โรคควรระวัง ก่อนการตั้งครรภ์

โรคควรระวัง ก่อนการตั้งครรภ์              บางทีผู้ที่กำลังจะเป็นแม่หรือตั้งครรภ์  อาจจะเคยเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ  มาก่อน  ซึ่งอาการเจ็บป่วยเหล่านี้  นับเป็นความอันตรายต่อการตั้งครรภ์มาก  เพราะเมื่อตั้งครรภ์ผลข้างเคียงจะส่งผลกระทบเป็นปัญหาแก่คุณแม่เองรวมทั้งทารกน้อยในครรภ์อีกด้วย  ซึ่งโรคที่สำคัญและมีอันตราย ดังนี้   - โรคความดันโลหิตสูง   - โรคซีด   - โรควัณโรคปอด   - โรคไตเรื้อรัง   - โรคเบาหวาน   - โรคหัวใจ   - โรคหืด   - โรคหัดเยอรมัน           โรคดังกล่าวนี้  จะมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์  หรือในขณะที่คลอดและหลังการคลอดได้อีกด้วย  ซึ่งอาจจะมีผลเสียต่อทารกในครรภ์                                        ขอบคุณข้อมูลหนังสือ Baby Guide

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การตั้งครรภ์... กับการลดความเครียด

การตั้งครรภ์... กับการลดความเครียด           แม้ว่าจะตั้งครรภ์สมความตั้งใจของคุณแม่ แต่การตั้งครรภ์ก็สามารถนำความเครียดหรือวิตกกังวลมาสู่คุณแม่ได้เนื่องจากต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง อารมณ์ การดำเนินชีวิต โดยเฉพาะการทำงาน คุณแม่คงต้องเรียนรู้วิธีจัดการเกี่ยวกับความเครียดเพราะหากเครียดมากไปคุณแม่อาจจะนอนไม่หลับ รับประทานอาหารได้น้อยลง และหากทิ้งไว้นาน ๆ อาจทำให้ความดันโลหิตสูงได้ ความเครียด มาจากไหน - เกิดจากอาการของการตั้งครรภ์ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย ปวดหลัง เป็นต้น คุณแม่ไม่ต้องกังวลเนื่องจากอาการดังกล่าวเป็นแค่ช่วงสั้นเท่านั้น พอย่างเข้าสู่ไตรมาสสองอาการต่าง ๆ จะหายไป - การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนทำให้อารมณ์ผันผวน คุณแม่ต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและพยายามอย่าใส่ใจให้มาก - ความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพเด็ก การเลี้ยงดู การเป็นพ่อแม่ที่ดี การเงิน เป็นต้น คุณแม่ต้องอย่ากังวลเกินกว่าเหตุ ควรปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์ จะได้ข้อมูลที่ดี -  ผลของความเครียดต่อการตั้งครรภ์ -  มีหลักฐานพอจะยืนยันได้ว่าหากเครียดมาก ๆ จะทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด เด็กทารกน้ำหนักตัวน้อย และการแท้งได้ ลดความเครียด ได้อย่างไร -  ค้นหาให้เจอว่าความเครียดเกิดจากอะไร และแก้ที่ต้นเหตุ เช่น ความเครียดจากที่ทำงานหรือจากตัวเอง -   ให้ดำเนินชีวิตขณะตั้งครรภ์ให้ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารที่ถูกต้อง ออกกำลังกาย งดสุรา งดกาแฟ งดบุหรี่ -  หาคู่คิดปรึกษาที่ดี หันไปมองรอบ ๆ ตัวคนใกล้ชิดที่สุดอย่างสามี หรือญาติสนิท คนในครอบครัวแม้แต่เพื่อนที่คุยกันเข้าใจ เพื่อผ่อนคลายกับการสนทนา -  ลองหาห้องเงียบ ๆ ปราศจากเสียงดังรบกวน ที่คุณแม่สามารถสงบจิตใจทำสมาธิในตัวเอง - หันมามองโลกในแง่ดี ๆ จิตใจจะได้สบาย                                สนับสนุนข้อมูลโดยหนังสือ Baby Guide 2012

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

พัฒนาการที่ดีของลูกน้อยในครรภ์เริ่มดูแลได้ตั้งแต่วันนี้

พัฒนาการที่ดีของลูกน้อยในครรภ์เริ่มดูแลได้ตั้งแต่วันนี้             คุณแม่ทราบหรือไม่คะว่า การได้บริโภคอาหารและได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนแก่ร่างกายในระหว่างการตั้งครรภ์การตั้งครรภ์จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับคุณแม่ และยังช่วยส่งผลดีให้แก่ลูกน้อยในครรภ์ให้มีสุขภาพและพัฒนาการที่แข็งแรงอีกด้วย ลองมาดูกันว่าในช่วงตั้งครรภ์มีสารอาหารสำคัญ ๆ อะไรที่คุณแม่ต้องการบ้างค่ะ  โฟเลท  โฟเลทมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดงที่จำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงเดือนแรก เพื่อพัฒนาเซลล์สมองและระบบประสาทของลูกน้อยให้สมบูรณ์ เราสามารถพบโฟเลทได้ในอาหารจำพวก ตับ เห็ด ฟักทอง ผักสีเหลืองเข้มหรือสีเขียว เช่น มะม่วง ส้ม มะละกอ DHA  ดีเอชเอ เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์สมองและจอประสาท มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการและการทำงานของสมองและจอประสาทตาของลูกน้อยในครรภ์ ดีเอชเอ จะพบได้ใน ปลาทะเล หรือสาหร่ายทะเลบางชนิด แกงกลิโอไซต์  แกงกลิโอไซด์หรือ GA (จีเอ) เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์สมองบริเวณเส้นใย ประสาทและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง มีส่นช่วยทำให้การเรียนรู้จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่าง รวดเร็ว และมีผลต่อระดับสติปัญญาของลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งแกงกลิโอไซต์เป็นสารอาหาร ชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่ในน้ำนมแม่ ใยอาหาร  โดยปกติคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะพบปัญหาเรื่องท้องผูกในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารนั้น สามารถช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร สามารถลดการเกิดท้องเสียและช่วยการขับถ่าย ลดอาการท้องผูกของคุณแม่ได้อีกด้วย ใยอาหารพบได้ใน ผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชต่าง ๆ การเลือกดื่มนมสูตรพิเศษสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้คุณแม่มั่นใจว่าได้รับสารอาหารที่สำคัญครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์และแข็งแรงของลูกน้อยในครรภ์                                 สนับสนุนข้อมูลโดยหนังสือ Baby Guide 2012

