โรคชิคุนกุนยา

โรคชิคุนกุนยา ลักษณะโรค โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae มียุงลาย Aedes aegypti, Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรค วิธีการติดต่อ ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้ ระยะฟักตัว โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน ระยะติดต่อ ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบ tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้  ความแตกต่างระหว่างDF/DHF กับการติดเชื้อ Chikungunya  1. ใน chikungunya มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าใน DF/DHF คนไข้จึงมาโรงพยาบาลเร็วกว่า 2. ระยะของไข้สั้นกว่าในเดงกี ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน พบใน chikungunya ได้บ่อยกว่าใน DF/DHF โดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน 3. ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าใน DF/DHF 4. ไม่พบ convalescent petechial rash ที่มีลักษณะวงขาวๆใน chikungunya 5. พบผื่นได้แบบ maculopapular rash และ conjunctival infection ใน chikungunya ได้บ่อย กว่าในเดงกี 6. พบ myalgia / arthralgia ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี 7. ใน chikungunya เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในเดงกี ถึง 3 เท่า ระบาดวิทยาของโรค การติดเชื้อ Chikungunya virus เดิมมีรกรากอยู่ในทวีปอาฟริกา ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2501 โดย Prof.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร ในทวีปอาฟริกามีหลายประเทศพบเชื้อชิคุนกุนยา มีการแพร่เชื้อ 2 วงจรคือ primate cycle (rural type) (คน-ยุง-ลิง) ซึ่งมี Cercopithicus monkeys หรือ Barboon เป็น amplifyer host และอาจทำให้มีผู้ป่วยจากเชื้อนี้ประปราย หรืออาจมีการระบาดเล็กๆ (miniepidemics) ได้เป็นครั้งคราว เมื่อมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อนี้อยู่ และคนอาจนำมาสู่ชุมชนเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มียุงลายชุกชุมมาก ทำให้เกิด urban cycle (คน-ยุง) จากคนไปคน โดยยุง Aedes aegypti และ Mansonia aficanusเป็นพาหะ ในทวีปเอเซีย การแพร่เชื้อต่างจากในอาฟริกา การเกิดโรคเป็น urban cycle จากคนไปคน โดยมี Ae. aegypti เป็นพาหะที่สำคัญ ระบาดวิทยาของโรคมีรูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดย Ae. aegypti อื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจายและความชุกชุมของยุงลาย หลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ก็มีรายงานจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ เขมร เวียดนาม พม่า ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย การรักษา  ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment) การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไข้หวัด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา รู้ทันป้องกันได้

เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ บางคนอาจเป็นปีละหลายครั้ง (โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และ เด็กที่เพิ่งเข้าโรเรียนในปีแรกๆ อาจเป็นเฉลี่ยประมาณ เดือนละครั้ง) ทำให้ต้องสูญเสียแรงงาน เวลาเรียน และสิ้นเปลืองเงินทองไปปีละมากๆ  ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไว้รัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด (เชื้อหวัด) มีอยู่เกือบ 200 ชนิด ส่วนใหญ่ 75-80% เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza Viruses ประกอบด้วย Rhino Viruses เป็นสำคัญ  เชื้อชนิดอื่น ๆ มี Adenoviruses, Respiratory Syncytial Virus            ทำให้เกิดอาการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนต้น (ทำให้เยื่อจมูกบวมและแดง) มีการหลั่งของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์ โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้หวัด 6-12 ครั้งต่อ เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดต่าง ๆ มากขึ้น ก็จะป่วยเป็นไข้หวัดห่างขึ้น (ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง) และมีอาการรุนแรงน้อยลงไป ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่ายโดยการอยู่ใกล้ชิดกัน จึงพบเป็นกันมากตามโรงเรียน โรงงาน และที่ ๆ มีคนอยู่รวมกลุ่มกันมาก ๆ เป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี มักจะพบมากในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว หรือในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนในฤดูร้อนจะพบน้อยลง สาเหตุ เกิดจากเชื้อหวัด ซึ่งเป็นไวรัส (virus) มีอยู่ร่วม 200 ชนิดด้วยกัน การเกิดโรคขึ้นในแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ เชื้อหวัดมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน นอกจากนี้ เชื้อหวัด ยังอาจติดต่อโดยการสัมผัสมือกล่าวคือ เชื้อหวัด อาจติดที่มือของคน ๆ นั้น และเมื่อใช้นิ้วมือขยี้ตาหรือแคะจมูก เชื่อก็จะเข้าสูร่างกายของคน ๆ นั้นจนกลายเป็นไข้หวัดได้ ระยะฟักตัว (ระยะตั้งแต่ผู้ป่วยรับเชื้อเข้าไปนกระทั่งมีอาการเกิดขึ้น) 1-3 วัน อาการ อาการทั่วไป มีไข้ตัวร้อนเป็นพัก ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลี่ย ปวดหนักศีรษะเล็กน้อย ไอแห้ง หรือไอมีเสมหะ เล็กนอ้ย ลักษณะสีขาว บางครั้งอาจทำให้รู้สึกเจ็บแถวลิ้นปี่เวลาไอ ในผู้ใหญ่อาจไม่มีไข้ มีเพียงคัดจมูก น้ำมูกใส ในเด็กมักจับไข้ขึ้นมาทันทีทันใด บางครั้งอาจมีไข้สูง และชัก ท้องเดิน หรือถ่ายเป็นมูกร่วมด้วย ถ้าเป็นอยู่เกิน 4 วัน อาจมีน้ำมูกข้นเหลือกหรือเขียวหรือไอมีเสลดเป็ฯสีเหลืองหรือเขียว จากการอักเสบซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย และอาจมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนตามมา ซึ่งจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมด้วย  อาการแทรกซ้อน ที่พบบ่อยเกดจากกาอักเสบแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย (bacteria) ทำให้มีน้ำมูกหรือแสลดเป็นสีเหลือง หรือเขียว ถ้าลุกลามไปยังบริวเณใกล้เคียง อาจทำให้เป็นต่อมทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ในเด็กเล็กอาจทำให้มีอาการลักจากไข้สูงท้องเดิน บางคนอาจมีเสียงแหบ เนื่องจากกล่องเสียงอักเสบ บางคนอาจมีอาการวิงเวียน เนื่องจากอวัยวะการทรงตัวภายในหูชั้นในอักเสบ ดังที่เรียกว่า หวัดลงหู ซึ่ง จะหายได้เองภายใน 3-5 วัน โรคแทรกซ้อนมักเกิดในผู้ป่วยที่ไม่ได้พักผ่อนตรากตรำงานหนัก ร่างกายอ่อนแอ (เช่น ขาดอาหาร) ในทารกหรือคนสูงอายุ สิ่งที่ตรวจพบ ไข้ น้ำมูก เยื่อจมูกบวม และ แดง คอแดงเล็กน้อย ในเด็กอาจพบต่อมทอนซิลโต แต่ไม่แดงมาก และ มีหนอง การติดต่อ โรคนี้มักจะระบาดฤดูหนาวเนื่องจากความชื้นต่ำและอากาศเย็น  เราสามารถติดต่อจากน้ำลาย  และเสมหะผู้ป่วยนอกจากนั้นมือที่เปื้อนเชื้อโรค  ก็สามารถทำให้เกิดโรคได้โดยผ่านทางจมูกและตา ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ  ผู้ที่มีโอกาสเป็นไข้หวัดได้ง่ายคือ  เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี  เด็กที่ขาดอาหาร  เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็ก วิธีการติดต่อ มือของเด็ก  หรือผู้ใหญ่ที่สัมผัสเชื้อจากเสมหะของผู้ป่วย  หรือสิ่งแวดล้อม  แล้วขยี้ตา  หรือเอาเข้าปากหรือจมูก หายใจเอาเชื้อที่ผู้ป่วยที่ไอออกมา หายใจเอาเชื้อที่กระจายอยู่ในอากาศ วิธีการรักษา เนื่องจากไขข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่ยาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ เพียงแต่ให้การรักษาไปตามอาการเท่านั้น ได้แก่ 1. แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ดังนี้ พักผ่อนมาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนักหรือออกกำลังมากเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น อย่าให้ถูกฝน หรือถูกอากาศเย็นจัด และอย่าอาบน้ำเย็น ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยลดไข้ และทดแทนน้ำ ที่เสียไปเนื่องจากไข้สูง ควรกินอาหารอ่อน น้ำข้าว น้ำหวาน น้ำส้ม น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มร้อน ๆ ใช้ผ้าชุน้ำ (ควรใช้น้ำอ่นหรือน้ำก๊อกธรรมดา อย่าใช้น้ำเย็นจัด หรือน้ำแข็ง) เช็ดตัวเวลา มีไข้สูง 2. *ข้อแนะนำเหล่านี้สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีไข้จากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นกัน ให้ยารักษาตามอาการ ดังนี้ 2.1 สำหรับผู้ใหญ่ และ เด็กโต (อายุมากกว่า 5 ปี ) ถ้ามีไข้ ให้ยาลดไข้ เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล ถ้ามีอาการคัดจมูกหรือจาม ให้ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน ถ้ามีอาการไอ ให้ยาแก้ไอ เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม 2.2 สำหรับเด็กเล็ก(อายุต่ำกว่า 5 ปี ) ถ้ามีไข้ให้ใช้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ชนิดน้ำเชื่อม เบบี้แอสไพริน ถ้ามีอาการคัดจมูกหรือจาม ให้ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟริรามีนชนิดน้ำเชื่อม ถ้ามีน้ำมูกคัดจมูกมาก หายใจไม่สะดวกให้ใช้ลูกยางดูดเอาน้ำมูกออกบ่อย ๆ ถ้า มีอาการไอร่วมด้วยให้ยานำเชื่อมชนิดที่มียาแก้แพ้ผสมกับยาขับเสมหะ อยู่ในขวดเดียวกัน เช่น ยาขับเสมหะ คลอริเอต, ยาขับเสมหะไพริทอน ไม่ต้องให้ยาแก้แพ้แยกต่างหาก ถ้าเด็กเคยชักหรือมีไข้สูงร้องกวนไม่ยอมนอน ให้ยากันชัก เช่น ฟีโนบาร์บิทาล  3. ยาปฏิชีวนะไม่ จำเป็ฯต้องให้เพราะว่าไม่ได้เจอผลต่อการฆ่าเชื้อหวัดซึ่งเป็นเชื้อหวัดซึ่ง เป็นไวรัส(อาการที่สังเกตุได้คือมีน้ำมูกใส ๆ ) ยกเว้นในรายที่สงสัยว่ามีอาการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เช่น มีน้ำมูกหรือเสลดข้นเหลืองหรือขียว คอแดงจัด หรือปวดหู ยาปฏิชีวนะ ให้เลือกใช้เพนวี แอมพิซิลลิน ในรายที่แพ้เพนิ่ซิลลิน ใหใช้อีริโทรมัยซิ่น แทน ควรให้นาน 7-10 วัน ส่วนขนาดที่ใช้ให้ดูในภาค 3 4. ถ้าไอมีเสลดเหนียว ให้งดยาแก้แพ้ และ ยาแก้ไอ ควรให้กินยาขับเสมหะ เช่น มิสต์สกิล แอมมอน และให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ห้ามดื่มน้ำเย็น 5. ถ้ามีอาการหอบ หรือมีไข้สูงนานเกิน 7 วันควรแนะนำไปโรงพยาบาล โดยเร็ว อาจจะต้องเอกเรย์หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ การป้องกัน หลีกเลี่ยงที่ชุมชน  เช่น โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร  ในช่วงที่ไข้หวัดกำลังระบาด ไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้า  หรือทิชชูปิดปาก ควรหมั่นล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ (ทั้งผู้ป่วยและที่คนที่อยู่ใกล้เคียง) และอย่าใช้นิ้วมือขยี้ ตาหรือแคะไชจมูก ไม่เอามือเข้าปากหรือขยี้ตาเพราะอาจนำเชื้อเข้าสู่ร่างกาย อย่าอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นหวัดเป็นเวลานาน ระวังรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอโดย เฉพาะในเวลาที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง อย่าตรากตรำงานหนักเกินไป แต่ควรออกกำลังกายแข็งแรงอยู่เสมอ ไม่ควรอาบน้ำหรือสระผมด้วยน้ำที่เย็นเกินไป โดยเฉพาะในเวลาที่อากาศเย็น เป็นการยากที่จะป้องกันการติดเชื้อไข้หวัด  และยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้หวัด  ดังนี้การดูแลสุขภาพตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ข้อแนะนำ ในปัจจะบันไม่มียาที่ใช้รักษา และป้องกันไข้หวัด อย่งางได้ผล การรีกษา อยู่ที่การพักผ่อนและการปฏิบัติตัว ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ยาที่ใช้ก็เป็ยาที่รักษาตามอาการเท่านั้น โดยทั่วไปอาการตัวร้อนมักจะหายภายใน 4-5 วัน ผู้ป่วยบางคนถึงแม้จะหายตัวร้อนแล้ว แต่ก็อาจมีน้ำมูกไหล และไอต่อไปได้ บางคนอาจไอโครก ๆ นาน 1/2 - 1 เดือน ซึ่งมกจะเป็นลักษณะแห้ง ๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อย เป็นสีขาว ถ้าพบว่าผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติ อื่น ๆ ร่วมด้วย ก็ไม่ต้องให้ยาอะไรทั้งสิ้น ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ห้ามดื่มน้ำ เย็น อาการไอจะค่อย ๆ หายไปเอง ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แก่ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดทุกรายยกเว้นในรายที่สงสัยจะมีอาการแทรกซ้อนเท่านั้น ผู้ที่เป็นไข้หวัด (มีอาการตัวร้อนร่วมด้วย) เรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ ประจำอาจมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจรั่ว มากแต่กำเหนิด ธาลัลซีเมีย โรคโหลิตจางอะพลาสติก โรคขาดอาหาร เป็นต้น จึงควรตรวจดูว่ามีสาเหตุเหล่านั้นร่วมด้วยหรือไม่ หากสงสัยควรแนะนำไปโรงพยาบาล ผู้ที่เป้นหวัด และจามบ่อย โดยไม่มีไข้ มักเกิดจากการแพ้อากาศ แพ้ฝุ่น หรือละอองเกสร เป็นต้น มากกว่าจากการติดเชื้อไวรัส ผู้ที่มีอาการไข้และมีน้ำมูก แต่ตัวร้อนจัดตลอดเวลา กินยาลดไข้ก็ไม่ค่อยทุเลา มักจะไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดา แต่อาจมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น หัด ปอดอักเสบ หรือ ต่อมทอนซิลอักเสบ ควรตรวจดูอาการของโรคเหล่านี้อย่างละเอียด นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้ออื่น ๆ อีกหลายชนิด ที่ในระยะแรกอาจแสดงอาการคล้ายไข้หวัด ได้เช่น มีเลือดออก ไอกรน คอตีบ โปลิโอ ตับอักเสบ จากไวรัส ไข้รากสาดน้อย สอมงอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ เป็นต้น จึงควรติดตามอดูอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ถ้าพบว่ามีไข้นานเกิน 7 วัน หรือมีอาการผิดไปจากไข้หวัดธรรมดา ควรแนะนำให้ผู้ป่วยไปโรงพยาบาล อย่าซื้อหรือจ่ายยาชุดแก้หวัดที่ มีคลอแรมเฟนิคอล เตตราซัยครีน หรือเพร็ดนิโซโลน ผสมอยู่ด้วย หรือยาผงแก้เด็กตัวร้อนที่เข้าคลอแรมเฟนิคอล หรือเตตราซัยคลีน ให้ผู้ป่วยกิน นอกจากจะไม่จำเป็นแล้ว ยังเป็นอัตรายได้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รวบรวมคำถาม ถามบ่อย เรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น)

