การฝังเข็ม

        ตามแนวคิดของศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค  3 ประการ คือ 1.แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด 2.ปรับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่สมดุล 3.กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย 4.ยังยั้งความเจ็บปวด 5.ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว ระยะเวลาฝังเข็ม           แพทย์จะใช้เข็มเล็ก ๆ ขนาด 0.18-0.30 มม.  ปักลงในตำแหน่งจุดต่าง ๆ ของร่างกาย แล้วกระตุ้นโดยใช้นิ้วมือหมุนปั่นหรือใช้เครื่องไฟฟ้าหมุนกระตุ้นโวลต์ต่ำ ใช้เวลาประมาณ  30  นาที แล้วจึงถอนออก โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม           องค์การอนามัยโรคระบุว่า มีโรคหลายชนิด หลายกรณีที่สามารถทำการรักษาได้ โดยโรคและอาการที่พบบ่อย ๆ มีดังนี้ -อัมพาต  อัมพฤกษ์  แขน-ขา อ่อนแรง -ปวดศีรษะ -นอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล -ท้องผูก -โรคบริเวณในหน้า,ปวดสามแฉก,อัมพาตใบหน้าครึ่งซีก,หน้ากระตุก,ขากรรไกรค้าง,อ้าปากไม่ขึ้น -โรคกล้ามเนื้อ เอ็น,ข้อกระดูกและปลายประสาทชา,ปวดข้อมูมาตอยด์,ชาปลายมือปลายเท้า,ตะคริว,ปวดหลัง,ปวดหัวเข่า,เข่าบวม,ข้อเข่าเสื่อม,ข้อเข่าพลิก -ปวดจากมะเร็ง,เนื้องอก,ปวดแผลผ่าตัด -แพ้ท้อง,อาเจียน,ทานอาหารไม่ได้ -เบาหวาน,และภาวะแทรกซ้อน ปลายเท้าคล้ำดำ ชาปลายมือปลายเท้า -ความดันโลหิตสูง,ไขมันในเลือดสูง -ลดความอ้วน ลดความอ้วนหลังคลอด ลดไขมันเฉพาะที่ต้นขา น่อง ต้นแขน ท้องแขน  -เพิ่มน้ำหนัก คนผอม ผู้ป่วยเรื้อรัง -บำรุงสุขภาพ วัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงอายุ -โรคผู้สูงอายุ สั่นกระตุก,พาร์คินสัน,หลงลืม,ความจำเสื่อมโรคอับไซเมอร์ -โรคสูติ-นรีเวช ปวดประจำเดือน,ประจำเดือนมาไม่ปกติช้า เร็ว มาไม่แน่นอน -วัยทอง -เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ -โรคภูมิแพ้ -ลบรอยตีนกา รอยเหี่ยวย่นใต้คาง ท้องแขน ฝ้า กระ สิว ผมร่วง เส้นเลือดขอด -เลิกยาเสพติด เช่น สุรา,บุหรี่,ยาเสพติด -โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ปวดท้องเรื้อรังริดสีดวงทวาร -โรคอื่น ๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ข้อห้ามในการฝังเข็ม ไม่ควรทำการฝังเข็มในผู้ป่วยต่อไปนี้ 1.สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงใกล้คลอด 2.ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย 3.โรคมะเร็ง(ที่ยังไม่ได้รับการรักษา) 4.โรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด ระยะเวลาฝังเข็ม           ควรฝังเข็มอย่างน้อยสัปดาห์ละ  2  ครั้ง และต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 ครั้ง แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์ โรคเรื้อรังอาจต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น การรักษาแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที                    

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การส่องกล้องกระเพาะอาหาร

วิธีการส่องกล้องกระเพาะอาหาร           กล้องที่ใช้ส่องตรวจจะมีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กปรับโค้งงอได้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม ยาว 100 ซ.ม. ที่ปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพ และปลายอีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับ เครื่องกำเนิดแสง เพื่อทำการส่งภาพมายังจอรับภาพ ในผู้ที่มีอาการกลืนอาหารลำบาก กลืนติดหรือกลืนแล้วมีอาการเจ็บ มีอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระดำ,อาเจียนมากหลังรับประทานอาหาร,ปวดท้องจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่เป็นๆ หายๆ อยู่บ่อยๆ หรือรับประทานยารักษากระเพาะอาหารอักเสบ แต่อาการไม่ทุเลาหรือมีน้ำหนักลด,ท้องเสียเป็นประจำ เป็นต้น ถ้ามีอาการเหล่านี้ อย่างหนึ่งอย่างใด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ    ขั้นตอนส่องกล้องกระเพาะอาหาร 1.  ผู้รับการตรวจจะได้รับการพ่นยาชาเฉพาะที่ๆ บริเวณลำคอ 2.  ในบางกรณีผู้รับการตรวจจะได้รับยานอนหลับฉีดทางหลอดเลือดดำเพื่อลดอาการไม่สุขสบายระหว่างการตรวจ 3. ผู้รับการตรวจนอนในท่าตะแคงซ้าย 4.แพทย์จะใส่กล้องส่องเข้าทางปากให้ผู้ป่วยทำตัวผ่อนคลาย ไม่เกร็งซึ่งจะทำให้การส่องกล้องง่ายขึ้น   ข้อดี/ประโยชน์ของการส่องกล้อง 1. เพื่อการวินิจฉัยโรคในหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เช่นมีการอักเสบ เป็นแผล มีเนื้องอกหรือมีการตีบตันของอวัยวะเหล่านั้น 2.   เพื่อรักษาโดยการใส่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางกล้องส่องตรวจ เช่น เครื่องมือขยายหลอด อาหาร, อุปกรณ์ตัดติ่งเนื้อในกระเพาะอาหาร,อุปกรณ์ฉีดยาหรือรัดหลอดเลือดโป่งพองของหลอดอาหาร และอุปกรณ์สำหรับทำให้เลือดหยุดในกรณีที่มีแผลเลือดออก ในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น ผลข้างเคียง 1. กรณีมีเศษอาหารในกระเพาะอาหาร อาจมีการสำลักเศษอาหารลงไปในปอด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดปอดอักเสบได้ และทำให้ผลการตรวจไม่มีประสิทธิภาพ 2. หลังจากตรวจอาจมีอาการเจ็บบริเวณลำคอ 3. อาจมีอาการปวดบริเวณหน้าอก ท้อง หายใจลำบาก 4. สังเกตน้ำลายที่บ้วนออกมาอาจมีเลือดปนเล็กน้อย   การเตรียมตัวก่อนตรวจ 1. ควรงดน้ำและอาหาร 6-8 ชั่วโมง ก่อนมาตรวจเป็นการเตรียมกระเพาะอาหารให้ว่าง ไม่มีเศษอาหาร  เพื่อป้องกันการสำลักเศษอาหารลงไปในปอด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดปอดอักเสบได้ และเพื่อให้ผลการตรวจมีประสิทธิภาพ 2.  ถ้ามีฟันปลอมชนิดถอดได้ ควรถอดออกก่อน 3. ควรมีญาติมาด้วย 4. ถ้ามีโรคประจำตัวหรือแพ้ยาต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ   การปฎิบัติตนหลังการส่องกล้องตรวจ 1. นอนพักเพื่อสังเกตอาการผิดปกติประมาณ 1-2  ชั่วโมง 2. ห้ามดื่มน้ำหลังได้รับการตรวจจนกว่าคอจะหายชา เมื่อหายให้ทดลองจิบน้ำ ถ้าไม่สำลักจึงดื่มน้ำได้ 3. หลังการตรวจอาจมีอาการเจ็บบริเวณลำคอ      ด้วยความปรารถนาดี จากศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ H1N1 2009