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ในขณะตั้งครรภ์

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ในขณะตั้งครรภ์            การออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสม จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก แก่คุณแม่ตั้งครรภ์ ดังต่อไปนี้ - ช่วยให้การทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดิน การยืน หรือการยกของ มีความคล่องตัวขึ้น -  เพิ่มความแข็งแรงของระบบหัวใจและหลอดเลือด - เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ทำให้คลอดบุตรง่าย -  เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหน้าท้องแตกลาย และปริแยก - ป้องกันเส้นเลือดขอด และลดการเป็นตะคริวขณะตั้งครรภ์ - เพิ่มความแข็งแรงของขาในการรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และเพิ่มความแข็งแรงของแขนเพื่อใช้ในการอุ้มและดูแลลูกหลังคลอด - ป้องกันอาการปวดหลังและป้องกันกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ขณะเจ็บท้องคลอด - เพื่อช่วยเตรียมร่างกายขณะคลอด และให้รู้วิธีการผ่อนคลายขณะเจ็บท้องคลอด - ทำให้ร่างกายแข็งแรงภายหลังคลอด คำแนะนำในการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ -ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง - ควรอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย และผ่อนร่างกายภายหลังออกกำลังกาย ครั้งละ 5 นาที - ควรดื่มน้ำระหว่างออกกำลังกาย -ควรออกกำลังกายครั้งละน้อย ๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ -ควรเริ่มออกกำลังกายเมื่อตั้งครรภ์ได้ 2 เดือน แต่สำหรับผู้ที่แท้งง่ายติดต่อกัน ควรเริ่มทำเมื่อตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน -ไม่ควรออกกำลังกายในอากาศที่ร้อนและชื้น หรือกำลังเป็นไข้ และไม่ควรออกกำลังกายจนอุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส -ไม่ควรออกกำลังกายที่ใช้การเคลื่อนไหวแบบกระตุก หรือเคลื่อนไหวเร็วมาก และไม่ควรเหยียดแขน-ขามากจนเกินไป เพราะจะทำให้เอ็นของข้อต่อเกิดการบาดเจ็บได้ -ไม่ควรออกกำลังกายหนักและเหนื่อยมากจนเกินไป โดยสามารถพูดคุยกับผู้อื่นได้ในขณะออกกำลังกายก็เพียงพอ -ภายหลังตั้งครรภ์ 4 เดือนไปแล้ว ไม่ควรออกกำลังกายในท่านอนหงายนานเกิน 5 นาที - ไม่ควรออกกำลังกายในท่าเบ่งหรือกลั้นหายใจ เพราะจะทำให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง จนเกิดการเป็นลมได้                                                          สนับสนุนข้อมูลจากหนังสือ Baby Guide

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เมื่อลูก...น้ำหนักตัวขึ้นช้า

เมื่อลูก...น้ำหนักตัวขึ้นช้า           คำถามของพ่อแม่ที่พบบ่อยอย่างหนึ่งเมื่อมาพบแพทย์ คือ “ทำไมลูกดิฉันถึงไม่อ้วน เท่าลูกเพื่อนข้างบ้าน” สาเหตุอาจมีได้หลายอย่าง ที่พบบ่อยคือ เรื่องของการได้สารอาหารไม่เพียงพออาจจะเป็นปัญหาที่เกิดจากตัวเด็กเองหรือจากการเลี้ยงดูก็ได้ การที่เด็กไม่ยอมทานอาหารหลักอาจเนื่องจากเด็กสามารถเข้าถึงขนมหรือของหวานได้ง่าย ขนมอร่อยกว่าข้าว การทานขนมหรือของหวานมากโดยเฉพาะประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร จะทำให้ร่างกายเด็กมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงพอ ไม่กระตุ้นให้เกิดความหิว การเลี้ยงดูและลักษณะนิสัยของการทานก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งได้ เช่นพ่อแม่ที่อยากให้ลูกทานได้มาก ๆ ก็พยายามป้อนอาหารทุกครั้งติดมา ตั้งแต่วัยทารก จนเด็กโตวิ่งเล่นได้ใช้ช้อนเป็นแล้วก็ยังต้องวิ่งตามป้อนมาตลอด พอถึงช่วงวัยปฏิเสธเลยกลายเป็นเด็กวิ่งหนีอาหารไม่ยอมทาน            อย่างไรก็ดี มีเด็กจำนวนหนึ่งที่มีปัญหาเลี้ยงไม่โตอันเนื่องจากพันธุกรรม เช่น คุณพ่อคุณแม่ที่ตัวเล็กหรือมีประวัติตัวเล็กกว่าเพื่อนในวัยเด็ก การเจริญเติบโตของลูกก็อาจเป็นไปในทางเดียวกันได้ สาเหตุอื่นที่มาจากตัวเด็กเองคือมีโรคประจำตัวที่ทราบแน่นอน เช่น ตัวเล็ก คลอดก่อนกำหนดตั้งแต่แรกเกิด ทำให้ต้องให้เวลามากขขึ้นกว่าจะโตเท่าเพื่อนหลังคลอดหรือมีโรคเรื้อรังที่มีอาการรู้ชัดเจนว่าเป็นสาเหตุ เช่น โรคภูมิแพ้ที่รุนแรงต้องพามารักษาหรือนอนโรงพยาบาลบ่อย ๆ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อที่รุนแรง เป็นต้น             มีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่ทานได้น้อยอันเนื่องจากมีอาการเหนื่อยเวลาดูดนม คือ เวลาดูดจะต้องหยุดพักบ่อย หยุดพักเพื่อหายใจ ดูดได้ครั้งละไม่มาก มีเหงื่อมากเวลาดูดนม ดูดได้น้อย เพลียหลับไป เมื่อโตขึ้นมาก็เดินหรือวิ่งได้ไม่เท่าเพื่อน เด็กกลุ่มนี้ต้องสงสัยว่าจะมีปัญหาในด้านระบบทางเดินหายใจหรือระบบไหลเวียนโลหิต โรคที่พบบ่อยคือโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่น มีรูรั่วที่ผนังหัวใจห้องล่าง หลอดเลือดเกินนอกหัวใจ เป็นต้น เด็กกลุ่มนี้บางครั้งตรวจได้ไม่ยากนัก คุณพ่อ-แม่อาจสังเกตได้เอง ถ้ามองหรือคลำบริเวณหน้าอกด้านซ้ายของเด็กอาจจะพบว่าหัวใจเต้นแรง เวลาเอาหูแนบที่หน้าอกเด็กก็อาจได้ยินเสียงฟู่ที่เกิดจากการสูบฉีดโลหิตที่แรงภายในหัวใจ ถ้าสงสัยควรนำมาให้แพทย์ตรวจทางด้านหัวใจโดยละเอียด เด็กที่เป็นโรคหัวใจนอกจากจะตัวเล็กอันเนื่องจากทานอาหารได้น้อยแล้ว หัวใจต้องทำงานหนักกว่าปกติ ต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติ ทำให้แม้จะทานอาหารได้พอสมควรแต่ก็ไม่โตเนื่องจากมีการใช้พลังงานมาก                                                                                                            สนับสนุนข้อมูลจากหนังสือ Baby Guide  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคอ้วนกับวัยทีน จุดเริ่มของโรคร้าย