รวบรวมคำถาม ถามบ่อย เรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น)           รวบรวมคำถาม ถามบ่อย เรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น) จาก สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2552 เวลา 8.00 น. ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการใส่หน้ากากอนามัย ยาต้านไวรัส การป้องกัน การปฏิบัติตัว การระบาดของเชื้อ อ่านได้ที่นี่ค่ะ รวบรวมคำถาม ถามบ่อย เรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น)   1. ไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาดตามข่าวอยู่ในขณะนี้คือโรคอะไร ?             โรคที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน ไม่พบว่ามีการติดต่อมาจากสุกร เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคน เป็นเชื้อที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ซึ่งมีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่คน ไข้หวัดใหญ่สุกร และไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีกด้วย เริ่มพบการระบาดที่ประเทศเม็กซิโก และแพร่ไปกับผู้เดินทางไปในอีกหลายประเทศ ระยะแรก กระทรวงสาธารณสุขใช้ชื่อโรคนี้ว่า “โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก” และเมื่อองค์การอนามัยโลกได้ประกาศชื่อเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1” และใช้ชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”  2. เหตุใดจึงไม่ใช้คำว่าไข้หวัดสุกร (Swine flu) เหมือนชื่อที่ใช้เรียกในระยะแรกของการระบาด ?            เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ใหม่ ในการรายงานโรคนี้ช่วงแรกในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Swine Flu” หรือไข้หวัดใหญ่สุกร โดยปกติแล้ว ไข้หวัดใหญ่สุกรเป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในสุกร มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หลายชนิด เช่น H1N1, H1N2, H3N1 และ H3N2 แต่ละชนิดมีหลากหลายสายพันธุ์ ตามปกติการเกิดโรคในสุกร บางครั้งอาจมีผู้ติดเชื้อจากสุกรและป่วยซึ่งเกิดไม่บ่อยนัก การติดเชื้อเกิดโดยคนหายใจเอาละอองฝอยเมื่อสุกรไอ หรือจาม เข้าไป หรือการสัมผัสกับสุกร หรือสิ่งแวดล้อมที่สุกรอาศัยอยู่ อย่างไรก็ตามเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกนี้ ผลการตรวจวิเคราะห์ในระดับพันธุกรรมพบว่า เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่พบในคน และยังไม่เคยพบในสุกรมาก่อน และการระบาดดังกล่าว ไม่มีรายงานโรคนี้ระบาดในสุกรทั้งในเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา และผลการสอบสวนโรค ไม่พบผู้ใดติดโรคจากสุกร หากแต่เป็นการแพร่กระจายโรคจากคนสู่คนเท่านั้น            ต่อมาวันที่ 29 เมษายน 2552 องค์การอนามัยโลกได้เปลี่ยนการเรียกชื่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากที่เคยเรียกว่า ไข้หวัดสุกร หรือ สไวน์ ฟลู (Swine Flu) เป็น “ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” (Influenza A H1N1) ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขไทยจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” และชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” เพื่อให้สอดคล้องกันและสื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจตรงกัน ไม่สับสนกับไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ที่เกิดตามฤดูกาล ซึ่งเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่คนละตัวกัน 3. คนติดโรคนี้ได้อย่างไร ?           คนส่วนใหญ่ติดโรคไข้หวัดใหญ่จากการถูกละอองฝอยไอจาม น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยโดยตรง บางรายอาจได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ลูกบิดประตู โทรศัพท์ แก้วน้ำ เป็นต้น ไม่มีรายงานการติดต่อจากการรับประทานเนื้อหมู  ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1 – 3 วัน น้อยรายที่นานถึง 7 วัน และอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากที่สุด และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน แต่ในเด็กเล็ก อาจแพร่เชื้อได้นานถึง 10 วัน  4. คนสามารถแพร่เชื้อนี้ให้แก่สัตว์อื่นได้หรือไม่ ?           องค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ ได้เผยแพร่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 พ.ค.52 ว่า มีรายงานสุกรติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1 นี้จากคน และพบการระบาดของโรคนี้ในสุกรแล้วในประเทศแคนาดา  5. การรับประทานเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมู จะติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้หรือไม่ ?           ประชาชนสามารถบริโภคเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมูที่ปรุงสุกนั้นปลอดภัย เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะถูกทำลาย (inactivate) ได้ด้วยความร้อนจากการปรุงอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ ไม่ควรนำหมูที่ป่วยหรือตายมาประกอบอาหาร 6. อาการของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีอะไรบ้าง ?           อาการใกล้เคียงกับอาการโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียด้วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 95 อาการไม่รุนแรง สามารถหายป่วยได้ โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ผู้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ได้แก่ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ที่ภูมิต้านทานต่ำ ภาวะอ้วน และหญิงมีครรภ์  7. โรคนี้รักษาได้หรือไม่ อย่างไร ?           เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 95 อาการไม่รุนแรง สามารถหายป่วยได้เองหรือการรับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ดังนั้น ผู้ที่อาการไม่มาก เช่น ไข้ต่ำๆ รับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษาที่บ้านได้ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อพิจารณาการให้ยาต้านไวรัสหรือรับไว้รักษาตัวที่โรงพยาบาล 8. จะป้องกันตนเองจากโรคนี้ได้อย่างไร ?          ท่านสามารถป้องกันตนเองจากโรคนี้ได้ง่าย โดยหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หากต้องดูแลผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัยและให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัยด้วย หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังการไอ จาม ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำสะอาด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา   สถานการณ์การระบาดและความรุนแรงของโรค 9. สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) ขณะนี้เป็นอย่างไร ?           ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา ประเทศเม็กซิโกเริ่มพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และผู้ป่วยปอดบวมสูงขึ้นผิดปกติ จากนั้น จึงเริ่มมีการส่งตัวอย่างจากผู้ป่วยตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (ตามเวลาประเทศไทย) พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) จำนวน 29,669 ราย ใน 74 ประเทศ และพบผู้เสียชีวิตแล้ว 145 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ประมาณร้อยละ 0.49 ขณะนี้ยังคงมีการระบาดอย่างต่อเนื่องและขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ รายชื่อประเทศที่พบผู้ป่วย และรายงานสถานการณ์โรครายวัน ท่านสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th 10. พบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้มีในประเทศไทยหรือไม่ ?           จากการเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2552-ปัจจุบัน (15 มิถุนายน 2552) ไทยพบผู้ป่วยที่ตรวจยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) จำนวน 201 ราย ซึ่งจำแนกเป็นผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศจำนวน 30 ราย และผู้ที่ติดเชื้อภายในประเทศ 171 ราย โดยขณะนี้ มีการระบาดของโรคในกรุงเทพมหานคร ชลบุรี ปทุมธานี ซึ่งมีการระบาดในโรงเรียนและสถานบันเทิงในแหล่งท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการไม่รุนแรง ไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ได้รับการติดตามเฝ้าสังเกตอาการจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างใกล้ชิด บางรายมีอาการป่วยแต่ไม่มีอาการรุนแรงและได้รับการดูแลรักษาแล้ว 11. แนวโน้มการระบาดของโรคเป็นอย่างไร ?            องค์การอนามัยโลกชี้ว่า โอกาสที่จะควบคุมการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ให้จำกัดอยู่ในประเทศที่เป็นต้นเหตุได้ผ่านเลยไปแล้ว และการระบาดมีแนวโน้มกระจายกว้างขวาง ต่อไป จนเป็นการระบาดใหญ่ (Pandemic)ไปทั่วโลก เมื่อเวลาผ่านไปเชื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้การระบาดมีความรุนแรงน้อยลงหรือมากขึ้น ยังไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่จากประสบการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา มักมีการระบาดระลอกหลังตามมาอีก และมีความรุนแรงของโรคมากกว่าระลอกแรก 12. กระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์แนวโน้มการระบาดในประเทศไทยอย่างไร ?           เมื่อพิจารณาสถานการณ์การระบาดทั้งในและนอกประเทศ ลักษณะธรรมชาติของโรค ร่วมกับสภาวะแวดล้อมและศักยภาพในประเทศ จึงควรจัดแบ่งสถานการณ์การระบาดในประเทศเป็น 3 ระยะต่อเนื่องกัน ดังนี้ สถานการณ์ A มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากต่างประเทศและเดินทางเข้ามาในประเทศ  สถานการณ์ B มีการแพร่ระบาดในประเทศในวงจำกัด  สถานการณ์ C มีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางภายในประเทศ           ในระยะที่ผ่านมา ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ถึง ต้นเดือนมิถุนายน 2552 ประเทศไทยได้ทำการคัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศ (สถานการณ์ A ) และยืนหยัดสกัดการแพร่เชื้อในประเทศได้นานกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งนับว่านานกว่าประเทศอื่นๆอีกจำนวนมาก แต่ข้อมูลล่าสุดชี้ให้เห็นว่า ในขณะนี้ประเทศไทยเริ่มมีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ภายในประเทศแล้ว (สถานการณ์ B ) และ การระบาดภายในประเทศอาจจะขยายวงกว้างต่อไป (สถานการณ์ C ) เช่นเดียวกับการระบาดในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม หากความร่วมมือด้านการป้องกัน และควบคุมโรคจากทุกฝ่าย รวมทั้งประชาชน มีความเข้มแข็ง ไทยก็จะสามารถผ่านวิกฤตการณ์ไปได้ และมีความสูญเสีย หรือผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมน้อยที่สุด 13. หากเกิดการระบาดในวงกว้าง จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง ?         การระบาดของโรคในอดีตที่ผ่านมา จะมีผลกระทบทางด้านสุขภาพของประชาชน อาจมีผู้ป่วยในประเทศ 10-40%ของประชากรไทย (ประมาณ 6.5 – 26 ล้านคน) และอาจมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากได้ นอกจากนี้ จะมีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อีกมาก เช่น ทางด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจ ชีวิตประจำวันของประชาชน  14. กระทรวงสาธารณสุขมีการปกปิดหรือบิดเบือนข้อมูลเรื่องการระบาดของโรคหรือไม่ อย่างไร ?         กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะให้ข้อมูลแก่ประชาชนอย่างโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคมิให้แพร่กระจายออกไป ในการให้ข้อมูลใดอย่างเป็นทางการนั้น อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการตรวจสอบความถูกต้อง หรือบางครั้งจำเป็นต้องหารือกับผู้เชี่ยวชาญ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ข้อมูลบางส่วน ที่การเปิดเผยต่อสาธารณชน ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด และอาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เช่น รายละเอียดส่วนตัวของผู้ป่วยในส่วนที่ไม่จำเป็นในการป้องกันควบคุมโรค อาจมิได้มีการเปิดเผย เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยประกอบกับต้องคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยร่วมด้วย 15. เหตุใดตัวเลขจำนวนผู้ป่วยของไทยที่รายงานโดยองค์การอนามัยโลกจึงน้อยกว่าจำนวนผู้ป่วยที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ?           ในการรายงานตัวเลขผู้ป่วยอย่างเป็นทางการให้องค์การอนามัยโลกทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 100 รายแรก เพื่อให้ทราบองค์ความรู้ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ จะต้องกรอกแบบฟอร์มรายงานเป็นรายบุคคล และมีข้อมูลในรายละเอียด รวมทั้งข้อมูลบางอย่างต้องรอเวลาหรือทราบผลก่อนจึงจะกรอกได้ เช่น ผลการรักษาผู้ป่วย จะต้องรอเวลาให้ผู้ป่วยหายหรือได้ยาครบก่อน จึงจะรายงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะหลังที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มก้อนอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ตัวเลขที่องค์การอนามัยโลกรายงานน้อยกว่าจำนวนผู้ป่วยที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศในทันทีทันใด   ระดับเตือนภัยการระบาดของโรค 16. ระดับเตือนภัยการระบาดของโรคคืออะไร ?            องค์การอนามัยโลกได้มีการกำหนดระดับเตือนภัยการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ เมื่อปี 2005 เพื่อแสดงถึงขั้นตอนของการระบาดของโรคเริ่มตั้งแต่การพบเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในสัตว์ จนเริ่มแพร่เชื้อมาสู่คน และมีการกระจายออกไป จนกระทั่งระบาดไปทั่วโลก ซึ่งในขณะนั้น เป็นที่คาดกันว่า เชื้อไวรัสที่จะเป็นต้นเหตุของการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ จะมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 แต่เมื่อในปัจจุบัน เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H1N1 เป็นต้นเหตุ และมีการระบาดเกิดขึ้น องค์การอนามัยโลกจึงได้ปรับปรุงคำจำกัดความของแต่ละระดับการระบาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้นในปี 2009 เพื่อให้ง่ายต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรค รวมทั้งมาตรการต่างๆ และมีความเข้าใจตรงกันทั่วโลก 17. ระดับเตือนภัยการระบาดของโรคมีกี่ระดับ มีหมายความว่าอย่างไรบ้าง ?            องค์การอนามัยโลกได้กำหนด ระดับเตือนภัยการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (ฉบับปรับปรุง ปี 2009) จำนวน 6 ระดับ ดังนี้ ระดับ 1 :พบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในสัตว์ ระดับ 2 : เกิดการติดเชื้อเกิดขึ้นในคน  ระดับ 3 : พบผู้ป่วยเป็นกลุ่มเล็ก การติดต่อระหว่างคนสู่คนอยู่ในวงจำกัด  ระดับ 4 : เกิดการระบาดในระดับชุมชน  ระดับ 5 : มีการแพร่เชื้อจากคนสู่คนในอย่างน้อย 2 ประเทศในภูมิภาคเดียวกันขององค์การอนามัยโลก ระดับ 6 : มีการระบาดมากกว่า 1 ภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก 18. สถานการณ์ขณะนี้ เราอยู่ในระดับเตือนภัยการระบาดที่เท่าไร ?            วันที่ 12 มิถุนายน 2552 (ตามเวลาในประเทศไทย) พญ.มากาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศยกระดับเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ จากระดับ 5 เป็นระดับ 6 ซึ่งหมายถึง การระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) เริ่มแพร่กระจายไปทั่วโลกแล้วโดยมีการติดต่อจากคนสู่คน ณ ขณะนี้ มีผู้ป่วยยืนยันโรคนี้ มากกว่า 30,000 ราย ใน 74 ประเทศทั่วโลก  19. การอยู่ในระดับการระบาดที่ 6 จะต้องทำอย่างไร ?            องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศต่างๆ เตรียมรับมือกับการที่จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ ส่วนประเทศที่มีการระบาดของโรคอย่างกว้างขวางไปแล้ว ควรเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดของโรคระลอกที่สอง โดยควรเน้นหนักในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม สำหรับการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการและการสอบสวนโรคสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดในวงกว้างแล้ว ควรลดความสำคัญลง เพราะประโยชน์ที่ได้อาจไม่คุ้มค่ากับทรัพยากรที่ต้องทุ่มเทลงไป             ขณะนี้องค์การอนามัยโลกกำลังประสานกับผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโรคนี้ อย่างใกล้ชิด ซึ่งคาดว่า จะพยายามให้มีปริมาณวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ให้มากที่สุด ภายในเวลาไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ส่วนในระหว่างที่รอการผลิตวัคซีนนั้น ขอให้ใช้มาตรการด้านสาธารณสุขและชุมชนหรือมาตรการที่ไม่ใช้ยา/เวชภัณฑ์ (Non-pharmaceutical Intervention) เช่น การส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคล การจำกัดการชุมนุม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อร่วมด้วย ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก ยังคงแนะนำว่า ไม่ควรจำกัดการเดินทางหรือปิดพรมแดน    ยาต้านไวรัส 20. มียาชนิดใดบ้างที่สามารถรักษาโรคนี้ได้ ?            ยาต้านไวรัสซึ่งใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่นี้ได้ผล คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน และยา zanamivir เป็นยาชนิดพ่น แต่ผลการตรวจเชื้อไวรัสนี้พบว่าเชื้อนี้ดื้อต่อยาต้านไวรัส amantadine และ rimantadine ยาต้านไวรัส oseltamivir จะให้ผลรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ดีที่สุด ถ้าผู้ป่วยได้รับยาเร็วภายใน 2 วันนับตั้งแต่เริ่มมีไข้ 21. ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ในไทย ขณะนี้มีพอเพียงหรือไม่ ?            เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 95 อาการไม่รุนแรง สามารถหายป่วยได้เองหรือการรับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาลหรือได้ยาต้านไวรัส ประเทศไทยจึงมีความมั่นใจได้ว่า ได้สำรองยานี้ไว้พอเพียงสำหรับสถานการณ์ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคได้สำรองยาพร้อมใช้ทั่วประเทศจำนวน 420,000 ชุด (สำหรับผู้ป่วย420,000 ราย) โดยองค์การเภสัชกรรมได้สำรองวัตถุดิบสำหรับผลิตเพิ่มอีก 1 แสนชุด (สำหรับผู้ป่วย 100,000 ราย) 22. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานภาคเอกชน จำเป็นต้องสำรองยาต้านไวรัสหรือไม่ อย่างไร ?            ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ใช้ในขณะนี้คือ โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) โดยใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาและป้องกันโรค ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการสำรองยาต้านไวรัส เพื่อเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ และเพื่อขยายปริมาณสำรองยาต้านไวรัสของประเทศ              อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวถือเป็นยาควบคุมพิเศษ เนื่องจากต้องติดตามการดื้อยาและอาการอันไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ให้ใช้เฉพาะในสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และแพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยา สถานประกอบการสามารถสำรองหรือบริจาคยาผ่านโรงพยาบาลเอกชนที่กระทรวงสาธารณสุขให้ความเห็นชอบ โดยผู้นำเข้าติดต่อส่งหลักฐานการนำเข้าให้กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เตือนภัย 15 โรคติดต่อ ที่มาพร้อมกับฤดูฝน