สาเหตุเกิดจาก           เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนทั้งในมนุษย์และสุกร เกิดจากการผสมสาร พันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก เชื้อในฝอยละอองน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย มีชีวิตอยู่ที่มือได้นานประมาณ 5 นาที แต่สามารถมีชีวิตอยู่ตามพื้นผิวและสิ่งของเครื่องใช้ได้นานอย่างน้อย 2 ถึง 8 ชั่วโมง ขึ้นกับสภาวะแวดล้อม หากความชื้นต่ำ อากาศแห้งและเย็น เชื้อจะอยู่ได้นานขึ้น   การแพร่ติดต่อ           เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอช1เอ็น1 ที่เป็นสาเหตตุพบอยู่ในฝอยละอองน้ำมูก และเสมหะของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยไอจามจะแพร่ไปยังคนอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ในระยะ 1 เมตร หรือ ประมาณหนึ่งช่วงแขน หากผู้ป่วยใช้มือป้องจมูกเวลาไอจาม เชื้อจะติดอยู่ที่มือและไปปนเปื้อน สิ่งของเครื่องใช้ คนอื่น ๆ ที่มาจับต้องสิ่งของเหล่านั้น เช่น ผ้าเช็ดมือ ราวบันได ปุ่มลิฟต์ โทรศัพท์ แป้นคอมพิวเตอร์ หรือใช้มือมาแคะจมูก ขยี้ตา หรือดื่มน้ำจากแก้วน้ำเดียวกัน หรือรับประทานอาหารร่วมกันกับผู้ป่วยโดยไม่ใช้ช้อนกลาง ก็จะมีโอกาสติดเชื้อได้ ผู้ป่วยจะแแพร่เชื้อได้มากสุดในช่วง 3 วันแรกของการป่วยและแพร่เชื้อได้ลดลงเมื่ออาการทุเลาขึ้น ส่วนใหญ่มักแพร่เชื้อได้ ไม่เกิน 7 วัน   การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ อยู่ไกลจากผู้ป่วยอย่างน้อยหนึ่งช่วงแขน เพื่อไม่ให้ถูกไอจามรดโดยตรง หรือสูดฝอยละอองเชื้อโรคเข้าไป ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดมือ แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ และใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อรับประทานอาหารกับผู้อื่น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ และล้างมือหลังจากสัมผัสพื้นผิว สิ่งของเครื่องใช้ที่อาจปนเปื้อนเชื้อ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มลิฟต์ โทรศัพท์ แป้นคอมพิวเตอร์ ฝึกนิสัยไม่ใช้มือแคะจมูก จับปาก ขยี้ตา หรือจับต้องใบหน้า หากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด ควรใช้กระดาษทิชชูจะปลอดภัยกว่า ไม่ควรเข้าไปในสถานที่แออัด โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดมาก หากจำเป็น ผู้เป็นกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง ควรป้องกันตนเองอย่างดี เช่น สวมหน้ากากอนามัย และเช็ดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ  รักษาร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง และมีภูมิต้านทานโรค ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และสัมผัสแสงแดดยามเช้า เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไข่ นม ผัก ผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก เช่น ฝรั่ง ดื่มน้ำสะอาดให้มากพอ พักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เที่ยวไปในสถานที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก   อาการป่วย          หลังจากได้รับเชื้อ 1 ถึง 4 วัน (เฉลี่ย 2 วัน) ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดเมื่อยเนื้อตัว ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีคลื่นไส้ อาเจียนหรือท้องเสีย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (95%) อาการไม่รุนแรง อาการจะคล้ายกันกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สายพันธ์เก่า แต่เนื่องจากเชื้อนี้สามารถทำให้เกิดปอดบวมได้มากกว่าเชื้อสายพันธุ์เก่า จึงพบว่ามีผู้ป่วยส่วนหนึ่ง (5%) มีอาการป่วยรุนแรง   ส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง            ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ส่วนมาก (70%) เป็นผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (เช่น โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ ไต เบาหวาน พิการทางสมองและปัญญา ฯลฯ) หญิงตั้งครรภ์ (เสี่ยงป่วยรุนแรงมากกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า) ผู้เป็นโรคอ้วน ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ (โรคเลือด โรคมะเร็ง โรคเอดส์ ผู้ป่วยรับยากดภูมิต้านทาน ฯลฯ) เด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี และผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี อย่างไรก็ตามยังมีผู้เสียชีวิตส่วนน้อย (30%) ที่มีสุขภาพดีก่อนป่วย ยังไม่พบปัจจัยเสี่ยง ที่ชัดเจน องค์การอนามัยโลกและหลายประเทศกำลังเร่งศึกษาหาสาเหตุ   สัญญาณอันตราย           คือ มีไข้สูงไม่ลดลงภายใน 2 วัน (เด็กอาจมีอาการชัก) ไอมากจนเจ็บหน้าอก ไอมีเลือดปน หรือหายใจถี่ หอบ เหนื่อย ไม่ทานอาหาร ไม่ดื่มน้ำ ซึมมาก อ่อนเพลียมาก นอนซม อาเจียนหรือ ท้องร่วงมาก มีอาการขาดน้ำ ผิวหนังมีสีม่วงคล้ำ   ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้           รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที เพื่อรับการรักษาและยาต้านไวรัสให้เร็วที่สุด   การรักษา           ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง คือ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ ไต เบาหวาน ฯลฯ) หญิงมีครรภ์ ผู้เป็นโรคอ้วน ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ (โรคเลือด โรคมะเร็ง โรคเอดส์ ผู้ป่วยรับยากดภูมิต้านทาน ฯลฯ) เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เมื่อป่วย เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ อาจป่วยรุนแรง ให้รีบไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันทีเมื่อเริ่มป่วย แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัสโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะให้ผลการรักษาดี   การดูแลรักษาผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงที่บ้าน           หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูงมาก ตัวไม่ร้อนจัด ไม่ซึมหรืออ่อนเพลียมาก และพอรับประทานอาหารได้ สามารถดูแลรักษาตัวที่บ้านได้ โดยปฏิบัติดังนี้ ผู้ป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่กับบ้าน ไม่ออกไปนอกบ้านเป็นเวลาประมาณ 7 วันหลังวันเริ่มป่วย หรืออาจเร็วกว่า แต่ต้องหลังจากหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาให้หมดตามที่แพทย์สั่ง เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อย หรือน้ำธรรมดา เป็นระยะ โดยการเช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เน้นการเช็ดลดไข้บริเวณหน้าผากซอกรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนขา หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ต้องหยุดเช็ดตัว และห่มผ้าให้อบอุ่นทันที ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด พยายามรับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้เพียงพอ นอนพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก การป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นในบ้าน ผู้ป่วยควรนอนแยกห้อง ไม่ออกไปนอกบ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หากอาการทุเลาแล้ว อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้ แต่ต้องใช้ช้อนกลางทุกครั้ง ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น ปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม แล้วทิ้งทิชชูลงในถังขยะ และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่ทันที เมื่อต้องอยู่กับผู้อื่น ให้สวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างจากคนอื่น ๆ ในบ้านประมาณ      1-2 เมตร ผู้ดูแลผู้ป่วยต้องสวมหน้ากากอนามัย เมื่อดูแลเสร็จ ต้องถอดหน้ากากอนามัยลงในถังขยะ และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่ทันที คำแนะนำ        มีคำแนะนำสำหรับญาติหรือผู้เข้าเยี่ยม ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 และ คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน โดยแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย รวมทั้งคำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป ในการรับมือกับไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 อ่านได้ที่นี่ค่ะ คำแนะนำสำหรับญาติ / ผู้เข้าเยี่ยม โรคไข้หวัดใหญ่       1. จำกัดการเยี่ยมเฉพาะที่จำเป็น มีสมุดบันทึกรายชื่อญาติที่เข้าเยี่ยมและวันเวลาที่เข้าเยี่ยม       2. ห้ามผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัด,โรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน / เรื้อรัง, โรคหัวใจ , ตั้งครรภ์ , ภูมิคุ้มกันบกพร่อง , อายุมากกว่า 65 ปี เข้าเยี่ยมผู้ป่วยใน Influenza Ward       3. ญาติต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ medical / surgical mask หรือหน้ากากอนามัย หากต้องสัมผัส สารคัดหลั่งของผู้ป่วย ให้สวมถุงมือ       4. มีคำแนะนำให้ปฏิบัติ hand hygiene และ personal hygiene อย่างเคร่งครัด       5. สำหรับ  Non-Influenza Ward  ควรจำกัดการเยี่ยมเช่นเดียวกัน และห้ามผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดเข้าเยี่ยมโดยเด็ดขาด  คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ดังนี้      1. ให้ปฏิบัติ hand hygiene อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะการติดต่อของโรค      2. ต้องสวมผ้าปิดปาก ปิดจมูกตลอดเวลา นอกจากเวลารับประทานอาหารและทำกิจธุระส่วนตัว      3. เวลาไอต้องปิดปาก จมูก ด้วยกระดาษชำระ หลังจากนั้นต้องล้างมือทุกครั้ง      4. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับบุคคลในครอบครัว, ไม่ควรไปในที่ชุมชน และให้หยุดงาน หยุดเรียน จนกว่าจะพ้นระยะการติดต่อของโรค  คือ  7 วันหลังเริ่มป่วยด้วยอาการไข้ในผู้ใหญ่ หรืออย่างน้อย 1 วันหลังไม่มีไข้ และ 14 วันในเด็กนับตั้งแต่วันเริ่มมีอาการ       5. หากมีอาการมากขึ้น เช่น  ไข้สูงเกิน 48 ชั่วโมง ไอมาก เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว  เหนื่อย อ่อนเพลีย  รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน หรือ  ถ่ายอุจจาระมาก ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป      1. ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม ด้วยกระดาษทิชชู หรือแขนเสื้อของตนเอง สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเป็นไข้หวัด  เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ       2. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ เช็ดทำความสะอาดพื้นผิว และสิ่งของที่มีคนสัมผัสบ่อย ๆ       3. หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น สถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานาน หากจำเป็นเข้าไปในสถานที่ดังกล่าวต้องป้องกันตนเองอย่างดี  โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงควรสวมหน้ากากอนามัย      4. งดกิจกรรมการเดินทาง หยุดเรียน หยุดงาน เมื่อป่วยเป็นไข้หวัด จนกว่าจะหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน  และในช่วงเวลาดังกล่าวหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิด  หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น   ด้วยความปรารถนาดี รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คู่มือการฝากครรภ์