โรคอ้วนกับวัยทีน จุดเริ่มของโรคร้าย  โรคอ้วนกับวัยทีน จุดเริ่มของโรคร้าย                การมองปัญหาความอ้วนในภาพใหญ่ก็คงจะมีภาพที่ชัดเจนของต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้น ผลกระทบ ระดับความรุนแรงของปัญหา จินตภาพที่เห็นก็คือ หญิงอ้วน ชายอ้วน โรคหัวใจ โรคไขมันอุดตัน โรคเส้นเลือดในสมอง ฯลฯ บางทีเราก็มองข้างบางสิ่งไป ปัญหาความอ้วน น้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ได้เสกให้สาววัยทำงานอ้วนในฉับพลันเพียงอย่างเดียว หรือการอ้วนแบบกะทันหันปัจจุบันทันด่วนของหนุ่มอ้วนจะเกิดด้วยเหตุผลของการบริโภคยามดึกเท่านั้น ผู้ป่วยในโรคอ้วนจำนวนมากมีอาการสะสมและจุดเริ่มจากความอ้วนในวัยเด็กและช่วงวัยรุ่น ความจริงของเด็ก (และวัยรุ่น) อ้วน                 หากย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน ประเทศของเราไม่ค่อยคุ้นกับเรื่องของเด็กอ้วนนัก เราได้ยินเพียงเรื่องของเด็กขาดสารอาหาร เวลาผ่านไปถึงวันนี้ ในอเมริกามีเด็กอ้วนมากถึง 15% ของจำนวนวัยรุ่นทั้งหมด สำหรับประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่าอาจมีเด็กที่มีภาวะโรคอ้วนมากถึง 1.5% ของจำนวนวัยรุ่นทั้งหมด สำหรับประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่าอาจมีเด็ก ที่มีภาวะโรคอ้วน มากถึง 1.5 ล้านคน ทราบหรือไม่ว่าร้อยละ 30-80 เปอร์เซ็นต์ของเด็กหรือวัยรุ่นที่อ้วนเติบใหญ่ กลายเป็นผู้หญิงอ้วน การใช้จ่ายในด้านสุขภาพของเด็กอ้วนใช้เงินมากถึงมากถึง 0.2-1.2 ของ GDP ของประเทศที่พัฒนาแล้ว พอมองเห็นภาพความสำคัญของปัญหากันหรือยัง 2 ปัจจัยหลักที่ก่อโรคอ้วนในวัยเด็ก                 ปัจจัยด้านพันธุศาสตร์ อ้วนจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อจากแม่ครอบครัวอาจมีประวัติเรื่องภาวะของโรคอ้วน หรืออาจมีความผิดปกติในระดับยีน                 ปัจจัยด้านพฤติกรรม เกิดจากการเลี้ยงดูโดยมีค่านิยมประคบประงมให้ลูกรับประทานแบบปราศจากการควบคุมสารอาหาร โดยไม่ทราบเลยว่าความอ้วนที่เกิดขึ้นในวัยเด็กส่งผลต่อการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย สมอง รวมถึงพฤติกรรม ภาวะอารมณ์ และที่สำคัญคือโรคร้ายที่ส่งผลตลอดชีวีตอย่างโรคเบาหวาน เด็กอ้วนแบ่งเป็น 2 ประเภท กลุ่มเด็กที่อ้วนและเตี้ย (Pathological obesity) ซึ่งแยกย่อยออกเป็น                 -อ้วนเตี้ยที่มีระดับสติปัญญาปกติเกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนบางตัว เช่น ขาดฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth hormone deficiency) ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Acquiired hypothyroidism) ภาวะที่มีระดับโฮโมนคอร์โมนคอร์ติซอล ปริมาณสูงเกิน (Acquired hypothyroidism)                -อ้วนเตี้ยระดับสติปัญญาต่ำ ซึ่งมีอาการผิดปกติจำเพาะ เช่น เพรเดอร์ – วิลลี่ซินโดรม (Prader-Willi Syndrome ) กลุ่มเด็กที่อ้วนและสูง (Simple obesity) กลุ่มนี้เกิดจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม รวมถึงปัจจัยทางพันธุกรรม โรคอ้วน...เริ่มสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ในวันเด็ก                -อย่างที่ทราบกันดีว่านมแม่เหมือนน้ำทิพย์ที่ช่วยให้ทารกแข็งแรง ร่างกายแข็งแรง ต่อต้านอาการต่าง ๆ ได้มากมาย โดยในเรื่องโรคอ้วนนั้น ทารกที่ได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่ มีภูมิคุ้มกันภาวะโรคอ้วนมากกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมผง นอกจากนั้นยังมีอัตราเสี่ยงการเป็น โรคเบาหวานน้อยกว่าเด็กทั่วไป              - เด็ก ๆ ควรได้รับการปลูกฝังวินัยในด้านสุขภาพ การบริโภคอาหารที่ไม่หวานมัน เค็ม จัดเตรียมอาหารที่ไขมันต่ำ งดน้ำอัดลมและขนมหวาน และที่สำคัญคือ การส่งเสริมให้ลูกน้อยของคุณเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ออกห่างหน้าจอทีวีหรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มากที่สุด อ้วนหรือยัง?               ถึงเวลาตรวจสอบกันแล้วว่าลูกหลานของคุณอ้วนหรือยัง การประเมินนั้นใช้เกณฑ์คล้าย ๆ กับของผู้ใหญ่หากแต่ต่างกันบ้างเล็กน้อย แบ่งเป็น 2 วิธีการ             -เทียบน้ำหนักกับส่วนสูง ประเมินจากการเจริญเติบโต น้ำหนัก อายุและส่วนสูง            -ใช้เกณฑ์ของ IBM หรือดัชนีมวลกายจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นควบคู่กับอัตราการเพิ่มของความสูงในเด็ก อัตรา ส่วนระหว่างน้ำหนัก (กิโลกรัม) ต่อส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง หาก BMI มากกว่า 25 กิโลกรัม/เมตรยกกำลังสองถือว่าน้ำหนักมาก มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน ได้และหาก IBM มากกว่า 27 อาจมีอาการของโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคแทรกซ้อนจากความอ้วนมากมายกำลังมาเยือน ผลกระทบของเด็กอ้วน            - รูปลักษณ์ โครงสร้าง บุคลิกภาพ สิ่งเหล่านี้อาจไม่เป็นปัญหานักในวัยเด็ก แต่ไม่นานเด็ก ๆ เหล่านั้นจะเริ่มบอกคุณเองว่าความอ้วนคือ ปัญหาของเขาในสังคมความมั่นใจที่ถูกไขมัน บดบังไว้  นอกจากนี้น้ำหนักตัวจะเริ่มทำให้เขาปวดแขนขา มีปัญหาเรื่องข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย            -อยู่ในภาวะเสี่ยงจากโรคหยุดหายใจขณะหลับ และการนอนกรน           - ความเสี่ยงนานาชนิด ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะตับและถุงน้ำดีอักเสบ          - การเจริญเติบโตปรวนแปร เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วผิดปกติ ประจำเดือนมาผิดปกติ มีภาวะมีบุตรยาก        นี่ไม่ใช่ยุคที่เด็กอ้วนจะถูกสปอยด์ว่าน่ารักอีกแล้ว การควบคุมน้ำหนักเด็ก ๆ เป็นสิ่งจำเป็น เพราะเด็กอ้วนวันนี้ก็คือผู้ใหญ่อ้วนในวันข้างหน้า                                                               สนับสนุนข้อมูลโดยนิตยสาร Slime up

