สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง           โรคไตเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยได้แก่ เป็นผลจากโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง  นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายสาเหตุ  ไม่ว่าจะเป็น โรคเก๊าท์  นิ่วในไต ไตอักเสบ การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ  รวมถึงอาจเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา และสารเคมีต่างๆ ได้แก่ ยาแก้ปวดที่เรียกว่า “เอ็นเสด (NSAID)” และยาปฏิชีวนะบางตัว เป็นต้น             นอกจากนี้ ยังเกิดจากกรรมพันธุ์หรือความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด เช่น เด็กที่น้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม โดยไตของเด็กนี้จะทำงานน้อยกว่าเด็กทั่วไป  เด็กที่มีความผิดปกติของไตโดยกำเนิด เช่น ไตที่มีขนาดเล็ก มีการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือโรคถุงน้ำในไต  การป้องกันโรคไตเรื้อรัง           ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคไตเรื้อรังโดยเฉพาะในระยะแรกๆ มักจะไม่รู้ว่าตนเป็นโรคไตเรื้อรัง เนื่องจากจะไม่ปรากฏอาการที่ชัดเจนให้รู้ หรือมีอาการแต่ไม่รู้ว่า ไตเสื่อม ดังนั้น จึงไม่สามารถจะวินิจฉัยโรคไตเรื้อรัง จากอาการได้โดยง่าย ต้องอาศัยการตรวจเลือดและปัสสาวะ  ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคที่เป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรังดังที่กล่าวมาเบื้องต้น รวมถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อคัดกรองโรคไตเรื้อรังอย่างน้อยทุก 1 ปี เพื่อจะได้เข้ารับรักษาตั้งแต่ระยะต้นๆ   สัญญาณอันตรายบ่งบอกว่าเป็นโรคไต มี 6 อาการ ได้แก่ ปัสสาวะขัดหรือลำบาก  เป็นอาการที่บ่งชี้ว่าท่านมีปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ  และอาจเป็นโรคไตด้วย  แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่  -อาการปัสสาวะแสบขัดที่เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ  ซึ่งมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย  ท่านที่เป็นชายถ้ามีอาการนี้อาจมีโรคนิ่วระบบไตหรือต่อมลูกหมากโตซ่อนอยู่ก็ได้  หรือบางครั้งท่านอาจมีไข้และปวดเอวร่วมด้วย  -อาการถ่ายปัสสาวะลำบาก  ต้องเบ่งแรง  ปัสสาวะไม่พุ่งหรือปัสสาวะสะดุดกลางคัน  บางท่านอาจมีปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะกลางคืนร่วมด้วย  บ่งบอกถึงว่ามีการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ  ที่พบบ่อยได้แก่  ต่อมลูกหมากโตในเพศชายหรือมดลูกหย่อนในเพศหญิง ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ ในคนปกติ  เมื่อคนเรานอนหลับ 6 - 8 ชั่วโมง มักจะไม่ตื่นขึ้นมาปัสสาวะของคนเราสามารถเก็บปัสสาวะไว้ได้ประมาณ  250 ซีซี หรือเท่ากับน้ำ 1 แก้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะเวลากลางคืน  แต่ในผู้ที่มีโรคไตเรื้อรัง  ไตจะไม่สามารถลดการสร้างปัสสาวะได้ในตอนกลางคืน  จึงมีปัสสาวะออกมาก  ดังนั้นในตอนกลางคืนจึงต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ  โดยทั่วไปท่านอาจตื่นขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืน 1 - 2 ครั้ง ถ้าท่านดื่มน้ำก่อนนอน  หรืออาจจะเป็นนิสัยตั้งแต่เด็ก  ถ้ามีอาการเช่นนี้โดยไม่เป็นมาก่อนควรปรึกษาหมอ หรือบางครั้งการปัสสาวะกลางคืนนอกจากเป็นอาการของโรคไตแล้ว อาจพบในผู้ป่วยเบาหวาน  ผู้ที่มีอาการบวมจากเหตุอื่นๆ  ผู้ที่กินยาขับปัสสาวะ  ดังนั้นหากท่านมีอาการดังกล่าวทางที่ดีควรปรึกษาหมอ ปัสสาวะเป็นเลือดสีน้ำล้างเนื้อหรือขุ่นผิดปกติ ปัสสาวะจะมีสีเหลืองใส  อาจมีสีเข้มข้นเมื่อดื่มน้ำน้อยและจางลงเมื่อดื่มน้ำมากๆ  ถ้ามีปัสสาวะสีแดงคล้ายเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ บ่งบอกว่าอาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ  ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีนิ่ว ไตอักเสบ หรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ หรือโรคเลือดที่ทำให้มีเลือดออกง่าย  เป็นต้น   อาการบวมรอบตา บวมหน้า บวมเท้า บวมรอบตา บวมที่หน้า อาจสังเกตได้ง่ายเวลาที่ตื่นนอน ส่วนเท้าบวมอาจพบเมื่อเข้าช่วงบ่าย  หรือเมื่อมีกิจกรรมในท่ายืนเป็นเวลานานๆ สังเกตได้จากแหวนหรือรองเท้าที่เคยสวมใส่จะคับขึ้น  เมื่อใช้นิ้วมือกดที่เท้าหรือหน้าแข้งจะมีรอยบุ๋ม อาการนี้อาจเกิดจากโรคไต  นอกจากนี้อาจเกิดจากโรคหัวใจหรือโรคตับก็ได้                                                                อาการที่กล่าวถึงโรคไตเรื้อรังนี้หมายถึง  ลักษณะบวมที่หลังเท้าและหน้าแข้ง  ถ้าเป็นมากจะกดแล้วเป็นรอยบุ๋ม มีโรคไตหลายโรคที่ผู้ป่วยมาด้วยอาการบวม  อย่างไรก็ตาม พบว่าคนที่มีอาการบวมจำนวนมากละเลย เพราะไม่รู้สึกทุกข์ร้อนใดๆ  บางท่านอาจไม่อยากตรวจเพราะกลัวว่าหมอจะบอกว่าเป็นโรคไต  ดังนั้นบางทีก็ปล่อยเวลาล่วงเลยมาเป็นเดือนเป็นปี  หรือไม่ก็มีอาการบวมมากจนทนไม่ไหวต้องมาหาหมอ ปวดหลัง ปวดเอว อาการนี้เป็นอาการที่พบบ่อยมาก  แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน  ซึ่งมักหายได้เองจากการหยุดพักงานหรือกินยาแก้ปวด สำหรับอาการปวดหลัง ปวดเอว ที่เกิดจากโรคไต มักมีสาเหตุมาจากนิ่วอยู่ในไตหรือในท่อไต อาการปวดเป็นผลมาจากการอุดตันท่อไตหรือไตเป็นถุงน้ำโป่งพอง  โดยลักษณะการปวดจะเป็นดังนี้  คือ จะปวดที่บั้นเอวหรือชายโครงด้านหลัง  และมักมีปวดร้าวไปที่ท้องน้อย  ขาอ่อน  หรืออวัยวะเพศ  อาการปวดมักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง  สิ่งผิดปกติที่มักพบร่วม  คือ ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อ  หรือขุ่นขาว  อาจมีปัสสาวะกระปริบกระปรอย  หรือมีอาการปวดหัวเหน่าร่วมด้วย ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงเป็นอาการสำคัญของโรคไตเรื้อรัง  โดยเฉพาะรายที่มีความดันโลหิตสูงมานานและควบคุมไม่ได้  โรคไตที่หมอมักจะนึกถึงคือ โรคไตเรื้อรังและโรคหลอดเลือดแดงไตตีบ  เนื่องจากความดันโลหิตสูงโดยตัวมันเองอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ปวดหัว  มึนงง  เป็นต้น  ดังนั้นท่านควรได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ  อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง           สัญญาณอันตรายข้างต้นที่กล่าวมา  อาจเป็นการบ่งชี้ถึงการทำงานของไตของท่านที่เกิดผิดปกติขึ้นแล้ว ดังนั้นหากเกิดสัญญาณเหล่านี้  ควรรีบเข้าพบและปรึกษาแพทย์ทันที  เพราะโรคไตบางชนิด หากทราบว่าเป็นและรักษาแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถรักษาแก้ไขได้  ในรายที่มีอาการของโรคไตเข้าขั้นรุนแรงแล้ว การรักษาทำได้เพียงชะลอการเสื่อมของไตได้เท่านั้น  มีบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมาตรวจรักษาและพบว่าไตหยุดทำงานแล้ว เนื่องเพราะผู้ป่วยมีอาการมานานแล้ว แต่ไม่ยอมมาตรวจรักษา  จึงน่าเสียดายเพราะจะต้องรักษาด้วยวิธีการล้างไตเท่านั้น  และอาจจะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร   ความรุนแรงของโรคไตเรื้อรัง แบ่งการป่วยออกเป็น 5 ระยะ คือ โรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 ไตยังทำงานปกติ แต่ตรวจพบความปกติของไต เช่น พบโปรตีนรั่วในปัสสาวะ หรือ พบเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ อาจเรียกได้ว่า “ไตเริ่มผิดปกติ” โรคไตเรื้อรังระยะที่ 2  ไตทำงานเหลือ 60-90%  หรือไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3  ไตทำงานเหลือ  30-60% หรือไตเรื้อรังระยะปานกลาง โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4  ไตทำงานเหลือ 15-30%   หรือไตเรื้อรังรุนแรง โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5  ไตทำงานเหลือน้อยกว่า 15%  หรือไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย    วิธีการรักษาและปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคไต           การดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังมีหลายลักษณะ  โดยจะต้องรักษาตามระยะของโรค ดังนี้ โรคไตเรื้อรังระยะที่ 1  