คู่มือการฝากครรภ์           หญิงมีครรภ์ทุกท่านควรรีบฝากครรภ์เสียแต่เนิ่น ๆ คือ ไม่ควรเกิน 3 เดือน นับจากมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อให้แน่ใจว่าท่านตั้งครรภ์ปกติ และบุตรในครรภ์แข็งแรงและสมบูรณ์ แพทย์จะตรวจสุขภาพท่านว่ามีโรคแทรกซ้อนใด ๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง และกามโรค เป็นต้น บริการที่ท่านจะได้รับเมื่อฝากครรภ์ 1.  ท่านจะได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ 2.แพทย์หรือพยาบาลจะซักประวัติเกี่ยวกับการขาดระดู อาการแพ้ท้อง เด็กดิ้น ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ประวัติการตั้งครรภ์ และการคลอดครั้งก่อน ๆ ตลอดจนประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว และการแพ้ยาต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลแก่สูติแพทย์ และมีประโยชน์ในการดูแลท่านระหว่างตั้งครรภ์และคลอด 3.ท่านจะได้รับการตรวจครรภ์ และการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจากสูติ-นรีแพทย์ รวมทั้งการคาดคะเนกำหนดคลอดให้ท่านด้วย ซึ่งโดยทั่วไปจะคลอดในระยะ 1-2 สัปดาห์ ก่อนหรือหลังการคาดคะเนได้ 4. สูติแพทย์จะให้คำแนะนำหรือตอบปัญหาเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์ ให้ยาบำรุงหรือยาอื่น ๆ ที่จำเป็นให้และนัดวันตรวจครั้งต่อไปเป็นระยะ ๆ 5. การไปรับการตรวจครั้งต่อไปจะกำหนดให้คร่าว ๆ ดังนี้    -ตั้งแต่ฝากครรภ์ครั้งแรกถึงครรภ์ 7 เดือน ควรไปตรวจเดือนละครั้ง    -ระหว่างครรภ์ 7 เดือน ถึง 8 เดือน ควรไปตรวจทุก 2 สัปดาห์    - ครรภ์เดือนสุดท้าย ควรไปตรวจสัปดาห์ละครั้ง ถ้าการตรวจครรภ์ผิดปกติ เช่น มีโรคแทรกซ้อน แพทย์อาจจัดให้ท่านไปตรวจบ่อยกว่าที่กำหนด เรื่องที่ควรปฏิบัติในระหว่างตั้งครรภ์ 1. การรับประทานอาหาร ท่านควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะจำพวกโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ เนื้อปลา นม ไข่ ตับ และถั่วต่าง ๆ รวมถึงอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มวิตามินและเกลือแร่แล้ว ยังช่วยไม่ให้ท้องผูกอีกด้วย สำหรับอาหารจำพวกแป้งและไขมัน ท่านไม่จำเป็นต้องรับประทานมากเพราะจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินความจำเป็น อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนและคลอดยาก 2. การพักผ่อนและการออกกำลังกาย ท่านควรนอนพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงหรือมากกว่านี้ การเดินหรือนั่งทำงานบ้านเบา ๆ เป็นการออกกำลังกายที่ดีมาก การทำงานนอกบ้านหรือเดินทางไกล ไม่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ ถ้าไม่ทำให้ท่านอ่อนเพลียจนเกินไป ควรมีการนอนพักระหว่างวันในช่วงบ่าย ประมาณ 15-30 นาที เพื่อไม่ให้อ่อนเพลียเกินไป 3.สุขภาพฟัน ท่านควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจและรักษาฟันของท่านเพราะในระหว่างตั้งครรภ์ฟันของท่านจะผุง่าย การอุดฟันหรือถอนฟัน ถ้าทันตแพทย์เห็นสมควร จะไม่มีอันตรายแก่บุตรในครรภ์ 4.การรักษาความสะอาดของร่างกายและเต้านม ท่านควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และสวมเสื้อผ้าที่สะอาด ไม่รัดแน่นจนเกินไป ถ้ามีน้ำใส ๆ ออกมาจากหัวนม ควรล้างออกด้วยน้ำหรือสบู่อย่างอ่อนทุกครั้งที่อาบน้ำ สำหรับท่านที่หัวนมสั้นหรือบอด ควรดึงหัวนมทุกครั้ง เพื่อช่วยให้หัวนมยาวขึ้น และสะดวกในการให้นมบุตรต่อไป สิ่งที่ท่านควรละเว้น 1.ไม่ควรรับประทานอาหารรสจัด หรือดื่มน้ำชา กาแฟ แอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่ควรสูบบุหรี่ 2.ไม่ควรออกกำลังกาย อย่าหักโหมหรือทำงานหนักที่จะทำให้ท่านรู้สึกอ่อนเพลียมากเกินไป3. ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ 4.ไม่ควรล้าง สวนช่องคลอดด้วยน้ำหรือน้ำยาใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากแพทย์จะสั่งเท่านั้น 5.  สามารถร่วมเพศได้ ยกเว้นในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์หรือในกรณีที่ผิดปกติ เช่น มีเลือดออกหรือเมื่อแพทย์สั่งห้าม 6. ไม่ควรฉายเอกซเรย์ นอกจากในกรณีที่แพทย์จะเห็นสมควร หมายเหตุ             ถ้าท่านจำเป็นต้องพบแพทย์ผู้อื่นด้วยสาเหตุใดก็ตาม ท่านควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าท่านตั้งครรภ์ อาการธรรมดาต่าง ๆ ที่ท่านอาจจะพบในระหว่างตั้งครรภ์ 1.อาการแพ้ท้องพบได้เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ท่านไม่ต้องวิตก วิธีแก้ไขง่าย ๆ คือ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างแพทย์อาจให้ยาแก้แพ้ ซึ่งไม่มีอันตรายในกรณีที่ท่านมีอาการมาก 2.อาการแน่นท้องและท้องอืด เกิดจากการย่อยอาหารไม่ดี กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลงท่านควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ของดอง ถั่ว น้ำอัดลม ควรออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดินเล่น ระวังอย่าให้ท้องผูก โดยดื่มน้ำมาก ๆ และรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ให้มาก 3.อาการปวดศีรษะและวิงเวียน แก้ไขโดยการพักผ่อนให้เพียงพอและไม่ควรอยู่ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ที่มีคนหนาแน่น 4. อาการปวดหลังและเป็นตะคริว แก้ไขโดยการพักผ่อน ไม่ควรยืนนาน ๆ ยกของหนักหรือใส่รองเท้าส้นสูง ถ้าเป็นตะคริวควรใช้ขี้ผึ้งร้อน ๆ ทาถูนวดจะบรรเทาอาการปวดได้ 5.ตกขาว ถ้ามีลักษณะใส ๆ หรือเป็นมูก เป็นอาการปกติ แต่ถ้ามีตกขาวปนเลือดหรือมีกลิ่น หรือมีอาการคัน ควรให้แพทย์ตรวจ 6.  ริดสีดวงทวาร พบได้เสมอในระหว่างตั้งครรภ์ ควรระวังอย่าให้ท้องผูก โดยทั่วไปริดสีดวงทวารจะหายไปเองหลังคลอดประมาณ 4-5 สัปดาห์ 7. เส้นเลือดขอด เกิดจากการไหลเวียนของเลือดช้า ไม่ควรยืนหรือนั่งห้อยเท้านาน ๆ เวลานอนยกเท้าให้สูง ถ้าปวดมากควรปรึกษาแพทย์ 8.  ท้องลายหรือหน้าอกลาย เป็นอาการปกติ ป้องกันและรักษาไม่ได้ แต่ถ้าใช้ครีมทาตัวหรือน้ำมันมะกอกบ่อย ๆ จะป้องกันไม่ให้คัน 9.อาการบวม ถ้าปวดเล็กน้อยบริเวณข้อเท้าเป็นอาการปกติ พบได้เสมอในระยะใกล้คลอด การนอนพักและยกเท้าให้สูงจะทำให้สูงจะทำให้อาการบวมลดลง 10.นอนไม่หลับโดยเฉพาะเวลาใกล้คลอด เนื่องจากความอึดอัด เกิดจากมดลูกโตมาก หายใจไม่สะดวก แก้ได้โดยการหนุนศีรษะในสูง 11.การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ท่านอาจจะหงุดหงิดมาก นอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย พยายามทำใจให้สบาย อย่าปล่อยให้มีเวลาว่างมาก เพื่อผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เช่น สามีจะได้มีความรู้สึกสบายใจด้วย และข้อสำคัญคือ บุตร เมื่อคลอดออกมาจะได้มีความรู้สึกอบอุ่น อาการผิดปกติ ที่ท่านควรจะไปพบแพทย์ก่อนกำหนดนัดหมาย -          แพ้ท้องอย่างมาก จนรับประทานอาหารไม่ได้ -          แน่นท้องหรือท้องอืดมาก -          ปวดศีรษะหรือวิงเวียนบ่อย ๆ -          น้ำหนักเพิ่มเร็ว จนมีอาการบวมที่หน้าและมือ -          เป็นไข้หรือหนาวสั่น -          เด็กไม่ดิ้น หรือดิ้นน้อยลง -          ปัสสาวะแสบและบ่อยเกินไป -          มีเลือดออกหรือมีตกขาว มีกลิ่นและคัน เมื่อท่านปวดท้องคลอด      อาการเจ็บท้องคลอด คือ การเจ็บท้องเป็นระยะและสม่ำเสมอ โดยครั้งแรกจะนาน ๆ ครั้ง ต่อมาการเจ็บจะถี่ขึ้น โดยทั่วไปในท้องแรกท่านควรจะต้องไปโรงพยาบาลเมื่อเจ็บทุก 5-10 นาที เป็นอยู่ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ท่านไม่ควรจะตกใจเมื่อเริ่มเจ็บท้อง สำหรับท้องหลังอาจมีการดำเนินการคลอดเร็วกว่าท้องแรก ดังนั้นเมื่อแน่ใจว่าเป็นเจ็บท้องคลอดให้รีบไปโรงพยาบาลได้เลย ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับระยะทางด้วย เช่น บ้านไกล การจราจรติดขัดก็ควรจะไปให้เร็วกว่านี้   ด้วยความปรารถนาดี จากโรงพยาบาลวิภาวดี  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคไซนัสอักเสบในเด็ก

โรคไซนัสอักเสบในเด็ก ไซนัสคืออะไร           -ไซนัสเป็นโพรงอากาศในกระดูกใบหน้า อยู่บริเวณรอบ ๆ จมูก หน้าที่ปกติของโพรงไซนัสไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่อาจทำให้ o กระโหลกเบา o  เสียงก้อง o สร้างเมือกและภูมิคุ้มกันให้กับโพรงจมูก o ทำหน้าที่ปรับอากาศที่หายใจเข้าสู่ร่างกายให้อบอุ่นและมีความชื้นเพียงพอ           - โดยปกติเมือกในโพรงไซนัสจะไหลเข้าสู่โพรงจมูก ผ่านช่องเล็ก ๆ (Ostium) ที่ผนังข้างจมูกเข้าสู่โพรงจมูก เพื่อใช้ในการต่อสู้เชื้อโรคและระบายสิ่งแปลกปลอมจากจมูก ลงสู่ลำคอหรือออกทางจมูก การเกิด โรคไซนัสอักเสบ           เมื่อจมูกเกิดอาการบวม เข่นในขณะเป็นหวัดหรือในขณะที่เป็นจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก จะทำให้ช่องติดต่อระหว่างโพรงไซนัสและจมูกดังกล่าวอุดตัน และเกิดการคั่งค้างของน้ำเมือกในโพรงไซนัส และเมื่อเชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่โพรงไซนัสได้ ก็จะแบ่งตัว และทำให้เกิดการติดเชื้อของโพรงไซนัส และมีหนองเกิดขึ้น ทำให้จมูกบวมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรียกว่าเกิดโรค “ไซนัสอักเสบ” อาการของโรคไซนัสอักเสบ           อาการของไซนัสอักเสบมีได้มากมาย แล้วแต่ว่าไซนัสบริเวณใดเกิดอักเสบขึ้นมา และเป็นชนิดฉับพลัน หรือเป็นมาเรื้อรัง อาการโดยทั่วไปมักจะมีดังนี้คือ คัดจมูก มีน้ำมูกข้นเขียว หรือเหลือง หายใจมีกลิ่นเหม็น ปวดศีรษะ เสมหะข้นไหลลงคอ ไอบ่อย บางคนก็มีเลือดออกจมูก ปวดแก้ม ปวดฟันกรามแถวบน ปวดจมูก ปวดหน้าผาก ปวดขมับ ปวดท้ายทอย หนัก ๆ หัว ในชนิดที่เป็นแบบฉับพลันบางคนก็มีไข้ด้วย การรักษาโรคไซนัสอักเสบ ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการคือ 1.      การใช้ยาฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ = ยาแก้อักเสบ) 2.      การทำให้โพรงจมูกที่บวมให้ยุบลง เพื่อให้หนองในโพรงไซนัสไหลถ่ายเทออกมาให้หมด 3.      การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นทำให้จมูกบวม การให้ยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ) 1.  เชื้อโรคที่ทำให้เกิดไซนัสอักเสบ ได้แก่ Streptococcus pneumoniae, Hemophlius influenzae และ Moraxella catarrhalis เป็นส่วนใหญ่ ยาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้ ได้แก่  Amoxicillin, Amoxicillin/clavulanic acid, Cefuroxime axetil, Cefaclor, Clarithromycin, Clindamycin, แพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ยาเหล่านี้ตามเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคน 2.  ระยะเวลาในการใช้ยาจะนานกว่าการรักษาการติดเชื้อของระบบหายใจตามปกติ โดยอาจจะให้นานถึง 2-6 สัปดาห์ ตามที่แพทย์จะแนะนำ (ทั้งนี้เพราะจะต้องรักษาจนหนอง หมดไปจากโพรงไซนัส) การทำให้โพรงจมูกลดบวมได้โดย 1.  การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ 2.  การใช้ยาพ่นจมูก การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือทำได้ง่าย ๆ โดย 1.   หาซื้อน้ำเกลือ 0.9 เปอร์เซ็นต์ normalsaline ที่ไม่มีน้ำตาลผสมอยู่หรืออาจผสมขึ้นเองง่าย ๆ โดยใช้น้ำสะอาด 250 CC. ผสมกับเกลือสะอาด ½ ช้อนชา   2.  เทน้ำเกลือลงในแก้วสะอาด   3.  ดูดน้ำเกลือจากแก้วเข้าในลูกยางหรือหลอดฉีดยา (Syringe) ขนาด 10 ml.  4.  พ่นน้ำเกลือจากลูกยางหรือหลอดฉีดยาเข้าสู่ช่องจมูกในท่าก้มหน้า กลั้นหายใจในระหว่างฉีดน้ำเกลือเข้าสู่จมูก  5.  ทำซ้ำจนน้ำมูกหมด ปฏิบัติวันละ 1-3 ครั้ง   6.  บางครั้งแพทย์อาจสั่งพ่นจมูก หรือยาล้างจมูกให้ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์   การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น   1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบจำนวนหนึ่ง (อาจถึงร้อยละ 50) อาจจะมีอาการของโรคไซนัสอักเสบที่เกิดเนื่องมาจากโรคภูมิแพ้ของจมูก ซึ่งทำให้จมูกบวมและมีอาการติดเชื้อตามมา ผู้ป่วยดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงสารแพ้จากไรฝุ่น ตามคำแนะนำของแพทย์  2. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง  - ควันบุหรี่ - การติดเชื้อจากคนรอบข้าง - การอยู่ในเขตแออัด - การว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ การติดตามผลการรักษา           เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้ป่วยควรจะต้องมารับการประเมินผลการรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง                               ด้วยความปรารถนาดีจาก                        แผนกกุมารเวช โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เมื่อต้องใช้ยากันชัก