เตือนภัย 15 โรคติดต่อ ที่มาพร้อมกับฤดูฝน     เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในฤดูกาลนี้ เป็นสาเหตุทำให้โรคหลายชนิด สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว ควรดูแลและป้องกันโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน ซึ่งมี 5 กลุ่ม รวมทั้งหมด 15 โรค ได้แก่      1.กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ      2.กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนังที่พบบ่อย คือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือไข้ฉี่หนู อาการเด่นคือ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรง และตาแดง      3.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม      4.กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3 โรค ได้แก่           4.1 ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน           4.2 ไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese Encephalitis) มียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรค           4.3 โรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่า เป็นพาหะนำโรค      5.โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรก กระเด็นเข้าตา      นอกจากนี้ ในช่วงหน้าฝนต้องระวังอีก 2 เรื่อง คือ ปัญหาน้ำกัดเท้าที่เกิดจากเชื้อรา สาเหตุเกิดจากการแช่น้ำสกปรกนานๆ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดง ถ้าเกาจะเป็นแผลมีน้ำเหลืองออก และอันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมลงป่องที่หนีน้ำมาอาศัยในบริเวณบ้าน ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องระวังคือการรับประทานยาลดไข้ เช่น ยาในกลุ่มแอสไพริน ห้ามกินอย่างเด็ดขาด เพราะมีอันตรายกับบางโรคที่สำคัญ 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้ฉี่หนู ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอยู่แล้ว หากได้รับยาแอสไพริน ซึ่งมีสารป้องกันเลือดแข็งตัวเข้าไปอีก จะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น ทำให้เสียชีวิตได้ง่ายขึ้น      ในการป้องกันโรคในฤดูฝน ขอให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สวมเสื้อผ้ารักษาร่างกายให้อบอุ่น เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค โดยเฉพาะเด็กกับผู้สูงอายุควรดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง หนาวเย็น จะทำให้ร่างกายที่มีระดับภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าคนวัยอื่นๆ อยู่แล้ว ต่ำลงไปอีก จึงมีโอกาสติดเชื้อโรคทางเดินหายใจได้ง่าย ควรดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้ม รับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง  ขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไขมันในเลือด หรือ โคเลสเตอรอล