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การเตรียมตัวข้อห้ามและข้อควรระวังขณะใส่คอนแทคเลนส์

การเตรียมตัวข้อห้ามและข้อควรระวังขณะใส่คอนแทคเลนส์   ก่อนจะใส่คอนแทคเลนส์ ผู้ใส่ควรเตรียมตัวดังนี้ 1.     ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อย่างอ่อนและทำให้แห้งก่อนสัมผัสเลนส์ 2.     ห้ามใช้เครื่องสำอาง ครีม หรือโลชั่น ก่อนใส่เลนส์ ถ้าจะให้ดีควรใส่เลนส์ก่อน แล้วจึงค่อยแต่งหน้า 3.     ในระหว่างที่ใส่คอนแทคเลนส์ ให้พยายามหลับตาเมื่อต้องใช้สเปรย์ฉีดผมหรือเครื่องสำอางที่เป็นละออง 4.     ควรปรึกษาจักษุแพทย์หากต้องการใส่เลนส์ขณะทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น เล่นกีฬา 5.     ไม่ควรใส่เลนส์ที่หมดอายุแล้ว 6.     ไม่ควรใช้เลนส์ที่พบว่าขวดบรรจุถูกเปิดมาก่อนจะถึงมือท่าน หรือขวดมีความเสียหาย ขั้นตอนการใส่คอนแทคเลนส์ 1.     ก่อนใส่เลนส์ ให้ล้างเลนส์ด้วยน้ำยาทำความสะอาด เพื่อกำจัดคราบสกปรก คราบโปรตีน หรือคราบน้ำตาที่ยังติดค้างอยู่บนเลนส์เสียก่อน จากนั้นให้จับเลนส์ขึ้นมาด้วยปลายนิ้วมือ และยกขึ้นมาไว้ในระดับเดียวกับดวงตา 2.     ใช้นิ้วชี้ของมือที่ว่างอยู่ ช่วยดึงหนังตาล่างลง และเหลือกตาขึ้น              3.     ค่อยๆวางเลนส์ลงในดวงตาช้าๆ เมื่อวางลงแล้วให้กระพริบตาหนึ่งครั้งเพื่อให้เลนส์เข้าที่ ท่านอาจใช้วิธีดึงหนังตาด้านตรงข้ามแล้วใส่เลนส์ตามแต่ถนัด             4.       ทำซ้ำกับตาข้างที่ยังไม่ได้ใส่ ก็เป็นอันเสร็จค่ะ หากรู้สึกว่าเลนส์ที่ใส่เกิดพร่ามัว จะทำอย่างไร? 1.     ให้ตรวจสอบดูว่า เลนส์อยู่ตรงกลางดวงตาหรือไม่ ถ้าไม่ ลายของเลนส์อาจบังตาของท่านอยู่ ให้ค่อยๆขยับให้เข้าที่ด้วยมือที่สะอาดค่ะ 2.     ให้ตรวจสอบดูว่า เราใส่เลนส์กลับข้างหรือไม่ โดยเลนส์ที่กลับข้างจะมีความเว้ามากกว่าข้างที่ถูกต้องค่ะ (โปรดสังเกตรูปประกอบ) 3.      เลนส์อาจเกิดการพร่ามัวเนื่องจากมีน้ำมันหรือส่วนประกอบของเครื่องสำอางที่ใช้หลุดเข้าไปในเลนส์ ให้ทำความสะอาดก่อนและนำกลับมาใส่อีกครั้งค่ะ 4.      สังเกตว่าเลนส์มัวตลอดเวลาหรือไม่ ถ้ามัวเป็นบางเวลา ให้สุงเกตดูว่าเป็นตอนที่นั่งจ้องคอมนานๆ อยู่ในห้องแอร์ หรือมีลมเข้าตาหรือป่าว ถ้าใช่ก็จะเป็นเพราะตาแห้งไปค่ะ ต้องเอาน้ำตาเทียมมาหยอดนะคะ ขั้นตอนการนำคอนแทคเลนส์ออกอย่างถูกวิธี 1.     ก่อนจะทำการถอดเลนส์ ให้ล้างมือทั้งสองให้สะอาด พร้อมเช็ดให้แห้งเสียก่อน 2.     มองตรงๆเพื่อให้เลนส์อยู่ตรงกลางดวงตา จากนั้นให้นำนิ้วชี้จากมือทั้งสองดึงขอบตาบนและล่างออกเบาๆ              3.      มองไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แล้วค่อยๆเลื่อนเลนส์ออกจากดวงตาไปทางตาขาวช้าๆ จากนั้นจึงหยิบออกด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้งของมือข้างที่ถนัด              4.      