เมื่อต้องใช้ยากันชัก           ยากันชัก คือ ยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคลมชัก เพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการชัก โรคลมชักมีความสำคัญไม่น้อย แม้จะพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณร้อยละ 1 ของประชากรไทย หรือประมาณ 6 แสนคนทั่วประเทศ โรคนี้พบได้ในคนทุกอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชราแต่ก็มีรายงานว่าในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยใหม่ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีถึงร้อยละ 70 จำเป็นต้องเริ่มยากันชักเมื่อเกิดอาการชักหรือไม่           ถ้าอาการชักนั้นได้รับการตรวจพบคลื่นลมชักจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าเป็นจากโรคลมชัก ก็จำเป็นต้องเริ่มยากันชัก อาการชักอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นด้วย ที่พบบ่อยคือเด็กเมื่อมีไข้สูงมักจะมีอาการชัก ชักอย่างนี้เรียกว่า ไข้ชัก หากทำให้ไข้ลดก็จะหยุดชัก ดังนั้นยาที่ใช้คือยาลดไข้ และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ เพื่อลดไข้ แพทย์อาจให้ยากันชักในเด็กบางรายด้วย แต่ยากันชักนี้จะให้ยาเพียงช่วงที่มีไข้ชัก ไม่ต้องกินต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังนั้นถ้าถามว่าต้องเริ่มใช้ยากันชักทุกครั้งที่มีอาการชักไหม อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับอาการวินิจฉัยของแพทย์ โดยหลักการแล้ว การเริ่มยากันชักแพทย์จะพิจารณาประโยชน์ที่ได้ในการควบคุมการชัก นั่นคือหากใช้ยาแล้วมีโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงของยากันชักมากเกินไปจนเป็นอันตรายก็จะไม่ใช้ แต่หากไม่ได้ยาแล้วผู้ป่วยมีการชักซ้ำ มีอันตรายจากการชัก และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ก็จำเป็นต้องใช้ ส่วนกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาคือ เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะชักขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุหรือปัจจัยใดมากระตุ้น หรือเมื่อผู้ป่วยเป็นไข้ชักมากกว่า 2 ครั้ง หรือเมื่อผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มมากขึ้น ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง แล้วพบว่ามีคลื่นลมชักอยู่ อันนี้อาจมีความจำเป็นต้องเริ่มใช้ยา              “ผู้ป่วยโรคลมชักต้องมีความสม่ำเสมอในการกินยา ไม่ลืม และไม่เพิ่มขนาดยาเอง การตวงยาหรือแบ่งเม็ดยาต้องเป๊ะ เพราะยากันชักเป็นยาอันตราย ออกฤทธิ์ที่สมอง หากพบอาการผิดปกติจากการกินยา ต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที”   ยากันชักมีอะไรบ้างและมีกลไกการออกฤทธ์อย่างไร           ยากันชักที่ใช้อาการรักษากันชักนั้นมีหลายชื่อตัวยาจัดเป็นกลุ่มยากันชักได้ 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นยากันชักกลุ่มมาตรฐาน เช่น คาร์บามาเซปีน ฟีไนโตอิน ฟีโนบาร์บิทอล โซเดียมวาลโปรเอท ยาอีกกลุ่มเป็นยากันชักกลุ่มใหม่ เช่น โทปิราเมท เลวีไทราซีแตม ไวกาบาทริน ลาโมทริจีน เป็นต้น ยาเหล่านี้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ ยาสำหรับเด็ก ยาเม็ด ยาแคปซูล และยาฉีด           ตัวยาทุกตัวมีกลไกการออกฤทธิ์ไปกดสมองส่วนที่มีการปล่อยคลื่นลมชักออกมา ทำให้ไม่ชัก แต่ตัวยาแต่ละชนิดก็เหมาะกับการชักแต่ละแบบ แพทย์จะเลือกใช้ตัวยากันชักให้ตรงกับลักษณะการชักที่เกิดขึ้น เช่น เป็นการชักเฉพาะที่หรือกระจายไปทั่วสมองส่วนที่มีการปล่อยคลื่นลมชักออกมา ทำให้ไม่ชัก แต่ตัวยาแต่ละชนิดก็เหมาะกับการชักแต่ละแบบ แพทย์จะเลือกใช้ตัวยากันชักให้ตรงกับลักษณะการชักที่เกิดขึ้น เช่น เป็นการชักเฉพาะที่หรือกระจายไปทั่วสมอง ชักแบบเกร็ง แบบกระตุกหรือทั้งเกร็งและกระตุก ชักตัวอ่อน หรือชักแบบเหม่อ          ดังนั้นผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยจึงควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่แพทย์มากที่สด เพื่อที่แพทย์จะเลือกชนิดของยากันชักได้ถูกต้องเหมาะสม โดยปกติแพทย์จะเริ่มจากการใช้ยาชนิดเดียวก่อนและใช้ขนาดยาน้อยที่สุดเท่าที่จะควบคุมการชักได้ หากพบว่ายังไม่สามารถควบคุมการชักได้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาที่ได้ผลการรักษา ไม่มีอาการข้างเคียงหรือมีอาการข้างเคียงน้อยที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆในสังคมได้อย่างปกติ           ส่วนใหญ่ผู้ป่วยต้องได้ยากันชักนานประมาณ2ปีหรือมากกว่า เพื่อลดโอกาสในการชักซ้ำ หากไม่มีอาการชักแล้วแพทย์อาจพิจารณาให้หยุดยาโดยจะค่อยๆลดยากันชักลงทีละน้อยจนหยุดยาได้ เวลาที่ใช้ลดยาอาจยาวนานประมาณ 6-12 เดือน หลังจากนั้นแพทย์จะนัดตรวจตามเพื่อเฝ้าระวังมิให้เกิดอาการชักขึ้นอีก ขอขอบคุณข้อมูลจาก...นิตยสาร Health Today