ไขมันในเลือด หรือ โคเลสเตอรอล          มารู้จักไขมันในเลือด หรือ โคเลสเตอรอลกัน ว่าโคเลสเตอรอล มาจากไหน และค่าที่ตรวจได้ จะเป็นอย่างไร หากคุณไม่เคยตรวจสุขภาพมาก่อนเลย ได้เวลาแล้ว ที่คุณควรจะรับการตรวจสุขภาพดูบ้าง เพราะอาหารการกินในยุคนี้ ทำให้ ไขมันในเลือด สูงได้โดยง่าย อ่านรายละเอียดได้เลยค่ะ ไขมันในเลือด หรือ โคเลสเตอรอล โคเลสเตอรอล มาจากไหน   1 ใน  3 ได้รับมาจากอาหาร ไขมันจากอาหารที่กินเข้าไปจะถูกย่อยและส่งไปที่ตับ แล้วส่งไปทั่วร่างกาย 2  ใน 3 ร่างกายสร้างขึ้นเองจากตับ ตับจะสร้าง โคเลสเตอรอล ที่ร่างกายต้องการช่วยไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย   ภัยร้ายจากโคเลสเตอรอลทำให้ 1.หลอดเลือดแดงผิดปกติ  เลือดไหลเวียนไม่สะดวก 2.เริ่มมีโคเลสเตอรอลจับที่ผนังหลอดเลือดแดงด้านใน 3.ไขมันสะสมมากขึ้นจนเริ่มก่อตัวเป็นพลาครบกวนการไหลเวียน  ของเลือดจนอาจเกิดหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง 4.โคเลสเตอรอลจับตัวเป็นพลาคที่ใหญ่ขึ้น จนกระทั่งหลอดเลือดแดง  อาจถูกปิดกั้นทั้งหมดพลาคอาจแตกออกและมีโคเลสเตอรอลหลุดออกมา  ก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันและเกิดหัวใจวายเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมองตามมาได้   คุณเคยตรวจเลือด ดูมีระดับโคเลสเตอรอล บ้างหรือไม่ ถ้าเคย อยู่ในระดับไหน          ระดับโคเลสเตอรอล (ไขมันโดยรวม) HDL ไขมันตัวดี LDL ไขมันตัวร้าย และไตรกลีเซอไรด์ที่วัดได้โดยการตรวจเลือดมีระดับค่าดังนี้ Total Cholesterol (มก./ ดล.) <200                      เหมาะสม 200-239                 เกือบสูง ≥240                   สูง HDL Cholesterol (มก./ ดล.) < 40                        ต่ำ ≥ 60                   สูง LDL Cholesterol (มก./ ดล.) < 100                     เหมาะสม 100-129                เกินเหมาะสม 130-159                เกือบสูง 160-189                สูง ≥ 190                 สูงมาก   Triglycerides (มก./ ดล.) < 150                     เหมาะสม 150-199                เกือบสูง 200-499                สูง ≥ 500                 สูงมาก            หากคุณไม่เคยตรวจสุขภาพมาก่อนเลย ได้เวลาแล้ว ที่คุณควรจะรับการตรวจสุขภาพดูบ้าง เพราะอาหารการกินในยุคนี้ ทำให้ ไขมันในเลือด สูงได้โดยง่าย      ด้วยความปรารถนาดีจาก แผนกตรวจสุขภาพ รพ.วิภาวดี [email protected]

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคตาแดง ระบาด ช่วงหน้าฝน

โรคตาแดง ระบาด ช่วงหน้าฝน โรคตาแดง       โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อไวรัส Viral Conjunctivitis  เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ Adenovirus มักจะระบาดในชุมชน โรงเรียน ที่ทำงาน การติดต่อมักจะติดต่อโดยการสัมผัสทางมือ เครื่องมือ  สระว่ายน้ำ ฤดูกาลของโรคตาแดง มักพบผู้ติดเชื้อไวรัสตาแดงในฤดูฝน อาการที่สำคัญ คือ  ตาแดงเฉียบพลัน น้ำตาไหล เยื่อบุตาบวม ต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโต เคืองตาเล็กน้อย บางรายอาจจะมีเลือดออกที่ตาขาว อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน    แล้วค่อยลามมาอีกข้างหนึ่ง เนื่องจากโรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัสจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงสัมผัสกับ คนอื่นเป็นเวลา 7 วันนับตั้งแต่เกิดอาการ  การติดเชื้อไวรัส  กลุ่มอาดิโนไวรัส ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วย ที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง ไม่ติดต่อทางการสบสายตา ทางอากาศ หรือทางรับประทานอาหารร่วมกัน อาการเกิดได้ภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน การติดต่อ  จะติดต่อกันง่ายมากโดย  1. การคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคตาแดง  2. ใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย  3. ปล่อยให้ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา  4. ปล่อยให้แมลงวี่ หรือแมลงวันตอมตา  5. ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้า ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส จะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมีสีแดงเรื่อ ๆ น้ำตาไหล เจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย การติดเชื้อแบคทีเรีย มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างได้ ถ้าไม่ระวังให้ดี ถ้าระมัดระวังไม่ให้น้ำตามข้างที่ติดเชื้อไว้รัส มาถูกตาข้างที่ดี จะไม่เป็นตาแดง แต่ส่วนใหญ่มักเป็นไปอีกข้างอย่างรวดเร็ว   การป้องกัน  1. ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ  2. ไม่คลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย  3. ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที  4. อย่าปล่อยให้แมลงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา  5. หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ให้สะอาดอยู่เสมอ  ผู้ป่วยโรคตาแดงควรหยุดเรียนหรือหยุดงานรักษาตัวอยู่ที่บ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้โรคตาแดงลุกลาม หรือติดต่อสู่คนอื่น                         ด้วยความปรารถนาดีจากแผนกจักษุและเลสิค รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) เกิดจากอะไร