ต้องงดสูบบุหรี่ รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของโรคไต โรคไตเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังระยะที่ 1  ต้องจำกัดความเค็ม โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3  จำกัดอาหารโปรตีน  โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4  จำกัดการกินผลไม้  โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5  ต้องรักษาโดยการล้างไตหน้าท้อง ฟอกเลือด หรือผ่าตัดปลูกไต ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย              ทั้งนี้ในปัจจุบันนับว่าวิทยาการทางแพทย์ในการรักษาโรคไตเรื้อรังในประเทศไทยนั้น มีความทัดเทียมประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นยุโรป และสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจึงเชื่อมั่นได้ในประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลของแพทย์ชาวไทยที่มีศักยภาพทัดเทียมต่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษา หรือผ่าตัดในต่างประเทศ ขอบคุณข้อมลจาก สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคปอดอักเสบ (นิวโมเนีย – Pneumonia - ปอดบวม) โรคที่อันตราย พบป่วยมากในช่วงฤดูฝน

โรคปอดอักเสบ (นิวโมเนีย – Pneumonia - ปอดบวม) โรคที่อันตราย พบป่วยมากในช่วงฤดูฝน           โรคปอดอักเสบ (นิวโมเนีย – Pneumonia) หรือ “โรคปอดบวม” เป็นโรคที่อันตรายและพบว่าที่ป่วยเป็นโรคนี้มากในช่วงฤดูฝน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ไม่ค่อยแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคต่ำ โดยมากจะพบกับผู้ป่วยที่เคยมีอาการไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ต่อมทอนซิลอักเสบ หัด อีสุกอีใส ไอกรน ฯลฯ อยู่แล้ว แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายอื่นๆ แทรกตามมา เช่น ฝีในปอด (lung abscess) มีหนองในช่องหุ้มปอด, ปอดแฟบ (atelectasis) หลอดลมพอง, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) เยื่อบุช่องท้องอักเสบ, ข้ออักเสบเฉียบพลัน, โลหิตเป็นพิษ ที่สำคัญคือภาวะขาดออกซิเจนและภาวะขาดน้ำ ซึ่งถ้าพบในเด็กเล็กและคนแก่ อาจจะทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว   สาเหตุของโรคนี้ ส่วนใหญ่เกิดมาจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส (ไข้หวัดใหญ่ หัด และอีสุกอีใส) เชื้อรา และสารเคมี ฯลฯ โดยเชื้อโรคจะแพร่กระจายโดยการไอ จาม หรือหายในรดกัน การสำลักเอาสารเคมีหรือเศษอาหารเข้าไปในปอด การแพร่กระจายของเชื้อไปตามกระแสเลือด เช่น การฉีดยา ให้น้ำเกลือ การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่น เป็นต้น อาการของผู้ป่วยที่มักจะเกิดขึ้นในทันทีคือ มีไข้ขึ้นสูงประมาณ 39-40 องศาเซลเซียส และอาจมีอาการจับไข้ตลอดเวลา หนาวสั่น (โดยเฉพาะในระยะที่เริ่มเป็น) หายในเร็วแต่ถี่ๆ (หอบ) หน้าแดง ริมฝีปากแดง ลิ้นเป็นฝ้า ในระยะแรกอาจมีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ แต่ต่อมาเสมหะจะมีสีขุ่นข้นออกเป็นสีเหลือง สีเขียว หรือมีเลือดปน ส่วนอาการที่พบในเด็กโตและผู้ใหญ่นั้นอาจมีอาการเจ็บแปล๊บในหน้าอกเวลาหายใจเข้า หรือเวลาไอแรงๆ บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หัวไหล่ สีข้าง หรือท้องด้วย ในเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน อาเจียน กระสับกระส่าย หรือชัก ถ้าเป็นมากๆ อาจมีอาการตัวเขียว ริมฝีปากเขียว ลิ้นเขียว และเล็บจะเริ่มกลายเป็นสีเขียว   วิธีหลีกเลี่ยงอาการปอดบวมอักเสบ          ถึงแม้ว่าโรคนี้จะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอก็สามารถกลับมาป่วยด้วยโรคนี้ได้ดังเดิม ดังนั้นการป้องกันและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอย่างถูกวิธี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนไม่ควรละเลย และสิ่งที่จุช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือการแพร่กระจายโรคปอดบวมคือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นดูแลความสะอาด และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และอาหารเสริมสุขภาพในปริมาณที่พอเหมาะ อย่าฉีดยาด้วยเข็มแชละกระบอกฉีดยาที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อ อย่าอมน้ำมันก๊าดเล่น ควรเก็บน้ำมันก๊าดให้พ้นมือเด็ก ป้องกันมิให้เป็นโรคปอดเรื้อรัง (หลอดลมอักเสบถุงลมพอง) ด้วยการไม่สูบบุหรี่ ในกรณีที่ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเป็นเด็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปี ควรดูแลอย่างใกล้ชิด และคอยระวังไม่ให้เด็กสำลัก ควรแยกของเล่นชิ้นเล็กๆ ออกห่างจากมือเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กนำเข้าปาก เมื่อเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด อีสุกอีใส ฯลฯ ควรดูแลรักษาเสียแต่เนิ่นๆ หากมีอาการไม่ดีขึ้นให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด การรักษา สำหรับผู้ป่วยที่เริ่มเป็น ยังไม่มีอาการหอบ ให้ดื่มน้ำมากๆ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง ให้ยาลดไข้และให้ยาปฏิชีวนะ ถ้าอาการดีขึ้นใน 3 วัน ควรให้ยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 1 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นหรือกลับมีอาการหอบควรแนะนำไปโรงพยาบาล ถ้ามีอาการหอบ หรือสงสัยว่ามีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ รีบให้ยาปฏิชีวนะ แล้วส่งโรงพยาบาลโดยด่วน หากรักษาไม่ทัน อาจเสียชีวิตได้ ถ้าทีภาวะขาดน้ำ ควรให้น้ำเกลือระหว่างเดินทางไปด้วย การรักษามักจะต้องทำการตรวจโดยเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ หรือเจาะเลือดไปเพาะเชื้อและให้การรักษาโดยให้ออกซิเจน น้ำเกลือ และยาปฏิชีวนะ ซึ่งอาจให้เพนิซิลินฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือเส้นเลือดในขนาดสูงๆ หรือยาปฏิชีวนะตัวอื่นๆ ตามแต่ชนิดของเชื้อที่พบ              นอกจากโรคปอดบวมที่มักพบในฤดูฝนแล้ว โรคไข้เลือดออกก็เป็นอะไรที่เราต้องระมัดระวัง เพราะหน้าฝนมักมีน้ำท่วมขัง มีโอกาสที่จะถูกยุงลายกัดได้ง่าย และถ้าประกอบกับร่างกายไม่แข็งแรง ภูมิต้านทานต่ำด้วยแล้วก็จะยิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน แต่ไม่ว่าจะด้วยโรคอะไรก็ตาม หากเราห่างไกลเข้าไว้ และรู้จักดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานสิ่งดีๆ พักผ่อนมากๆ และคิดในสิ่งดีๆ ก็จะทำให้ทั้งกายและใจเราเป็นสุข ห่างไกลจากโรคทั้งปวง   ขอบคุณบทความจาก จาก รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไวรัสตับอักเสบ บี Hepatitis B คืออะไร

  ไวรัสตับอักเสบ บี Hepatitis B คืออะไร           โรคตับอักเสบ บี เป็นการอักเสบของตับซึ่งเกิดจากไวรัสตับอักเสบ บีโดยเชื้อไวรัสจะบุกรุกเข้าสู่เซลล์ตับและก่อให้เกิดการอักเสบขึ้น ในบางกรณีเชื้ออาจจะอยู่นิ่งเป็นปีๆ โดยผู้ที่มีเชื้อไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้ออยู่ในร่างกาย เชื้อนี้สามารถแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วในเซลล์ตับซึ่งส่งผลก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายตับ เชื้อไวรัสตับอักเสบติดต่อได้อย่างไร          เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี สามารถติดต่อทาง เลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง ท่านสามารถรับเชื้อได้โดยวิธี มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยาง การจูบกันจะไม่ติดต่อถ้าปากไม่มีแผล  ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน  ใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู  ใช้แปรงสีฟันร่วมกัน มีดโกน ที่ตัดเล็บ  แม่ที่มีเชื้อสามารถติดต่อไปยังลูกได้ขณะคลอด ถ้าแม่มีเชื้อลูกมีโอกาสได้รับเชื้อ 90 % และให้นมตัวเอง ถูกเข็มตำจากการทำงาน  รักร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้ออยู่  โดยการสัมผัสกับ เลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล       อาการของผู้ป่วยโรคตับอักเสบ บี         อาการจะเกิดหลังได้รับเชื้อประมาณ 45-90 วัน บางรายอาจจะนานถึง 