เมื่อถอดเลนส์เรียบร้อยแล้ว ให้ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาด แล้วจึงแช่เลนส์ในน้ำยาเพื่อรอการใช้งานครั้งต่อไปค่ะ วิธีการทำความสะอาดเลนส์ 1.     หลังจากการถอดเลนส์ นำเลนส์วางไว้บนฝ่ามือ หยดน้ำยาล้างเลนส์ประมาณ 2-3 หยดลงบนเลนส์ ใช้นิ้วกดลงตรงกลางเลนส์อย่างแผ่วเบาแล้วถูไปด้านใดด้านหนึ่ง (ไม่ควรถูไปถูมา เพราะอาจจะทำให้เลนส์ขาดได้ พลิกเลนส์กลับอีกด้านทำเหมือนกัน ถูเลนส์ประมาณ 20-30 วินาที ถึงแม้ว่าจะใช้น้ำยาล้างเลนส์แบบไม่ต้องถูเลนส์ NO RUB แล้ว แต่การถูเลนส์จะช่วยให้เลนส์สะอาดยิ่งขึ้น และลดการติดเชื้อที่กระจกตา) แล้วใช้น้ำยาล้างเลนส์ฉีดไปที่ตัวเลนส์ทั้งสองด้าน 2.     นำเลนส์ที่ถูเสร็จแล้ว วางลงในตลับที่สะอาด เติมน้ำยาล้างเลนส์ให้ท่วมเลนส์ปิดฝาให้แน่น แช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง (แล้วแต่ชนิดน้ำยานั้นๆ บางชนิดต้องแช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง) 3.     ก่อนการนำเลนส์มาใส่ควรฉีดล้างด้วยน้ำยาล้างเลนส์ อีกครั้งหนึ่ง สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้น้ำยาล้างเลนส์สามารถใช้ Normal Saline (น้ำเกลือ) ฉีดล้างเลนส์ก่อนการใส่เข้าตาได้ แต่ไม่ควรใช้ Normal Saline ในการแช่เลนส์ เพราะ Normal Saline เป็นเพียงการชะล้าง แต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้) 4.     เมื่อใส่แล้วเกิดอาการตาแดง เคืองตา ควรถอดเลนส์ออกมาทำความสะอาดอีกครั้งหนึ่ง ดูว่าใส่เลนส์กลับด้าน หรือให้สังเกตว่าเลนส์ขาดหรือไม่ (เลนส์ขาดหรือแหว่ง เป็นหนึ่งในสาเหตุที่เกิดอาการตาแดง หรือเคืองตาได้) 5.     สำหรับผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนรายปี ควรใช้น้ำยาล้างเลนส์ แบบเข้มข้น และน้ำยาล้างคราบโปรตีนชนิดเม็ดหรือน้ำร่วมด้วย เพื่อความสะอาดของตัวเลนส์ ตลอดอายุการใช้งาน ข้อห้ามและข้อควรระวังขณะใส่คอนแทคเลนส์ ·        ห้ามใส่นอน และไม่ควรใส่เกินวันละ 12 ชม ·        ห้ามใส่ลงน้ำ หากจำเป็นควรใช้แบบรายวัน ·        ห้ามแลกกันใส่กับผู้อื่นโดยเด็ดขาด ·        ห้ามใช้น้ำก๊อกล้างเลนส์ ควรใช้น้ำเกลือ หรือน้ำยาล้างเลนส์โดนเฉพาะเท่านั้น ·        ควรใส่คอนแทคเลนส์ก่อนแต่งหน้า และถอดออกก่อนล้างเครื่องสำอาง ·        ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนใส่ และก่อนถอดเลนส์ ·        เมื่อเลนส์มีรอยฉีกขาด หรือเกินกำหนดการใช้งาน ควรทิ้งเลนส์นั้นทันที ·        หากใส่แล้วมีอาการเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล ควรรีบถอดออกทันที