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) เกิดจากอะไร           โรคอีสุกอีใส (Chickenpox)  คือเกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) หรือ Human Herpes Virus Type 3 เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิด งูสวัด    อาการ 2 ลักษณะสำคัญของโรค 1.  เด็กที่เป็นจะมีไข้ต่ำ อ่อนเพลียและเบื่ออาหาร ส่วนผู้ใหญ่มักจะมีไข้สูง มีอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัวคล้ายไข้หวัด อาจจะมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ 2.  จะมีผื่นขึ้นพร้อมๆ กับวันที่เริ่มมีไข้ หรือ 1 วันหลังมีไข้ โดยในระยะแรกจะขึ้นเป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใสๆ และคัน ต่อมาอีก 2-3 วันก็จะตกสะเก็ด ผื่นและตุ่มเหล่านี้จะขึ้นตามไรผมก่อนแล้วกระจายไปตามใบหน้าและลำตัว แผ่นหลัง บางคนจะมีตุ่มขึ้นในช่องปากทำให้ปากและลิ้นเปื่อย จะเกิดอาการเจ็บคอ  ระยะเวลาของโรค จากเริ่มมีตุ่มจนเป็นสะเก็ด ประมาณ 6-7 วัน   อาการแทรกซ้อน           โดยทั่วไป ผื่นจากอีสุกอีใสจะหายโดยไม่มีแผลเป็น  ยกเว้นมีการติดเชื้อ แบคทีเรียแทรกซ้อน จะทำให้ผื่นกลายเป็นหนอง และมีแผลเป็นตามมา ในบางรายเชื้ออาจจะกระจายเข้าไปในกระแสเลือด  ทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษและปอดบวมได้ ในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ได้รับยารักษามะเร็ง หรือได้ยา สเตอรอยด์ เชื้ออาจจะกระจายไปยังอวัยวะภายใน เช่น สมอง ปอด และตับได้   การติดต่อ            โดยการสัมผัส ถูกตุ่มน้ำโดยตรง หรือสัมผัสถูกของใช้ที่เปื้อนตุ่มน้ำของคนที่เป็นอีสุกอีใสหรืองูสวัด หรือหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำผ่านเข้าไปทางเยื่อเมือก  ระยะฟักตัว 10-20 วัน   การรักษา           อีสุกอีใสถึงแม้จะไม่ใช่โรคที่รุนแรงในเด็กแต่มักจะเป็นโรคที่หายเองได้ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้น้องๆหนูๆต้องขาดเรียน เพราะเป็นโรคที่ติดต่อถึงผู้อื่นได้  การรักษาจะรักษาตามอาการ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน ควรพักผ่อน และดื่มน้ำมากๆ ถ้ามีไข้สูงให้ใช้ยา พาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อลดไข้ได้ ไม่ควรใช้ แอสไพริน (Aspirin) เพราะอาจทำให้เกิดอาการทางสมองและตับ จนทำให้ถึงตายได้ การปฏิบัติตัว -  ควรอาบน้ำและใช้สบู่ฟอกผิวหนังให้สะอาด  ตัดเล็บให้สั้นและหลีกเลี่ยงการแกะเกา -  การให้ยาต้านไวรัส เพื่อให้ได้ผลดีควรให้รับประทานยาภายใน 24 – 48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น เรื่องควรรู้  1.  โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว มีโอกาสเป็นงูสวัดได้ ในภายหลังประมาณร้อยละ 15% เพราะจะ มีเชื้อหลบอยู่ที่ปมประสาทของร่างกาย (Dorsal North Ganglia) 2.  ควรแยกผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดต่อ โดยระยะแพร่เชื้อจะเริ่มตั้งแต่ 24 ชม. ก่อนที่มีผื่นและตุ่มจะแห้งหมดใช้เวลา 6 – 7 วัน 3.  ไม่มีอาหารที่ต้องห้าม สามารถรับประทานอาหารได้ทุกอย่าง 4.   ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสแล้ว แต่เนื่องจากวัคซีนยังมีราคาค่อนข้างสูงสำหรับประเทศไทย จึงยังไม่กำหนดให้เป็นวัคซีนภาคบังคับ แต่มีข้อแนะนำสำหรับเด็กที่จะฉีดวัคซีน คือสามารถ เริ่มฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป ฉีด 1 เข็ม และปัจจุบันแนะนำให้ฉีดกระตุ้นอีกเข็ม ตอนอายุ 4 – 6 ปี ถ้าฉีดตอนอายุเกิน 12 ปี ให้ฉีด 2 -เข็ม ห่างกัน 4 – 8 สัปดาห์ การฉีดวัคซีนให้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หลังจากฉีดวัคซีนใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการสร้างภูมิต้านทาน ผลข้างเคียงของวัคซีน   วัคซีนมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง แต่อาจจะทำให้มีไข้, ร้อนแดงตรงตำแหน่งที่ฉีดพบได้ร้อยละ 5 บางรายอาจมีผื่นคล้ายผื่นอีสุกอีใสแต่ไม่รุนแรงประมาณ ร้อยละ 3 – 4 ประโยชน์ของการฉีดวัคซีน  ลดอัตราการเกิดโรคอีสุกอีใสและลดอัตราการเกิดโรคงูสวัด ข้อห้าม   ห้ามฉีดวัคซีนในหญิงมีครรภ์ ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ หลังฉีดควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนหลังจากฉีดยา ผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดไม่ควรฉีดในระหว่างที่ทำการรักษาอยู่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  แผนกกุมารเวชรพ.วิภาวดี โทร. 0-2561-1111 กด 1

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รักษาโรคปวดหลังด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง

การผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อรักษาโรคปวดหลัง โรคปวดหลังที่มักต้องรับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด มักมีสาเหตุหลัก ๆ คือ      - หมอนรองกระดูกสันหลังทรุดหรือแตก กดทับระบบประสาท (เส้นประสาท หรือไขสันหลัง)      - กระดูกสันหลังเสื่อมและทรุดตัว ร่วมกับมีหินปูนงอกออกมากดทับระบบประสาท      - กระดูกสันหลังเคลื่อนตัวอันเนื่องมาจากความเสื่อมของกระดูกหรือจากอุบัติเหตุ      - มีเนื้องอกในระบบประสาทหรือในกระดูกสันหลัง สาเหตุดังกล่าวข้างต้นมักทำให้ผู้ป่วยมีอาการมากน้อยต่างกันออกไป ที่พบได้บ่อยและมักเป็นเหตุให้ผู้ป่วยต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดคือ      - มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ แขนหรือขา       - มีอาการชาปลายมือ ปลายเท้า      - มีลักษณะของกล้ามเนื้อที่ลีบลง ผู้ป่วยรู้สึกตัวว่ากำลังมือหรือขาลดลง      - ทรงตัว เดินลำบาก เดินได้ไม่ไกล      - มีอาการปวดรุนแรง หรือปวดจนรบกวนการทำงานในชีวิตประจำวัน (ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดศีรษะ) และไม่ตอบสนองต่อยาที่รักษา ทำไมต้อง “กล้อง”          อาการเหล่านี้เมื่อแพทย์วินิจฉัยแน่นอนแล้วว่าจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อแก้ไขความผิดปกติดังกล่าว การผ่าตัดผ่านกล้องมีข้อดีเหนือกว่าการผ่าตัดด้วยตาเปล่ามากมาย เช่น ลดโอกาสเกิดความผิดพลาดในการผ่าตัดซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยกังวลทีสุดคือกลัวว่าผ่าแล้วจะเดินไม่ได้ เป็นอัมพาต เป็นต้น ลดระยะเวลาที่ต้องนอนพักในโรงพยาบาลเหลือเพียงสองสามวัน (อาจสั้นหรือนานกว่านี้ ขึ้นกับความซับซ้อนของโรคและความรุนแรงของโรคเมื่อมาพบแพทย์) ลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปเพื่อพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลา 10-14 วัน ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้เร็ว ลดความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากแผลผ่าตัดที่เล็กกว่าการผ่าตัดด้วยตาเปล่า ข้อเสียของวิธีนี้แทบไม่มี เพียงแต่โรงพยาบาลต้องมีความพร้อมทั้งในเรื่องของวิทยาการผ่าตัด ทีมแพทย์ และเครื่องมือผ่าตัดซึ่งต้องลงทุนสูง (เฉพาะกล้องผ่าตัดก็มีราคาหลายล้านบาท เครื่องกรอกระดูกรอบความเร็วสูง(เกือบแสนรอบต่อนาที)ซึ่งราคาแพงมาก)  การผ่าตัดบริเวณคอ          ใช้ในรายที่มีสาเหตุอันเนื่องมาจากหมอนรองกระดูกส่วนคอ หรือกระดูกสันหลังส่วนคอผิดปกติ มีการกดทับระบบประสาท หรือ มีการเคลื่อนตัวของกระดูก เป็นต้น แผลผ่าตัดมักอยู่บริเวณด้านหน้าคอ ยาวประมาณ 2-3 ซม. ใช้เวลาการผ่าตัดประมาณ ชั่วโมง (อาจสั้นหรือนานกว่านี้ ขึ้นกับความรุนแรงของโรค) หลังผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีอาการกลืนน้ำลายลำบาก คอแห้ง ปวดเมื่อยคอหรือไหล่ แต่มักหายไปเองภายใน24 ชั่วโมง โดยทั่วไปผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้ทันทีในวันรุ่งขึ้นหลังผ่าตัด ไม่จำเป็นต้องใส่ปลอกคอและสามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป โดยไม่จำเป็นต้องตัดไหม (ไม่มีรอยตีนตะขาบอันเนื่องมาการเย็บแผล) การผ่าตัดบริเวณเอว          ใช้ในรายที่สาเหตุอันเนื่องมาจากหมอนรองกระดูกส่วนเอว หรือกระดูกส่วนเอวมีปัญหากดทับระบบประสาท ผู้ป่วยมักมีปัญหาปวดเมื่อยเอว เดินไกลไม่ไหว ไม่มีแรง ชาหรือปวดหลังร้าวลงมาที่ขาหรือปลายเท้า บางรายอาจมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย การผ่าตัดผ่านกล้องมักลงแผลที่ด้านหลังตรงกับระดับที่มีปัญหา แผลยาวประมาณ 3-4 ซม. (สั้นหรือยาวกว่านี้ขึ้นกับระดับที่เป็นและขนาดน้ำหนักตัวผู้ป่วย) หลังผ่าตัดมักให้ผู้ป่วยนอนพักประมาณ 24-48 ชั่วโมง ก่อนอนุญาตให้ลงน้ำหนัก ซึ่งนักภายภาพบำบัดจะเข้ามาดูแลต่อ  ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง http://www.vibhavadi.com/neuro/  รพ.วิภาวดี โทร. 0-2561-1111 , 0-2941-2800 กด 1