180 วัน ผู้ป่วยที่เป็นแบบเฉียบพลันจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามตัวมีไข้ แน่นท้อง ถ่ายเหลวเป็นอยู่ 4-15 วันหลังจากนั้นจะมี ตัวเหลืองตาเหลือง ปัสสาวะสีเข็ม อาการตัวเหลืองตาเหลืองจะหายไปภายใน 1-4 สัปดาห์บางรายอาจเป็นนานถึง 6 สัปดาห์ จึงสามารถทำงานได้ปกติ ผลของการเป็นไวรัสตับอักเสบ บี           หลังจากเป็นไวรัสตับอักเสบ บี จะมีการดำเนินของโรคดังนี้  90%ของผู้ป่วยหายขาดกล่าวคือภายใน 10 สัปดาห์การทำงานของตับกลับสู่ปกติ และมีภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี HbAg + แต่การทำงานของตับปกติ พวกนี้สามารถติดต่อผู้อื่นเรียก carrier 5-10% จะเป็นตับอักเสบเรื้อรัง Chronic hepatitis ผู้ป่วยกลุ่มนี้เจาะเลือดจะพบการทำงานของตับผิดปกติเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนและยังตรวจพบเชื้อตลอด ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการอักเสบของตับเป็นระยะๆ บางรายเป็นตับแข็ง บางรายเป็นมะเร็งตับ  ท่านไม่มีอาการ แต่ท่านเป็นไวรัสตับอักเสบได้ ผู้ที่เป็นพาหะของโรคนี้จะไม่แสดงอาการให้เห็น ทำให้ไม่ทราบว่ามีเชื้อตัวนี้อยู่ในร่างกายซึ่งอาจจะส่งผลเสียทำให้นำเชื้อสู่ผู้อื่น ดังนั้นก่อนที่จะแต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์ควรจะหาไวรัสตับอักเสบก่อน การวินิจฉัยแพทย์จะเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ และตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ  การวินิจฉัยการรักษา          แพทย์จะเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ และตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ  ส่วนใหญ่หายเองได้โดยการพักผ่อน และรับประทานอาหารไม่มัน การให้ยา interferon หรือ lamivudine ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี         หากท่านติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ท่านจะปฏิบัติตัวอย่างไร         เมื่อท่านตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ท่านควรจะขอรับคำแนะนำจากแพทย์ในการดูแลตัวเอง และต้องคำนึงถึงบุคคลใกล้ชิดด้วยเพราะท่านอาจจะนำเชื้อไปสู่คนใกล้ชิด วิธีการปฏิบัติตัวหากท่านมีเชื้ออยู่ในร่างกาย หากท่านเป็นตับอักเสบ บี ท่านไม่ต้องกังวลเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายได้เองและมีภูมิคุ้มกัน  รับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์  รับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพราะการตรวจเลือดจะทำให้ทราบว่าตับท่านมีการอักเสบมากหรือน้อย  บอกให้คนใกล้ชิดทราบ หากคนใกล้ชิดไม่มีภูมิหรือเชื้อต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบ  มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยาง  อย่าบริจาคเลือด  ไม่ดื่มสุราของมึนเมา  ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์  พักผ่อนให้เพียงพอ    ขอขอบคุณแหล่งที่มา siamhealth.net  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไวรัสตับอักเสบ A B C D และ E

ไวรัสตับอักเสบ A B C D และ E ไวรัสตับอักเสบ        ตับอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบเกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้การทำหน้าที่ต่างๆ ของตับผิดปกติ นำไปสู่การเจ็บป่วยไม่สบาย          โรคตับอักเสบ เป็นโรคที่รู้จักกันมานาน ยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ทุกวัย ทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่เป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลัน ขณะที่ส่วนน้อยเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา คือ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ  สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคตับอักเสบ คือ การติดเชื้อไวรัสรองลงมาเกิดจากสุรา ยาบางชนิด ฯลฯ  ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ เชื้อไวรัสตับอักเสบแบ่งเป็น ไวรัสตับอักเสบชนิด เอ ไวรัสตับอักเสบชนิด บี ไวรัสตับอักเสบชนิด