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รู้ก่อนคลอด

รู้ก่อนคลอด           ปัจจุบันจำนวนผู้หญิงที่ผ่าตัดคลอดมีแนวโน้มสูงขึ้นเกือบร้อยละ 50 ซึ่งในจำนวนนี้มีอยุ่ประมาณร้อยละ20ที่จำเป็นต้องใชวิธีผ่าตัดคลอดเนื่องจากข้อบ่งชี้หรือเหตุให้ไม่สามารถคลอดเองได้ตามธรรมชาติได้ เช่น แม่หรือบุตรในครรภ์มีภาวะแทรกซ้อน และมีอีกจำนวนหนึ่งที่ตัดสินใจเลือกวิธีนี้ด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไป           ในความเป็นจริงธรรมชาติได้สร้างให้มนุษย์ผู้หญิงสามารถคลอดลูกได้เองเหมือนกับสัตว์อื่นๆแต่ปัจจุบันมีเหตุผลต่างๆมากมายที่ทำให้หลายคนตัดสินใจผ่าตัดคลอดหลักๆที่พบได้แก่ - มีข้อบ่งชี้ว่าเด็กในครรภ์มีปัญหา  เช่น เด็กในครรภ์ขาดออกซิเจน หากปล่อยทิ้งไว้มีแนวโน้มที่เด็กอาจจะเสียชีวิตหรือพิการ หรือในกรณีที่เด็กไม่กลับหัว ตัวใหญ่เกินจนออกมาไม่ได้ กรณีเหล่านี้แพทย์จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดเพื่อช่วยชีวิตหรือลดความพิการต่างๆที่อาจเกิดขึ้นตามมา - มีข้อบ่งชี้ว่าแม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย เช่น มีเชิงกรานเบ็กกว่าปกติเมื่อเทียบกับตัวเด็ก ไม่สามารถคลอดเองได้ แพทย์จึงต้องผ่าตัดคลอดเพื่อรักษาชีวิตของแม่และลูก ซึ่งเหตุผลในข้อแรกและข้อนี้ เป็นเหตุหลักสำหรับแพทย์ในการตัดสินใจนำวิธีผ่าตัดมาช่วยในการทำคลอด การฟื้นตัวหลังคลอด           ตามปกติแผลจากการคลอดธรรมชาติกับแผลผ่าตัดจะมีขนาดต่างกัน โดยแผลจากการคลอดธรรมชาติจะเล็กกว่า มีการเย็บปิดแผลบริเวณช่องคลอดเท่านั้น ระดับความเจ็บขอแผลจะน้อยกว่าแผลผ่าตัด และแผลจะหายภายใน 5 วัน ในขณะที่แผลผ่าตัดจะต้องใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน ดังนั้นการฟื้นตัวของผู้ที่คลอดเองจึงค่อนข้างเร็วกว่า อย่างไรก็ตามเนื่องจากวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ ทำให้มียาแก้ปวดจึงไม่ค่อยเป็นปัญหาอีกต่อไป เมื่อความเจ็บปวดลดลง การฟื้นตัวของคุณแม่ที่ผ่าตัดคลอดจึงเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน ความเสี่ยงในการการผ่าคลอด            - ภาวะติดเชื้อจากการผ่าตัด  ถึงแม้ปัจจุบันยาฆ่าเชื้อจะมีประสิทธิภาพดีขึ้นมาก แต่ก็ยังมีเรื่องของการติดเชื้อจากแผลผ่าตัดให้เห็นอยู่บ้าง จึงต้องระวัง ปัญหาจากการนับอายุครรภ์คลาดเคลื่อน ในทางธรรมชาติโดยปกติเมื่อถึงกำหนดคลอด ทุกอย่างก็จะดำเนินไปตามที่ควรจะเป็น เช่น มีปวดท้องเตือน มีน้ำเดินเป็นสัญญาณบอก แต่สำหรับการผ่าคลอดจะต้องให้ความสำคัญกับการนับอายุครรภ์ให้ดี เพราะถ้านับผิด จะกลายเป็นว่าเด็กคลอดก่อนกำหนด อาจทำให้เด็กมีปัญหา เช่น เมื่อออกมาแล้วปอดยังทำงานไม่สมบูรณ์ ทำให้ยังหายใจไม่ได้ จึงต้องแม่นยำในเรื่องอายุครรภ์            อย่างไรก็ตามอยากให้ทุกคนพึงตระหนักไว้ว่าธรรมชาติยิ่งใหญ่เสมอเพราะฉะนั้นหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนของแม่และลูกการคลอดเองตามธรรมชาติน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า สำหรับเรื่องของความเจ็บปวด เชื่อว่าทุกอย่างอยู่ที่ “ใจ” ขึ้นอยู่กับว่าเราจะกำหนดความอดทนของตัวเองได้มากแค่ไหน และเมื่อผ่านช่วงเวลาอันยิ่งใหญ่นี้ไปแล้ว คุณจะรู้สึกรักแม่มากขึ้นจนไม่อาจบรรยายออกมาเป็นคำพูด   ขอขอบคุณข้อมูลจาก...นิตยสาร Health Today