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การรักษาโรคปวดหลังโดยไม่ต้องผ่าตัด

การรักษาโรคปวดหลังโดยไม่ต้องผ่าตัด          อาการปวดหลัง (ปวดเอว ปวดคอ) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน สาเหตุหลักคือ ลักษณะการใช้งานกระดูกสันหลังที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้นว่า เกิดจากการนั่งทำงานนาน ๆ โดยไม่เหมาะสม เช่น จอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับที่ไม่พอดีกับระดับสายตา เก้าอี้ที่ใช้นั่งทำงานไม่ได้ออกแบบมาให้พอดีกับสรีระของผู้ใช้ หรือ อาจเกิดจาดอุบัติเหตุ เช่น ยกของหนัก การบิดคอหรือเอวอย่างรุนแรง เหล่านี้ทำให้ท่านสามารถมีอาการปวดหลังได้ การรักษาโรคปวดหลัง โดยส่วนใหญ่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ มีเพียงบางส่วนที่จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกสันหลัง  การรักษาด้วยยา           เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุดในผู้ที่มีอาการปวดหลัง มากกว่าครึ่งของผู้ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดเอว มักเกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ หรือ การเจ็บบริเวณเส้นเอ็น ซึ่งสามารถดีขึ้นได้ด้วยการให้ยา ยาที่ใช้กันมากในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้อักเสบ ยาบำรุงระบบประสาท ที่เหลืออาจเป็นยาในกลุ่มคลายเครียด ยาช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น เป็นต้น ข้อดีของวิธีการรักษาวิธีนี้คือการที่ไม่ต้องเจ็บตัวจากการถูกผ่าตัด ค่าใช้จ่ายไม่สูงเหมือนกับการผ่าตัด แต่อย่างไรก็ดีก่อนที่จะให้การรักษาด้วยวิธีนี้แพทย์ต้องแน่ใจก่อนว่าผู้ป่วยไม่มีสาเหตุอื่นที่รุนแรงและอาจต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไขหลบซ่อนอยู่ มิฉะนั้นแล้ว หากเกิดกรณีดังกล่าว ผู้ป่วยอาจมีอาการแย่ลงมากในภายหลังและทำให้การรักษายุ่งยากขึ้นมาก  การรักษาด้วยการทำกายภายบำบัด           มักใช้เป็นวิธีเสริมกับการรักษาวิธีอื่น เช่น การให้ยาควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด การทำกายภาพบำบัดภายหลังการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติ วิธีที่ใช้เช่น การนวดกล้ามเนื้อด้วยความร้อนจากเครื่อง ultrasound การให้ความร้อนด้วยparaffin การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า การฝังเข็ม การฉีดยาเฉพาะจุดในตำแหน่งที่มีอาการปวด การดึงหลัง หรือดึงคอ          สิ่งที่ต้องทราบก่อนทำกายภาพบำบัดคือ ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีโรคอื่นใดที่ต้องผ่าตัดแอบแฝงอยู่ เช่น ผู้ป่วยบางรายมีการเสื่อมของกระดูกคออย่างมากและจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาการกดทับระบบประสาทก่อนการทำกายภาพบำบัด (ดึงคอ) มิฉะนั้นแล้วหากฝืนไปดึงคอหรือดึงหลัง ทั้ง ๆ ที่มีการกดทับของระบบประสาทอยู่ อาจทำให้มีอาการแย่ลงถึงขนาดเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ได้ภายหลักดึงคอหรือดึงเอว ดังนั้นในรายที่อาจมีปัญหาดังกล่าว แพทย์มักจะขอส่งตรวจทางรังสีวินิจฉัย เป็นต้นว่า การ x-ray กระดูกคอ หรือ เอว การทำ MRI (ตรวจด้วยสนามแม่เหล็ก) เพื่อวินิจฉัยแยกโรคและประเมินความรุนแรงของการกดทับระบบประสาท ก่อนส่งไปทำกายภาพบำบัด          อีกประการที่ผู้ป่วยต้องทราบคือ แม้ว่าแพทย์อาจลงความเห็นว่า “ยังไม่ต้องผ่าตัด” แต่ก็มิได้หมายความว่าการทานยาหรืออากรทำกายภาพบำบัดจะรักษาโรคได้หมด เพราะหลายรายอาจมีการเสื่อมของกระดูกหรือหมอนรองกระดูกสันหลังมากขึ้นในอนาคต การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ในอนาคตผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเสื่อมของกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลัง แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นในระยะแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ การเสื่อมที่เป็นมากขึ้นจะทำให้อาการต่าง ๆ กลับมาอีกและอาจต้องพิจารณาการรรักษาด้วยวีธีอื่นต่อไป    การรักษาด้วยการฉีดยาเฉพาะที่            วิธีนี้แพทย์จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อได้ทำการตรวจรักษาผู้ป่วยไปสักระยะแล้วไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เป็นต้นว่าผู้ป่วยกลับมาปวดหลังอีก หรือ อาการปวดไม่ดีขึ้นเลย แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยภาพรังสีก่อนเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวด เช่น การกดทับระบบประสาท การเสื่อมหรือทรุดตัวของหมอนรองกระดูกสันหลัง วิธีการวินิจฉัยที่ถือเป็นมาตรฐานในปัจจุบันคือ การตรวจด้วยสนามแม่เหล็ก (MRI) เมื่อแพทย์แน่ใจว่าผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ในขณะเดียวกันก็ตอบสนองต่อยาที่ให้ไม่ดีนัก แพทย์อาจพิจารณาการฉีดยาเพื่อระงับอาการปวดเฉพาะที่ เช่น ฉีดยาที่ข้อต่อ (Facet joint injection) การฉีดยาเข้าที่รอบเส้นประสาท (Median branch block) เป็นต้น ยาที่ใช้มักเป็นยาในกลุ่มยาชา หรือ ยาแก้อักเสบ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาวิธีนี้สามารถรักษาได้แบบผู้ป่วยนอก หรือ อยู่โรงพยาบาลเพียงสองสามวันก็กลับบ้านได้  การซ่อมแซมหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยการใช้คลื่นความร้อน       วิธีนี้เป็นเหมือนการซ่อมแซมหมอนรองกระดูกสันหลังที่มีปัญหาให้สามารถพอใช้งานได้ไปอีกระยะ โดยแพทย์จะใช้เข็มแทงเข้าไปหมอนรองกระดูกสันหลังที่มีปัญหา ที่ปลายเข็มจะมีขั้วไฟฟ้า(electrode)เล็ก ๆ ที่สามารถส่งผ่านความร้อนไปยังหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังหดตัวลง ยังผลให้เส้นประสาทที่ถูกดทับจากหมอนรองกระดูกสันหลังมีอาการทุเลาลง ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายในสองสามวัน  โดยสรุปแล้วการรักษาโรคปวดหลัง (ปวดคอ ปวดเอว) จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอนก่อนวางแผนการรักษา การวินิจฉัยที่ถือเป็นมาตรฐานในปัจจุบันคือการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์สนามแม่เหล็ก (MRI) ภายหลังการวินิจฉัย แพทย์จะวางแผนการรักษาได้ง่ายขึ้น หากไม่จำเป็นจะไม่มีการผ่าตัด แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ต้องผ่าตัด แพทย์อาจพิจารณาทางเลือกสุดท้ายคือ การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมหรือแก้ไขความผิดปกติที่รุนแรงนั้น ๆ ซึ่งการผ่าตัดที่ถือเป็นมาตรฐานในปัจจุบันสำหรับศูนย์โรคปวดหลังโรงพยาบาลวิภาวดีคือ การผ่าตัดด้วยกล้อง ซึ่งผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายในสองสามวันเช่นกัน  ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ ศูนย์สมอง รพ.วิภาวดี โทร.0-2561-1111 , 0-2941-2800 กด 1