ซี ไวรัสตับอักเสบชนิด ดี ไวรัสตับอักเสบชนิด อี   ไวรัสตับอักเสบชนิด เอ        การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด เอ เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ผัก ผลไม้ และน้ำดื่ม         ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ ใช้เวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์ โดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์หลังรับเชื้อ เด็กมักจะมีอาการน้อย ผู้ใหญ่จะมีอาการชัดเจนของตับอักเสบเฉียบพลัน เชื้อนี้จะออกมากับอุจจาระของผู้ป่วยต้องแต่ในระยะ 2 สัปดาห์ก่อนมีอาการ จนถึงระยะที่มีอาการของโรค เชื้อไวรัสนี้จะทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน ทำให้พบมีการระบาดในชุมชน กลุ่มคนที่รวมกันตาม โรงเรียน หอพัก ค่ายทหาร เป็นต้น         ตับอักเสบจากไวรัส เอ เมื่อเป็นแล้วจะหายเป็นปกติ ไม่เป็นพาหะของโรค ไม่เป็นเรื้อรัง ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นได้หลังจากฟื้นตัว อัตราการตายต่ำมาก    ไวรัสตับอักเสบชนิด บี       พบคนที่เป็นพาหะ(Carrier) ของเชื้อไวรัสนี้ ในประชาการโลกกว่า 200 ล้านคน ประเทศไทยมีความชุกของพาหะร้อยละ 8-10 คือ ประมาณ 5 ล้านคนที่มีเชื้อไวรัสนี้ในร่างกาย พบเชื้อได้ในเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำลาย น้ำตา น้ำนม ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อได้หลายทาง ทางเข้าของเชื้อ ได้แก่ ทางเพศสัมพันธ์ กับผู้เป็นพาหะของเชื้อนี้ ทารกคลอดจากมารดาที่เป็นพาหะ อาจติดเชื้อระหว่างคลอด การเลี้ยงดู ทางเลือดและน้ำเหลือง การได้รับเลือดของผู้ที่เป็นพาหะอาจเกิดจากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าเส้นร่วมกัน การฝังเข็มการสักการเจาะหูที่ไม่สะอาด การใช้ใบมีดโกน แปรงสีฟันร่วมกัน เป็นต้น ทางผิวหนังที่เกิดบาดแผล ผิวหนังถลอก ทางสัมผัสใกล้ชิด (Close contact) ระหว่างพาหะกับผู้อื่น เช่นสมาชิกในครอบครัว เด็กวัยเรียน เป็นต้น        ระยะการฟักตัวของเชื้อนี้กินเวลา 30-180 วัน เฉลี่ย 60-90 วัน ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสนี้จะหายเป็นปกติที่เหลือเป็นพาหะของเชื้อต่อไป         พาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีนี้ มักไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อต่อไป ส่วนหนึ่งอาจป่วยเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็งตับได้ ผู้เป็นพาหะของเชื้อนี้มีโอกาสเสี่ยงของมะเร็งตับสูงกว่าคนทั่วไปถึง 223 เท่าอย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้โดยใช้วัคซีน    ไวรัสตับอักเสบชนิด ซี        เป็นสาเหตุที่สำคัญของตับอักเสบที่เกิดขึ้นภายหลังการได้รับเลือดหรือ เดิมเรียกว่า ไวรัสตับอักเสบชนิด ไม่ใช่เอ ไม่ใช่บี          การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี พบในประชากรทั่วไปประมาณร้อยละ 1 ติดต่อได้โดยทางเลือดและน้ำเหลือง การใช้เข็มฉีดยาร่วมในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด นอกจากนี้ อาจติดเชื้อได้ทางเพศสัมพันธ์         ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ ประมาณ 15-160 วัน เฉลี่ย 50 วัน ทำให้เกิดโรคตับอักเสบเฉียบพลัน เชื้อไวรัสนี้ยังทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรังและเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบชนิดบี และยังคงเป็นปัญหาต่อไปตราบเท่าที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้   ไวรัสตับอักเสบชนิด ดี         เป็นไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ ต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบ บี พบเชื้อนี้ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นที่มีเชื้อไวรัส บี และการติดต่อ เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบ บี   ไวรัสตับอักเสบชนิด อี        มีรายงานการระบาดของไวรัสนี้ในบางประเทศ เช่น อินเดีย กัมพูชา เชื้อไวรัสนี้แพร่โดยการกิน เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบ เอ อาการของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน มีอาการแบ่งได้เป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะอาการนำ มีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามลำตัว ปวดกล้ามเนื้อ บางรายมีอาการคล้ายไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เบื่ออาหารมาก คลื่นไส้ อาเจียน อาจปวดท้องบริเวณชายโครงขวามีท้องเสียได้ ปัสสาวะสีเหลือง เข็มผิดปกติ ฯลฯ อาการนำเป็นอยู่ 4-5 วัน จนถึง 1-2 สัปดาห์ ระยะอาการเหลือง “ดีซ่าน” ผู้ป่วยมีตาเหลือง ตัวเหลือง อาการทั่วไปดีขึ้น แต่ยังอ่อนเพลียอยู่อาการข้างต้นหายไป หายเหลือง โดยทั่วไประยะเวลาของการป่วย นาน 2-4 สัปดาห์ จนถึง 8-12 สัปดาห์ ระยะฟื้นตัว อาจใช้เวลา 2-24 สัปดาห์ (เฉลี่ย 8 สัปดาห์)  การวินิจฉัยโรคตับอักเสบจากไวรัส         จากอาการดังกล่าว ทราบจาก การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือดดังนี้ ตรวจเลือดสมรรถภาพของตับ (Liver function test) เอ็นไซม์ SGOT & SGPT สูงกว่าปกติด้วย ถ้าผู้ป่วยมีดีซ่าน ตรวจเลือดว่าเป็นไวรัสชนิดใด เช่น - IgM Anti HAV - HBsAg;IgM Anti HBc - Anti HCV การรักษาโรคตับอักเสบจากไวรัส        ยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง เป็นการรักษาตามอาการได้แก่ การพักผ่อนเต็มที่ ในระยะต้นจะทำให้อ่อนเพลียลดลง งดการออกกำลังกายการทำงาน งดการดื่มสุรา รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย น้ำหวาน น้ำผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงในระยะที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก ในรายที่อาการมากอาจให้สารน้ำเข้าเส้นเลือดดำ ให้ยาแก้คลี่นไส้ ยาวิตามิน ฯลฯ   การป้องกันการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ การมีอนามัยส่วนบุคคล ส่วนรวมที่ดี เช่น การล้างมือให้สะอาด ก่อนทำสิ่งใดหลังการขับถ่าย การประกอบอาหารถูกหลักอนามัยเลือกรับประทานอาหารที่สุก น้ำดื่มที่สะอาด เป็นต้น หลีกเลี่ยงการรับ การสัมผัสเลือด น้ำเหลือง สิ่งขัดหลั่งของผู้อื่น ไม่ใช่เข็มหรือของมีคม ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่สำส่อนทางเพศ ใช้ถุงยางอนามัย การฉีดวัคซีนป้องกัน ไวรัสตับอักเสบบี 4.1 ทารกแรกคลอดทุกราย โดยเฉพาะถ้ามารดาเป็นพาหะของเชื้อ 4.2 เด็กทั่วไป เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน 4.3 เด็กโต วัยรุ่น ผู้ใหญ่ อาจเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีแล้ว ให้ตรวจเลือดก่อนพิจารณาฉีดวัคซีนคือ ตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัส บี (HBc Ab) ถ้าผลตรวจเป็นลบ ควรฉีดวัคซีนป้องกันให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี ถ้ามีผลตรวจเป็น บวกตัวใดตัวหนึ่ง ไม่ต้องรับการฉีดวัคซีนนี้ รายละเอียดการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี โปรดปรึกษาแพทย์ การฉีดวัคซีนป้องกัน ไวรัสตับอักเสบ เอ ใช้เมื่อมีการระบาดในบริบาลทารก โรงเรียน ฯลฯ   ด้วยความปรารถนาดีจาก อายุรกรรมโรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รู้จักมะเร็งปอด (Lung Cancer) ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับต้นๆ

โรคมะเร็งในประเทศไทยที่มีอยู่หลากหลายชนิดนั้น มะเร็งปอดเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากมายในแต่ละปี  สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่าในปี 2562 นั้นพบผู้ป่วยใหม่ จำนวนวันละ 47 คน หรือถ้าคิดเป็นปีอยู่ที่ 17,222 คน ต่อปี แบ่งเป็น ชาย - 10,766 คน หญิง - 6,456 คน สาเหตุเกิดจาก ความสกปรกของอากาศ ภาวะอากาศเป็นพิษในเมืองใหญ่ๆ เช่น ควันดำจากท่อไอเสียรถยนต์ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เช่น นิเกิล สารกัมมันตรังสี การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานานๆ มีส่วนสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปอดโดย 80% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมีประวัติสูบบุหรี่ 75 % ของผู้ป่วยเป็นผู้สูบบุหรี่จัด คือ สูบอย่างน้อยวันละ 20 มวนติดต่อกัน 20 ปีขึ้นไป หรืออย่างน้อยวันละ 10 มวน ติดต่อกัน 30 ปีขึ้นไป แผลเป็นในปอด เป็นผลจากการเป็นโรคเรื้อรังมานาน เช่น วัณโรคปอด ซึ่งอาจเป็นจุดก่อให้เกิดมะเร็ง อาการ ไอแห้งๆ ไอนานกว่าธรรมดา ไอมีเสมหะ ไอเป็นเลือด แต่เลือดมักออกปนกับเสมหะ ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย เสียงแหบ เพราะมะเร็งลุกลามไปยังประสาทบริเวณกล่องเสียง บวมที่หน้า คอ แขน และอกส่วนบน เนื่องจากมีเลือดดำคั่ง หายใจลำบากและหอบเหนื่อย เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลง ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย กลืนลำบาก เนื่องจากหลอดอาหารถูกกด เจ็บปวด เนื่องจากมะเร็งลุกลามแพร่กระจายไปในกระดูก ผนังอก ฯลฯ อัมพาต เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลัง การวินิจฉัย ถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด  ตรวจเสมหะที่ไอออกมา เพื่อหาเซลมะเร็ง ดังนั้นผู้ที่สูบบุหรี่ มีอาการไอเรื้อรัง และผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจตามวิธีดังกล่าวปีละครั้ง  การรักษา โดยทั่วไปหลักสำคัญในการรักษามะเร็ง คือ การผ่าตัด การรักษาโดยรังสี การป้องกัน เหตุส่งเสริม ให้เกิดโรคมะเร็งปอดมีหลายประการ สาเหตุบางอย่างอาจมีทางป้องกันได้ยาก แต่สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่สืบเนื่องจากการสูบบุหรี่นั้น เป็นสิ่งที่อาจป้องกันได้และการไม่สูบบุหรี่หรือเลิกบุหรี่ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเป็นมะเร็งของปอดได้ จะช่วยให้มีสุขภาพสมบูรณ์ ปราศจากโรคที่มีสาเหตุจากบุหรี่ได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แผนกอายุรกรรม รพ.วิภาวดี โทร.0-2561-1111 ต่อ 1221-2

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การดูแลระวังรักษาเท้า ผู้เป็นเบาหวาน

การดูแลระวังรักษาเท้า ผู้เป็นเบาหวาน การดูแลระวังรักษาเท้า ผู้เป็นเบาหวาน          การดูและ ระวังรักษาเท้าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้เป้นเบาหวาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน มีอัตราเสี่ยงต่อการเปิดแผลเรื้อรัง หรือเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงมากกว่าคนปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อาจลุกลามถึงต้องเสียนิ้วหรือขา สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยการเอาใจใส่สำรวจเท้าทุกวัน ถ้าเกิดความผิดปกติควรได้รับการดูแลตั้งแต่ระยะสั้น สาเหตุผู้ที่เป็นเบาหวานเกิดแผลที่เท้ากว่าคนปกติ      1. ผู้ที่เป็นเบาหวานมานาน ส่วนใหญ่พบมีการเสื่อมของส่วนประสาทส่วนปลายที่ไปเลี้ยงมือและเท้า การรับความรู้สึกน้อยลงเกิดอาการชา โดยเฉพาะนิ้วเท้า การรับความรู้สึกน้อยลงเกิดอาการชา โดยเฉพาะนิ้วเท้ามีโอกาสเป็นแผลโดยไม่รู้ตัวหรือกว่าจะสังเกตพบ แผลได้ลูกลามไปมาก เมื่อประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาและเท้าเสื่อม กล้ามเนื้อจะแฟบลงทำให้รูปร่างของเท้าผิดปกติ นิ้วเท้างอขึ้น เท้ารับน้ำหนักไม่สม่ำเสมอ บริเวณที่รับน้ำหนักมากหรือถูกกดอยู่เป็นเวลานานจะหนาขึ้น เกิดเป็นตาปลาหรือเป็นแผล      2. การไหลเวียนของโลหิตที่สู่ขาลดลง เนื่องจากผนังหลอดเลือดแดงหนาขึ้นทำให้ขาดอาหารและออกซิเจนผิวหนังจะบางลง แผลหายช้า เกิดอาการปวดที่น่องเวลาเดิน ถ้าเป็นมากจนหลอดเลือดอุดตัน เนื้อเยื่อส่วนปลายจะตายมีสีดล่ำดำขึ้น จนต้องตัดนิ้วหรือนิ้วแห้งดำหลุดไปได้      3. ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในโลหิตสูงอยู่นาน จะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเชื้อราที่ผิวหนังระหว่างนิ้วเท้า ทำให้ผิวหนังกลอกมีแผลเกิดขึ้น อาจมีเชื้อโรคที่รุนแรงเกิดขึ้นตามมา วิธีป้องกัน      การเสื่อมของประสาทส่วนปลาย           ขณะนี้ยังไม่มีวิธีที่ดีพอสำหรับป้องกันไม่ให้เกิด แต่อาจทำให้เกิดช้าลงหรือความรุนแรงน้อยลง โดยการควบคุมเบาหวาน รักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<