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คอพอก (Goiter) ภาวะที่มีการโตขึ้นของต่อมไทรอยด์

คอพอก (Goiter) ภาวะที่มีการโตขึ้นของต่อมไทรอยด์           ต่อมไทรอยด์ คือต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน โดยใช้ ธาตุไอโอดีน เป็นส่วนประกอบหนึ่ง จากนั้น ก็จะปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด, ฮอร์โมนเหล่านี้ มีหน้าที่กระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ของเซล ทั่วร่างกาย และจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย   คอพอก (Goiter) หมายถึง ภาวะที่มีการโตขึ้นของต่อมไทรอยด์ สามารถแบ่งได้ดังนี้ แบ่งตามลักษณะการโต แบ่งออกเป็น ต่อมไทรอยด์โตทั่ว ๆ ไป (Diffuse goiter) : หมายถึง ภาวะที่มีต่อมไทรอยด์โตทั่ว ๆ ไปก้อนเดี่ยวของต่อมไทรอยด์ (Solitary thyroid nodule) : หมายถึง ภาวะที่มีการโตของต่อมไทรอยด์เฉพาะที่ มองเห็นเป็นก้อนเดี่ยว ๆ โดยที่ส่วนอื่น ๆ ของต่อมไทรอยด์ดูปกติก้อนตะปุ่มตะปั่มของต่อมไทรอยด์ (Multinodular goiter) : มีก้อนหลาย ๆ ก้อน ทำให้เห็นไทรอยด์เป็นก้อนตะปุ่มตะปั่ม แบ่งตามอาการ แบ่งออกเป็น  คอพอกแบบเป็นพิษ (Toxic goiter) : ต่อมไทรอยด์มีการสังเคราะห์และหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกิน จนเกิดอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย มือสั่น น้ำหนักลดและอื่น ๆ  คอพอกธรรมดา (Simple goiter) :  คอพอก โดยที่ไม่มีอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ   ต่อมไทรอย คืออะไร           ต่อมไทรอยด์ คือต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งของร่างกาย อยู่บริเวณคอด้านหน้า, วางอยู่หน้าต่อหลอดลม, มีน้ำหนักประมาณ 20 กรัม, แบ่งออกเป็น 2 กลีบ ซ้ายกับขวา เชื่อมกันตรงกลางด้วยส่วนคอดที่เรียกว่า isthmus แต่ละกลีบมีขนาดประมาณ 5x2x2 ซม., ต่อมไทรอยด์มีกล้ามเนื้อปกคลุมอยู่ ทำให้ในภาวะปกติที่ไม่มีไทรอยด์โต หรือโตน้อย ก็จะมองไม่เห็น          ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน โดยใช้ ธาตุไอโอดีน เป็นส่วนประกอบหนึ่ง จากนั้น ก็จะปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด, ฮอร์โมนเหล่านี้ มีหน้าที่กระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ของเซล ทั่วร่างกาย และจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย   สาเหตุ           คอพอกธรรมดา ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน,อาจพบได้ในขณะที่ร่างกาย ต้องการไทรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น เช่น ในช่วงวัยรุ่น ขณะตั้งครรภ์, ได้รับสารบางชนิด หรือยาบางอย่าง(ในระยะแรก ต่อมไทรอยด์จะโตทั่ว ๆ ไป แต่ต่อมาจะกลายเป็นก้อนตะปุ่มตะปั่ม หรืออาจคลำได้เป็นก้อนเดี่ยว ๆ ก็ได้)  ก้อนเดี่ยวและก้อนตะปุ่มตะปั่มของต่อมไทรอยด์ อาจเกิดจาก การขาดไอโอดีน, ถุงน้ำ, ต่อมไทรอยด์อักเสบ, เนื้องอกธรรมดา หรือมะเร็ง ก็ได้ภาวะพิษของต่อมไทรอยด์ อาจเกิดจาก คอพอกเป็นพิษที่เรียกว่า Graves’ disease, เนื้องอกธรรมดาที่ทำงานมากเกิน (Toxic adenoma) หรือคอพอกตะปุ่มตะปั่มที่เป็นมานาน (Toxic multinodular goiter)  อาการและอาการแสดง   ไม่มีอาการอะไร นอกจากพบว่า มีต่อมไทรอยด์โตขึ้น           อาการที่เกี่ยวเนื่องกับต่อมไทรอยด์เป็นพิษ คือมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น มือสั่น กินจุแต่ผอมลง เหงื่อออกมาก ขี้ร้อน หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจมีประจำเดือนลดลง ท้องเดิน และอาจพบการเปลี่ยนแปลงที่ตา เช่น ลูกตาโปน   อาการเจ็บที่ก้อน มักพบในคอพอกที่เกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ หรือมีเลือดออกในก้อน  อาการจากการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง พบในกรณีที่ก้อนโตมาก อาจมีอาการกลืนลำบาก (กดหลอดอาหาร), หายใจลำบาก (มีการกดเบียดของหลอดลม)  อาการจากการลุกลามของก้อน อาจมีอาการเสียงแหบ จากการลุกลามไปที่เส้นประสาทเลี้ยงสาย เสียง, ถ้ามีอาการนี้ มักเป็นมะเร็ง          อาการของการกระจายของมะเร็ง อาจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโตขึ้น หรือมีอาการปวดกระดูก    ความสำคัญ          ต่อมไทรอยด์โต เป็นภาวะที่พบบ่อย พบว่า ประมาณ 4-7% ของประชากร จะมีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (ประมาณ ครึ่งหนึ่ง จะคลำพบเป็นก้อนเดี่ยว ๆ) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย   ก้อนเดี่ยวของต่อมไทรอยด์ มีโอกาสเป็นมะเร็ง ประมาณ 5-10 %         ส่วนภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่า คือ ประมาณ 1 % โดยมีโอกาสเป็นมะเร็งในกลุ่มที่ มีประวัติเคยได้รับการฉายรังสี บริเวณศีรษะและคอ ในวัยเด็ก (ถ้ามีก้อนจะพบมะเร็งประมาณ 30-40%) มีประวัติมะเร็งต่อมไทรอยด์ในครอบครัว ก้อนของต่อมไทรอยด์ในเพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งบ่อยกว่าเพศหญิง (แต่พบก้อนของต่อมไทรอยด์ในเพศหญิงได้บ่อยกว่า) อายุ น้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 60 ปี ก้อนโตเร็ว หรือมีอาการเสียงแหบ หายใจลำบาก กลืนลำบาก ก้อนแข็ง ติดกับอวัยวะข้างเคียง มีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียง    การตรวจเลือดดูระดับไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid function test) ช่วยบอกว่า มีภาวะพิษของต่อมไทรอยด์หรือไม่           การเจาะดูดด้วยเข็ม เพื่อดูลักษณะเซล (Fine needle aspiration biopsy) มีความสำคัญที่สุด ในการวินิจฉัยแยกว่า ก้อนที่ต่อมไทรอยด์นั้น เป็นมะเร็งหรือไม่           การตรวจอุลตร้าซาวน์ (Ultrasound) ช่วยบอกขนาด และขอบเขตของก้อน, แยกถุงน้ำจากก้อนเนื้องอก โดยถ้าเป็นถุงน้ำ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่า          การตรวจไทรอยด์สแกน (Radioisotope scan) ช่วยบอกว่า ก้อนของต่อมไทรอยด์ ทำงานมากหรือน้อยกว่าปกติ (เรียกว่า hot nodule และ cold nodule ตามลำดับ) โดยที่มะเร็งส่วนใหญ่ จะทำงานน้อยกว่าปกติ          การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ใช้ในกรณีที่ก้อนใหญ่ หรือมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เมื่อไปพบแพทย์แพทย์จะทำอะไรให้          ประวัติ แพทย์จะสอบถาม อายุและเพศ, ระยะเวลาที่เริ่มเป็น, การเปลี่ยนแปลงของก้อน (โตเร็วหรือช้า), อาการเจ็บที่ก้อน, อาการเหนื่อยง่ายใจสั่น, ประวัติที่ชวนให้สงสัยมะเร็งดังกล่าวแล้ว (ประวัติครอบครัว, ประวัติการฉายแสง), อาการเสียงแหบ, หายใจลำบาก, กลืนลำบาก   การตรวจร่างกาย นอกจากการตรวจร่างกายทั่ว ๆ ไปแล้ว แพทย์จะให้กลืนน้ำลาย แล้วดูลักษณะของก้อน (เนื่องจากต่อมไทรอยด์จะเคลื่อนขึ้นลงตามการกลืน) แล้วคลำดูขนาด, ขอบเขตของก้อน, ความอ่อนแข็ง, การมีต่อมน้ำเหลืองโต, อาการและอาการแสดงทางตา ของไทรอยด์เป็นพิษ          การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อแยกว่า มีอาการของไทรอยด์เป็นพิษหรือไม่, เป็นมะเร็งหรือไม่ใช่มะเร็ง           การรักษา เมื่อได้การวินิจฉัยแล้ว แพทย์ก็จะให้การรักษาตามสาเหตุต่อไป แนวทางในการรักษา       Diagram สรุปแนวทางในการรักษา    ก้อนเดี่ยวทัยรอยด์    ก้อนตะปุ่มตะป่ำ   การรักษา ก้อนเดี่ยวของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัด ตรวจพบว่า ก้อนนั้นเป็นมะเร็ง หรือสงสัยว่า จะเป็นมะเร็ง ก้อนมีขนาดใหญ่ กดเบียดอวัยวะข้างเคียง, ยื่นลงไปในทรวงอกเพื่อความสวยงาม การสังเกตอาการ ในกรณี ที่ตรวจยืนยันว่า ไม่ใช่มะเร็ง ก็ไม่ต้องผ่าตัด สังเกตอาการต่อไปได้ หรืออาจให้ฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์กิน เป็นระยะเวลาหนึ่ง   กรณีที่ก้อนโตขึ้น อาจพิจารณาผ่าตัด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ การรักษาด้วยยา ใช้ยาต้านไทรอยด์ เพื่อควบคุมอาการของการเป็นพิษ ระยะเวลาในการให้ยา ประมาณ 1-2 ปี หากไม่หายต้องพิจารณาการรักษาวิธีอื่นต่อไป  การรักษาโดยการผ่าตัด ใช้ในรายที่ก้อนโตมาก มีข้อห้ามต่อการให้สารรังสี  การให้สารไอโอดีนรังสี สารรังสีจะไปทำลายต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป ทำให้หายจากภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ   ขอบคุณข้อมูลจาก Thaiclinic.com