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

13 วิธี สู่การมีชีวิตประจำวันอย่างสุขภาพดี

13 วิธี สู่การมีชีวิตประจำวันอย่างสุขภาพดี          การมีสุขภาพดี...ไม่ใช่เรื่องอยาก แต่ต้องอาศัยความตั้งใจและการมีวินัยในตัวเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราเห็นประโยชน์ของการกระทำสิ่งนั้น 13 วิธีเพื่อสุขภาพที่ดีในวิถีประจำวัน เป็นข้อแนะนำการใช้ชีวิตที่เราๆ ท่านๆ สามารถปฏิบัติตามได้ โดยมีเป้าหมาย คือ การเป็น-อยู่ อย่างสุขภาพดี    อยากกระฉับกระเฉง ต้องกินมื้อเช้า ใครที่บอกว่าไม่มีเวลาถือว่าขาดทักษะการบริหารเวลาเชียวนะ ต้องถือว่าการกินมื้อเช้าเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องปฏิบัติ และในแต่ละวันควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่  ดื่มน้ำให้ถูกจังหวะ ระหว่างมื้ออาหารไม่ควรดื่มน้ำมาก เพราะจะทำให้น้ำย่อยเจือจาง ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด หรือถึงขั้นอาเจียนได้แต่ตอนเช้าหลังตื่นนอนควรดื่มน้ำสัก 1- 2 แก้ว จะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ ใน “ขยับ เท่ากับออกกำลังกาย” ทำได้ง่ายๆ เช่น เดินไปคุยงานกับเพื่อนห้องข้างๆ แทนการใช้โทรศัพท์ ทำงานบ้านด้วยตัวเองทุกครั้งเมื่อมีโอกาส  ปัญหาเรื่องข้อเข่าพบมากขึ้นในคนวัยทำงานทั้งๆ ที่อายุยังไม่มากนักจึงควรป้องกันไว้แต่เนินๆ โดยลดเลี่ยงกิจกรรม หรือการออกกำลังกายที่จะทำให้เกิดการกดน้ำหนักที่ข้อเข่ามากๆ อย่างกระโดดเชือก รวมทั้งไม่ยืน หรือยกของหนักเป็นเวลานานๆ แนะนำให้บริหารกล้ามเนื้อรอบหัวเข่าให้แข็งแรง โดยนั่งยกขาทีละข้างแล้วเกร็งค้างไว้ หรือออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ หรือขี่จักรยาน ผู้ที่ทำงาน ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ควรหยุดพักสายตาและลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายยืดกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลายเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้ดวงตาอ่อนล้าและเกิดเส้นยึด จนมีอาการปวดเมื่อยเป็นประจำ หนำซ้ำอาจพ่วงโรคไมเกรนมาเป็นของแถว ควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นดัชนีชี้วัดสุขภาพของเราในเรื่องหลักๆซึ่งสัมพันธ์กับโรคยอดนิยมทั้งหลายได้เป็นอย่างดี เช่น โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น  ยิ้มรับอรุณทุกวัน เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีก่อนเริ่มวันใหม่และบอกสิ่งดีๆ กับตัวเองในกระจกเพื่อปลุกจิตใจประจำวัน เช่น ฉันมีความสุขมาก และหัวเราะทุกครั้งที่มีโอกาสเพื่อรับสารแห่งความสุขที่หลั่งจากสมอง การหัวเราะตามธรรมชาติ นับเป็นยาอายุวัฒนะชะลอความแก่ให้กายและใจได้เป็นอย่างดี มองหาข้อดีในเรื่องร้ายๆ เพราะทุกเรื่องที่เกิดขึ้นกับเราเป็นเสมือนเหรียญสองด้าน ขึ้นอยู่กับว่า…เราจะเลือกมองอย่างไรให้ได้ประโยชน์ การที่เราพบกับเรื่องร้ายๆ และเราก็ผ่านมันได้โดยยังมีลมหายใจอยู่ สิ่งที่เราได้แน่ๆ คือบทเรียนสำคัญที่จะไม่ให้เรื่องแบบนั้นเกิดขึ้นอีก และเรายังได้รับความอดทน ความเข้มแข็งของจิตใจซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันให้ตลอดชีวิตเป็นของแถมที่ล้ำค่าอีกด้วย ให้รางวัลแก่ตัวเองเมื่อเราสามารถทำเรื่องยากๆ หรือเป็นสิ่งดีที่ฝืนความรู้สึก ได้การเอาชนะสิ่งอื่นใด ก็ยิ่งใหญ่เท่าเอาชนะใจตัวเอง รางวัลที่แท้จริงที่จะอยู่กับตัวเราไปตลอด คือ ความรู้สึกชื่นชมและเคารพตัวเองซึ่งลึกซึ่งกินใจยิ่งกว่ารางวัลใดๆ จากใครทั้งมวล รู้จักให้อภัยทำใจให้เป็นกลาง กับศัตรู คู่แข่ง จนถึงคนที่เราไม่ถูกชะตา เกลียดหน้าแบบไม่มีเหตุผล ไม่ว่าจะเกิดเรื่องใดๆ ระหว่างกันมาก่อนหรือเพียงแค่มองหน้าก็พาให้โมโห เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาในอดีตมันจบลงอย่างไม่สมบูรณ์แล้ว การฟื้นฝอยอารมณ์ขุ่นมัวขึ้นมาในใจ คนเสียหายขาดทุนก็คือตัวเราคนเดียว เราจึงควรฝึกให้อภัย ทำไปสักพัก ใจเราก็จะรู้สึกเบาขึ้น ความรู้สึกด้านลบจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นกลางแล้วอาจกลับกลายเป็นบวกได้ในที่สุด   “การให้” เป็นสิ่งที่สร้างความสุขใจให้เกิดกับทุกฝ่ายทั้งผู้ให้และผู้รับ การให้ไม่ได้นับเฉพาะการให้เงิน หรือสิ่งของ การให้สามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้งการให้แรงกายช่วยทำกิจการงาน การให้กำลังใจ การให้ความรู้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ จนถึงการให้อภัย นอกจากความสุขในใจแล้ว การให้ยังช่วยให้เราพัฒนาคุณธรรมของตัวเอง จัดการกับเรื่องกังวลก่อนนอน อย่ามัวเสียเวลานอนคิดพลิกซ้าย-ขวาให้ลุกขึ้นมาเขียนเรื่องที่กังวลนั้นใส่กระดาษพร้อมเขียนวิธีแก้ไข ถ้าคิดไม่ออกก็เขียน “ฝากไว้ก่อน”จะได้ทิ้งเรื่องนั้นใส่ในกระดาษแทนใส่ไว้ในหัวเรา การมีสติ คือ การรู้สึก เป็นสิ่งที่ควรฝึกปฏิบัติให้เคยชิน หลายคนอาจนึกว่าการลืมตาไม่ได้หลับไหล นั่นก็คือการมีสติ แต่ถ้าเราพิจารณาลงลึกสังเกตตัวเราให้ถี่ถ้วน จะพบว่าใจเราไม่ได้อยู่กับตัวเราตลอดทุกวินาทีแม้จะลืมตาตื่นก็เถอะ เดี๋ยวก็ใจลอยคิดห่วงหน้า พะวงหลัง การฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันขณะแบบง่ายๆ ทำได้โดยใส่ความตั้งใจไปในทุกงานทุกกิจกรรมที่ทำอยู่ขณะนั้นๆ จะเป็นวิธีการฝึกสติอย่างเป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพ   ด้วยความปรารถนาดีจากรพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<