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

แก้ไขปัญหาโรคภูมิแพ้

แก้ไขปัญหาโรคภูมิแพ้           ปัจจุบันโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดในวงกว้าง เป็นได้ในคนทุกอายุ จากการสำรวจในโรงเรียนในประเทศไทยพบว่า จำนวนเด็กที่เป็นภูมิแพ้ทางจมูกมีถึงร้อยละ 30-40 ยิ่งไปกว่านั้นมีแนวโน้มว่าจะพบภูมิแพ้ในเด็กอายุน้อยลงเรื่อยๆ บางรายแสดงอาการภูมิแพ้ตั้งแต่คลอดมาเพียงไม่กี่วัน ได้แก่ การแพ้อาหาร แพ้นม ความรุนแรงของอาการแพ้ในเด็กสมัยนี้ก็จะเพิ่มขึ้น เพราะเป็นวัยที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายยังไม่ดีพอ อย่างไรก็ตามพื้นฐานความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอบวกกับวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่น่าจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือหรือลดความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นโรคนี้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทำไมเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น               สาเหตุน่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสารปนเปื้อน แต่งเติมในอาหารซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันในเด็กเปลี่ยนไปบางการศึกษามองลึกลงไปถึงการดำเนินชีวิตและอาหารที่แม่กินในช่วงตั้งท้องด้วย เพราะอาหารและสิ่งแวดล้อมสามารถส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของรหัสทางพันธุกรรมในแม่ที่ถ่ายทอดมาสู่ลูก ปัจจุบันเราพบว่าความรุนแรงของภูมิแพ้มีมากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น มีเด็กที่ได้นมวัวหรือกินแป้งสาลีแล้วมีอาการแพ้รุนแรงฉับพลันถึงกับช็อคไปเลย ซึ่งเมื่อก่อนเราพบกรณีแบบนี้ในคนไทยน้อยมากแต่กลับพบมากขึ้นในเด็กไทยสมัยนี้ จึงอยากแนะนำให้ทุกคนกลับไปสู่วิถีรรมชาติใช้สารเคมีให้น้อยลง ลดสารปรุงแต่งในอาหารใส่ใจอาหารที่กินเข้าไปให้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อยีนหรือสารพันธุกรรมในร่างกายซึ่งอาจส่งผลต่อลูก ที่จะเกิดมาในอนาคต               สำหรับคุณแม่ที่อยู่ระหว่างตั้งท้อง ควรกินอาหารให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่สมดุลกัน อย่าเน้นอย่างหนึ่งอย่างใดมากจนเกินไป อย่างความเชื่อที่ได้ยินบ่อยๆ เช่น ให้ดื่มนมมากๆ กินไข่เยอะๆ จากสัปดาห์ละ2ฟองเพิ่มเป็น7ฟองซึ่งคุณแม่ที่มีลูกแพ้อาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง เมื่อถามประวัติมักจะพบว่าเป็นคุณแม่ที่พึ่งมากินอาหารนั้นเพิ่มช่วงตั้งท้องเหมือนกับว่าปกติร่างกายไม่เคยได้รับโปรตีนชนิดนี้ในปริมาณมากขนาดนี้ เช่น ระบบของร่างกายคุ้นเคยกับการจัดสมดุลของโปรตีนจากไข่ที่3ฟองต่อสัปดาห์เมื่อได้รับมากเกินไปร่างกายไม่สามารถปรับสมดุลได้ จึงส่งต่อไปที่ลูก เกิดเป็นผลเสียตามมา ดังนั้นจึงควรยึดหลักทางสายกลางตามหลัก สอนของพุทธศาสนา เพราะอะไรที่มากเกินไปแม้จะดีขนาดไหนก็ย่อมเกิดพิษหรือผลเสียได้เหมือนกัน ถ้าคุณแม่ไม่แน่ใจว่าจะจัดสมดุลอาหารของตัวเองอย่างไร ควรปรึกษาแพทย์และควรใช้วิจารณญาณในการเลือกรับข้อมูล อย่าเชื่อเพียงเพราะฟังตามกันมา การดูข้อมูลต่างๆควรดูจากแหล่งที่เชื่อถือได้ร่วมกับยึดหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น คุณแม่บางท่านไปอ่านพบคำแนะนำให้กินไข่ดิบวันละ 2 ฟองช่วงตั้งท้องจะส่งผลดีต่อลูกซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรอย่างยิ่งเพราะนอกจากเรื่องของความสะอาดและเชื้อโรคที่อาจได้รับเข้าไปแล้ว โปรตีนในของดิบยังแพ้ได้ง่ายกว่าของสุกอีกด้วยเนื่องจากไม่ผ่านกระบวนการใดๆเลย ซึ่งผลปรากฏว่าลูกที่เกิดมามีอาการแพ้ไข่อย่างรุนแรง ดังนั้นข้อมูลต่างๆจะเกิดประโยชน์ได้ต้องพิจารณาศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจ              การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในเด็กภูมิแพ้คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้เกิดความเคยชินที่จะอ่านฉลากสินค้าให้ละเอียด ยกตัวอย่างเช่นถ้าต้องการเลือกโลชั่นให้ลูกที่แพ้นมวัว ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาสำหรับเด็กแพ้ง่ายโดยเฉพาะ หลีกเลี่ยงโลชั่นที่มีส่วนผสมของนมเพราะอาจทำให้เด็กเกิดอาการแพ้ผิวขึ้นผื่นได้     ในกรณีที่ลูกยังพูดไม่ได้จะรู้ได้อย่างไรว่าภูมิแพ้ที่ลูกเป็นรุนแรงหรือไม่    อันที่จริงเด็กจะมีวิธีการบอกในแบบของเขา เราต้องเข้าใจแล้วจะสื่อสารกับเขาได้เพราะเด็กจะตรงไปตรงมา ไม่ปิดบัง ในส่วนนี้กุมารแพทย์จะมีการฝึกการดูภาษากายของเด็กจนมีความชำนาญ ซึ่งเราจะสามารถตรวจหารายละเอียดได้แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ได้บอกออกมาเป็นคำพูดโดยอาศัยการสังเกตและตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ร่วมกับการซักถามจากคุณพ่อคุณแม่               ในส่วนของคุณพ่อคุณแม่ ถ้าต้องการรู้ว่าภูมิแพ้ที่ลูกเป็นอยู่รุนแรงหรือไม่ วิธีสังเกตง่ายๆ ที่บ้านคือดูว่าภูมิแพ้นั้นส่งผลต่อการกิน การนอน การเรียน การทำกิจกรรมหรือการเล่น และการเจริญเติบโตของลูกหรือเปล่า ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่งเปลี่ยนไป เช่นการเพิ่มของน้ำหนัก-ส่วนสูงผิดไปจากที่ควรจะเป็นนอนหลับไม่สนิท หงอย เหนื่อยง่าย ไม่เล่น ไม่กิน ถือว่ารุนแรงต้องพาไปตรวจ                แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ดูไม่ออก ควรพาไปพบแพทย์สักครั้งเพื่อประเมินว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่เพราะบางทีอาการอาจซ่อนอยู่ เช่น ต่อมทอนซิลโต จมูกตัน จมูกคด ไซนัสอักเสบ เป็นต้น  จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการไอ จาม น้ำจมูกไหลเป็นอาการของภูมิแพ้               คัดจมูก น้ำมูกไหล เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็ก ถ้าจะแยกว่าอาการที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไร ให้ใช้หลักสังเกตคือ ถ้าเป็นอาการที่เกิดจากการติดเชื้อ เด็กจะมีไข้น้ำมูกมักจะเขียว อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วยเช่น เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว คลื่นไส้อาเจียนหรือไอเยอะมากๆแต่ถ้าเป็นอาการของภูมิแพ้ จะไม่ค่อยมีไข้ น้ำมูกใส ถ้ามีอาการคันจมูกหรือจามฟิตๆ บ่อยๆ แบบเป็นๆ หายๆ มักจะสื่อมาทางภูมิแพ้มากกว่า เพราะถ้ามีสาเหตุจากการติดเชื้อจะไม่ค่อยมีอาการคัน อีกอย่างคือถ้าเด็กเป็นภูมิแพ้ที่ไม่รุนแรงมาก อาการจะไม่เป็นทั้งวัน จะเป็นเฉพาะบางเวลา เช่นเช้าเป็น บ่ายหายดึกๆกลับมาเป็นใหม่ อย่างนี้เป็นต้น แต่ถ้าเป็นหวัดจะมีอาการเกือบตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตามถ้าเด็กเป็นภูมิแพ้มากๆ ก็อาจมีอาการตลอดทั้งวันได้       ขอขอบคุณข้อมูลจาก...นิตยสาร Health Today