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กระดูกไหปลาร้าหัก fracture clavicle, bone, accident, ไหล่ ข้อ

กระดูกไหปลาร้าหัก fracture clavicle, bone, accident, ไหล่ ข้อ            กระดูกไหปลาร้า เป็นตำแหน่งที่พบกระดูกหักได้บ่อย แต่มักไม่ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง และ ไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อน ยกเว้น เวลาหายแล้ว จะมีกระดูกติดซ้อนกันทำให้กระดูกนูนขึ้น ไม่เรียบเหมือนปกติ           กระดูกไหปลาร้าหักมักเกิดจากการเอามือเท้าพื้นขณะเกิดอุบัติเหตุ หรือ ถูกกระแทกโดยตรงที่กระดูกไหปลาร้า บริเวณกระดูกที่หัก จะมีอาการปวด โดยเฉพาะเมื่อต้องขยับไหล่ ขยับแขน หรือ เวลาหายใจแรง ๆ และจะมีอาการบวม กดเจ็บ หรือ คลำได้ปลายกระดูกที่หัก บางครั้งอาจได้ยินเสียงกระดูกเสียดสีกันเวลาขยับไหล่            วิธีรักษามีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แพทย์จะแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน ดังนั้นจึงควรปรึกษาและสอบถามรายละเอียดกับแพทย์ผู้ให้การรักษาท่านโดยตรงอีกครั้งหนึ่งว่า ควรจะรักษาด้วยวิธีไหนมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และถ้าจะเลือกรักษาวิธีอื่นผลจะเป็นอย่างไร เพื่อท่านจะได้ทราบถึงวิธีรักษาและ ให้ความร่วมมือในการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ การตัดสินใจขั้นสุดท้ายที่จะเลือกรักษาวิธีไหนนั้น ท่านต้องตัดสินใจ ด้วยตนเอง   แนวทางรักษากระดูกหัก วิธีไม่ผ่าตัด ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่มักไม่ต้องผ่าตัด • รับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ  • อุปกรณ์พยุงไหล่ เช่น ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน ผ้ารัดไหล่รูปเลขแปด เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการเคลื่อนไหวของกระดูกหัก จะได้ไม่ปวด เท่านั้น ไม่ได้ใส่เพื่อมุ่งหวังจะทำให้กระดูกเข้าที่เหมือนปกติ ดังนั้นเมื่อรักษาหายแล้ว กระดูกจะติดผิดรูปทำให้กระดูกนูนกว่าปกติ แต่มักจะไม่มีปัญหาในการใช้งาน  • ปกติจะใส่อุปกรณ์พยุงไหล่ไว้ประมาณ 4-6 อาทิตย์ ถ้าต้องการเอาอุปกรณ์พยุงไหล่ ออกเป็นช่วง ๆ เช่น อาบน้ำ หรือ เวลานอน ก็เอาออกได้ เพียงแต่อาจมีอาการปวดบ้างเวลาขยับไหล่ วิธีผ่าตัด ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2.1 ผ่าตัดทำความสะอาดบาดแผลแต่ไม่ใส่เหล็ก แล้วใส่เครื่องพยุงไหล่ไว้  2.2 ผ่าตัดใส่เหล็กเพื่อยึดตรึงกระดูก มีหลายชนิดเช่น ลวด แผ่นเหล็ก แกนเหล็ก ข้อบ่งชี้ที่ควรรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด กระดูกหักหลายชิ้น หรือแตกเข้าข้อ  มีการเคลื่อนของกระดูกที่หักไปมาก   มีแผลเปิดเข้าไปถึงบริเวณกระดูกที่หัก  กระดูกไม่ติด และ มีอาการปวดเวลาขยับไหล่ อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์โดยด่วน มือบวมมาก รู้สึกชาที่บริเวณปลายนิ้วมือ หรือ รู้สึกแขนอ่อนแรง ปวดไหล่ หรือ ปวดแขนมาก รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น  มีไข้สูง แผลบวมหรือมีหนอง ปวดแผลมาก   ขอบคุณข้อมูลจาก Thaiclinic.com

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อาหารบำรุงผม

อาหารบำรุงผม           ผมเป็นองค์ประกอบสำคัญของใบหน้า สุขภาพผมที่ดี เงางาม ช่วยให้เรามีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น จึงอยากแนะนำอาหารที่ช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะให้เลือกรับประทาน 1.ปลาแซลมอน นอกจากเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 และธาตุเหล็กแล้ว  ปลาแซลมอนยังอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3  ซึ่งดีต่อหนังศีรษะ  เพราะการขาดสารอาหารตัวนี้จะทำให้หนังศีรษะและเส้นผมแห้ง 2.ผักใบเขียว อย่างผักโขมหรือบรอกโคลี  จัดว่าเป็นแหล่งสำคัญของวิตามินเอและซี  ซึ่งจำเป็นต่อการผลิต sebum หรือไขผิวหนัง  ซึ่งเป็นครีมบำรุงผมตามธรรมชาติที่ช่วยให้ผมดูสุขภาพดี นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและแคลเซียม 3.ถั่วต่าง ๆ  ทั้งถั่วที่รับประทานได้ทั้งฝักและเปลือก หรือถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วแดง ถั่วเลนทิล จะอุดมไปด้วยโปรตีนที่ช่วยให้ผมเติมโตและมีธาตุเหล็ก สังกะสีและไบโอติน  ซึ่งการขาดแคบนไบโอตินจะทำให้ผมเปราะ ส่วนถั่วเปลือกแข็งประเภทบราซิลนัทจะอุดมไป้วยซีลีเนียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญของหนังศีรษะ  ขณะที่วอลนัทจะมีกรดไขมันโอเมก้า-3 ชนิดอัลฟาไลโนเลอิกเนซิดที่จะช่วยบำรุงเส้นผม  ส่วนเม็ดมะม่วงหินมพานต์ ถั่วพีแกน และอัลมอนด์ จะอุดมไปด้วยธาตุสังกะสี  ซึ่งหากขาดจะทำให้ผมเกิดการหลุดร่วง 4.เนื้อไก่ เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงซึ่งช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดีตามต้องการ  เพราะการขาดโปรตีนจะทำให้เส้นผมเปราะ และหากขาดมาก ๆ จะทำให้ผมไม่มีสี 5.ไข่ เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี นอกจากนี้ยังมีไบโอตินและวิตามินบี 12 ซึ่งสำคัญต่อเส้นผม 6.ธัญพืชไม่ขัดสี  จะอุดมไปด้วยธาตุสังกะสี  ธาตุเหล็ก และวิตามินบี ซึ่งสำคัญต่อเส้นผม 7.ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ  เป็นแหล่งสำคัญของแคลเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ทำให้เส้นผมยาว รวมถึงมีเวย์และเคซีน ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพสูง 8.แครอท อุดมด้วยวิตามินเอ  ซึ่งดีต่อหนังศีรษะ           ที่สำคัญคือต้องรับประทานอาหารอย่างหลากหลาย อย่ารับประทานอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น                                                                  นิตยสาร HealthToday

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<