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ยาในผู้สูงอายุ

ยาในผู้สูงอายุ           ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่ใช้ยามากกว่าประชากรวัยอื่น เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนั้น มักมีโรคเรื้อรัง ทำให้มีโอกาสรักษากับแพทย์ หลายคนและพบว่าร้อยละ90ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีใช้ยาอย่างน้อย 1ชนิดต่อสัปดาห์ และจำนวนยาที่ใช้สัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ปฏิกิริยาระหว่างยา และค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มมากขึ้น การใช้ยาในผู้สูงอายุทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ง่ายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามวัย อาทิ การดูดซึมและการกำจัดยาออกจากร่างกายทำได้ลดลง นอกจากนั้นผู้สูงอายุซึ่งมีปัญหาด้านสายตาและความจำยังมีความเสียงที่จะใช้ยาผิดได้มากอีกด้วย กลุ่มยานี้มีความเสี่ยงสูง   - กลุ่มยานอนหลับและยากล่อมประสาท - กลุ่มยาต้านซึมเศร้า - กลุ่มยาแก้ปวดลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ZSAIDAs) - กลุ่มยาลดระดับน้ำตาลในเลือด - กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อ - กลุ่มยาต้านเกร็ดเลือด - กลุ่มยาแก้อาเจียน - กลุ่มยาลดแพ้ Anti-histamine กลุ่มยาที่ใช้บ่อยในผู้สูงอายุ   1. กลุ่มยารักษาโรคประจำตัว อาทิ ยาลดความดันโลหิต ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ยารักษาโรคหัวใจ 2. กลุ่มยานอนหลับและคลายกังวล 3. กลุ่มยาแก้ปวดและคลายกล้ามเนื้อ 4. กลุ่มยาวิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ  * การได้ยาหลายชนิดในเวลาเดียวกัน ทำให้ยามีปฏิกิริยาต่อกันหรือยาตีกัน ซึ่งเกิดจากยาชนิดหนึ่งไปมีผลแทรกแซงยาอีกชนิดหนึ่ง เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถ้าได้รับยาลดความดันโลหิตชนิดขับปัสสาวะจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น  ทำให้การรักษาโรคเบาหวานไม่ได้ผล หรือในกรณีที่ผู้สูงอายุรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่เป็นประจำและชอบรับประทานใบแปะก๊วยเป็นอาหารเสริม จะมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่าย * การเปลี่ยนแปลงทางเสรีรวิทยาในการออกฤทธิ์และกำจัดยาออกฤทธิ์และกำจัดยาออกจากร่างกาย * พฤติกรรมของผู้ป่วยสูงอายุ - การซื้อยารับประทานเอง ในประเทศไทยการซื้อยาตามร้านขายยาทำได้สะดวก ผู้สูงอายุจำนวนมากมักซื้อยาชุดหรือยาแฝงมาในรูปยาลูกหลอนมารับประทาน เช่น ผู้ที่มีปัญหาปวดตามข้อโดยมักเข้าใจว่าปลอดภัยเพราะผลิตจากสมุนไพร แต่มักมีการผสมยากลุ่มสเตียรอยด์ จึงส่งผลเสียในระยะยาว เช่น กระดูกพรุน ต่อมหมวกไตฝ่อ และความดันโลหิตสูง เป็นต้น * ขาดการติดตามการรักษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุจำนวนมากมักไม่ชอบมาพบแพทย์เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ เช่น กลัวรบกวนคนใกล้ชิด กลัวเสียเวลาและค่าใช้จ่าย การคมนาคมไม่สะดวก จึงพบได้บ่อยกว่าญาติมาขอรับยาเดิมจากแพทย์โดยไม่พาผู้ป่วยมาติดตามการรักษากับแพทย์ * การไม่รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยหลายรายมักใช้ยาผิดพลาดเนื่องจากสาเหตุต่างๆเช่น - การใช้ยายุ่งยาก ผู้ป่วยไม่เข้าใจวิธีการใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เช่น รับประทานวันละหลายครั้ง - ผู้ป่วยหยุดยาเองโดยไม่แจ้งแพทย์เพราะเกิดผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา - สายตาไม่ดี หลงลืม ฉลากยาที่เขียนไม่ชัดเจนจึงรับประทานยาผิด - ทัศนคติของผู้ป่วยต่อยา เช่น รับประทานยามากๆจะทำให้ตับและไตวาย จึงหยุดใช้ยาไปเอง หรือบางรายคิดว่าควรเพิ่มปริมาณการใช้ยาเพื่อจะได้หายจากโรคโดยเร็ว * การเก็บสะสมยา สำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยและมีโรคเรื้อรังมักจะได้รับยาหลายชนิด เมื่อใช้ยาไม่หมดก็จะเก็บสะสมยาไว้ เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยอีกครั้งก็จะเลือกรับประทานยาเดิมที่เคยรับประทานได้ผล ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้หากยานั้นหมดอายุแล้ว           ในผู้สูงอายุกลุ่มยาที่นิยมใช้มากคือ กลุ่มยานอนหลับและยาแก้ปวดซึ่งยา 2 กลุ่มนี้ไม่ได้รักษาที่สาเหตุของโรค แต่อาจบรรเทาอาการให้ทุเลาลงเป็นครั้งคราวดังนั้นการใช้ยาต้องทำร่วมกับการรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับและเกิดอาการปวด ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์     ขอขอบคุณข้อมูลจาก...นิตยสาร Health Today

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Cardio Boxing คือ การผสมผสานการชกมวยมวยสากลกับมวยไทยเข้าด้วยกัน

Cardio Boxing คือ การผสมผสานการชกมวยมวยสากลกับมวยไทยเข้าด้วยกัน Cardio Boxing           Cardio Boxing   คือ  การผสมผสานการชกมวยมวยสากลกับมวยไทยเข้าด้วยกัน  แต่มีการเพิ่มความสนุกสนานในการฝึกกับ Personal  Trainer ทำให้การเตะ การต่อย เพื่อจะทำให้การออกกำลังกายนั้นเป็นเรื่องสนุก ตื่นเต้น และใครๆก็ฝึกได้  โดยเน้นไปที่การทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด และเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของระบบกล้ามเนื้อเป็นหลัก   การออกกำลังกายแบบนี้จะช่วยให้คุณเห็นผลในระยะเวลาอันสั้น ต่างจาก Body Combat อย่างไร           Body Combat เป็นโปรแกรมที่มีพื้นฐานมาจากศิลปะการต่อสู้  โดยนำท่าทางการต่อสู้ต่างๆ มาประยุกต์เข้ากับดนตรี เป็นรูปแบบการออกกำลังกายแบบกลุ่มส่วน Cardio Boxing เป็นโปรแกรม การผสมผสานการต่อยมวยกับการออกกำลังกาย ที่ออกแบบมาเฉพาะ เพื่อให้ผู้เล่น Fitness สามารถบรรลุเป้าหมายในระยะเวลาอันสั้น ประโยชน์ของการออกกำลังกาย Cardio Boxing -ลดน้ำหนัก -กระชับรูปร่าง -เพิ่มความทนทานในการออกกำลังกายแบบ Cardiovascular -เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้อง -พัฒนาสมดุลของร่างกาย -ลดความเครียดจากการทำงาน -เป็นศิลปะป้องกันตนเอง -เผาผลาญได้มากถึง 800 Cal ต่อครั้ง สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Vibhavadi Fitness Center 0-2941-2800 , 0-2561-1111 กด 1

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<